เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุป


สรุป
สาระสำคัญที่เป็นวาทกรรมในเรื่องที่เกี่ยวกับผู้หญิงในอิสลามที่มีความท้าทายของโลกสมัยใหม่ คือ การกระชาก ปลุกเร้าความสำนักของมุสลิมชายและหญิงให้ยอมรับในสภาพที่พวกเขาทั้งสองเป็น คือ เคาะลีฟะห์ของอัลลอฮฺในพื้นพิภพ ซึ่งเป็นสถานภาพที่พวกเขาจะต้องมีพันธะกิจและหน้าที่ที่กำหนดโดยอัลลอฮฺโดยตรง มิใช่เป็นหน้าที่ที่พวกเขาจะกำหนดโดยลำพัง ด้วยภาระหน้าที่ถูกกำหนดโดยอัลลอฮฺเป็นสิ่งที่มุสลิมทั้งชายและหญิงต้องน้อมรับนำไปปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัญหาหลักประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมมุสลิมปัจจุบันคือ การตีความทางศาสนาที่เกี่ยวกับผู้หญิงในอิสลามในสังคมมุสลิมปัจจุบันมากพอสมควร แต่ปัญหาการตีความส่วนมากจะเป็นประเด็นในการพิจารณาตีความว่ามัน ดี หรือ ไม่ดี เหมาะสม หรือ ไม่เหมาะสม ในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมมากกว่าคำว่า ได้ หรือ ไม่ได้ หรือ อนุมัติ หรือ ไม่อนุมัติ ในอิสลาม  เพราะคำว่าได้และไม่ได้ อนุมัติหรือไม่อนุมัติในอิสลามนั้นถูกกำหนดอย่างชัดเจนในอิสลาม คือ ในอัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านศาสดามูฮัมหมัด

ผู้หญิงในอิสลามกับความท้าทายในโลกสมัยใหม่


อิสลามได้กำเนิดขึ้นโดยนำเสนอสิ่งใหม่ๆที่สังคมมนุษย์ส่วนใหญ่ในสมัยนั้นไม่ทราบมาก่อนและเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่บางส่วนของชาวอาหรับปฏิเสธและต่อต้านหลักคำสอนของอิสลามเพราะไม่อาจจะรับสิ่งใหม่ๆที่นำเสนอโดยท่านศาสดามูฮัมมัดได้ ความจริงอีกประการหนึ่ง คือ อิสลามในฐานะที่เป็นศาสนาและวิถีชีวิตที่สามารถยินหยัดอยู่ได้ในกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมโลกนั้นเป็นเพราะอิสลามจะมีลักษณะที่เป็น Dynamic[1] และมีความเป็น Modernity ในธรรมชาติของหลักคำสอนของอิสลามอันบริสุทธิ์นั้นเอง
            อิสลามคือหลักการและแนวทางในการแก้ปัญหาโลกและสังคม ความเป็นสมัยใหม่ คือ กระแสที่นำเสนอต่อโลกและสังคมในสภาพที่โลกและสังคมกำลังคลั่งไคล้กับวัฒนธรรมบริโภคนิยมและความเจริญที่เป็นวัตถุนิยมเป็นหลัก ความเป็นสมัยใหม่ส่วนมากจะยึดติดกับความเป็นโลกียะ อย่างไรก็ตามความเป็นสมัยใหม่ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่อิสลามไม่ได้ปฏิเสธหรือต่อต้านแต่กลับกันอิสลามมองว่าความเป็นสมัยใหม่ที่เป็นประโยชน์กับมนุษยชาติและสังคมที่สอดคล้องกับหลักคำสอนอิสลามนั้นเป็นมรดกอันล้ำค่าที่มุสลิมจะต้องนำมาปรับใช้ปรับปรุงและพัฒนาเพราะมันเป็นมรดกตกทอดของมุสลิมที่มุสลิมได้ทำให้สูญหายไปเพราะแก่นแท้ในหลักคำสอนอิสลามจากอัลกุรอานและหะดีษของท่านศาสดาแล้ว คือ ความเป็นสมัยใหม่และใหม่กว่า ความเป็นสมัยใหม่ในโลกปัจจุบันหลายเท่าทวีคูณ ความเป็นสมัยใหม่ในส่วนนี้คือการมองมนุษย์ในฐานะศูนย์กลาง ของสรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลกจักรวาล และความเป็นสมัยใหม่อีกประการหนึ่งคือกระบวนการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นองค์รวม คือ พัฒนาความเป็นจิตนิยมและความเป็นวัตถุนิยมในตัวของมนุษย์อย่างควบคู่กันเพราะสองส่วนที่ได้กล่าวนั้นคือ ตัวตนอันเป็นศักยภาพที่แท้จริงของมนุษย์นั้นเอง อิสลามไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนรกและสวรรค์เป็นหลักเท่านั้น แต่อิสลามจะให้ความสำคัญในเรื่องที่เกี่ยวกับโลกปัจจุบันมากเท่าๆกัน ความเป็นจริงการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า(อัลลอฮฺ) มนุษย์กับมนุษย์และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เป็นกิจกรรมที่มนุษย์ต้องแสดงออกถึงปฏิสัมพันธ์ในเชิงความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆที่ได้กล่าวถึงในโลกที่เป็นปัจจุบันที่เขากำลังมีชีวิตอยู่ ความสัมพันธ์ในเรื่องดังกล่าวคือ ส่วนสำคัญที่กำหนดอนาคตของมุสลิมว่าจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นนรกหรือสวรรค์
อิสลามและมุสลิมได้เริ่มเข้ามาทางตอนใต้ของประเทศไทยในตอนต้นศตวรรษที่11(คือประมาณในปีค.ศ.1081 หรือ ค.ศ.1102) ในเมืองปาตานี (คือปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและบางส่วนของสงขลาในปัจจุบัน)และได้เข้ามาในส่วนกลางของประเทศไทยในต้นศตวรรษที่16 ในสมัยการปกครองของพระเจ้าเอกาทศรถ(1605-1620) แต่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นเชิงโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมคือประมาณในศตวรรษที่13 และ 14 เมื่อเจ้าเมืองและประชาชนในเมืองปาตานีได้เปลี่ยนมารับศาสนาใหม่คืออิสลาม และเมืองปาตานีได้ประกาศเป็นรัฐอิสลามอย่างเป็นทางการในค.ศ.ที่1457 ประวัติศาสตร์ในส่วนนี้ควรแก่ศึกษาเพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจในบริบทคำอธิบายของคำว่าความเป็นสมัยใหม่ หากว่าเรามิได้ยึดติดกับรูปแบบความเป็นสมัยใหม่ที่จะต้องเป็นสิ่งปรากฏขึ้นในศตวรรษที่20 และจะต้องเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของตะวันตก ที่เน้นความเป็นโลกียะเป็นหลัก อิสลามคือความเป็นสมัยใหม่ในช่วงนั้น ซึ่งใหม่ในเชิงนัยยะที่เป็นหลักคำสอนและใหม่ฝนเชิงที่เป็นวิถีชีวิตที่ได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงหลายๆส่วนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม เช่น ครอบครัว การศึกษาวัฒนธรรมและการเมืองของผู้คน ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนที่สุดถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะในพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศไทย คือ ปาตานีในอดีต (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนของสงขลาและพัทลุง) จากเดิมที่พื้นเหล่านี้มีฮินดูและพุทธเป็นแกนกลางในการกำหนดโครงสร้างทางสังคมไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางครอบครัว การศึกษา วัฒนธรรม และการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างทางสังคมที่ชายถูกกำหนดให้เป็นใหญ่ดังที่นักวิชาการเรียกสมัยนั้นว่าเป็น สังคมปิตาธิปไตย แต่อิสลามได้เข้าปรับเปลี่ยนใหม่ให้เกิดการยอมรับผู้หญิงคือส่วนหนึ่งยอมรับผู้หญิงคือส่วนหนึ่งของสังคมที่มีสถานภาพศักดิ์ศรีแห่งเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน การกำหนดสินสอด(มะฮัร)ของผู้หญิง การกำหนดสัดส่วนที่ผู้หญิงในอิสลามจะได้รับ การกำหนดสิทธิที่ลูกสาวจะได้รับไม่ว่าจะเป็นความรักเกียรติ และสิทธิด้านอื่นๆเป็นต้น
แต่เนื่องจากอิสลามในยุคสมัยนั้นได้มีการนำเสนออิสลามที่ไม่สมบูรณ์และเต็มรูปแบบคือ ส่วนมากเป็นการนำเสนอในเชิงพิธีกรรมมากว่าที่เป็นวิถีชีวิต ดังนั้นหลายๆส่วนที่มุสลิมโดยทั่วไปเข้าใจว่าความเป็นสมัยใหม่ที่ได้นำเสนอในรูปแบบต่างๆในปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่อิสลามห้ามและไม่อาจที่จะรับได้ โดยขาดการพินิจพิจารณาอย่างละเอียดและเป็นระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการหวนกลับศึกษาหลักการต่างๆที่ปรากฏในอัลกุรอานและหะดีษของท่านศาสดาในเชิงที่เป็น Positive View และการย้อนกลับศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคมที่เคยปฏิบัติในสมัยของท่านศาสดาและเศาะฮาบะฮฺที่นักวิชาการอิสลามศึกษาเรียกว่า Normamtive islam ซึ่งสองส่วนนี้มีส่วนสำคัญมากสำหรับมุสลิมและอิสลามที่เผชิญกับความท้าทายของความเป็นสมัยใหม่ในโลกปัจจุบันในเชิงที่สร้างสรรค์และพัฒนา
การท้าทายของโลกสมัยใหม่ที่มีกระแสแรงมากในปัจจุบันคือ เรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นประชาธิปไตย และอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นความท้าทายของผู้หญิงในอิสลาม คือ เรื่องบทบาทของผู้หญิงในโลกสมัยใหม่ทั้งที่เป็นเรื่องของการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รูปแบบและแนวคิดที่เป็นการท้าทายของโลกสมัยใหม่ต่อผู้หญิงอิสลามที่ได้กล่าวถึงหากว่าไม่นับรวมทั้งหมดที่เบ็ดเสร็จทั้งที่เป็นการ รูปแบบและแนวปฏิบัติของเสรี ความเท่าเทียมและประชาธิปไตยแล้ว หลายๆส่วนของหลักการเสรีภาพ ความเท่าเทียมและประชาธิปไตย คือ อิสลาม นั้นเอง หากว่าประชาธิปไตย หมายถึงสิทธิของผู้หญิงในการเลือกผู้นำ สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทั้งที่เห็นด้วยหรือเห็นต่างกับรัฐ สิทธิในการรับรู้ถึงข้อมูลข่าวสารและการตรวจสอบ สิทธิในการเป็นตัวแทนในองค์กรของภาครัฐและเอกชน สิทธิในการปกป้องความเป็นธรรมในสังคม และอื่นอีกมากมายที่ได้กำหนดไว้ในอิสลามย่อมเป็นเรื่องเดียวกับความเป็นสมัยใหม่ ที่หลายคเข้าใจผิดว่านั้นคือ ความท้าทายของมุสลิมและอิสลาม
นอกจากประชาธิปไตยตามนัยยะที่กล่าวถึงอำนาจอธิปไตย ต้องมาจากประชาชน(ทั้งที่เป็นชายและหญิง) ที่อิสลามเห็นต่างกัน คือ อำนาจอธิปไตยในอิสลามนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺในฐานะที่พระองค์เป็น     อิลาฮ(พระเจ้า)และเป็นร็อบ(พระผู้อภิบาล)ที่ทรงรอบรู้ดีที่สุดทั้งที่เป็นธรรมชาติ รายละเอียดและข้อเท็จที่เกี่ยวกับมนุษย์และสังคม ดังนั้นพระองค์เท่านั้นที่เหมาะสมในการกำหนดอำนาจอธิปไตยในการบริหารและจัดการโลกและสังคมอย่างเบ็ดเสร็จและสมบูรณ์ บทบาทของผู้หญิงในอิสลามในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งที่อิสลามและเป็นสมัยใหม่ที่ผู้คนได้นำมาโยงให้เห็นถึงความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งที่เป็นความจริงในอิสลามได้กำหนดบทบาทต่างๆของผู้หญิงอย่างชัดเจนในฐานะที่เป็นแม่และภรรยา แต่อย่าลืมว่าผู้หญิงยังมีอีกหนึ่งสถานะในฐานะที่เป็นเคาะลีฟะฮฺของอัลลอฮฺในโลกนี้(ตัวแทนของอัลลอฮฺ)ที่ผู้หญิงในอิสลามต้องมีพันธะกิจเฉกเช่นเดียวกับชาย(แต่จะไม่ทำลายภารกิจหลักที่กำหนด)บทบาทของผู้หญิงในอิสลามสามารถเป็นนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกรัฐมนตรีหรือแม้แต่ประธานาธิบดีได้ นอกจากตำแหน่งผู้นำสูงสุดของรัฐอิสลามคือ เคาะลีฟะฮฺหรือ    อิมามะตุล กุบรอ/อิมามะตุล อุซมา (Mustafa Sebai,1986)     บทบาททางด้านเศรษฐกิจและสังคมของผู้ในอิสลามเป็นบทบาทที่อิสลามเปิดโอกาสให้ทุกคนที่เท่าเทียมกัน[2] ตำแหน่ง CEO สำหรับผู้หญิงในอิสลามนั้นไม่ได้ถูกห่วงห้ามหรือจำกัดสิทธิแต่อย่างใด ดังที่ปรากฏหลักฐานในสมัยของท่านศาสดาและบรรดาเศาะฮาบะฮฺ จะมีผู้หญิงดำรงอยู่ในตำแหน่งต่างๆที่กล่าวมาอย่างหลากหลาย อาทิเช่น Ummu al-Mudair binti Qays เป็นนักธุรกิจที่รับซื้อและขายอิทผลัมที่ใหญ่ที่สุดในเมืองมะดีนะห์ในสมัยของท่านศาสดา  Asma binti Makramah bin Jandal เป็นนักธุรกิจหญิงนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันหอมในมะดีนะห์  al shifa binti Abdullah bin  abdusham al-Qurayshiyah เป็น CEO ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารตลาดใหญ่เมืองมะดีนะห์ (Shaikhah Suq al-Madinah) ในสมัยของอุมัร อิบนุ  คอฏฏอบ (Haji Faisl,1993) ปรากฏการณ์ที่ได้กล่าวถึงคือ รูปแบบที่อิสลามอนุมัติและส่งเสริมให้ผู้หญิงในอิสลามสามารถปฏิบัติในโลกปัจจุบัน ซึ่งแน่นอนหากว่าเรามุสลิม(ชาย)เปิดใจกว้างเราจะค้นพบโลกแห่งความเป็นในอิสลามมิใช่โลกที่เรา(ชาย)ได้หลอกสร้างขึ้นในโลกแห่งจิตนาการ



[1] อิสลามจะเป็นหลักคำสอนที่สองลักษณะที่สำคัญ คือ มีความคงที่และเปลี่ยนแปลงได้ หลักคำสอนอิสลามที่มีความคงที่จะเป็นหลักคำสอนที่เกี่ยวกับอากีดะห์หรือหลักการศรัทธาหรือความเชื่อในอิสลามโดยเฉพาะหลักศรัทธาหกประการและหลักการอิสลามที่ถูกกำหนดอย่างชัดแจ้งทั้งในอัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านศาสดา แต่หลักการปฏิบัติทางสังคมส่วนใหญ่แล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงบริบท ทางสังคมและวัฒนธรรมตลอดเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่ขัดกับหลักการที่ถูกกำหนดโดยอัฃกุรอานและหะดีษของท่านศาสดาในฐานะที่เป็นตัวบทในอิสลาม
[2] สำหรับผู้ชายนั้นมีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกเขาได้ขวนขวายไว้สำหรับผู้หรับผู้หญิงนั้นก็มีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกนางได้ขวนขวายไว้และพวกเจ้าจงขอต่ออัลลอฮฺเถิดจากความกรุณาของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้สิ่งทุกอย่าง (อัลกุรอาน 4:32)
และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงที่ศรัทธาต่างคนต่างเป็นมิตรของกันและกันและพวกเขาใช้แต่การดีและห้ามสิ่งต้องห้าม

การรับรู้ใหม่ในบทบาทของผู้หญิง


การรับรู้ใหม่ในบทบาทของผู้หญิงในอิสลามนั้นเป็นสิ่งท้าทายที่ได้ปรากฏขึ้นตั้งแต่ตอนต้นศตวรรษที่18 เมื่อนักคิดมุสลิมแนวปฏิรูปในโลกมุสลิมได้แสดงทรรศนะเพื่อปลดปล่อยความอ่อนแอและความล้าหลังของสังคมมุสลิมวนด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา การศึกษา สังคม เศรษฐกิจและการเมือง เป็นต้น เป็นยุคเริ่มต้นแห่งการฟื้นฟูโดยการนำหลักการอิสลามอันดั้งเดิม มาเสนอใหม่ที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งมีนักฟื้นฟูเหล่านั้นได้มีข้อสรุปว่ามุสลิมยุคปัจจุบันจำเป็นต้องย้อนกลับศึกษาและทบทวนดูปรากฏการณ์ต่างๆที่ได้บันทึกในอัลกุรอาน การปฏิบัติของท่านศาสดา(ซุนนะฮฺ)และศอฮาบะฮฺ ตลอดจนพี่น้องมุสลิมในยุคต้นที่ได้ยึดรูปแบบการปฏิบติตามอัลกุรอานและสุนนะฮฺอย่างเคร่งครัด ดังข้อสรุปของ Al-Faruqi(1974) ได้กล่าวว่า ความล้มเหลวของแนวคิดที่เป็นจารีตนิยมกับการนำเสนอกระบวนการคิดภายใต้กรอบความคิดของอิสลาม และการปฏิรูปสถาบันต่างๆสู่ความเป็นสมัยใหม่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคมเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการรับรู้ใหม่ในบริบทที่เป็นอิสลาม
            ท่านอิบนูตัยมียะหฺ นักปฏิรูปที่สำคัญคนหนึ่งของโลกมุสลิม ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเข้าใจถึงสาเหตุแห่งความตกต่ำของประชาชาติมุสลิมที่ดีมากท่านหนึ่ง โดยที่ท่านได้นำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาในสภาวะการตกต่ำและเสื่อมสลายของประชาคมมุสลิมในด้านต่างๆนั้นว่ามีเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่สามารถจะกอบกู้และแก้ปัญหาได้ คือ ประชาคมมุสลิมจะต้องหวนกลับเรียนรู้และทำความเข้าใจในแนวปฏิบติของมุสลิมยุคดั้งเดิม(คือแนวปฏิบติในสมัยของท่านศาดามและศอฮาบะฮฺเป็นหลัก) ดังที่ทราบกันดีว่าในสภาวการณ์ที่ประชาคมมุสลิมอ่อนแอนั้นมุสลิมพยายามปกป้องอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมอย่างที่สุด จนบางครั้งทำให้มีความคิดในลักษณะของชายขอบอันเนื่องมาจากความเกรงกลัวในการรับหรือปฏิสัมพันธ์กับแนวคิดสมัยใหม่ทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองได้
ดังนั้นมันจึงเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้การรับรู้ใหม่ในบทบาทของผู้หญิงในอิสลามนั้นไม่สามารถที่จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว แนวคิดอิสลามที่เกี่ยวกับบทบาทผู้หญิงในการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมนั้นมีความต้องการที่จะได้รับพิจารณาจากนักวิชาการทางด้านอิสลามศึกษาที่มีความเข้าใจตัวบท และเข้าใจในตัวบริบททางสังคมที่ลุ่มลึกและกว้างไกล นั้นคือความเป็นนักวิชาการอิสลามศึกษาที่มีวิสัยทัศน์นั้นเอง ดังนั้นในการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้หญิงในอิสลามที่ยั่งยืน การรับรู้ใหม่ในเรื่องเกี่ยวกับสถานภาพและบทบาทของผู้หญิงในอิสลามจำเป็นที่จะต้องให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ในกระบวนการปฏิรูปสามเรื่องที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิรูปทางด้านสังคม-การเมือง การปฏิรูปทางด้านการศึกษาและสนองความต้องการของประชาชาติมุสลิมต่อรูปแบบการพัฒนาในแบบฉบับของอิสลาม
            Jamaluddin al al-Afghani(1838-1897 C.E) นักปฏิรูปทางสังคมและการเมืองที่สำคัญของโลกมุสลิมได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับบทบาทของผู้หญิงในอิสามที่น่าสนใจ คือ ท่านกล่าวว่าความแตกต่างของบทบาทระหว่างชายและหญิงในสังคมมุสลิมนั้นสาเหตุมาจากความแตกต่างทางด้านการศึกษาเป็นหลัก มันเป็นด้วยเพราะความแตกต่างของวัฒนธรรมแต่ไม่ใช่ด้วยสาเหตุธรรมชาติที่แตกต่างกันไม่ ดังนั้นการที่ชายมีโอกาศแสดงบทบาทต่างๆในสังคมอย่างอิสระแต่ในขณะเดียวกันผู้หญิงจะต้องแสดงบทบาทที่อยู่ภายในครอบครัวเป็นเช่นการดูแลลูกและอื่นๆนั้น สืบเนื่องจากการศึกษาที่ทั้งสองได้รับไม่เท่าเทียมกัน หากว่าทั้งสองได้รับโอกสในการศึกษาที่เท่าเทียมกันแล้ว ท่านเชื่อว่าผู้หญิงจะต้องมีศักยภาพในการแสดงบทบาทต่างๆในสังคมที่เท่าเทียมกับชายทุกประการ และท่านยังมีความเชื่ออีกว่าชาติและสังคมมีความต้องการพลังการสร้างสรรค์ของผู้หญิงในการพัฒนาสังคมและประเทศอีกมากมาย (Haji Othman,1992)
            ผลกระทบที่เกิดจากการเสื่อมสลายอัตลักษณ์ของประชาชาติมุสลิมในอดีตนั้นมีผลอย่างใหญ่หลวงแม้นว่าในความเป็นจริงประชาชาติมุสลิมในปัจจุบันสามารถปลดแอกและประกาศความเป็นประเทศที่มีเอกราชแต่ปัญหาต่างๆทางด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก จากข้อมูล (Al-islam IX,1993) ปรากฏว่าประเทศมุสลิมที่มีเอกราชทางการเมืองแต่ประชาชนไม่รู้หนังสือมากกว่าร้อยละ 50-95 ของประชากรทั้งหมดมีจำนวนหลายสิบประเทศ แน่นอนประชาชาติมุสลิมในจำนวนนั้นจะมีจำนวนของผู้หญิงที่ไม่รู้หนังสือมากกว่าผู้ชายหลายเท่าตัว  Muhammad Abduh ได้ดำเนินการแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในสังคมมุสลิมโดยที่ท่านเน้นการให้ความรู้เรื่องสิทธิการศึกษาในอิสลามของผู้หญิงเป็นหลัก จนในที่สุดสังคมมุสลิมได้กำเนินระบบการศึกษาให้กับผู้หญิงอย่างเป็นระบบขึ้น เช่น ในปี1962 มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรได้เปิด และในปี1980 ได้มีการจัดสัมมนาร่วมระหว่างสถาบันต่างๆในประเทศคูเวตโดยมีมหาวิทยาลัยแห่งคูเวต ได้จัดสัมมนาเรื่องสถานภาพและบทบาทของสตรีในสังคม ซึ่งถือว่าเป็นการจุดประกายและกระแสการรับรู้ใหม่ในเรื่องผู้หญิงในสังคมอิสลามในยุคสมัยใหม่
            ความต้องการของประชาชาติมุสลิมต่อการพัฒนารูปแบบของอิสลาม เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องทำการปฏิรูป คือ การบริการทางสังคมโดยมีเพศชายเพียงเพศเดียวนั้นไม่อาจที่จะเติมเต็มความต้องการของสังคมอิสลามได้อย่างเต็มร้อย พลังการสร้างสรรค์ของผู้หญิงในสังคมอิสลามนั้นยังมีความต้องการในระดับที่สูง ประสบการณ์ในการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจเชิงเกษตรกรรมได้แสดงให้เห็นถึงภาพที่ชัดเจนที่สุดว่าพลังในการพัฒนาส่วนนี้ สังคมมุสลิมจะขาดพลังของผู้หญิงไม่ได้ ดังที่ได้ปรากฏในสังคมมุสลิมโดยทั่วไปรวมทั้งสังคมอิสลามในสมัยท่านศาดามูฮัมมัดในเมืองมะดีนะฮฺ โดยที่ผู้หญิงมุสลิมจำนวนมากในสมัยนั้นได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางเกษตรกรรมเคียงบ่าเคียงไหล่กับสามีหรือครอบครัว[1] เป็นต้น แม้นว่าโดยธรรมชาติของผู้หญิงต้องมีหน้าที่ในการเลี้ยงดูและอบรมลูกเป็นหลัก แต่นั้นหาใช่ว่าตลอดชีวิตของผู้หญิงจะต้องผูกพันกับภารกิจเหล่านั้นเสมอไป มันจึงไม่มีเหตุผลใดๆที่จะกำหนดกรอบว่าผู้หญิงในอิสลามนั้นห้ามทำกิจกรรมนอกบ้านเพราะจะกระทบกับภารกิจของผู้หญิงอันเป็นธรรมชาติที่ได้ถูกสร้างมา
            จริงอยู่อัลกุรอานได้กำหนดหลักการว่าผู้ชายนั้นต้องมีหน้าที่ในการในการหาปัจจัยทางเศรษฐกิจเพื่อหยังชีพต่อครอบครัว แต่นั้นหาใช่ว่าเป็นการห้ามมิให้ผู้หญิงในอิสลามทำกิจกรรมในการหาปัจจัยทางเศรษฐกิจด้วยแต่มันเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้หญิงในการที่จะต้องทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นภรรยาและแม่ของลูกเท่านั้นเอง แน่นอนพันธกิจในการสร้างสรรค์พัฒนาสังคมประเทศชาติในอิสลามนั้นมีนัยยะที่กว้าง คือ ต้องความเสียสละของผู้ชายและผู้หญิงในสังคมอิสลามที่เท่าๆกัน ดังที่ ฟารูกี ได้กล่าวเอาไว้ว่า ชีวิตในโลกนี้ไม่อนุญาตให้มนุษย์อบยู่อย่างขาดหลักการเสียสละ (Faruqi,1973) ดังที่เราได้ยอมรับโดยดุษฏีแล้วว่าโลกนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ทั้งสองเพศ ดังนั้นโดยหลักการในเชิงความรับผิดชอบทั้งสองเพศ คือ ชายหญิงในการพัฒนาสังคมอีกมากมายเพื่อที่จะแก้ปัญหาโรคร้ายที่รุมเร้าสังคม เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาการไม่รู้หนังสือ ปัญหายาเสพติด ปัญหาทางศีลธรรม และปัญหาการขาดความกตัญญูรู้คุณของเยาวชน เหล่านี้เป็นต้น
            การปฏิรูปความคิดประชาติมุสลิมต่อการพัฒนาในรูปแบบอิสลามนั้น คือ ต้องทำความเข้าใจว่าการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ คือ ข้อกำหนดในอิสลามประการหนึ่ง ดังที่ ฟารูกี กล่าวว่า การปฏิบัติทางเศรษฐกิจ คือ การแสดงออกของความศรัทธาในอิสลาม และอีกสำนวนหนึ่งที่กล่าวโดย iqbal   ซึ่งเป็นนักคิดมุสลิมชาวอินเดียที่ยิ่งใหญ่ โดยที่ท่านได้กล่าวว่า การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง คือ การแสดงออกของความศรัทธาในอิสลาม (Faruqi,1982) ภารกิจข้อหนึ่งของมุสลิม คือ การพัฒนาโลกด้วยการสร้างความสมบูรณ์ทั้งในด้านธัญญาหารและปัจจัยอื่นๆที่มีความจำเป็น อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่สำคัญในรูปแบบการพัฒนาในอิสลามนั้น คือ การพัฒนาทั้งหมดต้องตั้งอยู่บนหลักการอัตเตาฮีต คือ การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจต้องควบคู่กับการพัฒนาทางจิตวิญญาณ(อะกีดะฮอิสลามิยะฮ)ของมุสลิมควบคู่ด้วยกัน หรือ การพัฒนาที่รวมศูนย์ในหลักการความเป็นเอกภาพของอัลลอฮฺ คือ หลักการแห่งอัตเตาฮีตนั้นเอง



[1] ดังเช่นอัสมาอ บินติ อบูบักร น้องสาวท่านหญิงอาอีชะห์ เป็นเกษตรกรตัวอย่างของผู้หญิงในอิสลามที่ได้พัฒนาร่วมกันกับสามีซุบิร บิน เอาวาม (Ali Abdul wahab,1967,Al-Marah fil islam,Cairo-Arabic)
��่Q � � � p� � ��ียมกับผู้ชายทุกประการ หลักการอิสลามได้เน้นหนักในเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นพันธะกิจที่คนทั้งสองเพศจะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันคือ การให้ความร่วมมือในการประกอบความดีและการปกป้องปราบปรามในอันที่จะนำมาซึ่งความชั่วร้าย ดังที่อัลลอฮฺได้บัญญัติไว้ในอัลกรุอานไว้ความว่า “และพวกเจ้าจงช่วยเหลือกันในเรื่องคุณธรรมและความยำเกรงแต่พวกเจ้าอย่าได้ช่วยเหลือกันในเรื่องบาปและความเป็นศัตรูกัน(อัลกรุอาน5:2)กิจกรรมทางด้านการเมืองเป็นบทบาทของมุสลิมทุกคน(ชายและหญิง) ต้องร่วมกันรับผิดชอบในฐานะที่ทั้งสองเพศต่างได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเคาะลีฟะฮฺของพระองค์บนพื้นพิภพ สถานภาพของผู้หญิงในอิสลามด้านการเมืองการปกครองคือสถานะเดียวกันกับเพศชายโดยที่อิสลามได้กำหนดให้ทั้งสองเพศมีความรับผิดชอบร่วมกันโดยเฉพาะการธำรงไว้ซึ่งระบบการปกครองที่มีอัลกรุอานเป็นธรรมนูญและสุนนะฮฺของท่านศาสดาเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติในเรื่องนี้อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในอัลกรุอานความว่า และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงต่างคนต่างเป็นมิตรของกันและกันพวกเขาใช้แต่การดีห้ามสิ่งต้องห้าม พวกเขาดำรงละหมาด บริจาค ซะกาต ภักดีต่ออัลลอฮฺและศาสนฑูตของพระองค์พวกเขาเหล่านนั้นอัลลอฮฺจะทรงเมตตาเขาแน่นอนแท้จริงอัลลอฮฺทรงอำนาจอีกทั้งปรีชาญาณยิ่ง อัลกรุอาน9:17

การตกต่ำสถานภาพของผู้หญิงมุสลิม


การตกต่ำสถานภาพของผู้หญิงมุสลิม (The Decline in the Status of Muslim Woman)
            ฟารูกี (lsmail R al faruqi,1974) ได้กล่าวว่าการเสื่อมสลายของประชาชาติมุสลิมเกิดจากความเชื่อและเจตคติที่มุสลิมปฏิเสธและมิได้ให้ความสำคัญกับกิจการต่างๆที่เกี่ยวกับโลกเช่น กิจการทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง จากการยึดแนวปฏิบัติดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นจนในที่สุดทำให้สภาพสังคมมุสลิมในภาพรวมตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแอและเสื่อมลงอย่างสิ้นเห็นได้ชัด ทั้งในความเป็นจริงแนวคิดดังกล่าวคือ มุสลิมจะเมินเฉยโดยขาดความกระตื้อรื้อรนในการที่จะพัฒนากิจการต่างๆที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ซึ่งแน่นอนแนวคิดเหล่านั้นย่อมมีผลกระทบต่อสถานะของประชาชาติมุสลิมโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่จะมีต่อผู้หญิงมุสลิมมีความรุนแรงหลายเท่า จนในที่สุดผู้หญิงมุสลิมจำต้องยอมรับในบทบาทเฉพาะที่เกี่ยวกับกิจการในครอบครัวเป็นหลัก(lsmail R al faruqi,1969)
            สาเหตุสำคัญที่ทำให้สถานภาพของผู้หญิงมุสลิมตกต่ำมี 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
            ปัจจัยภายในที่สำคัญๆมีสามประการคือ การเปลี่ยนแปลงระบบทางการเมืองในสังคมมุสลิม การยอมรับระบบจริยธรรมทางสังคมที่ผิดแบบและการปิดประตูแห่งการอิจญ์ติฮาด ระบบการเมืองในอิสลามที่ได้กำหนดรูปแบบโดยท่านศาสดามุหัมมัดและได้สืบทอดโดยบรรดาเคาะลีฟะฮฺทั้งสี่(ค.ศ 632-ค.ศ 660)เป็นระบบที่ยึดมั่นในหลักการที่ได้กำหนดโดยอัลกรุอานอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะหลักการชูรอ (Consultation/การประชุมปรึกษาหารือกัน)และระบบการเลือกผู้นำ แต่ทั้งหมดที่ได้กล่าวถึงได้มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป จนในที่สุดระบบชูรอคงไว้เพียงแต่เงื่อนไขที่ให้ถูกต้องตามหลักการที่อิสลามกำหนดแต่มิใช่เป็นกระบวนการในการบริหารจัดการไม่ ระบบการเลือกตั้งถูกทดแทนด้วยระบบสืบทอดอำนาจอันเป็นฐานสำคัญของระบบประชาธิปไตย ทำให้ขบวนการประชาสังคมอิสลาม ซึ่งโดยปกติสังคมมุสลิมในสมัยท่านศาสดาและเคาะลีฟะฮฺทั้งสี่จะมีความเข้มแข็งกลับมีความอ่อนแอลง ทั้งนี้เพราะประชาสังคมถูกลิดรอนในสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญๆ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นรวมถึงเสรีภาพในการคัดค้านในสิ่งที่เป็นภัยต่อสังคม ผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวทำให้การแสดงความเห็นที่แตกต่างกับรัฐเป็นภัยอันใหญ่หลวงที่มีต่อปัจเจกบุคคลซึ่งบางครั้งจะนำมาถึงขั้นชีวิต ดันนั้นในสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าวทำให้สถานภาพของผู้นำในระดับต่างๆมีอำนาจอย่างล้นเหลือและได้นำมาซึ่งวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่ฟุ่มเฟือย สิ่งหนึ่งที่ปรากฏชัดคือ มีการสะสมทาสหญิงและทรัพย์สินที่มีค่าต่างๆเอื้อต่อความสุขในทางโลก(Hitti,1970) การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในลักษณะดังกล่าวได้สืบทอดมาจนถึงสมัยอับบาสียะฮฺและอุษมานียะฮฺ
            การยอมรับระบบจริยธรรมทางสังคมใหม่คือ การปฏิเสธความเป็นเอกลักษณ์บางประการของความเป็นโลกียะ(Secularist) อันเป็นสาเหตุเป็นประการหนึ่งที่นักคิดมุสลิมเชื่อว่ามีส่วนสำคัญทำให้ประชาชาติมุสลิมนั้นตกต่ำและล่มสลายจากวิถีชีวิตที่เป็นอิสลามอันบริสุทธิ์ การยอมรับระบบจริยธรรมทางสังคมใหม่นั้นเป็นผลิตผลที่เกิดจากชีวิตหลังจากการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองในสังคมมุสลิม นั่นคือ ผู้มีอำนาจและชนชั้นสูงในสังคมจะมีชีวิตอยู่อย่างฟุ่มเฟือยและนิยมความสุขในทางโลกเป็นหลัก ดังนั้นแนวคิดการใช้ชีวิตอย่างสมถะจะงเป็นแนวทางที่คิดว่าน่าจะเป็นแนวทางที่จะทำให้ประชาชาติมุสลิมมีความเข้มแข็งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งจากการนำเสนอแนวคิดดังกล่าวโดยผู้นำทางจิตวิญญาณบางคน ในที่สุดทำให้เกิดสังคมมุสลิมได้ยอมรับแนวคิดการปฏิเสธความเป็นโลกียะที่สมบูรณ์แบบและกลายเป็นจริยธรรมใหม่ทางสังคมที่ประชาสังคมมุสลิมส่วนหนึ่งได้ยอมรับอย่างสนิทใจ
            ปัจจัยภายนอกที่มีส่วนในการสร้างความตกต่ำคือ การปิดประตูแห่งการอิจญ์ติฮาดในสังคมวิชาการมุสลิม เป็นที่ทราบกันดีว่าหลังจากการสิ้นชีวิตของ al-Tabari (d.310 H.E/922C.E)จะไม่มีนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวกับฟิกฮฺที่โดดเด่น ส่วนหนึ่งเกิดจากความกดดันที่สังคมมุสลิมต้องตกอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองที่ไม่เอื้อต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการและในด้านต่างๆและอีกส่วนหนึ่งเนื่องจากการกำหนดแนวทางฟิกฮฺโดนนักปราชญ์ที่สำคัญๆของโลกมุสลิมก่อนหน้านั้น จนพัฒนาถึงระดับการกำเนิดแนวคิดความเป็น มาซาเฮ็บ ที่ค่อนข้างมีความสมบูรณ์แบบในระดับหนึ่ง ทำให้กระบวนการในการศึกษาวิจัยเพื่อดำเนินการอิจญ์ติฮาดในสังคมมุสลิมในสมัยนั้นมีน้อย จนในที่สุดในศตวรรษที่สี่ฮิจญ์เราะฮฺศักราชบรรดานักกฏหมายอิสลามต่างได้ปิดประตูแห่งการอิจญ์ติฮาดในสังคมวิชาการของมุสลิมที่มีต่อผู้หญิง คือ การละเมิดและลิดรอนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานภาพและสิทธิของผู้หญิงในอิสลามนั้นเอง
            ปัจจัยภานอกที่มีส่วนในการตกต่ำของสถานภาพของผู้หญิงในอิสลามนั้นมีสองสาเหตุสำคัญคือ สงครามครูเสดและการบุกยึดการเมืองของฮูลากู สงครามครูเสดเป็นการประกาศสงครามศาสนาระหว่างมุสลิมกับคริสต์เตียน Pope Urban ได้ประกาศที่เมืองเคลอร์มองค์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 1095โดยการเรียกร้องให้ชาวคริสต์เตียนที่มีความศรัทธาร่วมพลังในการต่อต้านและทำสงครามกับมุสลิม โดยที่มีจุดประสงค์หลักคือ เปลี่ยนศาสนาของมุสลิมให้เป็นคริสต์เตียน จากสงครามครูเสดที่ยาวนานประกอบด้วยฝ่ายมุสลิมเกิดความขัดแย้งภายในกันเอง จนในที่สุดอาณาจักรอิสลามที่ยิ่งใหญ่ก็ได้ถึงเวลาการล่มสลาย ผลกระทบจากสงครามครูเสดได้นำมาซึ่งความอ่อนแอของมุสลิมในด้านต่างๆอย่างเด่นชัด จนในที่สุดมุสลิมไม่อาจที่จะชี้นำประชาคมมุสลิมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเปิดโอกาสให้ขบวนการไซออนิกสต์สากลและขบวนการคริสต์เตียนปรับเปลี่ยนความคิดของประชาคมมุสลิมโดยผ่านกระบวนการต่างๆที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นระบบการสื่อสารมวลชน และระบบการพัฒนาสังคมในแนวใหม่อันเป็นต้นเหตุทำให้ประชาสังคมมุสลิมบางส่วนเข้าใจว่าการพัฒนาหรือความเจริญคือ ความเป็นตะวันตก
            การบุกยึดของฮูลากูต่อดินแดนมุสลิมจนในที่สุดฮูลากูได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำของอาณาจักรอิสลามในช่วงเวลาสั้นๆ แต่วิถีชีวิตแบบฮูลากูทรงมีอิทธิพลต่อประชาคมมุสลิมและได้หล่อหลอมสร้างวัฒนธรรมการมีชีวิตอยู่แบบฟุ่มเฟือยรวมถึงการสะสมหญิงทาสเป็นบารมีที่แสดงให้เห็นถึงความมีอำนาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งทำให้ความเป็นอยู่ของผู้หญิงนั้นตกต่ำ Philip K. Hitti 1970 ได้กล่าวว่าระบบฮาเร็มที่ได้รวบรวมทาสหญิงสาวที่งามและทาสชายเพื่อเป็นขันที นั้นได้ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปในสังคมมุสลิมและกิจกรรมภายในฮาเร็มนั้นจะประกอบด้วยการร้องรำทำเพลงและการเสพของมึนเมาเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินอันเป็นวิถีชีวิตแบบหนึ่งในสังคมชั้นสูงในสมัยนั้น
            จากสาเหตุปัจจัยทั้งภายในและภายนอกดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทำให้สถานภาพของผู้หญิงในยุคหลังของสังคมมุสลิมจะไม่ค่อยได้รับความสนใจจากสังคมมากนัก จนในที่สุดกลายเป็นที่มาของคำกล่าวขานที่ว่าผู้หญิงมุสลิมเป็นผู้ที่ถูกลกทอนสถานภาพและถูกกดขี่ในด้านต่างๆที่รุนแรงที่สุดสังคมหนึ่ง

สถานภาพผู้หญิงในอิสลาม


สถานภาพผู้หญิงที่กำหนดโดยอิสลามนั้นมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับสถานภาพผู้หญิงอาหรับก่อนสมัยอิสลาม สถานภาพผู้หญิงในอิสลามเป็นสถานภาพที่กำหนดโดยอัลลอฮฺ ด้วยการบัญญัติหลักการในอัลกรุอานและท่านศาสดาจึงมีบทบาทที่สูงยิ่งต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด ความเชื่อ ความศรัทธาและการปฏิบัติอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมและวิถีของมุสลิมที่มีต่อผู้หญิงครั้งยิ่งใหญ่ สถานภาพของผู้หญิงในอิสลามจึงเป็นสถานภาพที่สังคมไม่อาจเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของสถานะความเป็นอยู่ของผู้หญิงได้ เป็นสถานภาพที่สังคมอิสลามจะต้องน้อมรับและปฏิบัติตามอย่างที่สุด การเพิกเฉยหรือการปฏิเสธสถานภาพผู้หญิงในอิสลามที่จะกล่าวในส่วนนี้มีห้าประการที่สำคัญคือ สถานภาพผู้หญิงในอิสลามด้านศาสนา สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการศึกษา
สถานภาพทางด้านศาสนา(Religious Status)
            อิสลามเป็นศาสนาที่ไม่มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนจะไม่มีบุคลากรพิเศษทางด้านศาสนาอย่างเช่น พระหรือนักบวช และอิสลามมิได้เป็นศาสนาที่แยกกิจกรรมทางศาสนาและโลกออกจากกัน อย่างไรก็ตามนักวิชาการทางด้านกฏหมายอิสลามได้กำหนดกรอบกิจกรรมที่เป็นศาสนา อย่างบริสุทธิ์คือหลักการอิสลามห้าประการ(หะดีษบันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม)คือการกล่าวคำปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก   อัลลอฮฺ ละหมาดวันละห้าเวลา ถือศีลอดในเดือนเราะมาฎอน จ่ายทานซะกาตและประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองมักกะฮฺ ซึ่งหลักการทั้งห้าได้ถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่และพันธะทางศาสนาของมุสลิมที่เป็นชายและหญิงโดยเท่าเทียมกัน(อัลกรุอาน2:43,20:132,2:183,2:43,3:96-97,23:1-5,9:71)
            อิสลามเป็นศาสนาที่เรียบง่ายที่มุสลิมทุกคนสามารถเข้าถึงได้ สานภาพของมุสลิมในด้านศาสนาทุกคนจะอยู่ในระดับเดียวกันทั้งหมด(อัลกรุอาน33:36,8:2-4,2:24,2:112,9:71)โดยจะไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศ เชื้อชาติและสีผิว เพราะมุสลิมที่ดีในทัศนะของอิสลามคือผู้ที่ตักวาหรือยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(อัลกรุอาน49:13)มิใช่มุสลิมที่เป็นชายหรือเป็นหญิง สถานภาพของผู้หญิงทางด้านศาสนาในอิสลามนั้นจะเท่าเทียมกับชายทุกประการเริ่มต้นจากการยึดมั่นหรือการศรัทธาในหลักการศาสนา การประกอบศาสนกิจตามหลักศาสนา การดุอาหรือการขอพรเพื่อความโปรดปรานและอภัยโทษจากอัลลอฮฺและผลตอบแทนที่จะได้รับในการปฏิบัติตามศาสนกิจ คือ โดยสรุปกิจกรรมทางศาสนาทั้งหมดได้ถูกกำหนดในสถานภาพที่เท่าเทียมกัน(อัลกรุอาน9:17,3:195,9:68)
สถานภาพทางด้านสังคม(Social Status)
            หลักคำสอนอิสลามที่ศาสดามุฮัมหมัดได้นำมาเผยแผ่แก่สังคมเป็นคำสอนที่ยอมรับในสถานภาพ เกียรติและศักดิ์ศรีของผู้หญิงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ จึงเป็นที่มาคำกล่าวของนักปราชญ์มุสลิมอาหรับว่า หญิงคือเสาหลักของประเทศชาติ หากว่านางดีประเทศชาติจะเจริญ หากว่านางเลวประเทศชาติก็จะล่มจม เป็นคำกล่าวที่ยอมรับและให้ความคาดหวังต่อพลังแห่งการสร้างสรรค์ของผู้หญิงในสังคมอิสลามที่สูงยิ่ง โดยประหนึ่งว่าคุณภาพและประสิทธิภาพของผู้หญิงคือหลักประกันคุณภาพและประสิทธิภาพของเยาวชนมุสลิมในอนาคต
            สถานภาพของผู้หญิงในสังคมอิสลามนั้นจะได้รับการยอมรับในทุกสถานะที่ผู้หญิงเป็น เช่น ลูกสาว ภรรยา แม่ พี่หรือน้องสาวดังภาพที่ปรากฏในสมัยศาสดาว่าสถานภาพของผู้หญิงในสถานะต่างๆในสังคมมุสลิมนั้นจะได้รับการยอมรับในระดับที่สูงอย่างเช่น ลูกสาวในสังคมอิสลามจะต้องได้รับความรักและการยอมรับจากบิดา มารดาเหมือนกับลูกชาย ท่านศาสดาได้กำชับให้มุสลิมมอบความรักต่อลูกสาว โดยที่ท่านได้กล่าวไว้ความว่า เจ้าอย่าบังคับบุตรสาวของท่านเพราะหล่อนคือมุนีซะฮฺที่มีราคายิ่ง (หะดีษบันทึกโดยอะหมัดและฏอบารอนีจากอุกบะฮฺ บินอามิรฺ) ด้วยเพราะความรักและความห่วงใยที่พ่อและแม่มีต่อลูกสาวนั้นผลที่เขาจะได้รับในโลกอะคีเราะฮฺคือ สวรรค์(หะดีษบันทึกโดยอะบูดะวูด อะหมัดอละอัลฮากิมจากอิบนุอับาส)และในอีกบทหนึ่งของหะดีษท่านศาสดากล่าวว่า ใครที่มีบุตรสาวสามคนโดยที่เขาอดทนต่อการเลี้ยงดูในทุกสภาวการณ์ไม่ว่าจะยากเข็ญหรือสะดวกสบาย เขา(บิดาและมารดา)จะได้เข้าสวรรค์ด้วยเพราะเราะห์มัต(โปรดปราน)ของอัลลอฮฺที่มีต่อบุตรสาวเหล่านั้น ต่อมาได้มีชายคนหนึ่งถามว่า โอ้ท่านศาสดาหาว่ามีบุตรสาวเพียงสองคนจะเป็นเช่นไร ท่านศาสดาตอบว่ามีสองคนก็เช่นเดียวกัน ชายคนหนึ่งถามต่ออีกว่า โอ้ท่านศาสดาหากว่ามีบุตรสาวเพียงคนเดียวจะเป็นอย่างไรท่านศาสดาตอบว่าแม้นว่าคนเดียวก็เช่นกัน(หะดีษที่บันทึกโดยอัลฮากิม จากอบูฮุรอยเราะฮฺ)
            สถานภาพของภรรยาในอิสลามจะมีสถานะเท่าเทียมกันกับสามี ดังปรากฏหลักฐานที่อัลลอฮฺได้ตรังไว้ว่าภรรยานั้นมีสถานะเป็น คู่ครอง ของสามี จุดประสงค์ที่พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นเพศชายและเพศหญิงนั้นเพื่อให้ทั้งสองเป็นคู่ครองซึ่งกันและกัน ดังนั้นภารกิจหลักของสามีและภรรยาในอิสลามจะต้องเอาใจใส่ ถนอมน้ำใจ สร้างความรักความเข้าใจระหว่างกัน มิใช่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องปรนนิบัติเอาอกเอาใจอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพิเศษ สามีในอิสลามมิได้มีสถานภาพเหนือกว่าภรรยาอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน อัลลอฮฺได้อุปมาเรื่องดังกล่าวไว้ในอักรุอานว่าภรรยานั้นเสมือนหนึ่งเป็นอาภรณ์ของสามีและสามีเป็นอาภรณ์ของภรรยา(อัลกรุอาน2:187) ด้วยความรัก ความเข้าใจที่มานีและภรรยาให้ต่อกันคือความสงบและความสุขที่แท้จริงที่เขาทั้งสองต่างจะได้รับ(อัลกรุอาน30:21) ภรรยาในอิสลามเป็นผู้ที่มีเกียรติ เพราะภรรยาเป็นทั้งกำลังใจ เป็นที่ปรึกษาและเป็นผู้ปกป้องเกียรติศักดิ์ศรีและทรัพย์สินของผู้เป็นสามี ดังที่ศาสดาได้กล่าวความว่า สิ่งที่ดีที่สุดในโลกคือคู่ครอง(ภรรยา) ศอลีฮะ เมื่อเจ้ามอง(นาง)เจ้าจะสบายใจและเมื่อเจ้าจาก(นาง)จะช่วยปกป้องและรักษา(เกียรติยศและทรัพย์สมบัติของเจ้า) (หะดีษบันทึกโดยมุสลิมและอิบนุมาญะฮฺ) ดังนั้นท่านจึงได้กำชับให้มุสลิมปฏิบัติต่อภรรยาด้วยดีเพราะนางนั้นเป็นอามานะที่อัลลอฮฺทรงมอบให้และเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนดในสิ่งที่หะรอมให้หะลาล(หะดีษบันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม)
            แม่ เป็นอีกสถานภาพหนึ่งที่อิสลามให้ความหมายที่สูงยิ่ง แม่เป็นบุคคลที่มีความดีงามและความประเสริฐ เป็นบุคคลที่อัลลอฮฺได้สร้างขึ้นเพื่อให้บุคคลอื่นทำความดีและเคารพ พระองค์ได้สั่งเสียว่ามนุษย์ต้องทำดีต่อพ่อและแม่ โดยเฉพาะแม่ซึ่งเป็นผู้ที่ได้เสียสละด้วยการอุ้มครรภ์และคลอดลูกตลอดจนเลี้ยงดูด้วยการให้น้ำนมมากกว่าสามสิบเดือน(อัลกรุอาน46:15) ดังนั้นมิใช่เป็นเรื่องเหนือกว่าเหตุผลที่ท่านศาสดาได้กล่าวประกาศไว้ว่า สวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้าของมารดา (หะดีษบันทึกโดยอัฏฏอบารอนี) แม่มีสถานภาพในระดับที่สูงยิ่ง อัลลอฺฮฺได้ตรัสในเรื่องเดี่ยวกันความว่าและพระเจ้าของเจ้าบัญชาว่า พวกเจ้าอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากพระองค์เท่านั้นและจงทำดีต่อบิดามารดาเมื่อผู้ใดในทั้งสองหรือทั้งสองบรรลุสู่วัยชราอยู่กับเจ้าดังนั้นอย่ากล่าวแก่ทั้งสองว่า อุฟ และอย่าขู่เข็ญท่านทั้งสองและจงพูดด้วยท่านทั้งสองถ้อยคำที่อ่อนโยน(อัลกรุอาน17:23) ท่านศาสดาได้กล่าวถึงสถานะของแม่เมื่อเศาะหาบะฮฺได้ถามเขาว่าใครคือบุคคลที่ควรทำดีมากที่สุด ท่านได้ตอบว่า แม่ แม่ และ แม่แล้วจึงเป็นพ่อ (หะดีษรายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิม)
 ความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีต่อมุสลิมอยู่บนพื้นฐานความพึงพอใจของบิดามารดาเป็นหลัก ดังนั้นการทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ในอิสลามนั้นเป็นกุศลบุญที่ยิ่งใหญ่ที่เราจำได้รับจากอัลลอฮฺ(อัลกรุอาน46:15)
            พี่สาวและน้องสาวเป็นอีกสถานภาพหนึ่งที่อิสลามให้ความสำคัญ ท่านศาสดาได้กำชับให้มุสลิม(ชาย)สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและให้ความเคารพรักต่อพี่สาวและน้องสาวด้วยการดูแลเอาใจใส่ในความทุกข์สุข การปฏิบัติดีต่อทั้งสองเป็นสิ่งที่ประเสริฐ การใช้จ่ายเลี้ยงดูต่อพี่หรือน้องสาวให้สามารถอยู่ได้อย่างมีความสุขจะเป็นม่านป้องกันเขา(ชาย)จากไฟนรก(หะดีษบันทึกโดยอิบนุอะสากัร)และการสมาคมที่ดีต่อกันจะได้รับผลตอบแทนสวรรค์จากอัลลอฮฺ(หะดีษบันทึกโดยอิมามอะหมัด จากอิบนุอับบาส) ดังภาพที่ปรากฏเมื่อท่านได้ปฏิบัติต่อพี่สาวร่วมแม่นมของท่าน(ลูกสาวของนางฮาลีมะฮฺ) เมื่อครั้งที่กองทัพมุสลิมได้จับเฉลยศึกในสงครามฮุนัยนฺและหนึ่งในจำนวนนั้นมีพี่สาวร่วมแม่นมของท่านด้วย เมื่อได้ทราบข่าวท่านศาสดาได้ไปเยี่ยมนางด้วยตัวของท่านเองและเมื่อได้พบหน้าท่านศาสดาได้ทอดเสื้อคลุมของท่านปูบนพื้นพร้อมเชื้อเชิญให้พี่สาวร่วมแม่นมของท่านนั่งเพื่อเป็นการแสดงถึงความรักและการให้เกียรติที่มีต่อพี่สาวร่วมแม่นม
สถานภาพทางด้านการเมือง
            การเมืองการปกครองในอิสลามเป็นประเด็นที่นักวิชาการและนักสตรีนิยม(Feminism) ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณาและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขว้าง ทั้งที่ความเป็นจริงผู้หญิงในอิสลามนั้นจะมีสถานภาพทางด้านการเมืองในหลักการที่เท่าเทียมกันและจะได้รับการยอมรับในสิทธิและบทบาทขั้นพื้นฐานในด้านการเมืองและการปกครองอย่างสมบูรณ์ที่เท่าเทียมกับผู้ชายทุกประการ หลักการอิสลามได้เน้นหนักในเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นพันธะกิจที่คนทั้งสองเพศจะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันคือ การให้ความร่วมมือในการประกอบความดีและการปกป้องปราบปรามในอันที่จะนำมาซึ่งความชั่วร้าย ดังที่อัลลอฮฺได้บัญญัติไว้ในอัลกรุอานไว้ความว่าและพวกเจ้าจงช่วยเหลือกันในเรื่องคุณธรรมและความยำเกรงแต่พวกเจ้าอย่าได้ช่วยเหลือกันในเรื่องบาปและความเป็นศัตรูกัน(อัลกรุอาน5:2)กิจกรรมทางด้านการเมืองเป็นบทบาทของมุสลิมทุกคน(ชายและหญิง) ต้องร่วมกันรับผิดชอบในฐานะที่ทั้งสองเพศต่างได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเคาะลีฟะฮฺของพระองค์บนพื้นพิภพ สถานภาพของผู้หญิงในอิสลามด้านการเมืองการปกครองคือสถานะเดียวกันกับเพศชายโดยที่อิสลามได้กำหนดให้ทั้งสองเพศมีความรับผิดชอบร่วมกันโดยเฉพาะการธำรงไว้ซึ่งระบบการปกครองที่มีอัลกรุอานเป็นธรรมนูญและสุนนะฮฺของท่านศาสดาเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติในเรื่องนี้อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในอัลกรุอานความว่า และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงต่างคนต่างเป็นมิตรของกันและกันพวกเขาใช้แต่การดีห้ามสิ่งต้องห้าม พวกเขาดำรงละหมาด บริจาค ซะกาต ภักดีต่ออัลลอฮฺและศาสนฑูตของพระองค์พวกเขาเหล่านนั้นอัลลอฮฺจะทรงเมตตาเขาแน่นอนแท้จริงอัลลอฮฺทรงอำนาจอีกทั้งปรีชาญาณยิ่ง อัลกรุอาน9:17
สถานภาพทางด้านเศรษฐกิจ(Economics Status)
            เศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักที่ปัจเจกบุคคล ครอบครัวและสังคมให้ความสำคัญในระดับต้นๆ การแก่งแย่งเพื่อที่จะครอบครองและมีสถานภาพทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อกลุ่มและพวกพ้องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นเรื่องปกติ จากจุดนี่เองทำให้ที่อ่อนหรือไม่มีอำนาจที่เข้มแข็งพอเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสมและไม่มีสถานภาพในการที่จะครอบครองปัจจัยต่างๆทางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นโดยส่วนมากสังคมตะวันตกหรือตะวันออกต่างไม่เปิดโอกาสและลิดรอนสถานภาพของผู้หญิงในด้านเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ศาสนาอิสลามได้เปิดมิติใหม่ในสิ่งที่สังคมอื่นส่วนมากไม่ค่อยปฏิบัติกันนั้นคือ การให้โอกาสและกำหนดสถานภาพให้สตรีมีสิทธิในด้านต่างๆทางด้านเศรษฐกิจโดยสมบูรณ์เหมือนกับชายโดยครอบคลุม         ในสามประเด็นหลักทางด้านเศรษฐกิจคือ การครอบครองทรัพย์สิน การใช้จ่ายในทรัพย์สินและการรับมรดก อิสลามได้ยอมรับและกำหนดสถานภาพของผู้หญิง โดยครอบคลุมในสิทธิต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างสมบูรณ์ อาทิเช่น สถานภาพและสิทธิในด้านการซื้อขาย การเช่า การโอนหรือมอบฉันทะ การทำพินัยกรรม เป็นต้น ในเรื่องดังกล่าวอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในอัลกรุอานว่า สำหรับผู้ชายนั้นมีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกเขาได้ขวนขวายไว้และสำหรับผู้หญิงนั้นก็มีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกนางขวนขวายไว้และพวกเจ้าจงขอต่ออัลลอฮฺเถิดจากความกรุณาของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง    (อัลกรุอาน4:32)
            สถานภาพทางด้านมรดกของผู้หญิงในอิสลามนั้นเป็นเรื่องที่ถูกกำหนดโดยอัลลอฮฺในอัลกรุอานอย่างชัดเจนคือ  “สำหรับบุรุษนั้นพวกเขาได้รับสิทธิจากส่วนหนึ่งของทรัพย์สินอันเป็นมรดกตกทอดของพ่อแม่และบรรดาญาติและสำหรับสตรีก็มีสิทธิ์ในทรัพย์สินอันเป็นมรดกตกทอดของพ่อแม่และบรรดาญาติไม่ว่าจะมีจำนวนมากหรือน้อยก็ตามทั้งนี้ต้องเป็นไปตามส่วนแบ่งที่ได้กำหนดไว้ (อัลกรุอาน4:176)
สถานภาพทางด้านการศึกษา
            อิสลามได้ให้ความสำคัญในด้านการศึกษาในระดับที่สูงมาก โดยสังเกตโองการแรกของอัลกรุอานที่ที่อัลลอฮฺได้ประทานลงมาต่อท่านศาสดามุหัมมัดเป็นโองการที่เกี่ยวกับกระบวนการการศึกษา(อัลกรุอาน96:1-5) การศึกษาในอิสลามได้ถูกกำหนดให้เป็นเรื่องความจำเป็นหลัก สำหรับมุสลิมทั้งหมดดังที่ท่านศาสดาได้กล่าวว่า การศึกษาเป็นฟัรฎู(ความจำเป็น)ต่อมุสลิมทั้งมวล(หะดีษบันทึกโดยบัยฮะกีย์)
การศึกษาในความหมายของอิสลามคือ การยกระดับสถานภาพของหญิงและชายให้ดีขึ้น(อัลกรุอาน2;269) ความสำคัญของการศึกษาอัลลอฮฺได้สอนให้มุสลิมทั้งชายและหญิงเพียรขอพรจากพระองค์เพื่อความโปรดปรานในการเพิ่มพูนในความรู้(อัลกรุอาน20:114)
สถานภาพด้านการศึกษาของผู้หญิงในอิสลามนั้นได้ถูกกำหนดสถานภาพและมีระดับความสำคัญที่เท่าเทียมกับชายทุกประการ ท่านศาสดาได้กล่าวถึงผู้ปกครองที่ดูแลและส่งเสริมให้บุตรีได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีนั้นจะเป็นม่านป้องกันระหว่างผู้ปกครองกับไฟในนรก(หะดีษบันทึกโดยบุคอรีย์) และในอีกบทหนึ่งของหะดีษท่านศาสดาได้กล่าวว่า ผู้ใดได้เลี้ยงดูลูกสาวสามคน โดยให้การศึกษาและอบรมมารยาทที่ดีให้พวกเขา จัดการแต่งงานให้พวกเขาและเลี้ยงดูพวกเขาเป็นอย่างดีสำหรับเขา(บิดามารดา)คือ สวรรค์หะดีษรายงานโดยอบูดาวูด

กระบวนทัศน์อิสลามเกี่ยวกับผู้หญิง


กระบวนทัศน์อิสลามเกี่ยวกับผู้หญิงตั้งอยู่บนหลักการอิสลามที่สำคัญสามหลักการคือ หลักการนัฟซุนวาฮีดะฮฺ หลักการอิสติคลาฟและหลักการอีมานและอามัล ซึ่งหลักการทั้งสามจะเป็นกรอบในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับผู้หญิงในอิสลาม
1. หลักการนัฟซุนวาฮีดะฮฺ (One Soul)
อัลกรุอานเป็นทางนำ(ฮุดา) และแนวทางสำหรับมนุษย์ที่มีความยำเกรง(ตักวา) ต่ออัลลอฮฺ(อัลกรุอาน2:2)อัลกรุอานในฐานะที่เป็นทางนำจะประกอบด้วยสาระสำคัญสามส่วนคือ ส่วนที่เกี่ยวกับการศรัทธา(อะกีดะฮฺ/อีมาน) ส่วนที่เกี่ยวกับหลักการจริยธรรมและกฎหมาย(อัคลาสและชะรีอะฮฺ) และส่วนที่เป็นกฏเกณฑ์ทางสังคมและรัฐ(Abdurrahman 1998) ความหมายโดยอัลกรุอานคือ ครรลองในการจัดการชีวิตของมุสลิมให้สอดคล้องกับวิถีแห่งอิสลามที่ครอบคลุมในทุกมิติอย่างครบถ้วน อัลกรุอานจึงเป็นทั้งทางนำและครรลองในการจัดการชีวิตมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุด หลักการที่ได้กำหนดโดยอัลกรุอานจึงเป็นบรรทัดฐานที่มุสลิมทุกคนต้องเชื่อและปฏิบัติ
            หลักการ นัฟซุนวาฮีดะฮฺ เป็นหลักการเบื้องต้นที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในอัลกรุอาน ความว่า มนุษยชาติทั้งหลาย จงยำเกรงพระเจ้าของพวกเจ้าที่ได้บังเกิดพวกเจ้ามาชีวิตหนึ่ง (อัลกรุอาน 4:1) เป็นหลักการที่อัลลอฮฺได้กำหนดสถานะของผู้หญิงให้มีความเท่าเทียมกับชายและเป็นที่มาของหลักการสถานภาพ หลักการศักดิ์ศรี และหลักการสิทธิของผู้หญิงในอิสลาม
            จากโองการข้างต้นมีคำหลักสองคำที่จะต้องทำความเข้าใจคือคำว่า นาส และ นัฟซุนวาฮีดะฮฺ คำว่านาส ในโองการข้างต้นหมายถึงมนุษย์ทั้งสองเพศ (Al fakhr al razi อ้างใน Andek Musnah 2001) และคำว่า นัฟซุนวาฮีดะฮฺ ซึ่งนักอรรถาธิบายอัลกรุอานส่วนใหญ่ได้ให้คำอธิบายว่าหมายถึง อดัม
( al Qurtabi 1967, 3:3อ้างใน Andek Musnah 2001) อันหมายถึงบรรพบุรุษของมนุษย์คู่แรก(อดัมและอีฟ)ที่อัลลอฮฺได้สร้างขึ้น พระองค์นั้นคือ ผู้ที่ได้ทรงบังเกิดพวกเจ้าจากชีวิตเดียว (คือ ท่านนบีอดัม) และได้ทรงให้มีขึ้นจากชีวิตนั้นซึ่งคู่ครอง (คือพระนางฮาวาหรืออีฟ)……” (อัลกรุอาน7:189)
หลักการนัฟซุนวาฮีดะฮฺ เป็นหลักการที่ได้กำหนดว่าชายและหญิงในอิสลามนั้นเท่าเทียมกันทั้งในด้านความเป็นตัวตนและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ (อัลกรุอาน7:70) เป็นหลักการที่มุสลิมทุกคนจะต้องเชื่อและยอมรับความเท่าเทียมในเพศสภาพ คือ เชื่อว่าชายและหญิงนั้นมีจิตวิญญาณที่เหมือนกัน(อัลกรุอาน7:189) โดยที่ทั้งสองได้รับการเป่าเสกวิญญาณ(รูหฺ) จากอัลลอฮฺเหมือนกัน (อัลกรุอาน 32:9) ดังนั้นกระบวนทัศน์อิสลามเกี่ยวกับผู้หญิงจึงไม่มีที่ว่างสำหรับความเชื่อที่ว่าหญิงคือช้างเท้าหลังชายคือ ช้างเท้าหน้า หญิงเป็นสาเหตุให้ชายนั้นตกต่ำ หรือการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรของหญิงนั้นเป็นคำสาบหรือบทลงโทษบนฐานความผิดที่นางฮาวาได้ฝืนคำสั่งของพระเจ้าในสวนสวรรค์ ความเท่าเทียมหรือความเสมอภาคระหว่างชายและหญิงในอิสลามนั้นมุฮัมหมัดได้กล่าวในเชิงเปรียบเทียบว่าหญิงนั้นคือพี่น้องของชายนั้นเอง(หะดีษ บันทึกโดยอัฏฏอรมีซี) และท่านยังได้ประกาศอีกว่า ท่านทั้งหลายคือ (ชายและหญิง) มาจากอดัมและอดัมได้ถูกสร้างมาจากดิน (หะดีษบันทึกโดยบุคอรีย์ มุสลิมและอบูดาวูด)
จากคำประกาศของท่านศาสดาข้างต้นเป็นบทสรุปที่ชัดเจนว่า กระบวนทัศน์อิสลามที่เกี่ยวกับหญิงนั้นจะปฏิเสธหลักการที่ว่าชายเหนือกว่าหญิง ในทุกมิติไม่ว่ามิติทางด้านศาสนา สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการศึกษา หลักการ นัฟซุนวาฮีดะฮฺ เป็นหลักการพื้นฐานในการจัดวางระบบเสรีภาพ ระบบความเสมอภาค และระบบความยุติธรรม   ในสังคมที่มีชายและหญิงเป็นส่วนประกอบ โดยไม่มีนัยยะแห่งความรู้สึกที่ถือเขาถือเราในการกำหนดค่านิยมและแนวปฏิบัติในสังคม
2.หลักการอิสติคลาฟ
หลักการการอิสติคลาฟหมายถึงหลักการที่ยอมรับว่ามนุษย์เป็นตัวแทนของอัลลอฮฺ (Viceqerent of God / เคาะลีฟะห์ของอัลลอฮฺ) บนพื้นพิภพดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสต่อบรรดามาลาอีกะฮฺ  ความว่า “แท้จริงข้าจะมีผู้แทนคนหนึ่งในพิภพ” อัลกุรอาน 2:30 เคาะลีฟะห์ เป็นภาษาอาหรับ
โดยอิบนู คอลดูน ได้ให้ความหมายอย่างสั้นๆว่าหมายถึง ผู้ที่ธำรงไว้ซึ่งหลักการศาสนาอิสลามและนำหลักการศาสนาอิสลามมาบริหารจัดการโลกและแปลความหมายเป็นภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า Vicegerent ซึ่งหมายถึง ผู้หนึ่งผู้ใดที่ได้รับสืบทอดปฏิบัติตามคำสั่งการของกษัตริย์หรือผู้นำและมีความครอบคลุมถึงการสืบตำแหน่งของบุคคลเพื่อดำเนินการตามความประสงค์ของกษัตริย์หรือผู้นำต้องการให้บุคคลนั้นๆทำด้วยการใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์หรือผู้นำได้มอบหมายให้และห้ามดำเนินการใดๆด้วยอำนาจตามลำพังทีตัวเองนั้นมีอยู่
อิสติคลาฟ เป็นสถานภาพสูงสุดที่อัลลอฮฺ ทรงมอบให้กับมนุษย์ทุกคนโดยไม่จำกัดเพศสภาพ เชื้อชาติและสีผิว เป็นตำแหน่งที่ทรงกำหนดให้เป็นเป้าหมายสูงสุดและเป็นภารกิจหลักให้ปฏิบัติอย่างจริงจังตามศักยภาพที่แต่ละคนมีอยู่
ภารกิจหลักที่เคาะลีฟะห์ของอัลลอฮฺต้องรับผิดชอบมีสามส่วนด้วยกัน คือ
1.สร้างความสมบูรณ์ในตัวของมนุษย์ตามพระประสงค์ของอัลลอฮฺ
2.สร้างความสมบูรณ์ในสังคมมนุษย์ตามพระประสงค์ของอัลลอฮฺ
3.สร้างสมบูรณ์ทางกายภาพของโลกตามที่อัลลอฮฺทรงประสงค์
3.หลักการอีมานและอามัล
            หลักการอีมานและอามัล(การศรัทธาและการปฏิบัติ/ Belief and Action) เป็นหลักการใหญ่หลักการหนึ่งที่เกี่ยวโยงกับการกำหนดกระบวนทัศน์ผู้หญิงในอิสลาม หลักการอีมานและอามัลเป็นหลักการที่ควบคู่ที่เชื่อมโยงกันและเป็นหลักการที่แยกออกเป็นสองส่วนไม่ได้ ดังที่ปรากฏในอัลกรุอานเมื่ออัลลอฮฺได้กล่าวถึงอามานูคือ อีมานหรือศรัทธาแล้วพระองค์จะควบตามด้วยคำว่า “วาอามีลูศศอลีฮาดคือ อามัลหรือการปฏิบัติที่ดี โดยมีนัยยะที่สำคัญคือการศรัทธา(อีมาน)กับการปฏิบัติ(อามัล) นั้นจะต้องควบคู่กันและแยกขาดออกจากกันไม่ได้ (อัลกรุอาน 9:17,8:2-4,2:285,2:254,23:1,33:36และ49:15 ฯลฯ) หลักการอีมานและอามัลเป็นหลักการที่ครอบคลุม ครบวงจรและมีความต่อเนื่องในวิถีชีวิตของมนุษยในอิสลาม กล่าวคือการศรัทธาในอัลลอฮฺ(อีมาน)ของมุสลิมคือฐานที่กำหนดคุณค่าของการปฏิบัติ(อามัล) (หะดีษมุต-ตะฟัคอะลัยฮ- รายงานโดย อิบนุอุมัรและอีกบทหนึ่งรายงานโดยอิบนุอับบาส บินอับดุลมุลฏอลิบ)การศรัทธาในอัลลอฮฺความหมายในองค์รวม คือ การศรัทธาทั้งหมดที่เกี่ยวโยงกับหลักการแห่งความเป็นเตาฮีด(ความเป็นเอกภาพของอัลลอฮฺ)รวมถึงการศรัทธาในหลักการที่กำหนดในอัลกรุอาน(อัลกรุอาน2:24)หลักการอีมานและอามัลเป็นหลักการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า มนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับสังคมในอิสลาม
            หลักการอีมานและอามัลเป็นที่มาของระบบความสัมพันธ์เชิงเกี่ยวโยงในอิสลามคือ อะไรก็ตามที่ถูกบัญญัติโดยอัลลอฮฺในอัลกรุอานแล้วจะถูกปฏิบัติโดยท่านศาสดาโดยทันที ซึ่งสองส่วนนี้เป็นสิ่งที่มุสลิมต้องศรัทธาและปฏิบัติตามแบบอย่างไม่มีข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้น Syed Maolana Maodude(1990)ได้กล่าวเชิงเปรียบเทียบระบบความสัมพันธ์ในลักษณะที่เชื่อมโยงกับระหว่างสองหลักการว่าเสมือนหนึ่งส่วนหนึ่งนั้นเป็นรากและอีกส่วนหนึ่งเป็นผล การแยกขาดออกจากกันระหว่างทั้งสองคือ ความหายนะ หลักการอีมานและอามัลจึงเป็นหลักการเบื้องต้นที่จะทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจในหลักการพื้นฐานอันเป็นที่มาของกระบวนทัศน์อิสลามที่เกี่ยวกับผู้หญิงให้มีความชัดเจนขึ้น

ผู้หญิงในอิสลาม


บทนำ
            การศึกษาเรื่องผู้หญิงที่เป็นระบบมีหลักสูตรที่ชัดเจนได้เปิดสอนครั้งแรกที่ San Diego State College เมื่อปี 1970 ในระยะเวลาสี่สิบปีการศึกษาวิจัยเรื่องผู้หญิงได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนถึงปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรเกี่ยวกับผู้หญิงในประเทศต่างๆเกือบทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดี่ยวการจัดการศึกษาเรื่องผู้หญิง(Woman Studies) มีมากถึง 395 แห่ง
            ขณะเดี่ยวกันประเทศมุสลิมได้ตกเป็นจำเลยทางสังคมในฐานะที่เป็นสังคมที่มีการทารุณกรรรมและปฏิบัติต่อหญิงเยี่ยงทาส (maltreatment and slavery of woman) ในอันดับต้นๆของโลก (Abdurrahman 1990) ซึ่งข้อมูลที่ปรากฏเป็นกระแสที่ผู้คนโดยทั่วไปเข้าใจผิดคิดว่าอิสลามเป็นศาสนาที่ลิดรอนสิทธิของผู้หญิงและเป็นศาสนาที่ลิดรอนสถานภาพความเป็นอยู่และบทบาทของผู้หญิงในสังคม
            แต่จากการศึกษาวิจัยเรื่องผู้หญิงในอิสลามโดยนักวิชาการมุสลิมและมิใช่มุสลิมจากเอกสารปฐมภูมิ คือ อัลกรุอานและหะดีษ รวมทั้งข้อมูลจากประวัติศาสตร์อิสลามในสมัยท่านศาสดา(ศ็อลฯ) และในสมัยเศาะหาบะฮฺไม่ปรากฏว่าการทารุณกรรมและการปฏิบัติต่อหญิงเยี่ยงทาสเป็นหลักการที่กำหนดโดยอิสลามแต่อย่างใด แต่งานวิจัยกลับค้นพบว่าอิสลามคือ ศาสนาที่ปกป้องสถานภาพ ศักดิ์ศรี และสิทธิของผู้หญิงที่โดดเด่นที่สุดในบรรดาศาสนาที่มีอยู่ในปัจจุบัน   ในเรื่องเดียวกัน  Pier Crebite ผู้พิพากษาชาวอเมริกันได้ยอมรับในเรื่องดังกล่าวไว้ว่า มูหัมมัดคือผู้บุกเบิกในด้านสิทธิสตรีที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก โดยยากที่จะหาคนอื่นมาเทียบได้ หลักการอิสลาม (ที่ท่านได้เผยแผ่) ให้สิทธิต่อภรรยาในการถือครองกรรมสิทธิในทรัพย์สินเหมือนกับสิทธิที่สามีได้รับ สตรีมีความอิสระที่จะทำสัญญาตกลงซื้อขายหรือจัดการต่อทรัพย์สินของนางตามที่นางปราถนาโดยสามีไม่มีสิทธิที่จะทำการขัดขวางได้ อ้างใน (Abdurrahman 1990)
            บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการเขียนสามข้อ คือ นำเสนอหลักการอิสลามที่เกี่ยวกับผู้หญิงที่ปรากฏหลักฐานในอัลกรุอานและหะดีษ ซึ่งเป็นที่มาของกระบวนทัศน์ผู้หญิงในอิสลาม สอง นำเสนอภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสมัยท่านศาสดาและเศาะหาบะฮฺในสถานะและบทบาทต่างๆในสังคม ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวการพัฒนาผู้หญิงในแบบฉบับของอิสลามในสังคมปัจจุบัน และสาม เพื่อนำเสนอสุนนะฮฺของศาสดา แนวคิดและแนวปฏิบัติของบรรดาเศาะหาบะฮฺและปราชญ์มุสลิมร่วมสมัยเพื่อเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้และแนวปฏิบัติเพื่อการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างพลังผู้หญิงในการพัฒนาสังคม การศึกษาเรื่องนี้ใช้กระบวนการศึกษาวิจัยเชิงเอกสารเป็นหลัก โดยศึกษาข้อกำหนดที่ปรากฏในอัลกรุอานหะดีษ และตำราที่อรรถาธิบายอัลกรุอาน(ตัฟซีร) รวมทั้งข้อเสนอในการฟัตวาของอุลามาอฺ(นักปราชญ์มุสลิม) ร่วมสมัยในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับสถานภาพและบทบาทของผู้หญิงและศึกษาจากตำรา บทความวิชาการทางอิสลามศึกษาที่ได้ศึกษาเรื่องผู้หญิงในอิสลาม โดยเนื้อหาจะครอบคลุมในสามประเด็นสำคัญ คือ หลักการอิสลามที่เกี่ยวกับกระบวนทัศน์ ของผู้หญิงในอิสลาม สองสถานภาพของผู้หญิงที่อิสลามได้กำหนด และสามบทบาทของผู้หญิงในอิสลามเพื่อสรรสร้างสังคมโลกสมัยใหม่

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

มุสลิมในความหมายที่เป็นคำว่า มอบตน,ยอมจำนน และมนุษย์ในฐานะที่เป็นเคาะลีฟะห์ อย่างไร



อธิบาย  มุสลิมในความหมายของคำว่า มอบตน, ยอมจำนน นั้น มีความคือว่า บุคคลที่เข้ารับอิสลามนั้นจะมีสภาพ ยอมจำนน ให้แก่อัลลอฮฺ และยอมจำนนทุกสภาพที่เกิดขึ้นว่ามาจากบททดสอบของพระผู้เป็นเจ้านั้นคือ อัลลอฮฺ

            ส่วนคำว่า มอบตน นั้น คือ ยอมสละชีวิตทั้งร่างกายจิตวิญญาณและทรัพย์สินให้แก่ อัลลอฮฺ เพื่อให้เป็นการแสดงความจงรักภักดี  และเพื่ออิสลามของพระผู้เป็นเจ้า
            การยอมจำนน แด่อัลลอฮฺนั้นจะครอบคลุมในหลักพื้นฐาน 3 ประการ คือ
1.อะกีดะห์
2.ชะรีอะห์
3.อัคลาค
            ซึ่งทั้ง 3 ประการข้างต้นนั้นคือ เป้าหมายสูงสุดที่อิสลามและพระผู้เป็นเจ้านั้นทรงพึ่งพอพระทัย
            เมื่อเราสังเกตของความหมายข้างต้นจะเห็นว่า บุคคลที่เข้ารับอิสลามจะมีสภาพที่ยอมจำนนยอมมอบตนให้แก่อัลลอฮฺโดยทันทีไม่มีข้อแม้ใดๆทั้งสิ้นซึ่งความหมายของคำๆนี้นั้นมีความที่กว้างแต่นัยยะของคำนั้นมี ความหมายที่กำชับและชัดเจน การที่มุสลิม ยอมจำนน,ยอมมอบตน ให้แก่อัลลอฮฺนั้นเพื่อแสดงจุดยืนของมุสลิมว่ามุสลิมนั้นยอมจำนนถวายชีวิตเพื่ออัลลอฮฺได้ไม่ใช่ ยอมพลีชีพเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งในอิสลามนั้นบุคคลที่ต้องปกป้องสุดชีวิตนั้นมีเพียง ท่านรอซูล เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้คือเป้าประสงค์ของคำว่ายอมจำนน,ยอมมอบตนเพื่ออิสลามเท่านั้น
            ซึ่งในอัลกุรอานได้กล่าวว่า
ความว่า บรดดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเข้าไปอยู่ในอิสลามโดยทั้งหมดและจงอย่าตามก้าวเดินของไซยฏอน แท้จริงนั้นคือศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า (อัลกุรอาน ซูเราะห์ อัลบากอเราะฮฺ อายะ 208)

ความว่า โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงยำเกรงอัลลอฮฺ อย่างแท้จริงเถิดและพวกเจ้าจงอย่าตายนอกจากเจ้าในฐานะที่พวกเจ้าเป็นผู้น้อบน้อม (มุสลิม) เท่านั้น (อัลกุรอาน ซูเราะห์ อาลิอิมรอน อายะ 102)

            ซึ่งในอายะดังกล่าวจะสอดคล้องกับความหมายของอิสลามโดยตัวของมันเองอย่างชัดแจ้ง
            ประเด็นต่อมา การที่มนุษย์ในฐานะของเคาะลีฟะห์  ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าอัลลอฮฺ ได้ทรงให้มนุษย์ปกครองพื้นแผ่นดินในระบบของเคาะลีฟะห์ และเคาะลีฟะห์นั้นจะต้องมีความประพฤติที่ดี มีความคุณธรรม มีความรู้ในเรื่องของศาสนาและเรื่องของดุนยาด้วยเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารบ้านเมืองบนพื้นแผ่นดินที่อัลลอฮฺทรงมอบให้มนุษย์ปกครองเพื่อจะได้เป็นบททดสอบของมนุษย์ว่าจะเมื่อพระผู้เป็นเจ้ามอบหมายให้มนุษย์ มนุษย์จะปกครองด้วยความยุติธรรมหรือไม่
            สิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่นบีอาดัมจนถึงยุคสุดท้ายของโลก(วันกิยามะห์) ที่มนุษย์ได้ปกครองบริหารพื้นแผ่นดินด้วยความยุติธรรมและไม่ยุติธรรมบ้าง
            เมื่อเรารู้ว่าเคาะลีฟะห์นั้นคือ ผู้นำ เมื่อบุคคลใดขึ้นมาเป็นเคาะลีฟะห์บรรดามนุษย์จะต้องเชื่อฟังในสิ่งที่เคาะลีฟะห์ให้กระทำแต่หากเคาะลีฟะห์ให้กระทำสิ่งใดที่ขัดต่ออิสลามเราสามารถที่จะไม่ทำตามคำสั่งของเขาได้ ซึ่งในประวัติศาสตร์อิสลามหลังจากที่ท่านนบีมูฮัมหมัดได้กลับไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺนั้น อิสลามได้มีเคาะห์ลีฟะห์มากมายเหลือเกิน แต่เคาะลีฟะห์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเคาะลีฟะห์ที่มีคุณธรรมและมีคุณสมบัติที่อิสลามได้กำหนดนั้น มีเพียง 4 ท่านด้วยกัน คือ ท่านอบูบักร ท่านอุมัร ท่านอุษมาน ท่านอลี เป็นต้น
            ซึ่งทั้ง 4 เคาะลีฟะนี้นั้นได้รับการยอมรับจากโลกมุสลิมว่าเป็นผู้นำตัวอย่างที่มุสลิมจะต้องมีให้ได้ในโลกปัจจุบันนี้เพื่อให้ก้าวขึ้นมาเป็นเคาะลีฟะห์บริหารปกครองพื้นแผ่นดินให้มีความยุติธรรมและขจัดสิ่งต้องห้ามต่างๆที่เกิดในปัจจุบัน
            ส่วนการได้มาของเคาะลีฟะห์นั้นจะต้องได้มาโดย การเลือกตั้งมิใช่การแต่งตั้ง ซึ่งมีระบุในหะดีษของอิหมามมุสลิม บทที่ 33 หน้า 327 หะดีษบทที่ 1790  (ฉบับแปลไทย โดย จารึก เซ็นเจริญ และมุฮัมมัด พายิบ แปล) แต่ผู้เขียนจะไม่ยกตัวบทหะดีษเพราะตัวบทของหะดีษยาวซึ่งอาจจะไม่พอกับการเขียนในข้อเขียนนี้แต่หากไม่แน่ใจก็สามารถเปิดดูตามทีผู้เขียนได้บอกหลักฐานของตัวหะดีษได้ข้างต้น
            ประเด็นต่อมา การได้มาของเคาะลีฟะห์นั้นจะต้องเป็นมุสลิมเท่านั้นเพราะอะไรหรือเพราะอัลลอฮฺ แต่งตั้งมนุษย์ที่เป็นมุมินเท่านั้นมนุษย์ที่ปฏิเสธความศรัทธา (กาฟิร) ไม่สามารถที่จะขึ้นมาเป็นเคาะลีฟะห์อิสลามได้ จริงอยู่ที่มนุษย์เป็นเคาะลีฟะห์ แต่เงื่อนไขของการเป็นเคาะลีฟะห์นั้นจะต้องดำรงอยู่ในอิสลามและสามารถนำประชากรมุมินไปสู่แนวทางของอิสลามได้โดยปลอดภัย
            ต่อมา เมื่อสามารถหาบุคคลที่ขึ้นมาเป็นเคาะลีฟะได้แล้วนั้น หากเคาะลีฟะห์เป็นบุคคลที่อยุธิรรมหรือทำให้บรรดาผู้ศรัทธาเกิดความขัดแย้งในอัลกุรกล่าวว่าเมื่อเจ้าเกิดความขัดแย้งจงกลับไปหาอัลลอฮฺและรอซูล นี่ !! แหละคือจุดยืนของอิสลามที่มีต่อระบบของเคาะลีฟะห์เมื่อมนุษย์เกิดความขัดแย้งกันจงกลับไปหาอัลลอฮฺและรอซูล จริงอยู่ที่อัลกุรอานกล่าว จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ เชื่อรอซูล และเชื่อฟังผู้นำ  แต่เมื่อเราเกิดความขัดแย้งต่อผู้นำอัลกุรอานสั่งให้เรากลับไป อัลลอฮฺและรอซูล อัลกุรอานไม่ได้บอกว่าให้กลับไปหาผู้นำ นี่แหละคือความประเสฐิของอัลกรุอานที่ถูกประทานลงมาเพื่อเป็นทางนำให้แก่มวลมนุษย์ชาติ
            และหากเราสังเกตสังคมปัจจุบัน มุสลิมเราในหมู่บ้านในตำบล เป็นต้น มีจำนวนไม่น้อยที่ก้าวขึ้นมาเป็น ผู้ใหญ่บ้าน นายก อ... เป็นต้น แต่เมื่อก้าวขึ้นรับต่ำแหน่ง แทนที่จะเป็นแบบอย่างให้แก่ประชาชนให้ท้องถิ่นกลับทำตัวงี่เง่า ไร้ประโยชน์  โกงบ้านโกงเมือง ซึ่งเมื่อเรา
มองดูข้างต้น นากยก อบต. ผู้ใหญ่บ้าน ล้วนเปรียบเสมือนเคาะลีฟะห์หน่วยเล็กๆที่จะพัฒนาก้าวขึ้นไปเป็นเคาะลีฟะห์ของอิสลามได้ แต่กลับทำตัวไม่ได้เรื่องจนไม่สามารถพัฒนาอิสลามไปเจริญก้าวหน้าสวนทางกลับกันมัวทำให้อิสลามกลับตกต่ำลงไปทุกที สิ่งนี้แหละทีเราต้องช่วยกันพัฒนาการเป็นเคาะลีฟะห์ ปลูกฝังจิตวิญญาณของอิสลามตั้งแต่เยาวชนเพื่ออนาคตข้างหน้าเราจะได้มีเคาะลีฟะห์ของคนต่อไปให้จงได้
            ท้ายนี้การที่มุสลิมจะก้าวขึ้นมาเป็นเคาะลีฟะห์นั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือ ต้องมอบตนให้แก่อัลลอฮฺและยอมจำนนในสิ่งที่อิสลามได้บอกว่าอะไรคือสิ่งที่ดีในอิสลามและสามารถนำบรรดามุนมินไปสู่ความสัจธรรมที่เป็นจริง เหมือนคำที่ว่านี้คือ เมื่อความจริงมาปรากฏความเท็จย่อมมลายหายสิ้นไป
            

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

มุสตอฟา กามาลกับแนวคิดการปฏิรูปศาสนาอิสลามในตุรกี


 
มุสตอฟา กามาล มีความเชื่อมั่นว่า การที่จะนำพาตุรกีสู่ความความเป็นทันสมัยจะต้องเริ่มเปลี่ยนที่แนวคิดและจารีตดั่งเดิมซึ่งอยู่บนพื้นฐานทางศาสนาอิสลาม ซึ่งขัดต่ออารยะธรรมสมัยใหม่ฉะนั้นจึงจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูปศาสนาอิสลามก่อน
        การเคลื่อนไหวของมุสตฟา กามาล ในการปฏิรูปศาสนานั้นได้ดำเนินไปไม่น้อยกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว เพราะเริ่มตั้งแต่ปี ค..1920
            ดังนั้น ผลลับจากการเคลื่อนไหวของเขานั้น จะดีหรือไม่อย่างไรก็สามารถรู้ได้และสามารถจะบอกยี่ห้อได้เช่นกัน
            1. ประเทศชาติตุรกีและประชาชนตุรกีในปัจจุบัน (ค..1971) สามารถกล่าวได้ว่าเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามแต่ถูกแยกตัวออกห่างจากโลกอิสลามอื่นๆ
          ในอดีตอิทธิพลของตุรกีแพร่กระจายไปทั่วทุกสารทิศ แต่ยุดนี้เหตุการณ์เช่นดังกล่าวนั้นขาดหายไปเสียแล้ว
            ตุรกีในอดีตถูกให้ชื่อว่า ผู้นำแห่งโลกอิสลาม ในเรื่องศาสนา ในเรื่องวัฒนธรรม ในเรื่องความรู้วิชาการ แต่ในยุคนี้ถูกโลกอิสลามลืมเสียจนหมดสิ้น
            ศาสนาอิสลามในตุรกีเกือบจะหาไม่ได้อยู่แล้ว หนังสือศาสนาที่เคยตีพิมพ์ที่ตุรกีนั้น ขณะนี้ไม่มีเหลืออยู่อีกเลย สำนักพิมพ์หนังสือเกียวกับศาสนาต่างๆถูกย้ายไปอยู่ที่อียิปต์หมดสิ้น
            กล่าวสั้นๆว่า ในยุคของ กามาล นั้น ตุรกีถูกโลกอิสลามมองว่าเป็นประเทศซึ่งมีประชากรนับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ไม่มีอิทธิพลใดๆเหลืออยู่อีกแล้ว
            นี่เป็นผลแห่งการปฏิรูปศาสนาของ มุสตอฟา กามาล ตั้งแต่ปี 1920-1930 จนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ต้องหยุดชะงักลงไปโดยปริยาย
            2.ทำให้ศาสนาต้องเสื่อมเสียและมัวหมอง เนื่องจากการเปลี่ยนอัลกุรอานจากภาษาอาหรับไปเป็นภาษาตุรกี นอกจากนั้นยังได้เปลี่ยนถ้อยคำ เช่น การอะซาน การละหมาด การขอดุอาด์จากภาษาอาหรับไปเป็นภาษาตุรกีด้วย ดังนั้นจึงทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเสียขบวนจนย่อยยับไป อัลลอฮฺ ซ.. ได้ทรงประทานอัลกุรอานลงมา ไม่ใช่เพียงแค่เป็นธรรมนูญในการดำเนินชีวิตของประชาชาติอิสลามเท่านั้น แต่ทว่าเพียงอ่านเท่านั้นสำเนียงของมันเป็นอิบาดะห์ด้วย หากว่าอัลกุรอานถูกนำให้เป็นภาษาตุรกีแล้ว ดังนั้น อิบาดะห์ประการหนึ่งก็จะหายไปจากประชาชนตุรกี ซึ่งได้แก่อิบาดะห์ของการอ่านอัลกุรอานนั้นเอง
            มากไปกว่านั้นแล้ว ภาษาตุรกีมีถ้อยคำที่ยังไม่พอเพียง 100 เปอร์เซ็นเหมือนกันกับถ้อยคำหหรือสำนวนที่แฝงอยู่ในภาษาอาหรับ ฉะนั้นจะทำให้ความเข้าใจในศาสนาต้องมีอันเปลี่ยนแปลงไป นี่คือผลแห่งการปฏิรูปศาสนาของ มุสตอฟา กามาล
            3.ผลของการที่อนุญาตให้สตรีมุสลิมแต่งงานกับชายนัสรอนีและยะฮูดี ดังนั้นสายเลือดหลังจาก
มุสตอฟา กามาล จากไปแล้วก็จะผสมผสานกัน 50-50 (คนละครึ่ง) 50% สายเลือดอิสลาม อีก 50% สายเลือดยะฮูดีและนัสรอนี หรือไม่เช่นนั้นก็อาจแบ่งได้ว่า สายเลือดของยะฮูดีและนัสรอนีมีถึง 75% เต็ม การแต่งงานกันระหว่างสตรีอิสลามกับชายนัสรอนีนั้นขัดกันอย่างมากกับกิตาบุลลอฮ์ ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานความว่า:

وَلَا تَنكِحُوا الْمُشْرِكَاتِ حَتَّىٰ يُؤْمِنَّ وَلَأَمَةٌ مُّؤْمِنَةٌ خَيْرٌ مِّن مُّشْرِكَةٍ وَلَوْ أَعْجَبَتْكُمْ وَلَا تُنكِحُوا الْمُشْرِكِينَ حَتَّىٰ يُؤْمِنُوا وَلَعَبْدٌ مُّؤْمِنٌ خَيْرٌ مِّن مُّشْرِكٍ وَلَوْ أَعْجَبَكُمْ أُولَٰئِكَ يَدْعُونَ إِلَى النَّارِ وَاللَّهُ يَدْعُو إِلَى الْجَنَّةِ وَالْمَغْفِرَةِ بِإِذْنِهِ وَيُبَيِّنُ آيَاتِهِ لِلنَّاسِ لَعَلَّهُمْ يَتَذَكَّرُونَ 

ความว่า และพวกเจ้าจงอย่าแต่งงานกับหญิงมุชริก จนกว่านางจะศรัทธา และทาสหญิงที่เป็นผู้ศรัทธานั้นดียิ่งกว่าหญิงที่เป็นมุชริก แม้ว่านางได้ทำให้พวกเจ้าพึงใจก็ตาม และพวกเจ้าจงอย่าให้แต่งงานกับบรรดาชายมุชริก จนกว่าพวกเขาจะศรัทธา และทาสชายที่เป็นผู้ศรัทธานั้นดีกว่าชายมุชริก และแม้ว่าเขาได้ทำให้พวกเจ้าพึงใจก็ตาม ชนเหล่านี้แหละจะชักชวนไปสู่ไฟนรกและอัลลอฮ์นั้นทรงเชิญชวนไปสู่สวรรค์ และไปสู่การอภัยโทษ ด้วยอนุมัติของพระองค์ และพระองค์จะทรงแจกแจงบรรดาโองการของพระองค์แก่มนุษย์ เพื่อว่าพวกเขาจะได้รำลึกกันได้ (อัล-บากอเราะห์ อายะฮฺที่ 221)
ในโองการดังกล่าวนี้ให้ความชัดเจนว่า ไม่อนุญาตให้คนมุชริกแต่งงานกับมุสลิม ส่วนคนยะฮูดีและนัสรอดีในปัจจุบันนี้กลายเป็นมุสริกไปแล้ว เพราะพวกเขาเคารพบูชารูปปั้น คือรูปปั้นของนบีอีซาอะลัยอิสลาม หรือรูปปั้นอื่นๆ
            โปรดสังเกตโบสถ์คริสต์ปัจจุบัน เต็มไปด้วยรูปปั้นทั้งสิ้น การแต่งงานกับอะห์ลุลกิตาบ (ยิว/คริสต์) ที่อัลกุรอานอนุญาตให้นั้นคือบรรดาอะห์ลุลกิตาบสมัยก่อนที่ปราศจากชิริกและมุซริก
            และการที่อนุญาตให้นั้นก็เฉพาะชายมุสลิมกับหญิงอะห์ลุลกิตาบเท่านั้น ส่วนผู้หญิงมุสลิมนั้นไม่อนุญาตให้แต่งงานกับชายอะลุลกิตาบเพราะเกรงว่าพวกเขาจะยอมไปเป็นกาฟิรตามคำสั่งของสามีผู้มีอำนาจเหนือนาง (ภรรยา)
            สรุปว่า การกระทำของมุสตอฟา กามาล ที่อนุญาตให้สตรีมุสลิมแต่งงานกับชายยะฮูดี และนัสรอนีนั้น เป็นการกระทำโดยพละการนอกเหนือจากหลักเกณฑ์อิสลาม
           
การปฏิรูปศาสนาของมุสตอฟา กามาลผู้นี้ เป็นที่ชักเจนว่าขัดกับโองการของอัลกุรอานที่ระบุว่า:

وَإِنْ خِفْتُمْ أَلَّا تُقْسِطُوا فِي الْيَتَامَىٰ فَانكِحُوا مَا طَابَ لَكُم مِّنَ النِّسَاءِ مَثْنَىٰ وَثُلَاثَ وَرُبَاعَ فَإِنْ خِفْتُمْ أَلَّا تَعْدِلُوا فَوَاحِدَةً

ความว่า: ดังนั้น จงแต่งงานกับหญิงที่สูเจ้าพอใจ สอง-สาม หรือ สี่ แต่ถ้าสูเจ้าเกรงว่า สูเจ้าจะไม่อาจ
(ให้ความยุติธรรมได้) ดังนั้น (จงแต่งกับหญิง) เพียงคนเดียว  (สูเราะหฺ อัล-นิซอาอ์ อายะฮฺที่ 3)

            ส่วนมัสยิด อะยาศอเฟียที่ถูกมุสตอฟาเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตินั้น เดิมทีแล้วโบสถ์ขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นประมาณปี ค..400 โดยบุตรคนหนึ่งของคอนสแตนตินผู้ยิ่งใหญ่
            หลังจากตุรกีครองอำนาจในคอนสแตนติโนเปิล เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ค.. 1453 แล้ว ก็ได้เปลี่ยนโบสถ์หลังดังกล่าวให้เป็นมัสญิด และเรียกว่า มัสญิดอะยะศอเฟีย
           

            สรุปแล้วว่า โบสถ์หลังนั้นถูกเปลี่ยนให้เป็นมัสญิดเป็นระยะเวลานานถึง 518 ปี แต่ทว่าเมื่อ
มุสตอฟา กาล เริ่มมีอำนาจในการปกครองแล้ว เขาจึงดำเนินการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างๆของศาสนาแม้กระทั่งมัสญิดอะยาศอเฟียที่โอ่โถงก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ทั้งๆ ที่พระราชาและประชาชนโดยทั่วไปได้บริจาคทรัพย์สินเพื่อเก็บไว้เป็นกองทุนในการซ่อมบูรณะมัสญิดหลังดังกล่าวอย่างมากมายก็ตาม
            ไม่เพียงแต่เท่านั้น นอกจากนั้นแล้วมุสตอฟา กามาล ยังได้ใช้ให้ล้างสีที่ทาภาพที่ได้สลักไว้ที่ข้างฝาด้วย จนทำให้มองเห็นภาพสลักอย่างชัดเจนอีกครั้ง 

   

แนวความคิดปฏิรูปศาสนาของมุสตอฟา กามาล แบบสรุปมีดังนี้
 
- ยกเลิกระบบสุลตาน และเปลี่ยนให้เป็นระบบประธานาธิบดี
- ศาสนาและประเทศชาติต้องแยกออกจากัน และซัยคุลอิสลามที่ถูกแต่งตั้งอย่างเป็นทางการนั้นต้องยกเลิกเสีย
- ธรรมนูญของตุรกีที่ว่า ศาสนาประจำชาติคือศาสนาอิสลามนั้น ต้องยกเลิกไป
- ศาลต่างๆ ของอิสลาม เช่น ศาลชะรีอะห์ เป็นต้น ต้องยกเลิกเสีย
- โรงเรียนสอนศาสนาจะไม่ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐอีกต่อไป
- อักษรภาษาอาหรับต้องเปลี่ยนเป็นอักษรลาติน
- อัลกุรอานต้องแปลเป็นภาษาตุรกีเท่านั้นและต้องอ่านเป็นภาษาตุรกีเท่านั้น
- การละหมาด การอาซาน การขอดุอา เป็นต้น ต้องใช้ภาษาตุรกี เท่านั้น
- การมีภรรยาหลายคนเป็นสิ่งที่ต้องห้าม
- อนุญาตให้สตรีมุสลิมแต่งงานกับชายนัสรอนีและยะฮูดีได้
- ตัรบูซีซึ่งเป็นหมวกของตุรกีต้องเปลี่ยนเป็นหมวกปีก (คล้ายชาวตะวักตก)
- เสื้อผ้าสตรีที่ยาวๆ ต้องเปลี่ยนเป็นกระโปรงมินิ
- มัสญิดอะยาศอเฟียหลังใหญ่ในอิสตันบูล ต้องเปลี่ยนเป็นพิพิตภัณฑ์สถานแห่งชาติ
- ยกเลิกวันหยุดสุดสัปดาห์ คือ วันศุกร์ ให้เปลี่ยนมาเป็นวันอาทิตย์ แทน ซึ่งคนมุสลิมเข้าใจดีว่าเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ของคริสต์
- ยกเลิกการใช้ปฏิทินอิสลาม
- และอื่นๆ อีกมากมาย


 
                         มุสตอฟา กามาล มีความเกลียกชังต่ออิสลามและมีความศรัทธามั่นต่ออารยธรรมตะวันตกเขาเป็นสาวกที่ยึดมั่นศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อพระเจ้าองค์ใหม่และเขาเผยแพร่คำว่า อารยธรรมไปกว้างไกล เมื่อพูดถึงอารยธรรมนัยน์ตาของเขาจะเป็นประกายและสีหน้ามีความเร้าร้อน เขาพูดเสมอว่า “เราต้องแต่งตัวให้เหมือนกับคนที่เจริญแล้วเราต้องแสดงตัวว่าเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ เราจะไม่ยอมให้ความโง่เขลาของผู้อื่นมาหัวเราะ เครื่องแต่งกายแบบเก่าของเรา เราต้องเคลื่อนไปตามกาลเวลา”
ในความพยายามที่จะลอกเลียนแบบตะวันตกทำให้เขาต้องวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาว่าชาวเตอร์ยังไม่เปลี่ยนแปลงและพฤติเหมือนอย่างคนยุโรปเขาจึงออกกฏหมายห้ามไม่ให้ชาวเตอร์สวมหมวกแบบตุรกีและเครื่องสวมประดับบนศีรษะทุกชนิดนอกจากหมวกแบบยุโรป การสวมหมวกแบบยุโรปกลายเป็นกฏหมายบังคับใช้ต่อชาวเตอร์ จนกระทั้งเกิดสงครามหมวกขึ้น เพราะความจริงจังในการบังคับสวมหมวกเหมือนกับว่านั้นคือ ปัจจัยแห่งการเป็นสมัยใหม่อย่างแท้จริงอย่างเดียว มีผู้คนบริสุทธิ์ถูกจับแขวนคอจากนโยบายอย่างนี้เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นศาลพิเศษตัดสินอย่างเร่งด่วนทำให้ผู้ที่กระทำผิดและผู้บริสุทธ์ต่างก็เดือดร้อน
ต่อมา กิจการทางศาสนาและตำแหน่งทางศาสนาได้ถูกยกเลิกเช่นกัน ศาสนสมบัติ (อัลเอากอฟ) ตกเป็นของรัฐ โรงเรียนและสถานศึกษาศาสนาถูกเปลี่ยนเป็นโรงเรียนสามัญตามแบบตะวันตก กฎหมายแพ่งของสวิตเซอร์แลนด์ และกฎหมายอาญาแบบอิตาลี ตลอดจนกฎหมายพาณิชย์ของเยอรมันถูกนำมาใช้ แทนที่กฎหมายชะรีอะห์อิสลาม ศาสนาถูกแยกออกจากการเมือง อักษรภาษาอาหรับ (อารบิก) ถูกยกเลิก และภาษาตุรกี (เตอร์กิช) ก็ถูกเขียนด้วยตัวอักษรละตินเยี่ยงยุโรป การอะซานบอกเวลานมัสการด้วย
ภาษาอาหรับถูกยกเลิก พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านถูกแปลเป็นภาษาตุรกี วันอาทิตย์ถูกำหนดให้เป็นวันหยุดทางราชการแทนวันศุกร์ การสวมหมวกทรงตอรบู๊ช (หมวกทรงกระบอกทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีแดงและพู่ไหมห้อย) การคลุมศีรษะของสตรี (ฮิญาบ) ถูกยกเลิก และปฏิทินสากลแบบชาวยุโรปถูกนำมาแทนที่ปฏิทินอิสลาม (ซึ่งคำนวณตามจันทรคติ) การเปิดรับอารยธรรมตะวันตกและต่างชาติเป็นไปอย่างเต็มที่โดยไม่มีการอนุรักษ์ของเดิมอีกแต่อย่างใด และการมุ่งสู่ความเป็นยุโรป ตลอดจนตัดขาดจากโลกอิสลามโดยสิ้นเชิง และใกล้ชิดตะวันตกเป็นสิ่งที่ไหล่บ่าเข้าสู่ตุรกีนับแต่บัดนั้นจนกึงปัจจุบัน