เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติ อัล-ตะฮฺตาวีย์

อัล-ตะฮฺตาวีย์ (ค.ศ.1801-1873)

            อัล-ตะฮฺตาวีย์ มีประวัติอันโดดเด่น มีชื่อเสียง เป็นนักเขียน นักแปลและนักข่าว เขามีลักษณะเฉพาะตัวโดยมีความคิดเป็นของตัวเอง ความคิดของเขาโดดเด่นเกินตัว เขาเป็นหนึ่งในบรรดาบุคคลที่ชี้นำสังคมอียิปต์ เขาประสบความสำเร็จในการก้าวข้ามวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนั้น
            เขาฝากงานแปลและขุมทรัพย์ทางปัญญาอย่างมากมายให้กับบรรดานักคิดหลายท่าน เช่น อาลี มุบาร็อก  มุฮัมหมัด อับดุฮฺ   อะหมัด อะรอบีย์   อับดุลลอฮฺ อัล-นาดีมและซาอัด ซากูลู้ล และท่านยังกำหนดแนวคิดของนักคิดรุ่นหลังจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ชีวิตและการศึกษา
            อัล-ตะฮฺตาวีย์ เกิดวันที่ 15 ตุลาคม .. 1801 ในเมืองตะฮฺตา ทางตอนบนของอียิปต์ บรรพบุรุษของเขาเป็นบุคคลที่มีอำนาจและครอบครองตำแหน่งหลายตำแหน่งในอียิปต์ ท่านถูกเลี้ยงดูในสภาพความคิดและการเมืองแบบอิสลาม ในวัยเด็กเขารู้สึกว่าพอใจที่คนชั้นสูงอย่างพวกเขาได้รับการจัดสรรเงินพิเศษจากรัฐ แต่เมื่อมูฮัมหมัดอาลี ฟาชา เข้ามามีอำนาจ เขาก็ได้ยกเลิกระบบนี้ เขาปฏิรูประบบเศรษฐกิจเสียใหม่ ดังนั้นจึงทำให้ครอบครัวของอัล-ตะฮฺตาวีย์ ตกอยู่ในสภาพคับแค้น จนในที่สุดต้องอพยพจากเมืองตะฮฺตาไปยังเมืองเจอร์กา(Gerga) กีนา (Qena) และฟาร์ชูต (Farshoot) ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุ 12 ปี เขาประสบความสำเร็จในการอ่าน เขียนและท่องจำอัลกุรอานอย่างมาก
            หลังจากที่พ่อของเขาเสียชีวิต เขาก็กลับไปเมืองตะฮฺตา(Tahta) และได้อาศัยอยู่กับลุงที่นั่น
            พรสวรรค์ของเขาได้เด่นชัด เมื่อเขาศึกษาในมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร ในปี ค.ศ. 1817 เขาได้เรียนกับเชคฮัซซานซึ่งเป็นอุลมาอฺคนสำคัญของอัล-อัซฮัร อย่างลับๆ เขาให้ความสำคัญอย่างมากกับบทเรียนที่เชคได้สอน เมื่อฝรั่งเศสได้ครอบครองอียิปต์ เชคฮัซซานได้หนีไปยังตอนบนของอียิปต์ เขามีความคิดว่าประเทศมุสลิมนั้นควรได้รับประโยชน์จากความรู้ทั่วไป ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และทฤษฎีการศึกษาของประเทศตะวันตก เขาเป็นนักกวีและเขียนหนังสือเกี่ยวกับยาและทางกายภาพ
            ในปี ค.ศ. 1823 อัล-ตะฮฺตาวีย์ได้จบการศึกษา จากนั้นเขาได้ทำงานเป็นครูสอนในมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร เป็นเวลา 2 ปี เวลาส่วนใหญ่ของเขาหมดไปกับการอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับพวกตะวันตกซึ่งไม่สามารถหาได้และไม่อนุญาตให้อ่านในสมัยนั้น
            เขาได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นอีหม่ามของกองพันทหารอียิปต์ เป็นผู้นำทางด้านจิตวิทยาของกองทัพใหม่ซึ่งก่อตั้งโดยมูฮัมหมัดอาลี ฟาชา การเชื่อมต่อระหว่างเขากับชีวิตทางการทหารของเขานั้นมีผลกระทบต่อเขาอย่างมาก มันเปิดมุมมองใหม่ให้กับแนวคิดและชีวิตของเขาทำให้เกิดข้อได้เปรียบแก่ระบบใหม่ของกองทัพ
            กองทัพยังมีบทบาทสำคัญยิ่งแก่เขา มันเพิ่มความรักของเขาที่มีต่อแผ่นดินเกิด เพิ่มระเบียบวินัยในงานและภาระหน้าที่ที่เขาได้รับมอบหมาย งานเขียน งานแปล และงานด้านกิจการของสถาบันที่เขารับผิดชอบ
            ในปี ค.ศ. 1825 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอีหม่ามของบรรดาคณะทูตด้านการศึกษาที่
มูฮัมหมัด ฟาชา ส่งไปยังปารีส เชคฮัซซานได้แนะนำในการทำหน้าที่ของเขา ในขณะที่เขาอยู่ที่เมือง มาร์เซลส์ (Marseille) ของกรุงปารีส เขาคิดว่าเขาควรจะทำอะไรได้มากกว่าการเป็นอีหม่าม เขาจึงเริ่มศึกษาภาษาฝรั่งเศษ ศึกษาการแปล โดยที่เขาได้แปลวิชาวิทยาศาสตร์จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอาหรับ เพียงเวลาแค่ 1 เดือนเขาก็กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎในการสะกดคำของภาษาฝรั่งเศส เขาเชื่อว่าต้องเปิดช่องทางการเชื่อมต่อระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมตะวันออก วันที่ 19 ตุลาคม . 1830 เขาได้มอบงานแปล 12 ชิ้นให้กับคณะลูกขุนของฝรั่งเศส และยังได้มอบต้นฉบับของหนังสือที่เขาเขียนระหว่างที่เขาอาศัยอยู่กรุงปารีสหนังสือเล่มนั้นมีชื่อว่าتخليص الإبريز في تخليص باريز
            ในปี ค.ศ. 1831 เขาได้รับปริญญาอีกครั้ง หลังจากนั้นเขาก็เดินทางออกจากปารีส เขาได้รับการผสมผสานชีวิตแบบฝรั่งเศสในทุกๆ ด้าน แม้กระทั่งทางด้านการเมือง การทหาร วิทยาศาสตร์และสังคม เขามีความคุ้นเคยกับวิถีชีวิตของชาวยุโรปและสนใจในวิถีชีวิตของคนที่นั่น

แนวคิดของ อัล-ตะฮฺตาวีย์
อัล-ตะฮฺตาวีย์ ได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของนักปรัชญาในสมัยของการปฏิวัติฝรั่งเศส นักปรัชญาเหล่านี้คือ
1.เวิลด์แตร์ Voltair
2.มองเตสกิเออ Montesqvieu
3.จางจากรุซโซ Jean Jacques Rousseau
4.คอนดิแอค Condiac
 อัล-ตะฮฺตาวีย์จะเน้นการศึกษาโดยถือว่าการศึกษาเป็นวิธีทางเดี่ยวที่จะนำไปสู่การฟื้นฟูสังคมและนำไปสู่ความสมัยใหม่ ซึ่งตลอดชีวิตของ อัล-ตะฮฺตาวีย์ จะทุ่มเทไปการสอนและการแปล




ปรัชญาทางการศึกษาของอัล-ตะฮฺตาวีย์  สรุปได้ดังนี้
1.  การศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาสังคม
การศึกษาเน้นย้ำความสำคัญทางจิตใจต่อการเรียนรู้ฝึกฝนทักษะ และแสวงหาประสบการณ์ ซึ่งทำให้มนุษย์สามารถผ่าข้ามอุปสรรคของชีวิต และไดรับประโยชน์ธรรมชาติ รวมทั้งสรรพสิ่งต่างๆ อัล-ตะตาวีย์ ยังเชื่อว่ามนุษย์สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นจริง
2.  การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเยาวชน
จุดประสงค์ อัล-ตะฮตาวีย์การศึกษาแก่เยาวชน โดยไม่เลือกชาย-หญิง เพื่อปกป้องเยาวชนมิให้เบี่ยงเบนจากสิ่งที่ถูกต้อง และศีลธรรมจรรยา นอกจากนี้การให้การศึกษาแก่เยาวชนหญิงซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างครอบครัวให้เป็นสุข และอบรมบ่มเพาะให้เยาวชนรุ่นใหม่ ให้มีความประพฤติที่ดีงาม การศึกษาจะทำให้ผู้หญิงมีโอกาสในการทำงาน ภายใต้ศักยภาพของตนเอง นอกเหนือจากนั้นจะทำให้พวกเขาเลิกพฤติกรรมการนินทาว่าร้าย
อัล-ตะฮฺตาวีย์แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ
1.      ระดับประถมศึกษา
2.      ระดับมัธยม
3.      ระดับอุดมศึกษา
 การศึกษาการปกครอง (รัฐศาสตร์ ) ตามแนวความคิดของ อัล-ตะฮฺตาวีย์การให้ศึกษาด้านการปกครองในต่างประเทศให้ทันสมัย เป็นองค์ประกอบสำคัญของการศึกษาเป็นสาเหตุที่ทำให้ อัล-ตะฮฺตาวีย์ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการรณรงค์การปลูกฝัง จิตสำนึกให้มีส่วนร่วม ทางการเมืองแก่ประชาชน ทั้งนี้ โดยการรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจถึงสิทธิ และหน้าที่ของตนเอง รวมทั้งสิ่งที่รัฐต้องให้ประชาชนซึ่งการให้นั้นก็คือ การศึกษาด้านการเมืองการปกครองโดยไม่ได้จำกัด เฉพาะอยู่ในชั้นเรียน แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชน
  สำหรับ อัล-ตะฮฺตาวีย์ การให้การศึกษาด้านการเมืองการปกครองมีจุดประสงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกความเป็นพลเมือง ให้แก่ประชาชน และทำให้พวกเขาถึงสิ่งที่ประเทศชาติต้องการให้พวกเขา แสดงออกทางสังคม เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม
   อัล-ตะฮฺตาวีย์ เน้นย้ำถึงการจำกัดความไม่รู้หนังสือความล้าหลังและการกดขี่ข่มเหงรังแก อัล-ตะฮฺตาวีย์ได้กระตุ้นให้สังคมตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง  เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองในประเทศ
    แนวความคิดชาตินิยมของ อัล-ตะฮฺตาวีย์ เกิดขึ้นเพราะอยู่ร่วมสมัยกับการปฏิวัติฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1830 อัล-ตะฮฺตาวีย์พบเห็นประชาชนฝรั่งเศสอุทิศตนเพื่อแผ่นดินเกิด ซึ่งอัล-ตะฮฺวีย์เป็นบุคคลแรกที่มีงานเขียนเกี่ยวกับชาติและการรักชาติทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
    หนังสือแนวคิดชาตินิยม"อียิปต์เบื้องต้น" ถือเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการรักชาติเล่มแรกในอียิปต์ อัลตะฮฺตาวีย์เห็นถึงความจำเป็นถึงการอบรมสั่งสอน นักเรียน นักศึกษาให้เข้าใจความรักชาติในเยาว์วัย การให้การอบรมปลูกฝังความรักชาติในเยาชนจะทำให้พวกเขารักมาตุภูมิ และสำนึกในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ประชาชนจะไม่สามรถใช้สิทธิของตนได้ ถ้าหากเขาไม่เข้าใจสิทธิของตน ซึ่งเหนืออื่นใดก็คือ สิทธิเสรีภาพของประชาชน ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพพลเมืองกับเสรีภาพของพลเมืองเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของชาติที่มีความเจริญแล้ว ซึ่งแนวคิดนี้เขาได้รับจากจังค์จาค รุสโซโดยตรง
การปลดแอกสตรีถือเป็นความจำเป็นของยุคใหม่ อัล-ตะฮฺตาวีย์เป็นผู้บุกเบิกอย่างแท้จริงของขบวนการปลดแอกสตรี และเป็นคนแรกที่ทุ่มเทในการให้การศึกษาแก่สตรีในสังคมอียิปต์ และภูมิภาคตะวันออกโดยรวม หากเปรียบเทียบแนวคิดการปลดแอกระหว่าง อัล-ตะฮฺตาวีย์กับรุสโซ เราจะพบแนวคิดของ อัล-ตะฮฺตาวีย์นั้นก้าวไปกว้างไกลกว่า รุสโซได้กระตุ้นให้ภรรยาปฏิบัติหน้าที่ต่อสามีและบริการกิจการของครอบครัวแต่ไม่ส่งเสริมให้ศึกษาวิชาการแขนงต่างๆเพราะถือว่าจิตใจของผู้หญิงไม่สามารถเข้าใจปรัชญา ตรรกวิทยา หรือประวัติศาสตร์ผู้หญิงสามารถเรียนรู้ได้เพียงแค่การเป็นแม่ศรีเรือนและงานบ้านได้เท่านั้นในขณะที่อัล-ตะฮฺตาวีย์ยังไดย้ำถึงความสำคัญของการศึกษาแก่สตรี เพราะด้วยวิถีทางนี้เท่านั้นที่สตรีจะสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเองครอบครัวและสังคมได้
อัล-ตะฮฺตาวีย์เน้นย้ำในประเด็นต่อไปนี้
1.การให้การศึกษาแก่สตรีมีผลอย่างมากในการสร้างชีวิตครอบครัวให้เป็นสุข (ผาสุก )
2.การให้การศึกษาแก่สตรีจะทำให้เธอนั้นสามารถให้การอบรมบ่มเพาะบุตรหลานให้มีความประพฤติดี
3.จากประสบการณ์ในประเทศยุโรปหลายประเทศได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการศึกษาแก่สตรีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆเลย

ผลงานของอัล-ตะฮฺตาวีย์  
            หลังจากที่เขากลับมายังประเทศของเขา เขาก็เริ่มแปลเกี่ยวกับชีววิทยาและประวัติศาสตร์ เพราะเขาเชื่อว่า การที่จะฟื้นฟูวิทยาศาสตร์ในอียิปต์ได้นั้นจะต้องมีพื้นฐานการแปลความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้ทางภาษาของประเทศที่พัฒนาแล้ว
            ในปี ค.ศ. 1831 เขาได้ทำงานในโรงเรียนแพทย์ ในตำแหน่งนักแปลหนังสือ เขาได้แปลหนังสือหลายเล่ม
            ในปี ค.ศ. 1833 เขาได้ย้ายที่ทำงานมายังโรงเรียนกองปืนใหญ่ในเมืองโตรา (Tora ) เขาได้รับมอบหมายให้แปลเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับด้านวิศวกรรมและกลยุทธ์ในการทำสงคราม ในปีนี้เขายังได้ตั้งโรงเรียนที่ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โดยเฉพาะ
            ในปี ค.ศ. 1835 เขาได้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาแอลสัน ( Alson ) โดยให้ความสำคัญกับการแปลเพื่อที่จะถ่ายทอดวัฒนธรรมจากตะวันตกสู่ชาวอียิปต์ในสมัยนั้น และจากความต้องการนักแปลมืออาชีพ เขาจึงเลือกนักศึกษา  50 คน และเริ่มสอนวิชาการแปลแก่พวกเขา ณ ที่โรงเรียนแห่งนี้
            ในปี ค.ศ. 1841 เขาได้ก่อตั้งสาขาการแปล  4 สาขา  คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ยา  ฟิสิกส์ สังคมศาสตร์และการเขียนภาษาตุรกี
ในปี ค.ศ. 1842 เขามีความเชื่อว่าจำเป็นที่จะต้องรอคอยตะวันตกและจะต้องรู้การเมืองทั้งหมดและรู้เงื่อนไขทางสังคมของรัฐเพื่อเป็นการเพิ่มความสำเร็จให้กับการศึกษาของประชาชนและทำให้บทบาททางสังคมของพวกเขาเป็นผลมากขึ้น เขากล่าวว่าดังกล่าวนี้จะไม่สามารถบรรลุผลได้หากปราศจากการเร่งรัดบังคม ดังนั้นเขาจึงให้ความสนใจในการดูแลชาวอียิปต์เป็นอย่างมาก
ในปี ค.ศ. 1845 เขายังได้แปลหนังสือ มัลติรอน จีโอกราฟฟี ( Multiron Geography  ) ซึ่งได้รับการชื่นชมจากมุฮัมหมัดอาลี ปาชา และสั่งให้ทำการพิมพ์พร้อมกับให้รางวัลตอบแทนแก่อัล ตะฮฺตาวีย์อีกด้วย
            ไม่เพียงแค่ท่านเป็นคนแรกในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยอาหรับที่ทันสมัย แต่ท่านยังเป็นคนแรกที่ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุของอียิปต์ โดยที่ท่านได้เสนอให้มูฮำหมัด อาลี   ปาชา วางรูปแบบในการรักษาวัตถุโบราณของอียิปต์ไว้ รูปแบบนี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ อัล-วะกออิอุล
มิศรียะฮฺ  ( الوقائع المصرية )   อีกด้วยโดยเรียกร้องและวางเงื่อนไขว่า ใครก็ตามที่พบโบราณวัตถุจะต้องส่งให้ อัล ตะฮฺตาวีย์ ดังนั้นลานของโรงเรียนอัล-แอลสัน ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางของพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุแห่งแรกในอียิปต์
            หลังจากมุฮำหมัด อาลี ฟาชา เสียชิวิตในปี ค.ศ. 1848 อับบาส หลานของท่านได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำอียิปต์แทน ท่านอับบาสไม่มีความสามารถเท่ากับอัล-ตะฮฺตาวีย์ จึงเกิดความรู้สึกไม่พอใจและได้ออกคำสั่งเนรเทศอัล-ตะฮฺตาวีย์ออกจากอียิปปต์ไปยังซูดาน ดังนั้นเขาจึงได้ก่อตั้งโรงเรียนที่นั่น
            ในปี ค.ศ. 1854 ท่านซัยดฺได้ขึ้นเป็นผู้นำอียิปต์แทนท่านอับบาสและได้แต่งตั้งอัล-ตะฮฺตาวีย์เป็นสมาชิกสภาแทนของรัฐและเป็นนักแปลในสภาแห่งนี้
            ในปี ค.ศ. 1855 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานในโรงเรียนทหาร ในเขต อัล-มัรเซาดฺ (Al-Marsoud
            ในปี ค.ศ. 1870 เขาสนับสนุนให้แจกจ่ายนิตยาสารเราเฏาะฮฺ อัล-มาดาริส (روضة المدارس)ท่ามกลางแนวคิดที่สำคัญในนิตยาสารเล่มนี้ เขาได้เรียกร้องให้บรรดาปัญญาชนและนักวิทยาศาสตร์ทำหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาให้บรรดาเจ้าหน้าที่และผู้นำ และเรียกร้องว่าประชาชนควรมีสิทธิในการพูดคุยในประเด็นการเมือง เขาเรียกร้องให้สังคมมีความเป็นเอกภาพ เขาตระหนักว่าชาติควรที่จะสนับสนุนบทบาทของสตรีและให้ความสนใจในการศึกษาของสตรี ดังนั้นในปี ค.ศ. 1872 เขาจึงเขียนหนังสือที่มีชื่อว่า อัล-มุรชิด อัลอะมีน ลิลบะนาตวัลบะนีน (المرشرالأمىنللبنات والبنين) ขึ้น เพื่อสนับสนุนความคิดของเขา

งานแปลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอัล-ตะฮฺตาวีย์
1.“Pure Gold” เป็นหนังสือวรรณกรรมที่รำลึกถึงการเดินทาง ประกอบด้วยสิ่งที่ตะฮฺตาวีย์ได้พบเจอในขณะอยู่ปารีสรวมไปถึงการเมืองและสังคม ตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้เขาได้สรรเสริญการปฏิวัติของฝรั่งเศส
2.“Condition or the Convention” คือรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส อัล-ตะฮฺตาวีย์กระตือรือร้นในการแปลมันเพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้นได้มีการเรียกร้องอิสรภาพและพื้นฐานของบทบาทของประชาธิปไตย
3.“The Bases of Metallurgy” หนังสือเล่มนี้เขาแปลและส่งมันมาจากปารีสในปี ค.ศ. 1828
4.“Multiron Geography” ถูกแปลในปี ค.ศ. 1834 กล่าวถึงการอ้างอิงทางภูมิศาสตร์
นอกจากนี้ยังมีงานแปลอีก 20 เล่ม ซึ่งเขาได้ทิ้งไว้เป็นมรดกเป็นงานแปลเกี่ยวกับ
วิทยาศาสตร์ของตะวันตก

การเสียชีวิตของอัล-ตะฮฺตาวีย์
เขาป่วยจนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1873 ขณะมีอายุได้ 72 ปี เชค อัล- อัซฺฮัร ได้จัดขบวนแห่งมัยยิตของเขาท่ามกลางฝูงชนที่รวมตัวกันหนาแน่นบนถนน เขาถูกฝังที่สุสาน บ้าบ อัล-วะซีร (Bab Al-Wazir ) ในเขต อัล-อะฮฺมาร ( Al-Ahmar ) ใกล้กับมัสยิดอัล-อัซฮัร ในประเทศอียิปต์

           








2 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากๆเลยคับ อย่างน้อยเราก็มีที่พึงและข้อมูลดีๆ ให้กับตัวเองไม่ต้องไปหลงกะ ข้อมุลที่นึกเอาองแล้วไปหลอกชาวบ้านว่าจิง ขอบใจครับ อือ . อีอย่างนะ
    คือ กระผมขอความรู้หน่อย คับ แถวบ้าน พวก ยามาอะ ตับลีฆมันเยอะ อายะที่มีความหมายว่า "ละหมาดเสร้จแล้วจงไปหาริสกีบนหน้าแผ่นดิน ." ดังอาจาร์ฟารีด เอ่ยอะคับ เป็นซู่เราะที่เท่าไหร่อายะไหนคับ จะเอาไป โต้พวก ญามาอะตับลีฆ แถวบ้านสักที ขอบคุงคับ ตอบผมด้วยนะจะคอย

    ตอบลบ
  2. ได้ครับ เด๋วจะหาให้ครับ

    ตอบลบ