เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม


أبو داود، سليمان بن الأشعث. (د.ت). سنن أبي داود. حمص : دار الحديث.
أبو شهبة، محمد بن محمد.(1408هـ). الإسرائيليات والموضوعات. الطبعة الرابعة. القاهرة : مكتبة السنة.
أحمد محمد شاكر. (1408هـ). الباعث الحثيث شرح اختصار علوم الحديث للحافظ ابن كثير. الطبعة الثالثة. بيروت : مؤسسة الكتب الثقافية.
أحمد بن حنبل، الإمام. (1398هـ-1978م). مسند الإمام أحمد بن حنبل. الطبعة الثانية. بيروت : دار الكتب العلمية.
أكرم ضياء العمري. (1405هـ-1984م). بحوث في تاريخ السنة المشرفة. الطبعة الرابعة. بيروت : بساط
الألباني، محمد ناصر الدين. (1405هـ-1985م). سلسلة الأحاديث الصحيحة. الطبعة الرابعة. بيروت : المكتب الإسلامي.
_____________. (1405هـ-1985م). سلسلة الأحاديث الضعيفة والموضوعة. الطبعة الخامسة. بيروت : المكتب الإسلامي.
البخاري، محمد بن إسماعيل. (1422هـ-2001م). صحيح البخاري. (د.ب) : دار المنار.
البيهقي، أبو بكر أحمد بن الحسين. (1414هـ-1994م). السنن الكبرى. الطبعة الأولى. بيروت : دار الكتب العلمية.
الترمدي، محمد بن عيسى بن سورة. (1389هـ-1978م). سنن الترمدي. الطبعة الثانية. مصر : شركة مكتبة ومطبعة مصطفى البابى الحلبي وأولاده.
جلال الدين السيوطي. (1385هـ- 1966م). تدريب الراوي في شرح تقريب النووي. الطبعة الثانية. بيروت : دار الكتب الحديثية.
الحاكم، أبو عبد الله محمد بن عبد الله. (1411هـ-1990م). المستدرك على الصحيحين. الطبعة الأولى. بيروت : دار الكتب العلمية.
ابن خزيمة، أبو بكر محمد بن إسحاق. (1400هـ-1980م). صحيح ابن خزيمة. بيروت : المكتب الإسلامي.
الخطيب البغدادي، أحمد بن علي بن ثابت. (1974م). تقييد العلم. الطبعة الثانية. د.م : دار إحياء السنة النبوية.
______________________. (د.ت). الكفاية في علم الرواية. المدينة المنورة : المكتبة العلمية.
الدارقطني، علي بن عمر. (1413هـ-1993م). سـنن الدارقطني. الطبعة الثالثـة. بيروت : عالم الكتب.
زين الدين عبد الرحيم ابن الحسين العراقي. (1405هـ-1984م). التقييد والإيضاح شرح مقدمة ابن الصلاح. الطبعة الثانية. بيروت : دار الحديث.
شمس الدين محمد ابن عبد الرحمن السخاوي. (1403هـ-1983م). فتح المغيث شرح ألفية الحديث للعراقي. الطبعة الأولى. بيروت : دار الكتب العلمية.
طاهر بن صالح الجزائري. (د.ت). توجيه النظر إلى اصول الأثر. بيروت : دار المعرفة.
ظفر أحمد العثماني التهانوي. (1404هـ-1984م). قواعد في علوم الحديث. الرياض : شركة العبيكان للطباعة والنشر.
عبد الله بن عبد الرحمن السمرقندي. (1407هـ-1987م). سنن الدارمي. الطبعة الأولى. بيروت : دار الكتاب العربي.
عثمان بن عبد الرحمن الشهرزوري، أبو عمرو المعروف باين الصلاح. (1401هـ-1981م). علوم الحديث. بيروت : المكتبة العلمية.
العسقلاني، أجمد بن علي ابن حجر. (د.ت). نزهة النظر شرح نخبة الفكر في مصطلح أهل الأثر. المدينة المنورة : مكتبة طيبة.
___________________. (1325هـ). تهديب التهديب. الطبعة الأولى. الهند : مطبعة مجلس دائرة المعارف النظامية الكائنة.
___________________. (د.ت). تقريب التهديب. بيروت : دار المعرفة.
العسقلاني، أجمد بن علي ابن حجر. (د.ت). فتح الباري بشرح صحيح الإمام البخاري. بيروت : دار المعرفة.
عمر حسن فلاته. (1401هـ-1981م).  الوضع في الحديث. دمشق : مكتبة الغزالي.
القاسمي، محمد جمال الدين. (1380هـ-1960م). قواعد التحديث من فنون مصطلح الحديث. الطبعة الثانية مصر : دار إحياء الكتب العربية.
مالك بن أنس. (د.ت). الموطأ الإمام مالك بن أنس. (د.م) : المكتبة التوقيفية.
محمد بن إسماعيل الأمير الحسني الصنعاني. (د.ت). توضيح الأفكار لمعاني تنقيح الأنظار. الطبعة الأولى. بيروت : دار إحياء التراث العربي.
محمد بن يزيد القزويني. (د.ت). سنن ابن ماجه. بيروت : المكتبة العلمية.
محمود الطحان. (1403هـ-1982م). تيسير مصطلح الحديث. الطبعة الرابعة د.م. : مكتبة الشروات للنشر والطباعة.
مسلم بن الحجاج النيسابوري. (1401هـ-1981م). صحيح مسلم بشرح النووي. بيروت : دار الفكر.
مصطفى السباعي. (1402هـ-1982م). السنة ومكانتها في التشريع الإسلامي. الطبعة الثالثة بيروت : المكتب الإسلامي.
النسائي، أبو عبد الرحمن بن شعيب. (1383هـ-1964م). سنن النسائي (المجتبى). الطبعة الأولى. مصر : شركة مكتبة ومطبعة مصطفى البابى الحلبي وأولاده.



หะดีษเฎาะอีฟญิดดัน

เป็นหนังสือที่ใช้สอนใน ของคณะอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี
โดย อาจารย์ อับดุลเลาะ การีนา มีทั้งหมด 7บท ต่อมาด้วยหะดีษต่างๆอีก 4 บทนะ

ระดับที่สี่   หะดีษเฎาะอีฟญิดดัน


หะดีษระดับนี้มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในแง่คุณธรรมของนักรายงานซึ่งมีลักษณะเป็นคนฟาสิก  ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนโกหก   มัตรูก   มุนกัร  เฎาะอีฟญิดดัน

หัวข้อย่อย
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
1. หะดีษเฎาะอีฟ ญิดดัน
2. หะดีษมัตรูก
3. หะดีษมุนกัร
1. เข้าใจหะดีษเฎาะอีฟญิดดันและส่วนที่เกี่ยวข้อง
2. เข้าใจหะดีษมัตรูกและส่วนที่เกี่ยวข้อง
3. เข้าใจหะดีษมุนกัรและส่วนที่เกี่ยวข้อง

1.   นิยาม

หะดีษเฎาะอีฟญิดดัน คือ  หะดีษที่รายงานโดยผู้รายงานที่มีลักษณะต่าง ๆ เช่น  มัตรูก  มุนกัร ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนโกหก ฟาสิก และเฎาะอีฟญิดดัน

2.   ตัวอย่างหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน

หะดีษเฎาะอีฟญิดดันมีมากมาย  แต่ที่จะยกตัวอย่างเพียงบางหะดีษเท่านั้น เช่น
عن عبد الله بن عمر رضي الله عنهما عن النبي صلى الله عليه وسلم قال : (( ما يمنع أحدكم إذا عسر عليه أمر معيشته أن يقول إذا خرج من بيته : بسم الله على نفسي ومالي وديني، اللهم رضني بقضائك، وبارك لي فيما قدر لي حتى لا أحب تعجيل ما أخرتُ ولا تأخير ما عجلتُ ))
ความว่า   จากอับดุลเลาะ เบ็ญอุมัร t เล่าจากท่านนบี r ซึ่งท่านกล่าวว่า ไม่มีสิ่งใดกีดกั้นคนใดในหมู่พวกเจ้า เมื่อรู้สึกยุ่งยากต่อการงานให้เขาอ่านดุอาอฺในขณะที่จะก้าวเท้าออกจากบ้านبسم الله على نفسي ومالي وديني، اللهم رضني بقضائك، وبارك لي فيما قدر لي حتى لا أحب تعجيل ما أخرت ولا تأخير ما عجلت(อิบนุอัซซุนนีย์ : 352)
อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ กล่าวว่า  หะดีษนี้เป็นหะดีษเฆาะรีบ บันทึกโดย   อิบนุ    อัสสุนนีย์  ซึ่งในสะนัดของหะดีษมีผู้รายงานท่านหนึ่งชื่อว่า อีซา เบ็ญ มัยมูน มีสถานะเป็นคนเฎาะอีฟญิดดัน (อ่อนมาก)

3.   ฐานะของหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน

หะดีษเฎาะอีฟญิดดันมีฐานะสูงกว่าหะดีษเมาฎูอฺและต่ำกว่าหะดีษเฎาะอีฟ (หะดีษเฎาะอีฟธรรมดา)  เนื่องจากผู้รายงานในสะนัดมีสถานภาพที่ต่ำกว่า

4.   สถานะของหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน

หะดีษเฎาะอีฟญิดดันไม่สามารถให้การสนับสนุนหะดีษเฎาะอีฟที่มาจากสาเหตุความบกพร่องในกระบวนการรายงานและความบกพร่องในแง่ความจำของผู้รายงาน  และยังไม่สามารถรับการสนับสนุนจากสายรายงานอื่นอีกด้วย  แม้ว่ามีกระแสรายงานมากมายก็ตาม  เนื่องจากความบกพร่องของผู้รายงานหะดีษนี้เกี่ยวข้องกับคุณธรรม

5.   การรายงานหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน

ตามทัศนะของอุละมาอฺหะดีษไม่อนุญาตให้รายงานหะดีษเฎาะอีฟญิดดันที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนา  เว้นแต่จะระบุระดับของหะดีษอย่างชัดเจนหลังจากกล่าวหะดีษ

6.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

ตามทัศนะของบรรดาอุละมาอฺไม่อนุญาต (หะรอม) นำหะดีษเฎาะอีฟญิดดันมาใช้เป็นหลักฐานและนำมาปฏิบัติตามในเรื่องต่าง ๆ ของศาสนาอิสลาม  เช่น เรื่องอะกีดะฮฺ  เรื่องอิบาดะฮฺ  เรื่องอะฮฺกาม  เรื่องอีมาน เรื่องคุณค่าของอะม้าล  เรื่องการสนับสนุนให้ทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว  เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการขัดแย้งกันระหว่างหะดีษเฎาะอีฟญิดดันกับหะดีษเศาะหีหฺหรือหะดีษหะซัน  จะต้องปฏิบัติตามหะดีษเศาะหีหฺและหะดีษหะสัน เช่น  หะดีษของอิบนุอุมัร  และหะดีษอื่น ๆ ที่มีฐานะเดียวกัน ตัวอย่าง
عن ابن عمر رضي الله عنهما قال : قال رسـول الله صـلى الله عليه وسـلم : (( اذكروا محاسن موتاكم وكفوا عن مساويهم ))
ความว่า   จากอิบนุอุมัร  رضي الله عنهما  เล่าว่า เราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่าพวกเจ้าจงกล่าวสิ่งที่ดี ๆ ต่อคนตายในหมู่พวกเจ้า และจงปกปิดสิ่งชั่วร้ายที่พวกเขาได้กระทำไว้” (อัตติรมิซีย์  : 3/330)
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน เนื่องจากมีผู้รายงานคนหนึ่งชื่อ อิมรอน เบ็ญ อัลหุศ็อยนฺ อัลมักกีย์  อิมามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า มีสถานภาพเป็นคนมุนกัรหะดีษ และ  หะดีษบทนี้ขัดแย้งกับหะดีษจากอาอิชะฮฺعنها  رضي الله และจากอานัส เบ็ญ มาลิก t
1)   หะดีษจากอาอิชะฮฺ رضي الله عنها กล่าวว่า  เราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่า
(( لا تسبوا الأموات فإنهم قد أفضوا إلى ما قدموا ))
ความว่า   พวกเจ้าอย่าสาปแช่งคนที่เสียชีวิตไปแล้ว เพราะพวกเขาได้จากในสิ่งที่พวกเขาได้ก่อไว้” (อัลบุคอรีย์ : 3/258, อันนะสาอีย์ : 4/53 และอัลบัยฮะกีย์ : 4/126)
2)   หะดีษจากอะนัส เบ็ญมาลิก t กล่าวว่า
مروا بجنـازة فأثنوا عليها خيراً، فقال النبي صـلى الله عليه وسلم : (( وجبتْ. ثم مروا بأخرى فأثنوا عليها شراً، فقال النبي صلى الله عليه وسلم : وجبتْ فقال عمر بن الخطاب رضي الله عنه : ما وجبت؟ قال : هذا أثنيتم عليه خيراً فوجبتْ له الجنة، وهذا أثنيتم عليه شراً فوجبتْ له النار، أنتم شهداء الله في الأرض )).
ความว่า พวกเขา (บรรดาเศาะหาบะฮฺ) ได้เดินผ่านมายัต มีบางท่านได้กล่าวสรรเสริญต่อมายัต ดังนั้น เราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่า แน่แท้เป็นเช่นนั้นจริงและพวกเขาเดินผ่านมายัตอื่นอีก มี (เศาะหาบะฮฺ)บางท่าน กล่าวตำหนิต่อมายัตที่อยู่ในสุสานนั้น ท่านนบี r กล่าวว่า แน่แท้เป็นเช่นนั้นจริงอุมัร เบ็ญ อัลค๊อฏฏ๊อบถามว่า ที่เป็นเช่นนั้นจริงคืออะไร? ท่านนบีตอบว่าคนที่พวกเจ้ากล่าวสรรเสริญ เขามีสิทธิ์ที่จะเข้าสวรรค์ และคนที่พวกเจ้ากล่าวตำหนิพวกเขานั้นก็มีสิทธ์ตกนรก พวกเจ้าก็เป็นพยานของอัลลอฮฺใน พื้นแผ่นดินนี้” (อัลบุคอรีย์ : 3/228, มุสลิม : 2/655 และอัลบัยฮะกีย์ : 4/126)
7.   ชนิดของหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน

หะดีษเฎาะอีฟญิดดันแบ่งออกเป็น  2 ชนิด
ชนิดที่ 1      หะดีษมุนกัร
ชนิดที่ 2       หะดีษมัตรูก

ชนิดที่ 1   หะดีษมุนกัร

หะดีษที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องของผู้รายงานในแง่คุณธรรมที่มีลักษณะคือเฎาะอีฟญิดดัน มุนกัรหะดีษ  ฟิสกฺ  ฟุหฺชู เฆาะลัฏ   กัษเราะฮฺฆ๊อฟละฮฺ   และกัษเราะฮฺเอาฮามเรียกว่า  หะดีษมุนกัร


1.   นิยาม

หะดีษมุนกัร คือ  หะดีษที่รายงานโดยผู้รายงานที่เฎาะอีฟขัดแย้งกับการรายงานของผู้รายงานที่ษิเกาะฮฺ (อัลเฏาะหานะวีย์ : 42)  หรือหะดีษที่รายงานโดยผู้รายงานเป็นคนฟาสิก และอื่น ๆ 

2.   ตัวอย่างหะดีษมุนกัร


1)   หะดีษจากอะบูสะอีด อัลคุดรีย์ t กล่าวว่า เราะสูลุลลอฮฺ r   กล่าวว่า
(( إذا دخلتم على مريض فنفسـوا له في أجله، فإن ذلك لا يردّ شيئاً ويطيب نفسه )).
ความว่า เมื่อพวกเจ้าเข้าเยี่ยมผู้ป่วย ก็จงทำให้เขามีความสบายใจ ในอะญัลของเขา เนื่องจากสิ่งนั้นไม่สามารถปฏิเสธได้แม้แต่นิดเดียว และจงปะน้ำหอมบนตัวของเขา” (อัตตัรมิซีย์ : 4/412)
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษมุนกัร เนื่องจากมีผู้รายงานท่านหนึ่งชื่อว่า มูซา เบ็ญ มุฮัมมัด เบ็ญ อิบรอฮีม อัตตัยมีย์  มีสถานภาพเป็นคนมุนกัรหะดีษ
2)    จากอิบนุอุมัร t กล่าวว่า เราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่า
 ((اذكروا محاسن موتاكم وكفوا عن مساويهم ))
ความว่า พวกเจ้าจงพูดถึงสิ่งดี ๆ ในตัวผู้ตาย และจงปกปิดสิ่งชั่วร้ายที่เขาได้ก่อไว้” (อัตติรมิซีย์  : 3/330)
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษมุนกัร (เฎาะอีฟญิดดันเนื่องจากในสะนัดมีผู้รายงานท่านหนึ่งชื่อ อิมรอน เบ็ญ หุศัยนฺ อัลมักกีย์ ซึ่งอัลบุคอรีย์ กล่าวว่า: มุนกัรหะดีษ

3.   ฐานะของหะดีษมุนกัร


หะดีษมุนกัรเป็นส่วนหนึ่งของหะดีษเฎาะอีฟยิดดัน และหะดีษชนิดนี้มีฐานะต่ำกว่า หะดีษมัตรูก

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน


อุละมาอฺหะดีษมีความเห็นว่า ไม่อนุญาตให้รายงานหะดีษมุนกัรให้สังคมฟังนอกจากจะระบุสถานภาพของหะดีษอย่างชัดเจน  และไม่อนุญาตให้นำมาใช้เป็นหลักฐานในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
มีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับระดับของหะดีษมุนกัรว่า เป็นหะดีษเฎาะอีฟที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในส่วนที่เป็นหุก่มสุนัต เช่น  การละหมาดสุนัต   การถือศีลอดสุนัต  การทำความดี และการห้ามปรามทำความชั่ว เป็นต้น จากนิยามข้างต้นพอสรุปได้ว่า    หากพิจารณาลักษณะเดิมของสายรายงานที่เป็นเฎาะอีฟ หรือการรายงานของคนเฎาะอีฟที่ไม่ขัดแย้งกับการรายงานของคนษิเกาะฮฺ  หะดีษในลักษณะนี้จะถือเป็นหะดีษเฎาะอีฟ แต่การพิจารณาของการเป็นหะดีษมุนกัรนั้นก็ต้องพิจารณาระหว่างการรายงานของคน    เฎาะอีฟที่ขัดแย้งกับการรายงานของคนษิเกาะฮฺ ดังนั้น การตัดสินหะดีษเป็นหะดีษมุนกัรจะต้องพิจารณาจำนวนสายรายงานที่มีมากกว่าหนึ่งสายหรือสายรายงานที่มาจากการรายงานของคนฟาสิก เป็นต้น

ชนิดที่ 2   หะดีษมัตรูก

หะดีษที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องของผู้รายงานในแง่คุณธรรมคือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนโกหก  มัตรูกหะดีษ และซาฮิบหะดีษ  หะดีษในลักษณะนี้เรียกว่า  หะดีษมัตรูก

1.   นิยาม

หะดีษมัตรูก คือ  หะดีษที่รายงานโดยผู้รายงานที่มีสถานภาพเป็นคนถูกกล่าวว่าเป็นคนโกหก  หรือซาฮิบหะดีษ  หรือมัตรูกหะดีษ (อัศศ๊อนอานีย์ : 252)
จากนิยามข้างต้นพอสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับหะดีษมัตรูก  2 ประการ
หนึ่ง      ลักษณะของผู้รายงานหะดีษมัตรูก
1. ผู้ที่ทราบกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นคนที่ชอบพูดโกหก แต่ไม่เคยปรากฏการโกหกต่อหะดีษนะบะวีย์แม้แต่นิดเดียว
2. ผู้ที่ถูกกล่าวว่าเป็นคนโกหกต่อหะดีษนะบะวีย์
สอง      การเรียกชื่อหะดีษเป็นหะดีษมัตรูก
การเรียกหะดีษมัตรูกนั้นต้องประกอบด้วยเงื่อนไข  2 ประการคือ
1.  มีการรายงานหะดีษจากผู้รายงานเพียงคนเดียวเท่านั้น
2. หะดีษที่ถูกรายงานนั้นมีเนื้อหาที่ขัดแย้งกับหลักการทั่วไปของบทบัญญัติ(อิบนุ อัลเศาะลาหฺ : 43)
อุละมาอฺบางท่านเรียกหะดีษมัตรูก ว่า หะดีษมัตรูหฺ” (อัศศ๊อนอานีย์ : 253)

2.   ตัวอย่างหะดีษมัตรูก


1.   หะดีษจากอัมรฺ เบ็ญ ชัมมัร อัลญุอฺฟีย์ อัลกูฟีย์ อัลชีอีย์  จากญาบิร จาก อะบูอัลฏูฟัยลฺ  จากอะลีและอัมรฺ  ทั้งสองท่านนี้กล่าวว่า
حديث عمرو بن شمر الجعفي الكوفي الشيعي، عن جابر، عن أبي الطفيل، عن علي وعمرو قالا : كان النبي صلى الله عليه وسلم يقنت في الفجر ويكبر يوم عرفة من صلاة الغداة، ويقطع صلاة العصر أخر أيام التشريق.
ความว่า  ท่านนบี r อ่านกุนูตในละหมาดซุบฮฺ และท่านกล่าวตักบีรในวันอะรอฟาตตั้งแต่ละหมาดซุฮรฺและสิ้นสุดเวลาละหมาดอัศรฺ วันสุดท้ายของวันตัชรีก” (อัซซะฮะบีย์ : 2/268)
อิมามอันนะสาอีย์และอิมามอัดดารอกุฏนีย์กล่าวว่า  จากอัมรฺ เบ็ญ ชัมมัร  ท่านเป็นผู้รายงานมัตรูก (อัซซะฮะบีย์ : 2/268)
2.    จากอับดุลเลาะ เบ็ญ มัสอูด t เล่าจากท่านนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า
عن عبدالله بن مسعود رضي الله عنه عن النبي صلى الله عليه وسلم قال : ((من عزى مصابا فله مثل أجره)).
ความว่า ผู้ใดที่ยกย่องในความถูกต้องแล้ว เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของเขา” (อัตติรมิซีย์ : 3/376 และอัลบัยฮะกีย์ : 4/49 และอัตติรมิซีย์ : 3/376)
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษมัตรูก  เนื่องจากในสายรายงานของหะดีษมีผู้รายงานท่านหนึ่งมีสถานภาพเป็นคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นโกหกคือ  อะลี เบ็ญ อาเศ็ม (มุฮัมมัด เบ็ญ อัลลาน : 4/137)

4.            ฐานะของหะดีษมัตรูก


หะดีษมัตรูกเป็นส่วนหนึ่งของหะดีษเฎาะอีฟญิดดันมีฐานะต่ำกว่าหะดีษมุนกัรและสูงกว่าหะดีษเมาฎูอฺ

5.            การนำมาใช้เป็นหลักฐาน


การนำหะดีษมัตรูกมาใช้เป็นหลักฐานเหมือนกับการนำหะดีษมุนกัรเป็นหลักฐาน

โจทย์ฝึกหัดเพิ่มเติม

1.  หะดีษเฎาะอีฟญิดดันหมายถึงหะดีษอะไร ?
2.  การรายงานหะดีษเฎาะอีฟญิดดันมีวิธีการอย่างไร ?
3.  หะดีษเฎาะอีฟญิดดันจะนำมาใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม เพราะเหตุใด ?
4.  หะดีษมัตรูกหมายถึงหะดีษอะไร ?
5.  หะดีษมัตรูกสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม เพราะเหตุใด ?
6.   หะดีษมุนกัรหมายถึงหะดีษอะไร ?
7.  หะดีษมุนกัรจะนำไปใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม เพราะเหตุใด ?
8.  มารยาทที่มีต่อหะดีษมัตรูกและหะดีษมุนกัรมีอะไรบ้าง ?

ชนิดของหะดีษ ตอน 2


เป็นหนังสือที่ใช้สอนใน ของคณะอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี

โดย อาจารย์ อับดุลเลาะ การีนา มีทั้งหมด 7บท ต่อมาด้วยหะดีษต่างๆอีก 4 บทนะ

หะดีษอาห๊าดชนิดที่สอง

หะดีษมัรดูด

หัวข้อย่อย
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
1. ความหมายของหะดีษมัรดูด
2. สาเหตุของหะดีษเป็นหะดีษมัรดูด
3. ระดับของหะดีษมัรดูด
1. เข้าใจความหมายของหะดีษมัรดูด
2. เข้าใจสาเหตุของหะดีษเป็นมัรดูด
3. เข้าใจระดับของหะดีษมัรดูด

1.   นิยาม


หะดีษมัรดูด คือ  หะดีษที่ขาดคุณสมบัติของหะดีษมักบูล
หมายความว่า  หะดีษที่ขาดองค์ประกอบที่เป็นเงื่อนไขของหะดีษที่ถูกต้องทั้งเจ็ดประการดังที่กล่าวมาแล้วในเรื่องของหะดีษมักบูล

2.   สาเหตุของหะดีษมัรดูด


สาเหตุที่ทำให้หะดีษเป็นมัรดูดนั้นมี  ประการ
หนึ่ง      สาเหตุมาจากความบกพร่องในกระบวนการรายงาน
สอง      สาเหตุมาจากความบกพร่องในแง่ความจำของผู้รายงาน
สาม      สาเหตุมาจากความบกพร่องในแง่คุณธรรมของผู้รายงาน
หะดีษมัรดูดที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในกระบวนการรายงานและความบกพร่องในแง่ความจำของผู้รายงาน    สามารถเลื่อนฐานะได้ เมื่อได้รับการสนับสนุนจากสายรายงานอื่นที่มีฐานะเดียวกันหรือเหนือกว่า  สะนัดอื่นนั้นมีหนึ่งสะนัดหรือมากกว่า ส่วนหะดีษ มัรดูดที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในแง่คุณธรรมของผู้รายงาน ไม่สามารถเลื่อนฐานะได้  เนื่องจากคุณธรรมนั้นเป็นเงื่อนไขสำคัญในการยอมรับหะดีษ

3.   ระดับของหะดีษมัรดูด


เมื่อพิจารณาสาเหตุของหะดีษมัรดูดทั้งสามประการข้างต้นแล้ว หะดีษมัรดูดสามารถแบ่งออกเป็น  3 ระดับดังนี้
ระดับที่ 1     หะดีษเฎาะอีฟ คือ ระดับที่สามของระดับหะดีษอาห๊าด
ระดับที่ 2     หะดีษเฎาะอีฟญิดดัน คือ ระดับที่สี่ของระดับหะดีษอาห๊าด
ระดับที่ 3     หะดีษเมาฎูอฺ คือ ระดับที่ห้าของระดับหะดีษอาห๊าด
การอธิบายจะเรียงลำดับตามจำนวนระดับหะดีษดังนี้ ระดับที่ 3 หะดีษเฎาะอีฟ   ระดับที่ 4  หะดีษเฎาะอีฟญิดดัน และระดับที่ 5 หะดีษเมาฎูอฺ

ระดับที่ 3 หะดีษเฎาะอีฟ


1.   นิยาม


ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า ضعيفแปลว่า อ่อน ตรงกันข้ามกับแข็ง ดังนั้นหะดีษเฎาะอีฟ คือ หะดีษอ่อน หมายถึงเฎาะอีฟในกระบวนการรายงาน

ตามหลักวิชาการ

หะดีษเฎาะอีฟ คือ  หะดีษที่ขาดคุณสมบัติของหะดีษเศาะหีหฺและคุณสมบัติของหะดีษหะซัน (อะหฺมัด ชากิร : 38)
ตามทัศนะของอุละมาอฺบางท่านมีความเห็นว่า ระหว่างหะดีษเฎาะอีฟและหะดีษ มัรดูดเป็นหะดีษชนิดเดียวกัน  ดังนั้น บางครั้งเรียกว่าหะดีษมัรดูดและบางครั้งเรียกว่า หะดีษเฎาะอีฟ

2.   ตัวอย่างหะดีษเฎาะอีฟ


قال الإمام أبو داود : حدثنا عمرو بن عثمان، حدثنا محمد بن حرب، عن أبي سلمة سليمان بن سليم، عن يحي بن جابر، عن صالح بن يحي بن المقدام، عن جده المقدام بن معديكرب، أن رسـول الله صلى الله عليه وسـلم ضرب على منكبيه، ثم قال له : (( أفلحتَ يا قديم، إن متُّ ولم تكن أميراً، ولا كاتباً، ولا عريفاً ))
ความว่า อิมามอะบูดาวูดกล่าวว่า อัมรฺ เบ็ญ อุษมาน (ثقة ) ได้รายงานแก่พวกเราว่า มุฮัมมัด เบ็ญ หัรบฺ (ثقة ) ได้รายงานแก่พวกเรา จากอะบูสะละมะฮฺ สุลัยมาน เบ็ญ สุลัยมฺ (ثقة ثبت ) จากยะหฺยา เบ็ญ ญาบิร (مقبول ) จากศาลิหฺ เบ็ญ ยะหฺยา เบ็ญ อัลมิกดาม (لَيِّن ) จากปู่ของท่าน คือ อัลมิกดาม เบ็ญ มะอฺดีกะรีบ (صحابي جليل )  แท้จริงเราะสูลุลลอฮฺr  ได้ตบไหล่ของเขา  หลังจากนั้นท่านรสูลกล่าวแก่เขาว่า เจ้าจะประสบความสำเร็จกระนั้นหรือ โอ้กุดัยมฺ หากเจ้าเสียชีวิตขณะที่เจ้าไม่ได้เป็นผู้นำ  ไม่ได้เป็นผู้บันทึก และไม่ได้เป็นหมอดู (ทำตัวเป็นผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง) (อะบูดาวูด  : 3/346 และอะหฺมัด : 4/123)
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษเฎาะอีฟเนื่องจากมีผู้รายงานคนหนึ่งชื่อ ศอลิหฺ เบ็ญ ยะหฺยา เบ็ญ อัลมิกดาม  ซึ่งมีสถานภาพเป็นคนลัยยิน คือ ผู้รายงานที่มีลักษณะความจำไม่ดี  และชัยคฺอัลอัลบานีย์กล่าวว่า  หะดีษบทนี้เป็นหะดีษเฎาะอีฟ” (อัลอัลบานีย์  : 2/268)

3.   การรายงานหะดีษเฎาะอีฟ


การรายงานหะดีษเฎาะอีฟตามวิธีการปฏิบัติของบรรดาอุละมาอฺนั้นพอสรุปสาระ สำคัญ ประการด้วยกัน

 1)  หุก่มการรายงานหะดีษเฎาะอีฟ

สำหรับผู้ที่มีความรู้ในด้านหะดีษหรือทราบว่าเป็นหะดีษเฎาะอีฟ   ตามทัศนะของอุละมาอฺหะดีษ  อุละมาอฺฟิกฮฺและอุละมาอฺอุศูล อัลฟิกฮฺมีความเห็นว่า   อนุญาตให้รายงานหะดีษเฎาะอีฟโดยไม่ต้องระบุระดับของหะดีษแต่อย่างใด คือ หะดีษเฎาะอีฟที่เกี่ยวกับคุณค่าของอะม้าล  การสนับสนุนให้ทำความดีและการตักเตือนไม่ให้ทำความชั่วเท่านั้น   และไม่อนุญาตให้รายงานหะดีษฎออีฟที่เกี่ยวกับอะกีดะฮฺ หะลาลและหะรอม อิบาดะฮฺ การแต่งงาน ญะนาอิซ ประวัติศาสตร์ และอื่น ๆ นอกจากจะระบุระดับของหะดีษอย่างชัดเจนว่าเป็นหะดีษเฎาะอีฟเมื่อจบการรายงาน (มะหฺมูด อัฏเฏาะหฺหาน  หน้า 134)
ส่วนผู้ที่ไม่มีความรู้หรือคนเอาวาม (คนทั่วไป)  หากรายงานหะดีษโดยไม่เจตนาก็ถือว่าอนุโลม  เนื่องจากความญะฮีลของเขานั่นเอง  แต่ทางที่ดีที่สุดก็คือ ควรหลีกเลี่ยงจากการรายงานหะดีษเฎาะอีฟ เพราะคนที่ไม่มีความรู้เรื่องหะดีษเป็นที่ต้องห้ามพูดถึงหะดีษโดยเด็ดขาด
2)   วิธีการรายงานหะดีษเฎาะอีฟ
การรายงานหะดีษเฎาะอีฟสามารถทำได้ด้วย 2 วิธี คือ รายงานทั้งตัวบทและสะนัดหะดีษ หรือรายงานเฉพาะตัวบทเพียงอย่างเดียว
วิธีที่ 1    รายงานทั้งตัวบทและสะนัดหะดีษ  อุละมาอฺมีความเห็นพ้องกันว่า การรายงานโดยวิธีนี้เป็นที่อนุญาตโดยไม่จำเป็นต้องระบุระดับของหะดีษแต่อย่างใด (มะหฺมูด อัตเฏาะหฺหาน : 134)
วิธีที่ 2    รายงานตัวบทเพียงอย่างเดียวโดยไม่อ้างสะนัดของหะดีษ   การรายงานด้วยวิธีนี้ผู้รายงานเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
1. เมื่อมีการรายงานหะดีษเฎาะอีฟ    ผู้รายงานจะต้องระบุระดับของหะดีษว่าเป็นหะดีษเฎาะอีฟทันทีเมื่อจบการรายงานตัวบทหะดีษ
2. เมื่อต้องการรายงานหะดีษเฎาะอีฟ ผู้รายงานจะต้องกล่าวด้วยสำนวนไม่ชัดเจนได้หรือสำนวนคลุมเครือ เช่น กล่าวว่า رُوِىَ عن النبي صلى الله عليه وسلمแปลว่า มีการรายงานจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ r (อัตตะฮานะวีย์ : 156)   หากผู้รายงานไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ผิดต่อหลักการรายงานหะดีษตามหลักวิชาการมุศฺเฏาะละหฺ อัลหะดีษ

4.   การปฏิบัติตามหะดีษเฎาะอีฟ


การนำหะดีษเฎาะอีฟมาใช้เป็นหลักฐานและปฏิบัติตามเท่าที่ปรากฏในหมู่บรรดา          อุละมาอฺนั้นอาจจำแนกออกเป็น  กลุ่ม คือ
กลุ่มที่หนึ่ง     อนุญาตให้นำหะดีษเฎาะอีฟมาใช้เป็นหลักฐานได้ในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องศาสนา เช่น  อะกีดะฮฺ  อิบาดะฮฺ  หุก่มหะกัม  เรื่องราวต่าง ๆ  คุณค่าของ     อะม้าล  การสนับสนุนให้ทำความดีและห้ามปรามทำความชั่ว  เป็นต้น
อุละมาอฺกลุ่มนี้ได้แก่   อิมามอะบูหะนีฟะฮ,  อิมามอะหฺมัด เบ็ญ หันบัล, อิมาม     อับดุลเราะหฺมาน เบ็ญ มะฮฺดีย์ และท่านอื่น ๆ ที่มีความเห็นเหมือนกัน
เหตุผลของอุละมาอฺกลุ่มนี้ได้แก่ หะดีษเฎาะอีฟมีฐานะดีกว่าการใช้หลักการกิยาส (อนุมาน) และความคิดของคนใดคนหนึ่ง (อัลกอสิมีย์ : 93)
กลุ่มที่สอง    ไม่อนุญาตนำหะดีษเฎาะอีฟมาใช้เป็นหลักฐานที่เกี่ยวกับทุก ๆ เรื่องของศาสนาโดยเด็ดขาด (อัสสุยูฏีย์  : 1/196)  การปฏิบัติของอุละมาอฺกลุ่มนี้ตรงกันข้ามกับ        อุละมาอฺกลุ่มแรกโดยสิ้นเชิง
อุละมาอฺกลุ่มนี้ได้แก่ อิมามอัลบุคอรีย์  อิมามมุสลิม  ยะหฺยา เบ็ญ มะอีน อะบูบักรฺ อิบนุอัลอะรอบีย์ (อัสสุยูฏีย์  : 1/196)   อิบนุหัซมฺ  อะบูชาเมาะฮฺ และอัชเชาวกานีย์ (อัลกอสิมีย์  : 94) เหตุผลของอุละมาอฺกลุ่มนี้ คือ หะดีษเศาะหีหฺและหะดีษหะซันที่กล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนามีมากมายเพียงพอต่อการนำมาใช้เป็นหลักฐานได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยหะดีษเฎาะอีฟ  และที่สำคัญ คือ  การยืนยันหุก่มของแต่ละเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องศาสนาก็ต้องมาจากหะดีษเศาะหีหฺและหะดีษหะซัน  ไม่ใช่มาจากหะดีษเฎาะอีฟ (อัลกอสิมีย์  : 94) เพราะ      หะดีษ เฎาะอีฟไม่สามารถจะยืนยันหุก่มที่แน่นอนได้
กลุ่มที่สาม   อนุญาตให้นำหะดีษเฎาะอีฟมาเป็นหลักฐานและปฏิบัติตามได้เฉพาะหะดีษเฎาะอีฟที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าของอะม้าล  การสนับสนุนให้ทำความดีและห้ามปรามทำความชั่ว และเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นหุก่มสุนัต   กลุ่มนี้แบ่งออกเป็น  2 ทัศนะ
ทัศนะที่ 1   มีความเห็นว่าอนุญาตให้นำหะดีษเฎาะอีฟมาใช้เป็นหลักฐานและปฏิบัติตามได้เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเท่านั้นโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
ทัศนะนี้เป็นทัศนะของอิบนุ อัลมุบาร๊อก สุฟยาน อัษเษารีย์ ซุฟยาน เบ็ญ อุยัยนะฮฺ และอัลหาฟิศ อัซซะคอวีย์ (อัลกอสิมีย์  : 94)
อิมามอันนะวะวีย์ให้การสนับสนุนทัศนะนี้โดยอธิบายว่า อุละมาอฺหะดีษ ฟิกฮฺและอุละมาอฺอื่น ๆ มีความเห็นว่า เป็นหุก่มญาอิซและหุก่มสุนัตในการนำหะดีษเฎาะอีฟมาเป็นหลักฐานและปฏิบัติตามที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าของอะม้าล   การสนับสนุนให้ทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว  ตราบใดที่หะดีษเฎาะอีฟนั้นไม่ถึงระดับหะดีษเมาฎูอฺ   ส่วนเรื่องข้อบัญญัติต่าง ๆ เช่น หะลาลและหะรอม การค้าขาย การแต่งงาน การหย่าและอื่นๆ ให้ใช้เฉพาะหะดีษเศาะหีหฺและหะดีษหะซันเท่านั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเพียงแต่หะดีษเฎาะอีฟเท่านั้นที่ระบุเกี่ยวกับหุก่มห้ามซื้อขาย  สิ่งของบางประเภท   การแต่งงาน เป็นต้น   อย่างไรก็ตาม  ทางที่ดีที่สุดควรหลีกเลี่ยงจากการปฏิบัติตามหะดีษเฎาะอีฟ แต่ไม่ใช่เป็นการบังคับหรือวาญิบให้หลีกเลี่ยงแต่อย่างใด” (อันนะวะวีย์ : 84-85)
ทัศนะที่ 2  อนุญาตนำหะดีษเฎาะอีฟมาใช้เป็นหลักฐานและปฏิบัติตามที่เกี่ยวกับคุณค่าของอะม้าล  การสนับสนุนให้ทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว  และสิ่งที่เป็นหุก่มสุนัตเท่านั้น   แต่ต้องมีเงื่อนไข  ประการดังนี้
ประการแรก      หะดีษนั้นต้องไม่ใช่เป็นหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน (อ่อนมาก)
ประการที่สอง    เนื้อหาของหะดีษเฎาะอีฟที่กล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องนั้นต้องสอด คล้องกับหลักการทั่วไปของศาสนา (อัลกุรอานและอัลหะดีษ)
ประการที่สาม    ไม่ยึดมั่นว่าเป็นหะดีษที่มาจากท่านนบีมุฮัมมัด r จริง แต่เป็นการปฏิบัติในลักษณะเผื่อไว้เท่านั้น (อัลอัสเกาะลานีย์ : 24)  
ทัศนะนี้เป็นทัศนะของอิบนุหัจญรฺ อัลอัสเกาะลานีย์
มีอุละมาอฺบางท่านได้เพิ่มเงื่อนไขอีกประการหนึ่ง คือ    หะดีษเฎาะอีฟนั้นต้องไม่ขัดแย้งกับหะดีษเศาะหีหฺ (อิบนุ อัลลาน : 1/258) หรือหะดีษหะซัน 
จากหลาย ๆ ทัศนะข้างต้น  ทัศนะที่สมควรนำมาปฏิบัติมากที่สุด คือ ทัศนะของ อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์   เนื่องจากเป็นการปฏิบัติอย่างระมัดระวังที่สุดโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับหุก่มหะกัมและสิ่งที่เป็นสุนัต  والله أعلم

5.   ชนิดของหะดีษเฎาะอีฟ


เมื่อพิจารณาสาเหตุของหะดีษเฎาะอีฟสามารถแบ่งออกเป็น  สาเหตุ
1.  สาเหตุที่มาจากความบกพร่องในกระบวนการสายรายงาน  มี  ชนิดหะดีษ
       ชนิดที่ 1     หะดีษมุอัลลั้ก
       ชนิดที่ 2                     หะดีษมุรซัลตาบิอีน
       ชนิดที่ 3     หะดีษมุรซัลเคาะฟีย์
       ชนิดที่ 4     หะดีษมุอฺฎ็อล
       ชนิดที่ 5     หะดีษมุนเกาะฏิอฺ
       ชนิดที่ 6     หะดีษมุดัลลั้ส
2.  สาเหตุที่มีมาจากความบกพร่องในแง่ความจำของผู้รายงาน  มี  7 ชนิดหะดีษ
       ชนิดที่ 1                    หะดีษมุอัลลั้ล
       ชนิดที่ 2                    หะดีษมุดร๊อจญ์
       ชนิดที่ 3     หะดีษมักลูบ
       ชนิดที่ 4     หะดีษมุฏอร๊อบ
       ชนิดที่ 5     หะดีษช๊าซ
       ชนิดที่ 6     หะดีษมุเศาะหฺหัฟ
       ชนิดที่ 7     หะดีษมุหัรร๊อฟ

ชนิดที่ 1   หะดีษมุอัลลั้ก


หะดีษเฎาะอีฟที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในกระบวนการรายงานหรือสะนัด คือ ผู้รายงานตกหล่นตลอดทั้งสาย เว้นแต่เศาะหาบะฮฺหรือตาบิอีน หะดีษลักษณะเช่นนี้เรียกว่า  หะดีษมุอัลลั้ก

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า معلقมาจากรากศัพท์ تعليقاًแปลว่า ค้างอยู่ หรือติดไว้

ตามหลักวิชาการ

หะดีษมุอัลลั้ก คือ  หะดีษที่มีการตัดผู้รายงานออกหนึ่งคนหรือมากกว่าติดต่อกันตั้งแต่ต้นสะนัดจนถึงเศาะหาบะฮฺหรือตาบิอีน (อัตตะฮานะวีย์ : 39)
การสังเกตหะดีษมุอัลลั้ก เช่น  ผู้กล่าวต้องเป็นนักบันทึกหะดีษ   การตกหล่นในสายรายงานต้องติดต่อกัน  และผู้กล่าวรายงานหะดีษเป็นเศาะหาบะฮฺหรือตาบิอีน

2.   ลักษณะและตัวอย่างหะดีษมุอัลลั้ก

โดยทั่วไปแล้วการรายงานหะดีษมุอัลลั้กมี  ลักษณะด้วยกัน
ลักษณะที่หนึ่ง    หะดีษที่มีการตัดสายรายงานออกทั้งหมด  ตัวอย่าง
قال البخاريّ : قال النبيّ صلى الله عليه وسلم : (( هذا ما كتبه الله على بنـات آدم ))
ความว่า  อิมามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า  ท่านนบีมุฮัมมัด r  กล่าวว่า นี่คือเป็นการกำหนดของอัลลอฮฺแก่บรรดาลูกผู้หญิงของท่านนบีอาดัม (อัลบุคอรีย์  : 1/401)
การรายงานหะดีษบทนี้ผู้บันทึกกล่าวเพียงท่านเราะสูลุลลอฮฺและตัวบทหะดีษ มิได้กล่าวสายรายงานของหะดีษแต่อย่างใด
ลักษณะที่สอง    หะดีษที่มีการตัดสะนัดออก เว้นแต่เศาะหาบะฮฺ  ตัวอย่าง
قال البخاريّ : وقال أبو موسى الأشعريّ : غطى رسول الله صلى الله عليه وسلم ركبتيه حين دخل عثمان
ความว่า   อิมามอัลบุคอรีย์รายงานว่า  อะบูมุซา อัลอัชอะรีย์กล่าวว่า เราะสูลุลลอฮฺ r ได้ปิดหัวเข่าของท่าน เมื่อท่านเห็นอุษมานเข้ามา (อัลบุคอรีย์  : 1/90)
การรายงานหะดีษบทนี้ผู้บันทึกได้กล่าวรายงานโดยเริ่มตั้งแต่รุ่นเศาะหาบะฮฺ  เราะสูลุลลอฮฺ r และตัวบทหะดีษ ไม่ได้กล่าวสายรายงานของหะดีษก่อนอะบูมูซา อัลอัชอะรีย์
ลักษณะที่สาม หะดีษที่มีการตัดสะนัดออกทั้งหมดเว้นแต่เศาะหาบะฮฺและตาบิอีน  ตัวอย่าง
قال البخاريّ : وقال بهز عن أبيه عن جده عن النبيّ صلى الله عليه وسلم : (( الله أحق أن يستحي منه من الناس ))
ความว่า   อิมามอัลบุคอรีย์รายงานว่า   บะฮซฺเล่าจากบิดาของเขา  จากปู่ของเขา จากท่านนบี r อัลลอฮฺเท่านั้นที่มนุษย์สมควรละอายมากกว่ามนุษย์ด้วยกัน (อัลบุคอรีย์  :  1/300)
การรายงานหะดีษบทนี้ ผู้บันทึกได้กล่าวรายงานโดยเริ่มตั้งแต่ตาบิอีน เศาะหาบะฮฺ เราะสูลุลลอฮฺ r  และตัวบทหะดีษ   ไม่ได้กล่าวสายรายงานของหะดีษระหว่างเขากับตาบิอีน
อย่างไรก็ตาม   การรายงานหะดีษมุอัลลั้กสามารถเลือกวิธีการรายงานอย่างหนึ่งอย่างใดจากทั้งสามวิธีที่ได้กล่าวมาแล้ว

3.   ฐานะของหะดีษมุอัลลั้ก

ที่จริงแล้ว   หะดีษมุอัลลั้กที่มีอยู่ในหนังสือหะดีษทั้งหลายพอสรุปได้ดังนี้
1. หะดีษมุอัลลั้กในหนังสืออัลญามิอฺ อัศเศาะหีหฺของอัลบุคอรีย์และของมุสลิม   บรรดาอุละมาอฺยอมรับว่าทั้งหมดเป็นหะดีษเศาะหีหฺ ทั้งนี้เนื่องจากนักการหะดีษได้ทำการ ศึกษาวิเคราะห์พบว่า หะดีษมุอัลลั้กในหนังสือทั้งสองมีการรายงานด้วยสายรายงานที่ติดต่อกันโดยทราบจากสะนัดอื่นตั้งแต่สองสะนัดหรือมากกว่า และสะนัดอื่นนั้นอยู่ในระดับเศาะหีหฺหรืออย่างต่ำอยู่ในระดับหะซัน
2. หะดีษมุอัลลั้กในหนังสืออัซซุนัน อัลมะสานีด อัลมุศ๊อนนะฟาต และหนังสืออื่น ๆ จะต้องพิจารณาสำนวนการรายงานเป็นหลักดังนี้
ก. หากการรายงานหะดีษมุอัลลั้กนั้นใช้สำนวน جزم (สำนวนชัดเจนชี้ชัด) เช่น กล่าวว่า قالหรือ ذَكَرَหรือ حَكَيหะดีษมุอัลลั้กอยู่ในระดับหะดีษเศาะหีหฺ 
ข. หากการรายงานหะดีษมุอัลลั้กนั้นโดยใช้สำนวน  تمريض(สำนวนคลุมเครือ) เช่น กล่าวว่า قيلหรือ ذُكَِرหรือ حُكِيَหะดีษมุอัลลั้กในลักษณะเช่นนี้ไม่สามารถจะตัดสินเป็นหะดีษเศาะหีหฺได้  บางหะดีษเป็นหะดีษเศาะหีหฺ หะดีษหะซัน และหะดีษเฎาะอีฟ หรือแม้แต่หะดีษเมาฎูอฺ ขึ้นอยู่กับสถานภาพของสายรายงานที่ได้รายงานหะดีษที่เกี่ยวข้อง (มะหฺมูด อัตเฏาะหฺหาน : 134)

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

หะดีษมุอัลลั้กสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้ หากเป็นหะดีษเศาะหีหฺหรือ      หะดีษหะสัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหะดีษในเศาะหีหฺอัลบุคอรีย์และเศาะหีหฺมุสลิม  ส่วนหะดีษมุอัลลั้กที่เป็นหะดีษเฎาะอีฟจะมีหุก่มเหมือนกับหุก่มของหะดีษเฎาะอีฟทั่วไป

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

1.كتاب صحيح البخاري، كتاب صحيح مسلم  
2. كتاب السنن الأربعة  

ชนิดที่ 2  หะดีษมุรสัลตาบิอีน

หะดีษเฎาะอีฟที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในสายรายงาน เนื่องจากตกหล่นผู้รายงานหนึ่งคนหรือสองคนในช่วงท้ายของสะนัดเรียกว่า หะดีษมุรสัลตาบิอีน

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า مرسلมาจากรากศัพท์ของคำ أرسل يرسل إرسالاً แปลว่า ข้ามไป ปล่อยไป  หมายถึง ผู้รายงานข้ามผู้รายงานอีกท่านหนึ่ง

ตามหลักวิชาการ

หะดีษมุรสัลตาบิอีน คือ  หะดีษที่ตกหล่นผู้รายงานหนึ่งคนหรือสองคนในช่วงท้ายของสะนัดหลังจากรุ่นตาบิอีน (อัลอัสเกาะลานีย์ : 23)
หะดีษมุรสัลตาบิอีนเป็นการตกหล่นเศาะหาบะฮฺหรือตาบิอีน ซึ่งเป็นการรายงานของตาบิอีนที่กล่าวว่า จากเราะสูลุลลอฮฺ r

2.                ตัวอย่างหะดีษมุรสัลตาบิอีน

قال الإمام مسلم : حدثني محمد بن رافع، ثنا حجين، ثنا الليث، عن عقيل، عن ابن شهاب، عن سعيد بن المسيب أن رسول الله صلى الله عليه وسلم نهى عن المزابنة.
ความว่า   จากสะอีด เบ็ญ อัลมุสัยยิบ แท้จริงเราะสูลุลลอฮฺ r ได้ห้ามการค้าขายชนิดอัลมุซาบะนะฮ (มุสลิม : 15/198)
หะดีษบทนี้มีผู้รายงานท่านหนึ่งตกหล่นในสะนัด เนื่องจากสะอีด เบ็ญ อัลมุสัยยิบซึ่งอยู่ในรุ่นตาบิอีนได้กล่าวรายงานจากท่านนบีซึ่งเป็นที่รู้กันว่าตาบิอีนนั้นไม่ได้ยินหะดีษโดยตรงจากท่านนบีมุฮัมมัด r แต่การรายงานของท่านพาดพิงถึงท่านนบี ดังนั้น การรายงานนี้เป็นการรายงานที่ขาดตอนระหว่างสะอีด เบ็ญ อัลมุสัยยิบกับท่านนบี r คือ เศาะหาบะฮฺ

3.   ฐานะของหะดีษมุรสัลตาบิอีน

หะดีษมุรสัลตาบิอีนเป็นหะดีษเฎาะอีฟเนื่องจากขาดคุณสมบัติของหะดีษเศาะหีหฺคือ สะนัดที่ขาดตอน เพราะตกหล่นผู้รายงานระหว่างตาบิอีนกับท่านนบีมุฮัมมัด r จะเป็นตาบิอีนหรือ เศาะหาบะฮฺ
อย่างไรก็ตาม บรรดาอุละมาอฺหะดีษมีความเห็นว่าหะดีษมุรซัลตาบิอีนในหนังสือเศาะหีหฺอัลบุคอรีย์และเศาะหีหฺมุสลิมเป็นหะดีษมุรซัลที่เศาะหีหฺ เพราะมีกระแสรายงานอื่นที่ติดต่อกันมายืนยันและเป็นการรายงานของคนษิเกาะฮฺ

4.             การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

การนำหะดีษมุรสัลตาบิอีนมาใช้เป็นหลักฐานและปฏิบัติตามนั้นมีทัศนะอุละมาอฺที่หลากหลายพอสรุปได้ดังนี้
ทัศนะที่ 1   ไม่อนุญาตให้ใช้หะดีษมุรสัลตาบิอีนเป็นหลักฐาน ทัศนะนี้เป็นทัศนะของอุละมาอฺส่วนใหญ่ เช่น อุละมาอฺหะดีษ  อุละมาอฺฟิกฮ และอุละมาอฺ อุศูล อัลฟิกฮฺ
ทัศนะที่ 2     อนุญาตให้นำหะดีษมุรสัลตาบิอีนมาใช้เป็นหลักฐาน ทัศนะนี้เป็นทัศนะของอิมาม อะบูหะนีฟะฮฺ  อิมามมาลิก และอิมามอะหฺมัด เบ็ญ หันบัล
ทัศนะที่ 3   อนุญาตให้นำหะดีษมุรสัลตาบิอีนเป็นหลักฐานขึ้นอยู่กับเงื่อนไข เป็นทัศนะของอิมามอัชชาฟิอีย์และอุละมาอฺบางท่าน เงื่อนไขที่ว่านี้คือ
1. ผู้รายงานที่ข้ามนั้นต้องเป็นตาบิอีนรุ่นอาวุโสเท่านั้นเช่น สะอีด เบ็ญ อัลมุสัยยิบ และท่านอื่น ๆ
2.  ผู้รายงานที่กล่าวอ้างต้องเป็นผู้รายงานที่ษิเกาะฮฺ
3. หากมีผู้อื่นร่วมรายงานหะดีษด้วยผู้รายงานคนนี้ก็ต้องเป็นคนที่มีความจำดีเยี่ยมและมีคุณธรรม และไม่ขัดแย้งกับการรายงานของคนอื่นที่เหนือกว่า
4. ต้องมีการรายงานหะดีษจากสายรายงานอื่นที่มีสะนัดติดต่อกัน  ตัวอย่าง
عن مكحول، عن رسول الله صلى الله عليه وسلم : (( اطلبوا استجابة الدعاء عند التقاء الجيوش، وإقامة الصلاة، ونزول الغيث ))
ความว่า  จากมักฮูล  จากเราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่าจงแสวงหาการตอบรับการดุอาอฺ คือ เมื่อมีการเผชิญหน้ากับศัตรู และเวลายืนขึ้นจะละหมาด และเวลาฝนตกหนัก (วาตภัย)” (อัชชาฟิอีย์: 1/223-224 อิมามอันนะวะวีย์กล่าวว่า: หะดีษนี้เป็นหะดีษมุรซัลและอัลอัสเกาะลานีย์ระบุว่า  อิสนาดจัยยิด อิบนุ อัลลาน : 1/451)

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

1.كتاب المراسيل، الإمام أبو داود  
2.كتاب المراسيل، الإمام ابن أبي حاتم  
3.كتاب جامع التحصيل لأحكام المراسيل، الإمام العلائيّ  

หัวข้อย่อย   
 หะดีษมุรสัลเศาะหาบีย์

1.   นิยาม

หะดีษมุรสัลเศาะหาบีย์ คือ  หะดีษที่รายงานโดยเศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งจากท่านนบีมุฮัมมัด r ซึ่งไม่ได้ยินโดยตรงจากท่านนบี r ในสิ่งที่เขารายงาน  จะเป็นคำพูดหรือการกระทำ (มะหฺมูด อัตเฏาะหฺหาน : 73)
สาเหตุของการเป็นหะดีษมุรสัลเศาะหาบีย์นั้น อันเนื่องมาจากเศาะหาบะฮฺท่านนั้นอายุยังน้อย   เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามในช่วงปลายของชีวิต  หรือไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์  เช่น  อิบนุอับบาส  อิบนุอัซซุบัยร์ และท่านอื่น ๆ

2.   ตัวอย่างหะดีษมุรสัลเศฺาะหาบีย์

عن ابن عباس رضي الله عنهما أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : (( إن الله تجاوز لي عن أمتي الخطأ، والنسيان، وما استكرهوا عليه ))
ความว่า     จากอิบนุ อับบาส t แท้จริงเราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่าแท้จริง อัลลอฮฺได้ผ่อนผันแก่ฉันที่เกี่ยวข้องกับความผิดของประชาชาติของฉันที่เกิดจากความผิดพลาด ลืมตัว และการถูกบังคับ” (อิบนุ มาญะฮฺ  : 1/659, อัดดารอกุฏนีย์  : 4/170 และอัลบัยฮะกีย์  : 7/356)

3.   ฐานะของหะดีษมุรสัลเศฺาะหาบีย์

อุละมาอฺหะดีษมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับฐานะของหะดีษมุรสัลเศาะหาบีย์ สรุปได้ออกเป็น  2 ทัศนะ
ทัศนะที่ 1   หะดีษมุรสัลเศาะหาบีย์เป็นส่วนหนึ่งของหะดีษมักบูล เพราะการตกหล่นเศาะหาบะฮฺอันเนื่องมาจากการรายงานของเศาะหาบะฮฺด้วยกันไม่มีผลต่อการให้การยอมรับหะดีษแต่อย่างใด ทัศนะนี้เป็นทัศนะของอุละมาอฺหะดีษส่วนใหญ่ อุละมาอฺฟิกฮฺ และ   อุละมาอฺอุศูล อัลฟิกฮฺ
ทัศนะที่ 2   หะดีษมุรสัลเศาะหาบีย์มีฐานะเหมือนกับหะดีษมุรสัลอื่น ๆ เนื่องจากผู้รายงานรับหะดีษจากตาบิอีนด้วยกัน ซึ่งการตกหล่นในลักษณะนี้มีผลต่อการยอมรับ    หะดีษและความเศาะหีหฺของหะดีษ คือ สายรายงานขาดตอน    เป็นทัศนะของอะบูอิสหาก อัลอิสฟิรอยีนีย์ และอุละมาอฺบางท่าน
อย่างไรก็ตาม จากสองทัศนะที่ได้กล่าวข้างต้น  ทัศนะที่ถูกต้องควรแก่การนำมาปฏิบัติและใช้เป็นหลักฐาน คือ ทัศนะที่หนึ่ง เพราะการตกหล่นเศาะหาบะฮฺไม่มีผลต่อการยอมรับหะดีษแต่อย่างใด เนื่องจากผู้แอบอ้างรับหะดีษจากท่านนบีมุฮัมมัด r เป็นคนษิเกาะฮฺ หรืออย่างน้อยเป็นคนเศาะดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการรายงานของตาบิอีนรุ่นอาวุโส

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

ตามทัศนะอุละมาอฺส่วนใหญ่ (อุละมาอฺหะดีษ อุละมาอฺฟิกฮฺ และอุละมาอฺอุศูล อัลฟิกฮฺ) มีความเห็นว่า   หะดีษมุรสัลเศาะหาบีย์สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้

ชนิดที่ 3   หะดีษมุรสัลเคาะฟีย์

หะดีษที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในสายรายงานเนื่องจากมีผู้รายงานตกหล่นระหว่างตาบิอีนกับเศาะหาบะฮฺ  หะดีษในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า  หะดีษมุรสัลเคาะฟีย์
1.   นิยาม

 

ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า خفيแปลว่า ไม่ปรากฏ หรือซ่อนเร้น หมายถึง ผู้รายงานที่ตกหล่นไปจากสะนัดซ่อนอยู่หรือไม่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน

ตามหลักวิชาการ

หะดีษมุรสัลเคาะฟีย์ คือ หะดีษที่รายงานโดยผู้รายงานที่เคยพบเห็น หรือร่วมสมัย  การรายงานนั้นโดยใช้สำนวนได้ชัดเจน แต่ทั้งสองไม่เคยปรากฏรับหะดีษโดยตรง (อิบนุ อัศเศาะลาหฺ : 145)
จากนิยามข้างต้น  สามารถรู้จักหะดีษมุรสัลเคาะฟีย์ด้วยประการใดประการหนึ่งจาก  3 ประการต่อไปนี้
1. อุละมาอฺผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ผู้รายงานคนนั้นไม่ได้พบเห็น หรือไม่ได้ฟังหะดีษจากผู้ที่ถูกแอบอ้าง
2. ผู้รายงานกล่าวยอมรับเองว่า เขาแอบอ้างจากบุคคลที่เขาไม่ได้ยินและไม่ได้ฟัง
3. มีกระแสรายงานอื่นระบุถึงผู้รายงานที่ตกหล่นระหว่างผู้รายงานทั้งสอง (มะหฺมูด อัตเฏาะหฺหาน หน้า 79)

2.   ตัวอย่างหะดีษมุรสัลเคาะฟีย์

قال الإمام ابن ماجه : حدثنا محمد بن الصبّاح، أنبأنا عبد العزيز بن محمد، عن صالح بن محمد ابن زائدة، عن عمر بن عبد العزيز، عن عقبة بن عامر الجهنيّ قال : قال رسـول الله صلى الله عليه وسلم : (( رحم الله حارس الحرث ))
ความว่า อิมามอิบนุ มาญะฮฺกล่าวว่า มุฮัมมัด เบ็ญ อัศเศาะบาหฺได้รายงานแก่พวกเราว่า อับดุลอะซีซ เบ็ญ มุฮัมมัดได้รายงานแก่พวกเรา จากศอลิหฺ เบ็ญ มุฮัมมัด เบ็ญ ซาอิดะฮฺ จากอุมัร เบ็ญ อับดุลอะซีซ จากอุกบะฮฺ เบ็ญ อามิร อัลญุฮะนีย์เล่าว่า  เราะสูลุลลอฮฺ r  กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงเมตตาต่อผู้ที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย (ยาม)” (อิบนุ มาญะฮฺ : 2/925)
หะดีษบทนี้ คือ  หะดีษมุรสัลเคาะฟีย์   อัลหาฟิศ อัลมิซซีย์ กล่าวว่า เนื่องจากอุมัร เบ็ญ อับดุลอะซีซ ไม่ได้รับหะดีษโดยตรงจากอุกบะฮฺ เบ็ญ อามิร

3.   ฐานะของหะดีษมุรสัลเคาะฟีย์

หะดีษมุรสัลเคาะฟีย์เป็นหะดีษเฎาะอีฟ  เนื่องจากขาดคุณสมบัติของหะดีษมักบูล คือ สะนัดไม่ติดต่อกัน เพราะมีผู้รายงานตกหล่นหนึ่งคนระหว่างตาบิอีนกับเศาะหาบะฮฺ           อุละมาอฺบางท่านให้เหตุผลว่า  หะดีษในลักษณะนี้เป็นทั้งหะดีษมุรสัลเคาะฟีย์และหะดีษมุนเกาะฏิอฺ

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

หะดีษมุรสัลเคาะฟีย์ด้วยสายรายงานที่ตกหล่นจัดอยู่ในระดับหะดีษเฎาะอีฟ  ไม่อนุญาตให้นำมาใช้เป็นหลักฐาน เว้นแต่จะมีสะนัดอื่นที่เศาะหีหฺระบุถึงผู้รายงานที่ตกหล่นไปจึงสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้โดยได้รับการสนับสนุนจากสะนัดอื่นนั้น

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

               كتاب التفصيل لمبهم المراسيل، الإمام الخطيب البغداديّ  
    
ชนิดที่ 4     หะดีษมุอฺฎ๊อล

หะดีษที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในสะนัดเนื่องจากมีการตกหล่นผู้รายงานสองคนติดต่อกันเรียกว่า  หะดีษมุอฺฎ๊อล

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า معضلมาจากรากศัพท์ของคำว่า أعضل يعضل إعضالاً ومعضلاًแปลว่า ติด ๆ กัน หรือติดต่อกัน

ตามหลักวิชาการ

หะดีษมุอฺฎ๊อล คือ  หะดีษที่มีผู้รายงานตกหล่นในสะนัดสองคนหรือมากกว่าติดต่อกัน (อัสสุยูฏีย์ : 2/ 234)

2.   ตัวอย่างหะดีษมุอฺฎ๊อล

ما رواه الحاكم عن مالك أنه بلّغه أن أبا هريرة رضي الله عنه قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : (( للمملوك طعامه وكسوته بالمعروف، ولا يكلف من العمل إلاّ ما يطيق ))
ความว่า หะดีษรายงานโดยอัลหากิม จากมาลิกซึ่งแท้จริงท่านได้รับการรายงาน  จากอะบูฮุรอยเราะฮฺ t  กล่าวว่า  เราะสูลุลลอฮฺ r ได้กล่าวว่า สำหรับบ่าวนั้นต้องมีอาหารและเครื่องนุ่งห่มใช้เหมือนกับคนอื่น และไม่ควรมอบงานแก่เขา  เว้นแต่งานที่เขาสามารถทำได้  (อัลหากิม ท่านกล่าวว่า หะดีษบทนี้เป็นหะดีษมุอฺฎ๊อลจากมาลิก อ้างในหนังสืออุลูม อัลหะดีษ ของอิบนุ อัศเศาะลาหฺ:  46)
ในสะนัดหะดีษบทนี้มีผู้รายงานตกหล่นสองคนติดต่อกันระหว่างอิมามมาลิกกับ อะบูฮุรอยเราะฮฺ คือ มุฮำมัด เบ็ญ อิจญ์ลานและบิดาของเขา   การรู้ว่าเป็นการตกหล่นใน  สะนัดสองคน เนื่องจากสายรายงานอื่นที่ได้ระบุอย่างชัดเจนถึงผู้รายงานที่ตกหล่น

3.   ฐานะของหะดีษมุอฺฎ๊อล

อุละมาอฺหะดีษมีความเห็นพ้องกันว่า หะดีษมุอฺฎ๊อลเป็นส่วนหนึ่งของหะดีษ  เฎาะอีฟเนื่องจากมีความบกพร่องในสะนัดจากการตกหล่นผู้รายงานหลายคนติดต่อกัน

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

หะดีษมุอฺฎ๊อลไม่อนุญาตให้นำมาใช้เป็นหลักฐาน เว้นแต่เมื่อมีสะนัดอื่นหนึ่งสะนัดระบุผู้รายงานที่ตกหล่นอย่างชัดเจน

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

1.كتاب سنن سعيد بن منصور  
2.كتاب ابن أبي الدنيا  

ชนิดที่ 5   หะดีษมุนเกาะฏิอฺ

หะดีษเฎาะอีฟที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่อง อันเนื่องมาจากการตกหล่นใน    สะนัดหนึ่งคนหรือสองคนไม่ติดต่อกันเรียกว่า  หะดีษมุนเกาะฏิอฺ

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า منقطعมาจากรากศัพท์ของคำ انقطع ينقطع انقطاعاًแปลว่า  ทำให้ขาดตอน หรือไม่ติดต่อกัน

ตามหลักวิชาการ

หะดีษมุนเกาะฏิอฺ คือ  หะดีษที่มีผู้รายงานตกหล่นในสะนัดหนึ่งคน หรือมากกว่าแต่ไม่ติดต่อกัน (อัสสุยูฏีย์  : 2/349)
จากนิยามข้างต้นพอสรุปได้ว่า หากมีการตกหล่นผู้รายงานในหลายที่ของสะนัด เรียกว่า หะดีษมุนเกาะฏิอฺเหมือนกัน
2.   ตัวอย่างหะดีษมุนเกาะฏิอฺ

ما رواه عبد الرزاق، عن الثوريّ، عن إسحاق، عن زيد بن يشيع، عن حذيفة مرفوعاً : (( إن وليتموها أبا بكر فقويّ أمين ))
ความว่า หะดีษจากการรายงานของอับดุลเราะซาก จากอัษเษารีย์ จากอิสหาก จากซัยดฺ เบ็ญ ยุชัยยิอฺ  จากหุซัยฟะฮฺ -มัรฟูอฺ เล่าว่าหากพวกเจ้ามอบสิ่งนั้นแก่อะบูบักร แน่นอนท่านเป็นคนที่แข็งเเกร่งและปลอดภัย” (อะหฺมัด  อัลบัซซารและอัฏเฏาะบะรอนีย์  อ้างในอัลฮัยตะมี: 5/176)
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษมุนเกาะฏิอฺ  เนื่องจากมีผู้รายงานหนึ่งคนตกหล่นในสะนัดระหว่างอัษเษารีย์กับอะบูอิสหาก ผู้รายงานคนนั่น คือ ชะรีก เพราะอัษเษารีย์ไม่ได้ยิน     หะดีษโดยตรงจากอะบูอิสหาก  แต่เขาได้ยินมาจากชะรีก  จากอะบูอิสหาก

3.   ฐานะของหะดีษมุนเกาะฏิอฺ

อุละมาอฺหะดีษมีความเห็นตรงกันว่า     หะดีษมุนเกาะฏิอฺเป็นส่วนหนึ่งของหะดีษ เฎาะอีฟ เนื่องจากการตกหล่นของผู้รายงานในสะนัดนั้นไม่ทราบว่าเป็นใคร

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

หะดีษมุนเกาะฏิอฺไม่อนุญาตให้นำมาใช้เป็นหลักฐานและปฏิบัติตาม เว้นแต่เมื่อมี    สะนัดอื่นที่ติดต่อกันมายืนยันผู้รายงานที่ตกหล่น  สะนัดอื่นนั้นมีหนึ่งสะนัดหรือมากกว่า

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

1.كتاب السنن وغيرها  

ชนิดที่ 6   หะดีษมุดัลลั้ส

 

หะดีษเฎาะอีฟที่มีสาเหตุมาจากการตกหล่นผู้รายงานในสะนัดเนื่องจากการปกปิดที่ซ่อนเร้นเรียกว่า  หะดีษมุดัลลั้ส

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า مدلسมาจากคำว่า دلّس يدلس تدليساًแปลว่า ปกปิด ซ่อนเร้น หมายถึง การปกปิดผู้รายงาน

ตามหลักวิชาการ

หะดีษมุดัลลั้ส คือ  หะดีษที่มีการรายงานในลักษณะปกปิดผู้รายงานโดยเจตนาเพื่อให้เห็นภายนอกว่าเป็นหะดีษที่ไม่มีความบกพร่องแต่อย่างใด (อัสสุยูฏีย์  : 2/234)

2.   ประเภทของหะดีษมุดัลลัส

หะดีษมุดัลลั้สแบ่งออกเป็น  2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ตัดลีสอิสนาดและตัดลิสสุยูค   แต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้

ประเภทที่ 1    ตัดลิสอิสนาด (تدليس الإسناد)

1. ความหมาย
หะดีษตัดลีสอิสนาด หมายถึง หะดีษที่ผู้รายงานได้รายงานหะดีษที่เขาไม่ได้ยินจากบุคคล (อาจารย์) ที่เขาเคยได้ยินหะดีษโดยได้ระบุว่ารับหะดีษมาจากอาจารย์ท่านนั้น (อัตตะฮานะวีย์ : 41)

2. ตัวอย่าง
ما أخرجه الحاكم بسنده إلى عليّ بن خشرم قال : قال لنا ابن عيينة : عن الزهريّ، قيل له : سمعتَه من الزهريّ؟ فقال :لا، ولا ممن سمعه من الزهريّ. حدثني عبد الرزاق عن معمر عن الزهريّ.
แปลว่า หะดีษรายงานโดยอัลหากิมด้วยสะนัดถึงอะลี เบ็ญ ค๊อชร๊อมเล่าว่า  อิบนุอุยัยนะฮฺได้เล่าให้แก่พวกเราว่ารับหะดีษจากอัซซุฮฺรีย์ บางคนถามท่านว่า  คุณได้ยินหะดีษจากอัซซุฮฺรีย์จริงหรือ? ท่านตอบว่า  ไม่ และไม่ได้ยินจากคนที่ได้ฟังหะดีษจากอัซซุฮฺรีย์เหมือนกันแต่ฉันรับหะดีษจากอับดุลรอซาค  จากมะอฺมัร จากอัซซุฮฺรีย์ (อัลหากิม : 130)
หะดีษบทนี้ คือ หะดีษตัดลีสอิสนาด เนื่องจากอิบนุอุยัยนะฮฺได้ทำการปกปิด       ผู้รายงานสองคนระหว่างเขากับอัซซุฮฺรีย์  ทั้งสองท่านนั้น คือ  อับดุลรอซาคและมะอฺมัร
3. หุก่มการตัดลีสอิสนาด
อุละมาอฺส่วนใหญ่ได้ตำหนิการกระทำตัดลีสอิสนาด  และอิมามชุอฺบะฮฺผู้หนึ่งที่เป็นผู้ที่ตำหนิอย่างหนักต่อการกระทำตัดลีสอิสนาด  ท่านกล่าวว่า  ตัดลีสนั้นเสมือนเป็นเพื่อนของการโกหก” (อัศศ๊อนอานีย์  : 131)
4. เป้าหมายของตัดลีสอิสนาด
การทำตัดลีสอิสนาดมีเป้าหมายหลายประการด้วยกันที่สำคัญ คือ
1. เพื่อต้องการให้เห็นว่าหะดีษนั้น ๆ มีอิสนาดอาลีย์ (อิสนาดที่สูง)
2. เพื่อต้องการลดการรับหะดีษจากอาจารย์บ่อยครั้ง
3. เพื่อลบภาพพจน์ของอาจารย์ที่เป็นคนเฎาะอีฟหรือไม่ษิเกาะฮฺ
4. เพื่อปกปิดคนอื่นที่ได้ยินหะดีษร่วมกับเขาจากอาจารย์คนเดียวกัน
5. เพื่อปกปิดอาจารย์ที่มีอายุน้อยกว่าเขา

ประเภทที่ 2    ตัดลีสสุยูค (تدليس الشيوخ)

1. ความหมาย
หะดีษตัดลีสสุยูค หมายถึง  ผู้รายงานได้รายงานหะดีษโดยตรงจากอาจารย์ที่เขาเคยได้ยิน โดยที่เขาไม่ได้ระบุชื่ออาจารย์อย่างชัดเจน แต่กล่าวเป็นชื่ออื่นที่ไม่เป็นที่รู้จักกันมาก่อน (อิบนุอัศเศาะลาหฺ : 66)
กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ผู้รายงานได้รายงานหะดีษที่เขารับโดยตรงจากอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในสังคมชื่อนั้น  เมื่อกล่าวรายงานหะดีษผู้รายงานไม่ได้เอ่ยชื่อของอาจารย์ท่านนั้นอย่างชัดเจน  แต่กลับใช้ชื่ออื่น  หรือใช้สร้อย  หรือบอกลักษณะที่ไม่เป็นที่รู้จักกัน  การกระทำเช่นนี้เพื่อปกปิดอาจารย์นั้นเอง
2. ตัวอย่าง
قول أبي بكر بن مجاهد أحد أئمة القرّاء : حدثنا عبد الله بن أبي عبد الله، يريد أبا بكر بن أبي داود السجستانيّ.
แปลว่า  คำพูดของอะบูบักร เบ็ญ มุญาฮิด (หนึ่งในบรรดานักอ่าน) กล่าวว่า อับดุลเลาะ เบ็ญ อะบีอับดุลเลาะได้รายงานแก่พวกเรา หมายถึง อะบูบักร เบ็ญ อะบู     ดาวูด อัซซิญิสตานีย์ (อัสสุยูฏีย์  : 2/234)
3. หุก่มของการตัดลีสสุยูค
การตัดลีสสุยูคนั้นเป็นที่น่ารังเกียจของบรรดาอุละมาอฺ
4. เป้าหมายของการตัดลีสสุยูค
การตัดลิสสุยูคมีเป้าหมายที่สำคัญดังนี้
1. เพื่อปกปิดอาจารย์ที่มีสถานภาพเฎาะอีฟ
2. เพื่อปกปิดผู้รายงานคนอื่นที่รับหะดีษกับเขาอันเนื่องมาจากอาจารย์มีอายุยืน
3. เพื่อปกปิดตัวเองที่มีอายุมากกว่าอาจารย์
4. เพื่อปกปิดการรายงานของเขาจากอาจารย์บ่อยครั้ง

3.            รายชื่อผู้รายงานที่มีสถานภาพเป็นตัดลีส

ผู้รายงานที่มีสถานภาพเป็นนักตัดลีสอิสนาดต่อหะดีษนะบะวีย์นั้นแบ่งออกเป็น  5 รุ่นด้วยกัน (อัลอัสเกาะลานีย์  : 23-24)
กลุ่มที่ 1   ผู้ที่ได้ทำการตัดลีสเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น เช่น ยะหฺยา เบ็ญ      สะอีด อัลอันศอรีย์
กลุ่มที่ 2    ผู้ที่อุลามาอฺนับเป็นนักตัดลีสแต่มีการรายงานในหนังสือเศาะหีหฺ เนื่อง จากความเป็นอิมามของเขาและการทำตัดลีสน้อยมากเมื่อมีการรายงานหะดีษ หรือการทำตัดลีสของเขานั้นมาจากผู้รายงานที่มีสถานภาพษิเกาะฮฺ เช่น สุฟยาน เบ็ญ อุยัยนะฮฺ
กลุ่มที่ 3   ผู้ที่บรรดาอุลามาอฺมีความเห็นที่แตกต่างกันในความเป็นนักตัดลีส   ของเขาซึ่งอุละมาอฺบางท่านให้การยอมรับการรายงานของเขาและอุละมาอฺอีกกลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับการรายงานของเขาในการนำมาใช้เป็นหลักฐาน เว้นแต่ในกรณีที่เขารายงานหะดีษโดยใช้สำนวนที่ชัดเจน เช่น อะบูอัซซุบัยร อัลมักกีย์
กลุ่มที่ 4   ผู้ที่อุละมาอฺมีความเห็นตรงกันว่าไม่สามารถนำหะดีษจากการรายงานของเขามาเป็นหลักฐาน เว้นแต่ในกรณีที่เขารายงานหะดีษโดยใช้สำนวนที่ชัดเจน เนื่องจากการตัดลีสของเขาจากผู้รายงานที่มีสถานภาพเฎาะอีฟบ่อยครั้ง หรือผู้ที่ไม่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในสังคมว่าเป็นนักหะดีษ เช่น บะกิยะฮฺ เบ็ญ อัลวะลีด
กลุ่มที่ 5   ผู้รายงานที่เฎาะอีฟเนื่องมาจากสาเหตุอื่นที่ไม่ได้มาจากการตัดลีส    การรายงานหะดีษของเขาต้องปฏิเสธ แม้นว่าการรายงานของเขานั้นโดยใช้สำนวนชัดเจนก็ตาม เว้นแต่ได้รับการยอมรับจากผู้ที่ษิเกาะฮฺว่าเป็นคนเฎาะอีฟเล็กน้อย เช่น อับดุลเลาะ เบ็ญ ละฮีอะฮฺ แต่หากการรายงานของเขาใช้สำนวนคลุมเครือ หะดีษนั้นเป็นหะดีษเฏาะอีฟที่ใช้ไม่ได้

4.   ฐานะของหะดีษมุดัลลั้ส

หะดีษมุดัลลั้สเป็นส่วนหนึ่งของหะดีษเฎาะอีฟ เนื่องจากขาดคุณสมบัติของหะดีษมักบูล คือ ความบกพร่องในการรายงาน

5.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

การนำหะดีษมุดัลลั้สมาใช้เป็นหลักฐานและปฏิบัติตามในเรื่องบทบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนามีการขัดแย้งในกลุ่มอุละมาอฺออกเป็นหลายทัศนะ  แต่ที่แพร่หลายมากที่สุดมี ทัศนะเท่านั้นคือ
ทัศนะที่ 1   ไม่อนุญาตนำหะดีษมุดัลลั้สมาใช้เป็นหลักฐานไม่ว่าในกรณีใดๆ       ก็ตาม เนื่องจากการตัดลีสเป็นเสมือนกับการโกหกต่อท่านนบีมุฮัมมัด r
ทัศนะที่ 2   พิจารณาจากลักษณะการรายงานของนักตัดลีส คือ
1.   หากการรายงานนั้นใช้สำนวนชัดเจน  เช่น กล่าวว่า سَمِعْتُหรืออื่นๆ สามารถนำหะดีษมาใช้เป็นหลักฐานได้ 
2.    ถ้าการรายงานนั้นใช้สำนวนคลุมเครือ  เช่น  กล่าวว่า عن”  หรือที่เรียกว่า هو مدلس وقد عنعنة แปลว่า เขาเป็นนักตัดลีสโดยใช้สำนวน عن  ไม่สามารถนำ     หะดีษมาเป็นหลักฐานได้
จากสองทัศนะที่ได้กล่าวข้างต้น  ทัศนะที่ถูกต้อง คือ  ทัศนะที่สอง  เนื่องจากการรายงานนั้นโดยใช้สำนวนที่ชัดเจนซึ่งแสดงถึงการมีผู้รายงานได้ยินหะดีษจริงจากอาจารย์    ไม่ใช่เป็นการตัดลีสแต่อย่างใด

6.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

1. كتاب التبيين لأسماء المدلسين، الإمام الخطيب البغداديّ  
2.كتاب التبيين لأسماء المدلسين، الإمام برهان الدين بن الحلبيّ    
3.    كتاب تعريف أهل التقديس بمراتب الموصوفين بالتدليس،
        الحافظ ابن حجر العسقلاني   
        
โจทย์ฝึกหัดเพิ่มเติม

1.  หะดีษมัรดูดหมายถึงหะดีษอย่างไร ?
2.  สาเหตุของหะดีษมัรดูดมีอะไรบ้าง ?
3.  หะดีษมัรดูดตามทัศนะของอุละมาอฺหะดีษเป็นอย่างไร ?
4.  การเป็นมัรดูดของหะดีษจะพิจารณาด้านใด ?
5.  หะดีษมัรดูดที่เป็นหะดีษเฎาะอีฟมีลักษณะอย่างไร ?
6.   หะดีษเฎาะอีฟสามารถใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม อย่างไร ?
7.  หะดีษเฎาะอีฟที่มีสาเหตุมาความบกพร่องด้านกระบวนการรายงานมีอะไรบ้าง ?
8.  หะดีษเฎาะอีฟที่มีสาเหตุมาความบกพร่องด้านความจำมีอะไรบ้าง ?
9.  หะดีษมุอัลลั้กใช้เป็นหลักฐานได้ในกรณีใดบ้าง ?
10. จงอธิบายความแตกต่างของหะดีษต่อไปนี้
                ก.   ระหว่างหะดีษมุรสัลเศาะหาบีย์กับหะดีษมุรสัลตาบิอีน
                ข.   ระหว่างหะดีษมุอฺฎ๊อลกับหะดีษมุนเกาะฏิอฺ
                ค.   ระหว่างหะดีษมุรสับตาบิอีนกับหะดีษมุอฺฎ๊อล
                ง.    ระหว่างหะดีษมุนเกาะฏิอฺกับหะดีษมุดัลลั้ส