เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติ อะชาอิเราะฮฺ และอิทธิพล




เป็นวิทยานิพนธ์ของวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี โดย อีสมาแอ กาเต๊ะ
ซึ่งตอนนี้ท่านก็เป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี

เรื่อง  อะชาอิเราะฮฺ ประวัติ แนวคิด และอิทธิพลต่อหลักศรัทธาของมุสลิม จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย อีสมาแอ กาเต๊ะ
ดาโหลดได้เลยจ้า
http://www.mediafire.com/?1llo1sba2aoohcl

ตามล่าฆาตกรท่านหุเสน


เข้ามาดูหนังสือนี้ได้นะ
ว่าอะไรคืออะไรในเหตุการณ์ครั้งนี้ 
ใคร ? คือคนสังหารท่าน 
สามารถดาวโหลดได้ ตามลิงคิ์ที่ปรากฏนะคับ

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติ ชัยค์ หะซัน อัล บันนา



                      
                                                         ชัยค์ หะซัน อัล บันนา

                     ชัยค์ หะซัน อัลบันนา  เกิดเมื่อ  ค.. 1906  ในมะห์มูดีดียะห์  ประเทศอียิปต์  บิดาของท่านเป็นผู้ที่ไขว่คว้าหาความรู้ใส่ตัวเขาเองตลอดเวลา  และมีความเชี่ยวชาญในการค้าขายนาฬิกา  ท่านทำงานตอนกลางคืน   ส่วนเวลากลางวันท่านทำหน้าที่เป็นอีหมามที่มัสยิดประจำท้องถิ่น  และทำหน้าที่สอนหนังสือไปในตัว  เขาจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม   หนังสือที่โปรด ปรานที่สุด  คือหนังสือเรื่อง มุวัตตอ  ของมาลิกและหนังสือ  มุสนัตของอิมามซาฟีอีย์จากบิดาของท่านจึงทำให้  หะซัน อัล บันนาเรียนท่องคัมภีร์อัลกุรอานจนทั้งเล่ม  และเมื่อท่านโตขึ้นบิดาของท่านแนะนำให้ท่านรูจักใช้ห้องสมุด  และสนับสนุนให้ท่านอ่านหนังสือที่เก็บสะสม  การศึกษาอิสลามของท่านก็ได้รับจากบิดาเพียงผู้เดียว  เขามีความเชี่ยวชาญทางภาษาอาหรับอย่างดีเลิศ
ความกระตื้อรือร้นและความอัจฉริยะในการเป็นผู้นำเริ่มฉายแสงมาตั้งแต่ยังเด็ก  ซึ่งตอนนั้นท่านกับพี่ชายได้ก่อตั้ง                  สมาคมเพื่อการส่งเสริมความดี  และห้ามปรามการชั่ว   และท่านได้เขียนคำประกาศว่า  ผู้ชายมิให้สวมแหวนทองคำหรือใส่เสื่อไหมซึ่งไปติดไว้บนประตูมัสยิด  และแจกจ่ายไปตามจุดสำคัญต่างๆ
เมื่ออายุ  16 ปี  พ่อของท่านได้ตัดสินใจส่งท่านเข้ารับการศึกษาต่อในโรงเรียน  ดารุล อูลูม  ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกหัดในไคโร  ท่านเข้าไปในไคโรท่านรู้สึกตกใจมากที่เห็นความตกต่ำทางศีลธรรม  ขณะที่ท่านอยู่ในโรงเรียนนั้น   ดร. ตอฮา  ฮุสซัยน์  เขียนหนังสือแหวกแนวศาสนา  เรื่อง  บทกวีก่อนอิสลาม  ซึ่งเป็นหนังสือสร้างความเคลือบแคลงให้แก่ความหมายของคัมภีร์อัลกุรอ่านและอัลฮาดีษ  และ ซัยค์ อาลี อับดุลรดซีดเขียนหนังสืออันฉาวโฉ่เรื่อง  อิสลามและหลักการรัฐบาล  ซึ่งเป็นหนังสือที่สนับสนุนให้มุสลิมหันมายอมรับลัทธิเซคูลาริสย์ หรือ ลัทธิแยกกิจการทางโลกออกจากกิจการทางศาสนา
หะซัน อัล บันนา  รู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่งที่เห็นบุคคลที่น่าเคารพในอียิปต์  พลอยไปเข้าร่วมสมัยกับพวกสมัยใหม่และนำประชาชนหลงผิดไปกับคนพวกนั้นด้วย  ท่านก็เลยไปปรับทุกข์กับบรรดาลูกศิษย์ของซัยยิด รอซีด ริฎอและช่วงเวลานี้เองที่ท่านได้ตัดสินใจจัดตั้งขบวนการทำลายลัทธินอกศาสนา  และปลุกเร้าให้ประชาชนหันมาดำเนินชีวิตแบบอิสลามไม่ว่าส่วนตัวและส่วนรวม  ในปีสุดท้าย  หะซัน อัล บันนา  ถูกถามเกี่ยวกับการวางแผนชีวิตในอนาคต  ซึ่งท่านเขียนไว้ว่าท่านอยากเป็นครู
หะซัน อัล บันนา  จบการศึกษาจากโรงเรียน ดารุล อุลูม  ในปี  ค.. 1927  อายุ 21 ปี  หลังจากท่านย้ายไปเป็นครูในโรงเรียนของรัฐบาลที่อิสไมเลียไม่กี่เดือน  ท่านก็ได้จัดตั้งสมาคมภราดรอิสลาม ( อิควาน อัลมุสลีมูน ) ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ
                ชัยค์ หะซัน อัลบันนา มีคุณสมบัติครบถ้วนในการทำงานตามหน้าที่ของท่าน  ไม่พียงแต่ท่านจะมีสติปัญญาเฉียบแหลมดุจคมมีดโกนเท่านั้น  แต่ยังมีร่างกายที่แข็งแรงอีกด้วย  และมีความทรหดอดทนเป็นเยี่ยม
ใน ค.. 1933 ท่านได้ย้ายกองบัญชาการกลางของขบวนการอิควาน  จากอิไมเลียไปยังไคโร  เพราะท่านวางแผนที่จะให้การศึกษาให้แก่ประชาชน  เพื่อให้ประชาชนได้รู้ถึงการดำเนินชีวิตแบบอิสลาม  และจะจัดตั้งข่ายงานมัสยิด  โรงเรียนตลอดจนศูนย์กลางสวัสดีการทางสังคมขึ้นทั่วประเทศอียิปต์  เด็กหนุ่มซึ่งครั้งหนึ่งเป็นเพียงคนปลุกคนให้ตื่นขึ้นมาทำนมัสการในหมู่บ้าน  มาบัดนี้กำลังจะเป็นคนปลุกประชาชนให้ตื่นขึ้นทั่วทางอียิปต์แล้ว  ถึงแม้ว่าสภาพของเมืองไคโรในเวลานั้นจะถูกอิทธิพลของพวกนอกศาสนาครอบงำอย่างรุนแรง จนมุสลิมยังเกิดความขัดเขินที่จะทำนมัสการในที่สาธารณะ  และนักเรียนทุกคนถูกสอนให้ดูถูกอิสลามก็ตาม  แต่ท่านก็สามารถที่จะทำให้เยาวชนที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกหลายคนกลายมาเป็นคนร่วมงานที่เสียสละให้แก่ท่านได้  
หลักการบางอย่างของ ชัยค์ อัลบันนา  ซึ่งถูกวางไว้เป็นกฎของขบวนการอิควาน อัลมุสลีมูน
 “  เมื่อใดก็ตามที่ท่านได้ยินเสียงอาซาน  จงนมัสการไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรก็ตาม  อ่านคัมภีร์กุรอานแล้วจงไตร่ตรอง  ฟังแล้วจงไตร่ตรอง  และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ  อย่าเสียเวลาของท่านไปกับสิ่งไร้ประโยชน์ 
อย่าโต้เถียงในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
อย่าหัวเราะให้มาก  หัวใจที่ใกล้ชิดอัลลอฮฺนั้นคือหัวใจที่สำรวมและสุภาพ
อย่าเล่นหรือสนุกให้มากนัก  ชาติที่กำลังต่อสู้นั้นไม่รู้อะไรนอกจากการเอาจริงเอาจัง
อย่าให้ดังเกินกว่าที่ผู้ฟังพอจะได้ยิน  เพราะมันจะเป็นการรบกวนคนอื่น
หลีกเลี่ยงการทำร้ายผู้อื่นลับหลัง  อย่าพูดดูหมิ่นการทำงาน
จงสร้างความคุ้นเคยกับใครก็ตามที่ท่านพบว่าเป็นคนของอิควาน  แม้เขาจะไม่เริ่มต้นก็ตาม  เพราะว่าอุดมการณ์ของเรานั้นวางอยู่บนเสาหลักแห่งความรู้และความรัก
            “ จงถือว่า  หน้าที่สำคัญกว่าเวลา  จงช่วยคนอื่นทำงานและเมื่อท่านมีโครงการใดที่จะทำ  ท่านจะประสบความสำเร็จเสมอ
งานของขบวนการอิควานดำเนินไปยังรวดเร็ว  โดยเฉพาะในส่วนที่ หะซัน อัลบันนา ลงมือกระทำด้วยตนเอง  คนของเขาให้ความเชื่อฟัง  และซื่อสัตย์ต่อเขา  เมื่ออิควานเติบโตขึ้นและมีความเข้มแข็งเป็นที่น่าพอใจแล้ว ท่านก็เลยเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ท่านที่จะปรับงานของขบวนการให้มาอยู่ในระดับชาติเสียทีโดยเขามีเป้าหมายว่าจะปฏิรูปสังคมอียิปต์ให้วางอยู่บนพื่นฐานของกฎหมายอสลามให้ได้
                ขบวนการอิควานเริ่มเป็นที่น่าสนใจของรัฐบาลครั้งแรกใน ค.. 1936 เมื่อท่านได้ส่งจดหมายถึงกษัตริย์และรัฐมนตรีระดับสูงหลายคน  เรียกร้องให้คนเหล่านั้นเลิกวิถีชีวิตแบบตะวันตกและหันมาเชื่อฟังกฎหมายอสลาม  ท่านได้ขอให้พวกรัฐบาลและชนชั้นปกครองได้ทำตัวอย่างที่ดีให้กับประชาชนโดยการห้ามทุกอย่างที่ไม่ดี  เช่น ดื่มเหล้า  การพนัน  ซ่องโสเภณี  เป็นต้น
ในบรรดากิจกรรมด้านต่างๆของขบวนการนั้นท่านให้ความสนใจต่อการศึกษาต่อประชากรรุ่ใหม่เป็นอย่างมาก  หลายครั้งด้วยกันที่ท่านได้เรียกร้องให้เลิกระบบสหศึกษา  แต่ในขณะเดีวยกันท่านก็สนับสนุนให้มีการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่ปราศจากแนงความคิดวัตถุนิยมสุดโต่งเพื่อสามารถทำให้อียิปต์นำมาใช้ประโยชน์แก่ประเทศได้  โดยไม่มี่ผลร้ายตามมา
                ตอนปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการอิควานมีบทบาทสำคัญมากในอียิปต์  ท่านได้สร้างระบบการศึกษาของท่านขึ้นมาเองในขอบเขตของสาขางานทั่วประเทศ  โรงเรียน  มัสยิด ศูนย์กลางสวัสดิการทางสังคม  และธุรกิจของอิควานมีอยู่ไปทั่วอียิปต์
เช่นเดียวกับ ญะมาลุดดีน อัล อัฟฆอนี นักฟื้นฟูอิสลามก่อนหน้า หะซัน อัลบันนา ตระหนักอยู่เสมอว่า  สังคมอิสลามจะเติบโตไม่ได้เต็มที่  หากยังอยู่ภายใต้การครอบงำของชาติ ดังนั้น เขาจึงเรียกร้องให้มีการต่อสู้(ญิฮาด) จนถึงชีวิตกับจักรพรรดินิยมอังกฤษทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ และได้เรียกร้องให้มีการบีบอังกฤษให้ถอนตัวออกจากการควบคุมคลองสุเอซ ท่านเกลียดลัทธิไซออนิสม์มาก และเขาสาบานว่าจะทำลายลัทธิหรือสัญลักษณ์ของลัทธินี้ให้ถึงที่สุด ระหว่างการทำสงครามกับอิสรอแอลในปี ค..1948 ไม่มีกองทัพอาหรับกองไหนที่กล้าต่อสู้กับพวกไซออนิสม์อย่างกล้าหาญเหมือนกับกองทัพอาสาสมัครของอิควานและก็ไม่มีครั้งไหนที่พวกไซออนิสม์จะเผชิญกับศัตรูตัวฉกาจเท่ากับครั้งนี้
เนื่องจากอิทธิพลของขบวนการอิควานมีมากขึ้นทุกวัน  ชนชั้นปกครองจึงเริ่มถือว่า  ขบวนการอิควานเป็นพวกที่โค่นล้มอำนาจการปกครอง ดังนั้น ในเดือนธันวาคม ค..1948 รัฐบาลอียิปต์จึงประกาศว่า ขบวนการอิควานเป็นขบวนการผิดกฎหมาย สมาชิกของอิควานนับจำนวนพันคนถูกจับเข้าคุกและถูกยึดทรัพย์สินที่มีอยู่  หลังจากนั้นยังไม่ทำสองเดือน  คือในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค..1949  ท่านก็ถูกมือมีดคนหนึ่งลอบสังหารถึงแก่ชีวิตในกรุงไคโร
ถึงแม้ว่า ผู้นำของขบวนการจะต้องพลีชีพก็ตาม  แต่พวกอิควานส่วนที่เหลือก็มิได้หมดหวังและยังคงทำงานต่อไป   จนขบวนการอิควานเติบโตขึ้นกว่าเก่าอีก  แต่พอมาถึง ค..1954 ขบวนการอิควานก็ถูกทำลายอย่างรุนแรงโดยน้ำมือของพวกเผด็จการอย่างที่โลกไม่เคยพบมาก่อน
                จากวัยเด็กจนถึงลมหายใจสุดท้าย  ท่าน หะซัน อัล บันนา อุทิศกำลังกาย  กำลังสติปัญญา เวลา ทรัพย์สิน และแม้กระทั่งชีวิตของท่านทั้งหมดเพื่อแนวทางของอัลลอฮ  ดังนั้นท่านจึงเป็นผู้หนึ่งในแนวทางศาสนา ( ซาฮีด ) ขออัลลอฮทรงประทานความจำเริญแก่ท่าน  และขอให้วิญญาณของท่านอยู่ในความสันติด้วยเทอญ

ยุคศตวรรคใหม่
                ในช่วงเวลาที่เราได้รอคอยความรุ่งเรืองของชาติต่างๆในด้านการเมือง สังคมและศีลธรรมในโลกมุสลิมภายใต้เส้นขีดของโลกอาหรับที่ได้มีความเจริญ คลั่งไคล้เกี่ยวกับอิสลามจนมาถึงปัจจุบันนี้ บรรดานักเขียน (ปราชญ์) นักคิดและผู้ปกครองได้นำเอาแนวความคิดของยุโรปมาเป็นแนวทางในการวางกรอบวิถีชีวิต แต่ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคเวลา ความเชื่อต่างๆตลอดจนประเพรีต่างๆก็เริ่มเกิดขึ้น หลังจากไม่นานความคิดของบรรดาพวกเขาก็ได้กลับไปตามแนวความคิด”Islamisasi”อีกครั้งอย่างแพร่หลาย

สาเหตุต่างๆ
                สาเหตุที่ได้มีการแพร่หลายอย่างกว้างขวางเนื่องจากผูปกครองและผู้ที่มีอำนาจของโลกอาหรับก่อนๆได้ถูกยึดอำนาจและได้ข่มความคิดจนทำให้ห่างไกลจากโลกอิสลาม ทำให้มุสลิมอ่อนอำนาจลงและง่ายต่อการเข้าครอบงำต่อชาติอื่นๆ อย่างเช่น”Kolonialisme”ที่ต้องการครอบงำ แม้ว่าในทางการเมือง เศรษฐศาสตร์ ซึ่งแนวคิดต่างๆนี้ได้เป็นที่รู้ของคนมุสลิมว่าต้องการครอบงำโลกมุสลิม

ความไม่เอาไหนของโลกตะวันตก
1.ปัจจัยหลักที่ตะวันตกเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสังคมที่เป็นเป้าหมายหลักของชาติตะวันตก แนวทาง และวิถีชีวิตของโลกตะวันตกแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วมาก โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่นเครื่องจักรกลต่างๆส่งออกขาย(Mekanis) จนทำให้มุสลิมไม่สามารถค้นหาความแน่นอน ความเร้นลับ เพราะมนุษย์ไม่สามารถที่จะเทียบเท่าเครื่องจักรกลต่างๆ การใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือยของโลกตะวันตก การดื่มเหล้าที่เป็นนิอมัตของเขา แต่เป็นนิอมัตที่บาป ซึ่งมุสลิมนั้นรับไม่ได้ จนมีกลุ่มที่พยายามหาแนวทางที่จะทำให้ใกล้ชิดกับแนวทางของศาสนาให้มากๆเพื่อความสงบของจิตใจ
2.ความสมบูรณ์ของอิสลามที่จะสร้างความสมบูรณ์ทางความคิดของบรรดานักคิดมุสลิมที่มีความละเอียดอ่อน มีศีลธรรม ที่จะนำไปสู่ความเป็นอิสลามิก ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติของสังคม และได้นำแนวคิดต่างๆมาเปรียบเทียบเพื่อหาสิ่งที่เป็นแก่นแท้ มีการเคลื่อนไหวของนักจิตวิทยาเรียกร้องให้มุสลิมหันกลับไปสู่แนวความคิดของอิสลามที่เป็นวิถีวีวิตมาช้านานสร้างความเป็นปึกแผ่นของโลกมุสลิม เชิญชวนคนที่ไม่ใช่มุสลิมให้เข้ารับศาสนาอิสลาม
3.บ่อเกิดของความรุ่งเรืองอันเนื่องมาจากสังคมต้องการความสงบ ซึ่งสงความโลกครั้งที่ 1 และ 2 ยังตราตรึงอยู่ในใจพวกเขาอยู่ จึงเกิดคำถามมานานับประการ ผลที่เกิดจากสงครามเป็นการสูญเสียชนเผ่าต่างๆวิถีชีวิตของแต่ละเผ่าจึงเป็นที่ไม่แปลก อิสลามได้พยายามเอาแนวความคิด ความสันติแบบอิสลามโดยใช้ลักการตามอัล-กรุอานเป็นธรรมนูญในการปกครองในสังคมปัจจุบันจึงไม่เป็นอันควรที่จะให้การส่งเสริมแก่ผู้ปกครองที่ไม่ใช้หลักจากอัลกรุอาน ไม่มีแนวความคิดใดที่ว่าการปกครองแบบรัฐอิสลามจะไม่สามารถปกครองอาณาจักรให้มีความสุขสันติ
                โลกได้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยและได้ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการให้มีความคิดเห็น ให้ความเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาส ได้รับความยุติธรรมในการปกครอง
Nasilsme Jerman Fasisme Italia ได้ให้อำนาจแก่ โมโสลินีและฮิตเลอร์ ได้เรียกร้องให้ประชากรของเขาเป็นหนึ่ง มีอำนาจอิทธิพลที่จะนำไปสู่ความปราชัย
                ความทารุณโหดร้ายของฮิตเลอร์ จนเป็นที่หวาดกลัวของประเทศอื่นๆจากนโยบายการปกครองของ Fuhrer Hitler และ Duce Mussolini
                แต่ปัจจุบันแนวคิดลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์เป็นผลพลอยได้จากแนวคิด และในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตของรัฐเซียเป็นมหาอำนาจที่สามารถแบ่งเขตการปกครอง เหตุผลจากแนวความคิดของโซเวียตภายในระยะเวลา 30 ปี ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นที่แปลกหลังจากที่สหภาพโซเวียตได้ล้มสลาย ประชากรไม่มีที่พึ่งพาอาศัย ไม่รู้จะเอาสิ่งใดมาเป็นสิ่งที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งต่างกับอิสลามที่อัล-กรุอานที่เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เมื่ออำนาจเป็นของอัลลอฮ อำนาจก็จะกลับไปสู่น้ำมือของพระเจ้า
                ความสูญเสียจากภาวะสงคราม จากสังคมนิยมที่แข็งกร้าวนั้นทำให้มีการตายเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้บรรดานักคิดมุสลิมรู้สึกสำนึก เมื่อนำไปเปรียบเทียบทำบทสรุป ก็เพื่อปกป้องชนชาติ ประชากรให้หันกลับมาสู่ศาสนาอิสลาม ละทิ้งศาสนาที่ถูกคุกคามและบังคับ

แนวคิดของอิม่าม อัชชะฮีด อัลบันนา
1.  อัลลอฮ     คือ  เป้าหมายของเรา
รอซูล  คือ  แบบอย่างของเรา
อัลกรุอาน  คือ  ธรรมนูญของเรา
ญิฮาด       คือ  วิถีทางของเรา
การพลีชีพในทางของอัลลอฮ  คือ  ความปรารถนาสูงสุดของเรา
2.  อิสลามเป็นระบบที่สมบูรณ์และครอบคลุมของชีวิตในทุกๆด้าน
อิสลาม    คือ  รัฐและมาตุภูมิ
อิสลาม    คือ  รัฐบาลและประชาชน
อิสลาม    คือ  จริยธรรมและอำนาจ
อิสลาม    คือ  ความเมตตาและความยุติธรรม
อิสลาม    คือ  วัฒนธรรมและกฎหมาย
อิสลาม    คือ  ความรอบรู้และหลักนิติกรรม
อิสลาม    คือ  วัตถุปัจจัยและความมั่นคั่ง
อิสลาม    คือ  การดิ้นรนต่อสู้และการเรียกร้องเชิญชวน
อิสลาม    คือ  การทหารและวิถีทาง
อิสลาม    คือ  อะกีดะฮและอิบาดัตที่เที่ยงตรง
3.ขั้นตอนการดำเนินงานอิสลาม
1.  การปฏิรูปตนเอ
2.  สร้างบ้านแห่งอิสลาม
3.  สร้างสังคมอิสลาม
4.  ปลดปล่อยมาตุภูมิให้พ้นจากสิ่งที่มิใช่อิสลาม
5.  ปฏิรูปรัฐบาล เพื่อที่ว่ารัฐบาลจะได้เป็นรัฐบาลอิสลามที่แท้จริง
6.  เสริมสร้างความมั่นคงทางสากลระหว่างชาติมุสลิม
7. ประกาศแนะนำอุดมการณ์อิสลามให้แก่ชาวโลกทั้งมวลโดยการเผยแผ่อิสลาม
   ไปยังทุกมุมโลก
4.มนุษย์นั้นมี 7 จำพวก
1.  มุสลิมที่ต่อสู้
2.  มุสลิมที่ลังเลใจ
3.  มุสลิมที่กระทำบาป
4.  ผู้ซึ่งมิใช่มุสลิมที่อาศัยอยู่อย่างสันติภายใต้กฎหมายอิสลามในรัฐมุสลิม
5.  ผู้ซึ่งมิใช่มุสลิมที่มีพันธะสัญญากับรัฐมุสลิม
6.  ผู้ซึ่งมิใช่มุสลิมที่เป็นกลาง
7.  ผู้ซึ่งมิใช่มุสลิมที่ทำสงครามกับรัฐมุสลิม
5.โอ้ชนชาติของข้าพเจ้า
คำภีร์อัลกรุอาน เป็นคำภีร์ที่ทำความเข้าใจได้ และเสริมสร้างพลังไม่หยุดยั้งซึ่งสิ้นสุดในตัวมันเอง ไม่เพียงแต่หลักความเชื่อเท่านั้นแต่พื้นฐานหลักการ สวัสดิการ สังคม และกฎเกณฑ์ทางนิติศาสตร์ได้มีอยู่แล้วอย่างพร้อมมูล
บรรดามุสลิมได้ดำเนินดำเนินตามอัล-กรุอานแล้วหรือ พวกเขามีศรัทธาและเชื่อมั่นในหลักการจากอัลลอฮที่ปรากฎในอัล-กรุอานแล้วหรือ พวกเขาเข้าใจจุดหมายที่สำแดงไว้ในอัล-กรุอานแล้วหรือ ทุกย่างก้าวของพวกเขาได้ประสานกับกฎสังคมที่ระบุในอัล-กรุอานแล้วหรือ

6.ปัจจัยต่างๆที่นำไปสู่การสลายตัวของอิสลามและอุมมะฮอิสลาม มัดังนี้
1.  การแตกแยกทางการเมือง
2.  ความแตกแยกทางศาสนา
3.  ความหลงไหลในความฟุ่มเฟือยและความสบายต่างๆ
4.  อำนาจการปกครองเปลี่ยนมือไปสู่พวกที่มิใช่อาหรับ เช่น เปอร์เซีย ไดลาไมท์ มัมลูก เตอร์ก และอื่นๆ ซึ่งพวกเหล่านี้ไม่ได้รับเอาอิสลามไปอย่างแท้จริง
5. การละทิ้งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เสียเวลาและพลังงานไปกับปรัชญาที่ยากแก่การเข้าใจ
6.  การหลงไหลในอำนาจ
7.  การหลอกลวงตนเองเนื่องจากการวางแผนร้ายของพวกประจบสอพลอที่ไม่เป็นมิตร
8.  อารยธรรมยุโรปมีลักษณะเฉพาะดังนี้

ประวัติ มุฮัมมัด อาลี ปาชา

      
มุฮัมมัด อาลี ปาชา


            เพื่อต่อต้านทหารของนาโปเลียนที่มีอำนาจอยู่ในอิยิปต์  และรุกรานซีเรียและอาจจะรุกรานกรุงอิสตันบูลได้อีก สุลต่านซาเล็มที่ 3 (1787-1807) ได้รวบรวมเหล่าทหารหนึ่งในบรรดาทหารเหล่านั้นก็คือ มุฮัมมัด อาลี ปาชา
เชื้อสายตุรกี เกิดที่เมือง เคาะวะลา กรีก ปี 1765 และได้เสียชีวิตปี 1849 บิดาของเขามีอาชีพขายบุหรี่ ทำงานตั้งแต่ยังเด็ก เขาไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา ดังนั้นเขาไม่สามารถที่จะอ่านออกเขียนได้
            เมื่อโตเป็นหนุ่มเขาทำงานเป็นคนเก็บภาษี  ด้วยความขยันและความชำนาญในงานที่ทำ  ทำให้เป็นที่ทรงรักของกษัตริย์อุสมาน  และสุดท้ายก็ได้แต่งงานกับลูกกษัตริย์ตั้งแต่นั้นมาเกียรติและศักดิ์ศรีของท่านก็ได้เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ  หลังจากนั้นท่านรับราชการทหารและเวทีนี้  ท่านได้แสดงความสามารถและความรับผิดชอบ  ตำแหน่งของท่านเลื่อนขึ้นตลอดเวลาและเป็นแม่ทัพในที่สุด  เมื่อครั้งในอิยิปต์ท่านเป็นตัวแทนแม่ทัพที่เป็นผู้นำที่ถูกสั่งจากเขตปกครองเขา
            ในช่วงสงครามที่เกิดขึ้นกับฝรั่งเศส  เขาได้แสดงความกล้าหารเป็นพิเศษ  และทันใดนั้นถูกเลื่อนตำแหน่งเป็นนายพล  เมื่อทหารฝรั่งเศสออกจากอิยิปต์เมื่อปี ค.ศ. 1801 มุฮัมมัด อาลี ปาชา ได้ใช้กลยุทธที่สำคัญในช่องว่างทางอำนาจทางการเมืองที่เกิดขึ้นจากการอพยพของทหารฝรั่งเศส  พวกมัมลุกก่อนหน้านั้นถูกต่อต้านจากนาโปเลียนก็ได้กลับมาที่ไคโร  เพื่อกุมอำนาจเดิมของพวกเขาจากกรุงอิสตันบูล  ก็เกิด Pasya และเหล่าทหารของอุสมานีย์  สองกลุ่มนี้ได้พยายามอย่างที่สุดเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจของพวกเขา มุฮัมมัด อาลี ปาชา  ได้ใช้การเปรียบเทียบจากคนทั้งสอง  ความรู้สึกโกรธแค้นของพวกอิยิปต์ที่มีต่อมัมลูกสามารถที่จะตอบสนอง  กองทัพที่ถูกนำโดยท่านนั้นมิใช่คนตุรกีแต่เป็นคนจากอัลเบเนีย ด้วยสองประการนี้ได้ทำให้ฐานะของท่านเข้มแข็งมากขึ้นเพท่อเข้าแย่งอำนาจ
            มุฮัมมัด อาลี ปาชา เริ่มต้นด้วยการบดขยี้ของพวกที่ออ่นแอก่อน แม่ทัพที่ถูกสั่งโดยสุลต่านเข้าล้อมไว้ มุฮัมมัด อาลี ปาชา มอบตัวและถูกบังคับให้กลับอิสตันบูล มูฮัมมัด อาลี ปาชา ได้แต่งตั้งตนเองเป็น Paya  คนใหม่และคนสุดท้าย จำเป็นสำหรับสุลต่านอุสมานีย์ ต้องยอมรับในปี 1805
เมื่อได้กุมอำนาจอย่างเด็ดขาดที่อียิปต์ ท่านก็เริ่มทำลายกลุ่มต่างๆ ที่อาจจะต่อต้านอำนาจของท่าน โดยเฉพาะพวกมัมลูก เมื่อความลับแตกขึ้นมาว่าพวกมัมลูกพยายามที่จะสังหาร มุอัมมัด อาลี ปาชา แต่ท่านก็รู้ตัวเสียก่อน ดังนั้นผู้นำของมัมลูกก็ถูกจับและถูกห่าและท่านก็ได้ยกเว้นคนอื่นๆและครั้งหนึ่งได้ตัดสินพวกมัมลูกให้มีการฉลองที่ภูเขา Makattan เมื่อทุกคนได้เข้าเรียบร้อยแล้วประตูก็ถูกปิดและก่อนงานฉลองจะเสร็จสิ้น ท่านก็ได้สัญญาเพื่อฆ่าทุกคนที่อยู่ในงานฉลองนั้นตามเรื่องจาก 470 กลุ่มของพวกมัมลูกมีเพียงคนเดียวที่สามารถหนีและเอาตัวรอดได้ โดยการปีนกำแพงแล้วโดดลงมา ม้าของเขาได้ตายไปแต่เขาก็สามารถหนีด้วยความปลอดภัย พวกมัมลุกที่อยู่ชานเมืองไคโร ก็ถูกต้อนส่วนหนึ่งก็ถูกฆ่าและส่วนน้อยที่สามารถหนีเอาชีวิตไปยัง ซูดาน ปลายปี 1811 อำนาจของมัมลูกในอียิปต์ก็หมดลง
            ขณะนั้นมุฮัมมัด อาลี ปาชา มีอำนาจเต็ม และได้เป็นสุลต่านอย่างเป็นทางการที่อียิปต์และประชาชนชาวอียิปต์เองก็ไม่มีองค์กรที่มีกำลังพอที่จะต่อต้านอำนาจของ มุอัมมัด อาลี ปาชา ดังนั้นท่านปกครองแบบเผด็จการ
            และทั้งสองอย่างนี้เทียบเหมือนกษัตริย์อื่นของอิสลาม ที่ได้ให้ความสำคัญกับการทหารเพราะเขามีความเชื่อมั่นว่าการที่จะรักษาโค่นอำนาจและการขยายอณาเขตนั้นจะต้องใช้ความเข้มแข้งของทหารแต่กษัตริย์แตกต่างจากกษัตริย์อื่นที่เชื่อว่าเบื้องหลังความเข้มแข็งของทหารนั้นจำเป็นต้องมีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจด้วยที่จะต้องใช้จ่ายทางด้านทหารและพัฒนาทางด้านต่างๆของทหาร ดังนั้นจึงมี 2 ประการที่จำเป็นสำหรับ มูฮัมมัด อาลี ปาชา คือ ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและความเจริญทางด้านการทหารและทั้งสองอย่างนี้จำเป็นต้องใช้วิทยาการสมัยใหม่ที่แพร่หลายมาจากยุโรป
            ทรัพย์สินของพวกมัมลูกท่านก็ได้ทำลายจนหมดสิ้นและทรัพย์สินของเศรษฐีชาวอียิปต์ท่านก็ได้ครอบครอง จนกระทั่งความมั่งคั่งของอียิปต์ได้ตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือของเขา อียิปต์เป็นประเทศเกษตรกรรมและเพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรดีขึ้นในการนี้ท่านได้พัฒนาระบบชลประทานแบบใหม่มาแทนแบบเก่า นำการปลูกนุ่นจากอินเดียและซูดาน(1821-1822)และนำผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรจากยุโรปมาเพื่อสอนเกษตรเพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ท่านได้ปรับปรุงทางด้านการคมนาคมขณะเดียวกันนั้นท่านก็ได้ทดลองให้อุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่อียิปต์ขึ้น แต่ไม่สำเร็จเพราะขาดผู้เชี่ยวชาญและขาดตลาดที่รองรับ
            ถึงแม้ท่านเป็นตนที่ไม่มีการศึกษาแต่ท่านรู้ถึงความสำคัญของการอบรมและวิชาความรู้เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศหนึ่งประเทศใด ในการนั้นเขาได้รับอิทธิพลจากเรื่องราวของผู้ยิ่งใหญ่ที่อยู่รอบๆท่าน เกี่ยวกับพื้นฐานและสิ่งใหม่ๆที่ดำเนินการโดยนโปเลียนสำหรับการสนับสนุนทางด้านวิชาการนั้นท่านตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเมืองแรกที่อียิปต์เขาเปิดโรงเรียนทหาร ปี 1815 โรงเรียนเทคนิค 1816 และโรงเรียนการแพทย์ 1827 อาจารย์ทั้งหลายเอามาจากตะวันตกและความไม่รู้เรื่องภาษาอาหรับจึงต้องใช้คนแปลที่มาจากอาหรับและตุรกี นอกจากเอาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายจากยุโรปแล้ว ท่านได้ส่งนักศึกษา 311 คน ไปยังอิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษ และออสเตรีย ที่ปารีสได้ก่อตั้งบ้านอียิปต์เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง คือ วิชาการทหารบกและทหารเรือ สถาปนิกแพทย์ เภสัช วิชาดังกล่าวมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับวิชาทหาร
            นอกจากทหารแล้วท่านยังให้ความสำคัญกับความรู้เกี่ยวกับการบริหารประเทศแต่ระบบการเมืองจากยุโรปมิได้ดึงดูดความสนใจของท่านเลย ท่านปกครองด้วยระบบเผด็จการเหมือนเดิม ท่านมีที่ปรึกษาทางการเมือง และการตัดสินขั้นสุดท้ายตกอยู่ที่มือของท่านอยู่ดี นักศึกษาที่ท่านส่งไปยุโรปไม่สามารถที่จะก้าวไปข้างหน้าได้ ซ้ำยังถูกห้ามไม่ให้ศึกษาวิชาทางการเมือง นักศึกษาที่ชี้ถึงว่าที่ยุโรปเขาเรียนเกี่ยวกับการเมืองและพูดว่าที่นี่ฉันเป็นผู้ปกครองไม่กลับไปและแปลหนังสือทหารและตอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแปลหนังสือของ Machiavelli เกี่ยวกับสาเหตุของการพัฒนาการและความล่มสลายของประเทศใดประเทศหนึ่งและวิธีป้องกันการล่มสลายของประเทศ เขาได้กล่าวว่า ได้ 40 แผ่นแล้วที่คุณได้แปลจากหนังสือเล่มนี้แต่ฉันไม่มีอะไรใหม่ ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งปรกติ Machivavelli หนังสือคุณนั้นจำเป็นแปลอีกต่อไป
            ในการนี้ได้บ่งชี้ถึงความต้องการที่แท้จริงของ มูฮัมมัด อาลี ปาชา ความรู้เกี่ยวกับการปกครอง การทหาร และเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนให้ท่านรักษาซึ่งอำนาจนั้นท่านไม่ต้องการจากคนที่ท่านส่งไปยุโรป ดังนั้นนักศึกษาทั้งหลายอยู่ภายใต้ผู้ดูแลอย่างรัดกุม พวกเขาไม่มีเสรีภาพในการเคลื่อนไหวที่ยุโรปเลยแต่ด้วยการรู้ภาษายุโรป โดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศส และด้วยการอ่านหนังสือและงานเขียนของชาวตะวันตก เช่น วอลแตร์ รุสโว มองเตสกีเออร์ และอื่นๆ จึงเกิดความคิดใหม่เกี่ยวกับประชาธิปไตย สภาผู้แทนราษฎรเข้าระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญ เสรีทางความคิด การขยายตัวทางความคิดของชาวตะวันตก เปรียบเทียบกับความคงที่ของตะวันออก รักแผ่นดินเกิด ความยุติธรรมทางสังคมและอื่นๆขณะที่วิชาการ เทคนิค ปรัชญาการอบรม โลก(แนวคิดการปฏิวัติของ ดาวิน)ทางด้านสังคมวิทยาและอื่นๆเป็นต้น
            ลำดับแรกทำความรู้จักกับแนวความคิดและความรู้ใหม่ๆนี้สำหรับผู้ที่เคยไปยังยุโรปเท่านั้น และผู้ที่รู้ภาษาตะวันตกหลังจากนั้นความเข้าใจนี้เริ่มเข้าสู่คนที่ไม่รู้ภาษาตะวันตก เริ่มแรกด้วยการเข้าไปคลุกคลีกับนักศึกษาที่กลับมาจากยุโรปและหลังจากที่มีแปลตำราตะวันตกเป็นภาษาอาหรับ
            ผู้แปลตำราต่างประเทศมาเป็นภาษาอาหรับอันดับแรกให้มีความเหมาะสมกับโรงเรียนที่ก่อตั้ง โดยมูฮัมมัด อาลี ปาชา นอกจากโรงเรียนทหาร เทคนิคการแพทย์ในปี 1834 โรงเรียนเกษตรกรรม ในปี 1836 โรงเรียนขุดดีบุก อาจจะพูดได้ว่าโรงเรียนแบบนี้เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นโลกอิสลามที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับโรงเรียนระบบดั้งเดิมที่มีอยู่ในขณะนั้น โรงเรียนระบบดั้งเดิมหรือระบบเก่านั้นสอนแต่เพียงความรู้ทางศาสนา 3 ปัญหาหลักที่เผชิญในขณะนั้นก็คือปัญหาครู นักศึกษา และตำรา
            เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูท่านได้ส่งนักศึกษาไปยังยุโรปนักศึกษาเหล่านั้นถูกล่อด้วยค่าจ้างที่สูง พวกเขาได้โปรแกรมการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ซึ่งแตกต่างกับโปรแกรมการเรียนของระบบเก่าหรือ  Madrasah ตำราที่ใช้ในการเรียนรู้ที่ยุโรปถูกแปลเป็นภาษาอาหรับโดยผู้แปลที่มีความเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศและผู้ที่ทำงานที่สภาของ มูฮัมมัด อาลี ปาชา โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างๆและนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ที่ยุโรปเป็นที่แน่นอนว่าวิธีที่ใช้ในการแปลนี้ไม่ได้ผลเท่าที่ควรเพราะผู้แปลไม่ใช่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในความที่มีอยู่ในตำราที่ถูกแปลนั้นจึงไม่มีความสมบูรณ์และเพราะบางครั้งผู้แปลเป็นผู้แปลที่ทำงานเสริมผู้แปลทำงานด้วยความล่าช้า ในเรื่องนี้ถูกกล่าวขานว่า กลุ่มนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษา และกลับจากยุโรป ทุกคนถูกกักขังให้อยู่ภายในกำแพงใกล้ราชวังของ มุฮัมมัด อาลี ปาชา และใหตำราต่างๆเพื่อแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอาหรับ
            ผู้แปลตำราเริ่มแปลอย่างาบรื่นและรวดเร็วเมื่อได้ก่อตั้งโรงเรียนแปลตำราปี 1863ระยะเวลาไม่นานต่อมาโรงเรียนได้มอบให้กับผู้นำ Rifaah Al-Tahtawi ซึ่งเป็นผู้อุลามะในมหาลัย Azhar เคยเคยศึกษาที่ Paris และต่อมาได้อิทธิพลทางความคิดตะวันตกที่อียิปต์ ที่โรงเรียนที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆความพยายามของผู้แปลก็เริ่มเห็นผลดีในระยะสั้น ประเภทของผู้แปลที่โรงเรียนนี้ได้แบ่งเป็น4  ประเภทความรู้คณิตศาสตร์ ความรู้ประเภทการแพทย์และสรีระวิทยา ความรู้ประเภทศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดเกี่ยวกับตุรกี
            ประเภทสุดท้ายที่มีหน้าที่แปลตำราเข็มทิศทหารที่ใช้โดยแม่ทัพของตุรกีที่ปรากฏในกองทัพของ  มูฮัมมัด อาลี ปาชา ที่สำคัญในบรรดาประเภทความรู้ดังกล่าวสำหรับแผ่ขยายความคิดตะวันตก  คือ ความรู้ประเภทศาสตร์ จากตำราต่างๆ ที่ถูกแปลนั้นก็มีตำราเกี่ยวกับปรัชญา  ชีวประวัติบุคคลสำคัญของประเทศยุโยป   logika ธรณีวิยา การท่องเทียว การเมือง มนุษย์วิทยา  และอื่นๆ ในปี 1841 ตำราประวัติศาสตร์กษัตริย์ของฝรั่งเศสก็แปลที่มีเนื้อหาหาครอบคลุมการปฏิวัติฝรั่งเศสและอีกเล่มที่ลักษณะคล้ายกันก็ถูกแปลเช่นกันในปี  1847  ตำราทั้งสองนี้มีความสำคัญทางแนวคิดในการที่จะล้มล้างสถาบันกษัตริย์ที่ปกครองแบบเผด็จการและทดแทนด้วยการปกครองแบบประชาธิปไตย  ความพยายามที่ดำเนินโดยผู้นำแนวหน้าของอิสลามเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจของกษัตริย์อิสลาม  ความเคลื่อนไหวของพวกเขาถูกเรียกว่า  ความเคลื่อนไหวของรัฐธรรมนูญ
            จากผู้แปลตำรายุโรปนี้  คนอียิปต์ก็เริ่มเป็นที่รู้จักของคนตะวันตก ประเภทต่างๆที่ถูกค้นพบโดยคนตะวันตกที่ตะวันออกไกลและอเมริกา โลกทัศน์ของตำราตะวันตกนั้นมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับโลกทัศน์ที่เขาได้สัมผัสจากตำราที่เขียนโดยคนอิสลามในสมัยคลาสสิกและพวกเขาก็เริ่มรู้จักปรัชญากรีก เสรีภาพในความคิด ซึ่งเป็นรากบานของปรัชญากรีก ขนบธรรมเนียมประเพณีของตะวันตก ที่มีความแตกต่างกับกับขนบธรรมเนียมของอิสลามก่อนหน้านั้นคนมุสลิมกับคนตะวันตกก็คือ คนฝรั่งเศสเท่านั้นแต่ถึงตอนนี้พวกเขาก็เริ่มรู้ว่า คนตะวันตกก็มีหลายเชื้อชาติ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ อิตาลีและ อื่นๆเปรียบเทียบกับความเคลื่อนไหวของผู้แปลตำราใน คริสต์ศตวรรษที่ 9 การสังเกตความเคลื่อนไหวของผู้แปลตำราในศ.ที่ 19 นั้นมีข้อจำกัดคือ  ในเรื่องเทคนิค และเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น กฎข้อบังคับ ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องปรัชญา ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ความเคลื่อนไหวของผู้แปลตำรานั้นกว้างขวางมาก ครอบคลุมวิทยาการความรู้ของกรีก ตรรกวิทยาและวิชา คณิต วิชาสัตว์ศาสตร์ วิชาดาราศาสตร์และวิชาปรัชญา
            ข้อแตกต่างที่แตกต่างอย่างมากระหว่างทั้งสองความเคลื่อนไหวนี้ก็คือ ความเคลื่อนไหวในศ.ที่ 9 เกิดขึ้นในสมัยที่ประชาชาติอิสลามอยู่ในสถานการณ์ที่ร่ำรวยและกำลังเจริญ แต่ตะวันตกในสมัยนั้นยังอยู่ในยุคมืด ในสถานการณ์ดังกล่าววิชาความรู้ที่ได้จากตำรากรีกนั้นเริ่มเข้าสู่ประชาชาติอิสลามอย่างรวดเร็ว
            ความเคลื่อนไหวของผู้แปลตำรา ใน คริสต์ศตวรรษที่ 19 เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ตรงกันข้ามกับโลกของอิสลามอยู่ในภาวะที่ที่ถดถอยล้าสมัย ในขณะที่ตะวันตกอยู่ในภาวะที่เจริญผู้แปลตำราใน คริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้นไม่สามารถนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่โลกอิสลามดังเช่นในศตวรรษที่ 9 ในสมัยก่อนหน้านั้น  โลกอิสลามนี้แหละที่มีความเจริญสูงสุดอาจจะพูดได้ว่าไม่มีอาณาจักรที่จะเทียบเคียงได้  แต่พอมาถึงใน คริสต์ศตวรรษที่ 19  โลกอิสลามมีประเทศหรืออาณาจักรที่มาเทียบเคียงกันหลายประเทศนั้นก็คือโลกตะวันตกที่ความเจริญของพวกเขานั้นเริ่มขยายขึ้นเรื่อยๆ  ในสมัยปัจจุบันนั้นโลกอิสลามมีความเจริญขึ้นนิดหน่อย  แต่โลกตะวันตกก็เจริญขึ้นอีกเป็นหลายเท่าตัวจนกระทั่งความแตกต่างระหว่างทั้งสองอารยะธรรมนี้ยังคงเหมือนเดิมเมื่อเปรียบเทียบกับ 100 ปีที่ผ่านมา
            มูฮัมมัด อาลี ปาชา เปรียบเสมือนคนแรกที่จัดตั้งที่โปรยทาง  เกิดสมัยใหม่ที่อิยิปต์  ผมไม่เห็นด้วยกับความคิดของ  Brockelman  ที่ว่ามูฮัมมัด อาลี ปาชา จะปรากฏตัวเป็นครูเป็นผู้ครอบครองที่ยิ่งใหญ่ของอิสลามในยุคหลัง  ตั้งแต่แรกโดยคิดว่าความคิดนั้นโดยกษัตริย์ผู้ครอบครองของอิยิปต์  ตามคำพูดนั้นเป็นไปได้ที่อิยิปต์จะตกอยู่ในการควบคุมจะไม่แบ่งแยกเหมือนกษัตริย์สมัยก่อน  ความคิดทั้งหมดของการปกครองเป็นไปได้ที่จะลบล้างทั้งหมด  ตำแหน่งงานทั้งหมดเป็นไปได้ที่ต้องหยุดพักและมีความเป็นไปได้ที่จะมีคนที่เชื่อมั่นว่าคนที่กุมสมบัติต่างๆนั้นจะใจกว้างต่อสังคม  ราษฎรจะได้รู้ได้เห็นการปกครองที่สามารถจะขอความช่วยเหลือได้  หลังจากนั้น  มูฮัมมัด อาลี ปาชา  เข้ารับการสาบานตนเพื่อที่จะเข้ารับการปกครองเมืองใหม่ตามที่ตนเองได้ให้ตามคำพูดเขาได้รับการยอมรับจากประชาชนเพื่อไปปกครองเมืองเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย
            เพื่อที่จะทำให้มีความใฝ่ฝันอันนั้นประการแรกของเขาคือ  ต้องผูกความเป็นอิสระของประชาชนเขาผลักดันที่ว่าความสามารถของมนุษย์สามารถที่จะทำอะไรก็ได้ตามที่เขาคิดเขาครอบครองการอบรมสั่งสอนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและกลุ่มของพวกนั้น  และต้องคอยดูแลความปลอดภัยและต้องคอยตักเตือนคนที่จะทำผิดหุกม
            มูฮัมมัด อาลี ปาชา  ได้แจ้งไห้กระจ่างว่าสิ่งที่จำเป็นต้องทำก็คือต้องทำให้ตนมีความเข้มแข็งเพื่อที่จะเข้าไปให้ถึงจุดประสงค์และไม่ใช่ว่าการควบคุมดูแลพวกเขานั้น  เขานั้นแหละผู้ก่อตั้งโรงเรียน  ก่อตั้งทหารที่จะรบในระดับประเทศและได้พยายามวางระเบียบ  การปกครอง  และพร้อมจากนั้นก็ได้จัดตั้งคณะที่จะดูแลเพื่อที่จะย่อความคิดของคนภายในประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเพื่อจะให้แนวทางแก่ประชาชนในอิยิปต์เพื่อเผยแผ่ความคิดสมัยใหม่ในอนาคต
            เขาไม่รู้ถึงวิถีชีวิตทางการเมือง  สิ่งเดียวที่เขาทราบนั้นคือการร่วมมือกันเพื่อมนุษยธรรม  ที่เป็นการรวมตัวกันที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าสิ่งนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างชาติและคุณภาพของประชากรในรัฐนั้นๆ  ในเรื่องนี้ มูฮัมมัด อาลี  แพคตริก  คาเตอรีน และกามัลอตาเตอร์  ต่างก็มีความเห็นที่ตรงกัน
            มูฮัมมัด อาลี ปาชา  มั่นใจว่ามีทางเดียวที่จะฟื้นฟูประชาชนให้มีคุณภาพได้นั้นคือ  การตามความทันสมัยของตะวันตก  ซึ่งเป็นค่านิยมของโลกปัจจุบัน  บรรดาพวกมุสลิมไม่เคยหวังที่จะรับความคิดของสังคมตะวันตก  ปรัชญาของมูฮัมมัด อาลี ปาชาได้รับความยกย่องดังต่อไปนี้ สร้างพลังเหล็ก  ความรู้  และความร่ำรวย  เพื่อสร้างความเจริญที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้  สังคมควรได้รับแนวทางที่ได้กระทำโดยชาติอื่น (กล่าวคือ  ความพร้อมเพื่อความร่วมมือกับชาติอื่นๆ)  สอง  สังคมควรพร้อมให้ความร่วมมือด้วย  สาม  สร้างนักปรัชญาในสาขาต่างๆ  ในการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ  ที่สามารถชี้ถึงคุณภาพหรือประโยชน์ต่างๆ  สิ่งประดิษฐ์ทุกอย่างนั้นจะอยู่กับสังคมตลอดไป  เพื่อสร้างความเจริญและความทันสมัย
            อัลตัฮตาวีย์  กล่าวว่า  มูฮัมมัด อาลี ปาชา  ไม่มีอะไรที่เหนือกว่านอกจากการร่วมมือกันกับคนอื่นหรือประเทศอียิปต์และสร้างความร่วมมือกับชาติอื่นๆ  เพื่อเผยแพร่ความดีงามและการแข่งขันในความทันสมัย
            ในช่วงต้นของการปกครองนั้นเขาได้ใช้การปกครองแบบแข็ง (เผด็จการ)  เพื่อที่จะให้ประชาชนอยู่ในกฎและจะให้ประชาชนรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลานี้  ปีนี้เองเป็นปีที่มีการเชิญชวน  (ดะอฺวะฮฺ) ความเข้มแข็งและการก่อตั้งที่ตัวของเขาเองไม่รู้ความสุขสบาย  เขากล่าวว่า  ผมไม่มีความสุขในเวลาที่ผมมีชีวิตอยู่นั้นประวัติของผมเริ่มต้นตั้งแต่ผมได้รับการปลดปล่อยจากการที่ผมได้ผูกมัดตัวเองและเริ่มฟื้นฟูอุมัตของผมจากที่หลับเป็นเวลาที่ยาวนาน การปกครองที่แข็งในช่วงแรกเปรียบเสมือนการปกครองที่ผิดเพราะความอิจฉาของ Al-jabarti เขาได้เขียนว่ามูฮัมมัด อาลี คือถ้ายกตัวอย่างอัลลอฮฺ บรรดาให้ความเสมอภาคแก่ฉัน ในวินาทีที่ฉันได้รับการปกครองฉันอยากจะทำทั้งหมดให้ประชาชนภูมิใจในตัวของฉัน (นูรุดดีน สารีมิง, 2546:7-12)
           










ประวัติ อัล-ตะฮฺตาวีย์

อัล-ตะฮฺตาวีย์ (ค.ศ.1801-1873)

            อัล-ตะฮฺตาวีย์ มีประวัติอันโดดเด่น มีชื่อเสียง เป็นนักเขียน นักแปลและนักข่าว เขามีลักษณะเฉพาะตัวโดยมีความคิดเป็นของตัวเอง ความคิดของเขาโดดเด่นเกินตัว เขาเป็นหนึ่งในบรรดาบุคคลที่ชี้นำสังคมอียิปต์ เขาประสบความสำเร็จในการก้าวข้ามวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนั้น
            เขาฝากงานแปลและขุมทรัพย์ทางปัญญาอย่างมากมายให้กับบรรดานักคิดหลายท่าน เช่น อาลี มุบาร็อก  มุฮัมหมัด อับดุฮฺ   อะหมัด อะรอบีย์   อับดุลลอฮฺ อัล-นาดีมและซาอัด ซากูลู้ล และท่านยังกำหนดแนวคิดของนักคิดรุ่นหลังจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ชีวิตและการศึกษา
            อัล-ตะฮฺตาวีย์ เกิดวันที่ 15 ตุลาคม .. 1801 ในเมืองตะฮฺตา ทางตอนบนของอียิปต์ บรรพบุรุษของเขาเป็นบุคคลที่มีอำนาจและครอบครองตำแหน่งหลายตำแหน่งในอียิปต์ ท่านถูกเลี้ยงดูในสภาพความคิดและการเมืองแบบอิสลาม ในวัยเด็กเขารู้สึกว่าพอใจที่คนชั้นสูงอย่างพวกเขาได้รับการจัดสรรเงินพิเศษจากรัฐ แต่เมื่อมูฮัมหมัดอาลี ฟาชา เข้ามามีอำนาจ เขาก็ได้ยกเลิกระบบนี้ เขาปฏิรูประบบเศรษฐกิจเสียใหม่ ดังนั้นจึงทำให้ครอบครัวของอัล-ตะฮฺตาวีย์ ตกอยู่ในสภาพคับแค้น จนในที่สุดต้องอพยพจากเมืองตะฮฺตาไปยังเมืองเจอร์กา(Gerga) กีนา (Qena) และฟาร์ชูต (Farshoot) ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุ 12 ปี เขาประสบความสำเร็จในการอ่าน เขียนและท่องจำอัลกุรอานอย่างมาก
            หลังจากที่พ่อของเขาเสียชีวิต เขาก็กลับไปเมืองตะฮฺตา(Tahta) และได้อาศัยอยู่กับลุงที่นั่น
            พรสวรรค์ของเขาได้เด่นชัด เมื่อเขาศึกษาในมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร ในปี ค.ศ. 1817 เขาได้เรียนกับเชคฮัซซานซึ่งเป็นอุลมาอฺคนสำคัญของอัล-อัซฮัร อย่างลับๆ เขาให้ความสำคัญอย่างมากกับบทเรียนที่เชคได้สอน เมื่อฝรั่งเศสได้ครอบครองอียิปต์ เชคฮัซซานได้หนีไปยังตอนบนของอียิปต์ เขามีความคิดว่าประเทศมุสลิมนั้นควรได้รับประโยชน์จากความรู้ทั่วไป ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และทฤษฎีการศึกษาของประเทศตะวันตก เขาเป็นนักกวีและเขียนหนังสือเกี่ยวกับยาและทางกายภาพ
            ในปี ค.ศ. 1823 อัล-ตะฮฺตาวีย์ได้จบการศึกษา จากนั้นเขาได้ทำงานเป็นครูสอนในมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร เป็นเวลา 2 ปี เวลาส่วนใหญ่ของเขาหมดไปกับการอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับพวกตะวันตกซึ่งไม่สามารถหาได้และไม่อนุญาตให้อ่านในสมัยนั้น
            เขาได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นอีหม่ามของกองพันทหารอียิปต์ เป็นผู้นำทางด้านจิตวิทยาของกองทัพใหม่ซึ่งก่อตั้งโดยมูฮัมหมัดอาลี ฟาชา การเชื่อมต่อระหว่างเขากับชีวิตทางการทหารของเขานั้นมีผลกระทบต่อเขาอย่างมาก มันเปิดมุมมองใหม่ให้กับแนวคิดและชีวิตของเขาทำให้เกิดข้อได้เปรียบแก่ระบบใหม่ของกองทัพ
            กองทัพยังมีบทบาทสำคัญยิ่งแก่เขา มันเพิ่มความรักของเขาที่มีต่อแผ่นดินเกิด เพิ่มระเบียบวินัยในงานและภาระหน้าที่ที่เขาได้รับมอบหมาย งานเขียน งานแปล และงานด้านกิจการของสถาบันที่เขารับผิดชอบ
            ในปี ค.ศ. 1825 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอีหม่ามของบรรดาคณะทูตด้านการศึกษาที่
มูฮัมหมัด ฟาชา ส่งไปยังปารีส เชคฮัซซานได้แนะนำในการทำหน้าที่ของเขา ในขณะที่เขาอยู่ที่เมือง มาร์เซลส์ (Marseille) ของกรุงปารีส เขาคิดว่าเขาควรจะทำอะไรได้มากกว่าการเป็นอีหม่าม เขาจึงเริ่มศึกษาภาษาฝรั่งเศษ ศึกษาการแปล โดยที่เขาได้แปลวิชาวิทยาศาสตร์จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอาหรับ เพียงเวลาแค่ 1 เดือนเขาก็กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎในการสะกดคำของภาษาฝรั่งเศส เขาเชื่อว่าต้องเปิดช่องทางการเชื่อมต่อระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมตะวันออก วันที่ 19 ตุลาคม . 1830 เขาได้มอบงานแปล 12 ชิ้นให้กับคณะลูกขุนของฝรั่งเศส และยังได้มอบต้นฉบับของหนังสือที่เขาเขียนระหว่างที่เขาอาศัยอยู่กรุงปารีสหนังสือเล่มนั้นมีชื่อว่าتخليص الإبريز في تخليص باريز
            ในปี ค.ศ. 1831 เขาได้รับปริญญาอีกครั้ง หลังจากนั้นเขาก็เดินทางออกจากปารีส เขาได้รับการผสมผสานชีวิตแบบฝรั่งเศสในทุกๆ ด้าน แม้กระทั่งทางด้านการเมือง การทหาร วิทยาศาสตร์และสังคม เขามีความคุ้นเคยกับวิถีชีวิตของชาวยุโรปและสนใจในวิถีชีวิตของคนที่นั่น

แนวคิดของ อัล-ตะฮฺตาวีย์
อัล-ตะฮฺตาวีย์ ได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของนักปรัชญาในสมัยของการปฏิวัติฝรั่งเศส นักปรัชญาเหล่านี้คือ
1.เวิลด์แตร์ Voltair
2.มองเตสกิเออ Montesqvieu
3.จางจากรุซโซ Jean Jacques Rousseau
4.คอนดิแอค Condiac
 อัล-ตะฮฺตาวีย์จะเน้นการศึกษาโดยถือว่าการศึกษาเป็นวิธีทางเดี่ยวที่จะนำไปสู่การฟื้นฟูสังคมและนำไปสู่ความสมัยใหม่ ซึ่งตลอดชีวิตของ อัล-ตะฮฺตาวีย์ จะทุ่มเทไปการสอนและการแปล




ปรัชญาทางการศึกษาของอัล-ตะฮฺตาวีย์  สรุปได้ดังนี้
1.  การศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาสังคม
การศึกษาเน้นย้ำความสำคัญทางจิตใจต่อการเรียนรู้ฝึกฝนทักษะ และแสวงหาประสบการณ์ ซึ่งทำให้มนุษย์สามารถผ่าข้ามอุปสรรคของชีวิต และไดรับประโยชน์ธรรมชาติ รวมทั้งสรรพสิ่งต่างๆ อัล-ตะตาวีย์ ยังเชื่อว่ามนุษย์สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นจริง
2.  การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเยาวชน
จุดประสงค์ อัล-ตะฮตาวีย์การศึกษาแก่เยาวชน โดยไม่เลือกชาย-หญิง เพื่อปกป้องเยาวชนมิให้เบี่ยงเบนจากสิ่งที่ถูกต้อง และศีลธรรมจรรยา นอกจากนี้การให้การศึกษาแก่เยาวชนหญิงซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างครอบครัวให้เป็นสุข และอบรมบ่มเพาะให้เยาวชนรุ่นใหม่ ให้มีความประพฤติที่ดีงาม การศึกษาจะทำให้ผู้หญิงมีโอกาสในการทำงาน ภายใต้ศักยภาพของตนเอง นอกเหนือจากนั้นจะทำให้พวกเขาเลิกพฤติกรรมการนินทาว่าร้าย
อัล-ตะฮฺตาวีย์แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ
1.      ระดับประถมศึกษา
2.      ระดับมัธยม
3.      ระดับอุดมศึกษา
 การศึกษาการปกครอง (รัฐศาสตร์ ) ตามแนวความคิดของ อัล-ตะฮฺตาวีย์การให้ศึกษาด้านการปกครองในต่างประเทศให้ทันสมัย เป็นองค์ประกอบสำคัญของการศึกษาเป็นสาเหตุที่ทำให้ อัล-ตะฮฺตาวีย์ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการรณรงค์การปลูกฝัง จิตสำนึกให้มีส่วนร่วม ทางการเมืองแก่ประชาชน ทั้งนี้ โดยการรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจถึงสิทธิ และหน้าที่ของตนเอง รวมทั้งสิ่งที่รัฐต้องให้ประชาชนซึ่งการให้นั้นก็คือ การศึกษาด้านการเมืองการปกครองโดยไม่ได้จำกัด เฉพาะอยู่ในชั้นเรียน แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชน
  สำหรับ อัล-ตะฮฺตาวีย์ การให้การศึกษาด้านการเมืองการปกครองมีจุดประสงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกความเป็นพลเมือง ให้แก่ประชาชน และทำให้พวกเขาถึงสิ่งที่ประเทศชาติต้องการให้พวกเขา แสดงออกทางสังคม เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม
   อัล-ตะฮฺตาวีย์ เน้นย้ำถึงการจำกัดความไม่รู้หนังสือความล้าหลังและการกดขี่ข่มเหงรังแก อัล-ตะฮฺตาวีย์ได้กระตุ้นให้สังคมตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง  เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองในประเทศ
    แนวความคิดชาตินิยมของ อัล-ตะฮฺตาวีย์ เกิดขึ้นเพราะอยู่ร่วมสมัยกับการปฏิวัติฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1830 อัล-ตะฮฺตาวีย์พบเห็นประชาชนฝรั่งเศสอุทิศตนเพื่อแผ่นดินเกิด ซึ่งอัล-ตะฮฺวีย์เป็นบุคคลแรกที่มีงานเขียนเกี่ยวกับชาติและการรักชาติทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
    หนังสือแนวคิดชาตินิยม"อียิปต์เบื้องต้น" ถือเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการรักชาติเล่มแรกในอียิปต์ อัลตะฮฺตาวีย์เห็นถึงความจำเป็นถึงการอบรมสั่งสอน นักเรียน นักศึกษาให้เข้าใจความรักชาติในเยาว์วัย การให้การอบรมปลูกฝังความรักชาติในเยาชนจะทำให้พวกเขารักมาตุภูมิ และสำนึกในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ประชาชนจะไม่สามรถใช้สิทธิของตนได้ ถ้าหากเขาไม่เข้าใจสิทธิของตน ซึ่งเหนืออื่นใดก็คือ สิทธิเสรีภาพของประชาชน ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพพลเมืองกับเสรีภาพของพลเมืองเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของชาติที่มีความเจริญแล้ว ซึ่งแนวคิดนี้เขาได้รับจากจังค์จาค รุสโซโดยตรง
การปลดแอกสตรีถือเป็นความจำเป็นของยุคใหม่ อัล-ตะฮฺตาวีย์เป็นผู้บุกเบิกอย่างแท้จริงของขบวนการปลดแอกสตรี และเป็นคนแรกที่ทุ่มเทในการให้การศึกษาแก่สตรีในสังคมอียิปต์ และภูมิภาคตะวันออกโดยรวม หากเปรียบเทียบแนวคิดการปลดแอกระหว่าง อัล-ตะฮฺตาวีย์กับรุสโซ เราจะพบแนวคิดของ อัล-ตะฮฺตาวีย์นั้นก้าวไปกว้างไกลกว่า รุสโซได้กระตุ้นให้ภรรยาปฏิบัติหน้าที่ต่อสามีและบริการกิจการของครอบครัวแต่ไม่ส่งเสริมให้ศึกษาวิชาการแขนงต่างๆเพราะถือว่าจิตใจของผู้หญิงไม่สามารถเข้าใจปรัชญา ตรรกวิทยา หรือประวัติศาสตร์ผู้หญิงสามารถเรียนรู้ได้เพียงแค่การเป็นแม่ศรีเรือนและงานบ้านได้เท่านั้นในขณะที่อัล-ตะฮฺตาวีย์ยังไดย้ำถึงความสำคัญของการศึกษาแก่สตรี เพราะด้วยวิถีทางนี้เท่านั้นที่สตรีจะสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเองครอบครัวและสังคมได้
อัล-ตะฮฺตาวีย์เน้นย้ำในประเด็นต่อไปนี้
1.การให้การศึกษาแก่สตรีมีผลอย่างมากในการสร้างชีวิตครอบครัวให้เป็นสุข (ผาสุก )
2.การให้การศึกษาแก่สตรีจะทำให้เธอนั้นสามารถให้การอบรมบ่มเพาะบุตรหลานให้มีความประพฤติดี
3.จากประสบการณ์ในประเทศยุโรปหลายประเทศได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการศึกษาแก่สตรีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆเลย

ผลงานของอัล-ตะฮฺตาวีย์  
            หลังจากที่เขากลับมายังประเทศของเขา เขาก็เริ่มแปลเกี่ยวกับชีววิทยาและประวัติศาสตร์ เพราะเขาเชื่อว่า การที่จะฟื้นฟูวิทยาศาสตร์ในอียิปต์ได้นั้นจะต้องมีพื้นฐานการแปลความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้ทางภาษาของประเทศที่พัฒนาแล้ว
            ในปี ค.ศ. 1831 เขาได้ทำงานในโรงเรียนแพทย์ ในตำแหน่งนักแปลหนังสือ เขาได้แปลหนังสือหลายเล่ม
            ในปี ค.ศ. 1833 เขาได้ย้ายที่ทำงานมายังโรงเรียนกองปืนใหญ่ในเมืองโตรา (Tora ) เขาได้รับมอบหมายให้แปลเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับด้านวิศวกรรมและกลยุทธ์ในการทำสงคราม ในปีนี้เขายังได้ตั้งโรงเรียนที่ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โดยเฉพาะ
            ในปี ค.ศ. 1835 เขาได้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาแอลสัน ( Alson ) โดยให้ความสำคัญกับการแปลเพื่อที่จะถ่ายทอดวัฒนธรรมจากตะวันตกสู่ชาวอียิปต์ในสมัยนั้น และจากความต้องการนักแปลมืออาชีพ เขาจึงเลือกนักศึกษา  50 คน และเริ่มสอนวิชาการแปลแก่พวกเขา ณ ที่โรงเรียนแห่งนี้
            ในปี ค.ศ. 1841 เขาได้ก่อตั้งสาขาการแปล  4 สาขา  คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ยา  ฟิสิกส์ สังคมศาสตร์และการเขียนภาษาตุรกี
ในปี ค.ศ. 1842 เขามีความเชื่อว่าจำเป็นที่จะต้องรอคอยตะวันตกและจะต้องรู้การเมืองทั้งหมดและรู้เงื่อนไขทางสังคมของรัฐเพื่อเป็นการเพิ่มความสำเร็จให้กับการศึกษาของประชาชนและทำให้บทบาททางสังคมของพวกเขาเป็นผลมากขึ้น เขากล่าวว่าดังกล่าวนี้จะไม่สามารถบรรลุผลได้หากปราศจากการเร่งรัดบังคม ดังนั้นเขาจึงให้ความสนใจในการดูแลชาวอียิปต์เป็นอย่างมาก
ในปี ค.ศ. 1845 เขายังได้แปลหนังสือ มัลติรอน จีโอกราฟฟี ( Multiron Geography  ) ซึ่งได้รับการชื่นชมจากมุฮัมหมัดอาลี ปาชา และสั่งให้ทำการพิมพ์พร้อมกับให้รางวัลตอบแทนแก่อัล ตะฮฺตาวีย์อีกด้วย
            ไม่เพียงแค่ท่านเป็นคนแรกในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยอาหรับที่ทันสมัย แต่ท่านยังเป็นคนแรกที่ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุของอียิปต์ โดยที่ท่านได้เสนอให้มูฮำหมัด อาลี   ปาชา วางรูปแบบในการรักษาวัตถุโบราณของอียิปต์ไว้ รูปแบบนี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ อัล-วะกออิอุล
มิศรียะฮฺ  ( الوقائع المصرية )   อีกด้วยโดยเรียกร้องและวางเงื่อนไขว่า ใครก็ตามที่พบโบราณวัตถุจะต้องส่งให้ อัล ตะฮฺตาวีย์ ดังนั้นลานของโรงเรียนอัล-แอลสัน ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางของพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุแห่งแรกในอียิปต์
            หลังจากมุฮำหมัด อาลี ฟาชา เสียชิวิตในปี ค.ศ. 1848 อับบาส หลานของท่านได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำอียิปต์แทน ท่านอับบาสไม่มีความสามารถเท่ากับอัล-ตะฮฺตาวีย์ จึงเกิดความรู้สึกไม่พอใจและได้ออกคำสั่งเนรเทศอัล-ตะฮฺตาวีย์ออกจากอียิปปต์ไปยังซูดาน ดังนั้นเขาจึงได้ก่อตั้งโรงเรียนที่นั่น
            ในปี ค.ศ. 1854 ท่านซัยดฺได้ขึ้นเป็นผู้นำอียิปต์แทนท่านอับบาสและได้แต่งตั้งอัล-ตะฮฺตาวีย์เป็นสมาชิกสภาแทนของรัฐและเป็นนักแปลในสภาแห่งนี้
            ในปี ค.ศ. 1855 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานในโรงเรียนทหาร ในเขต อัล-มัรเซาดฺ (Al-Marsoud
            ในปี ค.ศ. 1870 เขาสนับสนุนให้แจกจ่ายนิตยาสารเราเฏาะฮฺ อัล-มาดาริส (روضة المدارس)ท่ามกลางแนวคิดที่สำคัญในนิตยาสารเล่มนี้ เขาได้เรียกร้องให้บรรดาปัญญาชนและนักวิทยาศาสตร์ทำหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาให้บรรดาเจ้าหน้าที่และผู้นำ และเรียกร้องว่าประชาชนควรมีสิทธิในการพูดคุยในประเด็นการเมือง เขาเรียกร้องให้สังคมมีความเป็นเอกภาพ เขาตระหนักว่าชาติควรที่จะสนับสนุนบทบาทของสตรีและให้ความสนใจในการศึกษาของสตรี ดังนั้นในปี ค.ศ. 1872 เขาจึงเขียนหนังสือที่มีชื่อว่า อัล-มุรชิด อัลอะมีน ลิลบะนาตวัลบะนีน (المرشرالأمىنللبنات والبنين) ขึ้น เพื่อสนับสนุนความคิดของเขา

งานแปลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอัล-ตะฮฺตาวีย์
1.“Pure Gold” เป็นหนังสือวรรณกรรมที่รำลึกถึงการเดินทาง ประกอบด้วยสิ่งที่ตะฮฺตาวีย์ได้พบเจอในขณะอยู่ปารีสรวมไปถึงการเมืองและสังคม ตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้เขาได้สรรเสริญการปฏิวัติของฝรั่งเศส
2.“Condition or the Convention” คือรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส อัล-ตะฮฺตาวีย์กระตือรือร้นในการแปลมันเพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้นได้มีการเรียกร้องอิสรภาพและพื้นฐานของบทบาทของประชาธิปไตย
3.“The Bases of Metallurgy” หนังสือเล่มนี้เขาแปลและส่งมันมาจากปารีสในปี ค.ศ. 1828
4.“Multiron Geography” ถูกแปลในปี ค.ศ. 1834 กล่าวถึงการอ้างอิงทางภูมิศาสตร์
นอกจากนี้ยังมีงานแปลอีก 20 เล่ม ซึ่งเขาได้ทิ้งไว้เป็นมรดกเป็นงานแปลเกี่ยวกับ
วิทยาศาสตร์ของตะวันตก

การเสียชีวิตของอัล-ตะฮฺตาวีย์
เขาป่วยจนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1873 ขณะมีอายุได้ 72 ปี เชค อัล- อัซฺฮัร ได้จัดขบวนแห่งมัยยิตของเขาท่ามกลางฝูงชนที่รวมตัวกันหนาแน่นบนถนน เขาถูกฝังที่สุสาน บ้าบ อัล-วะซีร (Bab Al-Wazir ) ในเขต อัล-อะฮฺมาร ( Al-Ahmar ) ใกล้กับมัสยิดอัล-อัซฮัร ในประเทศอียิปต์