เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การรับรู้ใหม่ในบทบาทของผู้หญิง


การรับรู้ใหม่ในบทบาทของผู้หญิงในอิสลามนั้นเป็นสิ่งท้าทายที่ได้ปรากฏขึ้นตั้งแต่ตอนต้นศตวรรษที่18 เมื่อนักคิดมุสลิมแนวปฏิรูปในโลกมุสลิมได้แสดงทรรศนะเพื่อปลดปล่อยความอ่อนแอและความล้าหลังของสังคมมุสลิมวนด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา การศึกษา สังคม เศรษฐกิจและการเมือง เป็นต้น เป็นยุคเริ่มต้นแห่งการฟื้นฟูโดยการนำหลักการอิสลามอันดั้งเดิม มาเสนอใหม่ที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งมีนักฟื้นฟูเหล่านั้นได้มีข้อสรุปว่ามุสลิมยุคปัจจุบันจำเป็นต้องย้อนกลับศึกษาและทบทวนดูปรากฏการณ์ต่างๆที่ได้บันทึกในอัลกุรอาน การปฏิบัติของท่านศาสดา(ซุนนะฮฺ)และศอฮาบะฮฺ ตลอดจนพี่น้องมุสลิมในยุคต้นที่ได้ยึดรูปแบบการปฏิบติตามอัลกุรอานและสุนนะฮฺอย่างเคร่งครัด ดังข้อสรุปของ Al-Faruqi(1974) ได้กล่าวว่า ความล้มเหลวของแนวคิดที่เป็นจารีตนิยมกับการนำเสนอกระบวนการคิดภายใต้กรอบความคิดของอิสลาม และการปฏิรูปสถาบันต่างๆสู่ความเป็นสมัยใหม่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคมเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการรับรู้ใหม่ในบริบทที่เป็นอิสลาม
            ท่านอิบนูตัยมียะหฺ นักปฏิรูปที่สำคัญคนหนึ่งของโลกมุสลิม ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเข้าใจถึงสาเหตุแห่งความตกต่ำของประชาชาติมุสลิมที่ดีมากท่านหนึ่ง โดยที่ท่านได้นำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาในสภาวะการตกต่ำและเสื่อมสลายของประชาคมมุสลิมในด้านต่างๆนั้นว่ามีเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่สามารถจะกอบกู้และแก้ปัญหาได้ คือ ประชาคมมุสลิมจะต้องหวนกลับเรียนรู้และทำความเข้าใจในแนวปฏิบติของมุสลิมยุคดั้งเดิม(คือแนวปฏิบติในสมัยของท่านศาดามและศอฮาบะฮฺเป็นหลัก) ดังที่ทราบกันดีว่าในสภาวการณ์ที่ประชาคมมุสลิมอ่อนแอนั้นมุสลิมพยายามปกป้องอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมอย่างที่สุด จนบางครั้งทำให้มีความคิดในลักษณะของชายขอบอันเนื่องมาจากความเกรงกลัวในการรับหรือปฏิสัมพันธ์กับแนวคิดสมัยใหม่ทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองได้
ดังนั้นมันจึงเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้การรับรู้ใหม่ในบทบาทของผู้หญิงในอิสลามนั้นไม่สามารถที่จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว แนวคิดอิสลามที่เกี่ยวกับบทบาทผู้หญิงในการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมนั้นมีความต้องการที่จะได้รับพิจารณาจากนักวิชาการทางด้านอิสลามศึกษาที่มีความเข้าใจตัวบท และเข้าใจในตัวบริบททางสังคมที่ลุ่มลึกและกว้างไกล นั้นคือความเป็นนักวิชาการอิสลามศึกษาที่มีวิสัยทัศน์นั้นเอง ดังนั้นในการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้หญิงในอิสลามที่ยั่งยืน การรับรู้ใหม่ในเรื่องเกี่ยวกับสถานภาพและบทบาทของผู้หญิงในอิสลามจำเป็นที่จะต้องให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ในกระบวนการปฏิรูปสามเรื่องที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิรูปทางด้านสังคม-การเมือง การปฏิรูปทางด้านการศึกษาและสนองความต้องการของประชาชาติมุสลิมต่อรูปแบบการพัฒนาในแบบฉบับของอิสลาม
            Jamaluddin al al-Afghani(1838-1897 C.E) นักปฏิรูปทางสังคมและการเมืองที่สำคัญของโลกมุสลิมได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับบทบาทของผู้หญิงในอิสามที่น่าสนใจ คือ ท่านกล่าวว่าความแตกต่างของบทบาทระหว่างชายและหญิงในสังคมมุสลิมนั้นสาเหตุมาจากความแตกต่างทางด้านการศึกษาเป็นหลัก มันเป็นด้วยเพราะความแตกต่างของวัฒนธรรมแต่ไม่ใช่ด้วยสาเหตุธรรมชาติที่แตกต่างกันไม่ ดังนั้นการที่ชายมีโอกาศแสดงบทบาทต่างๆในสังคมอย่างอิสระแต่ในขณะเดียวกันผู้หญิงจะต้องแสดงบทบาทที่อยู่ภายในครอบครัวเป็นเช่นการดูแลลูกและอื่นๆนั้น สืบเนื่องจากการศึกษาที่ทั้งสองได้รับไม่เท่าเทียมกัน หากว่าทั้งสองได้รับโอกสในการศึกษาที่เท่าเทียมกันแล้ว ท่านเชื่อว่าผู้หญิงจะต้องมีศักยภาพในการแสดงบทบาทต่างๆในสังคมที่เท่าเทียมกับชายทุกประการ และท่านยังมีความเชื่ออีกว่าชาติและสังคมมีความต้องการพลังการสร้างสรรค์ของผู้หญิงในการพัฒนาสังคมและประเทศอีกมากมาย (Haji Othman,1992)
            ผลกระทบที่เกิดจากการเสื่อมสลายอัตลักษณ์ของประชาชาติมุสลิมในอดีตนั้นมีผลอย่างใหญ่หลวงแม้นว่าในความเป็นจริงประชาชาติมุสลิมในปัจจุบันสามารถปลดแอกและประกาศความเป็นประเทศที่มีเอกราชแต่ปัญหาต่างๆทางด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก จากข้อมูล (Al-islam IX,1993) ปรากฏว่าประเทศมุสลิมที่มีเอกราชทางการเมืองแต่ประชาชนไม่รู้หนังสือมากกว่าร้อยละ 50-95 ของประชากรทั้งหมดมีจำนวนหลายสิบประเทศ แน่นอนประชาชาติมุสลิมในจำนวนนั้นจะมีจำนวนของผู้หญิงที่ไม่รู้หนังสือมากกว่าผู้ชายหลายเท่าตัว  Muhammad Abduh ได้ดำเนินการแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในสังคมมุสลิมโดยที่ท่านเน้นการให้ความรู้เรื่องสิทธิการศึกษาในอิสลามของผู้หญิงเป็นหลัก จนในที่สุดสังคมมุสลิมได้กำเนินระบบการศึกษาให้กับผู้หญิงอย่างเป็นระบบขึ้น เช่น ในปี1962 มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรได้เปิด และในปี1980 ได้มีการจัดสัมมนาร่วมระหว่างสถาบันต่างๆในประเทศคูเวตโดยมีมหาวิทยาลัยแห่งคูเวต ได้จัดสัมมนาเรื่องสถานภาพและบทบาทของสตรีในสังคม ซึ่งถือว่าเป็นการจุดประกายและกระแสการรับรู้ใหม่ในเรื่องผู้หญิงในสังคมอิสลามในยุคสมัยใหม่
            ความต้องการของประชาชาติมุสลิมต่อการพัฒนารูปแบบของอิสลาม เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องทำการปฏิรูป คือ การบริการทางสังคมโดยมีเพศชายเพียงเพศเดียวนั้นไม่อาจที่จะเติมเต็มความต้องการของสังคมอิสลามได้อย่างเต็มร้อย พลังการสร้างสรรค์ของผู้หญิงในสังคมอิสลามนั้นยังมีความต้องการในระดับที่สูง ประสบการณ์ในการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจเชิงเกษตรกรรมได้แสดงให้เห็นถึงภาพที่ชัดเจนที่สุดว่าพลังในการพัฒนาส่วนนี้ สังคมมุสลิมจะขาดพลังของผู้หญิงไม่ได้ ดังที่ได้ปรากฏในสังคมมุสลิมโดยทั่วไปรวมทั้งสังคมอิสลามในสมัยท่านศาดามูฮัมมัดในเมืองมะดีนะฮฺ โดยที่ผู้หญิงมุสลิมจำนวนมากในสมัยนั้นได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางเกษตรกรรมเคียงบ่าเคียงไหล่กับสามีหรือครอบครัว[1] เป็นต้น แม้นว่าโดยธรรมชาติของผู้หญิงต้องมีหน้าที่ในการเลี้ยงดูและอบรมลูกเป็นหลัก แต่นั้นหาใช่ว่าตลอดชีวิตของผู้หญิงจะต้องผูกพันกับภารกิจเหล่านั้นเสมอไป มันจึงไม่มีเหตุผลใดๆที่จะกำหนดกรอบว่าผู้หญิงในอิสลามนั้นห้ามทำกิจกรรมนอกบ้านเพราะจะกระทบกับภารกิจของผู้หญิงอันเป็นธรรมชาติที่ได้ถูกสร้างมา
            จริงอยู่อัลกุรอานได้กำหนดหลักการว่าผู้ชายนั้นต้องมีหน้าที่ในการในการหาปัจจัยทางเศรษฐกิจเพื่อหยังชีพต่อครอบครัว แต่นั้นหาใช่ว่าเป็นการห้ามมิให้ผู้หญิงในอิสลามทำกิจกรรมในการหาปัจจัยทางเศรษฐกิจด้วยแต่มันเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้หญิงในการที่จะต้องทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นภรรยาและแม่ของลูกเท่านั้นเอง แน่นอนพันธกิจในการสร้างสรรค์พัฒนาสังคมประเทศชาติในอิสลามนั้นมีนัยยะที่กว้าง คือ ต้องความเสียสละของผู้ชายและผู้หญิงในสังคมอิสลามที่เท่าๆกัน ดังที่ ฟารูกี ได้กล่าวเอาไว้ว่า ชีวิตในโลกนี้ไม่อนุญาตให้มนุษย์อบยู่อย่างขาดหลักการเสียสละ (Faruqi,1973) ดังที่เราได้ยอมรับโดยดุษฏีแล้วว่าโลกนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ทั้งสองเพศ ดังนั้นโดยหลักการในเชิงความรับผิดชอบทั้งสองเพศ คือ ชายหญิงในการพัฒนาสังคมอีกมากมายเพื่อที่จะแก้ปัญหาโรคร้ายที่รุมเร้าสังคม เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาการไม่รู้หนังสือ ปัญหายาเสพติด ปัญหาทางศีลธรรม และปัญหาการขาดความกตัญญูรู้คุณของเยาวชน เหล่านี้เป็นต้น
            การปฏิรูปความคิดประชาติมุสลิมต่อการพัฒนาในรูปแบบอิสลามนั้น คือ ต้องทำความเข้าใจว่าการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ คือ ข้อกำหนดในอิสลามประการหนึ่ง ดังที่ ฟารูกี กล่าวว่า การปฏิบัติทางเศรษฐกิจ คือ การแสดงออกของความศรัทธาในอิสลาม และอีกสำนวนหนึ่งที่กล่าวโดย iqbal   ซึ่งเป็นนักคิดมุสลิมชาวอินเดียที่ยิ่งใหญ่ โดยที่ท่านได้กล่าวว่า การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง คือ การแสดงออกของความศรัทธาในอิสลาม (Faruqi,1982) ภารกิจข้อหนึ่งของมุสลิม คือ การพัฒนาโลกด้วยการสร้างความสมบูรณ์ทั้งในด้านธัญญาหารและปัจจัยอื่นๆที่มีความจำเป็น อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่สำคัญในรูปแบบการพัฒนาในอิสลามนั้น คือ การพัฒนาทั้งหมดต้องตั้งอยู่บนหลักการอัตเตาฮีต คือ การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจต้องควบคู่กับการพัฒนาทางจิตวิญญาณ(อะกีดะฮอิสลามิยะฮ)ของมุสลิมควบคู่ด้วยกัน หรือ การพัฒนาที่รวมศูนย์ในหลักการความเป็นเอกภาพของอัลลอฮฺ คือ หลักการแห่งอัตเตาฮีตนั้นเอง



[1] ดังเช่นอัสมาอ บินติ อบูบักร น้องสาวท่านหญิงอาอีชะห์ เป็นเกษตรกรตัวอย่างของผู้หญิงในอิสลามที่ได้พัฒนาร่วมกันกับสามีซุบิร บิน เอาวาม (Ali Abdul wahab,1967,Al-Marah fil islam,Cairo-Arabic)
��่Q � � � p� � ��ียมกับผู้ชายทุกประการ หลักการอิสลามได้เน้นหนักในเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นพันธะกิจที่คนทั้งสองเพศจะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันคือ การให้ความร่วมมือในการประกอบความดีและการปกป้องปราบปรามในอันที่จะนำมาซึ่งความชั่วร้าย ดังที่อัลลอฮฺได้บัญญัติไว้ในอัลกรุอานไว้ความว่า “และพวกเจ้าจงช่วยเหลือกันในเรื่องคุณธรรมและความยำเกรงแต่พวกเจ้าอย่าได้ช่วยเหลือกันในเรื่องบาปและความเป็นศัตรูกัน(อัลกรุอาน5:2)กิจกรรมทางด้านการเมืองเป็นบทบาทของมุสลิมทุกคน(ชายและหญิง) ต้องร่วมกันรับผิดชอบในฐานะที่ทั้งสองเพศต่างได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเคาะลีฟะฮฺของพระองค์บนพื้นพิภพ สถานภาพของผู้หญิงในอิสลามด้านการเมืองการปกครองคือสถานะเดียวกันกับเพศชายโดยที่อิสลามได้กำหนดให้ทั้งสองเพศมีความรับผิดชอบร่วมกันโดยเฉพาะการธำรงไว้ซึ่งระบบการปกครองที่มีอัลกรุอานเป็นธรรมนูญและสุนนะฮฺของท่านศาสดาเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติในเรื่องนี้อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในอัลกรุอานความว่า และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงต่างคนต่างเป็นมิตรของกันและกันพวกเขาใช้แต่การดีห้ามสิ่งต้องห้าม พวกเขาดำรงละหมาด บริจาค ซะกาต ภักดีต่ออัลลอฮฺและศาสนฑูตของพระองค์พวกเขาเหล่านนั้นอัลลอฮฺจะทรงเมตตาเขาแน่นอนแท้จริงอัลลอฮฺทรงอำนาจอีกทั้งปรีชาญาณยิ่ง อัลกรุอาน9:17

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น