เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คอลีฟะฮ อุมัร อัลค็อฏฏ็อบ โดยละเอียด ตอนที่ 2 การยึดครองดินแดนในสมัยอุมัร

           

โดยอาจารย์ รอฟลี แวหะมะ อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี  เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อิสลาม โดยเฉพาะ

2. การยึดครองดินแดนสมัยท่านคอลีฟะฮฺอุมัร

2.1 ความเคลื่อนไหวในทางทหารและการเผยแพร่อิสลาม

                จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเท้าความถึงการปกครองในสมัยของท่านท่านคอลีฟะฮฺอบูบักรฺ  ว่าท่านได้ประสบความสำเร็จในการกอบกู้เสถียรภาพของรัฐอิสลามให้มีความเป็นภารดรภาพ  และมีความสามัคคีกันในหมู่มุสลิม  และท่านมีความตั้งใจอันแน่วแน่ต่ออิสลาม  ทำให้ท่านต้องส่งสาส์นไปยังพระราชาและผู้นำเผ่าต่างๆ  ให้เข้าสู่การศรัทธาในอัล-อิสลามตามแบบอย่างที่ ท่านรอซูลr ได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างไว้แล้ว  ในเวลาที่ท่านคอลีฟะฮฺอบูบักรฺ สิ้นชีวิตนั้น  กองทัพมุสลิมได้ยาตราเข้าสู่ชายแดนของสองมหาอาณาจักรคือ  อาณาจักรเปอร์เซียและอาณาจักรโรมันตะวันออก ( ไบเซนไตน์ ) ท่า คอลิฟะฮฺอุมัรได้สานหน้าที่ดังกล่าวต่อไป  ท่านสามารถขยายดินแดนให้กว้างขวางออกไปทั้งด้านตะวันออก  ตะวันตก  และด้านอุตระประเทศ  ท่านเป็นคอลิฟะฮ์ท่านแรกที่ประสบความสำเร็จในการขยายอาณาจักรอิสลามให้กว้างขวางออกไป  และท่านเป็นคอลิฟะฮฺท่านแรกที่ได้ปลดปล่อยซีเรีย  ปาเลสไตน์  จอร์แดนและอียิปต์ให้พ้นจากการยึดครองของจักรพรรดิแห่งเปอร์เซียและโรมันตะวันออก   “ ท่านเป็นบิดาแห่งการปลดปล่อยโลกอาหรับให้พ้นจากอำนาจต่างชาติจากภายนอกประเทศ
                ในขณะเดียวกันก็ควรจะทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่าอิสลามมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายดินแดนหรือยึดอำนาจจากผู้นำประเทศหรือผู้นำเผ่าต่าง ๆ ออกไปเพื่อเผยแพร่ศาสนาของพระเจ้า  เพื่อที่มนุษยชาติจะได้มีโอกาสรับแสงธรรมของอิสลามเป็นที่ยึดเหนี่ยว และศรัทธาต่ออัลอิสลามต่อไป  ทั้งนี้ก็เพื่อผลประโยชน์ที่เขาควรจะได้รับทั้งโลกนี้และโลกอาคีเราะฮ์ แผนการในการที่จะนำทัพเข้ายึดครองของท่านคอลีฟะฮฺอุมัรมีหลายแห่ง ดังนี้

                 2.2 สงครามกับอาณาจักรโรมัน
                ตามที่ทราบกันดีแล้วว่าในขณะที่คอลิด บุตรวะลีด เป็นจอมทัพนำทัพมุสลิมเข้าสู่ศึกอย่างดุเดือดในสมรภูมิยัรมูค  ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างบัสเราะฮฺ และดามัสกัสนั้น  จอมทัพคอลิด  ได้ทราบถึงการสิ้นชีพของท่านคอลีฟะฮฺ   อบูบักร และท่านคอลีฟะฮฺ อุมัรบุตรค็ฏฏ็อบได้สืบทอดตำแหน่งแทน  จากนั้นท่านคอลิฟะฮฺ อุมัร ก็ได้ปลด คอลิดออกจากตำแหน่งจอมทัพ  แต่ขุนพลคอลิด ก็ได้ทำหน้าที่ของตนต่อไปอย่างบริสุทธิ์ใจต่อไป  ภายใต้การนำของอบูอุบัยดะฮฺ  แม่ทัพคนใหม่  จนกระทั่งงานที่ได้รับมอบหมายประสบความสำเร็จอย่างงดงาม  ฝ่ายข้าศึกลี้ภัยถึง 120,00 นายนั้น ครึ่งหนึ่งได้ถูกฆ่าตายในสนามรบ  สำหรับฝ่ายมุสลิมตายชะฮีดในสนามรบ 3,000 คนเท่านั้น   หลังจากชัยชนะในศึกยัรมูกแล้วทัพมุสลิมก็มุ่งหน้าไปยังดามัสกัสต่อไป  แล้วเข้าล้อมเมืองอยู่หลายเดือนจนถึงปี ฮ.. 14 ( .. 639 ) เจ้าเมืองดามัสกัสก็ยอมเจรจาขอสงบศึก
                เมื่อเป็นเช่นนั้น ทัพมุสลิมจึงแบ่งออกเป็น 2 กองทัพ  ทัพแรกมีอบูอุบัยดะฮฺเป็นแม่ทัพ  และมีคอลิดอยู่ในกองนี้ด้วย  อีกกองทัพหนึ่งมีอัมร บุตรอัลอาส  เป็นแม่ทัพ  และมีชุฮฺรอบิลอยู่ในกองทัพด้วย  ทัพแรกมุ่งหน้าไปยังทางเหนือ  ทัพหลังมุ่งไปยังทิศใต้  และได้มอบให้ยะซีด บุตรอบีซุฟยาน ควบคุมสถานการณ์ในดามัสกัส  มีตำแหน่งเป็นข้าหลวงนครดามัสกัส  อบูอุบัยดะฮฺ  ได้เข้ายึดเมือง ฮิมมัส ( โฮมส์ ) กินิซิริน และอาเล็ปโป ( Aleppo ) จนถึงเอเชียน้อย และอาเมเนียร์  ส่วนอัมร บุตรอัลอาส  ก็สามารถยึดครองอักกาอ ไฮฟา ยัฟฟา ก็อซซะฮฺ และเมืองอื่นๆ ในขณะเดียวกัน ยะซีด บุตรอบีซุฟยานสามารถตีเบรุต ยูบัยตฺและซัย ( ซัยดอน) ได้  ทำให้ดินแดนซีเรียทั้งหมดต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของอิสลาม
                เวลานั้น  ยังคงเหลือเยรูซาเล็มเท่านั้นที่ยังไม่ถูกยึดครอง  ทัพของอัมร ได้ปะทะกับทัพไบแซนไตน์ที่อัจนาดีน ซึ่งห่างจากเยรูซาเล็มไม่ไกลนัก  ในที่สุดกองทัพมุสลิมได้รับชัยชนะอีกครั้งหนึ่ง   ฝ่ายมุสลิมจึงได้ส่งสาส์นไปยังผู้ครองนครเยรูซาเล็ม เพื่อเชิญชวนให้ยอมรับอิสลาม   แต่เจ้านครไม่ยอมจึงถูกทัพมุสลิมล้อมอยู่ 4 เดือนจึงยอมจำนน   แต่เจ้านครเยรูซาเล็มได้ขอร้องให้ท่านคอลิฟะฮฺอุมรเดินทางไปเอง ในการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีครั้งนี้ได้ขอให้ซอฟรอนิอุสเป็นผู้เขียนสาส์น    เมื่อทราบว่าท่านคอลิฟะฮฺอุมัร จะเดินทางมาเอง  อัรตาฟองต์เจ้าเมืองแห่งนครปาเลสไตน์ก็ได้หนีไปยังอียิปต์    ท่านคอลิฟะฮฺอุมัรเมื่อเดินทางมาถึงนคร เยรูซาเล็มก็ได้ลงนามสนธิสัญญาสงบศึก    ฝ่ายไบแซนไตน์จะต้องส่งส่วยภาษีอากรประจำปีแก่มุสลิมใน  ฮ..15 ตรงกับ ( ..637 )

2.3 สงครามกับอาณาจักรเปอร์เซีย
การเผยแพร่อิสลามด้านตะวันออก มุสลิมต้องเข้าสู่สมรภูมิถึง 4 ครั้ง คือ
1.              ศึกสะพาน
การปะทะกันของกองทัพทั้ง 2 ฝ่าย คือ มุสลิมและเปอร์เซียเกิดขึ้นเหนือแม่น้ำยูเฟรติสในฮิจญฺเราะฮ์ที่ 14 หลังจากที่ขุนพล คอลิด บุตร อัล-วะลีด ได้รับคำสั่งจากท่านเคาะลีฟะฮ์อบูบักรให้นำทหารส่วนหนึ่งมุงสู่ด้านตะวันตก แม่ทัพมุษันนา บุตร ฮาริษะ กำลังคุมเชิงอยู่ที่อิรักได้ขอกำลังเพิ่ม แต่โชคไม่เข้าข้างเพราะท่านคอลีฟะฮฺอบูบักรฺสิ้นชีพเสียก่อนหลังจากที่ได้รับข่าวนี้ไม่กี่วัน ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงได้รีบส่งทหารไปเสริมโดยมอบหมายให้ท่านอุบัยดะฮฺ บุตร มัสอูดอัษษะกอฟีเป็นแม่ทัพ กองทัพมุสลิมได้ปะทะกับทัพเปอร์เซียบนสะพานยูเฟรติส ในการศึกครั้งนี้แม่ทัพคนสำคัญหลายคนถูกฆ่าตายเป็นชะฮีดพร้อมกับการสูญเสียกำลังทหารไปอีก 4,000 คน ทั้งนี้เพราะความประมาทไม่รอบคอบนั่นเอง แต่การสู้รบที่อัล-อุซัยบฺใกล้เมืองกูฟะฮฺกองทัพมุสลิมภายใต้การนำทัพของมุษันนา และ ยาซิรบุตรอับดุลลอฮฺได้รับชัยชนะอย่างงดงาม ในฮิจญ์เราะฮฺศักราชที่ 15 นอกจากขุนพลมุษันนาได้รุกคืบหน้าต่อไปอีกด้วยการยึดครองดินแดนอีกหลายแห่งในการรบที่อัล-อุซัยบฺ ฝ่ายเปอร์เซียต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมากและแม่ทัพมะฮฺรอนถูกฆ่าตายในที่รบ

2.              ศึกอัล-กอดิซียะฮฺ
ศึกอัล-กอดิซียะฮฺเกิดขึ้นในฮิจญ์เราะฮฺศักราชที่ 16 ที่ฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส ระหว่างกองทัพมุสลิมภายใต้การนำของขุนพลสะอดฺ บุตร อบีวักกอส มีทหาร 12,000 คน กับฝ่ายเปอร์เซียภายใต้การนำทัพของขุนพลรุสตัม มีทหารถึง 120,000 คน ก่อน ที่จะเกิดการปะทะกัน ฝ่ายมุสลิมได้ส่งอันนุอฺมาน บุตร อัล-มุฆีเราะฮฺและคณะนำสาส์นสร้างสัมพันธ์ไมตรี แต่คณะทูตเหล่านั้นถูกฆ่าทุกคนยกเว้นอันนุอฺมานเพียงผู้เดียวเท่านั้น ด้วยเหตุดังกล่าวการสู้รบอย่างดุเดือดจึงเกิดขึ้น ทหารเปอร์เซียถูกฆ่าตายประมาณ 30,000 คน ในขณะที่ฝ่ายมุสลิมเสียทหารไปเพียง 8,000 คน เท่านั้น ในการรบครั้งนี้ ฮิลาล บุตร อัล-กอมะฮฺ ได้สังหารรุสตัมแม่ทัพเปอร์เซียตายในที่สมรภูมิ ฝ่ายเปอร์เซียใช้ช้างศึกออกรบ ฝ่ายมุสลิมแก้ยุทธวิธีโดยใช้ม้าศึกและได้รับชัยชนะในที่สุด ความสำเร็จจากการสู้รบในครั้งนี้ทำให้ขุนพลสะอด์ยิ่งมีความมั่นใจจึงได้รุกต่อไปตีเมืองอัล-ญะซีเราะฮฺ ( เมโสโปเตเมีย )ได้ หลังจากนั้นคอลีฟะฮฺอุมัรได้แต่งตั้งให้ขุนพลสะอดฺเป็นเจ้านครกูฟะฮฺ ขุนพลสะอดฺได้สร้างมัสยิดและราชวัง ณ นครกูฟะฮฺแห่งนี้และท่านขุนพลก็เป็นตัวแทนเคาะลีฟะฮฺสำหรับแคว้นอิรักต่อไป
3.              ศึกอัล-มะดาอิน
อัล-มะดาอินตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไทกริส อยู่ทางตอนเหนือของบัฆดาด ( แบกแดด )ปัจจุบัน เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเปอร์เซียหลังจากได้รับชัยชนะที่ อัล-กอดีซียะฮฺแล้ว  ขุนพลสะอดฺ  ได้รุกคืบหน้าต่อไปจนถึงมะดาอินในเดือนเชาวาล  ฮ.. 16 ( ตุลาคม  ค. .637  ) ทำให้จักรพรรดิ์ยัสดาเกิร์ดต้องอพยพออกจากพระราชวังขาว  ไปยัง ฮิลวาน  ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งริมแม่น้ำ ไทกริสทางตอนใต้ของเมือง โมซุล  ทรัพย์สินต่างๆ ภายในพระราชวังถูกริบหมด  มะดาอิน จึงเป็นศูนย์กลางการทหารของมุสลิม  ณ  บัดนี้  สำหรับพระราชวังขาวอันงดงามวิจิตรโอฬารนั้น ได้ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นมัสยิด
4.              ศึกฟัตห-อัลฟูตูหฺ ( ชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ )
การสู้รบได้เกิดขึ้นอีกที่ นาฮาวันด์  ( .. 19 ) บนฝั่งแม่น้ำไทกริสทางด้านตะวันออกของบัฆดาด  ระหว่างกองทัพมุสลิม  ภายใต้การนำทัพ ของ นุอฺมาน  บุตรมุกิรริน  อัลมูซานี  ซึ่งได้รับหน้าที่แทนขุนพล สะอดฺ กับฝ่ายจักรพรรดิ์ยัสดาเกิร์ดที่ แต่ขุนพล นุอฺมานได้ตายชะฮีดในสนามรบ  อุซัยฟะฮฺ อัลยะมาน  จึงทำหน้าที่แทน   ด้วยกำลังใจที่ได้รับจากท่านคอลิฟะฮฺอุมัร  ทำให้กองทัพมุสลิมได้รับชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่  ทำให้ดินแดนของเปอร์เซีย รวมทั้งคูรอซาน  อาเซอร์ไบญาน  ตลอดจนแว่นแคว้นต่างๆ ที่อยู่ตามชายแดนตุรกี และอาร์เมเนียได้อยู่ภายใต้การปกครองของอิสลาม
                ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์  ในปีฮิจญเราะฮฺที่  15 ( .. 637 ) ท่านคอลิฟะฮฺ อุมัรได้ส่งกองลาดตระเวนส่วนหนึ่งภายใต้การนำของแม่ทัพ อุษมาน บุตรอัษษะเกาะฟี สู่โอมาน  ( อาหรับตะวันออก ) ในขณะที่น้องชายของท่านอัลหะกัมได้ถูกส่งไปยัง บาฮ์เรน  ( ที่อ่าวเปอร์เซีย ) เมื่อถึง โอมานแม่ทัพอุษมาน  ได้นำทหารเข้ามุ่งสู่ดินแดนด้านตะวันออกใกล้การาจีปัจจุบัน
                ต่อมาท่านคอลิฟะฮฺอุมัร  ได้ห้ามมิให้เขาออกไปไกลกว่านี้อีก  การส่งหน่วยลาดตระเวนในครั้งนี้ทำเพื่อหยั่งกำลังของข้าศึกเท่านั้น
                2.4 สงครามกับอียิปต์ 
                นักประวัติศาสตร์ตะวันตกได้กล่าวอ้างว่าการเข้าไปยึดอำนาจของกองทัพมุสลิมในประเทศอียิปต์นั้นก็เพราะความต้องการทางวัตถุ  เพราะอียิปต์เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์และร่ำรวยที่สุดในสมัยนั้น  การกล่าวหาเช่นนี้ ย่อมเกินความจริง  แท้จริงการเข้ายึดครองอียิปต์นั้น  เพราะว่าอียิปต์มีเมืองอเล็กซานเดรียเป็นฐานทัพอันเกรียงไกรของอาณาจักรไบแซนไตน์  มีทัพเรือที่เข้มแข็งรองจากเมืองหลวงคือ คอนสแตนติโนเปิลเท่านั้น  และหากจะโจมตีซีเรียโดยทัพเรือก็ต้องเริ่มออกจากฐานทัพอเล็กซานเดรียนี่เอง
                การเข้ายึดแผ่นดินอียิปต์ของกองทัพมุสลิมเพราะต้องการรักษาผลประโยชน์ของชนชาติชาวอาหรับซึ่งถูกครอบงำโดยพวกโรมัน และชัยชนะที่ได้รับจากฝีมือยุทธวิธีของแม่ทัพนายกองมุสลิมในดินแดนซีเรีย  และปาเลสไตน์ย่อมเป็นแรงกระตุ้นให้แม่ทัพอัมรฺขยายดินแดนอิสลามให้กว้างขวางออกไปอีกจนถึงอียิปต์ ดินแดนแห่งนี้ เป็นถิ่นกำเนิดของบรรดารอซูล r  ของอัลลอฮฺI   อีกทั้งระหว่างอียิปต์กับปาเลสไตน์นั้น  ไม่มีเขตดินแดนอันแน่นอนซึ่งสามารถชี้ชัดได้  เพราะไม่มีภูเขาหรือแม่น้ำกว้างกั้น  อัล-วากิดี นักประวัติศาสตร์มุสลิมกล่าวว่า  ท่านคอลิฟะฮฺอุมัรเคยเขียนสาส์นไปถึง อุบัยดะฮฺที่ปาเลสไตน์ บัญชาให้ยึดครองอียิปต์ เพื่อปลดแอกออกจากอำนาจของไบแซนไตน์
                เส้นทางการเดินทัพ
                อุบัยดะฮะพร้อมด้วยรี้พลจำนวน 4,000 นาย  ได้เดินทัพเข้าสู่อียิปต์ผ่านซีนาย  อุบัยดะฮฺประสบชัยชนะเหนืออัลวารีสีในปลาย ฮ..18 เพราะได้รับความร่วมมือจากเจ้าถิ่น  จากนั้นก็มุ่งสู่ฟาร์มาอันเป็นเมืองหน้าด่านเพื่อเข้าสู่แผ่นดินไอคุปต์แล้วจึงได้เข้าล้อมเมืองไว้ประมาณ 1 เดือน  มุสลิมก็ตีเมืองแตกใน ฮ..19  ต่อจากนั้นก็ได้เดินทัพเพื่อมุ่งสู่บิลบัยส์และได้เผชิญหน้ากับกองทัพไบแซนไตน์ภายใต้การนำของ อัรฟาตอง  ซึ่งได้หนีออกจากปาเลสไตน์เพื่อเอาตัวรอดก่อนหน้านี้  ในที่สุดฝ่ายมุสลิมได้รับชัยชนะ  ในการรบครั้งนี้  ฝ่ายมุสลิมสามารถจับราชธิดาของมุกากิส เจ้านครอียิปต์เป็นเชลย  แต่ฝ่ายมุสลิมได้ส่งตัวคืนสู่อ้อมอกราชบิดาอย่างสมเกียรติ์และศักดิ์ศรี  ทำให้ภาพลักษณ์ของอิสลามเป็นที่ชื่นชมและยินดีแก่บรรดาผู้คนในอียิปต์
                หลังจากนั้นกองทีพมุสลิมได้เดินทางต่อไปสู่เมืองออุมมุดูไนน์  ได้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือดจนต้องขอกำลังเสริมจากคอลิฟะฮฺ ศุนย์บัญชาการรบจึงส่งกองกำลังหนุนไปอีก 4,000 นาย  มอบให้อัชชุบัยร  บุตรเอาวามเป็นแม่ทัพ  มีรองแม่ทัพอีก 3 คนคือ อุบัยดะฮฺ  บุตรอัษษาบิต  มุสัลละมะฮฺ  บุตรมุคลิดและอัล-มิกดาร  บุตรอัลอัสวัด  คอลิฟะฮฺอุมัรได้ส่งสาส์นไปยังอียิปต์ใจความในสาส์นตอนหนึ่งกล่าวว่า ฉันได้ให้ความช่วยเหลือแก่ท่าน 4,000 นาย แต่ละคนมีความแข้มแข็งทางจิตวิญญาณหรือศรัทธาเทียบได้เท่าจำนวนบุรุษเพศถึง 4,000 นาย
                กองทัพมุสลิมต้องทำศึกกับศัตรูที่มีรี้พลมากกว่าหลายเท่า  ฝ่ายไบแซนไตน์มีรี้พล 20,000 นาย        มี ธีโอดอร์ เป็นแม่ทัพ การสู้รบอย่างดุเดือดเกิดขึ้นที่ Hilyo polis ใกล้อัยนุซัมส์ ใน ฮ.. 20 ผลปรากฏว่า กองทัพไบแซนไตน์ได้แตกพ่ายไป ทหารส่วนมากได้หนีไปยังเมือง บาบิโลน ดังนั้นทัพมุสลิมจึงมุ่งสู่ บาบิโลนต่อไป และล้อมเมืองได้ 6 เดือน สุดท้าย มุกอกิส เจ้าครองนครก็ยอมเจรจาสงบศึก ส่งทูตคณะหนึ่งเข้าพบ อัมรฺ บุตรอัลอาส  อัมร์ได้ยืดเวลาออกไปอีก 2 วันเพื่อให้โอกาสแก่ชาวอียิปต์ที่จะเลือกว่าจะต้องยอมแพ้แล้วเข้ารับอิสลาม หรือจ่ายภาษีอากรประจำปีหรือไม่ก็สงคราม คณะฑูตจึงได้กลับไปรายงานผลการเจรจาและสถานภาพของมุสลิมต่อเจ้านครว่า  เราได้เห็นมนุษย์จำพวกหนึ่งที่ชอบความตายมากกว่าการมีชีวิตอยู่  ไม่มีใครเลยที่มีความโลภไยดีต่อชีวิตบนโลกนี้  พวกเราได้เห็นพวกเขานั่งอยู่บนพื้นในขณะที่พูดคุยกัน เมื่อได้ฟังเช่นนั้น มุกอกิส จอมคนแห่งไอคุปต์ ก็ยอมรับข้อเสนอที่จะยอมแพ้และจ่าย ภาษีประจำปี  ซึ่งเป็นภาระที่เบากว่าหากจะเปรียบเทียบกับภาษีรัชชูปกรณ์ ( ภาษีบุคคล ) ที่ฝ่ายโรมันตะวันออกเคยบังคับเก็บจากพวกเขา  ดังนั้นจึงได้มีการร่างสนธิสัญญาสันติภาพขึ้น  แม้ว่าจักรพรรดฺ์ เฮราคิอุส ไม่เห็นด้วยก็ตาม
                ขณะนั้นยังเหลือ อเล็กซานเดรียเมืองหลวงของอียิปต์เท่านั้น ที่ทัพมุสลิมยังมิได้พิชิต  เมืองนี้ตั้งอยู่บนฝั่งทะเล  เป็นฐานที่มั่นและเข้มแข็งที่สุด  เป็นศูนย์กลางการทหารของอาณาจักรไบแซนไตน์  ด้านใต้มีพลเมืองราว 50,000 คน ท่านคอลิฟะฮฺอุมัร ได้มีสาส์นไปยังบรรดาทหารหาญที่ไม่มั่นใจในการที่จะเข้าโจมตีเมืองอเล็กซานเดรียว่า ตราบใดที่กองทัพมุสลิมไม่สามารถยึดเมืองอเล็กซานเดรียนี้ได้  ตราบนั้นก็จะถูกคุกคามจากไบแซนไตน์อย่างไม่จบสิ้น  เพราะชาวโรมันตะวันออกจะต้องแก้แค้น  และฝ่ายมุสลิมอาจจะประสบความพ่ายแพ้ในภายหลัง เมื่อฟังเช่นนั้นแล้ว  เหล่าทหารหาญก็ได้ตักบีรฺต่อจากนั้นก็รีบไต่กำแพงเมืองและเข่นฆ่าศัตรูล้มตายเป็นจำนวนมาก ข้าศึกที่เหลือก็รีบหนีไปที่เรือเพื่อเอาตัวรอด  แต่ก็ถูกจับได้เป็นส่วนมาก  อเล็กซานเดรียจึงตกเป็นของมุสลิมหลังจากที่ล้อมอยู่นานถึง 1 ปี กับ 2 เดือน  ผู้นำทัพที่ทำการจนสำเร็จในครั้งนี้คือ ขุนพลอัซซุบัยรฺ
                ชัยชนะครั้งนี้ทำให้จอมพลแห่งไอยคุปต์ มุกอกิสต้องเดินทางไปยังอเล็กซานเดรียเพื่อลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกดังนี้คือ
1.             ฝ่ายไบแซนไตน์ต้องเสียภาษีญิซยะฮฺเป็นจำนวนเงิน 1,250,000 ดีนาร์ต่อปี
2.             ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา และทำอิบาดะฮฺ
3.             ทหารไบแซนไตน์จะต้องออกจากแผ่นดินอียิปต์
สนธิสัญญาฉบับนี้ทำให้แผ่นดินอียิปต์ทั่วทุกแว่นแคว้นต่างต้องอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิมอัมมีมะดีนะฮฺ เป็นศูนย์กลาง การปลดแอกขับไล่ทหารโรมันตะวะนออกให้ออกจากแผ่นดินอียิปต์ต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปี
                ฟิลิป ฮิตตี ได้เขียนไว้ว่า ชนชาวอียิปต์ถือว่าชาติอาหรับที่ปกครองพวกเขาก็เป็นชาติอาหรับด้วยกัน ต่างกันกับผู้ปกครองที่เป็นชนชาติโรมัน ( ตะวันออก ) ซึ่งพวกเขาถือว่าเป็นชนต่างชาติ  นี่คือการปฏิวัติทางสังคมและการเมืองอีกรูปแบบหนึ่งและเป็นการมอบความยิ่งใหญ่แก่ตะวันออกกลาง  ให้ฟื้นตัวอีกครั้งหนึ่ง  ศาสนาอิสลามได้ปลุกชาวอียิปต์ซึ่งกำลังหลับเป็นเวลานานนับพันปีภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันให้ตื่นขึ้นฟื้นคืนตัวทางด้านการเมืองและวัฒนธรรมอีกครั้งหนึ่ง
                2.5  การปลดท่าน คอลิด บุตรวะลีด ออกจากการเป็นแม่ทัพ
อุมัรจจะลงโทษอย่างหนักต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่บกพร่องต่อหน้าที่และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีเกียรติในสังคมหรือเคยได้รับการยกย่องสรรเสริญจากท่านศาสดามูฮัมมัด r มาแล้วก็ตาม ดังเช่นการปลดเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายการทหารคือ คอลิดบุตรวะลีด ออกจากตำแหน่งหลังตรวจสอบพบว่า เขามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อการเป็นแม่ทัพทางทหาร มีรายงานว่า อุมัรได้ทราบข่าวการประพฤติตัวไม่เหมาะสมผิดบทบัญญัติของศาสนาของคอลิด บุตรวะลีด ในข้อหาใช้เหล้าถูตัวขณะอาบน้ำ ซึ่งคอลิดก็ยอมรับโดยดีว่าที่ทำอย่างนั้นเพราะไม่สามารถหักห้ามใจได้ (การสัมผัสเหล้าถือเป็นสิ่งต้องห้าม) นอกจากนี้ยังมีเรื่องมีความไม่ชัดเจนในการบริจาคเงินให้ชายคนหนึ่งเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นความไม่เหมาะสมและเข้าข่ายการสุรุ่ยสุร่ายในการใช้เงิน แม้คอลิดจะเป็นเจ้าของเงินจำนวนนั้น แต่อุมัรก็ยังยืนกรานว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและมีมติให้ปลดออกจากตำแหน่งในที่สุด (อัฏฏอมาวีย,1969: 287)
อีกประการหนึ่งก็คือ ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรอาจจะเห็นว่า คอลิด มีนิสัยกร้าว  ชอบความรุนแรง และปฏิบัติการอย่างอิสระ  แต่ขุนพลคอลิด ก็ได้ทำหน้าที่ของตนต่อไปอย่างบริสุทธิ์ใจต่อไป  ภายใต้การนำของอบูอุบัยดะฮฺ  แม่ทัพคนใหม่
                ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรรู้ดีว่าคอลิดจะต้องไม่พอใจในการตัดสินดังกล่าว แต่ท่านก็ยืนกรานถึงความถูกต้องและเหมาะสมในการตัดสินตามกระบวนการที่วางเอาไว้ ท่านยังกล่าวกับคอลิดว่า ท่านเป็นคนมีเกียรติและเป็นที่รักยิ่งของฉัน ขออย่าประณามฉันเลยในการตัดสินครั้งนี้   (อัฏฏอมาวีย,1969: 287)  นอกจากนี้ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรยังเสนอให้ปลดคอลิดจากการเป็นแม่ทัพ ในสมัยคอลีฟะฮอบูบักรมาแล้วครั้งหนึ่ง เนื่องจากมีพฤติ กรรมที่ฝ่าฝืนระเบียบในการทำสงครามหรือจรรยาบรรณในการรบ โดยการสังหารสตรีในระหว่างการทำสงคราม (อิบรอฮีม หะซัน ,1994: 211)
                 2.6 สาเหตุที่ได้รับชัยชนะ
                ในการทำสงครามกับเปอร์เซียและไบแซนไตน์ย่อมแสดงถึงความสามารถและความเข้มแข็งของกองทัพมุสลิมในการเข้าต่อกรกับข้าศึกจนได้รับชัยชนะในที่สุด
                สาเหตุของชัยชนะนั้นมีหลายประการคือ
                1. ลักษณะพิเศษที่มีอยู่ในคำสอนของอิสลามเอง
                ศาสนาอิสลามได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนสันติภาพ  ความสงบสุขความยุติธรรมและความเป็นภราดรภาพของมนุษยชาติ  ฝ่ายมุสลิมจะไม่รุกรานศัตรูด้วยเหตุผลง่าย ๆ โดยไม่แสวงหาวิธีการสันติภาพเสียก่อน  แม้แต่ในการเข้าบุกโจมตีศัตรูแต่ละครั้ง  ถ้าหากข้าศึกเปลี่ยนใจยอมแพ้หรือยอมเจรจาเพื่อสันติภาพ  ฝ่ายมุสลิมพร้อมที่จะรับข้อเสนอทันที  ในขณะเดียวกันฝ่ายข้าศึกที่ไม่ใช่มุสลิมก็จะไม่ถูกบังคับให้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามเพียงแต่ต้องเสียภาษีญิซยะฮแก่มุสลิม ทั้งนี้เพราะถือว่าเขาเหล่านั้นจะได้อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของมุสลิมทุกประการ ภาษีดังกล่าวไม่ใช่ภาระที่หนักจนเกินไป  ศาสนาอิสลามมีหลักการที่คอยกระตุ้นเตือนให้มีการญิฮาด  ใครก็ตามหากตายในสนามรบถือว่าตายในสภาพชะฮีดจะได้เข้าสู่สรวงสวรรค์  และจะได้รับผลบุญอย่างต่อเนื่องภายหลังจากการตายในสภาพเช่นนั้น  นับว่าเป็นผลตอบแทนอันล้ำค่าที่จะได้รับทุกวันตราบจนถึงวันกิยามัต (วันโลกหน้า) วิญญาณของเขาจะได้รับริสกีย์  ความโปรดปรานจากอัลลอฮI ตราบจนวันปรโลกเช่นกัน


2. ความเป็นผู้นำของคอลีฟะฮ
                ท่านคอลีฟะฮอุมัรเองเป็นผู้นำที่มีบุคลิกภาพแห่งความเป็นผู้นำได้อย่างสมบูรณ์ ท่านสามารถบังคับบัญชาแม่ทัพนายกองต่าง ๆ ตลอดจนทหารหาญทั้งหลายที่ถูกส่งไปจากมะดีนะฮ ให้อยู่ในระเบียบวินัย  ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด  ความมหัศจรรย์ของอุมัรเองได้แสดงให้ประจักษ์อย่างชัดเจนในคราวที่ฮุซัยฟะฮ  บุตรอัลยะมานกำลังรบพุ่งอย่างดุเดือดกับเปอร์เซียนั้น  อัลลอฮIทรงกำหนดให้ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเห็นสภาพในสมรภูมิ  ท่านเห็นฮุซัยฟะฮ และกองทัพมุสลิมกำลังรบพุ่งอย่างดุเดือด ท่านอุมัรได้ตะโกนขึ้นอย่างสุดเสียงให้ทหารกล้าตายเหล่านั้นรบอย่างเต็มที่
                ด้านความสัมพันธ์ระหว่างอุมัรกับทหารมุสลิมนั้นนับว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดมากต่างกับความสัมพันธ์ของจักรพรรดิเปอร์เซียกับประชาชนของพระองค์ ต่างกับจักรพรรดิไบแซนไตน์กับประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครองซึ่งทั้งสองอาณาจักรดังกล่าวมีลักษณะของความเป็นเจ้าผู้เข้าครอบครอง  อีกทั้งยังรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นชนชั้นศักดินาอีกด้วยและยังมีความไม่เป็นธรรมต่อผู้ใต้การปกครอง  ต่างกับเคาะลีฟะฮอุมัรซึ่งเป็นที่เกรงกลัวแก่บุคคลทั่วไปแต่ทุกคนก็ยกย่องสรรเสริญ  และให้ความเคารพรักใคร่ในตัวท่าน   เหตุผลดังกล่าวย่อมชี้ให้เห็นถึงความยุติธรรมของท่านคอลีฟะฮอุมัร ทำให้อาณาประชาราษฎร์ทั้งหลายเคารพนับถือท่าน
                3. ความเก่งกล้าสามารถ ความเสียสละ ทั้งแม่ทัพ นายกอง ตลอดจนไพร่พลทั้งปวงของกองทัพมุสลิม
                แม่ทัพและทหารหาญมุสลิมมีลักษณะประจำตัวที่กล้าหาญชาญชัยเพราะต่างก็มีความเชื่อมั่นศรัทธาต่ออัลลอฮผู้เป็นเจ้าเหนือชีวิตของตน  ทำให้เขาอยากตายในสนามรบ  ตายอย่างชะฮีด ลักษณะเช่นนี้ย่อมเป็นจุดสำคัญที่กระตุ้นเตือนให้ทหารหาญเหล่านั้นต้องการเข้าสู่แนวหน้าในสนามรบ ต้องการเผชิญหน้ากับข้าศึกศัตรูของอัลลอฮและฆ่าพวกทรยศต่ออัลลอฮให้สิ้นแม้จะต้องสละชีพของตนเองก็ตาม  พวกเขาจะไม่ถอยจากสนามรบแม้แต่ก้าวเดียว เพราะมิฉะนั้นแล้วเขาจะได้รับโทษมหันต์ในว้นแห่งโลกหน้าตามกฎเกณฑ์การสงครามในอิสลาม  ถึงกระนั้นก็ตามบรรดาทหารหาญของอิสลามมีมารยาทดีและเคร่งครัดต่อระเบียบวินัย  เชื่อฟังผู้บังคับบัญชาในขณะที่สู้รบ  แม้แต่ชาวเปอร์เซียและชาวไบแซนไตน์เองก็ยังมองทหารมุสลิมว่าเกียรติและไม่อยากจะต่อต้านทหารมุสลิมเพราะทหารมุสลิมจะไม่ฆ่าศัตรู  หากไม่มีเหตุผลอันสมควร ทหารมุสลิมจะไม่ทำร้ายสตรี เด็ก คนชราและบาดหลวง  บรรดาทหารกล้าเหล่านั้นต่างมีความบริสุทธิ์ใจ  มีความซื่อสัตย์ต่อท่านเคาะลีฟะฮอย่างเช่นกรณีของขุนพลคอลีดบุตรวะลีดในขณะที่กำลังรบพุ่งอยู่นั้นเคาะลีฟะฮอุมัรได้ปลดท่านออกจากตำแหน่ง  แต่ท่านก็ยังสู้รบกับข้าศึกจนได้ชัยชนะ  นี่ย่อมเป็นที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ใจอย่างสูงขอทหารกล้าที่มีต่อท่านคอลีฟะฮ
                4.  การตักวา (เกรงกลัวต่ออัลลอฮ) และสามัคคีธรรมในอิสลาม
                การสู้รบในหนทางของอัลลอฮถือว่าเป็นการต่อสู้ที่มีค่ายิ่งเกิดขึ้นเพราะต้องการแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮเพราะนโยบายในอิสลามข้อนี้ (การตักวา) ได้กระตุ้นเตือนสติอยู่เสมอในทุกเวลาเพื่อกระทำการสู้รบอย่างห้าวหาญ  ยอมเสียสละทุกอย่างแม้ชีวิตของตนเอง  เพื่อเจ้าของชีวิตที่ทรงประทานให้ (อัลลอฮ) และมีความสามัคคีกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการทำศึกกับอริราชศัตรู  ความสามัคคีและความจงรักภักดีที่มีต่อผู้นำและผู้ปกครองย่อมเป็นการง่ายที่จะออกคำสั่งใดๆ ให้พวกเขาปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและซื่อสัตย์
                5.  การเตรียมพร้อมเพื่อรบ
                ชัยชนะที่ได้รับจากการสงครามในสมัยเคาะลีฟะฮอบูบักรทำให้มุสลิมสามารถรวบรวมทรัพย์สินจากข้าศึกเป็นจำนวนมาก  จึงสามารถใช้เป็นงบประมาณเพื่อเตรียมเสบียงอาหาร อาวุธยุทโธปกรณ์และยุทธปัจจัยอื่น ๆ ได้อย่างเต็มอัตราศึก
6.  การฝึกอาวุธและระเบียบวินัยอย่างสม่ำเสมอ
                ตามที่รู้กันอยู่แล้วว่าเคาะลีฟะฮอุมัรประสบความสำเร็จในการตั้งค่ายที่เมืองกูฟะฮ และบัศเราะฮ  เพื่อความสะดวกแก่การฝึกอาวุธและฝึกระเบียบวินัยให้เคร่งครัด  เหล่าทหารหาญถูกแยกออกจากสังคมภายนอกทั้งนี้ก็เพราะเคาะลีฟะฮต้องการบำรุงขวัญและปลุกใจเหล่าทหารหาญให้หึกเหิมอยู่เสมอ
                7.  ความอ่อนแอของข้าศึก
                ความอ่อนแอบางประการของข้าศึกได้แก่ อาณาจักรเปอร์เซียและอาณาจักรไบแซนไตน์ต้องทำสงครามอยู่เป็นประจำผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ  ชาวโรมันชอบการทะเลาะวิวาทกัน  ชอบกดขี่ข่มเหงกันและกันเพราะความแตกต่างของนิกายในศาสนาดินแดนทั้งสองของอาณาจักรมีอาณาเขตกว้างขวางมาก ชนในชาติประกอบด้วยชาติต่าง ๆ หลายชาติพันธ์จึงยากต่อการปกปักษ์รักษา  ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้สเปนในฐานะที่เป็นเมืองหน้าด่านของโรมันด้านตะวันตก  ต้องสูญเสียอธิปไตยแก่ชนชาติโกธ (Goth) สองจักรพรรดิแห่งสองอาณาจักรเป็นทรราชย์สร้างความเดือดร้อนแก่อาณาประชาราษฎร์
จักรพรรดิทุกองค์ของเปอร์เซียได้อุปโลกน์ตนเองเป็นฉายาแห่งพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ถือว่าประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองมีฐานะเยี่ยงทาสและต้องเป็นข้ารับใช้ของตนสำหรับจักรพรรดิแห่งไบแซนไตน์ได้บีบคั้นประชาชนของตนด้วยการบังคับให้จ่ายภาษีอากรประเภทต่าง ๆ อย่างมากมายเช่นภาษีรายได้ ภาษีปศุสัตว์ และภาษีคนตายอาณาประชาราษฎร์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของทั้งสองอาณาจักรนี้สิ้นความจงรักภักดีและไม่ต้องการที่จะสนับสนุนผู้ปกครอง เหล่านั้นอีก  ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ก็คือการบังคับไพร่พลให้เข้าสู่ยุทธภูมิจนต้องมีการล่ามโซ่ไม่ให้หนีออกจากสมรภูมิดังที่ปรากฎแล้วในสงครามโซ่และในศึกยัรมูค  ปวงประชาราษฎร์ของทั้งสองอาณาจักรชอบที่จะอยู่ภายใต้อำนาจของอิสลามมากกว่าโดยถือว่าเป็นกองทัพธรรมปราบปรามความชั่วร้ายต่าง ๆ ในสังคมในขณะนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น