เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

หะดีษเฎาะอีฟญิดดัน

เป็นหนังสือที่ใช้สอนใน ของคณะอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี
โดย อาจารย์ อับดุลเลาะ การีนา มีทั้งหมด 7บท ต่อมาด้วยหะดีษต่างๆอีก 4 บทนะ

ระดับที่สี่   หะดีษเฎาะอีฟญิดดัน


หะดีษระดับนี้มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในแง่คุณธรรมของนักรายงานซึ่งมีลักษณะเป็นคนฟาสิก  ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนโกหก   มัตรูก   มุนกัร  เฎาะอีฟญิดดัน

หัวข้อย่อย
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
1. หะดีษเฎาะอีฟ ญิดดัน
2. หะดีษมัตรูก
3. หะดีษมุนกัร
1. เข้าใจหะดีษเฎาะอีฟญิดดันและส่วนที่เกี่ยวข้อง
2. เข้าใจหะดีษมัตรูกและส่วนที่เกี่ยวข้อง
3. เข้าใจหะดีษมุนกัรและส่วนที่เกี่ยวข้อง

1.   นิยาม

หะดีษเฎาะอีฟญิดดัน คือ  หะดีษที่รายงานโดยผู้รายงานที่มีลักษณะต่าง ๆ เช่น  มัตรูก  มุนกัร ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนโกหก ฟาสิก และเฎาะอีฟญิดดัน

2.   ตัวอย่างหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน

หะดีษเฎาะอีฟญิดดันมีมากมาย  แต่ที่จะยกตัวอย่างเพียงบางหะดีษเท่านั้น เช่น
عن عبد الله بن عمر رضي الله عنهما عن النبي صلى الله عليه وسلم قال : (( ما يمنع أحدكم إذا عسر عليه أمر معيشته أن يقول إذا خرج من بيته : بسم الله على نفسي ومالي وديني، اللهم رضني بقضائك، وبارك لي فيما قدر لي حتى لا أحب تعجيل ما أخرتُ ولا تأخير ما عجلتُ ))
ความว่า   จากอับดุลเลาะ เบ็ญอุมัร t เล่าจากท่านนบี r ซึ่งท่านกล่าวว่า ไม่มีสิ่งใดกีดกั้นคนใดในหมู่พวกเจ้า เมื่อรู้สึกยุ่งยากต่อการงานให้เขาอ่านดุอาอฺในขณะที่จะก้าวเท้าออกจากบ้านبسم الله على نفسي ومالي وديني، اللهم رضني بقضائك، وبارك لي فيما قدر لي حتى لا أحب تعجيل ما أخرت ولا تأخير ما عجلت(อิบนุอัซซุนนีย์ : 352)
อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ กล่าวว่า  หะดีษนี้เป็นหะดีษเฆาะรีบ บันทึกโดย   อิบนุ    อัสสุนนีย์  ซึ่งในสะนัดของหะดีษมีผู้รายงานท่านหนึ่งชื่อว่า อีซา เบ็ญ มัยมูน มีสถานะเป็นคนเฎาะอีฟญิดดัน (อ่อนมาก)

3.   ฐานะของหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน

หะดีษเฎาะอีฟญิดดันมีฐานะสูงกว่าหะดีษเมาฎูอฺและต่ำกว่าหะดีษเฎาะอีฟ (หะดีษเฎาะอีฟธรรมดา)  เนื่องจากผู้รายงานในสะนัดมีสถานภาพที่ต่ำกว่า

4.   สถานะของหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน

หะดีษเฎาะอีฟญิดดันไม่สามารถให้การสนับสนุนหะดีษเฎาะอีฟที่มาจากสาเหตุความบกพร่องในกระบวนการรายงานและความบกพร่องในแง่ความจำของผู้รายงาน  และยังไม่สามารถรับการสนับสนุนจากสายรายงานอื่นอีกด้วย  แม้ว่ามีกระแสรายงานมากมายก็ตาม  เนื่องจากความบกพร่องของผู้รายงานหะดีษนี้เกี่ยวข้องกับคุณธรรม

5.   การรายงานหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน

ตามทัศนะของอุละมาอฺหะดีษไม่อนุญาตให้รายงานหะดีษเฎาะอีฟญิดดันที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนา  เว้นแต่จะระบุระดับของหะดีษอย่างชัดเจนหลังจากกล่าวหะดีษ

6.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

ตามทัศนะของบรรดาอุละมาอฺไม่อนุญาต (หะรอม) นำหะดีษเฎาะอีฟญิดดันมาใช้เป็นหลักฐานและนำมาปฏิบัติตามในเรื่องต่าง ๆ ของศาสนาอิสลาม  เช่น เรื่องอะกีดะฮฺ  เรื่องอิบาดะฮฺ  เรื่องอะฮฺกาม  เรื่องอีมาน เรื่องคุณค่าของอะม้าล  เรื่องการสนับสนุนให้ทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว  เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการขัดแย้งกันระหว่างหะดีษเฎาะอีฟญิดดันกับหะดีษเศาะหีหฺหรือหะดีษหะซัน  จะต้องปฏิบัติตามหะดีษเศาะหีหฺและหะดีษหะสัน เช่น  หะดีษของอิบนุอุมัร  และหะดีษอื่น ๆ ที่มีฐานะเดียวกัน ตัวอย่าง
عن ابن عمر رضي الله عنهما قال : قال رسـول الله صـلى الله عليه وسـلم : (( اذكروا محاسن موتاكم وكفوا عن مساويهم ))
ความว่า   จากอิบนุอุมัร  رضي الله عنهما  เล่าว่า เราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่าพวกเจ้าจงกล่าวสิ่งที่ดี ๆ ต่อคนตายในหมู่พวกเจ้า และจงปกปิดสิ่งชั่วร้ายที่พวกเขาได้กระทำไว้” (อัตติรมิซีย์  : 3/330)
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน เนื่องจากมีผู้รายงานคนหนึ่งชื่อ อิมรอน เบ็ญ อัลหุศ็อยนฺ อัลมักกีย์  อิมามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า มีสถานภาพเป็นคนมุนกัรหะดีษ และ  หะดีษบทนี้ขัดแย้งกับหะดีษจากอาอิชะฮฺعنها  رضي الله และจากอานัส เบ็ญ มาลิก t
1)   หะดีษจากอาอิชะฮฺ رضي الله عنها กล่าวว่า  เราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่า
(( لا تسبوا الأموات فإنهم قد أفضوا إلى ما قدموا ))
ความว่า   พวกเจ้าอย่าสาปแช่งคนที่เสียชีวิตไปแล้ว เพราะพวกเขาได้จากในสิ่งที่พวกเขาได้ก่อไว้” (อัลบุคอรีย์ : 3/258, อันนะสาอีย์ : 4/53 และอัลบัยฮะกีย์ : 4/126)
2)   หะดีษจากอะนัส เบ็ญมาลิก t กล่าวว่า
مروا بجنـازة فأثنوا عليها خيراً، فقال النبي صـلى الله عليه وسلم : (( وجبتْ. ثم مروا بأخرى فأثنوا عليها شراً، فقال النبي صلى الله عليه وسلم : وجبتْ فقال عمر بن الخطاب رضي الله عنه : ما وجبت؟ قال : هذا أثنيتم عليه خيراً فوجبتْ له الجنة، وهذا أثنيتم عليه شراً فوجبتْ له النار، أنتم شهداء الله في الأرض )).
ความว่า พวกเขา (บรรดาเศาะหาบะฮฺ) ได้เดินผ่านมายัต มีบางท่านได้กล่าวสรรเสริญต่อมายัต ดังนั้น เราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่า แน่แท้เป็นเช่นนั้นจริงและพวกเขาเดินผ่านมายัตอื่นอีก มี (เศาะหาบะฮฺ)บางท่าน กล่าวตำหนิต่อมายัตที่อยู่ในสุสานนั้น ท่านนบี r กล่าวว่า แน่แท้เป็นเช่นนั้นจริงอุมัร เบ็ญ อัลค๊อฏฏ๊อบถามว่า ที่เป็นเช่นนั้นจริงคืออะไร? ท่านนบีตอบว่าคนที่พวกเจ้ากล่าวสรรเสริญ เขามีสิทธิ์ที่จะเข้าสวรรค์ และคนที่พวกเจ้ากล่าวตำหนิพวกเขานั้นก็มีสิทธ์ตกนรก พวกเจ้าก็เป็นพยานของอัลลอฮฺใน พื้นแผ่นดินนี้” (อัลบุคอรีย์ : 3/228, มุสลิม : 2/655 และอัลบัยฮะกีย์ : 4/126)
7.   ชนิดของหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน

หะดีษเฎาะอีฟญิดดันแบ่งออกเป็น  2 ชนิด
ชนิดที่ 1      หะดีษมุนกัร
ชนิดที่ 2       หะดีษมัตรูก

ชนิดที่ 1   หะดีษมุนกัร

หะดีษที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องของผู้รายงานในแง่คุณธรรมที่มีลักษณะคือเฎาะอีฟญิดดัน มุนกัรหะดีษ  ฟิสกฺ  ฟุหฺชู เฆาะลัฏ   กัษเราะฮฺฆ๊อฟละฮฺ   และกัษเราะฮฺเอาฮามเรียกว่า  หะดีษมุนกัร


1.   นิยาม

หะดีษมุนกัร คือ  หะดีษที่รายงานโดยผู้รายงานที่เฎาะอีฟขัดแย้งกับการรายงานของผู้รายงานที่ษิเกาะฮฺ (อัลเฏาะหานะวีย์ : 42)  หรือหะดีษที่รายงานโดยผู้รายงานเป็นคนฟาสิก และอื่น ๆ 

2.   ตัวอย่างหะดีษมุนกัร


1)   หะดีษจากอะบูสะอีด อัลคุดรีย์ t กล่าวว่า เราะสูลุลลอฮฺ r   กล่าวว่า
(( إذا دخلتم على مريض فنفسـوا له في أجله، فإن ذلك لا يردّ شيئاً ويطيب نفسه )).
ความว่า เมื่อพวกเจ้าเข้าเยี่ยมผู้ป่วย ก็จงทำให้เขามีความสบายใจ ในอะญัลของเขา เนื่องจากสิ่งนั้นไม่สามารถปฏิเสธได้แม้แต่นิดเดียว และจงปะน้ำหอมบนตัวของเขา” (อัตตัรมิซีย์ : 4/412)
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษมุนกัร เนื่องจากมีผู้รายงานท่านหนึ่งชื่อว่า มูซา เบ็ญ มุฮัมมัด เบ็ญ อิบรอฮีม อัตตัยมีย์  มีสถานภาพเป็นคนมุนกัรหะดีษ
2)    จากอิบนุอุมัร t กล่าวว่า เราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่า
 ((اذكروا محاسن موتاكم وكفوا عن مساويهم ))
ความว่า พวกเจ้าจงพูดถึงสิ่งดี ๆ ในตัวผู้ตาย และจงปกปิดสิ่งชั่วร้ายที่เขาได้ก่อไว้” (อัตติรมิซีย์  : 3/330)
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษมุนกัร (เฎาะอีฟญิดดันเนื่องจากในสะนัดมีผู้รายงานท่านหนึ่งชื่อ อิมรอน เบ็ญ หุศัยนฺ อัลมักกีย์ ซึ่งอัลบุคอรีย์ กล่าวว่า: มุนกัรหะดีษ

3.   ฐานะของหะดีษมุนกัร


หะดีษมุนกัรเป็นส่วนหนึ่งของหะดีษเฎาะอีฟยิดดัน และหะดีษชนิดนี้มีฐานะต่ำกว่า หะดีษมัตรูก

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน


อุละมาอฺหะดีษมีความเห็นว่า ไม่อนุญาตให้รายงานหะดีษมุนกัรให้สังคมฟังนอกจากจะระบุสถานภาพของหะดีษอย่างชัดเจน  และไม่อนุญาตให้นำมาใช้เป็นหลักฐานในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
มีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับระดับของหะดีษมุนกัรว่า เป็นหะดีษเฎาะอีฟที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในส่วนที่เป็นหุก่มสุนัต เช่น  การละหมาดสุนัต   การถือศีลอดสุนัต  การทำความดี และการห้ามปรามทำความชั่ว เป็นต้น จากนิยามข้างต้นพอสรุปได้ว่า    หากพิจารณาลักษณะเดิมของสายรายงานที่เป็นเฎาะอีฟ หรือการรายงานของคนเฎาะอีฟที่ไม่ขัดแย้งกับการรายงานของคนษิเกาะฮฺ  หะดีษในลักษณะนี้จะถือเป็นหะดีษเฎาะอีฟ แต่การพิจารณาของการเป็นหะดีษมุนกัรนั้นก็ต้องพิจารณาระหว่างการรายงานของคน    เฎาะอีฟที่ขัดแย้งกับการรายงานของคนษิเกาะฮฺ ดังนั้น การตัดสินหะดีษเป็นหะดีษมุนกัรจะต้องพิจารณาจำนวนสายรายงานที่มีมากกว่าหนึ่งสายหรือสายรายงานที่มาจากการรายงานของคนฟาสิก เป็นต้น

ชนิดที่ 2   หะดีษมัตรูก

หะดีษที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องของผู้รายงานในแง่คุณธรรมคือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนโกหก  มัตรูกหะดีษ และซาฮิบหะดีษ  หะดีษในลักษณะนี้เรียกว่า  หะดีษมัตรูก

1.   นิยาม

หะดีษมัตรูก คือ  หะดีษที่รายงานโดยผู้รายงานที่มีสถานภาพเป็นคนถูกกล่าวว่าเป็นคนโกหก  หรือซาฮิบหะดีษ  หรือมัตรูกหะดีษ (อัศศ๊อนอานีย์ : 252)
จากนิยามข้างต้นพอสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับหะดีษมัตรูก  2 ประการ
หนึ่ง      ลักษณะของผู้รายงานหะดีษมัตรูก
1. ผู้ที่ทราบกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นคนที่ชอบพูดโกหก แต่ไม่เคยปรากฏการโกหกต่อหะดีษนะบะวีย์แม้แต่นิดเดียว
2. ผู้ที่ถูกกล่าวว่าเป็นคนโกหกต่อหะดีษนะบะวีย์
สอง      การเรียกชื่อหะดีษเป็นหะดีษมัตรูก
การเรียกหะดีษมัตรูกนั้นต้องประกอบด้วยเงื่อนไข  2 ประการคือ
1.  มีการรายงานหะดีษจากผู้รายงานเพียงคนเดียวเท่านั้น
2. หะดีษที่ถูกรายงานนั้นมีเนื้อหาที่ขัดแย้งกับหลักการทั่วไปของบทบัญญัติ(อิบนุ อัลเศาะลาหฺ : 43)
อุละมาอฺบางท่านเรียกหะดีษมัตรูก ว่า หะดีษมัตรูหฺ” (อัศศ๊อนอานีย์ : 253)

2.   ตัวอย่างหะดีษมัตรูก


1.   หะดีษจากอัมรฺ เบ็ญ ชัมมัร อัลญุอฺฟีย์ อัลกูฟีย์ อัลชีอีย์  จากญาบิร จาก อะบูอัลฏูฟัยลฺ  จากอะลีและอัมรฺ  ทั้งสองท่านนี้กล่าวว่า
حديث عمرو بن شمر الجعفي الكوفي الشيعي، عن جابر، عن أبي الطفيل، عن علي وعمرو قالا : كان النبي صلى الله عليه وسلم يقنت في الفجر ويكبر يوم عرفة من صلاة الغداة، ويقطع صلاة العصر أخر أيام التشريق.
ความว่า  ท่านนบี r อ่านกุนูตในละหมาดซุบฮฺ และท่านกล่าวตักบีรในวันอะรอฟาตตั้งแต่ละหมาดซุฮรฺและสิ้นสุดเวลาละหมาดอัศรฺ วันสุดท้ายของวันตัชรีก” (อัซซะฮะบีย์ : 2/268)
อิมามอันนะสาอีย์และอิมามอัดดารอกุฏนีย์กล่าวว่า  จากอัมรฺ เบ็ญ ชัมมัร  ท่านเป็นผู้รายงานมัตรูก (อัซซะฮะบีย์ : 2/268)
2.    จากอับดุลเลาะ เบ็ญ มัสอูด t เล่าจากท่านนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า
عن عبدالله بن مسعود رضي الله عنه عن النبي صلى الله عليه وسلم قال : ((من عزى مصابا فله مثل أجره)).
ความว่า ผู้ใดที่ยกย่องในความถูกต้องแล้ว เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของเขา” (อัตติรมิซีย์ : 3/376 และอัลบัยฮะกีย์ : 4/49 และอัตติรมิซีย์ : 3/376)
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษมัตรูก  เนื่องจากในสายรายงานของหะดีษมีผู้รายงานท่านหนึ่งมีสถานภาพเป็นคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นโกหกคือ  อะลี เบ็ญ อาเศ็ม (มุฮัมมัด เบ็ญ อัลลาน : 4/137)

4.            ฐานะของหะดีษมัตรูก


หะดีษมัตรูกเป็นส่วนหนึ่งของหะดีษเฎาะอีฟญิดดันมีฐานะต่ำกว่าหะดีษมุนกัรและสูงกว่าหะดีษเมาฎูอฺ

5.            การนำมาใช้เป็นหลักฐาน


การนำหะดีษมัตรูกมาใช้เป็นหลักฐานเหมือนกับการนำหะดีษมุนกัรเป็นหลักฐาน

โจทย์ฝึกหัดเพิ่มเติม

1.  หะดีษเฎาะอีฟญิดดันหมายถึงหะดีษอะไร ?
2.  การรายงานหะดีษเฎาะอีฟญิดดันมีวิธีการอย่างไร ?
3.  หะดีษเฎาะอีฟญิดดันจะนำมาใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม เพราะเหตุใด ?
4.  หะดีษมัตรูกหมายถึงหะดีษอะไร ?
5.  หะดีษมัตรูกสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม เพราะเหตุใด ?
6.   หะดีษมุนกัรหมายถึงหะดีษอะไร ?
7.  หะดีษมุนกัรจะนำไปใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม เพราะเหตุใด ?
8.  มารยาทที่มีต่อหะดีษมัตรูกและหะดีษมุนกัรมีอะไรบ้าง ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น