เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ผู้หญิงในอิสลาม


บทนำ
            การศึกษาเรื่องผู้หญิงที่เป็นระบบมีหลักสูตรที่ชัดเจนได้เปิดสอนครั้งแรกที่ San Diego State College เมื่อปี 1970 ในระยะเวลาสี่สิบปีการศึกษาวิจัยเรื่องผู้หญิงได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนถึงปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรเกี่ยวกับผู้หญิงในประเทศต่างๆเกือบทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดี่ยวการจัดการศึกษาเรื่องผู้หญิง(Woman Studies) มีมากถึง 395 แห่ง
            ขณะเดี่ยวกันประเทศมุสลิมได้ตกเป็นจำเลยทางสังคมในฐานะที่เป็นสังคมที่มีการทารุณกรรรมและปฏิบัติต่อหญิงเยี่ยงทาส (maltreatment and slavery of woman) ในอันดับต้นๆของโลก (Abdurrahman 1990) ซึ่งข้อมูลที่ปรากฏเป็นกระแสที่ผู้คนโดยทั่วไปเข้าใจผิดคิดว่าอิสลามเป็นศาสนาที่ลิดรอนสิทธิของผู้หญิงและเป็นศาสนาที่ลิดรอนสถานภาพความเป็นอยู่และบทบาทของผู้หญิงในสังคม
            แต่จากการศึกษาวิจัยเรื่องผู้หญิงในอิสลามโดยนักวิชาการมุสลิมและมิใช่มุสลิมจากเอกสารปฐมภูมิ คือ อัลกรุอานและหะดีษ รวมทั้งข้อมูลจากประวัติศาสตร์อิสลามในสมัยท่านศาสดา(ศ็อลฯ) และในสมัยเศาะหาบะฮฺไม่ปรากฏว่าการทารุณกรรมและการปฏิบัติต่อหญิงเยี่ยงทาสเป็นหลักการที่กำหนดโดยอิสลามแต่อย่างใด แต่งานวิจัยกลับค้นพบว่าอิสลามคือ ศาสนาที่ปกป้องสถานภาพ ศักดิ์ศรี และสิทธิของผู้หญิงที่โดดเด่นที่สุดในบรรดาศาสนาที่มีอยู่ในปัจจุบัน   ในเรื่องเดียวกัน  Pier Crebite ผู้พิพากษาชาวอเมริกันได้ยอมรับในเรื่องดังกล่าวไว้ว่า มูหัมมัดคือผู้บุกเบิกในด้านสิทธิสตรีที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก โดยยากที่จะหาคนอื่นมาเทียบได้ หลักการอิสลาม (ที่ท่านได้เผยแผ่) ให้สิทธิต่อภรรยาในการถือครองกรรมสิทธิในทรัพย์สินเหมือนกับสิทธิที่สามีได้รับ สตรีมีความอิสระที่จะทำสัญญาตกลงซื้อขายหรือจัดการต่อทรัพย์สินของนางตามที่นางปราถนาโดยสามีไม่มีสิทธิที่จะทำการขัดขวางได้ อ้างใน (Abdurrahman 1990)
            บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการเขียนสามข้อ คือ นำเสนอหลักการอิสลามที่เกี่ยวกับผู้หญิงที่ปรากฏหลักฐานในอัลกรุอานและหะดีษ ซึ่งเป็นที่มาของกระบวนทัศน์ผู้หญิงในอิสลาม สอง นำเสนอภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสมัยท่านศาสดาและเศาะหาบะฮฺในสถานะและบทบาทต่างๆในสังคม ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวการพัฒนาผู้หญิงในแบบฉบับของอิสลามในสังคมปัจจุบัน และสาม เพื่อนำเสนอสุนนะฮฺของศาสดา แนวคิดและแนวปฏิบัติของบรรดาเศาะหาบะฮฺและปราชญ์มุสลิมร่วมสมัยเพื่อเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้และแนวปฏิบัติเพื่อการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างพลังผู้หญิงในการพัฒนาสังคม การศึกษาเรื่องนี้ใช้กระบวนการศึกษาวิจัยเชิงเอกสารเป็นหลัก โดยศึกษาข้อกำหนดที่ปรากฏในอัลกรุอานหะดีษ และตำราที่อรรถาธิบายอัลกรุอาน(ตัฟซีร) รวมทั้งข้อเสนอในการฟัตวาของอุลามาอฺ(นักปราชญ์มุสลิม) ร่วมสมัยในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับสถานภาพและบทบาทของผู้หญิงและศึกษาจากตำรา บทความวิชาการทางอิสลามศึกษาที่ได้ศึกษาเรื่องผู้หญิงในอิสลาม โดยเนื้อหาจะครอบคลุมในสามประเด็นสำคัญ คือ หลักการอิสลามที่เกี่ยวกับกระบวนทัศน์ ของผู้หญิงในอิสลาม สองสถานภาพของผู้หญิงที่อิสลามได้กำหนด และสามบทบาทของผู้หญิงในอิสลามเพื่อสรรสร้างสังคมโลกสมัยใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น