เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

บทที่ 7 บทส่งท้าย

บทที่ 7

เป็นหนังสือที่ใช้สอนใน ของคณะอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี
โดย อาจารย์ อับดุลเลาะ การีนา มีทั้งหมด 7บท ต่อมาด้วยหะดีษต่างๆอีก 4 บทนะ

บทส่งท้าย


หะดีษนบีเป็นส่วนหนึ่งของวะฮฺยูอัลลอฮฺ Y ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของบัญญัติอิสลามรองจากอัลกุรอาน มุสลิมทุกคนวาญิบต้องน้อมรับและนำมาใช้เป็นหลักฐานตลอดจนนำมาปฏิบัติในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามและเรื่องทางโลกเมื่อสามารถยืนยัน   หะดีษนั้นๆว่ามาจากท่านนบีมุฮัมมัด r จริงโดยใช้หลักการและกฎเกณฑ์ของวิชามุศเฎาะละหฺ อัลหะดีษและวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การนำหะดีษมาใช้เป็นหลักฐาน และปฏิบัติตามนั้นเป็นการแสดงถึงการจงรักภักดีต่อคำสั่งของอัลลอฮฺ Y ที่ให้มุสลิมทุกคนน้อมรับในหะดีษของท่านนบีมุฮัมมัด r ดังที่ปรากฏใน อัลกุรอาน
] وما آتاكم الرسول فخذوه وما نهاكم عنه فانتهوا [
ความว่า และสิ่งที่ท่านเราะสูลของพวกเจ้าได้นำมาจงรับมันไว้ และสิ่งที่ท่าน เราะสูลของพวกเจ้าห้ามจงละทิ้งมันเสีย” (อัลหัชรฺ : 7)
อิมามอัชชาฟิอีย์อธิบายว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านนบีมุฮัมมัด r ได้ปฏิบัติหรือแสดงออก เป็นแบบฉบับนั้น อัลลอฮฺ Y บังคับให้ปฏิบัติตามซึ่งเป็นการแสดงถึงการเคารพภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺ Y และเราะสูลุลลอฮฺ r ส่วนการหลีกเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามหะดีษถือเป็นมุอฺศิยะฮฺและไม่แสดงตนเป็นคนน้อมรับคำสั่งของอัลลอฮฺ Y เพราะการปฏิบัติตาม  หะดีษเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
ตามความเป็นจริงแล้วการปฏิบัติตามหะดีษ หรืออัสสุนนะฮฺนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับมุสลิมเพราะเป็นการเลือกวิถีทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและเป็นการปฏิบัติตามผู้ที่ได้รับคัดเลือกจากอัลลอฮฺ Y มาเป็นแบบอย่างอันดีงามในทุก ๆ ด้านสำหรับมนุษยชาติ โดยเฉพาะมุสลิมที่ศรัทธายิ่งในอัลลอฮฺ Y และเราะสูลุลลอฮฺ r และห้ามปฏิบัติขัดแย้งกับคำพูดและการปฏิบัติของท่านนบี r อัลลอฮฺ r ทรงตรัสไว้ว่า

] فليحذر الذين يخالفـون عن أمـره أن تصيبهم فتنـة أو يصيبهم
عذاب أليم [
ความว่า ดังนั้นก็จงระวังพวกที่ปฏิบัติขัดแย้งกับการปฏิบัติของท่าน (นบี) พวกเขาจะประสบกับฟิตนะฮฺหรือพวกเขาจะพบกับความหายนะที่แสนสาหัส” (อันนูร : 63)
อัลหะซัน อัลบัศรีย์ กล่าวว่า การศรัทธานั้นไม่ใช่เป็นความฝันและไม่ใช่เป็นการแสดงออกที่ลอย ๆ เท่านั้น แต่การศรัทธานั้นเป็นการปฏิบัติอย่างจริงจังและน้อมรับด้วยการกระทำตามข้อบัญญัติต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ในอัลกุรอาน”  ก็เช่นเดียวกันกับการศรัทธาต่อ  เราะสูลุลลอฮฺ r   ด้วยการปฏิบัติตามหะดีษหรืออัสสุนนะฮฺ ซึ่งแสดงถึงการรักเราะสูลุลลอฮฺ rและยกย่องท่าน อัลลอฮฺ Y ทรงตรัสไว้ว่า
] قل إن كنتم تحبون الله فاتبعوني يحببكم الله ويغفر لكم ذنوبكم [
ความว่า จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด r) ว่า หากพวกเจ้ารักในอัลลอฮฺ ก็จงปฏิบัติตามฉัน (ท่านนบี r) แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงรักพวกเจ้า และพระองค์พร้อมให้อภัยพวกเจ้าเสมอ” (อัลอะหฺซาบ : 21)
อิมามอิบนุ อัลกอยยิม กล่าวว่า เราได้ยินหลายต่อหลายคนเมื่อคนที่ตนให้ความเคารพปฏิบัติสอดคล้องกับหะดีษของท่านนบีมุฮัมมัด r มักจะอ้างว่าเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว  แต่เมื่อการปฏิบัติของคนนั้นขัดแย้งกับหะดีษซึ่งมาจากการรายงานของคนอื่น  มักจะกล่าวว่า  การปฏิบัติตามหะดีษนั้นสำหรับผู้รายงาน  ไม่ใช่ผู้ที่ฟังหรือผู้ที่เห็น”   การอ้างในลักษณะเช่นนั้นเป็นการอ้างอย่างไร้เหตุผลและไม่มีความรับผิดชอบต่อหะดีษของท่านนบี เพราะหะดีษไม่ได้กำหนดมาเฉพาะตัวบุคคลที่มีลักษณะหนึ่งลักษณะใดเท่านั้น  แต่เป็นบทบัญญัติสำหรับทุกคนที่ศรัทธาต่อท่านนบี r ไม่ว่าจะสอดคล้องกับการปฏิบัติของเขาหรือไม่ก็ตาม 
ในทางมารยาทแล้ว สิ่งเดียวเท่านั้นที่อนุญาตให้กล่าวเช่นนั้นได้ คือ ในสิ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหะดีษที่ไม่ถูกต้องหรือหะดีษที่ไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้เท่านั้นเช่น หะดีษเฎาะอีฟญิดดัน หะดีษเมาฎูอฺ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่มาจากอิสรออีลิยะฮฺ  เนื่องจากการนำหะดีษเหล่านั้นมารายงานหรือใช้เป็นหลักฐานเป็นการเลือกสิ่งที่ผิด และจะนำมา ซึ่งความเสียหายต่อหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนาโดยเฉพาะเรื่องอะกีดะฮฺ  อิบาดะฮฺ  หุก่มหะกัม หะลาลและหะรอม มุนากะฮาต เป็นต้น  และอีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ  การนำหะดีษเหล่านั้นเป็นหลักฐานเป็นการปฏิบัติในสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺ (อุตริกรรมในเรื่องศาสนาซึ่งสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺทั้งหลายควรแก่การหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด แม้แต่นำหะดีษดังกล่าวมารายงานเป็นที่ต้องห้ามเหมือนกันเพราะแสดงถึงการชี้นำให้คนอื่นหลงผิดจากหลักคำสอนที่ถูกต้อง อะบูฮุรอยเราะฮฺ t เล่าว่า เราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่า
(( من دعا إلى هدى فله أجر مثل الأجور من تبعه لا ينقص ذلك شيئاً، ومن دعا إلى ضلالة فله أجر مثل الأجور من تبعه لا ينقص ذلك شيئاً ))
ความว่า ผู้ใดเชิญชวน (แนะนำคนอื่น) ที่เป็นทางนำ เขาจะได้รับผลบุญเหมือนกับผลบุญของผู้ปฏิบัติจริงโดยผลบุญนั้นไม่ลดแม้แต่นิดเดียว และผู้ใดเชิญชวน (ชี้แนะคนอื่น) ในทางที่หลงผิด เขาจะได้บาปเหมือนกับบาปของผู้ปฏิบัติจริงโดยบาปนั้นไม่ลดแม้แต่นิดเดียว” (อัตติรมิซีย์ : 4/149 ท่านกล่าวว่า:  หะดีษนี้เป็นหะดีษหะสันเศาะหีหฺ)
ดังนั้น  มุสลิมทุกคนควรปฏิบัติตามหะดีษที่ถูกต้องสามารถยืนยันว่าเป็นหะดีษ นบีจริงพร้อมกับแนะนำให้คนอื่นปฏิบัติด้วย ในทางตรงกันข้าม มุสลิมไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะนำหะดีษผิดๆ มาปฏิบัติแล้วอ้างว่าเป็นหะดีษของท่านนบีมุฮัมมัด r ยิ่งกว่านี้      ยังแนะนำให้คนอื่นปฏิบัติอีกด้วย ลักษณะเช่นนี้เป็นการโกหกต่อเราะสูลุลลอฮฺ r


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น