เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

บทที่ 1 วิชามุศเฏาะละหฺ อัลหะดีษ

บทที่ 1
เป็นหนังสือที่ใช้สอนใน ของคณะอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี
โดย อาจารย์ อับดุลเลาะ การีนา มีทั้งหมด 7บท ต่อมาด้วยหะดีษต่างๆอีก 4 บทนะ
วิชามุศเฏาะละหฺ อัลหะดีษ


หัวข้อย่อย
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
1. นิยามและเรื่องที่กล่าวถึง
2. วัตถุประสงค์
3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
4. ประวัติความเป็นมา
5. คำที่มีความหมายเหมือนกัน
1. เข้าใจความหมายของวิชาและเรื่องที่กล่าวถึง
2. เข้าใจวัตถุประสงค์ของวิชา
3. เข้าใจประโยชน์ของวิชา
4. เข้าใจประวัติความเป็นมาของวิชามุศเฏาะละหฺ
5. เข้าใจความหมายของอัสสุนนะฮฺ อะษัร เคาะบัร

1.            นิยาม

วิชามุศเฏาะละหฺ อัลหะดีษ คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักการและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สามารถทราบถึงสถานภาพของสะนัด(กระบวนการรายงาน) และมะตัน(ตัวบทหะดีษ)  ในแง่ของการยอมรับและการปฏิเสธหะดีษ
จากนิยามข้างต้นเป็นที่ประจักษ์ว่าการการยอมรับหะดีษแต่ละบทนั้นจำเป็นที่จะ ต้องผ่านการวิเคราะห์ทั้งกระบวนการรายงานและสถานภาพของตัวบทหะดีษอย่างละเอียดก่อนที่จะให้การยอมรับหะดีษ และนำหะดีษนั้น ๆ มาใช้เป็นหลักฐาน

2.   เรื่องที่กล่าวถึง

วิชามุศเฏาะละหฺ อัลหะดีษจะพูดถึงเรื่องราวสองประการ คือ ที่เกี่ยวข้องกับสายรายงานและตัวบทหะดีษในแง่ของการยอมรับนำมาใช้เป็นหลักฐาน และบางทัศนะมีความเห็นว่า เป็นวิชาที่พูดถึงเราะสูลุลลอฮฺ r โดยตรงในแง่ที่ว่าท่านเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ r ซึ่งเป็นแบบอย่างในทุก ๆ ด้านในการดำเนินชีวิตของประชาชาติ

3.   วัตถุประสงค์

การเรียนรู้วิชามุศเฏาะละหฺหะดีษมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อแยกแยะระหว่างหะดีษที่มีการรายงานอย่างถูกต้องกับหะดีษที่มีการรายงานด้วยสายรายงานที่อ่อนหรืออุปโลกน์ต่อท่านนบีมุฮัมมัด r
2. เพื่อสามารถทราบที่มาของบทบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม เป็นต้น



4.   ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการเรียนรู้วิชามุศเฏาะละหฺหะดีษ คือ
1. สามารถทราบถึงระดับของหะดีษแต่ละบท เช่น ระดับหะดีษเศาะหีหฺ หะดีษ หะสัน หะดีษเฎาะอีฟ หะดีษเฎาะอีฟญิดดัน หรือหะดีษเมาฎูอฺ
2. สามารถทราบถึงประเภทต่าง ๆ ของหะดีษนบี เช่น หะดีษกุดซีย์ หะดีษมัรฟูอฺ  หะดีษเมากูฟ และหะดีษมักฏูอฺ
3. สามารถทราบถึงสถานะของหะดีษที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม่ได้ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติศาสนกิจเป็นไปอย่างถูกต้อง

5.   ศัพท์เฉพาะ

สำหรับวิชามุศเฏาะละหฺ  อัลหะดีษจะพบศัพท์มากมายที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งในทางปฏิบัติและเป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลายในหมู่นักวิชาการหะดีษ  คำเหล่านั้น คือ
1.             อัลมุสนัด (المسنَدตัวอักษร نอ่านสระข้างบนซึ่งมี 2 ความหมาย
ความหมายที่ 1 หมายถึง หะดีษที่มีการรายงานด้วยสะนัดติดต่อกันตั้งแต่ผู้รายงานคนแรกจนถึงคนสุดท้าย เช่น หะดีษมัรฟูอฺ หะดีษเมากูฟและหะดีษมักฏูอฺแต่อิมามอัลหากิมมีความเห็นที่ต่างกันซึ่งท่านกล่าวว่า คำนี้อนุญาตให้ใช้กับหะดีษมัรฟูอฺที่มีการรายงานด้วยสะนัดที่ติดต่อกันเท่านั้นทัศนะนี้ได้รับการสนับสนุนจากอัลหาฟิศ อิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ในหนังสือชัรหฺ อันนุคบะฮฺ   
ความหมายที่ 2  หมายถึง หนังสือที่รวบรวมคำพูด การกระทำและการยอมรับของบรรดาเศาะหาบะฮฺ
2.         อัลมุสนิด (المسنِدตัวอักษร نอ่านด้วยสระข้างล่าง  หมายถึงผู้รายงาน     หะดีษด้วยสายรายงานของเขาเอง  ไม่ว่าเขาจะมีความรู้เกี่ยวกับหะดีษหรือไม่ก็ตาม
3.         อัลมุหัดดิษ (المحدث)แปลว่า นักหะดีษ หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของวิธีการยืนยันหะดีษ  มีความรู้เกี่ยวกับสถานภาพของผู้รายงานแต่ละคนทั้งทางด้านคุณธรรมและความบกพร่องไม่ใช่แค่ฟังหะดีษเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  อิมามอิบนุ ซัยยิดินนาส กล่าวว่า นักหะดีษในสมัยของเราจะมีความสามารถ คือ เป็นผู้รายงานและอธิบายหะดีษ  รวบรวมชีวประวัติของนักรายงานหะดีษ  สามารถพิจารณาการรายงานหะดีษของนักหะดีษร่วมสมัย  สามารถแยกประเภทและชนิดของหะดีษ และเป็นผู้ที่รู้กันอย่างแพร่หลายในสังคมมุสลิมว่าเป็นผู้ที่มีความศรัทธาที่หนักแน่น
4.             อัลหาฟิศ (الحافظ)หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องรุ่นต่างๆ ของนักหะดีษมากกว่าที่ไม่รู้  อัลกอฎีย์ มุฮัมมัด อัตตะฮานะวีย์ มีความเห็นว่า ผู้ที่ท่องหะดีษตั้งแต่ 100,000 ขึ้นไป หะดีษทั้งสะนัดและมะตัน มีความรู้เกี่ยวกับประวัติของนักหะดีษและสถานภาพของพวกเขา ทั้งทางด้านคุณธรรมและความบกพร่อง
5.         อัลหุจญะฮ (الحجة) หมายถึง  ผู้ที่ท่องหะดีษตั้งแต่ 300,000 หะดีษขึ้นไป ทั้งตัวบทและสายรายงาน
6.         อัลหากิม (الحاكم) หมายถึง  ผู้ที่ท่องหะดีษตั้งแต่ 1,000,000 หะดีษ (ทั้งตัวบทและสายรายงาน
7.         อัลรอวีย์ (الراوي) หมายถึง  ผู้รายงานหะดีษด้วยสายรายงานของเขาเอง
8.         อัลฏอลิบ (الطالب) หมายถึง  ผู้ที่เรียนหะดีษด้วยความประสงค์เพื่อเข้าใจความหมายของหะดีษ ในความจริงแล้ว คำนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะบุคคลที่เรียนวิชาหะดีษเท่านั้น    แต่ยังสามารถใช้กับผู้ที่เรียนวิชาอื่น ๆด้วย  เช่น ผู้เรียนวิชาเตาหีด  วิชาฟิกฮฺและวิชาอัคลาก  เป็นต้น

6.   ประวัติความเป็นมา

เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการอิสลามว่า  วิชามุศเฏาะละหฺ อัลหะดีษยังไม่มีการบันทึกเป็นการเฉพาะในสามศตวรรษแรก (300 ปีแห่งฮิจเราะฮฺศักราชแต่วิชานี้ถูกบันทึกไว้รวมกับวิชาอื่น ๆ อาทิเช่น วิชาฟิกฮฺและวิชาอุศูล อัลฟิกฮฺ  ผู้ที่ทำการบันทึกเป็นคนแรกคือ อิมามอัชชาฟิอีย์ซึ่งบันทึกไว้ในหนังสืออัลริสาละฮฺและหนังสืออัลอุม และอิมามมาลิกในหนังสืออัลมุวัตเฏาะอฺ ครั้นเมื่อวิชาความรู้ของหะดีษได้มีการพัฒนาการขึ้น  ความรู้ได้แตกแขนงมากมายและศัพท์ต่าง เริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายจนสามารถให้การยอมรับในแต่ละแขนงวิชา  อุละมาอฺก็ได้แยกวิชาต่าง ๆ เหล่านั้นออกเป็นรายวิชาต่างหากและหนึ่งในวิชาเหล่านั้นคือ วิชามุศเฏาะละหฺ อัลหะดีษ
  อุละมาอฺท่านแรกที่ได้เรียบเรียงหลักสูตรวิชามุศเฏาะละหฺ อัลหะดีษตามความ หมายของมัน คือ อิมามอัรรอมฮุรมุซีย์ (360ฮ.ศ.)ในศตวรรษที่สี่ หลังจากนั้นวิชานี้ก็ได้รับความสนใจจากบรรดาอุละมาอฺในแต่ละสมัยจนถึงปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องและได้มีการอธิบายอย่างละเอียด จนในที่สุดวิชานี้ได้แตกแขนงต่าง ๆ มากมาย เช่น วิชาตัครีจหะดีษ  วิชาอิลัลหะดีษ  วิชาอัลญัรฮฺวะอัตตะอฺดีล วิชาวาตุลหะดีษ  วิชาอัลอัสมาอฺวัลกุนนา และอื่น ๆ  แต่ละสาขาวิชามีการรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชานั้นอย่างสมบูรณ์




7.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

1. كتاب المحدث الفاصل بين الراوي والواعي، تأليف القاضي أبو محمد الحسن ابن عبدالرحمن بن خلاّد الرامهرمزيّ  (ت360هـ).
2. كتاب معرفة علوم الحديث، تأليف الإمام أبو عبدالله الحاكم النيسابوريّ (ت405هـ)
3. كتاب المستخرج على معرفة علوم الحديث، تأليف أبو نعيم أحمد بن عبدالله الأصبهانيّ (ت430هـ)
4. كتاب الكفاية في معرفة الرواية، تأليف الإمام أبو بكر أحمد بن عليّ بن ثابت البغداديّ (ت463هـ)
5. كتاب الجامع لأخلاق الراوي وآداب السامع، تأليف الخطيب البغداديّ.
6. كتاب الإلماع إلى معرفة أصول الرواية وتقييد السماع، تأليف الإمام القاضي عياض بن موسى اليحصبيّ (ت544هـ)
7. كتاب ما لا يسع المحدث جهله، تأليف الإمام أبو حفص محمد بن عبد المجبد الميانجيّ (ت580هـ)
8. كتاب علوم الحديث، تأليف الإمام أبو عمرو عثمان بن عبد الرحمن الشهرزوريّ، المشهور بابن الصلاح (ت643هـ)
9. كتاب التقريب والتيسير لمعرفة سنن النذير، تأليف الإمام الفقيه محي الدين يحي ابن شرف النوويّ (676هـ)
10. كتاب نظم الدرر في علم الأثر، تأليف الحافظ زين الدين عبد الرحيم بن الحسين العراقيّ (806هـ)
11. كتاب نخبة الفكر في مصطلح أهل الأثر، تأليف الحافظ محمد بن عليّ بن عليّ ابن حجر العسقلانيّ (ت825هـ)
12. كتاب فتح المغيث في شرح ألفية الحديث، تأليف الإمام محمد بن عبد الرحمن السخاويّ (ت902هـ)
13. كتاب تدريب الراوي في شرح تقريب النوويّ، تأليف الإمام جلال الدين عبد الرحمن ابن أبي بكر السيوطيّ (ت911هـ)
14. كتاب المنظومة البيقونية، تأليف عمر بن محمد البيقونيّ (ت1080هـ)

โจทย์ฝึกหัดเพิ่มเติม

1.  วิชามุศเฏาะละหฺ หะดีษ หมายถึงอะไร?
2.  วิชามุศเฏาะละหฺ หะดีษมีความสำคัญอย่างไร ?
3.  หัวข้อหลักของวิชามุศเฏาะละหฺ หะดีษ คืออะไร ?
4.  อะไรคือปัจจัยหลักที่ทำให้บรรดาอุละมาอฺคิดศาสตร์ทางหะดีษขึ้นมา ?
5.  ท่านสามารถนำวิชามุศเฏาะละหฺ หะดีษไปใช้ประโยคด้านใด ?
6.  วิชามุศเฏาะละหฺ หะดีษมีความสัมพันธ์กับวิชาอุศูลุดดีน ฟิกฮฺ ประวัติศาสตร์และตัรบิยะฮฺ
      อย่างไร ?
7.  วิชามุศเฏาะละหฺหะดีษกล่าวถึงจริยธรรม คุณธรรม และศีลธรรม คืออะไร ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น