เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประวัติ มุฮัมมัด อับดุฮ์

ประวัติความเป็นมา
                มุฮัมมัด  อับดุฮ์  บิน  ฮะซัน  ค็อยรุลเลาะห์  เกิดที่อียิปต์ในปี ค.. 1849  และเสียชีวิตที่อียิปต์เช่นกันในปี ค.. 1905  รวมอายุได้  56  ปี 
                ชื่อที่แท้จริงของเขาคือ  มุฮัมมัด  บิน  อับดุฮ์  บิน  ฮะซัน  ค็อยรุลเลาะห์  มุฮัมมัด  อับดุฮ์ นั้น  เมื่อเขายังเยาว์วัยได้เรียนอัลกุรอานกับผู้ปกครองของเขา  และปรากฏว่าเขามีความเฉลียวฉลาดมาตั้งแต่เด็ก  มีรายงานว่า มุฮัมมัด  อับดุฮ์  ท่องจำอัลกุรอานทั้งเล่มได้เมื่ออายุราว 12  ปี  เขาได้ศึกษาต่อทางสายศาสนาที่มัสยิด อะห์มะดีที่ตันตา  และหลังจากนั้นก็ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย อัล-อัซฮัร  และขณะที่เขากำลังศึกษาอยู่ที่ อัล-อัซฮัร นั้น  ก็มีผู้นำอิสลามคนหนึ่งมาเยือนอียิปต์  โดยถูกขับมาจากรัฐบาลอัฟฆานิสตาน  ซึ่งก็คือ ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆานี  นั่นเอง
                มุฮัมมัด  อับดุฮ์  เกิดรักชอบต่อญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆานี  ผู้นี้มากจนกล่าวได้ว่าชอบไปที่บ้านพักของเขาเพื่อไปฟังการพูดต่าง ๆ เกี่ยวกับปรัชญา เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ  หรือ  แผนการปกครอง  และเกี่ยวกับการต่อต้านลัทธิจักรพรรดินิยมเป็นประจำ  ส่วนการศึกษาของเขาในอัล-อัซฮัร  ก็เริ่มถูกรบกวน  จนทำให้ทัศนะหรือความเข้าใจของเขาบิดเบือนไปจากคณาจารย์ในอัล-อัซฮัร
                เขาอ่านหนังสือต่าง ๆ ของมั๊วะตะซีละห์  และหนังสือของกลุ่มผู้ถือเหตุผลในศาสนาอิสลามมากเกินไป  ดังนั้นบรรดาอาจารย์ของเขาในอัล-อัซฮัร  เคยกล่าวหาว่าเขาละทิ้งทัศนะของอัซ-อารีย์และโอนเอียงไปทางทัศนะของมั๊วะตะซีละห์ (ดู มุก็อด  ดิมะห์  ริซาละห์  เตาฮีด  ซึ่งถอดความโดย ฮัจยี  ฟิรเดาซ์  เอ.เอ็น  หน้า 8)
                มุฮัมมัด  อับดุฮ์  จบการศึกษาจาก อัล-อัซฮัร  ในปี 1877  แต่ทว่าในสมองของเขาได้รับอิทธิพลจากวิชาการของญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆานี  มากกว่าวิชาการของอัล-อัซฮัร  หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว  เขาก็ได้เข้าทำงานเป็นบรรณาธิการนิตยสาร อัล-วะกออิดุล  มัสรียะห์นอกจากนั้นยังเป็นอาจารย์ในหลาย ๆ  มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนอีกด้วย  นิตยสาร อัล-วะกออิดุล  มัสรียะห์นั้นคือ นิตยสารจากทางการของรัฐบาลอียิปต์  ซึ่งตีพิมพ์เพื่อกระจายข่าวต่าง ๆ ของรัฐบาล  จัดทำขึ้นในปี ค..1828  โดย  ซุลตาน  มุฮัมมัด  อาลี  
ณ  ตรงนี้เองที่มุฮัมมัด  อับดุฮ์   ได้รับตำแหน่งเป็นบรรณาธิการ (ดู ตารีค  อะดาบุลลุฆอติ้ล  อะรอบียะห์  เขียนโดย  ญูรยี  ซัยดะห์  บทที่ หน้า 52)
ในปี 1879  เขาได้ถูกรัฐบาลสั่งปลดออกจากตำแหน่งอาจารย์เพราะรัฐบาลอียิปต์กล่าวหาว่า  แบบฉบับหรือหลักคำสอนของมุฮัมมัด  อับดุฮ์  ในเรื่องศาสนานั้น  แตกต่างไปจากหลักคำสอนที่ประชาชนอียิปต์ยึดถืออยู่ในขณะนั้น  หลังจากหน้าที่การเป็นอาจารย์ของเขาถูกถอนออกแล้ว ดังนั้นหน้าที่ของมุฮัมมัด  อับดุฮ์  จึงเหลือเพียงแค่เป็นบรรณาธิการนิตยสาร อัล-วะกออิดุล  มัสริยะห์เท่านั้น
มุฮัมมัด  อับดุฮ์  เป็นผู้ที่แข็งขันอยู่ในพรรคของ อัล-ฮิซบุล  วะตอนี  อัล-มิสรี (พรรคชาติ อียิปต์อันมีคำจูงใจเป็นภาษิตประจำพรรคว่า อียิปต์เพื่ออียิปต์”  มุฮัมมัด  อับดุฮ์  เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่แข็งขันต่อพรรคมาโดยตลอด  นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งพรรคจนกระทั่งถูกรัฐบาลอียิปต์สั่งยุบพรรคไป (ดู มุฮัมมัด  อับดุฮ์  เขียนโดยมุฮัมมัด  อัล-อักก๊อด  หน้า 129)
จากนั้นไม่นานนัก  รัฐบาลอียิปต์ก็ได้ขับมุฮัมมัด  อับดุฮ์  ออกจากอียิปต์หลังจากที่ได้ถูกจำคุกเป็นเวลา  เดือนเต็ม  ในข้อหามีส่วนร่วมการปฏิวัติที่ล้มเหลวของ อะรอบี  ปาชา  จากนั้นมุฮัมมัด  อับดุฮ์  จึงได้ไปอยู่ที่เบรุต (เลบานอนขณะที่อยู่ที่เบรุตนั้น  เขาก็ได้เข้าเป็นอาจารย์สอนในวิทยาลัย ซุลตอนียะห์”  เป็นอาจารย์สอนวิชาเตาฮีด
หนังสือเล่มนี้ที่ชื่อริชาลาตุล  เตาฮีดเป็นหนังสือที่ได้มาจากการสอนของท่านมุฮัมมัด  อับดุฮในเรือนวิทยาลัยหลังนั้น  พร้อมทั้งยังได้ถูกใช้เป็นตำราในสถานศึกษาชั้นสูงทั่วๆไปด้วย  ได้ผ่านการปรับปรุงจากศิษย์ของเขาคนหนึ่งชื่อ  เชค  มุฮัมมัด  รอชิด  ริดอ (เสียชีวิตไปในปี  ค.. 1935)
                มุฮัมมัด  อับดุฮ์  ใช้ชีวิตอยู่ในเบรุตประมาณ  ปี  จากนั้นอาจารย์ของเขาคนหนึ่งที่ชื่อ   ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆานีก็ได้เรียกตัวเขาไปยังปารีส  เพื่อไปร่วมจัดทำนิตยสาร  อัล-อุรวาตุล       วุตกอ”   ชะตาของมุฮัมมัด  อับดุฮ์  นับว่าดีกว่าชะตาของ ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆานี .
                หลังจากรัฐบาลฝรั่งเศสได้สั่งปิดนิตยสารดังกล่าวแล้ว  ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆานีก็ได้ถูกขับไล่ออกจากประเทศฝรั่งเศษ  ส่วนุฮัมมัด  อับดุฮ์  ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอียีปต์  โดยอำนาจจากซุลตานอับบาส  เฮลมี  ให้กลับไปยังประทศอีกครั้ง
                เมื่อได้เดินทางไปยังอียิปต์แล้ว  เขาก็ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็น มุฟตี” (มุฟตี  ริยาริล  มัสรียะฮ์มีหน้าที่คอยให้คำปรึกษาแนะนำแก่  ซุลตานอียิปต์ในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา
                หลังจากนั้นก็ไม่นาน มุฮัมมัด อับดุฮ์  ก็ได้ถูกเลือกและถูกแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาแทนราษฎรอียิปต์  พร้อมทั้งยังได้เป็นประธานกรรมมิการ  ซึ่งคอยเป็นตัวเชื่อมหรือประสานกันระหว่างรัฐบาลกับผู้แทนราษฎรอีกด้วย
                เขาเป็นนักการเมืองคนหนึ่ง  และผลงานทางการเมืองของเขามีมากกว่าวิชาด้านด้านศาสนา  อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้เองที่ทำให้เขาไม่ค่อยได้เขียนหนังสือด้านศาสนา  ไม่ว่าจะเป็นหนังสือฟิกฮฺ  หะดิษ  และอื่นๆ ก็ตาม

                 แนวคิดหรือความเข้าใจของเขา
·       ต่อต้านมัซฮับทั้ง 4
·       เรียกร้องเชิญชวนให้กลับไปสู่อัล-กุรอ่าน  และอัซ-ซุนนะห์
·       เรียกร้องให้ทุกคนทำการอิญติฮาด (วินิฉัยปัญหาศาสนาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน)
·       ต่อต้านอะกีดะห์ยะบารหรือญะบารียะห์
·       ต่อต้านกีตาบฟิกฮ์  โดยเฉพาะกิตาบฟิกฮ์ มุตะอัคคีรีน (ชนรุ่นหลัง)
·       ฟื้นฟูบรรดาหนังสือที่เข้าใจว่าเป็นมรดกอันเก่าแก่
·       ถือว่าการศึกษาวิชาเตาฮีดตามแบบฉบับของอะห์ลิซซุนนะวัล-ญะมาอะฮ์นั้นไม่มีประโยชน์สำหรับหารยึดถือ  แต่สามารถศึกษาได้เพื่อการลับสมองเท่านั้น  เตาฮีด                 (การให้เอกภาพ) ที่ดีก็คือ  ทำความเชื่อมั่นแก่มนุษย์ตามที่ระบุอยู่ในอัรกุรอ่าน
·       คลางแคลงต่อหะดิษที่ว่า จะแตกออกเป็น 73 จำพวก
·       ให้เสรีภาพต่อสติปัญญาและความคิดของมนุษย์อย่างเต็มที่
·       ให้ความเข้าใจในศาสนาตามทัศนะของซะลัฟ
·       ปรับปรุงแก้ไขคุณภาพของภาษาอาหรับ
·       และอื่น ๆ  (ซึ่งทั้งหมดผู้เขียนได้คัดมาจากหนังสือหลาย ๆ เล่ม  และคัดมาจากหนังสือ อัล-ฟิกรุล  อิสลามมิล  หะดิษ  เขียนโดย  ด็อกเตอร์  มุฮัมมัด  อัลบาฮี  หน้า 91-148

                 ผลงานของอับดุฮฺ
                หนังสือที่มุฮัมมัด  อับดุฮ์  เขียนขึ้นนั้นมีเพียง  เล่ม  คือ
                1.  ริชาลาตุล  เตาฮีด
                2.  ตัฟซี  ยุช  อัมมา
                3.  อัล-อิสลาม  วัน-นัสรอนี
                ส่วนหนังสือตัฟซีรอันเป็นที่เลื่องลือชื่อ ตัฟซีร  มุฮัมมัด  อับดุฮ์”  นั้นไม่ได้เขียนโดยมุฮัมมัด  อับดุฮ์  แต่เขียนขึ้นโดยศิษย์ของท่านคนหนึ่งชื่อ  เชค  มุฮัมมัด  รอชิด  ริดอ  (เสียชีวิตปี  ค.. 1935)
ฉะนั้น  จึงถือเป็นการไม่ลงตัวหากมุฮัมมัด  อับดุฮ์ถูกขนานนามหรือถูกให้ชื่อว่า  อัล-อุซตาซ  อัล-อิหม่าม”  เทียบเคียงจากอูลามะอฺ ปริญญาบัตรจากอัล-อัซฮัร  เช่น  เชค  อะนู  ฮะญัร  อัล-ฮัยตามี (ผู้แต่งหนังสือฟิกฮฺ  ตุฮฟะตุล  มุฮ์ตัญ) เชค  ซาการียา  อัล-อันศอรีย์ (ผู้แต่งหนังฟิกฮ  มินฮาญุต  ตูลับ  ซาเราะห์  ฟะตุล  วาฮาบและเชค  ซัรกอวีย์ (ผู้แต่งหนังเตาฮีด  ซาเราะห์  ซานุซี)
ไม่เคยนึกคิดเลยว่า  มุฮัมมัด  อับดุฮ์  จะเอาวิญญาณแห่งความคิดสมัยใหม่ในศาสนาเข้าไปยังในสังคมอิสลาม  ได้อย่างนุ่มนวลและเฉียบแหลม  โดยร่วมกันกับศิษย์ของเขาชื่อ  มุฮัมมัด  รอชีด  ริดอ  ด้วยการใช้สื่อผ่านทางวารสารอัล-มะนาร
ผลของความคิดสมัยใหม่ในศาสนานั้น  จะดีหรือไม่ประการใดผู้เขียนไม่ทราบ  แต่หน้าที่ความรับผิดชอบส่วนใหญ่ต้องตกอยู่บนบ่าของ มุฮัมมัด  อับดุฮ์อย่างแน่นอน .
อะห์หมัด  อามีนผู้เขียนที่โด่งดัง  ในอียิปต์ที่แต่งหนังสือ  ซุอามาอุล  อิสลาม”  ได้ระบุในหนังสือของเขาหน้า  121  ว่า  ซัยยิด  อะห์หมัดคนในอินเดียนั้นคล้ายคลึงกันกับมุฮัมมัด  อับดุฮ์  ในอียิปต์  ทั้งสองเป็นผู้ทีความคิดสมัยใหม่ในศาสนา  และทั้งสองก็แนะนำให้ ประนีประนอม”  กับรัฐบาลอังกฤษผู้ครอบครองเมืองขึ้น  นอกจากนั้นแล้วทั้งสองยังได้ให้ทัศนะว่า  อังกฤษมีความแข็งแกร่งมากทั้งทางน้ำและทางบก  ซึ่งอินเดียและอียิปต์ไม่สามารถสู้รบปรบมือได้เลย  แต่ถ้าประชาชาติอิสลามสามารถเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันได้  บางทีก็อาจจะสามารถต่อกรกับอังกฤษได้  กว่าจะเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างไร  หากประชาชาติอิสลามยังจมปลักอยู่กับความโง่เขลา  อีกทั้งบรรดาราชาแห่งอิสลามก็ยังไม่ได้เป็นที่เชื่อมั่นได้  ดังนั้นทางที่ดีเราควรอ่อนข้อหรือประนีประนอมกับอังกฤษและตักตวงผลประโยชน์ที่เหมาะที่ควรจากพวกเขา”  .
ดร. มุฮัมมัด  อัล-บาฮี  นักเขียนผู้รักชอบในตัวของมุฮัมมัด  อับดุฮ์ได้เขียนบทความโต้ตอบมุฮัมมัด  อามีน  ไว้ในหนังสือ อัล-ฟิกรุล  อิสลามิล  ฮะดีษ”  หน้า  150  ว่า
บางทีอุซตาซอะห์หมัด  อะมีนมีทัศนะว่า  ไมตรีจิตของมุฮัมมัด  อับดุฮ์ที่ได้หยิบยื่นให้กับลอด  โครเมอร์เป็นการประจบประแจงของมุฮัมมัด  อับดุฮ์ที่มีอังกฤษ  แต่ความจริงมิได้เป็นนั้น  มุฮัมมัด  อับดุฮ์สัมผัสมือกับอังกฤษก็เพื่อปกป้องตนเองให้พ้นจากแรงกดดันของซุลตาน  อับบาสที่ 2 และด้วยวิธีการดังกล่าวนั้นทำให้เขานั้นสามารถบรรลุถึงเป้าหมายได้  ซึ่งก็คือการปฏิรูปอัล-อัซฮัร
จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้  บรรดาอูลามะอฺอัล-อัซฮัรก็ยังไม่ค่อยจะยอมรับกับการปฏิรูปอัล-อัซฮัรตามข้อเสนอหรือข้อแนะนำของ มุฮัมมัด อับดุฮ์  เพราะบรรดาอูลมะอเหล่านั้นยังคงคลางแคลงต่อศาสนาของมุฮัมมัด อับดุฮ์  และหนังสือตัฟซีรที่ชื่อ  ตัฟซีร  มุฮัมมัด  อับดุฮฺ  หรือ ตัฟซีร  อัล-มะนาร”  นั้นก็ยังไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับและยังไม่ได้นำมาสอนกันในอัล-อัซฮัร (ดู ฟิกฮ์รุล  อิสลามิล  ฮะดีษ  หน้า 146)
ปัจจุบันนี้อัล-อัซฮัร  ได้มีการสอนวิชาฟิกซ์ของมัซฮับทั้งสี่  แม้ว่าแต่ก่อนเคยถูกมุฮัมมัด  อับดุฮ์ต่อต้านก็ตาม
สมควรที่ผู้อ่านจะต้องทราบกัน ณ ตรงนี้ว่า  มุฮัมมัด  อับดุฮ์  นั้นเป็นผู้ที่ชำนาญด้านการขี่ม้า  เขาใช้ม้าเป็นพาหนะในการเดินทางไปในทุกหนแห่ง  ถึงแม้จะไปยังสถานที่ต่าง ๆ ของทางราชการก็ตาม  นอกจากนั้นแล้วเขายังเป็นผู้ที่ชอบการกีฬาด้วย  เขาเคยขี่ม้าไปยังอัสวานเพื่อไปชมการแข่งวอลเล่ย์บอล (ดู มุฮัมมัด  อับดุฮ์  เขียนโดยมุฮัมมัด  อับบาส  อัล-อักก๊อด  หน้า 222)
มุฮัมมัด  อับดุฮ์เสียชีวิตที่อิยิปต์ในปี 1905

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น