เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประวัติ ซัยยิด กุตุบ





อัชชะฮีด  ซัยยิด  กุตุบ

ซัยยิด  กุตุบ   ถือกำเนิดในปี  1906  ในหมู่บ้านโมชาห  ซึ่งอยู่ในเขตแคว้นอาสิยุหของอิยิปต์ มารดาของเขาชื่อ      ฟาตีมะฮ   นางเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่มีความเชื่ออย่างมั่นคงในศาสนาและศรัทธาในอัลกุรอาน  นางปรารถนาที่จะเห็นลูกๆ  ได้ท่องจำคัมภีร์ของผู้เป็นพระเจ้า  ในคำนำของหนังสือ  อัล-ตัสวีร อัลฟันนี  ฟีอัลกุรอาน ( ถ้อยคำอันวิจิตรงดงามของอัลกุรอาน )  ซึ่งซัยยิดเขียนขึ้นเพื่ออุทิศแก่มารดาของเขานั้น  เขากล่าวว่า  ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของแม่ก็คือ  ต้องการให้พระผู้เป็นเจ้าได้เปิดหัวใจของผม  เพื่อให้ผมสามารถท่องจำคัมภีร์ของพระองค์  และผมก็ได้นั่งท่องอัลกุรอานต่อหน้าแม่ด้วยท้วงทำนองอันไพเราะ  จนผมสามารถท่องจำอัลกุรอานได้หมด  และทำให้ความปรารถนาของแม่บรรลุผล”
บิดาของเขาชื่อ  อิบรอฮิม  เป็นชาวนาผู้ซึ่งมีความศรัทธาอย่างมั่นคงในอิสลาม  ในหนังสือ  มุชาฮิด  อัล-กิยามะฮ  ฟีอัลกุรอาน ( วันแห่งการฟื้นขึ้นมาใหม่ในอัลกุรอาน )  ซึ่งซัยยิด  กุตุบ   เขียนอุทิศให้แก่บิดาของเขานั้น  เขาเขียนว่า  เมื่อผมเป็นเด็ก  สิ่งที่พ่อได้สร้างให้ฝังอยู่ในหัวใจและความสำนึกของผมนั้น  ก็คือ  ความเกรงกลัวในวันสุดท้าย  พ่อไม่เคยดุผม  แต่ชีวิตประจำวันของพ่อเป็นตัวอย่าง  สำหรับผมในเรื่องของมนุษย์ผู้ที่ระลึกอยู่เสมอถึงวันแห่งการตอบแทน”
การศึกษา ในวัยเริ่มแรกของซัยยิดเป็นไปอย่างๆ  ภายในเขตหมู่บ้านของเขา  เขาสามารถท่องจำอัลกุรอานได้ขึ้นใจ  เมื่อเขาเป็นเพียงเด็กเล็กๆ คนหนึ่ง  ในสมัยนั้นการท่องจำอัลกุรอานเป็นเรื่องธรรมดาในเด็กๆ  ที่มาจากครอบครัวที่เคร่งครัดในศาสนาของประเทศอิยิปต์   โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่ต้องการส่งลูกๆ ของตนไปยังอัล-อัซฮัร  บิดามารดาของซัยยิดตระหนักอยู่เสมอกว่า  ของขวัญอันล้ำค่าที่เขาสามารถให้แก่บุตรชายได้นั้นก็คือ  การศึกษา   ดังนั้นครอบครัวของเขาจึงย้ายไปยังฮัลวาน  ซึ่งอยู่ชานเมืองไคโร  และซัยยิดก็ได้เข้าเรียนในทัจฮิสยะฮ  ดาร  อัล-อูลูม  แห่งไคโร ( ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยแห่งไคโร) ซึ่งสอนในเรื่องวิทยาศาสตร์  และศิลปศาสตร์สมัยใหม่  ซัยยิดเข้าศึกษาในดาร อัล-อูลูมในปี  1929  และสำเร็จปริญญาบัณฑิตทางการศึกษาในปี  1933  หลังจากจบการศึกษาไม่นาน  ซัยยิดก็ได้ถูกเลือกให้ไปเป็นผู้บรรยายในหมาวิทยาลัยแห่งนี้  และอีกไม่กี่ปีต่อมาเขาก็ได้รับเลือกเป็นผู้ตรวจการโรงเรียนต่างๆ ขึ้นกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาของรัฐบาลอิยิปต์
ในระหว่างที่เขาทำงานอยู่นั้น  ท่านรัฐมนตรีก็ได้ส่งเขาไปศึกษาต่อในอเมริกา  ในแขนงวิชาทางการศึกษา   ซัยยิดอยู่ในอเมริกา ปี  เขาได้แบ่งเวลาของเขาอยู่ในวิทยาลัยครูวิลสัน  ในวอชิงตัน  วิทยาลัยกรีลีย์  ในโคโรลาโด  และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในคาลิฟอร์เนีย  ในโอกาสนี้เขายังได้เดินทางไปเยี่ยมเมื่องใหญ่ๆ หลายแห่งในอเมริกา  และยังได้ไปพักอยู่ในอังกฤษ  สวิตเซอร์แลนและอีตาลีอยู่  2-3  สัปดาห์   ชีวิตในอเมริกาเปิดดวงตาของเขาให้มองเห็นถึงความพินาศย่อยยับของพวกวัตถุนิยมที่ปราศจากพระเจ้า  ในแง่ของเจตนารมณ์  สังคม  และชีวิตทางเศรษฐกิจของประชาชน  และเมื่อเขากลับมา  เขาก็ยิ่งมีความเชื่อมั่นอย่างมั่นคงว่า  เฉพาะอิสลามเท่านั้นที่จะปกป้องมนุษย์ใหืพ้นจากห้วงเหวแห่งการทำลายล้าง  ซึ่งเกิดขึ้นอย่างสยดสยอง ถูกลากจูงโดยความโลภแห่งวัตถุ
หลังจากที่ซัยยิดกลับถึงอิยิปต์ได้ไม่นาน  เขาก็ได้เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่ออิสลามของอิยิปต์   อควาน  อัล  มุสลีมูน ( ภราดรภาพมุสลิม ) หลังสงครามโลกอิควานก็ได้เป็นตัวตั้งตัวดีในการที่จะให้อิยิปต์เป็นเอกราช  จากจักรวรรดินิยมของอังกฤษ  จากเหตุนี้เองทำให้จักรวรรดินิยมอังกฤษเกลียดชังขบวนการนี้มาก  แต่ความเคลื่อนไหวของอิควานกลับเพิ่มมากขึ้น  และภายในระยะเวลา  2 ปี  สมาชิกของอิควานก็เพิ่มเป็น  2 ล้าน  แสนคน  ในวันที่  12  กุมภาพันธ์  1949  หะซัน  อัล-บันนา  หัวหน้าของกระบวนการอิควานได้ถุกลอบสังหาร  และองค์กรนี้ก้ได้ถูกสั้งห้ามมิให้มีการเคลื่อนไหวอีกกต่อไป  ช่วงระยะเวลาแห่งการตามประหัตประหารนี้สิ้นสุดลง  เมื่อเกิดการปฏิวัติขึ้นในปี   1952   แตการตามล่าและการลำลายล้างครั้งยิ่งใหญ่กำลังจะขึ้นบุคคลซึ่งอยู่ในระดับผู้นำของอิควาน  คน   คือ  หะซัน  อัล-ฮุดซัยบี  ซึ่งเป็นหัวหน้าขององค์กร  อับดุลกอเดร  เอาดะฮ   เลขาธิการ  แลซัยยิด  กุตุบ  หัวหน้าฝ่ายวิชาการและนักเขียนผู้มีอุดมการณ์ของอิควาน  เมื่อคำสั่งถูกยกเลิกในปี  1952  อิควานก็ได้สร้างองค์กรใหม่  และได้ลงมือกระทำตามโครงการการให้การศึกษาครั้งยิ่งใหญ่และการปฏิรูปสังคม  ซัยยิด  กุตุบ  เลือกให้เป็นคระกรรมการฝ่ายบริหาร  และเป็นผู้รับผิดชอบในโครงการ การเชิญชวนสู่อิลสาม “  ( ดะวะฮ  )
ในระหว่างปี  1953  เขาได้เข้าร่วมการประชุมหารือในซีเรียและจอร์แดน  และได้ขึ้นปาฐกถาครั้งสำคัญในเรื่อง  ความจำเป็นของการฝึกอบรมทางศีลธรรม  ก่อนที่จะมีการฟื้นฟูสังคม ในเดือนกรกฎาคม  1954   ซัยยิดก็ได้เป็นหัวหน้าฝ่ายบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์อิควานชื่อ  อิควาน  อัล-มุสลีมูน  แต่ภายในระยะเวลาเพียง  เดือนเท่านั้น  หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ถูกสั่งปิดโดยคำสั่งของพันเอก อับดุล นาซิร ประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ เนื่องจากการที่ได้พิมพ์คำวิจารณ์สนธิสัญญาแองโกร-อียิปต์ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 1954 หลังจากนั้น อับดุล นาซิรก็ได้เพิ่มความเกลียดชังต่อขบวนการอิควานมากยิ่งขึ้น  เนื่องจากอิควานมีอุดมการณ์ที่ต่อต้านรัฐบาล  องค์กรนี้จึงถูกสั่งปิด  บรรดาผู้นำขบวนการถูกจับกุม  และถูกประหารชีวิตถึง 6 คน ในจำนวนนี้มีอับดุลกอเดร เอาดะฮรวมอยู่ด้วย  บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์รายวัน อัล-มิสริ นายอะหมัด อับดุล ฟัตตะฮ  ประมาณว่าสมาชิกของขบวนการที่ถูกจับกุมมีประมาณ 5 หมื่นคน  บุคคลเหล่านี้ได้ถูกคุมขังโดยไม่มีการพิจารณาความผิดเลย   ทรัพย์สมบัติของพวกเขาถูกยึดและครอบครัวถูกรังควาน  ซัยยิด กุฏบ์เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น   ในระยะเวลาของการจับกุมนั้นเขาได้ทรมานจากพิษไข้และถูกนำตัวไปยังเรือนจำ  และบรรดาเจ้าหน้าที่ของเรือนจำนั้นได้พากันเข้าทำร้ายร่างกายทุบตีเขา  โดยปราศจากความเมตตาและยังได้ส่งสุนัขไปยังห้องขังเพื่อให้ทำร้ายและลากเขาไปรอบๆห้อง  ซัยยิดถูกทำทารุณกรรมด้วยวิธีต่างๆเป็นเวลาถึง 7 ชั่วโมง  แต่กระนั้นด้วยความศรัทธาและความอดทนเขา  ทำให้เขาเพียงแต่พูดเหมือนเช่นท่านบิลาลว่า อัลลอฮผู้ยิ่งใหญ่  และการสรรเสริญทั้งมวลเป็นของอัลลอฮแต่เพียงพระองค์เดียว”  การทำทารุณกรรมต่างๆนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 1955 เมื่อซัยยิดถูกย้ายไปยังโรงพยาบาลทหาร  เพื่อเข้ารับการรักาาโรคต่างๆที่เกิดขึ้นเนื่องจากการถูกทรมานโดยปราศจากความเมตตา ในวันที่ 13 กรกฎาคม 1955 “ศาลประชาชนได้ตัดสินให้ส่งเข้าไปทำงานเป็นกรรมกร  โดยใช้งานอย่างหนักเป็นเวลา 15 ปี  เมื่อระยะเวลาแห่งความยากลำบากผ่านไปได้ 1 ปี  ก็ได้มีผู้ถือข่าวมาจาก อับดุล นาซิร เสนอที่จะปล่อยเขาให้เป็นอิสระ  และให้เขาดำรงตำแหน่งสูงในกระทรวงศึกษา  เพียงแต่เขาเอ่ยปากกล่าวขอโทษเท่านั้น  แต่คำตอบที่ได้จากซัยยิด  เป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถจะลบได้จากประวัติศาสตร์ของอิสลามจนตลอดกาล  เขากล่าวว่า ฉันประหลาดใจเหลือเกินกับมนุษย์ที่มาขอร้องให้ผู้ถูกกดขี่ร้องขออภัยและขอความกรุณาจากผู้กดขี่  ด้วยพระนามของอัลลอฮ  แม้ว่าเขาเอ่ยคำขอโทษเพียงไม่กี่คำจะช่วยฉันให้พ้นจากความตายบนตะแลงแกงแล้ว  ฉันก็จะไม่มีวันกระทำและฉันจะกลับไปพบพระผู้อภิบาลของฉันด้วยความภาคภูมิใจและพระองค์ก็จะทรงอยู่กับฉัน” 
ข้อเสนอนี้ถูกนำมาครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  แต่คำตอบอันไม่เคยเปลี่ยนแปลงของซัยยิดก็คือ  ถ้าฉันถูกจองจำด้วยความยุติธรรมแล้ว  ฉันก็ยินดีรับโทษทัณฑ์ด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม  แต่ถ้ามันเกิดขึ้น  ด้วยความอยุติธรรมแล้ว  ฉันก็ไม่สามารถคุกเข่าลง  เพื่อร้องขอความเมตตาต่อหน้าความชั่วร้ายและความอยุติธรรมเหล่านั้นได้”  ซัยยิด กุฏบ์ ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำหลายแห่งในอียิปต์จนถึงกลางปี 1964 สามปีแรกของการถูกคุมขังนั้นเต็มไปด้วยการทำทารุณกรรมต่างๆ  แต่ต่อมาการทำทารุณกรรมเหล่านี้ก็ลดลง  เขาได้รับอนุญาตให้ญาติมิตรเข้าเยี่ยม  และได้รับความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น  ทำให้สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้  ซัยยิดใช้เวลาหลายปีในการถูกคุมขัง  เขียนคำอธิบายความหมาย (ตัฟซีร) กุรอานให้ชื่อว่า ฟีซีลาล อัล-กุรอาน (ในร่มเงาแห่งอัล-กุรอาน) ในปี1964 เขาได้รับการปลดปล่อย  เนื่องจากคำขอร้องของอับดุล ซาลาม อรีฟ  ประธานาธิบดีอีรัก  เมื่อครั้งได้เดินทางมาเยือนอียิปต์   อย่างไรก็ตามภายในเวลา 1 ปีของการถูกปลดปล่อยนั้น  เขาก็ถูกจับอีกครั้งหนึ่ง  พร้อมกับน้องชายมูหัมหมัด  และน้องสาวอีก 2 คน คือ ฮามีดะฮ และ อามีนะฮ  ในครั้งนี้พวกเขาถูกกล่าวหาว่าพวกเขาเป็นผู้ชี้นำให้ใช้กำลังในการล้มล้างรัฐบาล  นอกเหนือจากครอบครัวของซัยยิดแล้วยังมีผู้ที่ถูกจับกุมร่วมกับเขาอีกประมาณ 2 หมื่นคน  ซึ่งมีผู้หญิงรวมอยู่ด้วยถึง 700 คน ช่วงเวลาแห่งการประหัตประหารนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่ออับดุล นาซิร กลับจากการเยือนมอสโคว์  และเขาได้ประกาศว่า  ขบวนการอิควาน อัล-มุสลีมูน มีแผนที่จะทำการลอบสังหารเขา  ดังนั้นเขาจึงต้องจับกุมบุคคลในขบวนการนี้  ในปีต่อมากฎหมายของอียิปต์ (มาตรา 911,1966) ได้ให้สิทธขาดแก่ประธานาธิบดีในการจับกุมบุคคลใดก็ตามที่เขาเห็นชอบโดยไม่ต้องมีการพิจารณาพิพากษาใดๆอีก  ทั้งยังสามารถยึดทรัพย์สมบัติและสิ่งอื่นๆของบุคคลได้  ในตอนแรกมีการประกาศว่าจะให้มีการพิจารณาโดยเปิดเผย  แต่เมื่อพยานหลายคนได้เปิดเผยถึงความป่าเถื่อนของคุกและการทำทารุณกรรมที่เหมือนมิใช่การกระทำของมนุษย์แล้ว  การพิจารณาโทษต่างๆจึงถูกสั่งห้ามมิให้มีการเปิดเผย
            ต่อมาผู้แทนสมาคมทนายความของฝรั่งเศษ  วิลเลี่ยม ทอล์บ  กับทนายความชื่อดังแห่งสวิสเซอร์แลนด์ เอ.เจ เอ็ม แวนดัล  และทนายความอีกหลายคนจากโมรอคโคและซูดานได้ร้องขอต่อรัฐบาลให้ปลดปล่อยบรรดาผู้ถูกจับกุมเหล่านี้  แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ  องค์กรที่รู้จักกันในนามของ “องค์การนิรโทษกรรมนานาชาติ”  ได้ส่งสมาชิกรัฐสภาอังกฤษ  นายปีเตอร์  อาค์เชอร์  มายังอียิปต์  และเขาได้รายงานอย่างแจ้งชัดว่าบรรดาผู้ถูกจับกุมได้รับการทรมานต่างๆและขั้นตอนในการพิจารณาคดีของศาลทหารอียิปต์นั้น  ตรงข้ามกับหลักการของความยุติธรรมอย่างสิ้นเชิง
            ในปี 1966  ซัยยิด กุฏบ์และเพื่อนของเขาอีก 2 คน ก็ถูกประหารชีวิต  และการประหารนี้กระทำขึ้นในตอนเช้าของวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 1966  โดยไม่คำนึงถึงเสียงร่ำไห้และคำคัดค้านจากทุกมุมของโลกมุสลิม 3 : 169 “และจงอย่ากล่าวถึงผู้ถูกฆ่าในหนทางของอัลลอฮว่าเขาตาย  เขายังมีชีวิตอยู่ได้รับเครื่องยังชีพจากพระผู้อภิบาลจากพวกเขา” 
            ซัยยิด กุฏบ์ได้เขียนหนังสือไว้มากกว่า 20 เล่ม มีบางเล่มที่เกี่ยวพัน  เขาเริ่มต้นอาชีพการประพันธ์ด้วยการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก  ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องราวประวัติของบรรดาศาสดาและนิทานต่างๆจากประวัติศาสตร์อิสลาม  ตื่นมาเมื่อความสนใจของเขาเปลี่ยนไป  เขาจึงได้เขียนเรื่องสั้นไว้หลายเรื่อง  บทกวี  รวมทั้งบทวิเคราะห์วิจารณ์ในวารสารต่างๆ  แต่เขาไม่เคยหันห่างจากอัล-กุรอาน  และในช่วงต้นๆ ของชีวิตการประพันธ์  ซัยยิดก็ได้เขียนหนังสือสองเล่มคือ ถ้อยคำอันวิจิตรงดงามของอัลกุรอาน   และ วันแห่งการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในอัลกุรอาน”  ซึ่งกล่าวเน้นถึงความมหัศจรรย์แห่งลีลาของถ้อยคำ  และศิลปอันงดงามของอัลกุรอาน  แม้ว่าช่วงที่อยู่ในอเมริกานั้น  ซัยยิดจะยังมิได้เข้าร่วมกับขบวนการเคลื่ออนไหวเพื่ออิสลามในอิยิปต์  แต่การอยู่ในอเมริกาได้สร้างความฝังใจอันล้ำลึกให้แก่เขา  และเมื่อเขากลับมา เขามีความมั่นใจว่า  ความเจริญแห่งวัตถุของตะวันตก  ลัทธิคอมมิวนิสต์  เป็นเพียงเหตุผลที่เลอเลิศทางตรรกวิทยาเท่านั้น  ซึ่งปราศจากคุณค่าพื้นบานแห่งความเป็นมนุษย์  และกำลังชักนำมนุษย์สู่การทำลายล้างทางเจตนารมณ์สังคม  และวัตถุ   ในเวลาเดียวกันเขาก็หันมาศึกษาความหมายแห่งคำสอนของอิสลามลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ซัยยิดได้กระโดดเข้ามาศึกษาอัล-กุรอาน  ซึ่งเดี๋ยวนี้มิใช่เพียงการรู้ถึงคุณค่าแห่งภาษาเท่านั้น  แต่เพื่อให้มีความเข้าใจความหมายของมัน  ทุกวันเขาใช้เวลา   8-9   ชั่วโมง  ในการศึกษาหนังสือเกี่ยวกับอิสลาม  ในปี1948  เขาได้ตีพิมพ์ผลงานอันยิ่งใหญ่ชิ้นแรกของเขา  อัล-อะดาลัด  อัล-อิตติมมอียะฮ  ฟี  อัลอิสลาม ( สังคมแห่งความยุติธรรมในอิสลามหลังจากนั้นเขาได้เริ่มงานอธิบายความหมายของอัล-กุรอาน  ในร่มเงาแห่งอัลกุรอาน   ซซึ่งเสร็จสมบูรณ์ลงในระหว่างที่เขาอยู่ในคุก  หนังสือเล่มนี้มิใช่เป็นเพียงการคำอธิบายความหมายในแง่ของวิชาการ  และมีค่าน้อยมากในแง่ของขนบธรรมเนียมประเพณี  แต่หนังสือเล่มนี้แสดงออกอย่างเป็นอิสระของความคิดและความรู้สึก  ซึ้งได้ปลุกจิตใจของผู้เขียนขึ้น  โดยการอ่านโองการเหล่านั้นด้วยวิธีการนี้  เขาจึงประสบความสำเร็จอย่างน่าประหลาดในการแสดงให้เห็นถึงความมีชีวิตในตัวอกษรของอัล-กุรอาน
ตัวอย่างของการอธิบายความหมายของอัล-กุรอานนี้  อยู่ในบทสุดท้าย    ไมล์สโตนส์” (หลักชัย อิสลาม)  ซึ่งมีความเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับซูเราะฮ  อัล-บูรูจญ์   ( ดวงดาว)
หนังสือเด่นๆ ของท่านซัยยิด  กุตุบ
The  qur,anic  Imagery
The  day  of   Judgement
Its  images  in  the  qur,an
World  Peacr  and  Islam
The  Battle  between  Islamic  and  Capitalism
Islamic  Studies
The  Religion
The  characteristics  of  the  Islamic  and  Elements           
Islam and the problem of civilization
Fi-Dhilal-il-Qur-an
คมวาทะของ ซัยยิต กุฎุบ
1.  ระบบอิสลามจะเป็นจริงขึ้นมาได้ก็ด้วยการที่มนุษย์กลุ่มหนึ่งเป็นผู้แบกภารกิจของระบบอิสลามเป็นกลุ่มที่มีศรัทธาในอิสลามอย่างสมบูรณ์เป็นกลุ่มที่ดำรงอิสลามไว้อย่างซื่อสัตย์ตามความสามารถของตนเองทั้งทุ่มเทความพยายามให้อิสลามบังเกิดขึ้นในจิตใจของผู้อื่นและในชีวิตของพวกเขาเองเป็นกลุ่มที่ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างที่เขามีอยู่ เพื่อวัตถุประสงค์ข้อนี้ต่อสู้กับความอ่อนแอที่ผลักดันให้เขาขัดขวางทางนำของอัลลอฮฺแล้ว ต่อมาชนกลุ่มนั้นจะบรรลุความสำเร็จในการที่จะทำให้ครรลองหรือระบบอิสลามเป็นจริงขึ้นมา
2.  ผู้ใดที่ทบทวนข้อเขียนทางปรัชญาที่พยายามอธิบายความเป็นอยู่ตำแหน่งและเป้าหมายในการดำรงอยู่ของมนุษย์แล้ว เขาจะพบเรื่องไร้สาระทับถมกันเป็นกองพอๆกับเรื่องเสกสรรปั้นแต่งทั้งหลายมันมากจนทำให้เรารู้สึกประหลาดว่าความรู้เช่นนี้พรั่งพรูออกมาจากปรัชญาได้อย่างไรกัน พวกเขาลืมนึกไปว่าปรัชญา ก็คือ มนุษย์เรานี้เอง มนุษย์นักปรัชญาเหล่านั้นเป็นผู้ตะเกียกตะกายเข้าไปสู่ขอบเขตที่ตนเองไม่มีความรู้นอกจากเศษธุลี ปัญญาที่อัลลอฮโปรดประทานให้เพื่อชี้นำไปใช้ในเรื่องอื่นไม่ใช่เรื่องนี้
3.      การทำงานและไม่นิ่งดูดาย เป็นลักษณะหนึ่งของจริยธรรมในอิสลาม อิสลามถือว่าการไม่ทำงานและการเพิกเฉยต่อหน้าที่นั้น เป็นการไร้มารยาทและไร้ศีลธรรมอย่างหนึ่ง
4.      การดิ้นรนต่อสู้เพื่อสร้างคุณธรรมและต่อต้านความชั่วร้ายเป็นคุณธรรมและจริยธรรมข้อหนึ่งในอิสลาม
5.      อิสลามถือว่าบาปกรรมและความชั่วช้า เป็นเครื่องพันธนาการที่ผูกมัดจิตใจของมนุษย์ เป็นลูกตุ้มถ่วงมนุษย์ลงสู่โคลนตม
6.      ช่วงแรกของยุคอิสลาม สามารถสร้างบุรุษตัวอย่างขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ในชีวิตจริงของมนุษย์บุคคลเหล่านั้น เป้นผู้เพรียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมอันสูงส่งในรูปแบบที่ไม่เคยปรากฏมาเลยไม่ว่าภายหลังหรือก่อนหน้านั้นเป็นรูปแบบที่สามารถทำให้บุคคลิกของมนุษย์ในระบบอื่นๆ ภายใต้รัศมีของบุคคลเหล่านั้นเป็นเสมือนคนแคระ เล็กๆที่เป้นสิ่งที่มีชีวิตที่ยังไม่สมบูรณ์หรืออย่างน้อยก็ยังมีส่วนประกอบต่างๆยังไม่สมบูรณ์ บุคคลตัวอย่างที่อิสลามได้ผลิตออกมาในช่วงเวลานั้น มิใช่นับด้วยจำนวนนิ้วมือ แต่เป็นมหาชน
7.   สังคมมุสลิมอยู่ในระดับที่สูงต่ำ  แตกต่างกันไปเป็นระยะเวลาหนึ่งพันกว่าปีแต่ทั้งหมดยังสูงกว่า     ระดับสังคมอื่นทั่วโลก
8.  มนุษย์จะต้องรวมตัวกันบนพื้นฐานที่มีคุณสมบัติที่มีเกียรติที่สุดคือความศรัทธามิใช่บนพื้นฐานที่สัตว์ทั่วไปใช้ร่วมกัน เช่น หญ้า  ทุ่งหญ้า อาณาบริเวณหรือกำแพง  ในโลกนี้มีพรรคอยู่สองพรรค  คือพรรคของอัลลอฮและพรรคของชัยฏอน  อุมมะฮ์คือ  กลุ่มชนที่รวมตัวกันด้วยความศรัทธาอย่สงเดียวกัน   ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นชาติขึ้นมา  ถ้าปราศจากศรัทธาก็ไม่มีชุมชน  เพราะประชาชนไม่มีสิ่งเชื่อมเข้าด้วยกัน  แผ่นดิน  เชื้อชาติ  เชื้อสาย  ภาษา  และผลประโยชน์ทางวัตถุหรือทั้งหมดรวมกัน  ไม่เพียงพอในการสร้างชุมชนหนึ่งๆขึ้นมา  นอกจากจะมีศรัทธาเป็นแกนกลางเท่านั้น
9.  มนุษย์ควรได้รับความทุกข์ทรมานและอ่อนระโหยจากการแบกภาระของความเจริญทางวัตถุและความหรูหราฟุ่มเฟือย  เป็นความจริงที่ว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวง  ความเสื่อมทรามทางศีลธรรม  โรคประสาท  โรคจิต  สมองวิปริตและเพศวิปริตกำลังฉีกหน้าอารยธรรม  กำลังผลาญผล่าประชาชาติต่างๆและทำลายมนุษย์  มนุษย์จะต้องสะดุ้งสุดตัวเพราะความชั่วร้าย  การทุจริตและความหายนะ
10.   อิสลามที่เหล่าอเมริกันชนและพันธมิตรปรารถนานั้นไม่ใช่อิสลามที่มาต่อต้านการยึดครองหรือล่าอาณานิคม  และไม่ใช่มาเผชิญหน้ากับการละเมิดและอธรรมทั้งปวง  แต่อิสลามที่พวกเขาต้องการมันคืออิสลามที่ไม่กระทบต่อผลประโยชน์และปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขาเท่านั้น  พวกเขาไม่อยากเห็นอิสลามในความหมายของการปกครอง  พวกเขาต้องการเห็นอิสลามในรูปของการถามตอบข้อปลีกย่อย  เช่นการอาบน้ำนมาซเขาไม่อยากไม่อยากให้อิสลามเข้ากระบวนการทางการเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม การเงิน  การคลัง  ซึ่งแท้จริงแล้วมันเป็นความต่ำต้อยและน่าเจ็บปวดที่สุด.
            จากข้อเขียนของซัยยิด กุฏบ์  ครั้งหนึ่งในการประชุมรัฐสภาอังกฤษ  อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เกรดตัน กล่าวสุนทรพจน์  พร้อมกับถือพระคัมภีร์อัล-กุรอ่าน หนึ่งเล่มอยู่ในมือมีความว่า ตราบใดที่หนังสือเล่มนี้อยู่ในมือประชาชาติมุสลิม  ท่านไม่มีวันยึดครองหรือใช้อิทธิพลเหนือพวกเขาได้ง่ายนัก”  เกรดตันคงทราบและเข้าใจดีถึงพลังของอิสลามที่แฝงอยู่ในนั้น  ความเข้าใจของเกรดตันเป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้งกว่าความเข้าใจของชาวมุสลิมบางคนเสียอีก  เขาตระหนักดีว่าคำสอนของอิสลามนั้น มีความลับอันหนึ่ง  คือพลังแห่งการไม่ยอมแพ้และจำนนพลังแห่งการต่อสู้และต่อต้านและพลังแห่งการสามัคคีซึ่งพร้อมที่จะท้าทายชาวตะวันตกด้วยอาวุธสมัยใหม่ตลอดจนความเจริญของเขาแต่น่าเสียดายที่ชาวมุสลิมเองยังไม่รู้สึกและเข้าใจเหมือนอย่างที่จักรวรรดินิยมอังกฤษเข้าใจ ยิ่งกว่านั้นบางคนยังมองข้ามมรดกอันลำค่านั้นเสียเลยและไม่สนใจต่อพลังอิสลามที่แฝงอยู่ในนั้น ถึงกับมีบางคนมองศาสนาเป็นของครำครึล้าสมัยดูถูกความศรัทธาถือว่าเป็นเรื่องของคนโง่
                จากบุคคลประเภทนี้แหละที่จักรวรรดินิยมตะวันตกแทรกซึมเข้ามาเป็นบ่อนทำลายสร้างความพ่ายแพ้แก่ประชาชาติมุสลิมจนกระทั่งอาณาจักรอิสลามต้องพังพินาศย่อยยับลงทำให้ประชาชาติมุสลิมถูกต้อนไปไว้แนวหลังในขบวนการความเจริญเติบโตของโลกปัจจุบันทั้งที่โลกมุสลิมเป็นผู้บุกเบิกอารยธรรมของโลกมาก่อนในอดีตไม่มีวิธีใดเลยที่พวกจักรวรรดิและขบวนการคริสเตียนนำมาใช้ในการพยายามที่จะทำลายล้างอิสลามแต่ถึงแม้พวกเขาจะพยายามสักเพียงใดก็ตามปรากฏว่าอิสลามยังยืนหยัดอยู่อย่างแข็งแกร่งและมั่นคงและเป็นพลังอันลึกลับอยู่ในบรรดาประเทศอิสลามและในดวงใจมุสลิม
                มีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่าพลังของอิสลามได้ดับมอดไปแล้วตลอดการหาบางครั้งจะได้ยินเสียงเรียกร้องไปสู่การฟื้นฟูอิสลามแต่เสียงนั้นไม่ผิดอะไรกับเสียงถอนหายใจเฮือกสุดท้ายของคนใกล้ตาย แต่ความจริงแล้วการเข้าใจเช่นนั้นเป็นการเข้าใจที่ผิดเพราะอิสลามได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าอิสลามยังเป็นพลังที่ไม่ตาย เป็นพลังที่ได้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งด้วยความสดใสและสมบูรณ์เต็มที่นั้นเป็นความจริงที่ทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ เป็นความจริงที่บังคับให้จักรวรรดินิยมตะวันตกต้องทบทวนเสียใหม่เกี่ยวกับท่าทีต่างๆที่มีต่อประเทศอิสลาม

ญีฮาด เบ็น มูฮัมหมัด นักฟื้นฟูอิสลาม

 ลิงค์ดาวโหลด http://www.upload-thai.com/download.php?id=12e629dc32c4de4520bb7a93ac3d125b ถ้าลิงค์เสีย
เข้าโหลดอันนีได้ http://www.mediafire.com/?ae489bk5s8l7187

ญีฮาด บูงอตันหยง นักฟื้นฟูอิสลามแห่งชายแดนใต้ ถึงแม้ว่าท่านจะกลับไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺแล้ว แต่ผลงานของท่านยังเป็นที่ยอมรับในสังคมอยู่ตลอดเวลา ขออัลลอฮฺทรงตอบแทน วาลีดี


ส่วนข้างล่างเป็นวีีดีโอที่ หายากมาก เป็นวีดีโอก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต มีทั้งหมด 6 ตอน เป็นภาษามลายู
อินชาอัลลอฮฺ จะแปลวีดีโอให้เสร็จโดยเร็ว ดูอันนี้ไปก่อนนะ เด้อ
                                     
   ตอนที่ 1 แปลเป็นภาษาไทยแล้วครับ



ตอนที่ 2 แปลเป็นภาษาไทยแล้วครับ





ตอนที่ 3 ยังไม่ได้แปลอีกครับ อยู่ในช่วงแปลอยู่ครับ




ตอนที่ 4 ยังไม่ได้แปลอีกครับ อยู่ในช่วงแปลอยู่ครับ




ตอนที่ 5 ยังไม่ได้แปลอีกครับ อยู่ในช่วงแปลอยู่ครับ




ตอนที่ 6 ยังไม่ได้แปลอีกครับ อยู่ในช่วงแปลอยู่ครับ



ประวัติ มุหัมมัด รอชีด ริฎอ


มุหัมมัด รอชีด ริฎอ (1865-1935)

          มุหัมมัด รอชีด ริฏอ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในตริโปลี ประเทศเลบานอน เชื่อว่าตระกูลของท่านสืบเชื้อสายมาจากท่านนบีมุหัมมัด (ศ็อลฯ) รอชีด ริฏอเริ่มต้นการศึกษาของท่าน โดยการเข้าเรียนในโรงเรียนที่ก่อตั้งโดยชัยคฺ หุสัยน์ อัลญิสร์ (เสียชีวิตปี 1909) ซึ่งเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ชัยคฺ หุสัยน์ เชื่อว่าหนทางที่จะทำให้มุสลิมเจริญก้าวหน้านั้นคือ การผสานการศึกษาระหว่างวิชาการศาสนาและวิชาการสมัยใหม่เข้าด้วยกัน ณ โรงเรียนแห่งนี้เองที่ รอชีด ริฎอ ได้ศึกษาวิชาการศาสนา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และภาษา อันได้แก่ ภาษาตุรกี และฝรั่งเศส ท่านได้ศึกษางานเขียนของอัลเฆาะซาลีย์ และอิบนุตัยมี-ยะฮฺ ซึ่งดลใจให้ท่านเกิดความคิดที่จะปฏิรูปสภาพที่ตกต่ำของมุสลิม และทำให้อิสลามบริสุทธิ์จากการลัทธิศูฟีย์ ท่านจึงเขียนหนังสือ อัลหิกมะฮฺ อัล-ชัรอียะฮฺ ขึ้น เพื่อตำหนิการปฏิบัติหลาย ๆ ประการของมุสลิม หนังสือเล่มนี้ไม่ได้รับการตีพิมพ์ในเลบานอน แต่อย่างไรก็ตามมันก็ได้รับการตีพิมพ์ที่อียิปต์ในเวลาต่อมา ในตอนปลายศตวรรษที่ 19 ขบวนการฟื้นฟูอิสลามซึ่งนำโดย ญะมาลุดดีน อัลอัฟฆอนีย์ และ มุหัมมัด อับดุฮฺ มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกมุสลิม ขบวนการนี้พยายามที่จะค้นหาสาเหตุแห่งความตกต่ำของมุสลิม และฟื้นฟูความรุ่งโรจน์ของอิสลาม นอกจากนั้นแล้ว ยังได้เน้นให้มุสลิมใช้สติปัญญา และศึกษาวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ขบวนการของอัลอัฟฆอนีย์ และอับดุฮฺก็เพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคีในหมู่มุสลิม และขับไล่ตะวันตกออกจากดินแดนของพวกเขา แนวคิดต่าง ๆ ของ อัลอัฟฆอนีย์ และอับดุฮฺ ถูกถ่ายทอดผ่านวารสาร อัลอุรวะฮฺ อัลวุษกอของพวกเขา วารสารนี้พยายามที่จะนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ เสรีภาพ อิสรภาพ ความสามัคคี และสิทธิของผู้ถูกปกครองให้แก่ผู้อ่าน วารสารอัลอุรวะฮฺ อัลวุษกอ มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อรอชีด ริฎอ ซึ่งมีแนวคิดในการฟื้นฟูอิสลามอยู่แล้ว  มุหัมมัด รอชีด ริฎอมีความหวังอย่างแรงกล้าที่จะเข้าร่วมขบวนการของญะมาลุดดีน อัลอัฟฆอนีย์ แต่เมื่อท่านทราบว่าญะมาลุดดีนเสียชีวิต ท่านจึงเบนเข็มไปยังมุหัมมัด อับดุฮฺ ซึ่งเป็นลูกศิษย์คนสำคัญของญะมาลุดดีน อัลอัฟฆอนีย์ ในปี ค.ศ. 1897 รอชีด ริฎอ เดินทางเข้าสู่ประเทศอียิปต์ หลังจากอาศัยอยู่ในอียิปต์ไม่นานท่านได้เป็นลูกศิษย์และคนสนิทของอับดุฮฺ ในปี ค.ศ. 1898 รอชีด ริฎอ ได้ตีพิมพ์วารสารรายสัปดาห์ชื่ออัลมะนาร ต่อมาวารสารฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เป็นรายเดือน จุดมุ่งหมายของวารสาร อัลมะนาร ก็เพื่อที่จะเผยแผ่แนวคิดเกี่ยวกับการฟื้นฟูอิสลาม และเพื่อผสานความสามัคคีในบรรดามุสลิม เนื้อหาของอัลมะนารจะประกอบไปด้วยการอรรถาธิบายอัลกุรอานของอับดุฮฺ การฟัตวาของรอชีด ริฎอเกี่ยวกับปัญหาใหม่ ๆ และบทความที่เกี่ยวกับสังคม วรรณคดี และศาสนา จะเห็นได้ว่าวารสารอัลมะนาร ยึดแนวทางของวารสารอัลอุรวะฮฺ อัลวุษกอ โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่จะมุ่งเน้นการปฏิรูปสังคม และการศึกษาเป็นหลัก แต่เมื่ออับดุฮฺเสียชีวิตลง วารสาร อัลมะนารก็เคลื่อนไหวในด้านการเมืองอย่างชัดเจน รอชีด ริฎอเริ่มเขียนบทความเกี่ยวกับระบอบเผด็จการ ความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปจักรวรรดิออตโตมาน, การมีระบบชูรอ (การปรึกษาหารือ), รัฐธรรมนูญ, ประชาธิปไตย, จักรวรรดินิยม และการคุกคามของชาวต่างชาติวารสารอัลมะนารเป็นวารสารที่แพร่หลายในประเทมุสลิมหลาย ๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย อินโดนีเซีย ประเทศในแอฟริกา และอื่น ๆ อัลมะนารกลายเป็นที่ชื่นชอบของนักอ่านเกือบทุกชนชั้น ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรี ผู้พิพากษา นักวิชาการ หรือนักเรียนนักศึกษา มุหัมมัด รอชีด ริฎอ เป็นนักเขียนที่มีผลงานมากมาย ท่านมีงานเขียนมากกว่าอับดุฮฺ และอัฟฆอนีย์เสียอีก นอกจากจะเป็นนักเขียน และบรรณาธิการให้วารสารอัลมะนารแล้ว รอชีด ริฎอยังได้เขียนหนังสือต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย    เช่นเดียวกับอับดุฮฺ รอชีด ริฎอเชื่อในความสอดคล้องกันระหว่างอิสลามและความเป็นสมัยนิยม รอชีด ริฎอ เน้นให้มีการอิจญติฮาดเพื่อตีความหลักคำสอนของอิสลาม เกี่ยวกับเอกภาพของมุสลิมและการดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และวัฒนธรรมนั้น ท่านมองว่าแหล่งที่มาดั้งเดิมของอิสลามนั้นคือหลักพื้นฐานของการฟื้นฟูอิสลาม  รอชีด ริฎอทุ่มเทเวลาให้กับการฟื้นฟูอิสลามตลอดชีวิตของท่าน ท่านเชื่อว่า ความตกต่ำของมุสลิมเกิดขึ้นเนื่องจากการหยุดนิ่งของนักวิชาการ และการมีผู้นำเผด็จการ ท่านมองว่า การที่มุสลิมต้องตกเป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตกนั้นก็เนื่องจากว่ามุสลิมมีความอ่อนแอ และขาดความสามารถในการเป็นเลิศในด้านวิทยาศาสตร์ ในการก่อตั้งสถาบันทางการเมือง และการจำกัดอำนาจของรัฐบาลนั้น รอชีด ริฎอกระตุ้นให้มุสลิมเรียนรู้อารยธรรมของตะวันตก อันได้แก่วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ท่านพยายามที่จะผสานระหว่างวิทยาการอิสลามและวิชาการสมัยใหม่เข้าด้วยกัน และได้ใช้แนวคิดนี้ในโรงเรียนแห่งการเผยแผ่และทางนำ (School of Propagation and Guidance) ซึ่งท่านได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1912  ในขณะที่สถาบันคอลีฟะฮฺแห่งอาณาจักรออตโตมันกำลังจะล่มสลาย รอชีด ริฎอได้เขียนบทความเรื่องคอลีฟะฮฺ หรือผู้นำอันสูงส่ง (the Caliphate or the Supreme Imamate) เพื่อบรรยายถึงระบบคอลีฟะฮฺ และแนะนำแนวทางที่จะธำรงรักษาสถาบันคอลีฟะฮฺของอาณาจักรออตโตมานไว้    ถือได้ว่ารอชีด ริฎอคือตัวเชื่อมต่อแนวคิดของญะมาลุดดีน อัลอัฟฆอนีย์ และมุหัมมัด อับดุฮฺ กับนักวิชาการรุ่นหลัง ๆ เช่น หะสัน อัลบันนา และสัยยิด กุฏุบได้เป็นอย่างดี นอกจาก อัลมะนารแล้ว ท่านยังทิ้งผลงานอื่น ๆ ไว้อีกมากมาย เช่น



o    อัล-หิกมะฮฺ อัล-ชัรอียะฮฺ
o    อัลวะหฺฮี อัล-มุหัมมะดีย์
o    มุหาวะรอต อัล-มุศลิหฺ วะ อัล-มุกกอลลิด
o    ตารีค อัล-อุสตาซ อัล-อิหม่าม อัล-ชัยคฺ มุหัมมัด อับดุฮฺ
o    อัลมะนาร วะ อัล-อัซฮาร
o    นิดาอฺ อิลา ญินส์ อัล-ละฏีฟ
           

            ชัยคุ มุฮัมมัด รอชีด รีฎอ นักฟื้นฟูอิสลาม ได้กล่าวไว้ในตัฟซีร "อัล-มะนาร" อันมีชื่อเสียงของท่าน และในหนังสือ "อันวะหฺยุลมุฮัมมะดียฺ" ว่า "ไม่มีใครคัดค้านหุกมนี้(คือการถือว่าภาษาอาหรับเป็นวาญิบที่ต้องเรียน)เลย ฉะนั้นจึงถือเป็นการลงมติเป็นเอกฉันท์"

ประวัติ มุฮัมมัด อับดุฮ์

ประวัติความเป็นมา
                มุฮัมมัด  อับดุฮ์  บิน  ฮะซัน  ค็อยรุลเลาะห์  เกิดที่อียิปต์ในปี ค.. 1849  และเสียชีวิตที่อียิปต์เช่นกันในปี ค.. 1905  รวมอายุได้  56  ปี 
                ชื่อที่แท้จริงของเขาคือ  มุฮัมมัด  บิน  อับดุฮ์  บิน  ฮะซัน  ค็อยรุลเลาะห์  มุฮัมมัด  อับดุฮ์ นั้น  เมื่อเขายังเยาว์วัยได้เรียนอัลกุรอานกับผู้ปกครองของเขา  และปรากฏว่าเขามีความเฉลียวฉลาดมาตั้งแต่เด็ก  มีรายงานว่า มุฮัมมัด  อับดุฮ์  ท่องจำอัลกุรอานทั้งเล่มได้เมื่ออายุราว 12  ปี  เขาได้ศึกษาต่อทางสายศาสนาที่มัสยิด อะห์มะดีที่ตันตา  และหลังจากนั้นก็ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย อัล-อัซฮัร  และขณะที่เขากำลังศึกษาอยู่ที่ อัล-อัซฮัร นั้น  ก็มีผู้นำอิสลามคนหนึ่งมาเยือนอียิปต์  โดยถูกขับมาจากรัฐบาลอัฟฆานิสตาน  ซึ่งก็คือ ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆานี  นั่นเอง
                มุฮัมมัด  อับดุฮ์  เกิดรักชอบต่อญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆานี  ผู้นี้มากจนกล่าวได้ว่าชอบไปที่บ้านพักของเขาเพื่อไปฟังการพูดต่าง ๆ เกี่ยวกับปรัชญา เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ  หรือ  แผนการปกครอง  และเกี่ยวกับการต่อต้านลัทธิจักรพรรดินิยมเป็นประจำ  ส่วนการศึกษาของเขาในอัล-อัซฮัร  ก็เริ่มถูกรบกวน  จนทำให้ทัศนะหรือความเข้าใจของเขาบิดเบือนไปจากคณาจารย์ในอัล-อัซฮัร
                เขาอ่านหนังสือต่าง ๆ ของมั๊วะตะซีละห์  และหนังสือของกลุ่มผู้ถือเหตุผลในศาสนาอิสลามมากเกินไป  ดังนั้นบรรดาอาจารย์ของเขาในอัล-อัซฮัร  เคยกล่าวหาว่าเขาละทิ้งทัศนะของอัซ-อารีย์และโอนเอียงไปทางทัศนะของมั๊วะตะซีละห์ (ดู มุก็อด  ดิมะห์  ริซาละห์  เตาฮีด  ซึ่งถอดความโดย ฮัจยี  ฟิรเดาซ์  เอ.เอ็น  หน้า 8)
                มุฮัมมัด  อับดุฮ์  จบการศึกษาจาก อัล-อัซฮัร  ในปี 1877  แต่ทว่าในสมองของเขาได้รับอิทธิพลจากวิชาการของญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆานี  มากกว่าวิชาการของอัล-อัซฮัร  หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว  เขาก็ได้เข้าทำงานเป็นบรรณาธิการนิตยสาร อัล-วะกออิดุล  มัสรียะห์นอกจากนั้นยังเป็นอาจารย์ในหลาย ๆ  มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนอีกด้วย  นิตยสาร อัล-วะกออิดุล  มัสรียะห์นั้นคือ นิตยสารจากทางการของรัฐบาลอียิปต์  ซึ่งตีพิมพ์เพื่อกระจายข่าวต่าง ๆ ของรัฐบาล  จัดทำขึ้นในปี ค..1828  โดย  ซุลตาน  มุฮัมมัด  อาลี  
ณ  ตรงนี้เองที่มุฮัมมัด  อับดุฮ์   ได้รับตำแหน่งเป็นบรรณาธิการ (ดู ตารีค  อะดาบุลลุฆอติ้ล  อะรอบียะห์  เขียนโดย  ญูรยี  ซัยดะห์  บทที่ หน้า 52)
ในปี 1879  เขาได้ถูกรัฐบาลสั่งปลดออกจากตำแหน่งอาจารย์เพราะรัฐบาลอียิปต์กล่าวหาว่า  แบบฉบับหรือหลักคำสอนของมุฮัมมัด  อับดุฮ์  ในเรื่องศาสนานั้น  แตกต่างไปจากหลักคำสอนที่ประชาชนอียิปต์ยึดถืออยู่ในขณะนั้น  หลังจากหน้าที่การเป็นอาจารย์ของเขาถูกถอนออกแล้ว ดังนั้นหน้าที่ของมุฮัมมัด  อับดุฮ์  จึงเหลือเพียงแค่เป็นบรรณาธิการนิตยสาร อัล-วะกออิดุล  มัสริยะห์เท่านั้น
มุฮัมมัด  อับดุฮ์  เป็นผู้ที่แข็งขันอยู่ในพรรคของ อัล-ฮิซบุล  วะตอนี  อัล-มิสรี (พรรคชาติ อียิปต์อันมีคำจูงใจเป็นภาษิตประจำพรรคว่า อียิปต์เพื่ออียิปต์”  มุฮัมมัด  อับดุฮ์  เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่แข็งขันต่อพรรคมาโดยตลอด  นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งพรรคจนกระทั่งถูกรัฐบาลอียิปต์สั่งยุบพรรคไป (ดู มุฮัมมัด  อับดุฮ์  เขียนโดยมุฮัมมัด  อัล-อักก๊อด  หน้า 129)
จากนั้นไม่นานนัก  รัฐบาลอียิปต์ก็ได้ขับมุฮัมมัด  อับดุฮ์  ออกจากอียิปต์หลังจากที่ได้ถูกจำคุกเป็นเวลา  เดือนเต็ม  ในข้อหามีส่วนร่วมการปฏิวัติที่ล้มเหลวของ อะรอบี  ปาชา  จากนั้นมุฮัมมัด  อับดุฮ์  จึงได้ไปอยู่ที่เบรุต (เลบานอนขณะที่อยู่ที่เบรุตนั้น  เขาก็ได้เข้าเป็นอาจารย์สอนในวิทยาลัย ซุลตอนียะห์”  เป็นอาจารย์สอนวิชาเตาฮีด
หนังสือเล่มนี้ที่ชื่อริชาลาตุล  เตาฮีดเป็นหนังสือที่ได้มาจากการสอนของท่านมุฮัมมัด  อับดุฮในเรือนวิทยาลัยหลังนั้น  พร้อมทั้งยังได้ถูกใช้เป็นตำราในสถานศึกษาชั้นสูงทั่วๆไปด้วย  ได้ผ่านการปรับปรุงจากศิษย์ของเขาคนหนึ่งชื่อ  เชค  มุฮัมมัด  รอชิด  ริดอ (เสียชีวิตไปในปี  ค.. 1935)
                มุฮัมมัด  อับดุฮ์  ใช้ชีวิตอยู่ในเบรุตประมาณ  ปี  จากนั้นอาจารย์ของเขาคนหนึ่งที่ชื่อ   ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆานีก็ได้เรียกตัวเขาไปยังปารีส  เพื่อไปร่วมจัดทำนิตยสาร  อัล-อุรวาตุล       วุตกอ”   ชะตาของมุฮัมมัด  อับดุฮ์  นับว่าดีกว่าชะตาของ ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆานี .
                หลังจากรัฐบาลฝรั่งเศสได้สั่งปิดนิตยสารดังกล่าวแล้ว  ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆานีก็ได้ถูกขับไล่ออกจากประเทศฝรั่งเศษ  ส่วนุฮัมมัด  อับดุฮ์  ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอียีปต์  โดยอำนาจจากซุลตานอับบาส  เฮลมี  ให้กลับไปยังประทศอีกครั้ง
                เมื่อได้เดินทางไปยังอียิปต์แล้ว  เขาก็ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็น มุฟตี” (มุฟตี  ริยาริล  มัสรียะฮ์มีหน้าที่คอยให้คำปรึกษาแนะนำแก่  ซุลตานอียิปต์ในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา
                หลังจากนั้นก็ไม่นาน มุฮัมมัด อับดุฮ์  ก็ได้ถูกเลือกและถูกแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาแทนราษฎรอียิปต์  พร้อมทั้งยังได้เป็นประธานกรรมมิการ  ซึ่งคอยเป็นตัวเชื่อมหรือประสานกันระหว่างรัฐบาลกับผู้แทนราษฎรอีกด้วย
                เขาเป็นนักการเมืองคนหนึ่ง  และผลงานทางการเมืองของเขามีมากกว่าวิชาด้านด้านศาสนา  อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้เองที่ทำให้เขาไม่ค่อยได้เขียนหนังสือด้านศาสนา  ไม่ว่าจะเป็นหนังสือฟิกฮฺ  หะดิษ  และอื่นๆ ก็ตาม

                 แนวคิดหรือความเข้าใจของเขา
·       ต่อต้านมัซฮับทั้ง 4
·       เรียกร้องเชิญชวนให้กลับไปสู่อัล-กุรอ่าน  และอัซ-ซุนนะห์
·       เรียกร้องให้ทุกคนทำการอิญติฮาด (วินิฉัยปัญหาศาสนาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน)
·       ต่อต้านอะกีดะห์ยะบารหรือญะบารียะห์
·       ต่อต้านกีตาบฟิกฮ์  โดยเฉพาะกิตาบฟิกฮ์ มุตะอัคคีรีน (ชนรุ่นหลัง)
·       ฟื้นฟูบรรดาหนังสือที่เข้าใจว่าเป็นมรดกอันเก่าแก่
·       ถือว่าการศึกษาวิชาเตาฮีดตามแบบฉบับของอะห์ลิซซุนนะวัล-ญะมาอะฮ์นั้นไม่มีประโยชน์สำหรับหารยึดถือ  แต่สามารถศึกษาได้เพื่อการลับสมองเท่านั้น  เตาฮีด                 (การให้เอกภาพ) ที่ดีก็คือ  ทำความเชื่อมั่นแก่มนุษย์ตามที่ระบุอยู่ในอัรกุรอ่าน
·       คลางแคลงต่อหะดิษที่ว่า จะแตกออกเป็น 73 จำพวก
·       ให้เสรีภาพต่อสติปัญญาและความคิดของมนุษย์อย่างเต็มที่
·       ให้ความเข้าใจในศาสนาตามทัศนะของซะลัฟ
·       ปรับปรุงแก้ไขคุณภาพของภาษาอาหรับ
·       และอื่น ๆ  (ซึ่งทั้งหมดผู้เขียนได้คัดมาจากหนังสือหลาย ๆ เล่ม  และคัดมาจากหนังสือ อัล-ฟิกรุล  อิสลามมิล  หะดิษ  เขียนโดย  ด็อกเตอร์  มุฮัมมัด  อัลบาฮี  หน้า 91-148

                 ผลงานของอับดุฮฺ
                หนังสือที่มุฮัมมัด  อับดุฮ์  เขียนขึ้นนั้นมีเพียง  เล่ม  คือ
                1.  ริชาลาตุล  เตาฮีด
                2.  ตัฟซี  ยุช  อัมมา
                3.  อัล-อิสลาม  วัน-นัสรอนี
                ส่วนหนังสือตัฟซีรอันเป็นที่เลื่องลือชื่อ ตัฟซีร  มุฮัมมัด  อับดุฮ์”  นั้นไม่ได้เขียนโดยมุฮัมมัด  อับดุฮ์  แต่เขียนขึ้นโดยศิษย์ของท่านคนหนึ่งชื่อ  เชค  มุฮัมมัด  รอชิด  ริดอ  (เสียชีวิตปี  ค.. 1935)
ฉะนั้น  จึงถือเป็นการไม่ลงตัวหากมุฮัมมัด  อับดุฮ์ถูกขนานนามหรือถูกให้ชื่อว่า  อัล-อุซตาซ  อัล-อิหม่าม”  เทียบเคียงจากอูลามะอฺ ปริญญาบัตรจากอัล-อัซฮัร  เช่น  เชค  อะนู  ฮะญัร  อัล-ฮัยตามี (ผู้แต่งหนังสือฟิกฮฺ  ตุฮฟะตุล  มุฮ์ตัญ) เชค  ซาการียา  อัล-อันศอรีย์ (ผู้แต่งหนังฟิกฮ  มินฮาญุต  ตูลับ  ซาเราะห์  ฟะตุล  วาฮาบและเชค  ซัรกอวีย์ (ผู้แต่งหนังเตาฮีด  ซาเราะห์  ซานุซี)
ไม่เคยนึกคิดเลยว่า  มุฮัมมัด  อับดุฮ์  จะเอาวิญญาณแห่งความคิดสมัยใหม่ในศาสนาเข้าไปยังในสังคมอิสลาม  ได้อย่างนุ่มนวลและเฉียบแหลม  โดยร่วมกันกับศิษย์ของเขาชื่อ  มุฮัมมัด  รอชีด  ริดอ  ด้วยการใช้สื่อผ่านทางวารสารอัล-มะนาร
ผลของความคิดสมัยใหม่ในศาสนานั้น  จะดีหรือไม่ประการใดผู้เขียนไม่ทราบ  แต่หน้าที่ความรับผิดชอบส่วนใหญ่ต้องตกอยู่บนบ่าของ มุฮัมมัด  อับดุฮ์อย่างแน่นอน .
อะห์หมัด  อามีนผู้เขียนที่โด่งดัง  ในอียิปต์ที่แต่งหนังสือ  ซุอามาอุล  อิสลาม”  ได้ระบุในหนังสือของเขาหน้า  121  ว่า  ซัยยิด  อะห์หมัดคนในอินเดียนั้นคล้ายคลึงกันกับมุฮัมมัด  อับดุฮ์  ในอียิปต์  ทั้งสองเป็นผู้ทีความคิดสมัยใหม่ในศาสนา  และทั้งสองก็แนะนำให้ ประนีประนอม”  กับรัฐบาลอังกฤษผู้ครอบครองเมืองขึ้น  นอกจากนั้นแล้วทั้งสองยังได้ให้ทัศนะว่า  อังกฤษมีความแข็งแกร่งมากทั้งทางน้ำและทางบก  ซึ่งอินเดียและอียิปต์ไม่สามารถสู้รบปรบมือได้เลย  แต่ถ้าประชาชาติอิสลามสามารถเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันได้  บางทีก็อาจจะสามารถต่อกรกับอังกฤษได้  กว่าจะเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างไร  หากประชาชาติอิสลามยังจมปลักอยู่กับความโง่เขลา  อีกทั้งบรรดาราชาแห่งอิสลามก็ยังไม่ได้เป็นที่เชื่อมั่นได้  ดังนั้นทางที่ดีเราควรอ่อนข้อหรือประนีประนอมกับอังกฤษและตักตวงผลประโยชน์ที่เหมาะที่ควรจากพวกเขา”  .
ดร. มุฮัมมัด  อัล-บาฮี  นักเขียนผู้รักชอบในตัวของมุฮัมมัด  อับดุฮ์ได้เขียนบทความโต้ตอบมุฮัมมัด  อามีน  ไว้ในหนังสือ อัล-ฟิกรุล  อิสลามิล  ฮะดีษ”  หน้า  150  ว่า
บางทีอุซตาซอะห์หมัด  อะมีนมีทัศนะว่า  ไมตรีจิตของมุฮัมมัด  อับดุฮ์ที่ได้หยิบยื่นให้กับลอด  โครเมอร์เป็นการประจบประแจงของมุฮัมมัด  อับดุฮ์ที่มีอังกฤษ  แต่ความจริงมิได้เป็นนั้น  มุฮัมมัด  อับดุฮ์สัมผัสมือกับอังกฤษก็เพื่อปกป้องตนเองให้พ้นจากแรงกดดันของซุลตาน  อับบาสที่ 2 และด้วยวิธีการดังกล่าวนั้นทำให้เขานั้นสามารถบรรลุถึงเป้าหมายได้  ซึ่งก็คือการปฏิรูปอัล-อัซฮัร
จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้  บรรดาอูลามะอฺอัล-อัซฮัรก็ยังไม่ค่อยจะยอมรับกับการปฏิรูปอัล-อัซฮัรตามข้อเสนอหรือข้อแนะนำของ มุฮัมมัด อับดุฮ์  เพราะบรรดาอูลมะอเหล่านั้นยังคงคลางแคลงต่อศาสนาของมุฮัมมัด อับดุฮ์  และหนังสือตัฟซีรที่ชื่อ  ตัฟซีร  มุฮัมมัด  อับดุฮฺ  หรือ ตัฟซีร  อัล-มะนาร”  นั้นก็ยังไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับและยังไม่ได้นำมาสอนกันในอัล-อัซฮัร (ดู ฟิกฮ์รุล  อิสลามิล  ฮะดีษ  หน้า 146)
ปัจจุบันนี้อัล-อัซฮัร  ได้มีการสอนวิชาฟิกซ์ของมัซฮับทั้งสี่  แม้ว่าแต่ก่อนเคยถูกมุฮัมมัด  อับดุฮ์ต่อต้านก็ตาม
สมควรที่ผู้อ่านจะต้องทราบกัน ณ ตรงนี้ว่า  มุฮัมมัด  อับดุฮ์  นั้นเป็นผู้ที่ชำนาญด้านการขี่ม้า  เขาใช้ม้าเป็นพาหนะในการเดินทางไปในทุกหนแห่ง  ถึงแม้จะไปยังสถานที่ต่าง ๆ ของทางราชการก็ตาม  นอกจากนั้นแล้วเขายังเป็นผู้ที่ชอบการกีฬาด้วย  เขาเคยขี่ม้าไปยังอัสวานเพื่อไปชมการแข่งวอลเล่ย์บอล (ดู มุฮัมมัด  อับดุฮ์  เขียนโดยมุฮัมมัด  อับบาส  อัล-อักก๊อด  หน้า 222)
มุฮัมมัด  อับดุฮ์เสียชีวิตที่อิยิปต์ในปี 1905