เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เมาลานา อบุล อะอฺลา อัล เมาดูดียฺ

เมาลานา อบุล อะอฺลา อัล เมาดูดียฺ

 


ทรัพย์สินและเกียรติยศแกพวกที่ไม่ใช่มุสลิมซึ่งอาศัยอยู่ในรัฐอิสลามเช่นเดียวกับพลเมืองมุสลิมฝ่ายใต้กฎหมายอันเดียวกัน และรัฐอิสลามก็ไม่มีสิทธิอันใดที่จะไปแทรกแซงหรือก้าวกายสิทธิส่วนบุคคลของคนที่ไม่ใช่มุสลิม รัฐอิสลามให้สิทธิเสรีภาพแกคนที่ไม่ใช่มุสลิมทุกคนในอันที่จะนับถือศาสนาและประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของตน และมิว่าคนที่มิใช่มุสลิมในรัฐอิสลมจะทำการข่มเหรังแกพลเมืองมุสลิม กฎหมายของอิสลามก็ไม่อนุญาตทำการโต้ตอบเพื่อเป็นการแก้แค้น หรือแม้แต่คนนอกรัฐอิสลามจะถูกฆ่าหมู่ รัฐอิสลามก็ไม่มีสิทธิ์อันใดที่จะทำการแก้แค้นพลเมืองที่ไม่ใช่มุสลิมที่อาศัยอยู่ในรัฐอิสลาม

การบริหารรัฐและการออกกฎหมาย
            ในรัฐอิสลามความรับผิดชอบในการบริหารงานของรัฐบาลจะถูกมอบหมายให้แก่ อมีร” (ผู้นำ) ซึ่งอาจเปรียบได้กับนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดีในรัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่และชายหญิงทุกคนทุกคนที่มีความศรัทธาในธรรมนูญอิสลามมีสิทธิในการลงเลือกตั้ง อมีร
            คุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นผู้นำได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากประชาชนและจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในหลักการอิสลามเป็นอย่างดี มีความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้าและมีความเป็นรัฐบุรุษ สรุปสั้นๆ ก็คือ จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและความสามารถ นอกจากอมีรแล้วก็จะมีสภาที่ปรึกษาอีกสภาหนึ่งซึ่งได้รับการคัดเลือกจากประชาชน ให้มาทำหน้าที่ช่วยเหลือและชี้นำอมีร ในการบริหารประเทศ และอมีรก็จะต้องบริหารประเทศไปตามคำแนะนำของสภานี้ภายในกรอบที่อิสลามได้วางไว้ อมีร จำรงอยู่ในตำแหน่งไปนานตราบเท่าที่ประชาชนยังมีความเชื่อมั่นในตัวเขาอยู่ พลเมืองทุกคนมีสิทธิ์ที่จะวิพากษ์วิจารณ์ อมีร และรัฐบาลของเขาได้
            การออกกฎหมายในรัฐอิสลามจะดำเนินไปภายในกรอบของธรรมนูญแห่งอิสลาม (ชะรีอะห์) นั่นคือคำบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าและคำสอนของท่านศาสดามูฮัมหมัดซึ่งจะต้องถือเป็นมาตรฐาน หน่วยงานใดก็แล้วแต่ไม่มีสิทธิใดๆที่จะออกกฎหมาเปลี่ยนแปลงหรืออกกฎหมายที่ขัดแย้งกับคำสอนของพระองค์ได้ หากจะมีการตีความใดๆก็จะต้องเป็นหน้าที่ของผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในเรื่องกฎหมายอิสลามซึ่งเป็นคณะอณุกรรมการช่วยที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือสภาที่ปรึกษาอีกที่หนึ่ง
            ในอิสลามอำนาจตุลาการไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจบริหาร แต่อำนาจตุลาการจะมาจากชารีอะห์ โดยตรงและจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อพระเจ้า รัฐบาลอาจเป็นผู้ที่แต่งตั้งผู้พิพากษาขึ้นมาได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่ผู้พิพากษาขึ้นนั่งบัลลังก์พิจารณาคดี ผู้พิพากษาจะต้องบริหารความยุติธรรมไปตามกฎหมายของพระผู้เป็นเจ้าโดยไม่มีการลำเอียง และแม้แต่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐบาลเองก็มิได้อยู่นอกเหนืออำนาจตุลาการ หากมีการทำความผิดขึ้นมา แม้แต่ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองก็จะถูกศาลเรียกมาพิจารณาความผิดเหมือนกับพลเมืองคนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะทั้งผู้ปกครองและผู้ที่อยู่ใต้ปกครองต่างอยู่ภายใต้กฎหมายอันเดียวกัน ดังนั้น จึงไม่มีใครมีอภิสิทธ์เหนือกว่าใคร

ระบบสังคมอิสลาม
            รากฐานของระบบสังคมอิสลามวางอยู่บนความเชื่อที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันและเป็นภราดรภาคเดียวกัน

ความเสมอภาคกันของมนุษย์
            ความเสมอภาคกันของมนุษย์ในทัศนะของอิสลามเริ่มต้นมาจากแนวความคิดที่ว่าเมื่อพระผู้เป็นเจ้าได้สร้างจักรวาลรวมทั้งโลกขึ้นมาแล้ว พระองค์ก็ได้เริ่มต้นมนุษย์บนโลกนี้ด้วยการสร้างมนุษย์มาคู่หนึ่ง และให้มนุษย์คู่นี้เป็นที่มาของมนุษยชาติทุกเผ่าพันธุ์บนโลก ในตอนเริ่มต้นลูกหลานของมนุษย์คู่แรกยังคงอยู่ด้วยกันเป็นชนกลุ่มเดียว มีศาสนาเดียวและพูดภาษาเดียวกันโดยไม่มีความแตกต่างใดๆ แต่เมื่อจำนวนของมนุษย์ค่อยๆ เพิ่มขึ้นมนุษย์ก็เริ่มต้นแผ่ขยายถิ่นฐานไปตามส่วนต่างๆของโลก และด้วยเหตุผลของความแตกต่างกันทางด้านธรรมชาติ มนุษย์ก็เริ่มแตกออกเป็นเผ่าเป็นชาติ ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างกันทางด้านภาษา วัฒนธรรม การดำเนินชีวิตและความเป็นอยู่ติดตามมา ขณะเดียวกันอากาศและสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นที่มนุษย์อาศัยก็มีส่วนในการเปลี่ยนสีผิวและลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ด้วย แคต่อย่าไรก็ตาม ความแตกต่างทั้งหมดนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติเท่านั้น และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ในโลกแห่งความเป็นจริง ดังนั้นจึงยอมรับสภาพแห่งความเป็นจริงเหล่านี้ และก็มีได้ถือว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกแยกกัน ความแตกต่างทางด้านเผ่าพันธุ์ สีผิว ภาษา แต่กลับถือว่าการแบ่งแยกคนด้วยชาติกำเนิด หรือ ฐานะ หรือดินแดนเป็นการแสดงออกที่โง่เขล่า อิสลามประกาศว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกมีกำเนิดมาจากพ่อแม่คนเดียวกัน ดังนั้น ทุกคนจึงเป็นพี่น้องกันและมีฐานะในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน
            หลังจากที่แสดงความคิดในเรื่องของความเสมอภาคและความภราดรภาพในหมู่มนุษย์แล้ว อิสลามก็ประกาศว่า ถ้าหากจะมีความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันแล้ว ความแตกต่างนั้นมิใช่ความแตกต่างทางด้านเผ่าพันธุ์ ภาษา สีผิว หรือประเทศ หากจะต้องเป็นความแตกต่างทางด้านความคิดความเชื่อ และหลักการ พี่น้องสองคนจากพ่อแม่คนเดียวกันจึงอาจจะมีความแตกต่างกันก็ได้ถ้าหากว่าความเชื่อและศิลธรรมของพี่น้องสองคนนี้มีความแตกต่างกัน ในทางพฤติกรรมเหมือนกัน คนทั้งสองก็มีชีวิติอยู่ในทางเดียวกัน บนพื้นฐานของคำสอนอิสลามนี้เองที่ที่อิสลามไดพยายามสร้างสังคมตามอุดมการณ์ขึ้นขัดค้านสังคมอื่นๆ ในโลกที่วางอยู่บนพื้นฐานทางเผ่าพันธุ์และเชื่อชาติ พื้นฐานของความพยายามอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคมอิสลามมิได้อยู่ที่การ กำเนิด หากอยู่ที่หลักความเชื่อและศิลธรรม ใครก็ตามที่เชื่อว่าอัลลอฮ เป็นนาย และเป็นพระเจ้า และยอมรับทางนำของท่านศาสดาว่าเป็นกฎหมายแห่งชีวิติของเขาแล้วเขาก็สามารถที่จะเข้าร่วมสังคมนี้ได้ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะมีภูมิลำเนาอยู่ในอเมริกาหรืออัฟรีกา หรือจะเป็นเผ่าพันธุ์เซมิติคหรืออารยัน หรือจะผิวดำหรือจะผิวขาว หรือจะพูดภาษายุโรปหรืออาราบิคก็ตาม ไม่มีใครถูกเหยียดหยามด้วยเรื่องของชาติกำเนิดหรือการประกอบอาชีพและไม่มีใครที่สามารถอ้างสิทธิพิเศษว่าตัวเองอยู่ในสังคมและชนชั้นที่เหนือกว่าคนอื่นๆ เพราะในสังคมนี้คุณค่าของคนไม่อยู่กับครอบครัวหรือความมั่นคั่ง แต่จะขึ้นอยู่กับคุณธรรม
            ระบบสังคมเช่นนี้ไม่มีขอบเขตทางภูมิศาสตร์ ไม่มีขอบเขตทางสีผิวเผ่าพันธุ์หรือภาษา และสังคมที่ว่านี้สามารถแผ่ขยายไปทั่วทุกแห่งในโลก และบนพื้นฐานของสังคมเช่นนี้เองที่มนุษย์จะมีความเป็นภราดรภาพสากล

สถาบันครอบครัว
            สถาบันพื้นฐานที่สำคัญขั้นแรกของสังคมมนุษย์ก็คือครอบครัว สถาบันนี้เกิดขึ้นโดยการอยู่ร่วมกันของชายหนึ่งและหญิงหนึ่ง และการรอยู่ด้วยกันนี้จะเป็นการก่อให้เกิดประชากรรุ่นใหม่ขึ้น หลังจากนั้นสถาบันนี้ก็จะสร้างสัมพันธ์แห่งการเป็นเครือญาติและกลุ่มคนซึ่งต่อมาจะค่อยๆ พัฒนาเป็นสังคมใหญ่ขึ้นต่อไป ครอบครัวเป็นสถาบันที่คอยจัดเตรียมประชากรรุ่นใหม่เพื่อมารับใช้อารยธรรมมนุษยชาติ และเพื่อ ปฏิบัติภาระหน้าที่ด้วยความเสียสละ จริงใจ และกระตือรือร้น สถาบันครอบครัวมิใช่แต่ทำหน้าที่เกณฑ์คนเพื่อทำหน้าที่รักษาละพัฒนาวัฒนธรรมของมนุษยชาติเท่านั้น แต่ยังต้องทำหน้าที่สร้างผู้คุ้มครองป้องกันครอบครัวของตัวเองอีกด้วย กล่าวคือ ครอบครัวจะต้องคิดอยู่เสมอว่าผู้ที่จะต้องมาแทนตนในอนาคตนั้นจะต้องดีกว่าตนเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ครอบครัวอาจถูกเรียกได้ว่าเป็นฐานของความก้าวหน้า การพัฒนา ความเจริญรุ่งเรืองและความแข็งแกร่งของอารยธรรมมนุษย์บนหน้าแผ่นดิน ดังนั้น ในบรรดาปัญหาของสังคมทั้งหลาย อิสลามจึงให้ความใส่ใจต่อปัญหาที่เกี่ยวพันกับครอบครัวเป็นอย่างมาก และพยายามที่จะให้หน่วยสังคมที่สำคัญที่สุดนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่แข็งแกร่งและดีที่สุด
            ตามทัศนะของอิสลามรูปแบบของความสัมพันธ์ที่ถูกต้องระหว่างชายและหญิงก็คือการแต่งงาน ซึ่งอิสลามถือว่าเป็นหน้าที่ทางสังคมอย่างหนึ่งของชายและหญิง อิสลามไม่ยอมให้อภัยโทษต่อความผิดทางเพศและคัดค้านต่อสิ่วที่เรียกว่าเสรีรักเพราะอิสลาถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทำลายรากฐานของสังคมมนุษย์ การที่กฎหมายอิสลามกำหนดโทษเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างรุ่นแรงนั้น ก็เพราะต้องการป้องกันมิให้พฤติกรรมที่เป็นภัยนี้เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันอิสลามก็ไม่เปิดโอกาสให้สังคมมีกิจกรรมที่ส่งเสริมหรือยั่วยุความรู้สึกทางเพศเกิดขึ้น ก็ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวเพื่อป้องกันและสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัวอิสลามไม่เพียงแต่ถือว่าการแต่งงานเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนเท่านั้น แต่ยังถือว่าการแต่งงานเป็นการกระทำความดีและยังเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าด้วยซ้ำไป
            ภายในครอบครัว อิสลามกำหนดให้มีหน้าที่ให้แก่ผู้ชายไว้ทั้งเพื่อให้เขาสามารถรักษาระเบียบวินัยไว้ในฐานะหัวหน้าครอบครัว อิสลามต้องการให้ภรรยาเชื่อฟังและปฏิบัติหน้าที่เอา
อกเอาใจสามีและต้องการให้ลูกๆ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ อิสลามไม่ต้องการครอบครัวที่ขาทดระเบียบวินัยและแตกแยก แต่ระเบียบวินัยจะดำรงอยู่ได้ก็โดยการใช้อำนาจ และในทัศนะของอิสลามพ่อเป็นผู้ที่เหมาะที่สุดที่จะรับผิดชอบต่อการใช้อำนาจนี้

ญาติและเพื่อนบ้าน
            นอกเหนือจาดครอบครัวแล้ง บรรยากาศทางสังคมที่มีขอบเขตกว้างขวางกว่านั้นก็คือบรรดาวงศาคณาญาติ ซึ่งอิสลามต้องการให้บรรดาผู้คนเหล่านี้มีความเห็นอกเห็นใจ มีความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คัมภีร์ กุรอานเองก็ได้กำหนดให้ปฏิบัติต่อญาติด้วยดีไว้หลายแห่ง ท่านศาสดาเองก็ได้เน้นว่าการปฏิบัติดีต่อญาติเป็นคุณความดีที่สูงสุดอย่างหนึ่ง ไม่เพียงแต่เท่านั้น อิสลามยังได้ประณามต่อผู้ที่ไม่เอาใจใส่หรือเพิกเฉยต่อญาติพี่น้องของตนด้วย อย่างไรก็ตามการส่งเสริมให้เกิดความรักในหมู่ญาติพี่น้องนั้นก็มิได้หมายถึงการเห็นแก่พวกพ้องจนเสียความเป็นธรรม ซึ่งหากเกิดสภาพเช่นนี้แล้ว อิสลามจะประณามทันที่ว่าเป็นการกระทำของพวกที่โง่เขล่างมงาย (ญาฮีลียะห์)
            เพื่อนบ้านซึ่งคัมภีร์กุรอานได้แย่งไว้เป็นสามพวก
            1.เพื่อนบ้านที่เป็นญาติด้วย
            2.เพื่อนบ้านต่างถิ่น
            3.เพื่อนบ้านที่นานๆ พบกันครั้งหนึ่ง หรือเพื่อนชั่วคราวที่ใครคนใดคนหนึ่งที่มีโอกาสไปอยู่ด้วยหรือเดินทางไปพบบ้างเป้นครั้งคราว
            บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมานี้สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลและการปฏิบัติที่ดีงานด้วย ท่านศาสดาได้กล่าวว่า ญีบรีล (ทูตสวรรค์) ได้เน้นถึงความสำคัญของเพื่อนบ้านเหมือนกับจะมีความเข้าใจว่าเพื่อนบ้านมีสิทธิในมรดกของเราด้วย ท่านศาสดาได้เคยกล่าวว่าบุคคลใดก็ตามที่เพื่อนบ้านของเขายังไม่ปลอดภัยจากการกระทำที่ไม่ดีของเขา เขาผู้นั้นก็มิได้เป็นผู้ศรัทธาในอิสลามอีกครั้งหนึ่ง ท่านกล่าวว่า บุคคลใดก็ตามที่กินอาหารอย่างอิ่มหนำสำราญขณะที่เพื่อนบ้านของเขายังอิดโซหิวโหยอยู่ เขาผู้นั้นยังมิได้มีความศรัทธาในอิสลามครั้งหนึ่ง ท่านศาสดาได้ทราบข่าวว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งดำรงการนมาซและจ่ายซะกาตอยู่เป็นประจำ แต่เพื่อนบ้านของเธอก็มักจะได้รับความเดือดร้อนจากลิ้นของเธออยู่เสมอ ท่านศาสดาจึงกล่าวว่า ผู้หญิงเช่นนั้นก็สมควรที่จะได้รับไฟนรกขณะเดียวกัน ท่านศาสดาก็ได้รับการบอกเล่าถึงหญิงคนหนึ่งซึ่งไม่มีคุณความดีดีเหมือนหญิงคนแรกเลย แต่นางก็มิได้ทำความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้าน ท่านศาสดาจึงกล่าวว่า บางที่ผู้หญิงคนนั้นอาจได้รับการตอบแทนด้วยสวรรค์ท่านศาสดาเน้นถึงคุณธรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้มากจนถึงได้แนะนำว่า เมื่อใดก็ตามที่มีมุสลิมนำผลไม้มาให้ลูกของตน เขาก็ควรที่จะส่งผลไม้ไปให้แก่เพื่อนบ้านของเขาบ้าง หรือมิเช่นนั้นอย่างน้อยที่สุด ก็มิควรที่จะขว้างเปลอกผลไม้ออกมานอกประตูบ้าน ทั้งนี้ เพื่อที่เพื่อนบ้านจะได้ไม่รู้สึกอยากผลไม้นั้นขึ้นมา ครั้งหนึ่งท่านศาสดาได้กล่าวว่า คนที่ดีจริงๆ นั้นคือคนที่เพื่อนบ้านยอมรับว่าเขาเป็นคนดี และคนที่เลวนั้นคือคนที่เพื่อนบ้านถือว่าเป็นคนเลว
            อิสลามได้กำหนดให้มุสลิมสร้างสังคมที่พึ่งพาอาศัยกันและกัน และเป็นสังคมที่ชีวิติ ทรัพย์สิน และเกียติยศได้รับความปลอดภัยในหมู่เพื่อนบ้าน สังคมใดก็ตามที่คนสองคนเพียงแต่ถูกแบ่งแยกด้วยกำแพงจนไม่รู้จักซึ่งกันและกันเป็นเวลาแรมปี หรือใครก็ตามที่อาศัยในพื้นที่เดียวกันโดยไม่มีผลประโยชน์หรือมีความเชื่อมั่นในอีกคนหนึ่งได้ สังคมเช่นนี้ก็มิอาจถูกเรียกได้ว่าเป็นสังคมอิสลาม
            ถัดไปจากเพื่อนบ้านแล้วก็เป็นเรื่องราวของความสัมพันธ์ที่ครอบคลุมสังคมทั้งหมด ซึ่งอิสลามได้วางหลักการไว้อย่างกว้างๆ ดังนี้
            1.เพื่อเป็นความร่วมมือในการประกอบคุณงานความดี มิใช่ร่วมมือในการประกอบความชั่วและอยุติธรรม
            2.มิตรภาพและความเป็นศัตรูของคนหนึ่งคนใดควรเป็นไปเพื่อความโปรดปราณของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น อะไรก็ตามทที่ท่าน (มุสลิม) ให้ไป ควรถูกให้ไปเพราะพระผู้เป็นเจ้าโปรดปราน และอะไรก็ตามที่ท่าน (มุสลิม) จะระงับยับยั้งก็ควรจะถูกยับยั้งเพราะพระผู้เป็นเจ้าไม่โปรดปราน
            3.สูเจ้า (มุสลิม) เป็นประชาชาติที่ดีที่สุดที่ถูกอุบัติขึ้นแก่มนุษยชาติ หน้าทีของสูเจ้าคือการบัญชาคนให้ทำความดีและป้องกันพวกเขาจากการทำความชั่ว (กุรอาน 3:10)
            4.อย่าได้คิดร้ายซึ่งกันและกัน อย่าได้เข้าไปยุ่งในกิจการของคนอื่นหรือยุแย่ให้คนเป็นศัตรูกัน จงระวังตัวเองให้พ้นจากการเกรียดชังและอิจฉาริษยา อย่าคิดคัดค้านซึ่งกันและกันโดยไม่จำเป็น จงดำรงความเป็นบ่าวและความเป็นผู้อยู่ใต้อัลลอฮอยู่เสมอ และจงดำรงชีวิติอย่ากับท่านท่ามกลางญาติพี่น้อง
            5.อย่าได้ช่วยเหลือผู้กดขี่
            6.เลือกให้คนอื่นเหมือนกับที่ท่านเลือกให้ตัวของท่านเอง
            ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของค่านิยมทางสังคมที่อิสลามสร้างขึ้นและต้องการที่จะเห็นมันสถิตย์อยู่ในสังคมมนุษย์

หลักเศรษฐกิจของอิสลาม
ในทางเศรษฐกิจ อิสลามก็ได้วางหลักการและกำหนดขอบเขตบางประการเกี่ยวกับกิจกรรมด้านนี้เอาไว้ทั้งนี้ว่าแบบแผนของการผลิต การแลกเปลี่ยน และการกระจายความมั่งคั่งจะได้สอดคล้องต้องกันกับมาตรฐาน ความยุติธรรมและความเสมอภาพตามแบบอย่างของอิสลามด้วย อย่างไรก็ตามอิสลามก็มิได้กำหนดวิธีและเทคนิคการผลิตทางเศรษฐกิจหรือพูดถึงรายละเอียดของแบบแผนและกลไกทางการจัดองค์กรไว้ แต่อิสลามได้เปิดโอกาสกว้างให้แก่มนุษย์ได้เลือกวิธีการในเรื่องของรายละเอียดเอาเองตามยุคตามสมัย ตามความต้องการของชุมชน หรือตามความจำเป็นของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ แต่วิธีการหรือรายละเอียดที่มนุษย์คิดค้นขึ้นนั้นจะต้องไม่ขัดต่อหลักการใหญ่ของอิสลาม
            ตามทัศนะของอิสลามเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐกิจ อิสลามถือว่าพระผู้เป็นเจ้าได้สร้างโลกและทรัพยากรทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกไว้ให้แก่มนุษย์อย่างพร้อมสรรพแล้ว ดังนั้นเมื่อมนุษย์ทุกคนเกิดมา มนุษย์จึงมีสิทธิในการแสวงหาหรือได้รับส่วนแบ่งจากสิ่งที่มีอยู่ในโลกมาตั้งแต่เกิด ทุกคนมีสิทธิ์ดังกล่าวอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีใครที่จะมาอ้างสิทธิดังกล่าวนี้เหนือกว่าคนอื่นได้ในทัศนะของอิสลามบุคคลในทุกชนชั้นหรือในทุกเผ่าพันธุ์จะได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันในอาณาจักรทางเศรษฐกิจ ผู้ใดจะมาอ้างเหตุผลเพื่อการสร้างระบบผูกขาดขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจไม่ได้ เพราะอิสลามถือว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะดิ้นรนขวนขวายและได้ส่วนแบ่งในปัจจัยการดำรงชีพที่พระผู้เป็นเจ้าจัดเตรียมไว้ให้บนโลกนี้ ดังนั้น อิสสลามจึงได้วางหลักประการให้มนุษย์ได้มีโอกาสที่ยุติธรรมและเท่เทียมกันในทางด้านเศรษฐกิจ

สิทธิในทรัพย์สิน
            ทรัพยากรทางธรรมชาติที่พระผู้เป็นเจ้าได้จัดเตรียมไวให้แก่มนุษย์โดยไม่คิดมูลค่านั้น อิสลามถือว่ามนุษย์สามารถที่จะนำมันไปใช้ได้โดยตรงอย่างเสรี และทุกคนก็มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากมันจนเพียงพอแกความต้องการของตน ดังนั้นน้ำที่ไหลอยู่ตามแม่น้ำและตาน้ำ ไม้ในป่า และผลไม้ที่ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ทุ่งหญ้า อากาศ สัตว์ป่า แร่ธาตุภายใต้พื้นผิวดิน และทรัพยากรอื่นๆ ใครจะมาทำผูกขาดหรือจำกัดเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวมิได้ และแน่นอนถ้าหากใครผู้ใดต้องการที่จะใช้ สิ่งเหล่านี้เพื่อวัตถุประทางการค้าแล้ว เขาก็สามารถทำได้ แต่จะต้องจ่ายภาษีแก่รัฐแต่ถ้าหากว่าใครนำทรัพยากรเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิดแล้ว รัฐบาลก็มีสิทธิที่จะเข้าไปแก้ไขเพื่อให้ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามถูกต้องได้ อิสลามจึงถือว่าใครก็ตามที่ต้องการจะถือครองที่ดินไว้โดยไม่ทำการเพาะปลูกเป็นเวลาเกินกว่าสามปีไม่ได้ ถ้าหากว่าตัวเขาเองไม่นำที่ดินไปใช่ในการเพาะปลูกหรือสร้างอาคารหรือนำไปใช้ในลักษณะอื่นๆ แล้ว ที่ดินนั้นจะถือว่าเป็นที่ดินรกร้างวางเปล่า และถ้าหากว่ามีใครคนใดเขาไปใช้ที่ดินนั้นให้เกิดประโยชน์แล้ว ใครจะไปฟ้องร้องเอาความทางกฎหมายไม่ได้ และรัฐบาลเองก็ไม่มีอำนาจที่จะยึดเอาที่ดินดังกล่าวไปให้กับคนอื่น (รวมทั้งเจ้าของเดิม) ด้วย
            ถ้าหากใครก็ตามเป็นเจ้าของทรัพยากรและทำมันให้มีค่าขึ้นมา เขาผู้นั้นก็ย่อมมีสิทธิในสิ่งนั้น  ตัวอย่างเช่น ถ้าหากใครเข้าไปครอบครองที่ดินรกร้างวางเปล่าที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของมาก่อนและเขาใช้ที่ดินนั้นให้เกิดผลผลิตขึ้นมา ที่ดินของเขาจะถูกใครมาริบหรือมายึดไว้ไม่ได้  นั้นหมายถึง เขาได้รับสิทธิในการใช้มันเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง และถ้าหากใครต้องการที่จะมาใช้ทรัพย์สินที่คนอื่นมาใช้ประโยชน์อยู่แล้ว เขาก็จะต้องจ่ายค่าชดเฉยให้กับเจ้าของที่ดินที่กำลังทำประโยชน์อยู่ นี้คือพื้นฐานทางธรรมชาติของกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งใครจะเขาไปแทรกแซงก้าวกายไม่ได้ และสิทธิที่บุคคลได้มาด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นจะต้องได้รับการเคารพและให้เกียรติ รัฐหรือกฎหมายใดๆจะเข้าไปถอดถอนสิทธิในการมีกรรมสิทธิ์ของประชาชนไม่ได้เป็นเด็ดขาด อิสลามไม่ยอมรับนโยบายเศรษฐกิจที่ทำลายสิทธิที่ชารีอะห์ (กฎหมายอิสลาม) ได้ให้ไว้ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลสวยหรูมาอ้างก็ตาม จริงอยู่ความเป็นธรรมทางสังคมและผลประโยชน์สวนรวมเป็นสิ่งที่อิสลามปรารถนา แต่ก็จะต้องไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลตามที่กฎหมายอิสลามได้กำหนดไว้  เพราะกฎหมายอิสลามถือว่าหน้าที่อย่างหนึ่งของรัฐก็คือ การคุ้งครองสิทธิทางกฎหมายของเอกชนและคอยดูแลให้เอกชนปฏิบัติต่อสังคมตามที่กฎหมายระบุไว้ให้ลุล่วงไปด้วยดี ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า อิสลามเป็นระบอบที่เน้นถึงดุลยภาพระหว่างปัจเจกชนนิยม ( Individualism ) และลัทธิกรรมสิทธิ์ร่วมกัน (Collectivism )

ปัญหาเรื่องความเสมอภาพ
            ถ้าหากเราสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และความประเสริฐของพรระผู้เป็นเจ้าที่มีต่อมนุษยชาติแล้ว เราจะพบว่า พระองค์มิได้ให้ความโปรดปรานกับมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันหมด แต่พระองค์จะให้บางคนเหนือกว่าบางคน สุดแท้แต่พระองค์จะประสงค์ เช่น รูปร่างหน้าตาที่สวยงาม เสียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง สุขภาพร่างการ และสติปัญญาความสามารถ สิ่งเหล่านี้พระองค์มิได้ประทานแก่มนุษย์เท่าเทียมกัน หมด เช่นเดียวกับปัจจัยการดำรงชีพทางวัตถุ ดังนั้นธรรมชาติของมนุษย์จึงผิดแผกแตกต่างกันไปในแต่ละคนซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่ความจริงแล้วความแตกต่างกันเช่นนี้แหละเป็นเครื่องชูรส แห่งชีวิตและเป็นแรงผลักดันท่อยู่เบื้องหลังความพยายามและความประเสริฐของมนุษย์ ดังนั้นวิธีการหรืออุดมการณ์ใดก็ตามที่ต้องการจะบังคับให้สังคมมีความเท่าเททียมกันทางเศรษฐกิจจึงเป็นความคิดและวิธีการที่ผิด ไม่เป็นจริงและไม่มีวันที่จะเป็นไปได้ ความเสมอภาพในแง่ของโอกาสการต่อสู้เพื่อการดำรงชีพเพื่อการก้าวขึ้นไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และเพื่อความอยู่ดีกินดี อิสลามไม่พึงปรารถนาให้มีอุปสรรคใดๆ  เกิดขึ้นมากีดขว้างเอกชนมิให้ดิ้นรนต่อสู่เพื่อการดำรงชีพตามความสามารถและสติปัญญาของแต่ละคน และขณะเดียวกันอิสลามก็ไม่ต้องการให้ความแตกต่างในสังคมกลายมาเป็นเครื่องปกป้องอภิสิทธิ์ของชนชั้น เผ่าพันธุ์ กลุ่มคน หรือราชวงศ์หนึ่งราชวงศ์ใด แผนการหรืออุดมการณ์ใดก็ตามที่มีขึ้นเพื่อรับใช้ผลประโยชน์ของคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดหรือต้องการที่จะแทรกแซงคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดถือเป็นสิ่งที่อิสลามไม่พึงปรารถนาและเป็นสิ่งที่อิสลามไม่ยอมรับ เพราะวิธีการใดก็ตามที่มีจุดมุ่งหมายจะทำให้คนมรสังคมมีความเท่าเทียมกันอยู่ในระดับเดียวกันถือเป็นแรงกระตุ้นและความพยายามในสังคม ดังนั้นอิสลามจึงมุ่งที่จะกำจัดวิธีการดังกล่าวเหล่านั้นและสร้างระบบเศรษฐกิจบนพื้นฐานทางธรรมชาติแห่งความเป็นจริงขึ้นมาเพื่อที่จะเปิดโอกาสในการต่อสู่ให้แก่ทุกคนในขณะเดียวกัน อิสลามจึงไม่เห็นด้วยกับผู้ที่ต้องการจะบังคับให้สังคมมีความเสมอภาคกันอย่างสมบูรณ์ในแง่ของปัจจัยการผลิตและผลของความพยายามทางเศรษฐกิจเพราะถือว่าการทำเช่นนี้เป็นการเอาความเท่าเทียมจอมปลอมไปแทนที่ความแตกต่างกันทางธรรมชาติที่มีขอบเขตจำกัด ระบบอิสลามเท่านั้นทีเป็นระบบใกล้ธรรมชาติที่สุดซึ่งทุกคน สามารถเข้าร่วมต่อสู่ทางด้านเศรษฐกิจได้ในสภาพที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างเขามา

ความยุติธรรมทางสังคม
            อิสลามก็มิได้ต้องการแข่งขันทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศที่ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องสนใจใยดีกับใคร ในทางตรงกันข้ามอิสลามต้องการให้ผู้ที่มีส่วนในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเอาใจใส่และเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน โดยบัญญัติทางด้านศิลธรรม ในด้านหนึ่งอิสลามต้องการที่จะสร้างความรักและ ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้ประชาชนได้ช่วยเหลือพี่น้องของเขาที่อ่อนแอกว่า แต่ขณะเดียวกันอิสลามก็ได้สร้างสถาบันอันถาวรขึ้นมาภายในสังคมเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ ที่ยังขาดปัจจัยยังชีพด้วย ใครก็ตามที่มาสามารถที่จะเข้าร่วมการแข่งขันทางเศรษฐกิจจะได้รับส่วนแบ่งทางสังคมแห่งนี้ และผู้ใดที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อการเริ่มต้นต่อสู่ทางด้านเศรษฐกิจก็ย่อมจะได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันแห่งนี้ด้วยเช่นกัน อิสลามจึงได้มีการบัญญัติให้มีการเก็บซะกาตทรัพยสินที่เก็บไว้ครบรอบปีในอัตรา 2.5% เก็บจากพืชผลทางการเกษตร 5% - 10% และจากเมืองแร่ 20% เป็นประจำทุกปีนอกจากนั้นแล้ว ใครก็ตามที่มีปศุสัตว์เกนจำนวนที่กำหนดไว้ก็จะถูกเก็บซะกาตด้วย
            สำหรับเรื่องฐานะของบุคคลต่อสังคมนั้น อิสลามมีความต้องการที่จะสร้างดุลยภาพระหว่างของสองสิ่งนี้ให้เท่าเททียมกันโดยจะส่งเสริมเสรีภาคส่วนบุคคล ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหลักการไว้ไม่ให้เสรีภาพส่วนบุคคล นั้นเป็นภัยต่อประโยชน์ของสังคม

ข้อบังคับและข้อจำกัด
            หากใครได้ศึกษาอิสลามแล้วจะเห็นว่าอิสลามได้จำแนกแยกแยะว่าอะไรผิดอะไรถูกในเรื่องของการหาเลี้ยงชีพไว้อย่างพิถีพิถันมากอย่างที่เราไม่มีวันจะได้พบในสังคมอื่นๆ ที่มีอยู่ในโลก อิสลามประณามการหาเลี้ยงชีพทุกอย่างที่จะสร้างความเสียหายทั้งหมดทั้งทางด้านวัตถุและศิลธรรมว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย อิสลามถือว่าการผลิตและการขายสิ่งมึนเมาทุดชนิด การดำเนินกิจการโสเภณี หรือการแสดงที่ยั่วยุกามารมณ์ การพนัน การเสี่ยงโชค การแข่งม้า ล็อตเตอรี่ การผูกขาด ตลอดจนธุรกิจที่ฝ่ายหนึ่งได้ผลประโยชน์อย่างชัดๆ ในขณะอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสี่ยงต่อความไม่แน่นอน เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ถ้าหากเราพิจารณากฎหมายทางเศรษฐกิจของอิสลามเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว เราจะพบว่ากิจกรรมที่อิสลามถือว่าผิดกฎหมายส่วนมากสามารถทำให้คนเป็นมหาเศรษฐีได้ ในสังคมระบบทุนนิยม ดังนั้น อิสลามจึงห้ามวิธีการหาเลี้ยงชีพที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ให้เสรีภาพอย่างเต็มที่แก่คนที่จะดำเนินกิจการใดก็ตามที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และคนประเภทนี้ต่างหากที่อิสลามเห็นว่าเป็นผู้ที่ควรจะได้รับผลตบแทน


               " ถ้าหากใครก็ตามคิดที่จะปรับปรุงอิสลามแล้วละก็  เราจะยินดีในความพยายามของเขา  ถ้าหากเขามีเหตุผลที่ดีที่จะพิสูจน์ได้ว่า  ส่วนไหนของอิสลามที่ตายไปแล้ว ทำไมมันถึงได้ตาย และถ้าหากจะเปลี่ยนแล้วจะเปลี่ยนเป็นแบบไหน  นอกจากนั้นจะต้องบอกด้วยว่าส่วนไหนที่ยังมีชีวิตและยังใช้ได้  และเขาต้องการที่จะรักษามันไว้ในรูปใด  ถ้าหากมีใครคิดที่จะมาตัดส่วนที่ตนไม่ชอบ  และรักษาสิ่งที่ตนชอบไว้  หรือแก้ไขให้สอดคล้องกับความคิดของตนเองแล้ว  ต่อไปมุสลิมจะมี "อิสลาม" แต่เพียงชื่อเท่านั้น  ซึ่งเรื่องนี้มุสลิมธรรมดายอมรับไม่ได้ "
                   วันที่  25 พฤษภาคม ค.. 1955  หลังจากที่ศาลสูงได้พิจารณาว่าเขาเป็นผู้ที่ไม่สมควรแก่การถูกคุมขัง  เมาลานา  เมาดูดี  จึงได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระ
                   ในที่สุด  รัฐธรรมนูญฉบับแรกของสาธารณะรัฐอิสลามปากีสถานก็ถูกประกาศออกมาในเดือนมีนาคม ค..1956 รัฐธรรมนูญฉบับนี้บรรจุข้อเรียกร้องของ  ญะมาอัต  อิสลามี  ไว้เป็นจำนวนมาก  แต่อย่างไรก็ตาม  เป็นที่น่าเสียใจว่าขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำลังจะสมบูรณ์ในการนำมาใช้เป็นพื้นฐานสำหรับรัฐอิสลามจริงๆ  ประธานาธิบดี  อิสกันเดอร์ มิรซา  ก็ประกาศกฤษฎีกายกเลิกมันเสียก่อนในวันที่  7 ตุลาคม 1958  และในวันที่ 27 เดือนเดียวกันนั้นเอง  จอมพล  มุฮัมมัด อายุบ  ข่าน ก็เข้ามายึดอำนาจประกาศกฎอัยการศึก  และสั่งยุบพรรคการเมทองทุกพรรครวมทั้ง ญะมาอัต  อิสลามีด้วย
           ถึงกระนั้นก็  เมาลานา เมาดูดี  ก็มิได้ท้อแท้  เขายังคงทำงานเพื่ออิสลามอยู่ต่อไปเหมือนเคย  แม้จะมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกก็ตาม  เขาก็ได้นำเอาคำปราศรัยและบทความต่างๆของเขาจาก ค.. 1938  ถึง  .. 1958  มาปรับปรุงและเขียนเป็นหนังสือเล่มหนึ่งภายใต้ชื่อว่า   " กฎหมายอิสลามและรัฐธรรมนูญ" ซึ่งบรรยายถึงความจำเป็นและการใช้ชารีอะฮ์ในรัฐบาลใหม่ ข้อโต้แย้งของ เมาลานา  เมาดูดี  มีเหตุผล จนแม้แต่คนคริสเตียนในระดับสูงอย่างเช่น  หัวหน้าศาลของปากีสถาน เอ.อาร์ คาร์เนเลียสก็ยังสนับสนุนอย่างเปิดเผยว่า  การใช้  ชารีอะฮ์  เป็นกฎหมายเป็นเรื่องที่เหมาะสมสำหรับประเทศ  ในการฉลองครบรอบร้อยปีของศาลสูงปากีสถานตะวันตกซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่  17 กุมภาพันธ์ ค..1967 นั้น ผู้พิพากษาทุกคนก็ได้แสดงความปรารถนาที่จะให้ปากีสถานมีการใช้กฎหมายอิสลาม
                  วันที่  5-6 พฤษภาคม ค.. 1960 เมาลานา เมาดูดี กับปราชญ์ทางศาสนาอีก  19 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของสำนักแนวความคิดมุสลิมที่ได้รับการยอมรับทุกแห่ง  ได้มาพบกันที่เมืองลาโฮร์เพื่อตอบคำถามของกรรมาธิการรัฐธรรมนูญทีรัฐบาลแต่งตั้งขึ้นมาว่าทำไมระบบรัฐสภาจึงประสบความล้มเหลวในปากีสถาน  และได้เสนอมาตรการแก้ไขเพื่อนำประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนกลับคืนมา
          " ปากีสถานเกิดขึ้นโดยคุณธรรมของมุสลิม ยิ่งไปกว่านั้นนอกไปจากความกรุณาของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว  มันเป็นการตัดสินใจของคนมุสลิมที่สามารถประกันการคงอยู่และความเข้มแข็งของของปากีสถานได้  ไม่มีคนที่มิใช่มุสลิมไหนสร้างประเทศนี้ขึ้นมา  ปากีสถานมิอาจที่จะเกิดขึ้นได้ถ้าปราศจากการต่อสู้ของมุสลิมและมันก็มิอาจดำรงอยู่ได้ถ้าหากว่า  ด้วยความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว  มุสลิมไม่มีความหวังในมันและคิดที่จะอยู่และตายเพื่อมัน  นอกจากพวกข้าราชการระดับสูงและคนที่มั่งคั่งอีกไม่กี่คนแล้วคนมุสลิมทั่วไปปรารถนาที่จะสร้างและเห็นปากีสถานรุ่งเรืองในฐานะรัฐอิสลามซึ่งใช้กฎหมายอิสลาม  ระบบการศึกษา  วัฒนธรรมและอารยธรรมเป็นแบบอิสลาม  ด้วยจุดประสงค์นี้แหละที่มุสลิมได้อุทิศชีวิต  ทรัพย์สิน  เกียรติยศเพื่อสถาปนาปากีสถาน  ไม่มีศัตรูหน้าไหนที่จะทำลายผลประโยชน์อันนี้ของประชาชนได้  หลังจากที่สร้างภาพลวงให้แก่มุสลิมด้วยกันแล้ว  มีข้อสนับสนุนอันใดที่คนเพียงหยิบมือหนึ่งจะต้องจงเกลียดจงชังอิสลาม  ซึ่งเป็นศาสนาของตนเอง
ระหว่าง ค.. 1959  และ ค.. 1960 เมาลานา  เมาดูดี  ได้เดินทางไปทั่วเอเซียตะวันตก  โดยได้ไปแวะเยี่ยมสถานที่สำคัญต่างๆทางประวัติศาสตร์ใน  อารเบีย ซีเรีย  จอร์แดน  และอียิปต์ที่คัมภีร์ต่างๆได้กล่าวไว้  ทั้งนี้เพื่อหาข้อมูลสำหรับการแปลและอรรถาธิบายคัมภีร์
กุรอานในภาคภาษาอุรดู  ที่ชื่อว่า " ตัฟฮีมุล อัลกุรอาน" ซึงแยกออกเป็น  6  เล่มด้วยกัน งานชิ้นนี้  เมาลานา เมาดูดี  เริ่มทำตั้งแต่ปี ค..1942 และไปเสร็จสมบูรณ์เอาในปี ค.. 1972  เนื่องจากงานของเขาชิ้นนี้เป็นที่เรียกร้องต้องการของมุสลิมทั่วโลก  จึงได้มีการจัดแปลงานชิ้นนี้ของเขาออกมาเป็นภาษาอังกฤษ  อาหรับ  เบงกาลี  และปูรโต  ในหนังสือ " ตัฟฮีมุล อัล
กุรอาน" ของเขา  เมาดูดี  ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าแนวทางของอิสลามนั้นสูงส่งและสมบูรณ์กว่าแนวทางอื่นใดในโลก  และแสดงให้เห็นว่าพวกยิวและคริสเตียน  ได้ทำลายคัมภีร์ของตนเองอย่างไร
         คำอรรถาธิบายของเมาลานา  เมาดูดี  ในคัมภีร์กุรอาน บท " อันนูร"(รัศมี) และบท " อัล-อ๊ะฮ์สาบ" (การลงโทษ) ได้ถูกนำมาตีพิมพ์แยกไว้ต่างหาก  เพราะทั้งสองบทนี้  เมาลานา  เมาดูดี  ได้แจกแจงให้เห็นว่าการลงโทษการประกอบอาชญากรรมของอิสลามนั้นมีมนุษยธรรมและมีเหตุผลมากกว่ากฎหมายอาชญากรรมที่มนุษย์เขียนขึ้น  หนังสือเล่มนี้เป็นตำราสำคัญในคณะศิลปศาสตร์และกฎหมายของวิทยาลัยและมหาลัยในปากีสถานทุกแห่ง
                   ใน ค.. 1961 กษัตริย์ อิบนิ สะอู๊ด แห่ง  สะอูดีอารเบียได้เรียกตัว เมาลานา เมาดูดี เข้าเฝ้าโดยด่วน เพื่อขอให้เขาช่วยวางแผนงานจัดตั้งมหาวิทยาลัยในมดีนะฮ์ขึ้น  ซึ่งพระองค์ต้องการที่จะให้มันเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้แนวความคิดแบบอิสลามจริงๆ แทนมหาวิทยาลัย อัล อัซฮาร์ในไคโร  ซึ่งลักษณะของอิสลามได้ถูกทำลายไปโดยลัทธิชาตินิยมและลัทธิที่มิได้วางรากฐานอยู่บนหลักการของศาสนา
                  " หลักสูตรที่ข้าพเจ้าได้เสนอไปและได้รับความยอมรับจากคณะกรรมการที่กษัตริย์ทรงตั้งขึ้นเพื่อมหาวิทยาลัยอิสลามใน. มาดีนะฮ์นั้นจะมีการสอนกุรอาน  แบบอย่างการสอนของท่านศาสดามุฮัมมัด  กฎหมายอิสลาม  ประวัติศาสตร์อิสลาม  ศาสนศาสตร์  ควบคู่ไปกับกฎหมาย  การเมือง  เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์สมัยใหม่  และศาสนาเปรียบเทียบ  โดยมีภาษาอังกฤษ  ฝรั่งเศส  หรือเยอรมันเป็นวิชาบังคับด้วย  การศึกษาจะมิได้เป็นไปแบบ " ทางโลก" หรือ " ศาสนา" แต่เพียงทางหนึ่งทางใด มหาวิทยาลัยนี้จะแตกต่างไปจากสถาบันการศึกษาสมัยเก่าและสมัยใหม่ทุกสถาบัน  และจะคงความเอกลักษณ์ของมันเองไว้  เราหวังว่าจะสามารถทำให้นักศึกษามุสลิมที่มีความรู้ในคำสอนอิสลามสามารถเข้ากันได้กับความรู้สมัยใหม่  และทำผู้ที่มีความสามารถนำหลักการอิสลามไปประยุกต์ใช้กับปัญหาชีวิตในปัจจุบันได้"  
            เนื่องจากความอิจฉาริษยาในความนิยมชมชื่นที่ประชาชนมีต่อเมาลานา เมาดูดี เพิ่มขึ้นทุกวัน  ศัตรูของเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะทำลายการประชุมประจำปีของ  ญะมาอัต อิสลามี  ที่จัดขึ้นในวันที่  25-28 ตุลาคม  ค.. 1963  แม้ว่าศัตรูจะพยายามสร้างอุปสรรคให้ทุกอย่างโดยการหน่วงเหนี่ยวการเดินทาง  และไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง  การประชุมก็ยังคงมีขึ้นโดยมีคนเข้าร่วมถึง  50000  คน ภายใต้การคุ้มการของตำรวจ  พวกอันธพาลได้พยายามที่จะวางระเบิดหอประชุมและพยายามลอบสังหารเมาลานา  เมาดูดี แต่ด้วยความกล้าหาญของเขาและความสงบของสมาชิกญะมาอัต  ทำให้การประชุมดำเนินไปได้จนกระทั่งประสบผลสำเร็จด้วยดี
                   การจองเวรของสัตรูของเมาลานา  เมาดูดี ยังไม่ลิ้นสุดเพียงแค่นั้นพวกนี้ได้พยายามโฆษณาชวนเชื่อผ่านหนังสือพิมพ์โจมตีเขาอย่างหนัก  จนกระทั่งในวันที่  มกราคม ค.. 1964  เขาได้บรรดาผู้นำคนสำคัญของญะมาอัตก็ถูกจับกุมอีกครั้งหนึ่งโดยไม่มีการไต่สวน ญะมาอัต อิสลามี  ของเขาถูกถือว่าเป็นสมาคมผิดกฎหมายและถูกสั่งปิด สำนักงานทุกแห่ง  ห้องสมุด  และสถานที่นัดพบถูกปิดตาย อย่างไรก็ตาม ทันทีที่เรื่องนี้ถูกนำมาขึ้นศาลสูงสุดปากีสถานเพื่อพิจารณา การสั่งปิดญะมาอัตและการจำคุกบรรดาผู้นำก็ถูกยกเลิก เพียง  15 วันหลังจากได้รับการปล่อยตัวออกจากคุกวันที่  25 ตุลาคม  ค.. 1964 ระหว่างการรณรงค์เลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งชาติ  เมาลานา เมาดูดี ได้กล่าวปราศรัยเป็นเวลา  ชั่วโมงในลาโฮร์ต่อหน้าประชาชนจำนวนมากมายมหาศาล โจมตีนโยบายการปกครองทุกอย่างจนถึงกับท้าทายกฎหมายที่มีอยู่ในขณะนั้น 
                   " อาชญากรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราก็คือ  เรามิได้เป็นคนปลิ้นปล้อนในเรื่องของความศรัทธาในอิสลาม และเราดิ้นรนขวนขวายที่จะหล่อหลอมกิจการต่างๆ ของสังคมของเราเพื่อที่จะให้มันอยู่ในแนวทางคำสอนของอิสลาม เมื่อเรารับอิสลามเป็นศาสนาของเรา เราก็ต้องปฏิบัติตามอิสลามและอิสลามเท่านั้นที่จะเป็นทางนำในทุกย่างก้าวของชีวิต ไม่ว่าในด้านศิลธรรมหรือความประพฤติ  ศรัทธาหรืออุดมการณ์ จริยธรรมหรือการศึกษา สังคมหรือวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจหรือโครงสร้างทางการเมือง กฎหมายหรือการโฆษณา กิจการภายในประเทศหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความเสื่อมเสียทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องถูกขจัดให้หมดไปจากชีวิตส่วนตัวและชาติ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราประนีประนอมไม่ได้ และเราได้ตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามสิ่งที่เรานับถือแล้วนี่คือสิ่งที่กลืนไม่ลงสำหรับพวกที่ต้องการจะเล่นไม่ซื่อในนามของอิสลามซึ่งนโยบายของพวกเขามันบ่งออกมาว่าขัดกับอิสลามทุกอย่าง อาชญากรรมอันที่สองของเราก็คือ  เรากำลังสร้างคนที่เข้มแข็งและไว้วางใจได้ เราจะนำคนเข้ามาเป็นพวก  ของเราก็ต่อเมื่อเราได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว และใครก็ตามที่มาเข้าร่วมกับญะมาอัต อิสลามี  จะต้องเข้ามาด้วยความตั้งใจและคิดอย่างรอบคอบแล้ว  เพราะเมื่อเขาตัดสินใจมาทางนี้  ชีวิตทั้งหมดของเขาก็จะต้องเป็นไปตามนั้น  ความเป็นมุสลิมของเขาจะมิใช่เพียงประกาศตังออกมาด้วยวาจาเท่านั้น  แต่เขาจะต้องพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความประพฤติให้เป็นไปตามนั้นด้วย  จนแม้จะถูกกดขี่หรือปราบปรามเขาก็จะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงความศรัทธาของเขา  เขาจะประกาศออกมาอย่างเปิดเผยว่าอะไรดีอะไรชั่ว  สำหรับพวกเขาแล้ว คุกตะรางมิได้เป็นสิ่งที่น่ากลัว  แต่คุกตะรางนั้นมันเหมือนกับค่ายฝึกจิตใจและศิลธรรมของเขามากกว่า
                    " ขณะนี้ข้าพเจ้าได้ยื่นข้อกล่าวหาต่อประธานาธิบดี  อายุบ ข่าน ไปแล้ว  ทั้งนี้เพื่อจะทำให้ท่านได้รู้สึกบ้างว่า  นับตั้งแต่ประกาศกฎอัยการศึกมาจนถึงปัจจุบันนี้  ท่านได้ทำอะไรไปบ้างแล้วและข้าพเจ้ายังได้แสดงทัศนะไว้ด้วยว่า  ท่านมิสมควรกับตำแหน่งประธานาธิบดี
                  “ ประการแรก  ท่านมีความผิดที่มิรู้จักหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมา  ชาติได้ไว้วางใจและและได้มอบหมายให้ท่านเป็นผู้บัญชาการกองทัพ  แต่ท่านกลับเอากำลังทหารมาทำการปฏิวัติและฉีกรัฐธรรมของประเทศ  ท่านมีสิทธิ์อันใดที่จะก้าวขึ้นมามีอำนาจด้วยการใช้กำลังทหารที่มีไว้ให้ท่านสำหรับป้องกันประเทศ ? ถ้าหากว่า  อายุบ  ข่าน มีแผ่นการทางการเมืองและต้องการที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศแล้ว  ท่านก็ควรจะลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหาร  และลงมาแข่งขันในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์  .. 1959 นี้
                 “ อาชญากรรมประการที่สองที่  อายุบ  ข่าน  ประกอบไว้คือท่านได้ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย  ..  1956  ที่ท่านได้ให้สัตย์สัญญาว่าจะรักษาไว้เป็นเวลา  4  ปี  ในช่องเวลานี้  ประชาชนต้องถูกริดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานทั้งหมด  และท่านออกกฎหมายปกครองประเทศตามใจของท่าน  ท่านฉีกกฎหมายหรือกฎระเบียบทุกอย่างที่ไม่เหมาะสมสำหรับท่าน  ท่านได้ตั้งศาลทหารขึ้นมาแม้ว่าจะมีศาลพลเรือนและศาลอาชญากรรมอยู่แล้ว  และท่านตัดสินลงโทษคนอย่างลวงๆ
             “ อาชญากรรมประการที่สามของ มุฮัมมัด  อายุบ ข่าน ก็คือระหว่างกฎอัยการศึก  ท่านได้นำเอาระบบประชาธิปไตยพื้นฐานตามเจตนารมณ์ของท่านมาใช้  และจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นมาในช่วงเวลาที่ไม่มีพรรคการเมือง  หรือการจับกลุ่มพูดคุยกันทางการเมืองและการพูดหรือการประกอบกิจกรรมอันใดที่เกี่ยวกับการเมืองจะต้องถูกลงโทษจำคุกเป็นเวลาถึง  15  ปี  ช่างเป็นบรรยากาศที่เหมาะเหลือเกินสำหรับการเลือกตั้งของประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานและระหว่างการเลือกตั้ง  พวกประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานนี้ก็ถูกขอร้องให้ออกเสียงให้แก่  อายุบโดยไม่มีคู่แข่งเลย
           “ในโอกาสของที่เรียกว่าการเลือกตั้งนี้  อายุบไม่เพียงแต่ขอให้พวกประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน  80,000 คนลงคะแนนให้ท่านเป็นประธานาธิบดีเท่านั้น  แต่ยังใช้อำนาจของพวกนี้สำหรับการร่างรัฐธรรมนูญมาตามใจของท่านเองด้วย  ท่านมีเหตุผลสมควรอันใดที่ทำไปเช่นนี้ ? ในตอนที่มีการเลือกตั้งท่านก็ไม่ได้บอกประชาชนว่า  บุคคลที่เขาเลือกขึ้นไปนั้นจะมีสิทธิเลือกประธานาธิบดี  และประธานาธิบดีจะมีอำนาจในการร่างรัฐธรรมนูญของตนเอง ดังนั้น  จึงเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า  พวกประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน  80,000 คนนี้ไม่มีความเกี่ยวพันอันใดในการร่างรัฐธรรมนูญ
          “ ทีนี้เมื่อมีอำนาจที่จะร่างรัฐธรรมนูญ ประธานาธิบดีกับผู้ใช้กฎอัยการศึกซึ่งเป็นคนๆเดียวกัน  ก็ตั้งคณะกรรมาธิการรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อแนะนำการร่างรัฐธรรมนูญในอนาคต  ซึ่งบุคคลทั้งหมดในคณะกรรมาธิการนี้  ประธานาธิบดีก็เป็นผู้ที่เสนอชื่อขึ้นมาเองโดยไม่มีผู้แทนจากประชาชนเข้าร่วมเลย  การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นใดๆทางการเมืองถูกห้ามหมด  ยกเว้นประธานาธิบดีและรัฐมนตรีของท่านเท่านั้น
          “ ถึงแม้ว่าจะมีการระมัดระวังแล้วก็ตาม  รายงานของคณะกรรมาธิการรัฐธรรมนูญก็ยังเห็นความสำคัญของประชาธิปไตยที่มาจากประชาชน  ดังนั้น  อายุบ  จึงขว้างข้อแนะนำดังกล่าวลงในตะกร้าขยะเสีย  และออกมาพร้อมกับรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมกับท่านเอง  รัฐธรรมนูญฉบับ ค.. 1962  ซึ่งใช้กับอยู่ทุกวันนี้นั้นถูกร่างขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการของประชาชน  และมิได้วางอยู่บนข้อแนะนำของคณะกรรมาธิการรัฐธรรมนูญซึ่ง  อายุบ ข่าน เป็นผู้แต่งตั้งขึ้นเองด้วย  รัฐธรรมนูญนี้บรรจุไว้ซึ่งเจตนารมณ์ของบุคคลเพียงคนเดียว  และถูกนำมาใช้ในประเทศขณะที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก
          “ทีนี้ขอให้เรามาดูรัฐธรรมนูญที่ชาติจะต้องให้ความเคารพตลอดไปบ้างว่าเป็นอย่างไร  ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้  อำนาจทั้งหมดจะรวมศูนย์อยู่ในมือของคนๆเดียว  คือหัวหน้าผู้บริหารซึ่งเป็นคนเดียวเท่านั้นที่ควบคุมกลไกบริหารทั้งหมดไว้ที่ศูนย์กลางและในด้านการปกครองจังหวัดต่างๆนั้น  บุคคลผู้นี้จะเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองเอง  และสามารถจะไล่ออกเมื่อไรก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเหตุผล
          “ ทีนี้ให้เราหันมาวิเคราะห์ดูว่า  อายุบ  ข่าน  ได้ทำอะไรไปบ้างกับเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการมีสมาคม  ไม่มีระบบไหนหรอกที่จะทำงานได้ดี  เว้นเสียแต่ว่าประชาชนจะได้รับแจ้งให้รู้ถึงสภาพที่แท้จริงของประเทศ  และประชาชนมีเสรีภาพที่จะวิพากษ์วิจารณ์ความผิดพลาดของรัฐบาล  และมีสิทธิในการชุมนุมเพื่อป้องกันสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเองต่อการใช้อำนาจของทรราช
           “ที่สำคัญคือ หนังสือพิมพ์ถูกปิดปาก  ประชาชนถูกริดรอนเสรีภาพในการพูด  ดังนั้น  หลังจากที่เปลี่ยนประเทศให้เป็นหลุมฝังศพทางการเมืองแล้ว  หนังสือพิมพ์  วิทยุ  และเครื่องมือโฆษณาทุกชนิดของประเทศ  จึงถูกบังคับให้เปล่งเสียงออกมาเหมือนกันหมดว่าอายุบ ข่าน  จงเจริญ !” ประวัติศาสตร์ของผู้เผด็จการทั้งในอดีตและปัจจุบันจึงเกิดขึ้นแล้วที่นี่
            ในช่วงที่อินเดียรุกรานปากีสถานระหว่างวันที่ 6-24 กันยายน ค.. 1965 นั้น  เมาลานา   เมาดูดี  ได้พูดออกอากาศที่สถานีวิทยุปากีสถานในลาโฮร์ห้าครั้ง  เขาประกาศว่าการต่อสู้เพื่อปกป้องมาตุภูมิเป็นการญีฮาดที่แท้จริง  และการพูดปลุกเร้าของเขาในครั้งนี้มีผลอย่างที่ประเมินค่ามิได้
           เมาลานา  เมาดูดีได้พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะรักษาความเป็นธรรมในแคชเมียร์ไว้  เขาได้กล่าวโจมตีการทำทารุณกรรมของพวกอินเดียที่มีต่อชาวมุสลิมในแคชเมียรือย่างเผ็ดร้อนผ่านทางวิทยุ  อาซัด แคชเมียร์  ในมุซัฟฟารอบัด  เขาคัดค้านสนธิสัญญาหยุดยิงของสหประชาชาติที่มีผลใช้ในวันที่ 24 กันยายน ค.. 1965  และคำประกาศทัชเคนท์  วันที่  10 มกราคม ค.. 1966  โดยให้เหตุผลว่า  สนธิสัญญาทั้งสองนี้ทำให้อินเดียได้รับชัยชนะทางการทูต  และทำให้การแก้ไขปัญหาแคชเมียร์เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้
         “มหาอำนาจของโลกไม่เคยให้ความสนใจอย่างจริงจังต่อปัญหาแคชเมียร์ ซึ่งปัญหานี้อังกฤษเป็นผู้สร้างขึ้น  เพาระเขากำลังจะถอนตัวออกจากอนุทวีปนี้  และสหรัฐอเมริกากับรัสเซียก็สนับสนุนอินเดียในด้านต่างๆ  ไม่เพียงแต่จะปฏิเสธทีจะบีบอินเดียให้ยืนอยู่ตรงจุดที่อินเดียต้องการด้วย  ทั้งสองมหาอำนาจได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจและการทหารแก่อินเดียอย่างไม่ขาดระยะ  และสหภาพโซเวียตเองก็ช่วยอินเดียหลายครั้งในการคัดค้านความเคลื่อนไหวทุกอย่างในสภาความมั่นคงที่จะมีต่อการแก้ไขปัญหาแคชเมียร์  ความจริงแล้วดูเหมือนมหาอำนาจทั้งนี้จะถือว่าเป็นมหาอำนาจแบบจักรพรรดินิยมของอินเดียนั้นมีผลประโยชน์ต่อลัทธิจักรพรรดินิยมของพวกเขาเองด้วย  ทั้งสหรัฐและรัสเซียพยายามที่จะทำให้อินเดียเป็นดุลถ่วงอันทรงอำนาจกับจีน  และช่วยอินเดียทุกอย่างในการพัฒนาระเบิดปรมาณู  ในสถานการณ์เช่นนี้  จึงเป็นเรื่องที่หาประโยชน์มิได้ที่จะไปคิดว่ามหาอำนาจจะเข้ามาช่วยในกรณีแคชเมียร์และความหวังใดๆเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้จะถูกทำลายโดยคำประกาศทัชเคนท์ซึ่งรัสเซียด้วยความสนับสนุนของอเมริกาพยายามที่จะหยิบปัญหาแคชเมียร์นี้แช่เย็นไว้
              “ สำหรับเราญิฮาดเป็นการแก้ปัญหาทางเดียว  และนักรบเสรีในแคชเมียร์ก็พร้อมแล้วที่จะเดิมพันด้วยชีวิตเลือดเนื้อและทรัพย์สินในการต่อสู้เพื่อแก้ปัญหา  อย่างน้อยที่สุดที่เรามีหน้าที่จะต้องช่วยเหลือพวกเขาก็คือช่วยกันแพร่ข่าวข้อเท็จจริงเรื่องปัญหาแคชเมียร์ออกไปให้ทั่วโลกได้รับรู้และเห็นว่าแคชเมียร์มีสิทธิที่จะตัดสินปัญหาของตนเอง  ปลุกประเทศต่างๆในโลกมุสลิมและประเทศเล็กๆในเอเซียและอาฟริกาให้เห็นถึงภัยของจักรพรรดินิยมอิมเดีย  เพื่อว่าประเทศเหล่านั้นจะได้ไม่หลงใหลอยู่กับเรื่องนี้  และเตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับการข่มขู่คุกคาม  และร่วมกันปลดแอกอินเดียเพื่อที่จะได้กำหนดชตากรรมตามอุดมการณ์ของตนเอง
            เมื่ออิสราเอลรุกรานอียิปต์  ซีเรีย  และจอร์แดนในช่วงวันที่   5-9 มิถุนายน ค.. 1967 เมาลานา  เมาดูดี  ได้ใช้ความพยายามทุกอย่างสนับสนุนพี่น้องชาวอาหรับของเขาในการปลดปล่อยปาเลสไตน์  และโดยเฉพาะการกู้สถานที่สำคัญทางศาสนาในเยรูซาเล็มจากพวกไซออนิสต์
          “ สิ่งที่เรียกร้องในตอนนี้ก็คือ  โลกมุสลิมทั้งหมดควรจะร่วมมือกับพวกอาหรับอย่างเต็มที่และมีเอกภาพ  พวกเขาควรหาความสนับสนุนจากคนที่ยุติธรรมทั่วโลก  เพื่อการยอมรับหลักการที่ว่าจะต้องไม่มีชาติหนึ่งชาติใดรุกรานชาติหนึ่งชาติใดหรือชาติหนึ่งชาติใดจะเปลี่ยนแปลงเขตแดนโดยสงครามมิได้  เราจะต้องผนึกกำลังกันให้เหนียวแน่นในเรื่องนี้  มิเช่นนั้นแล้วผลลัพธ์ที่จะติดตามมาจะเป็นสิ่งที่น่าสยดสยองเกินที่เราคาดคิด ถ้าหากรัฐมุสลิมทั้งหลายไม่สนใจการรุกรานของพวกยิวในขั้นนี้แล้ว  ภัยพิบัติอันใหญ่หลวงก็จะติดจามมาในอนาคต
         “เราจะต้องมีแผนการกว้างๆที่จะบรรเทาผลร้ายจากการโจมตีครั้งนี้และทำด้วปัจจัยพื้นฐานที่เรามีอยู่  สงครามครั้งนี้  หลายคนอาจเรียกว่ามันเป็นสงครามระหว่างอาหรับกับอิสราเอล  และความพ่ายแพ้ที่พวกอาหรับได้นั้นก็อาจเรียกได้ว่าเป็นความพ่ายแพ้ของพวกอาหรับ  แต่ความจริงที่สำคัญก็คือ  การพ่ายแพ้ครั้งนี้จะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างประมาณไม่ได้ต่อ  ชื่อเสียง  เกียรติยศและความมั่นคงของมุสลิมทั่วโลก  การยึดครองเมืองเก่าในเยรูซาเล็มของพวกไซออนิสต์  และสัญญาณอันตรายที่พวกนี้คิดจะทำลายมัสยิด  อัล -อักซอ  และสร้างวิหารโซโลมอนขึ้นมาแทนนั้นมิใช่เป็นภัยพิบัติที่จำกัดแต่เฉพาะอาหรับอย่างเดียว แต่มันเป็นบาดแผลฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นในหัวใจของมุสลิมทุกคนด้วย  เพราะเมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งเยรูซาเล็มมิได้เป็นของพวกอาหรับเท่านั้น  แต่มุสลิมทั่วโลกยังถือว่าเป็นกิบลัตแห่งแรกของตนด้วย นอกจากนั้นแล้วเราควรจะคิดด้วยว่า  แผนการรุกรานเพื่อแผ่ขยายโลกของยิวนั้นหมายถึงการข่มขู่คุกคามต่อมักก๊ะฮ์และมดีนะฮ์ด้วยนี่เป็นปัญหาหนักปัญหาหนึ่ง  อันตรายที่ใหญ่หลวงที่สุดนั้นมิได้เกิดขึ้นเฉพาะอาหรับเพียงอย่างเดียว  แต่มันจะเกิดขึ้นกับมุสลิมทั่วโลกด้วย
          ในเดือนมีนาคม  ..  1966  ได้มีการจัดประชุมรอบีเฏ๊าะฮ์  อัล อาลัม  อัล  อิสลามี ” (สายสัมพันธ์โลกอิสลาม) ขึ้นในมักก๊ะฮ์  ในฐานะที่เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ก่อตั้งองค์การนี้  เมาลานา  เมาดูดี  ได้เน้นถึงความจำเป็นอันรีบด่วนสำหรับประเทศมุสลิมแต่ละประเทศที่จะต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งทางทหารให้เข้มแข็งด้วยตังเองโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับอเมริกา  สหภาพโซเวียต  หรือประเทศอื่นๆ  แล้วเขาก็เรียกร้องให้มุสลิมทั่งโลกคัดค้านลัทธิชาตินิยม  และหันมารวมกันเป็นค่ายเดียวเพื่อปกป้องตนเองและแนวทางของอิสลามทุกแห่ง  เขาอ้างว่า  อิสลามเป็นอุดมการณ์ที่สามารถร่วมทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์ให้เป็นครอบครัวเดียวกันได้  ดังนั้น  จึงควรใช้อิสลามเป็นพื้นฐานสำหรับรัฐโลก  และสร้างความยุติธรรมตลอดจนสันติภาพสากลให้เกิดขึ้น
              “ รัฐอิสลามไม่ได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับความเสมอภาพของมนุษยชาติไว้เป็นปรัชญาที่ไร้ผล  แต่อิสลามได้สร้างสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคิดนี้ขึ้น  ซึ่งเป็นสังคมที่รวมเผ่าพันธุ์และชาติต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน บนพื้นฐานของความเสมอภาพของทุกๆคนโดยสมบูรณ์  และความแตกต่างในเรื่องของชาติ  พันธุ์  สีผิว  หรือภาษาจะถูกทำลายไป  ไม่เพียงแต่เท่านั้น  อิสลามยังได้สร้างรัฐโลกขึ้นมาบนพื้นฐานของอุดมการณ์อันเดียวกันนี้ประสบผลสำเร็จมาแล้ว  ในครั้งนั้น  โลกมุสลิมทั้งหมดอยู่ภายใต้กฎหมายอันเดียวกัน  มุสลิมทุกคนอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวหนึ่ง  หากมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะมาจากตะวันออกหรือตะวันตกมาเข้ารับอิสลามแล้ว  เขาจะกลายเป็นสมาชิกของสังคมอิสลามไปทันทีและได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคนอื่นทุกประการ  ไม่ว่าเขาจะเป็นนิโกร  เป็นชาวอีหร่าน  เป็นชาวอียิปต์  หรือเป็นชาวเบอร์เบอร์  หลังจากที่เขาเข้ารับอิสลามแล้ว  เขาก็จะมีฐานะในสังคมมุสลิมเหมือนกับวงศ์วานและสหายชาวอาหรับของท่านศาสดา  ผู้ที่ศรัทธาในอิสลามนั้นไม่ว่าเขาจะมีเชื้อสายอะไร  จะเกิดที่ไหน  หรือพูดภาษาอะไรก็แล้วแต่จะเป็นพี่น้องกับมุสลิมทุกคน  และไม่ว่าเขาจะไปที่ไหนในสังคมมุสลิมเขาก็จะมีสิทธิเช่นเดียวกับมุสลิมคนอื่นๆได้โดยไม่มีข้อจำกัด และสามารถที่จะอยู่ในประเทศนั้นได้อย่างอิสระนานเท่าไรก็ได้ตราบที่เขาต้องการ  นอกจากนั้นแล้ว  เขายังสามารถที่จะทำธุรกิจการค้าหรือดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลในระดับสูงได้โดยไม่มีข้อยุ่งยากใดๆ  ประวัติศาสตร์อิสลามมีเรื่องราวที่เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นถึงคนมุสลิมสามารถเดินทางออกจากประเทศของตัวและไปอาศัยอยู่ในประเทศมุสลิมอื่นๆได้เป็นเวลาสิบๆปี  บางคนอาจจะศึกษาอยู่ในประเทศหนึ่ง  ประกอบธุรกิจอีกประเทศหนึ่งเป็นรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชากองทหารในอีกประเทศหนึ่งและหลังจากนั้นก็อาจย้ายไปแต่งงานกับคนอีกชาติหนึ่ง  และตั้งรกรากครอบครัวที่นั่น  ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักกันก็คือตัวอย่างของ  อิบนิ  บาตูเต๊าะฮ์ผู้เดินทางร่อนเร่ไปยังประเทศมุสลิมต่างๆเป็นเวลาถึง  28  ปีโดยไม่จำเป็นที่จะต้องมีหนังสือเดินทางหรือใบอนุญาตเข้าประเทศใดๆ  ไม่มีที่ไหนที่เขาจะถูกตามถามถึงเรื่องเชื้อชาติ  ไม่มีที่ไหนที่เขาจะต้องพบกับความยุ่งยากในการหาเลี้ยงชีพ  ไม่ต้องขออนุญาตเยี่ยมสถานที่หนึ่งที่ใด  หรือไม่เคยถูกกำหนดเวลาให้ว่าจะต้องอยู่ในสถานที่นั้นเป็นเวลานานเท่าใด  ถ้าหากเขาเข้ารับราชการ  เขาก็ได้รับแต่งตั้งโดยไม่มีข้อยุ่งยากใดๆ อิบนิ  บาตูเต๊าะฮ์  ไปถึงอินเดียระหว่างการปกครองของ สุลต่าน  มุฮัมมัด  ตูก์ลาค  เรื่องที่เขาเดินทางมาจากมุมไกลสุดของมอรอคโคอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเขานั้น  มิได้เป็นอุปสรรค์อันใดแก่เขาในการที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการระดับสูงในอินเดีย  หลังจากนั้น  สุลต่านก็ได้ส่งเขาไปยังจีนในฐานะทูตขอลพระองค์  นั่นเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่า  ไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นอุปสรรค์กีดขวางการรับราชการแม้กระทั่งในระดับทูตก็ตาม  และนี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่าในเวลานั้นไม่เพียงแต่แนวความคิดเรื่องเครือจักรภพจะเกิดขึ้นเท่านั้น  แต่ความคิดในเรื่องพลเมืองร่วม (Common  Citizenship) ยังเป็นที่ปฏิบัติกันด้วยกำลังคนของโลกอิสลามมีอยู่ทั่วไปในประเทศมุสลิม  และการปกป้องคุ้มครองโลกอิสลามก็เป็นหน้าที่ร่วมกันของมุสลิมทุกคน  ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  ไม่เป็นข้อพิสูจน์ที่เพียงพออีกหรือว่า  อิสลามไม่เพียงแต่จะมีทฤษฎีหรืออุดมการณ์ซึ่งเป็นพื้นฐานของรัฐแห่งโลกซึ่งนักคิดในปัจจุบันกำลังคิดถึงกันอยู่เท่านั้น  แต่อิสลามได้สร้างรัฐเช่นว่านี้ให้เกิดขึ้นและประสบผลสำเร็จมาแล้วนับเป็นศตวรรษนี่คือสิ่งมหัศจรรย์ของอิสลาม
           “ ไม่ว่าเขาจะไปที่ไหน  จากอินโดนีเซียถึงมอรอคโค  มุสลิมก็มีวัฒนธรรมของผู้ที่ศรัทธาในอิสลามอย่างเดียวกัน  วัฒนธรรมเหล่านี้มีอยู่ทุกแห่งเหมือนกับในประเทศมุสลิม  ไม่ว่าที่ไหนที่เขาได้ยินเสียงเรียกร้องให้มานมัสการพระผู้เป็นเจ้า  เขาจะมีความรู้สึกว่าเขาได้อยู่ถ้ำกลางพี่น้องร่วมศรัทธาเดียวกัน  เป็นสมาชิกของการร่วมชุมนุมกันในมัสญิดเช่นเดียวกับมุสลิมในท้องถิ่นนั้นไม่มีใครในที่ประชุมนั้นถือว่าเขาเป็นผู้แปลกหน้า  ยิ่งไปกว่านั้นบางทีพวกเขาอาจจะโผเข้ากอดผู้นั้นทันทีก็ได้  ถ้าหากพวกเขารู้ว่าคนผู้นั้นเป็นมุสลิมมาจากประเทศอื่น  คนผู้นั้นอาจจะไม่รู้จักภาษาของคนในท้องถิ่นนั้น  แต่คำว่า  “ อัสลามมุอะลัยกุมก็เป็นภาษาทักทายที่มุสลิมทั่วโลกรู้จักกันดี  ภาษาในการทำนมัสการก็มิได้เป็นภาษากรีกหรือภาษาลาตินที่เขาไม่รู้จัก  นอกจากนั้นแล้วคำว่าอัลฮัมดุลิลลาฮิ  รอบบิล  อาละมีน ” (บรรดาการสรรเสริญเป็นของพระองค์อัลเลาะฮ์  พระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล) และคำว่าอัลลอฮุ  อักบัร ” (อัลเลาะฮ์ผู้ยิ่งใหญ่) ก็เป็นความเชื่อที่มุสลิมมีเหมือนกันรูปแบบและเนื้อหาของการนมัสการก็เหมือนกันตั้งแต่อินโดนีเซียมอรอคโค  บางครั้งคนในท้องถิ่นนั้นอาจเลือกผู้แปลกถิ่นให้มาเป็นผู้นำเขาในการนมัสการก็ได้นอกมัสยิดไม่ว่าเขาจะไปไหนในสังคมมุสลิมในประเทศนั้น  เขาจะพบสายเชือกแห่งวัฒนธรรมอิสลามผูกตัวเขาเองกับมุสลิมในท้องถิ่นนั้นเข้าด้วยกัน  เขาสามารถที่จะทานอาหารร่วมกับคนอื่นโดยที่รู้ว่าอะไรเป็นที่ต้องห้ามเหมือนกับคนอื่นๆ กฎระเบียบการรักษาความสะอาดก็เหมือนกัน  หรือไม่ว่าเขาจะไปเยี่ยมเยียนประเทศไหน  ผู้ปกครองหรือคนในท้องถิ่นนั้นก็ต้องให้สวัสดิการแก่เขาเหมือนกับว่าเขาเป็นคนในท้องถิ่นนั้นด้วยคนหนึ่ง  ถ้าพวกเขารู้ว่าเขาผู้นั้นได้รับความสุขสบาย  พวกเขาก็จะสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าด้วยใบหน้าอับเบิกบาน  ถ้าเป็นข่าวไม่ดี  พวกเขาก็จะรู้สึกเสียใจเหมือนดังคนร่วมชาติเดียวกัน  ไม่เพียงเท่านั้น  กฎทุกกฎตั้งแต่กฎการแต่งงาน  การหย่าร้าง  การแบ่งมรดกก็เหมือนกันในประเทศมุสลิม  พลเมืองของประเทศหนึ่งจะไม่พบความยุ่งยากประการใดในการแต่งงานกับพลเมืองของอีกประเทศหนึ่ง  นี่เป็นสิ่งที่พิสูจน์ถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นและลึกซึ้งระหว่างมุสลิมบนพื้นฐานของความรู้สึก  ความเห็นใจ  และการมีวัฒนธรรมอันเดียวกัน  เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่มีพลังใดจะสามารถเทียบเทียมได้แม้โลกจะอยู่ในยุคของการบูชาลัทะชาตินิยมก็ตาม  นอกจากนั้นแล้วประเทศมุสลิมทุกประเทศจากตะวันออกจดตะวันตก  ก็มีภูมิประเทศที่ติดต่อกัน  แต่ทำไมประเทศเหล่านี้ถึงไม่รวมกันเข้าเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนา
            “ ข้อหนึ่งที่น่าแปลกใจยิ่งก็คือว่า  มีกลุ่มหนึ่งที่คัดค้านการรวมตัวกันของรัฐมุสลิมโดยให้เหตุผลว่า  การรวมตัวกันบนพื้นฐานทางศาสนานั้นเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะนัก  คนกลุ่มนี้ถือว่าการรวมตัวกันในนามของลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่ดีกว่าและน่ายอมรับ  หรือการทำให้คนสีผิวเดียวกันมารวมตัวกันเป็นพลังนั้นจะเป็นการเหมาะสมกว่า  แต่ถือว่า  การรวมตัวกันในนามของพระเจ้าและศาสดาของพระองค์นั้นเป็นการโง่เขลา
            “ เดี่ยวนี้  มุสลิมได้มีสิทธิอีกครั้งหนึ่งในการที่จะกำหนดชะตากรรมของตัวเองแล้ว  และขณะเดียวกันศัตรูของมุสลิมก็กำลังเริ่มสอนลัทธิชาตินิยมหนักขึ้น  ซึ่งพวกเขาหวังว่ามันจะเป็นสิ่งที่สกัดกั้นการรวมตัวของมุสลิมได้  ไม่มีอะไรที่จะทำให้โลกต้องหวาดกลัวเท่ากับลัทธิไซออนิสต์  และจักรวรรดินิยมฮินดู  ซึ่งทั้งสองลัทธินี้เป็นเสมือนกับมารร้ายที่จะมาทำลายการฟื้นฟูอิสลามและการรวมตัวกันของมุสลิม  ครั้งหนึ่ง  มุสลิมซึ่งเป็นประชากรหกร้อยล้านคนได้ปิดหนทางของพวกเขาโดยการทำให้การกอบโกยในประเทศมุสลิมต้องสะดุดหยุดชะงักลง ไซออนิสต์จึงรู้ทันทีว่า  ถ้าหากมุสลิมรวมตัวกันได้เมื่อไร  อวสานของอิสราเอลก็อยู่แค่เอื้อม  ความหวาดกลัวเช่นนี้มีไปถึงผู้ที่ใฝ่ฝันถึงความยิ่งใหญ่และอิทธิพลของฮินดูเหนืออาเซียและอัฟริกาด้วย  อำนาจจักรวรรดินิยมรู้ดีว่า  การรวมตัวของมุสลิมนี้จะทำให้พวกเขาไม่สามารถกุมชะตากรรมของโลกมุสลิมได้เช่นเดียวกับที่พวกเขาเคยทำมาในอดีตโดยการตั้งตัวแทนหุ่นไว้
           ในความยุ่งยากทั้งหลายทีกำลังซัดสาดเข้าหาโลกมุสลิมอยู่ทุกวันนี้  การเรียกร้องไปสู่การประชุมสุดยอดแห่งอิสลามจึงเป็นความหวังใหม่  ข้าพเจ้ากับพี่น้องทุกๆส่วนของโลกมุสลิมหวังว่าผู้นำของรัฐมุสลิมทั้งหลายจะได้มีส่วนร่วมในการนี้  และจะคงมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นจริงออกมาจากการประชุมนี้บ้าง  ประเทศของข้าพเจ้าได้ต่อสู้ทางด้านความคิดเกี่ยวกับการรวมตัวของโลกมุสลิมมาโดยตลอด และได้ประจักษ์ถึงความสำคัญของการรวมตัวกันในช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้งกับอินเดียเมื่อเร็วๆนี้ ดังนั้นถ้าประเทศมุสลิมคิดจะรวมตัวและร่วมมือกับประเทศหนึ่งประเทศใดก็ควรจะได้ระแวดระวังชาติมหาอำนาจซึ่งคอยจ้องที่จะฉวยโอกาสสร้างความแตกแยกและกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศของตนด้วย  ความจริงแล้ว  เป็นความจำเป็นสำหรับมุสลิมที่จะต้องรวมตัวกันเพื่อที่ว่าความเข้มแข็งของแต่ละประเทศจะได้เป็นความเข้มแข็งของประเทศมุสลิมทั้งหมด  นี่เป็นหนทางเดียวเท่านั้นที่มุสลิมจะสามารถรักษาอิสรภาพของตัวเองเอาไว้  และมีบทบาทในกิจการของโลกได้   
            เมาลานา เมาดี กับขบวนการของเขาได้คัดค้านความคิดเรื่องท้องถิ่นนิยม ชาตินิยม ลัทธิปฏิเสธพระเจ้าและลัทธิวัตถุนิยมอย่างไม่เคยประนีประนอม และเขาเป็นศัตรูตัวฉกาจของพวกสมัยใหม่ทั้งหลายที่พยายามเปลี่ยนชารีอะฮ์(โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับฐานะส่วนบุคคลและครอบครัวให้เข้ากับระบบกฎหมายสมัยใหม่
            นอกจากนี้แล้ว เขายังคัดค้านนโยบายทั้งระดับชาติและระดับโลกที่จะควบคุมการเจริญเติบโตของประชากรด้วยการใช้เครื่องมือคุมกำเนิด การทำแท้ง และวิธีการอื่นๆอีกว่าเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของอิสลามอย่างรุนแรงอีกด้วย  ในปี ค..1962 เขาได้ดีเขียนบทความเรื่อง อิสลามกับการคุมกำเนิด”  ขึ้นมาเพื่อแสดงหลักฐานที่ปฏิเสธไม่ได้ให้คนทั้งหลายได้เห็นถึงภัยพิบัติที่จะติดตามมาจากการพยายามที่จะลดอัตราประชากรทั้งในด้านส่วนตัวและส่วนรวมจากจุดยืนทางเศรษฐกิจและศีลธรรม  แต่หนังสือเล่มนี้ถูกทางการสั่งห้ามตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ค..1966 เพราะกลัวว่าหนังสือของเขาจะไปทำลายแผนการวางแผนครอบครัวของชาติ
            มีหลายครั้งด้วยกันที่สมาคมนักศึกษามุสลิมในอังกฤษและเยอรมันได้เชิญเมาลานา  เมาดูดีไปกล่าวปาฐกถาและให้คำแนะนำ  แต่รัฐบาลปากีสถานก็พยายามกีดกันต่าง ๆ นานา  มิให้เขาเดินทางออกนอกประเทศเพราะกลัวอิทธิพลทางสากลของเมาดูดี  แต่อย่างไรก็ตาม  ในเดือนสิงหาคม ค..1968  คณะกรรมการแพทย์ได้ลงความเห็นว่าอาการโรคนิ่วในไตของเมาดูดีอยู่ในขั้นที่จำเป็นจะต้องรักษาโดยรีบด่วน  รัฐบาลปากีสถานจึงต้องยอมอนุญาตให้เมาดูดีไปรับการรักษาที่ลอนดอนได้  และถึงแม้ว่าการผ่าตัดถึงสองครั้งซ้อน ๆกันจะทำให้เขาอ่อนแอเกินกว่าทีจะไปไหนมาไหนได้  แต่คนมุสลิมและที่มิใช่มุสลิมหลายคนก็เดินทางไปเยี่ยมและพูดคุยกับเขาอยู่มิได้ขาด  ก่อนที่จะกลับปากีสถาน  ได้มีการจัดเลี้ยงรับรองเขาเป็นการพิเศษที่โรงแรมฮิลตันในตอนเย็นของวันที่ 15 ธันวาคม  ซึ่งในงานนี้ไม่เพียงแต่จะมีตัวทานที่สำคัญที่สุดของชาวปากีสถานในอังกฤษเข้าร่วมเท่านั้น  แต่ยังมีนักการทูตจากประเทศมุสลิมต่าง ๆ นักข่าวของนิตยาสารภาษาอังกฤษและภาษาอุรดู  และนักปราชญ์บางคนของอังกฤษเข้าร่วมด้วย  ในงานเลี้ยงแห่งนั้นเขาได้ย้ำให้ผู้ฟังได้เชื่อมั่นว่า  ถ้าหากมุสลิมในอังกฤษพยายามอย่างที่สุดที่จะใช้ชีวิตให้เป็นไปตามอุดมการณ์และคุณค่าแห่งอิสลามแล้ว  อิสลามจะแพร่หลายอย่างรวดเร็วในตะวันตก แต่ถ้าหากปล่อยตัวใหญ่ถูกทำลายโดยความรู้สึกว่าด้อยกว่าและลอกเลียนแบบของพวกตะวันตกอย่างไม่ลืมหูลืมตาแล้ว มุสลิมก็จะสูญเสียเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไป เขาได้เตือนบรรดาบรรดาผู้นำของชุมชนชาวปากีสถานในอังกฤษว่าถ้าเด็กมุสลิมถูกทำลายสภาพเอื้ออำนวยในการรับการศึกษาอิสลามทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนแล้ว สังคมมุสลิมจะเสียคนรุ่นใหม่ไป เขายืนยันว่า เป็นความผิดสำหรับ
ในปีเดียวกันนั้นเอง ขณะที่ให้สัมภาษณ์กับบริษัทโทรทัศน์อิตาลีและเยอรมัน เขาได้ประกาศว่า ความผิดอันฉกาจฉกรรจ์ของคนสมัยใหม่ก็คือ 1. การยอมรับความคิดผิดๆที่ว่า ในการดำรงชีวิตประจำวันนั้น อาศัยความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยทางนำด้านจิตใจและศีลธรรมจากคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้า ชีวิตของชาวตะวันตกไม่ได้รับกับความสันติภาพเลย ครอบครัวต้องแตกแยก มีอาชญากรรมเกิดขึ้นและความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน  2.ความใจแคบของคนตะวันตก อารยธรรมตะวันตกไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาการแบ่งแยกเผ่าพันธุ์ได้   อิสลามสามารถแก้ปัญหานี้ได้สำเร็จและสามารถสร้างความรู้สึกเป็นพี่น้องกันในหมู่มนุษย์ได้และการญิฮาดของอิสลามสามารถขจัดความป่าเถื่อนจากสงครามได้และอิสลามสามารถนำคำสอนไปใช้ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครอบครัวและหยุดการทำลายคุณค่าบุคคลอันเป็นสิ่งที่ทำให้โรคจิตระบาดและสังคมแตกสลายได้  มรดกของอิสลามนั้นมิได้เป็นของผู้ที่เกิดมาเป็นมุสลิมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นของมนุษยชาติทั้งหมดด้วย
            ในเดือนกันยายน ค.ศ.1969 เมาลานา เมาดูดี ได้ไปเข้าร่วมประชุมสุดยอดอิสลามในกรุงราบัตและยังได้เข้าร่วมประชุมทางการศึกษาที่มัสยิดมหาวิทยาลัยคอรอวียีนด้วย  เขาได้พบกับบุคคลสำคัญ เช่น อัลลัน อัล ฟัสซี,อับดุลเลาะฮ์ คุนนุม อดีตผู้ปกครองเมืองติวตัน ชัยค์ อิบรอฮีม นียาสส์ แห่งเซเนกัล และนักเขียนชาวอียิปต์ ดร.อาอีชะฮ์ บิน ชาตัย และได้พบปะเป็นการส่วนตัวกับตัวแทนขององค์การอัล-ฟาต๊ะฮ์ คือ คอลิด อับดุลคอติบ
            เมาลานา  เมาดูดี ได้ชี้ให้เห็นความจริงอย่างชัดเจนว่า อิสลามกับลัทธิสังคมนิยมนั้นเป็นสิ่งที่ร่วมกันไม่ได้เลย
            อิสลามและลัทธิสังคมนิยมนั้นตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงพื้นฐานของอิสลามคือการเชื่อว่าเราเป็นของพระเจ้าองค์เดียว เราศรัทธาในสัจธรรมอันสมบูรณ์ของทางนำในทุกๆแง่มุมของชีวิต ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้แก่เรา  ผ่านทางศาสดาและคัมภีร์ของพระองค์ และในฐานะที่เราเป็นมุสลิม เรามีหน้าที่ที่จะต้องทำตามทางนำนี้  สำหรับเราชีวิตในโลกนี้เป็นเพียงเครื่องส่งเสริมความต้องการของชีวิตเราในโลกหน้า  และจุดประสงค์ของชีวิตสำหรับเราก็คือการได้รับความโปรดปรานจากพระผู้เป็นเจ้า และทางเดียวที่จะได้มาก็คือการตามทางนำของอัลลอฮและศาสดาของท่านในโลกนี้ บนพื้นฐานความเชื่อนี้ อิสลามได้ให้ระบบศีลธรรมและวิธีการเคารพสักการะอันสมบูรณ์แก่เราไว้เพื่อที่ว่าในทางปฏิบัติเราจะสามารถปรับเข้าได้กับความเชื่อขั้นพื้นฐานของเราได้อย่างครบถ้วน และอิสลามก็ได้จัดเตรียมกฎหมายและระเบียบกว้างๆ ซึ่งครอบคลุมการดำรงชีวิตของเราทั้งหมด นับตั้งแต่ชีวิตในครอบครัว โรงเรียน ศาล และแม้กระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไว้ให้แก่เราด้วย
            ในทางตรงกันข้าม  ลัทธิสังคมนิยม ปรัชญาวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์เชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของมนุษย์นั้น ขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจและไม่ยอมรับแนวความคิดเรื่องศีลธรรม  ส่วนระบบสังคมของอิสลามให้ความสำคัญขั้นพื้นฐานแก่เสรีภาพของมนุษย์  ลัทธิคอมมิวนิสต์
ปฎิเสธอธิปไตยของพระเจ้าและศีลธรรมตลอดจนโฆษณาเผยแพร่เรื่องวัตถุนิยมเท่านั้น  ระบบคอมมิวนิสไม่แตกต่างอะไรไปจากยุคแห่งความโหดเหี้ยม รุนแรงและทารุณ ไม่ให้เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ การคัดค้านอย่างสันติ
            ผลจากการทำงานด้านขบวนการอธิปไตยในปากีสถานของเมาลานา เมาดูดี คือ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1969  ประธานาธิบดี อายุบข่าน  ได้ตกลงที่จะจัดการประชุมโต๊ะกลมขึ้นในราวัลปินดี  เพื่อนำระบบรัฐสภาที่ถูกต้องกลับคืนมา และเดือนกันยายน ค.ศ.1965 พรรคการเมืองทั้งห้าของขบวนการประชาอธิปไตยปากีสถาน ได้ยืนยันที่จะให้นำเอารัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ.1956 เป็นรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมสำหรับรัฐอิสลามกลับมาใช้อีก แต่นาย ซุลฟีการ์ อาลี ภุตโต และพวกสันนิบาต อวามี แห่งชาติที่นิยมจีน ซึ่งนำโดยเมาลานา บาชานี ได้ยืนยันที่จะใช้วิธีการรุนแรงและปฎิเสธที่จะร่วมมือในการดำเนินการดังกล่าว และได้ทำการปลุกรุกเร้าให้คนลุกขึ้นปฎิวัติแบบจีน จนเกิดความวุ่นวายขึ้นในพวกนักศึกษา รัฐบาลจึงสั่งปิดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเป็นเวลาหกเดือน การค้าต้องหยุดชะงักและการจลาจลโดยทั่วไปทำให้อาชญากรรมต่างๆครอบคลุมไปทั่วประเทศโดยเฉพาะในปากีสถานตะวันออก ประธานาธิบดี อายุบข่านต้องลาออกจากตำแหน่ง และนายพล ยะฮ์ยา ได้เข้ามาคุมอำนาจต่อ โดยประกาศใช้กฎอัยการศึกในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ.1969 และเมาลานา เมาดูดี ได้ร่างแนวจริยธรรมทางการเมืองไว้ 8 ข้อ คือ
1.ไม่มีใครมีสิทธิที่จะทำหรือพูดสิ่งใดที่ขัดต่ออุดมการณ์ของปากีสถาน แบบแผนประชาธิปไตยแห่งอิสลาม หรือความสมานฉันท์ของปากีสถาน
2. พรรคหรอผู้นำหรือผู้ปฎิบัติงานของพรรคจะต้องไม่ล่วงละเมิดเกียรติของบรรดาผู้นำของพรรคในที่สาธารณะ โดยเฉพาะในระหว่างการเลือกตั้ง จะต้องไม่มีใครโฆษณากล่าวร้ายหรือใช้ภาษาไปในทางที่เป็นภัยต่อพรรคหรือผู้สมัครอื่นๆ
3. ทุกพรรคมีสิทธิที่จะจัดที่ประชุมสาธารณะ และจัดการเดินขบวนโดยสงบและไม่มีใครมีสิทธิที่จะรบกวนหรือแทรกแซงการประชุม
4. จะไม่มีพรรคหรือบุคคลใดได้รับอนุญาตให้โฆษณาชวนเชื่อวิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและวิธีการปฎิวัติเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเจตนารมณ์ประชาธิปไตยของประชาชนโดยกำลังหรือความรุนแรง
5. บุคคลทุกคนและพรรคทุกพรรคมีสิทธิที่จะคว่ำบาตรการเลือกตั้ง  แต่ถ้าพรรคหนึ่งพรรคใดหรือผู้นำคนหนึ่งคนใดประกาศตนจะไม่ยอมให้มีการลงคะแนน หรือประกาศว่าจะขัดขวางผู้อื่นมิให้มีส่วนในการเลือกตั้ง บุคคลหรือพรรคเหล่านั้นจะต้องไม่เพียงแต่ขาดคุณสมบัติและถูกห้ามเข้ามามีส่วนในทางการเมืองเท่านั้น แต่การกระทำเช่นนั้นจะต้องถือเป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายของแผ่นดินด้วย
6. หลังจากประกาศตนสมัครรับเลือกตั้ง และระหว่างการเลือกตั้ง พรรคทุกพรรคและผู้สมัครแข่งขันทุกคนจะต้องละทิ้งการกระทำต่อไปนี้
            ก. ซื้อคะแนนเสียงด้วยเงินหรือสิ่งล่อลวงอื่นๆ
            ข. หาเสียงโดยวิธีการใช้อิทธิพลทางหน้าที่ หรือการบังคับขู่เข็ญ
            ค. ขอให้ผู้ลงคะแนนเห็นแก่เผ่าพันธุ์ ภาษา ท้องที่หรือนิกาย
7. ทุกพรรคจะต้องประกาศอย่างจริงจังว่า ในกรณีที่ขึ้นมามีอำนาจแล้ว จะต้องละทิ้งการกระทำต่อไปนี้ คือ
            ก. ใช้อำนาจและทรัพยากรของทางการไปในทางที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อพรรค
ข. ใช้กลไกการโฆษณาของประเทศ คือ วิทยุ โทรทัศน์ สำนักข่าว และหนังสือพิมพ์โฆษณาหาความชอบใส่ตัวเองและต่อต้านพรรคฝ่ายตรงข้าม
ค. ใช้อำนาจหน้าที่ประจำ ใบอนุญาตและการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลในรูปแบบอื่นติดสินบนสมาชิกของพรรคอื่นๆและบุคคลอิสระเพื่อดึงมาเข้ากับฝ่ายตน
ง. ใช้อำนาจเหนี่ยวรั้งหนังสือพิมพ์และการพูดในที่สาธารณะเพื่อผลประโยชน์ของพรรคตัวเอง
8. พรรคที่ไม่เชื่อในพื้นฐานอิสลาม หรือความสมัครสมานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของปากีสถาน หรือต้องการที่จะสถาปนาระบบอื่นที่ขัดต่อเจตนารมณ์ประชาธิปไตยของประชาชนจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามามีส่วนในการเลือกตั้ง
            การเลือกตั้งในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1970 การแยกตัวของปากีสถานและรัฐบาลไม่สามารถที่จะยับยั้งปากีสถานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้และไม่สามารถที่จะทำลายอิทธิพลของพวกฮินดูและมาร์กซิสต์ที่ขู่คำขวัญบังคลาเทศได้ ในที่สุด บังคลาเทศหรือปากีสถานตะวันตกต้องตกไปอยู่ใต้การยึดครองทางทหารของอินเดียในเดือนธันวาคม ค.ศ.1971 โดยการยึดครองทางทหารของอินเดียในเดือนธันวาคม ค.ศ.1971 โดยการสนับสนุนของอังกฤษและรัสเซีย
            วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1970 เมาลานา เมาดูดี ได้ประกาศที่ สันต์ นาการ์, ลาโฮร์ ว่าข้าพเจ้าต้องขอเตือนพี่น้องร่วมชาติของข้าพเจ้าว่า แม้แต่กองกำลังอาวุธก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรวมประเทศเข้าด้วยกันได้การรวมปากีสถานตะวันออกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับปากีสถานตะวันตก ทั้งสองฝั่งจะไม่มีทางรวมกันได้นอกจากความสัมพันธ์ในความเป็นพี่น้องแห่งอิสลามและความรู้สึกแห่งการมีมรดกอิสลามร่วมกันเท่านั้น ถ้าหากว่าพวกที่ต้องการจะทำลายสายสัมพันธ์นี้ยังคงอยู่ กองกำลังอาวุธก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้
            วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1971 เมาลานา เมาดูดี ได้ส่งโทรเลขไปยังบรรดาผู้นำของสหรัฐมุสลิมทั่วโลกว่า
            อินเดียกำลังแทรกแซงกิจการภายในของปากีสถานอย่างเปิดเผยและกำลังสร้างความยุ่งยากให้แก่ปากีสถานตะวันออกมีรัฐเดียวเท่านั้นที่สนับสนุนอินเดียในนโยบายนี้คือ อิสราเอล พวกอินโด-ไซออนิสต์ กำลังวางแผนเพื่อแบ่งแยกปากีสถาน
            วันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1971 เมื่อสถานการณ์ในปากีสถานตะวันออกอยู่ในชั้นวิกฤติ เมาลานา เมาดูดี ได้ยื่นบันทึกความทรงจำต่อบรรดาผู้นำรัฐมุสลิมทุกรัฐและองค์กรมุสลิมทุกองค์กรรวมทั้งอังกฤษ อเมริกา และหนังสือพิมพ์ปากีสถานทุกฉบับว่า
1. เป็นที่ค่อนข้างแน่ชัดว่า ประชากรมุสลิมในปากีสถานตะวันออกนั้นไม่เคยต้องการให้มีการอแยกตัวและมุสลิมในเขตนี้ก็ไม่เคยมีส่วนร่วมในการกบฏที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1971 ความจริงแล้วขบวนการแบ่งแยกนี้เริ่มต้นโดยหน่วยงานของพวกชาตินิยมเบงกาลีที่ถูกสอนและได้รับการศึกษาในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยที่สอนโดยศาสตราจารย์ชาวฮิดูและพวกนี้ไม่มีความรู้เรื่องอิสลามเลย
2. ในสมัยการปกครองของอายุบข่าน อินเดีย อเมริกาและอังกฤษ ได้ร่วมกันก่อสถานการณ์ขึ้นเพื่อสับปากีสถานออกเป็นชิ้นๆ คนฮินดูแห่งอินเดียนั้นเกลียดชังและเป็นศัตรูต่ออิสลามและมุสลิมพอๆกับชาวยิว เป็นที่รู้กันดีว่าอเมริกาถูกพวกไซออนิสต์ควบคุมอยู่ และพวกนี้ไม่พอใจปากีสถานที่ให้การสนับสนุนพวกอาหรับในการต่อต้านอิสราเอลมาตั้งแต่ต้น ลัทธิไซออนิสต์สากลจึงใช้ทรัพยากรทั้งหมดของตนที่มีอยู่ในการทำลายความเข้มแข็งของปากีสถาน อังกฤษเองก็เป็นศัตรูตัวฉกาจต่ออิสลามและมุสลิม อังกฤษยอมรับการสร้างปากีสถานก็เพราะตกอยู่ในภาวะจำยอม แต่ก็ปล่อยให้ปากีสถานอยู่ในสภาพที่อ่อนแอและอังกฤษเป็นผู้รับผิดชอบต่อแคชเมียร์ อังกฤษไม่เคยเห็นใจปากีสถานตะวันตกเลยตั้งแต่เริ่มต้น
3. เมื่อการปกครองของอายุบข่านสิ้นสุดลง และเริ่มการปกครองของยะฮ์ยาข่าน พวกฝ่ายซ้ายที่คิดจะทำลายปากีสถานก็แสดงตัวเองออกมาอย่างเปิดเผยด้วยการสร้างความลำเอียงให้เกิดขึ้นโดยอาศัยลัทธิทางภาษาและดินแดนเป้าหมายและรัสเซียก็ให้การสนับสนุนพวกนี้อยู่
4. ระหว่างการเลือกตั้ง พวกต่างชาติซึ่งประกอบด้วย พวกฮินดู ไซออนิสต์และอเมริกาได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่พรรคการเมืองท้องถิ่นสองพรรค ซึ่งเป็นพรรคของชัยค์ มูญีบุร เราะฮ์มาน ซึ่งไม่มีอิทธิพลในปากีสถานตะวันตก และพรรคที่สอง คือ พรรคของนายซุลฟีการ์ อาลี ภุตโต ซึ่งไม่มีกำลังในปากีสถานตะวันออก ปากีสถานก็จะถูกแยกออกเป็นสองส่วนโดยอัตโนมัติ
5. ระหว่างการรณรงค์ พรรคของชัยค์ มูญาบีร เราะฮ์มาน  เพื่อให้พรรคของตัวเองชนะการเลือกตั้ง ดังนั้นด้วยการอาศัยทางการเงิน
6. นายซุลฟีการ์ อาลี ภุตโต พยายามที่จะต่อรองแบ่งอำนาจกับ ชัยค์ มูญาบิร เราะฮ์มาน แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่สามารถตกลงกันได้
            การประกาศเลื่อนการประชุมสภามีขึ้นในวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการกบฏขึ้นในปากีสถานตะวันออกติดตามมาทันที ผลการกบฏครั้งนั้น ชัยค์ มูญาบิร เราะมาน และพรรคของเขาได้เข้ารับตำแหน่งเป็นรัฐบาลพลเรือน เขาก็สั่งปิดศาลและที่ทำการรัฐบาล ตำรวจและคนงานรัฐบาลชาวเบงกาลีอื่นๆก็เข้ากับเขา ธงชาติของปากีสถานถูกเผาและเพลงชาติก็ถูกเปลี่ยนเป็นบทกวีและปากีสถานตะวันออกได้ถูกขนานนามว่า บังคลาเทศ และใช้ธงชาติของบังคลาเทศแทน ร้านค้าของมุสลิมที่มิใช่ชาวเบงกาลีถูกปล้นถูกชิงทรัพย์ มุสลิมที่มิใช่ชาวเบงกาลีถูกทำร้าย ถูกฆ่า ถูกเหยียดหยามเกีตรติยศ ผู้หญิงถูกข่มขื่น และเด็กถูกฆ่าอย่างทารุณ มีการเผาคนทั้งเป็นเกือบทั่วทุกแห่ง ทารุณกรรมที่มุสลิมได้รับในครั้งนี้เป็นเพราะมุสลิมพวกนี้มิได้เป็นชาวเบงกาลีและพูดภาษาอุรดูแทนภาษาเบงกาลีนั่นเอง ประชาชนที่ถูกกดขี่ข่มเหงมิใช่เฉพาะชาวปากีสถานตะวันตกเท่านั้นแต่ยังรวมถึงปากีสถานตะวันออกด้วย แทบจะไม่ปรากฎให้เห็นทางประวัติศาสตร์เลยว่ามุสลิมจะร่วมมือกับพวกบูชาเจว็ดในการฆ่าและทารุณกรรมกับพี่น้องมุสลิมของเขาเอง
7. จากวันที่ 15 ถึงวันที่ 25 มีนาคม ประธานาธิบดียะฮ์ยา ข่าน ได้พยายามที่จะตกลงกับชัยค์ มูญาบิร์ เราะฮ์มาน เพื่อมิให้ปากีสถานต้องถูกแบ่งแยก แต่ก็ล้มเหลว นอกจากนั้นแล้วยังมีการวางแผนที่จะจับตัวประธานาธิบดี ยะฮ์ยา ข่าย ระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม พวกชาตินิยมเบงกาลีกำลังจะประกาศเอกราช
            ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1972 เมาลานา เมาดูดี ได้ส่งโทรเลขต่อไปนี้ไปยังสหประชาชาติ องค์การรอบีเฏาะฮ์ อัลอาลัม อัล อิสลามียะฮ์ ในมักกะฮ์และบรรดาประมุขทุกคนของรัฐมุสลิม  ในปากีสถานตะวันออก มุสลิมที่มีเชื้อสายเบงกาลีและที่มิใช่เบงกาลีจำนวนนับล้านคนที่จงรักภักดีต่ออิสลามและปากีสถานกำลังเผขิญกับการกดขี่อย่างโหดเหี้ยมจากกองทัพบกอินเดียและมุคตี บาฮีนี   นิคมของมุสลิมที่มิใช่เชื้อสายเบงกาลีถูกทำลายล้างด้วยการโจมตีจากจรวดและระเบิด สถาบันการศึกษาและศาสนากำลังถูกทำลายและถูกปิด ผู้ทรงความรู้มสลิมเชื้อสายเบงกาลีถูกฆ่าหรือไม่ก็ถูกจับ การนมาซรวมกันที่มัสยิดเป็นการยากลำบาก แต่มหาอำนาจกลับนิ่งดูอยู่อย่างเงียบๆ ดังนั้น ขอท่านได้ช่วยใช้แรงกดดันยับยั้งการนองเลือดและการกดขี่ปราบปรามนี้ด้วยเถิด
            วันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1972 เมาลานา เมาดูดี ได้ส่งจดหมายมีใจความถึงบรรดานักกฎหมายที่สำคัญๆ ศูนย์กลางทางอิสลาม สถาบันมุสลิม ผู้นำของขบวนการทางอิสลาม องค์กรเยาวชนและนักศึกษามุสลิม สถานีวิทยุกระจายเสียงต่างๆและบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ที่สำคัญๆในอังกฤษ แคนาดา อเมริกา ฝรั่งเศส และอาหรับ จดหมายฉบับนี้ส่วนมากจะถูกส่งไปยังบรรดาผู้นำทางศาสนา ผู้นำทางการเมือง สำนักเลขาธิการอิสลาม สหประชาชาติและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของบรรดาประเทศมุสลิมอีกด้วย จดหมายมีใจความโดยสรุปว่า  วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1971 เมื่อเมืองดัคคาถูกยึดครอง  ไม่เพียงแต่กองทัพปากีสถานเท่านั้นที่ถูกตกเป็นเชลย แต่ข้าราชการพลเรือนที่ถูกส่งไปปฎิบัติหน้าที่ตลอดจนนักธุรกิจที่ทำการค้าขายอยู่รวมทั้งครอบครัว ก็ถูกจับเป็นเชลยและถูกส่งเข้าค่ายทหารในอินเดียเป็นเวลาเกือบปี จนกระทั่งยังไม่ยอมปล่อยโดยการกักตัวไว้เป็นประกันอีกด้วย  “จุดประสงของการญิฮาดแห่งอิสลามนั้นคือการทำลายระบบรัฐบาลที่มิใช่อิสลามลง แล้วสถาปนาการปกครองแบบอิสลามขึ้นมาแทน อิสลามต้องการที่จะสร้างการปฎิวัตินี้ขึ้นมาไม่เพียงแต่ประเทศหนึ่งหรือสองประเทศเท่านั้นแต่ต้องการทั่วโลก ในตอนเริ่มต้น มันจะเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในขบวนการอิสลามที่จะต้องทำลายปฎิวัติในทุกที่ที่ตนอาศัยอยู่ แต่จุดประสงค์สุดท้ายก็ไม่ใช่อื่นใดนอกจากการปฎิวัติโลกสนับสนุนความดีของมนุษย์ทุกคนและมิได้เป็นของชาติหนึ่งชาติใด
            สำหรับมุสลิมที่จิตใจอ่อนไหวนั้น บุคคลเหล่านี้มักจะมีความท้อแท้หมดหวังเพราะในโลกปัจจุบันลัทธิวัตถุนิยมและลัทธินิยมตะวันตกกำลังแพร่ระบาดอยู่อย่างหนัก จนทำให้มีความรู้สึกว่าอิสลามกำลังตกต่ำ ทำให้การฟื้นฟูอิสลามเป็นเรื่องยาก เมื่อมีการพูดถึงเรื่องนี้ขึ้นมาในขณะที่เมาดูดีกำลังนอนรับการรักษาตัวอยู่ในลอนดอน เขาได้ตอบว่า  ถ้าหากความผิดมันจะเกิดขึ้นกับคนที่ทำงานเพื่ออิสลามแล้วมันก็ต้องเกิดขึ้น เพราะว่าพวกเขาต้องการที่จะเห็นความสำเร็จในการทำงานเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเขา แต่การที่มุสลิมจะทำงานเพื่ออิสลามนั้น เขาจะต้องถือมั่นอยู่ในเงื่อนไขเดียวว่า เพื่อต้องการความโปรดปรานจากอัลลอฮ เราจะต้องมุ่งไปที่ผลตอบแทนในโลกหน้าเท่านั้น อะไรก็ตามที่มันเกิดขึ้นในโลกนี้มันเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น ถ้าหากพวกเขาไม่เอาเลือดของตัวเองแลกกับขบวนการทางอิสลามหรือถ้าพวกเขาไม่อุทิศชีวิตแล้ว ชนรุ่นหลังก็คงไม่มีวันได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่สามารถเปลี่ยนประวัติศาสตร์ได้หรอก แต่พวกเขาก็ไม่เคยได้ทำงานที่จะให้เห็นผลทันตา พวกเขาไม่เคยมีชีวิตอยู่เพื่อที่จะให้ผลพะวงที่จะเกิดจากความพยายามของพวกเขา ความใฝ่ฝันทะเยอทะยานของพวกเขาคือการทำหน้าที่ของตนให้สำเร็จเสร็จสิ้นไป คนที่รักอิสลามอย่างแท้จริงและจิตใจของเขามีความศรัทธานั้น สถานการณ์ในปัจจุบันไม่เคยทำให้เขาท้อแท้หรือสิ้นหวังเลย เพราะคนพวกนี้จะถือว่าเป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้องต่อสู่เพื่อที่จะให้อิสลามสูงส่ง แม้ว่าความพยายามของเขาจะประสบความล้มเหลวในโลกนี้ เขาก็ไม่ถือว่าเป็นความล้มเหลว แต่ความล้มเหลวและความตกต่ำที่แท้จริงนั้น จะเป็นของคนที่อ้างตัวว่าจะเป็นมุสลิม แต่พยายามขัดขวางและทำลายผู้ที่ต่อสู้เพื่ออิสลาม
            ตลอดการทำงานของเขา เมาลานา เมาดูดี ได้วิพากษ์วิจารณ์ความผิดของพวกที่มีอำนาจอย่างไม่เคยหวาดกลัว และไม่เคยคำนึงถึงสวัสดิภาพของตัวเองเลย แม้ว่าจะมีคนร้ายหมายปองเอาชีวิตเขาหลายครั้งก็ตาม แต่เขาไม่เคยคิดว่าจำเป็นต้องมีการป้องกันล่วงหน้าหรือต้องมีคนคอยคุ้มกันแต่อย่างใด ในปีค.ศ. 1970 มีพวกนักวิชาการที่ชอบฉวยโอกาสได้โฆษณาใส่ร้ายป้ายสีเขา และภรรยาตลอดจนลูกๆของเขาและภรรยาตลอดจนลูกๆของเขาในมัสยิดระหว่างที่มีการเทศนา
(คุตบะฮ)ในวันศุกร์และเมื่อวันที่ 8 กันยายน 1970 หนังสือพิมพ์ปากีสถานไทม์ส ในลาโฮร์ได้ลงข่าวเรื่องความพยายามลอบสังหารอัลเมาดูดีดังนี้
เด็กวัยรุ่นคนหนึ่งในเมืองเยาฮาราบัด ชื่อ ซาฮิด อิกบาล ได้มอบตัวต่อคนของญะมาอัตหลังจากเปลี่ยนใจที่จะลอบสังหารเมาลานา เมาดูดี หลังจากที่ได้ยินคำปราศรัยของเมาลานา เซียอุล กอซิม แห่งกลุ่มฮาซาร์วีของษมาคมอุลามา ณ ที่สาธารณะแห่งหนึ่งในเมืองเยาฮาราบัด เมื่อตอนต้นเดือนสิงหาคม ตามคำปราศรัยของเขา เมาลานา กอซิม ได้กล่าวหาเมาลานา เมาดูดีว่าดูถูกท่านศาสดามุฮัมมัด และเชื่อในคัมภีร์อัลกุรอานครึ่งหนึ่ง เด็กวัยรุ่นซึ่งเป็นนักศึกษาอยู่ในชั้นเจ็ดผู้นั้น กล่าวว่า หลังจากที่นมาซเสร็จแล้ว เขาเกิดความประทับใจในคำพูดของเมาลานา เมาดูดี  ที่มีต่อคนทำงานของพรรคว่า เขาไม่เคยใช้ภาษาที่สกปรกหรือบิดเบียนภาษาให้เป็นอันตรายต่อคู่ต่อสู้เลย อิกบาลยังไม่เคยลงมือกระทำการและได้สารภาพออกมาก่อน แต่อย่างไรก็ตามสมาชิกญะมาอัตบางคนก็เห็นว่าควรจะแจ้งเรื่องนี้ให้ทางตำรวจทราบ เพราะเด็กหนุ่มคนนี้ได้ยื่นมีดยาว 18 นิ้ว ให้แก่หัวหน้าของญะมาอัตเป็นหลักฐาน ซาอิต อิกบาล กล่าวว่า เขาได้ขโมยมีดเล่มนี้มาจากร้านช่างเหล็กแห่งหนึ่งในเมืองเยาฮาราบัด
            เมื่อข้าพเจ้าเตือนเมาดูดีถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่เขาระหว่างที่มีการรณรงค์เลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1970 เขาตอบอย่างสงบว่า ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าใครก็ตามที่ไว้วางใจในพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเกรียงไกรแล้ว เขาจะได้รับความคุ้มครองและความจำเริญจากพระองค์ ความสำเร็จของเมาลานา เมาดูดี ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณนั้นเป็นความสำเร็จที่สวยงามในการต่อสู้เพื่ออิสลามแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ที่มีความรู้ในทางวิชาการทางด้านโลกวัตถุอีกด้วย ถึงแม้ว่าการศึกษาของเขาเกือบทั้งหมดจะเป็นการศึกษาด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านปรัชญาและศาสนา ศิลปะและวิทยาศาสตร์หรือการเมืองและเศรษฐกิจ เขาได้ใช้ความรู้ที่สะสมมาระหว่างการทำงานมาเป็นเวลา 50 ปี ผลงานของเขาไม่เพียงแต่จะดึงดูดเยาวชนที่ได้รับการศึกษาแผนใหม่ให้มากสนใจอิสลามมากขึ้นแล้ว แต่ในด้านความประพฤติส่วนรวม เขาเป็นคนที่เสียสละ ไม่เคยคิดคำนึงถึงตัวเอง ไม่หวั่นเกรงผู้ใด แต่ก็สุภาพและถ่มตนอยู่เสมอและเกลียดความฟุ่มเฟือย ดังนั้นชีวิตความเป็นอยู่ของเขาและครอบครัวจึงมีลักษณะเรียบง่าย  และภรรยาของอัลเมาดูดี เป็นผู้นำของสมาชิกหญิงของ ญะมาอัต อิสลามี ในปากีสถานตะวันตกเป็นเวลาหลายปี ลูกชายคนหัวปีของเขา อุมัร ฟารุค จะช่วยงานด้านจัดพิมพ์หนังสือ ตัรญุมัน อัล กุรอาน   ในตอนบ่ายเมาดูดีจะมานั่งคุยกับคนจากทุกหนทุกแห่งที่ต้องการมาคุยกับเขาเกี่ยวกับเรื่องอิสลาม เรื่องการเมืองและเรื่องอื่นๆที่สนามหญ้าหน้าบ้านเป็นประจำ นอกจากนั้นแล้ว เขายังใช้เวลามากเหมือนกันในการตอบจดหมายที่มีมาถึงเขาจากทั่วทุกมุมโลก
            ถึงแม้ว่านักฟื้นฟูอิสลาม(มุญัดดิด)จะไม่ใช่ศาสดา แต่จิตใจของคนเหล่านั้นก็อยู่ใกล้ชิดความเป็นศาสดา เขาเป็นผู้ที่จิตใจบริสุทธิ์ ไม่ลำเอียง มีความกล้าที่จะต่อสู้กับความชั่วร้ายและสามารถที่จะตัดสินปัญหาต่างๆในการทำงานเพื่อฟืนฟูอิสลาม นอกจากคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว เขาจะมีความรู้เกี่ยวกับอิสลามอย่างกว้างขวาง จะต้องเป็นมุสลิมอย่างสมบูรณ์ทั้งในด้านความคิดและการกระทำ จะต้องมีความแหลกแหลมในการที่จะแยกอิสลามกับส่วนที่มิใช่อิสลาม และสามารถที่จะแยกแยะความจริงออกจากความเท็จได้ คุณสมบัติเหล่านี้ล่วนแต่มีอยู่ในตัวศาสดาทั้งสิ้น แต่ส่วนที่ทำให้มุญัดดิดแตกต่างไปจากท่านศาสดาก็คือ การได้รับการแต่งตั้งและการได้รับโองการจากพระผู้เป็นเจ้า ศาสดาเริ่มต้นภารกิจของตัวเองด้วยการประกาศเป็นศาสดา และต้องเชื้อเชิญประชาชนให้มาหาท่าน การยอมรับหรือการปฎิเสธการเชื้อเชิญของท่านจะเป็นสิ่งตัดสินว่าใครคนไหนที่จะเป็นผู้ศรัทธาหรือผู้ที่ไม่ศรัทธา นักฟื้นฟูอิสลามไม่ได้อยู่ในฐานะเช่นนี้ งานด้านต่างๆที่นักฟื้นฟูได้กระทำไปในการฟื้นฟูอิสลาม
1.วินิจฉัยความเจ็บไข้ของสังคม : โดยตรวจสอบสภาพแวดล้อม และเงื่อนไขของเวลา เพื่อไห้แน่ใจอย่างถูกต้องว่า ความโง่เขลาได้คืบคลานเข้าไปสู่ส่วนไหนของสังคมในรูปแบใด และแค่ไหน รากเง้าของมันคืออะไร และอยู่ที่ไหน และอิสลามมีฐานะอย่างไรในเวลานั้น
            2. แผนการปฏิรูป : ขจัดอำนาจอื่น หรืออิทธิพลอื่นที่ไม่ใช่อิสลาม และนำอิสลามไปใช้ในการดำเนินชีวิต และครอบคลุมทุกๆส่วนของสังคม
            3.ประมาณขีดจำกัดทรัพยากรวิเคราะห์ศักยภาพส่วนบุคคล ปัจจัยการบริโภค และปัจจัยในด้านการผลิตตามกำลังความสามารถ และพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรในการปฏิรูป
            4. การปฏิวัติทางสติปัญญา : สร้างแนวความคิดความเชื่อ และทัศนะคติทางศีลธรรมของประชาชนให้เป็นแบบอิสลาม ปฏิรูประบบการศึกษา และพื้นฟูวิทยาการและทัศนคติแบบอิสลาม
            5. การปฏิรูปทางการปฏิบัติ : ทำลายประเพณีผิดๆ และขัดเกลาศีลธรรมให้สะอาด สร้างจิตใจในการปฏิบัติตามกฎหมายอิสลาม และเตรียมคนสำหรับเป็นผู้นำ
            6. การใช้ดุลยพินิจ (อิจญติฮาด) : เข้าใจหลักการพื้นฐานของศาสนา ตัดสินวัฒนธรรมร่วมสมัย และแนวโน้มของมันจากทัศนะอิสลาม และพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะมีขึ้นในอนาคตเมื่อมีการนำอิสลามมาใช้ในรูปแบบของชีวิตทางสังคม โดยคำนึงถึงเป้าหมาย และสามารถผลักดันให้อิสลามขึ้นมาเป็นผู้นำของโลกในระบบสังคมที่ได้รับการปฎิรูป 
            7. ปกป้องอิสลาม : เผชิญหน้ากับอำนาจทางการเมืองที่มุ่งทำลายอิสลาม และทำลายอำนาจนั้นลงเพื่อให้อิสลามเป็นพลังที่มีชีวิตอยู่
            8. ฟื้นฟูระบบอิสลาม : ต่อต้านอำนาจอื่นที่ไม่ใช่อิสลาม และสร้างรัฐบาลตามแบบอย่างคอลีฟะฮ์ ที่ได้สร้างแบบอย่างหลังจากที่ท่านนบีเสียชีวิต
            9. การปฎิวัติสากล : อย่าได้พึงใจกับการสร้างระบบอิสลามขึ้นมาได้ในประเทศหนึ่งประเทศใดที่มีมุสลิมอาศัยอยู่เท่านั้น แต่จงเริ่มการเคลื่อนไหวทางสากลอย่างเข็มแงเพื่อเผยแพร่ข่าวสารการปฏิวัติอิสลามไปยังมนุษยชาติทั้งหมด และสามารถทำให้อิสลามกลายเป็นพลังวัฒนธรรมที่ครอบคลุมทุกๆอณูของโลก 
            การทำงานของเมาลานาอัลเมาดูดีนั้นมิได้กระทำไปเพื่อเสวงหาอำนาจส่วนตัว หลายครั้งที่เขาประกาศวาเขายินดีที่จะรับใช้อิสลามที่แท้จริงด้วยตำแหน่งที่ต่ำต้อยที่สุด แต่เขาจะไม่ยอมรับต่ำแหน่งใดๆภายใต้การปกครองแบบชาตินิยมถึงแม้ว่าตำแหน่งนั้นจะเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุดก็ตาม เขาได้ศึกษากบวนการอิสลามในยุคก่อนๆ เพื่อหาจุดอ่อน และจุดเด่น เพื่อนำมาเป็นบทเรียนปรับปรุงการทำงาน และสร้างความสำเร็จให้กับการทำงานของตน เมาดูดีไม่ได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียน แต่ความรู้ของเขาก็ทำให้หลายคนต้องยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา ปรัชญา การเมือง เศรษฐกิจ ศิลป หรือวิทยาศาสตร์ เขาสามารถเสนอความคิดที่เฉียบแหลมด้วยความรู้ผสมกับความสมดุลทางจิตใจ เขาประกาศว่าการต่อสู้ของเขา เป็นการต่อสู้กับความล้าหลัง และความสมัยใหม่ และเป็นการต่อสู้กับลัทธิอนุรักษ์นิยมสุดโต่งกับลัทธิใหม่ที่นอกรีต

            ญะมาอัต อิสลามี , ปากีสถาน
            ขบวนการญะมาอัตอิสลามี เริ่มต้นขึ้นใน ปี ค..1933อันเป็นปีที่เมาลานา เมาดูดีได้เริ่มนำเอาบทความเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิตตามแบบอิสลาม ตีพิมพ์ลงในวารสารรายเดือนภาษาอูรดูของเขาที่ชื่อ ตัรญูมัน อัลกรุอาน วารสารฉบับนี้ให้ความสนใจต่อผลกระทบของอารยธรรมสมัยใหม่ที่มีต่อคนมุสลิมเป็นอย่างมากและด้วยวารสารฉบับนี้ใช้เป็นเครื่องเมื่อในการคัดค้านปรัชญาวัตถุนิยมสมัยใหม่ที่กำลังแพร่หลายในหมู่เยาวชนมุสลิมเป็นผลสำเร็จ
            ใน ค.. 1937 สภาแห่งชาติอินเดียได้เริ่มนำเอาแผนการศึกษา และสังคมที่เป็นภัยต่อประชาคมมุสลิมมาใช้ เมาลานาอัลเมาดูดีจึงได้เขียนบทความเป็นตอนๆลงในวารสารเพื่อให้คนมุสลิมในอินเดียได้รู้ว่า คนมุสลิมจะยอมตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางวัฒนธรรมของอินดูไม่ได้ประมาณ 8 ปี จนกระทั้งวันที่ 20 สิงหาคม ค.. 1941 เมาลานาอัลเมาดูดีได้เชิญคนที่เห็นด้วยกับเขาประมาณ 75 คน เพื่อก่อตั้งญะมาตอิสลามี (หรือสมาคมอิสลามขึ้น)
วัตถุประสงค์ก็คือ ความต้องการที่จะไห้พฤติกรรมของชีวิตมนุษย์ครอบคลุมทุกขั้นตอนในเรื่องต่างๆดังนี้  ความศรัทธา อุดมการณ์ ศาสนา จริยธรรม ศีลธรรม การศึกษา สังคม วัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ  การเมือง กฎหมาย  การพิจารณาคดี  สงคราม ตลอดจนกิจการภายในประเทศ และระหว่างประเทศ วางอยู่บนหลักแห่งการเชื่อฟังกฏหมายของพระผู้เป็นเจ้า แผนงานเริ่มต้นของญะมาอัตอิสลามี มี 2 อย่างคือ
การเผยแพร่อุดมการณ์ อิสลาม
การฝึกระเบียบวินัยให้แก่ชุมชนมุสลิมในอณูทวีป เพื่อให้คนเหล่านั้นนำไปปฏิบัติ ใน    
ขณะที่ลัทธิของคนอินดูได้ทำไห้สังคมมุสลิมตกต่ำไปด้วยวัฒนธรรมที่ขัดต่อหลักคำสอนของอิสลามเป็นเวลานาน และเมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย มุสลิมก็หันไปนิยมยกย่องตะวันตก   
             ในขั้นแรก ญะมาอัต อิสลามีได้เริ่มโจมตีอิทธิพลที่ต่อต้านอิสลามทั้งหมด โดยเฉพาะการกราบไหว้รูปปั่นของพวกอินดู และลัทธิวัตถุนิยมปฏิเสธพระเจ้า พร้อมกันนั้นก็ได้เปิดโปงความชั้วช้าที่เกิดจากลัทธิดังกล่าว และแนะนำทางแก้ไขที่อิสลามวางรูปแบบไว้
            หลังจากการแยกตัวออกจากอินเดียแล้ว ญะมาอัตอิสลามีเริ่มเห็นชัดว่า พวกที่มีอำนาจนั้นมิได้มีเจตนาที่จะจัดตั้งรัฐอิสลามที่แท้จริงขึ้นในปากีสถาน แต่พวกนี้ต้องการที่จะคงระบบการปกครองของอังกฤษไว้ต่อไป
            ดังนั้นงานขั้นแรกของญะมาอัตอิสลามีก็คือหาพลังมติมหาชนกดดันรัฐบาลให้ต้องขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญที่กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของรัฐใหม่ตามที่กำหนดไว้ ญะมาอัตอิสลามีตระหนักว่าการกำหนดรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมนี้เป็นจุดสำคัญที่สุด และเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำหรับการก่อตั้งรัฐอิสลาม เป็นผลให้พวกที่ทีอำนาจไม่พอใจอย่างมากจนถึงกับจับเมาลานาเมาดูดี มิอาน ตุฟัยล์ มุฮัมมัด และเมาลานาอามิน อาห์ซันอิสลาฮีเข้าคุก อย่างไรก็ตาม ญะมาอัตอิสลามียังคงต่อสู้ต่อไปไม่หยุดหย่อนจนกระทั้งสภารัฐธรรมนูญยอมรับ มติวัตถุประสงค์ ในเดือนมีนาคม ค.. 1949 เมื่อคดีนี้ถูกนำมาขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ผู้พิพากษาได้ลงความเห็นว่า เหตุผลการสั่งห้ามญะมาอัตอิสลามี และการจับคุมขังผู้นำของญะมาอัตนั้นมีไม่เพียงพอ การปฏิบัติของรัฐบาลจึงเป็นสิ่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย ในปีที่มีการแบ่งแยกอนุทวีปนั้น ญะมาอัตอิสลามีมีสมาชิกกว่า3,000 คนและสมาชิกผู้สนับสนุนอีกประมาณ 100,000 คน นอกจากนั้นแล้วยังมีชายหญิงอีกหลายแสนคนที่เห็นใจกบวนการ แต่เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมส่วนบุคคลคนพวกนี้จึงเข้าร่วมไม่ได้ ถึงแม้ญะมาอัตตอิสลามีจะเปิดโอกาสไห้ทุกคนมีส่วนร่วม แต่คนที่จะมาเป็นได้ก็จะต้องได้รับการทดสอบเป็นเวลานานเสียก่อน หลังจากที่เข้าร่วมญะมาอัตแล้ว สมาชิกใหม่จะต้องเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตส่วนตัวแทบจะทั้งหมด เขาจะต้องแสวงหาความรู้เกี่ยวกับอิสลามเพื่อทำให้ตัวเขาสามารถแยกได้ว่าอะไรที่เป็นอิสลาม และอะไรที่ไม่ใช่อิสลาม เขาจะต้องตัดความสัมพันธ์กับคนชั่ว และเป็นเพื่อนกับคนดี จะต้องไม่หาเลี้ยงชีพด้วยวิธีการที่อิสลามไม่อนุมัติ และต้องทิ้งทรัพย์สินที่หามาได้โดยผิดกฏหมาย รวมทั้งสละสิทธิของคนที่เขายึดมาได้ก่อนหน้านี้ เขาจะต้องทำกิจกรรมทุกอย่างของเขาด้วยความถูกต้องยุติธรรม และเกรงกลัวต่อพระเจ้า
             ตำแหน่งของผู้ชายในญะมาอัตนั้นไม่ได้พิจารณาจากฐานะทางโลก หรือได้รับการศึกษาแบบวัตถุนิยม แต่จะดูจากความยอมตนต่อพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าความเข้าใจที่ลึกซึ้งในอิสลาม และการดำเนินชีวิตตามแบบอิสลาม ความสามารถในการดำเนินงาน ความกระตือรือร้นที่จะอุทิศทรัพย์สมบัติ สติปัญญา แรงงาน และเวลาเพื่อวัตถุประสงค์ของพรรค ญะมาอัตให้ความสนใจเป็นพิเศษในการฝึกอบรมศีลธรรม และจิตใจของสมาชิก และผู้ปฏิบัติงาน การเลือกผู้นำของญะมาอัตจะทำในทุกๆ 5 ปีโดยจะพิจารณาจากเสียงส่วนใหญ่
 หน้าที่ของตำแหน่งผู้นำญะมาอัตคือ
1.จงรักภัคดี และเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้า ดังที่ได้กำหนดไว้ในอัลกรุอ่าน และซุนนะฮ์
คำนึงถึงสวัสดิการของญะมาอัต และรับผิดชอบในหน้าที่ เหนือกว่าความสะดวกสบายส่วนตัว 3.จัดระเบียบสมาชิกของญะมาอัตด้วยความยุติธรรม
รักษาความไว้วางใจที่ญะมาอัตมอบหมาย
ยึดมั่นในธรรมนูญ และพยายามทุกวิถีทางที่จะบริหารญะมาอัตไปตามนั้น
ญะมาอัตมีสภากลางซึ่งได้รับเลือกเพื่อทำหน้าที่  
กำหนดนโยบายของญะมาอัต
ถอดถอนผู้นำออกจากญะมาอัต ถ้าหากสมาชิกสภากลางจำนวนสองในสามร้องขอ
ตรวจสอบเรื่องการเงินและงบประมาณ เป็นต้น
วันที่ 20ธันวาคม ค.. 1969 ญะมาอัตได้ประกาศใช้แผนงานของพรรคเป็นแนวทางสำหรับการสร้างรัฐอิสลามญะมาอัตอิสลามแห่งปากีสถานเป็นพรรคตามอุดมการณ์พรรคหนึ่งความหมายที่กว้างที่สุด และมิได้เป็นเพียงพรรคการเมือง หรือองค์กรทางศาสนา หรือองค์กรปฏิรูปทางสังคมแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ญะมาอัตอิสลามี ตั้งอยู่บนความเชื่อมั่นอันเหนียวแน่นว่า อิสลามเป็นระบอบแห่งชีวิตที่ครอบคลุมพฤติกรรมของมนุษย์ในทุกๆด้าน ญะมาอัตมิใช่พรรคชาตินิยม อุดมการณ์ของญะมาอัตอยู่เหนือพรมแดนทางภูมิศาสตร์ และครอบคลุมถึงสวัสดิภาพของโลก และมนุษยชาติทางมวล  ญะมาอัตมีความเห็นว่าความผิดลาดที่เกิดขึ้นในปากีสถานนั้นไม่ใช่การขาดคนที่มีความเชื่อมั่นอย่างแท้จริงในพระผู้เป็นเจ้า และความเป็นศาสดาของมุฮัมมัด แต่สิ่งที่เราขาดคือเรายังมิได้นำเอาความเชื่อ และระบอบชีวิตที่ถูกต้องมาใช้ในระดับชาติเพื่อขจัดจุดปกพร่องอันนี้ญะมาอัตจึงได้พยายามใช้การเผยแพร่คำสอนอันบริสุทธิ์แห่งอิสลามเปิดโปงแนวคิดที่ผิดพลาด และคัดค้านการนำสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในอิสลามโดยคนที่โง่เขลาทั้งในอดีต และปัจจุบัน พยายามที่จะชีให้ปัญญาชนเห็นว่าอิสลามสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างไร และได้มีการรณรงอย่างต่อเนื่องกันเพื่อยกระดับศีลธรรมของประชาชน ใครก็ตามที่นิยมเลื่อมใสในชีวิตแบบอิสลามแล้วไม่ต่อสู้ทางด้านการเมืองเขาก็ไม่มีวันที่จะประสบผลสำเร็จในการต่อสู้เพื่อให้มีการนำอิสลามไปใช้ในชีวิตส่วนบุคคล และส่วนรวม
            ญะมาอัตอิสลามีมิได้ขึ้นอยู่กับบุคคลหนึ่งบุคคลใดในการอยู่รอดของตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการพิสูจน์ให้คนทั่วไปได้เห็นแล้วในปี ค..1972  เมื่อเมาลานาเมาดูดีลาออกจากตำแหน่งเพราะสุขภาพทรุดโทรม และมิอาน ตูนัยล์ มุฮัมมัดได้เข้าเป็นผู้นำ ขบวนการของญะมาอัตก็ยังคงเข้มแข็ง มีระเบียบ และเคลื่อนไหวอยู่เหมือนเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น