เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

หะดีษเฎาะอีฟ


เป็นหนังสือที่ใช้สอนใน ของคณะอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี
โดย อาจารย์ อับดุลเลาะ การีนา มีทั้งหมด 7บท ต่อมาด้วยหะดีษต่างๆอีก 4 บทนะ

หะดีษเฎาะอีฟอันเนื่องมาจากความบกพร่องในแง่ความจำของผู้รายงาน


หัวข้อย่อย
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
1. หะดีษมุอัลลั้ล
2. หะดีษมุดร๊อจญ์
3. หะดีษมักลูบ
4. หะดีษมุฏอร๊อบ
5. หะดีษช๊าซ
6. หะดีษมุเศาะหฺหัฟ
7. หะดีษมุหัรร๊อฟ
1. เข้าใจหะดีษมุอัลลั้ก
2. เข้าใจหะดีษมุดร๊อจญ์
3. เข้าใจหะดีษมักลูบ
4. เข้าใจหะดีษมุฏเฏาะร๊อบ
5. เข้าใจหะดีษช๊าช
6. เข้าใจหะดีษมุเศาะหัฟ
7. เข้าใจหะดีษมุหัรร๊อฟ

ชนิดที่ 1   หะดีษมุอัลลั้ล


หะดีษที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องของผู้รายงานในแง่ความจำ เนื่องมาจากการสับสนในการรายงาน  หะดีษในลักษณะนี้เรียกว่า  หะดีษมุอัลลั้ล
1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า معللมาจากรากศัพท์ของคำ عَلٌَلَ  ُيعٌَلِلُ تُعليلاًแปลว่า มีความบกพร่อง หรือข้อเสีย และคำว่า มุอัลลั้ลสิ่งที่มีความบกพร่องที่ซ่อนเร้น

ตามหลักวิชาการ

หะดีษมุอัลลั้ล คือ  หะดีษที่ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแล้วพบว่ามีความบกพร่องต่อการเป็นหะดีษเศาะหีหฺ ซึ่งดูภายนอกมีสถานภาพเป็นหะดีษเศาะหีหฺ (อัสสุยูฏีย์  : 2/245)
จากนิยามข้างต้นจะเห็นได้ชัดว่า  การที่จะเรียกหะดีษเป็นหะดีษมุอัลลั้ลนั้นต้องประกอบด้วยเงื่อนไข  ประการ
หนึ่ง     เป็นการรายงานที่คลุมเครือและซ่อนเร้น
สอง     มีผลเสียต่อการเป็นหะดีษเศาะหีหฺ
หากขาดเงื่อนไขหนึ่งเงื่อนไขใดแล้ว ไม่เรียกว่าหะดีษมุอัลลั้ลตามความหมายของหะดีษมุอัลลั้ลที่แท้จริง (มะหฺมูด อัตเฏาะหฺหาน  หน้า 98-99)


2.   ชนิดและตัวอย่างหะดีษมุอัลลั้ล

หะดีษมุอัลลั้ลแบ่งออกเป็น  ชนิด คือ มุอัลลั้ลอิสนาดและมุอัลลั้ลมะตัน
ชนิดที่ 1    มุอัลลั้ลอิสนาด  ตัวอย่าง
حديث عن يعلى بن عبيد، عن الثوريّ، عن عمرو بن دينار، عن ابن عمر مرفوعاً : (( البيعان بالخيار )).
ความว่า หะดีษจากยะฮฺลา เบ็ญ อุบัยดฺ จากอัษเษารีย์ จากอัมรฺ เบ็ญ ดีนาร จากอิบนุอุมัร -มัรฟูอฺ- ท่านนบี r กล่าวว่าการซื้อขายนั้น- ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย- โดยมีการเลือก” (อัลบุคอรีย์  : 7/125)

หะดีษบทนี้เป็นหะดีษมุอัลลั้ล  เนื่องจากผู้รายงานที่ชื่ออัษเษารีย์สับสนในการรายงานหะดีษที่กล่าวว่า จากอัมรฺ เบ็ญ ดีนาร  แต่ผู้รายงานหะดีษที่ถูกต้องก็คือ มาจาก   อับดุลเลาะ เบ็ญ ดีนาร
ชนิดที่ 2     มุอัลลั้ลมะตัน  ตัวอย่าง
حديث عن أنس رضي الله عنه قال : صليتُ خلف النبيّ صلى الله عليه وسلم وأبي بكر وعمر فكانوا يستفتحون بالحمد لله لا يقرأ بسم الله الرحمن الرحيم.
ความว่า  หะดีษจากอะนัส เบ็ญ มาลิก t เล่าว่า   ฉันเคยละหมาดอยู่ด้านหลัง            (เป็นมะมูม) ของนบี r และหลัง อะบูบักร และหลังอุมัร เขาเหล่านั้นเริ่มการละหมาดด้วยการอ่าน  الحمدلله  โดยมิได้อ่าน บิสมิลลาฮฺฮิรเราะฮฺมานิรริหีม (อิบนุ อัศเศาะลาหฺ : 83)
หะดีษบทนี้ด้วยสายรายงานของอัลวะลีด คือ หะดีษมุอัลลั้ล  เนื่องจากการรายงานที่ขัดแย้งกับการรายงานที่มีฐานะเศาะหีหฺทั้งในด้านสถานภาพของผู้รายงานและมะตัน การรายงานที่เศาะหีหฺหมายความถึง  หะดีษจากอะบูฮุรัยเราะฮฺ  อะนัส เบ็ญ มาลิก  อับดุลเลาะ อิบนุ อับบาส    อุษมาน เบ็ญ อัฟฟาน  อะลี เบ็ญ อะบีฏอลิบ   อัมมาร เบ็ญ ยาซิร  และอันนุมาน เช่นหะดีษจากอะนัสเล่าว่า (( كان رسـول الله صلى الله عليه وسلم يسـرُّ البسملة ))   ความว่า เราะสูลุลลอฮฺ r ได้อ่านบิสมิลาฮฺด้วยเสียงเบา และหะดีษอื่น ๆ อีกหลายบทที่กล่าวในเรื่องเดียวกัน การกล่าวถึงการอ่านบิสมิลลาฮฺนั้น หากพิจารณาตัวบทหะดีษหรือความเข้าใจจากเจตนารมณ์ของหะดีษซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการอ่านเสียงเบามากกว่าปฏิเสธ  ทั้งหะดีษที่ได้บันทึกโดยอัลบุคอรีย์  มุสลิม หรืออิมามท่านอื่น ๆ

3.   ฐานะของหะดีษมุอัลลั้ล

หะดีษมุอัลลั้ลเป็นหะดีษเฎาะอีฟ  เนื่องจากขาดคุณสมบัติของหะดีษมักบูล คือ บกพร่องในแง่ความจำของผู้รายงานที่มาจากสาเหตุความสับสนในการรายงานหะดีษ ลักษณะของหะดีษ เช่น  ผู้รายงานกล่าวรายงานหะดีษด้วยความสับสนของเขา กล่าวคือ รายงานหะดีษที่มีลักษณะมุรซัลเป็นหะดีษเมาศูล  หรือมีการรายงานหะดีษหนึ่งเป็นหะดีษอื่น หะดีษเศาะหีหฺเป็นหะดีษเฎาะอีฟ  หรือไม่กล้าตัดสินหะดีษ (ดู  อุมัร ฟุลลาตะฮฺ : 2/79)

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

หะดีษมุอัลลั้ลไม่อนุญาตให้นำมาใช้เป็นหลักฐานและนำมาปฏิบัติตาม เว้นแต่เมื่อมีการรายงานจากสะนัดอื่นหนึ่งสะนัดหรือหลายสะนัด ซึ่งมีฐานะเดียวกันหรือเหนือกว่ามาสนับสนุนสายรายงานดังกล่าว

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

 

1.كتاب العلل، الإمام ابن المدينيّ  

2.كتاب علل الحديث، الإمام ابن أبي حاتم  

3.كتاب العلل ومعرفة الرجال، الإمام أحمد بن جنبل  

4.كتاب العلل الكبير والعلل الصغير، الإمام الترمذيّ  

                                               

ชนิดที่ 2   หะดีษมุดร๊อจญ์
 
หะดีษเฎาะอีฟที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในแง่ความจำของผู้รายงาน      เนื่องจากการขัดแย้งของผู้รายงานจนทำให้มีสำนวนหะดีษเพี้ยนไปเรียกว่า  หะดีษมุดร๊อจญ์

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า مدرجมาจากรากศัพท์ของคำว่า أدرج يدرج إدراجاًแปลว่า มีการแทรกเข้าไป หรือมีการเพิ่มเติม

ตามหลักวิชาการ

หะดีษมุดร๊อจญ์ คือ  หะดีษที่มีการเปลี่ยนแปลงสะนัด หรือมีการแทรกในมะตัน ที่ไม่ใช่ตัวบทหะดีษ (อัสสุยูฏีย์  : 2/245)
จากนิยามข้างต้น การอิดร๊อจญ์เกิดขึ้นทั้งในสะนัดและในมะตัน
1. การอิดร๊อจญ์ในสะนัด หมายถึง เปลี่ยนผู้รายงานจากคนเดิมกลายเป็นคนอื่น
2. การอิดร๊อจญ์ในมะตัน หมายถึง ผู้รายงานนำคำพูดของตนเองหรือสำนวนคนอื่นแทรกในตัวบทหะดีษ

2.   ชนิดและตัวอย่างหะดีษมุดร๊อจญ์

ชนิดที่ 1    การอิดร๊อจญ์ในสะนัด  ตัวอย่าง
قصة ثابت بن موسى الزاهد في روايته : " من كثرتْ صلاته بالليل حسن وجهه بالنهار ".
แปลว่า  เรื่องราวของษาบิต เบ็ญ มูซา อัลซาฮิดในบางรายงานของท่านเล่าว่า  ผู้ใดขยันละหมาดในเวลากลางคืน (ละหมาดตะฮัจญุด) ใบหน้าของเขาจะแจ่มใสในเวลากลางวัน” (อิบนุ มาญะฮฺ  : 1/422) 
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษมุดร๊อจญ์ ผู้ทำการอิดร๊อจญ์ คือ ษาบิต เบ็ญ มูซา ซึ่งเข้าใจว่าสำนวนนี้เป็นหะดีษของสายรายงานดังกล่าว
ที่มาของเรื่องราวข้างต้น คือ แท้จริงษาบิต เบ็ญ มูซา เข้ามาในมัจญ์ลิสของชะริก เบ็ญ อับดุลเลาะ อัลกอฎีย์ในขณะที่กำลังกล่าวหะดีษ  ท่านกล่าวว่า  อัลอะอฺมัชได้รายงานแก่พวกเรา  จากอะบีสะอีด  จากญาบิร ซึ่งท่านกล่าวว่า เราะสูลุลลอฮฺ r ได้กล่าวว่า .......ท่านก็หยุดพักครูหนึ่งเพื่อให้ผู้ฟังทำการบันทึกหะดีษ  ในขณะนั้นท่าน (อะลี บินอับดุลเลาะ) ก็เห็นษาบิต (ซึ่งเป็นคนขยันละหมาดตะฮัจญุด) เข้ามา   ท่าน (อะลี) กล่าวว่า ((من كثرت صلاته بالليل حسن وجهه بالنهار))   เมื่อษาบิตได้ยินประโยคนั้นเข้าใจว่าเป็นตัวบทหะดีษของสะนัดดังกล่าว  ท่าน (ษาบิต) ก็รายงานตามที่ได้ฟังจากอะลีจนกลายเป็นตัวบทหะดีษไป  ด้วยเหตุดังกล่าว              อุละมาอฺ หะดีษมีความเห็นว่า  หะดีษนี้เป็นหะดีษเมาฎูอฺ
ชนิดที่ 2    การอิดร๊อจญ์ในมะตัน
การอิดร๊อจญ์ในมะตันมี  3 ลักษณะด้วยกัน
ลักษณะที่ 1    การอิดร๊อจญ์ในช่วงต้นของมะตัน ตัวอย่าง
ما رواه الخطيب البغداديّ من رواية أبي قطن وشبابة، عن شعبة، عن محمد بن زياد، عن أبي هريرة قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : (( أسبغوا الوضوء،ويل للأعقاب من النار )).
ความว่า  หะดีษรายงานโดยอัลเฏีบ อัลบัฆดาดีย์จากสายรายงานของอะบูกุฏนฺ และชะบาบะฮฺ จากชุอฺบะฮฺ จากมุฮัมมัด เบ็ญ ซิยาด จากอะบูฮุรอยเราะฮฺเล่าว่า เราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่าพวกเจ้าจงอาบน้ำละหมาดให้สมบูรณ์ นรกเวลสำหรับผู้ที่ล้างเท้า (เวลาอาบน้ำละหมาด) ไม่ครอบคลุม (ตาตุ่ม)” (อัสสุยูฏีย์ : 1/270)
ประโยคที่นำมาแทรกในหะดีษ คือ (( أسبغوا الوضوء ))  ซึ่งเป็นคำพูดของอะบู     ฮุรอยเราะฮฺที่ถูกนำมาแทรกในช่วงต้นของหะดีษ  อัลเคาะฏีบ อัลบัฆดาดีย์กล่าวว่า  อะบูกุฏนฺและชะบาบะฮฺเข้าใจผิดว่าเป็นคำพูดของท่านนบีมุฮัมมัด r   ซึ่งสังเกตได้จากการรายงานของอัลบุคอรีย์ จากอาดัม จากชุอฺบะฮฺ จากมุฮัมมัด เบ็ญ ซิยาด จากอะบูฮุรอยเราะฮฺกล่าวว่า
أسبغوا الوضوء، فإن أبا القاسم صلى الله عليه وسلم قال : (( ويل للأعقاب من النار ))
ความว่า  จงอาบน้ำละหมาดให้สมบูรณ์  เนื่องจากอะบูอัลกอซิม r ได้กล่าวว่านรกเวลนั้นสำหรับผู้ที่ล้างเท้าไม่ครอบคลุม (ตาตุ่ม) (อัลบุคอรีย์  : 1/267)
ลักษณะที่ 2    การอิดร๊อจญ์ในช่วงกลางของมะตัน ตัวอย่าง
حديث عائشة رضي الله عنها : (( أول ما بدئ به رسول الله صلى الله عليه وسلم من الوحي الرؤيا الصالحة في المنام، فكان لا يرى رؤيا إلاّ جاءت مثل فلق الصبح، ثم حُبِّبَ إليه الخلاء، وكان يخلو بغار حراء فيتحنث فيه – وهو التعبد – الليالي ذوات العدد )).
ความว่า  หะดีษจากอาอิชะฮฺ t  กล่าวว่า  สิ่งแรกที่รสูลุลลอฮฺ r เริ่มรับวะหฺยู คือ การฝันที่เป็นจริงในขณะนอนหลับ ซึ่งท่าน(นบี) ไม่เคยฝันนอกจากมันมาเสมือนแสงกระพริบในรุ่งอรุณ  หลังจากนั้น ท่าน (นบี) ชอบนั่งเงียบ ๆ โดยที่ท่าน (นบี) ออกไปยังถ้ำฮิร๊ออฺ  ทำการสักการะ ทำอิบาดะฮฺ- เป็นเวลาหลายคืน(อัลบุคอรีย์ : 1/23)
คำว่า وهو التعبد  ” แปลว่า ทำการสักการะ เป็นคำพูดของอัซซุฮฺรีย์ซึ่งถูกนำมาแทรกในช่วงกลางของหะดีษ  เพื่ออธิบายความหมายของคำว่า فيتحنثคือ  ทำอิบาดะฮฺ มิใช่เป็นคำพูดของท่านหญิงอาอิชะฮฺ t  คำอธิบายนี้มาจากการรายงานของ    ยูนุส เบ็ญยะซีด  จากอิบนุชิฮาบ  จากอุรวะฮฺ เบ็ญ อัซซุบัยร  จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ رضي الله عنها      ไม่เหมือนกับตัวบทหะดีษที่มาจากการรายงานต่อไปนี้
حديث عائشة في بدء الوحي : (( كان النبي صلى الله عليه وسلم يتحنث في غار حراء وهو التعبد الليالي ذوات العدد )).
ความว่า   ท่านนบี r ทำการสักการะในถ้ำหิร๊ออฺ ท่านทำอิบาดะฮฺเป็นเวลาหลายคืน (อัลบุคอรีย์  : 10/ 715)
ลักษณะที่ 3    การอิดร๊อจญ์ในช่วงท้ายของมะตัน ตัวอย่าง
حديث أبي هريرة مرفوعاً : (( للعبد المملوك الصالح أجران، والذي نفسي بيده لو لا الجهاد في سبيل الله والحج وبر أم لأحببتُ أن أموت وأنا مملوك ))
ความว่า หะดีษจากอะบูฮุรอยเราะฮฺกล่าวว่า เราะสูลุลลอฮฺ r  กล่าวว่าสำหรับผู้เป็นทาสที่ดีได้รับผลบุญสองเท่า ฉันขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์   หากไม่มีการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ การทำฮัจญ์ และการทำความดีต่อมารดาแล้วไซร้ แน่นอนฉันพร้อมที่จะตายในขณะที่ฉันเป็นทาส”  (อัลบุคอรีย์  : 5/175)
ประโยค والذي نفسي بيدهคือ คำมุดร๊อจญ์เป็นคำพูดของอะบูฮุรอยเราะฮฺที่ถูกนำมาแทรกในช่วงท้ายของหะดีษ ซึ่งสังเกตได้จากการรายงานของอิสมะอีลีย์ จากอิบนุ อัล      มุบาร๊อก จากอะบูฮุรอยเราะฮฺกล่าวว่า
(( والذي نفس أبي هريرة بيده لو لا الجهاد في سبيل الله والحج ...
ความว่าแท้จริงชีวิตของอะบูฮุรอยเราะฮฺอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ หากไม่มีการญิฮาด การทำฮัจญ์ และการทำความดีต่อมารดาแล้วไซร้ แน่นอนฉันพร้อมที่จะตายในขณะที่ฉันเป็นทาส (อัลบุคอรีย์  : 5/176)
จากตัวอย่างข้างต้น เป็นที่น่าสังเกตเกี่ยวกับหะดีษมุดร๊อจญ์  2 ประการ
ประการที่ 1    สาเหตุที่ทำให้เกิดการอิดร๊อจญ์ในหะดีษ พอสรุปดังนี้
1. เพื่อการอธิบายบทบัญญัติของศาสนา
2. เพื่อการอธิบายหุก่มจากหะดีษในขณะรายงานหะดีษ
3. เพื่อขยายความศัพท์ที่มีการกล่าวในหะดีษ
ประการที่ 2   วิธีการรู้จักหะดีษมุดร๊อจญ์ ซึ่งสามารถทราบได้จากหลายประการ
1. มีการรายงานจากกระแสรายงานอื่นระบุอย่างชัดเจนของการอิดร๊อจญ์
2. อุละมาอฺผู้เชี่ยวชาญบางท่านระบุว่า เป็นคำพูดของผู้รายงานที่ถูกนำมาแทรกในมะตัน หรือแทรกผู้รายงานคนอื่นในสะนัดหะดีษ
3. ผู้รายงานกล่าวยอมรับว่า เขาเองได้แทรกในสะนัดหรือในมะตัน
4. สำนวนหรือประโยคเหล่านั้นเป็นไปไม่ได้ว่ามาจากท่านนบีมุฮัมมัด r จริง

3.   ฐานะของหะดีษมุดร๊อจญ์

หะดีษมุดร๊อจญ์เป็นส่วนหนึ่งของหะดีษเฎาะอีฟเนื่องจากขาดคุณสมบัติของหะดีษมักบูล คือ การขัดแย้งกับการรายงานของคนอื่นที่มีฐานะเป็นคนษิเกาะฮฺ
4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

หะดีษมุดร๊อจญ์นำมาใช้เป็นหลักฐานไม่ได้หากมิใช่มาจากสาเหตุที่ได้กล่าวมาข้างต้นเช่น  เพิ่มสำนวน    แต่ถ้าการอิดร๊อจญ์นั้นมีการแยกสำนวนระหว่างตัวบทหะดีษกับคำพูดของผู้รายงานและมีฐานะเป็นหะดีษเศาะหีหฺหรือได้รับการสนับสนุนจากสายรายงานอื่นที่มีฐานะเดียวกันหรือเหนือกว่าก็สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

 

1.كتاب الفصل للوصل المدرج في النقل، الإمام الخطيب البغدادي    

2.كتاب تقريب النهج بترتيب المدرج، الحافظ ابن حجر العسقلانيّ  


ชนิดที่ 3   หะดีษมักลูบ
 
หะดีษเฎาะอีฟที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในแง่ความจำของผู้รายงาน คือ การขัดแย้งโดยการสับเปลี่ยนจากก่อนเป็นหลังหรือสลับกัน หะดีษลักษณะนี้เรียกว่า  หะดีษมักลูบ

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า مقلوبมาจากรากศัพท์ของคำ قلب يقلب قلباًแปลว่า สับเปลี่ยน หมายถึง การสับเปลี่ยนจากก่อนเป็นหลังหรือจากหลังเป็นก่อน

ตามหลักวิชาการ

หะดีษมักลูบ คือ  หะดีษที่มีการสับเปลี่ยนในสะนัดหรือในมะตันจากก่อนเป็นหลังหรือจากหลังเป็นก่อน (อัสสุยูฏีย์ : 2/234)
จากนิยามพบว่า  การสับเปลี่ยนนั้นสามารถเกิดขึ้นทั้งในสะนัดและในมะตันของหะดีษ  ไม่ว่าในช่วงต้น  ช่วงกลาง และช่วงท้ายของทั้งสอง
มักลูบในสะนัดหมายถึง  การสับเปลี่ยนชื่อของผู้รายงานเป็นชื่อพ่อ เช่น ผู้รายงานชื่อว่า กะอฺบ เบ็ญ มุรเราะฮฺ  เป็นมุรเราะฮฺ เบ็ญ กะอฺบ  การสับเปลี่ยนในประเภทนี้อุละมาอฺหะดีษเรียกว่า  การโจรกรรมหะดีษ” (อุมัร หะสัน ฟุลลาตะฮฺ : 2/234)
มักลูบในมะตันหมายถึง การสับเปลี่ยนคำบางคำจากก่อนเป็นหลังหรือสับเปลี่ยน ตัวบทของสะนัดหนึ่งเป็นตัวบทของอีกสะนัดหนึ่งที่มิใช่ตัวบทหะดีษนั้น ๆ (อุมัร หะสัน ฟุลลาตะฮฺ : 2/234)
2.   ชนิดและตัวอย่างหะดีษมักลูบ

หะดีษมักลูบแบ่งออกเป็น  2   ชนิด
ชนิดที่ 1      มักลูบในสะนัด การสับเปลี่ยนชนิดนี้มี 2 รูปแบบ
รูปแบบที่หนึ่ง การสับเปลี่ยนชื่อของผู้รายงานเป็นชื่อพ่อดังตัวอย่างข้างต้น
รูปแบบที่สอง   การสับเปลี่ยนตัวผู้รายงานที่รู้จักกันว่าเป็นผู้รายงานหะดีษนั้น ๆ เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่เป็นที่รู้จัก  ซึ่งทั้งสองร่วมสมัยเดียวกัน  ตัวอย่าง
حديث رواه حماد النصيبيّ، عن الأعمش، عن أبي صالح، عن أبي هريرة رضي الله عنه مرفوعاً : (( إذا لقيتم المشركين في طريق فلا تبدؤهم بالسلام ))
ความว่า   จากอะบูฮุรอยเราะฮฺt -มัรฟูอฺ- กล่าวว่าเมื่อพวกเจ้าเจอกับคนมุชริกีน พวกเจ้าอย่าเริ่มกล่าวสะลามต่อพวกเขา” (อิบนุ อัศเศาะลาหฺ  หน้า 134)
สะนัดหะดีษนี้มีการสับเปลี่ยนกันโดยหัมมาด  อันนะศีบีย์  ซึ่งได้รายงานกล่าวว่าได้ยินมาจากอัลอะอฺมัช  แต่ที่ถูกต้องจากสุฮัยลฺ  ดังการรายงานของอิมามมุสลิม คือ
عن حماد النصيبي، عن سهيل، عن أبي صالح، عن أبي هريرة رضي الله عنه مرفوعاً
ชนิดที่2      มักลูบในมะตัน   การสับเปลี่ยนชนิดนี้มี 2 รูปแบบ
รูปแบบที่หนึ่ง    การสับเปลี่ยนตัวบทหะดีษจากก่อนเป็นหลัง  ตัวอย่าง
عن أبي هريرة رضي الله عنه : (( ورجل تصدق بصدقة فأخفاها حتى لا تعلم يمينه ما تنفق شماله ))
ความว่า  จากอะบูฮุรอยเราะฮฺ tและผู้ที่ให้บริจาคสิ่งหนึ่ง เขาก็ได้ปกปิดมันไว้จนมือขวาของเขาไม่ทราบในสิ่งที่มือซ้ายของเขาได้บริจาคไว้” (อัสสุยูฏีย์ : 2/ 345)
หะดีษบทนี้ คือ  หะดีษมักลูบเนื่องจากผู้รายงานได้สับเปลี่ยนคำบางคำที่เป็นตัวบทหะดีษจากหลังเป็นก่อน แต่ตัวบทที่ถูกต้องดังนี้
(( ورجل تصدق بصدقة فأخفاها حتى لا تعلم شماله ما تنفق يمينه ))
ความว่า และผู้ที่ให้บริจาคสิ่งหนึ่ง เขาก็ปกปิดมันไว้จนมือซ้ายของเขาไม่ทราบในสิ่งที่มือขวาของเขาได้บริจาคไว้
รูปแบบที่สอง    การสับเปลี่ยนทั้งตัวบทและสะนัด   การสับเปลี่ยนในแบบที่สองนี้เพื่อทดสอบความจำของผู้รายงานหะดีษดังเช่น การทดสอบความจำของอิมามอัลบุคอรีย์
การทดสอบความจำของอิมามอัลบุคอรีย์มีทั้งหมด 3 ครั้ง คือ    ครั้งที่ 1    ที่เมืองบัฆดาด  ผู้ทดสอบมีประมาณ  100  ท่าน   ครั้งที่ ที่เมืองซะมัรกอน  ผู้ทดสอบมีทั้งหมดประมาณ  400 ท่าน และครั้งที่ ที่เมืองบัศเราะฮฺ ผู้ทดสอบมีทั้งหมดประมาณ 1,000 ท่าน  ผู้ทำหน้าที่ทดสอบมาจากหลายสาขาวิชามีทั้งอุละมาอฺหะดีษ อุละมาอฺฟิกฮฺ และนักวิชาการแขนงอื่น วิธีการทดสอบ คือ ทำการสับเปลี่ยนระหว่างตัวบทกับสะนัดอื่น ทั้งหมดได้รับการยืนยันจากอิมามอัลบุคอรีย์โดยได้ทำการแก้ไขระหว่างตัวบทกับสะนัด ที่ถูกสับเปลี่ยนให้เหมือนเดิมของมันอย่างถูกต้องไม่มีการผิดพลาดแม้แต่นิดเดียว (อัลอัสเกาะลานีย์ : 486-487)  ตัวอย่างบางส่วนเช่น อิมามอัลบุคอรีย์ตอบว่า  สะนัดหะดีษนี้ไม่ใช่ท่านมันศูรเป็นผู้รายงาน  แต่เป็นการรายงานของยูซุฟ เบ็ญ มูซา  พร้อมกับอ่านสะนัดของมะตันหะดีษ   ที่ถูกต้อง
จากรูปต่าง ๆ ของการสับเปลี่ยนข้างต้นพอสรุปได้ว่า  หุก่มของการสับเปลี่ยนนั้นมีทั้งที่เป็นหุก่มหะรอมและหุก่มญาอิซ (อนุญาต) ดังนี้
1. ถ้าการสับเปลี่ยนนั้น (การอิกลาบ) เพื่อดึงดูดความสนใจผู้อื่นให้การยอมรับการรายงานและยอมรับหะดีษของเขา การสับเปลี่ยนในลักษณะนี้เป็นหุก่มหะรอม
2. ถ้าการสับเปลี่ยนนั้น (การอิกลาบ) เพื่อทดสอบความจำของผู้รายงานดังที่ได้เกิดขึ้นกับอิมามอัลบุคอรีย์ การสับเปลี่ยนในลักษณะเช่นนี้เป็นหุก่มญาอิซ (ฮารุส)
3. ถ้าการสับเปลี่ยนนั้นมาจากความผิดพลาดของผู้รายงานเองโดยไม่ได้ตั้งใจ การสับเปลี่ยนในลักษณะนี้เป็นหุก่มญาอิซ (ฮารุส) (มะหฺมูด อัลเฏาะหฺหาน หน้า 89)
4. ถ้าการสับเปลี่ยนนั้นเนื่องมาจากความตั้งใจของผู้รายงานเป็นหุก่มหะรอม (อุมัร หะสัน ฟุลลาตะฮฺ : 1/83)

3.   ฐานะของหะดีษมักลูบ

หะดีษมักลูบเป็นหะดีษเฎาะอีฟ เนื่องจากผู้รายงานขาดความอะมานะฮฺและไม่มีความรับผิดชอบในการรายงานหะดีษโดยตั้งใจทำการสับเปลี่ยนเพื่อดึงดูดความสนใจหรือทำให้ระดับของหะดีษจากหะดีษเศาะหีหฺหรือหะดีษหะสันเป็นหะดีษเฎาะอีฟ 

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

ตามทัศนะของอุละมาอฺหะดีษ  การนำหะดีษมักลูบมาใช้เป็นหลักฐานมีความเห็นดัง ต่อไปนี้
1. หะดีษมักลูบอันเนื่องมาจากจุดประสงค์เพื่อดึงดูดความสนใจผู้อื่นนำมาใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ การกระทำในลักษณะเช่นนี้เป็นการกระทำของผู้อุปโลกน์หะดีษ
2. หะดีษมักลูบอันเนื่องมาจากเพื่อการทดสอบความจำของนักรายงาน นำมาใช้เป็นหลักฐานได้แต่มีเงื่อนไขว่า  จะต้องบอกให้ชัดเจนถึงตัวบทหะดีษที่ถูกต้องก่อนที่จะเสร็จสิ้นจากการทดสอบ ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วไม่อนุญาตให้นำมาปฏิบัติโดยเด็ดขาด
3. หะดีษมักลูบอันเนื่องมาจากความผิดพลาดของนักรายงานหะดีษ หรือไม่    ระมัดระวังในการรายงานหะดีษ   กรณีเช่นนี้ไม่อนุญาตให้นำมาเป็นหลักฐานเว้นแต่มีกระแสรายงานอื่นที่มีฐานะเดียวกันหรือเหนือกว่าระบุสถานภาพของหะดีษที่ถูกต้องมาสนับสนุน

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

  

1.كتاب رافع الإرتياب في المقلوب من الأسماء والألقاب، الإمام الخطيب البغدادي

ชนิดที่ 4    หะดีษมุตเฏาะร็อบ

 
หะดีษเฎาะอีฟที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในแง่ความจำของผู้รายงานเนื่องมาจากการขัดแย้งกับสายรายงานอื่นที่มีจำนวนมากกว่า หะดีษนี้เรียกว่า หะดีษมุตเฏาะร็อบ

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า مضطربมาจากรากศัพท์ اضطرب يضطرب اضطراباًแปลว่า เพี้ยน หรือซับซ้อนกัน

ตามหลักวิชาการ

หะดีษมุตเฏาะร็อบ คือ  หะดีษที่มีการรายงานที่หลากหลาย ซึ่งทุกสายรายงาน    มีสถานภาพเท่าเทียมกัน (อัตเฏาะหานะวีย์  หน้า 44)
 จากนิยาม  การที่จะเรียกหะดีษเป็นหะดีษมุตเฏาะร็อบได้นั้นต้องประกอบด้วยเงื่อนไข  2 ประการ
1.     กระแสรายงานที่ขัดแย้งกันไม่อาจประสานเข้ากันได้
2. กระแสรายงานมีสถานภาพเท่าเทียมกันไม่สามารถตัดสินเป็นอย่างอื่นได้เช่น กระแสรายงานใดเป็นเศาะหีหฺและกระแสรายงานใดเป็นเฎาะอีฟ
หากสามารถตัดสินหรือประสานเข้ากันได้ระหว่างกระแสรายงานของหะดีษ    ไม่เรียกว่า หะดีษมุตเฏาะร๊อบ  แต่เรียกกระแสรายงานที่ถูกต้องเป็นหะดีษมักบูลและ กระแสรายงานที่ผิดเป็นหะดีษมัรดูด

2.   ชนิดและตัวอย่างหะดีษมุตเฏาะร็อบ

หะดีษมุตเฏาะร๊อบสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในสะนัดและในมะตันหะดีษ  และบาง ครั้งอาจเกิดขึ้นทั้งสองด้านที่มาจากผู้รายงานคนเดียวกันหรือหลาย ๆ คน (อิบนุ อัศเศาะลาหฺ  : 84-85)
ชนิดที่ 1     หะดีษมุตเฏาะร็อบในสะนัด หมายถึง หะดีษที่รายงานจากบุคคลคนเดียวกันที่มีฐานะเท่ากันหรือมากกว่า แต่เกิดการขัดแย้งกัน หะดีษชนิดนี้เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่าง
حديث أبي بكر رضي الله عنه أنه قال : يا رسول الله أراك شبْتَ، قال : شيبتني هود وأخواتها ))
ความว่า   หะดีษอะบูบักร อัศศิดดีก t กล่าวว่า โอ้รสูลุลลอฮฺ ฉันเห็นท่านผมขาว ท่านกล่าวว่าสิ่งที่ทำให้ผมของฉันเป็นสีขาว คือ   ซูเราะฮฺฮูด และซูเราะฮฺที่เหมือนกัน” (อัตติรมิซีย์ : 5/402)
อิมามอัดดารอกุฏนีย์ กล่าวว่า  หะดีษบทนี้เป็นหะดีษมุตเฏาะร็อบ  เนื่องจากไม่มีการรายงานนอกจากอะบูอิสหากคนเดียวซึ่งได้รายงานขัดแย้งกับคนอื่นถึง 10 สาย       บางกระแสเป็นสะนัดมุรซัล   บางสะนัดเป็นสะนัดเมาศูล บางกระแสเป็นมุสนัด เช่น       มุสนัด อะบูบักรฺ มุสนัดสะอฺดและมุสนัดอาอิชะฮฺ ผู้รายงานตั้งแต่คนแรกจนถึงอะบูอิสหากมีสถานภาพษิเกาะฮฺไม่มีใครเหนือกว่ากันและไม่สามารถประสานกันได้ด้วย (อัสสุยูฏีย์ : 1/266)
ชนิดที่ 2    หะดีษมุตเฏาะร๊อบในมะตัน หมายถึงหะดีษที่มีการรายงานด้วยกระแสรายงานเดียวกันแต่สำนวนตัวบทขัดแย้งกัน หะดีษชนิดนี้มีน้อยกว่าชนิดที่หนึ่ง ตัวอย่าง
حديث عن شريك، عن أبي حمزة، عن الشعبيّ، عن فاطمة بنت قيس رضي الله عنها قالت : سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن الزكاة فقال : (( إن في المال لحقا سوى الزكاة ))
ความว่า จากฟาติมะฮฺ เบ็ญตุ กอยสฺ t   กล่าวว่า   เราะสูลุลลอฮฺ r  ถูกถามเกี่ยวกับ   ซะกาต  ท่านตอบว่าแท้จริงย่อมถือเป็นสิทธิ์ในทรัพย์สินนอกจากซะกาต” (อัตตัรมิซีย์ : 3/39)

ในเรื่องเดียวกันมีการรายงานอีกสะนัดหนึ่งที่แตกต่างในด้านตัวบทของหะดีษ คือ

عن فاطمة بنت قيس أنها سمع النبي صلى الله عليه وسلم يقول : (( ليس في المال حق سوى الزكاة ))

ความว่า   จากฟาติมะฮฺ เบ็ญตุกอยสฺซึ่งนางได้ยินจากท่านนบี r กล่าวว่าไม่ถือเป็นสิทธิ์ในทรัพย์สินนอกจากซะกาต” (อิบนุมาญะฮฺ : 1/582)

อิมามอัลอิรอกีย์ กล่าวว่า  หะดีษบทนี้เป็นหะดีษมุตเฏาะร็อบโดยไม่ต้องสงสัยและไม่จำเป็นต้องตีความเป็นอย่างอื่นแต่อย่างใด (อัลอิรอกีย์ : 1/244)
3.   ฐานะของหะดีษมุฏเฏาะร็อบ

หะดีษมุฏเฏาะร็อบเป็นหะดีษเฎาะอีฟ  เนื่องจากผู้รายงานหะดีษได้รายงานขัดแย้งกับผู้รายงานมีสถานภาพเดียวกัน

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

ไม่อนุญาตให้นำหะดีษมุตเฏาะร๊อบมาใช้เป็นหลักฐานด้วยสายรายงานของมันเอง  เว้นแต่มีกระแสรายงานอื่นที่ไม่ใช่หะดีษมุตเฏาะร๊อบซึ่งมีฐานะเดียวกันหรือเหนือกว่ามาสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นประเภทหะดีษมัรฟูอฺหรือประเภทหะดีษเมากูฟ
หากไม่มีสายรายงานอื่นมาสนับสนุน หรือสายรายงานอื่นมีฐานะต่ำกว่าฐานะของหะดีษมุฏเฏาะร็อบ เช่น หะดีษเฎาะอีฟญิดดันและหะดีษเมาฎูอฺ  สายรายงานลักษณะเช่นนี้ไม่สามารถให้การสนับสนุนได้  และหะดีษมุฏเฏาะร็อบไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้แม้ว่าสะนัดนั้นมีการรายงานหลายกระแสก็ตาม

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

 

1.كتاب المقترب في بيان المضطرب، الحافظ ابن حجر العسقلانيّ  


ชนิดที่ 5    หะดีษช๊าซ
 
หะดีษเฎาะอีฟที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในแง่ความจำเนื่องจากการขัดแย้งกันกับคนอื่นที่เหนือกว่า หะดีษในลักษณะนี้เรียกว่า หะดีษช๊าซ

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า شاذมาจากรากคำ شذ يشذ شذوذا وشاذاًแปลว่า แปลกกว่าสิ่งอื่น หมายถึง การรายงานที่ขัดแย้งกับการรายงานของคนอื่น

ตามหลักวิชาการ

หะดีษช๊าซ คือ  หะดีษที่รายงานโดยผู้รายงานษิเกาะฮฺขัดแย้งกับการรายงานของผู้ที่มีสถานะษิเกาะฮฺกว่า (อัลอัสเกาะลานีย์ : 37)
การขัดแย้งในที่นี้หมายถึง  การขัดแย้งระหว่างผู้รายงานที่ษิเกาะฮฺกับการรายงานของผู้รายงานที่ษิเกาะฮฺกว่า (อัลตะฮานะวีย์  หน้า 42) โดยการสังเกตจากสำนวนที่บอกสถาน ภาพของผู้รายงานจะใช้สำนวนระหว่างอิสิมมัศดัร (อาการนาม) กับอิสิมตัฟฎีล (นามตัฟฎีล)
ตัวอย่าง

การขัดแย้งหรือช๊าซเกิดขึ้นได้ทั้งในสะนัดและในมะตันหะดีษ

การขัดแย้งในสะนัด หมายถึง  การขัดแย้งในตัวบุคคลของนักรายงานหะดีษที่มีฐานะเหนือกว่า
การขัดแย้งในมะตัน หมายถึง   การขัดแย้งในตัวบทอันเนื่องมาจากการรายงานของนักรายงานที่มีฐานะต่ำกว่า

2.   ชนิดและตัวอย่างหะดีษช๊าซ

หะดีษช๊าซแบ่งออกเป็น  2  ชนิด คือ ช๊าซในสะนัดและช๊าซในมะตัน
ชนิดที่ 1     ช๊าซในสะนัด ตัวอย่าง
حديث عن ابن عيينة، عن عمرو بن دينار، عن عوسجة، عن ابن عباس أن رجلاً توفي على عهد رسول الله صلى الله عليه وسلم ولم يدع وارثاً إلاّ مولى هو أعتقه.
ความว่า  หะดีษจากอิบนุ อุยัยนะฮฺ จากอัมรฺ เบ็ญ ดีนาร จากเอาซะญะฮฺ  จากอิบนุอับบาส เล่าว่า  แท้จริงมีผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตในสมัยเราะสูลุลลอฮฺ r ไม่มีใครเลยที่เป็นทายาทของเขา เว้นแต่บ่าวคนหนึ่งที่เขาได้ปล่อยให้เป็นไท (อัตตัรมิซีย์ : 4/423 และอิบนุ มาญะฮฺ : 2/915)
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษช๊าซ เนื่องจากอิบนุอุยัยนะฮฺได้รายงานจากอัมรฺ เบ็ญ ดินาร (ษิเกาะฮฺจากเอาซะญะฮฺ   จากอิบนุอับบาส   ซึ่งขัดแย้งกับการรายงานของผู้รายงานที่มีฐานะเหนือกว่า (ษิเกาะฮฺกว่า) คือ หัมมาด เบ็ญ ซัยดฺ จากอัมรฺ เบ็ญ ดินาร จากเอาซะญะฮฺ จากอิบนุอับบาส ด้วยสำนวนดังนี้
عن ابن عباس أن رجلاً توفي على عهد رسول الله صلى الله عليه وسلم ولم يدع وارثاً إلاّ مولى هو أعتقه. قال : هل غيره من ورثته؟ قالوا : لا، إلاّ مولى هو أعتقه، فأعطاه إياه أو كما قال
ความว่า   จากอิบนุอับบาส t แท้จริงมีผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตในสมัยรสูลุลลอฮฺr และเขาไม่มีญาติ เว้นแต่คนรับใช้ที่เขาได้ไถ่ให้เป็นอิสระ ท่านนบีถามบรรดาเศาะหาบะฮฺว่า นอกจากคนรับใช้แล้วยังมีใครอีกบ้าง? เศาะหาบะฮตอบว่า  ไม่มีใครเลย นอกจากคนรับใช้คนนี้ที่เขาได้ให้ความเป็นอิสระแก่เขา  (ท่านนบี r ) ก็ยกมรดกให้เขา (คนรับใช้คนนั้น)” (อะบูดาวูด : 3/324)  หรือดังที่เขากล่าว


ชนิดที่ 2  ช๊าซในมะตัน  ตัวอย่าง
حديث عبدالواحد بن زياد، عن الأعمش، عن أبي صالح، عن أبي هريرة مرفوعاً : (( إذا صلى أحدكم الفجر فليضطجع عن يمينه ))
ความว่า  หะดีษอับดุลวาหิด เบ็ญ ซิยาด จากอัลอะอฺมัช จากอะบูศอลิหฺ จากอะบูฮุรอยเราะฮฺ  -มัรฟูอฺ- ท่านนบีกล่าวว่า  “เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าละหมาดซุบฮฺ (ละหมาดสุนัตก่อนซุบฮฺ) ก็จงนอนตะแคงด้านขวามือ” (อัตติรมิซีย์ : 2/281)
หะดีษบทนี้คือ หะดีษช๊าซ  เนื่องจากอับดุลวะฮีด เบ็ญ ซิยาฎ (ษิเกาะฮฺ) ได้รายงานในลักษณะหะดีษเกาลีย์ (หะดีษที่เป็นคำพูดของท่านนบี) ขัดแย้งกับการรายงานของสะอีด เบ็ญ อะบีอัยยูบ (อัลบุคอรีย์  : 3/43)  และการรายงานของอิบนุอัลวาริษ (มุสลิม : 6/16 และอิบนุมาญะฮฺ : 1/378)   ซึ่งทั้งสองมีฐานะษิเกาะฮฺกว่าได้รายงานในลักษณะหะดีษฟิอฺลีย์ (หะดีษที่เป็นการปฏิบัติของท่านนบี) มีสำนวนดังนี้
عن عائشة رضي الله عنها قالت : كان رسول الله صلى الله عليه وسلم إذا صلى ركعتي الصبح اضطجع على يمينه.
ความว่า   จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ t ได้กล่าวว่า เมื่อเราะสูลุลลอฮฺ r ละหมาดสองรอกะอัตซุบฮฺ (ละหมาดสุนัตก่อนซุบฮฺ) ท่านก็นอนตะแคงด้านขวามือ (มุสลิม : 6/16 และอิบนุมาญะฮฺ : 1/378)
จากการอธิบายข้างต้นจะเห็นได้ว่า   หะดีษช๊าซที่มีเพียงสะนัดเดียวของมันเอง    จะเป็นหะดีษเศาะหีหฺเพราะผู้รายงานแต่ละคนมีสถานะเป็นคนษิเกาะฮฺ  แต่หากหะดีษนั้นมีหลายสะนัดก็ต้องพิจารณาว่า การรายงานนั้นขัดแย้งหรือไม่  ในกรณีไม่ขัดแย้งก็ต้องใช้หลักการการประสานระหว่างหะดีษ  แต่เมื่อขัดแย้งกันสะนัดที่เหนือกว่าจะเป็นสะนัด   ที่เศาะหีหฺและอีกสะนัดหนึ่งจะเป็นหะดีษช๊าซ    ดังนั้น  การที่จะตัดสินว่าเป็นหะดีษช๊าซนั้นก็ต่อเมื่อมีการขัดแย้งกันกับสะนัดอื่นที่มาจากการรายงานของผู้รายงานที่มีสถานภาพ ที่ษิเกาะฮฺกว่า และหะดีษทั้งสองบทไม่สามารถจะประสานกันได้

3.   ฐานะของหะดีษช๊าซ

หะดีษช๊าซเป็นส่วนหนึ่งของหะดีษเฎาะอีฟ     เนื่องจากขาดคุณสมบัติของหะดีษมักบูล คือ  ขัดแย้งกับการรายงานของคนอื่นที่มีฐานะเหนือกว่า

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

หะดีษช๊าซด้วยสะนัดที่ขัดแย้งกันไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้  เว้นแต่เมื่อได้รับการสนับสนุนจากกระแสรายงานอื่นที่ติดต่อกันซึ่งมีฐานะเดียวกันหรือเหนือกว่า

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

 

ยังไม่มีหนังสือเฉพาะที่เขียนเกี่ยวกับหะดีษช๊าซ


ชนิดที่ 6     หะดีษมุเศาะหฺหัฟ

 
หะดีษเฎาะอีฟที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในแง่ความจำของผู้รายงานหะดีษ คือ  การผิดพลาดที่ทำให้เปลี่ยนแปลงตัวอักษร หะดีษในลักษณะนี้เรียกว่า  หะดีษมุเศาะหฺหัฟ

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า مصحفมาจากรากศัพท์ของ صحّف يصحّف تصحيفاًแปลว่า เปลี่ยนไป หรือแทนที่

ตามหลักวิชาการ

หะดีษมุเศาะหฺหัฟ คือ  หะดีษที่มีการเปลี่ยนตัวอักษรในสะนัดหรือในมะตัน     ซึ่งเป็นการรายงานที่ไม่เหมือนกับการรายงานของผู้ษิเกาะฮฺ (อัลเฏาะหานะวีย์ : 40)
หะดีษในลักษณะนี้มิใช่เป็นการขัดแย้งกันเหมือนกับหะดีษช๊าซซึ่งมีผู้รายงานสองคนได้รายงานขัดแย้งกัน  แต่เป็นการเปลี่ยนตัวอักษรเพียงหนึ่งตัวเท่านั้น ส่วนคำของมันยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนเป็นคำอื่น
การตัศหีฟสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในสะนัดและในมะตัน
การตัศหีฟในสะนัด หมายถึง   การเปลี่ยนตัวอักษรของชื่อผู้รายงานหะดีษ ส่วนการตัศหีฟในมะตันก็ หมายถึง   การเปลี่ยนตัวอักษรของตัวบทหะดีษ

2.   ชนิดและตัวอย่างหะดีษมุเศาะหฺหัฟ

หะดีษมุเศาะหฺหัฟมี  2 ชนิด คือ มุเศาะหฺหัฟในสะนัดและมุเศาะหฺหัฟในมะตัน
ชนิดที่ 1    มุเศาะหฺหัฟในสะนัด ตัวอย่าง
حديث رواه عن شعبة، عن العوّام بن مراجم، عن أبي عثمان، عن عثمان ابن عفان.
แปลว่า    หะดีษจากชุอฺบะฮฺ   จากอัลอัววาม เบ็ญ มุรอญิม   จากอะบู อุษมาน  จากอุษมาน เบ็ญ อัฟฟาน (มุสลิม : 8/18)
ส่วนยะหฺยา เบ็ญ มะอีนคราวรายงานหะดีษข้างต้นกล่าวว่า หะดีษจากชุอฺบะฮฺ จากอัลอัววาม เบ็ญ มุซาญิม จากอะบูอุษมาน จากอุษมาน เบ็ญ อัฟฟาน
ชนิดที่ 2    มุเศาะหฺหัฟในมะตันหะดีษ   ตัวอย่าง

อะบูบักร อัศศูลีย์คราวรายงานหะดีษข้างต้นกล่าวว่า

(( من صام رمضان وأتبعه شيئاً من شوال ... ))
ความว่า  ผู้ใดถือศีลอดในเดือนรอมะฎอนและถือศีลอดอีกบางวันของเดือนเชาวัล
ตัวบทหะดีษที่ถูกต้องคือ
عن أبي أيوب : (( من صام رمضان وأتبعه ستًّا من شوال .... ))
ความว่า   จากอะบูอัยยูบ เล่าว่า  เราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่า ผู้ใดถือศีลอดในเดือน เราะมะฎอนและได้ถือศีลอดอีกหกวันของเดือนเชาวัล ” (มุสลิม : 3/196)
 ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการตัศฮีฟนั้น คือ  มาจากการคัดลอกหะดีษจากตำราและการบันทึกโดยไม่ได้ฟัง (تلَقِّي) โดยตรงจากอาจารย์ด้วยวิธีการอ่าน  เพราะเหตุนี้ บรรดา          อุละมาอฺหะดีษได้มีการเตือนให้ระมัดระวังการปฏิบัติเช่นนั้น โดยกล่าวว่า  ห้ามรับหะดีษโดยยึดจากการบันทึก หรือรับหะดีษจากบุคคลอื่นที่รับหะดีษด้วยวิธีการคัดลอกจากหนังสือ

3.   ฐานะของหะดีษมุเศาะหฺหัฟ

หะดีษมุเศาะหฺหัฟเป็นส่วนหนึ่งของหะดีษเฎาะอีฟ  เนื่องจากขาดคุณสมบัติของ     หะดีษมักบูล คือ ความจำไม่ดี

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

การตัศหีฟที่เกิดจากการรายงานที่ผิดพลาดเป็นบางครั้งบางคราวไม่มีผลต่อการนำหะดีษมาใช้เป็นหลักฐานแต่อย่างใด   แต่หากการตัศหีฟนั้นเกิดจากการผิดพลาดบ่อยครั้งไม่อนุญาตนำมาใช้เป็นหลักฐาน  เว้นแต่มีหะดีษอื่นระบุอย่างชัดเจนของการตัศหีฟไม่ว่าในสะนัด หรือในมะตัน หะดีษอื่นนั้นมีฐานะเดียวกันหรือเหนือกว่า  หนึ่งสะนัดหรือมากกว่า

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

  

1.كتاب التصحيف، الإمام الدارقطنيّ    
2.كتاب إصلاح خطأ المحدثين، الإمام الخطّابيّ    
3.كتاب تصحيفات المحدثين، الإمام أبي أحمد العسكريّ    
ชนิดที่ 7     หะดีษมุหัรร๊อฟ

หะดีษเฎาะอีฟที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในแง่ความจำเนื่องจากความ       ผิดพลาดในการรายงานหะดีษทำให้เปลี่ยนแปลงสระเรียกว่า  หะดีษมุหัรร๊อฟ
2.            นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์

คำว่า محرفมาจากรากคำ حرَّف يحِّرف تحريفاًแปลว่า เปลี่ยนแปลง หมายถึง เปลี่ยนแปลงสระ

ตามหลักวิชาการ

หะดีษมุหัรร๊อฟ คือ   หะดีษที่มีการเปลี่ยนแปลงสระไม่เปลี่ยนตัวอักษร (อัตตะหานะวีย์ : 41)
การตะหฺรีฟมีทั้งในสะนัดและในมะตัน
1. การตะหฺรีฟในสะนัด หมายถึง เปลี่ยนสระของชื่อผู้รายงานหะดีษ 
2. การตะหฺรีฟในมะตัน หมายถึง เปลี่ยนสระของตัวบทหะดีษ

2.            ชนิดและตัวอย่างหะดีษมุหัรร๊อฟ

หะดีษมุหัรร๊อฟมี  2 ชนิด
ชนิดที่ 1    การตะหฺรีฟในสะนัด เช่น   ผู้รายงานชื่อ عَقِيْل เปลี่ยนเป็นعُقَيْل   จาก حَمْرٌ เปลี่ยนเป็น حَمْدٌ เป็นต้น
ชนิดที่ 2    การตะหฺรีฟในมะตัน ตัวอย่าง
عن جابر رضي الله عنه : (( رمي أُبَيّ يوم الأحزاب ))
แปลว่า  จากญาบิร  กล่าวว่า  อุบัยยิงธนูในสงครามอัลอะฮฺซาบ” (มุสลิม : 7/22)
หะดีษที่ถูกต้องได้รายงานตัวบทหะดีษกล่าวว่า
(( رمي أبيْ يوم الأحزاب ))
ความว่า พ่อของญาบิรยิงธนูในสงครามอัลอะฮฺซาบ
การเปลี่ยนแปลงในลักษณะเช่นนี้เป็นการเปลี่ยนเฉพาะสระเท่านั้น ส่วนคำยังเขียนในรูปเดิมของมันครบทุกตัวอักษร  ไม่ขาดตกบกพร่องแม้แต่ตัวอักษรเดียว

3.   ฐานะของหะดีษมุหัรร๊อฟ

หะดีษมุหัรร๊อฟเป็นส่วนหนึ่งของหะดีษเฎาะอีฟ    เนื่องจากขาดคุณสมบัติของ หะดีษเศาะหีหฺ คือ ความสับสน
4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

หะดีษมุหัรร๊อฟเหมือนกับหะดีษมุเศาะหฺหัฟทุกประการ

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีหนังสือที่แต่งขึ้นเฉพาะหะดีษมุหัรร๊อฟ

โจทย์ฝึกหัดเพิ่มเติม

1.  หะดีษมุอัลลั้ลหมายถึงหะดีษอะไร ?
2.  หะดีษมุอัลลั้กใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม อย่างไร ?
3.  ทำไมหะดีษมุอัลลั้กในเศาะหีหอัลบุคอรีย์หรือเศาะหีหฺมุสลิมใช้เป็นหลักฐานได้ ?
4.  หะดีษมุดร๊อจญ์หมายถึงหะดีษอะไร ?
5.  หะดีษมุดร๊อจญ์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด ?
6.  หะดีษมุดร๊อจญ์ใช้เป็นเป็นหลักฐานได้หรือไม อย่างไร ?
7.   หะดีษมักลูบหมายความถึงอะไร ?
8.  หะดีษมักลูบมะตันเป็นอย่างไร ?
9.  หะดีษมักลูบใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม อย่างไร ?
10. หะดีษมุฏเฏาะร๊อบหมายถึงหะดีษอย่างไร ?
11. หะดีษมุฏเฏาะร๊อบใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม อย่างไร ?
12. หะดีษมุฏเฏาะร๊อบสะนัดเป็นอย่างไร ?
13. หะดีษช๊าซหมายความถึงอะไร ?
14. คำว่า ช๊าช ตามทัศนะของอุละมาอฺหะดีษหมายถึงอะไร ?
15. หะดีษมุเศาะหฺหัฟหมายถึงหะดีษอะไร ?
16. หะดีษมุหัรร๊อฟหมายถึงหะดีษอะไร ?

2 ความคิดเห็น:

  1. جراك الله خيرالجزاء شيخ عبدالله كارينا الحمدلله قداستفدت من مقالة الشيخ تحت الموضوع:هدا مايتفلق بعلم الحديث ولك علم نافع حتىي يوم القيامة آمين

    ตอบลบ
  2. أنا اخوك في الله رضوان عبدالمجيد معلم بمعهد نهضة العلوم جالا حالا

    ตอบลบ