เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การตกต่ำสถานภาพของผู้หญิงมุสลิม


การตกต่ำสถานภาพของผู้หญิงมุสลิม (The Decline in the Status of Muslim Woman)
            ฟารูกี (lsmail R al faruqi,1974) ได้กล่าวว่าการเสื่อมสลายของประชาชาติมุสลิมเกิดจากความเชื่อและเจตคติที่มุสลิมปฏิเสธและมิได้ให้ความสำคัญกับกิจการต่างๆที่เกี่ยวกับโลกเช่น กิจการทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง จากการยึดแนวปฏิบัติดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นจนในที่สุดทำให้สภาพสังคมมุสลิมในภาพรวมตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแอและเสื่อมลงอย่างสิ้นเห็นได้ชัด ทั้งในความเป็นจริงแนวคิดดังกล่าวคือ มุสลิมจะเมินเฉยโดยขาดความกระตื้อรื้อรนในการที่จะพัฒนากิจการต่างๆที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ซึ่งแน่นอนแนวคิดเหล่านั้นย่อมมีผลกระทบต่อสถานะของประชาชาติมุสลิมโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่จะมีต่อผู้หญิงมุสลิมมีความรุนแรงหลายเท่า จนในที่สุดผู้หญิงมุสลิมจำต้องยอมรับในบทบาทเฉพาะที่เกี่ยวกับกิจการในครอบครัวเป็นหลัก(lsmail R al faruqi,1969)
            สาเหตุสำคัญที่ทำให้สถานภาพของผู้หญิงมุสลิมตกต่ำมี 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
            ปัจจัยภายในที่สำคัญๆมีสามประการคือ การเปลี่ยนแปลงระบบทางการเมืองในสังคมมุสลิม การยอมรับระบบจริยธรรมทางสังคมที่ผิดแบบและการปิดประตูแห่งการอิจญ์ติฮาด ระบบการเมืองในอิสลามที่ได้กำหนดรูปแบบโดยท่านศาสดามุหัมมัดและได้สืบทอดโดยบรรดาเคาะลีฟะฮฺทั้งสี่(ค.ศ 632-ค.ศ 660)เป็นระบบที่ยึดมั่นในหลักการที่ได้กำหนดโดยอัลกรุอานอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะหลักการชูรอ (Consultation/การประชุมปรึกษาหารือกัน)และระบบการเลือกผู้นำ แต่ทั้งหมดที่ได้กล่าวถึงได้มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป จนในที่สุดระบบชูรอคงไว้เพียงแต่เงื่อนไขที่ให้ถูกต้องตามหลักการที่อิสลามกำหนดแต่มิใช่เป็นกระบวนการในการบริหารจัดการไม่ ระบบการเลือกตั้งถูกทดแทนด้วยระบบสืบทอดอำนาจอันเป็นฐานสำคัญของระบบประชาธิปไตย ทำให้ขบวนการประชาสังคมอิสลาม ซึ่งโดยปกติสังคมมุสลิมในสมัยท่านศาสดาและเคาะลีฟะฮฺทั้งสี่จะมีความเข้มแข็งกลับมีความอ่อนแอลง ทั้งนี้เพราะประชาสังคมถูกลิดรอนในสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญๆ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นรวมถึงเสรีภาพในการคัดค้านในสิ่งที่เป็นภัยต่อสังคม ผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวทำให้การแสดงความเห็นที่แตกต่างกับรัฐเป็นภัยอันใหญ่หลวงที่มีต่อปัจเจกบุคคลซึ่งบางครั้งจะนำมาถึงขั้นชีวิต ดันนั้นในสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าวทำให้สถานภาพของผู้นำในระดับต่างๆมีอำนาจอย่างล้นเหลือและได้นำมาซึ่งวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่ฟุ่มเฟือย สิ่งหนึ่งที่ปรากฏชัดคือ มีการสะสมทาสหญิงและทรัพย์สินที่มีค่าต่างๆเอื้อต่อความสุขในทางโลก(Hitti,1970) การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในลักษณะดังกล่าวได้สืบทอดมาจนถึงสมัยอับบาสียะฮฺและอุษมานียะฮฺ
            การยอมรับระบบจริยธรรมทางสังคมใหม่คือ การปฏิเสธความเป็นเอกลักษณ์บางประการของความเป็นโลกียะ(Secularist) อันเป็นสาเหตุเป็นประการหนึ่งที่นักคิดมุสลิมเชื่อว่ามีส่วนสำคัญทำให้ประชาชาติมุสลิมนั้นตกต่ำและล่มสลายจากวิถีชีวิตที่เป็นอิสลามอันบริสุทธิ์ การยอมรับระบบจริยธรรมทางสังคมใหม่นั้นเป็นผลิตผลที่เกิดจากชีวิตหลังจากการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองในสังคมมุสลิม นั่นคือ ผู้มีอำนาจและชนชั้นสูงในสังคมจะมีชีวิตอยู่อย่างฟุ่มเฟือยและนิยมความสุขในทางโลกเป็นหลัก ดังนั้นแนวคิดการใช้ชีวิตอย่างสมถะจะงเป็นแนวทางที่คิดว่าน่าจะเป็นแนวทางที่จะทำให้ประชาชาติมุสลิมมีความเข้มแข็งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งจากการนำเสนอแนวคิดดังกล่าวโดยผู้นำทางจิตวิญญาณบางคน ในที่สุดทำให้เกิดสังคมมุสลิมได้ยอมรับแนวคิดการปฏิเสธความเป็นโลกียะที่สมบูรณ์แบบและกลายเป็นจริยธรรมใหม่ทางสังคมที่ประชาสังคมมุสลิมส่วนหนึ่งได้ยอมรับอย่างสนิทใจ
            ปัจจัยภายนอกที่มีส่วนในการสร้างความตกต่ำคือ การปิดประตูแห่งการอิจญ์ติฮาดในสังคมวิชาการมุสลิม เป็นที่ทราบกันดีว่าหลังจากการสิ้นชีวิตของ al-Tabari (d.310 H.E/922C.E)จะไม่มีนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวกับฟิกฮฺที่โดดเด่น ส่วนหนึ่งเกิดจากความกดดันที่สังคมมุสลิมต้องตกอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองที่ไม่เอื้อต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการและในด้านต่างๆและอีกส่วนหนึ่งเนื่องจากการกำหนดแนวทางฟิกฮฺโดนนักปราชญ์ที่สำคัญๆของโลกมุสลิมก่อนหน้านั้น จนพัฒนาถึงระดับการกำเนิดแนวคิดความเป็น มาซาเฮ็บ ที่ค่อนข้างมีความสมบูรณ์แบบในระดับหนึ่ง ทำให้กระบวนการในการศึกษาวิจัยเพื่อดำเนินการอิจญ์ติฮาดในสังคมมุสลิมในสมัยนั้นมีน้อย จนในที่สุดในศตวรรษที่สี่ฮิจญ์เราะฮฺศักราชบรรดานักกฏหมายอิสลามต่างได้ปิดประตูแห่งการอิจญ์ติฮาดในสังคมวิชาการของมุสลิมที่มีต่อผู้หญิง คือ การละเมิดและลิดรอนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานภาพและสิทธิของผู้หญิงในอิสลามนั้นเอง
            ปัจจัยภานอกที่มีส่วนในการตกต่ำของสถานภาพของผู้หญิงในอิสลามนั้นมีสองสาเหตุสำคัญคือ สงครามครูเสดและการบุกยึดการเมืองของฮูลากู สงครามครูเสดเป็นการประกาศสงครามศาสนาระหว่างมุสลิมกับคริสต์เตียน Pope Urban ได้ประกาศที่เมืองเคลอร์มองค์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 1095โดยการเรียกร้องให้ชาวคริสต์เตียนที่มีความศรัทธาร่วมพลังในการต่อต้านและทำสงครามกับมุสลิม โดยที่มีจุดประสงค์หลักคือ เปลี่ยนศาสนาของมุสลิมให้เป็นคริสต์เตียน จากสงครามครูเสดที่ยาวนานประกอบด้วยฝ่ายมุสลิมเกิดความขัดแย้งภายในกันเอง จนในที่สุดอาณาจักรอิสลามที่ยิ่งใหญ่ก็ได้ถึงเวลาการล่มสลาย ผลกระทบจากสงครามครูเสดได้นำมาซึ่งความอ่อนแอของมุสลิมในด้านต่างๆอย่างเด่นชัด จนในที่สุดมุสลิมไม่อาจที่จะชี้นำประชาคมมุสลิมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเปิดโอกาสให้ขบวนการไซออนิกสต์สากลและขบวนการคริสต์เตียนปรับเปลี่ยนความคิดของประชาคมมุสลิมโดยผ่านกระบวนการต่างๆที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นระบบการสื่อสารมวลชน และระบบการพัฒนาสังคมในแนวใหม่อันเป็นต้นเหตุทำให้ประชาสังคมมุสลิมบางส่วนเข้าใจว่าการพัฒนาหรือความเจริญคือ ความเป็นตะวันตก
            การบุกยึดของฮูลากูต่อดินแดนมุสลิมจนในที่สุดฮูลากูได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำของอาณาจักรอิสลามในช่วงเวลาสั้นๆ แต่วิถีชีวิตแบบฮูลากูทรงมีอิทธิพลต่อประชาคมมุสลิมและได้หล่อหลอมสร้างวัฒนธรรมการมีชีวิตอยู่แบบฟุ่มเฟือยรวมถึงการสะสมหญิงทาสเป็นบารมีที่แสดงให้เห็นถึงความมีอำนาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งทำให้ความเป็นอยู่ของผู้หญิงนั้นตกต่ำ Philip K. Hitti 1970 ได้กล่าวว่าระบบฮาเร็มที่ได้รวบรวมทาสหญิงสาวที่งามและทาสชายเพื่อเป็นขันที นั้นได้ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปในสังคมมุสลิมและกิจกรรมภายในฮาเร็มนั้นจะประกอบด้วยการร้องรำทำเพลงและการเสพของมึนเมาเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินอันเป็นวิถีชีวิตแบบหนึ่งในสังคมชั้นสูงในสมัยนั้น
            จากสาเหตุปัจจัยทั้งภายในและภายนอกดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทำให้สถานภาพของผู้หญิงในยุคหลังของสังคมมุสลิมจะไม่ค่อยได้รับความสนใจจากสังคมมากนัก จนในที่สุดกลายเป็นที่มาของคำกล่าวขานที่ว่าผู้หญิงมุสลิมเป็นผู้ที่ถูกลกทอนสถานภาพและถูกกดขี่ในด้านต่างๆที่รุนแรงที่สุดสังคมหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น