เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คอลีฟะฮ “อบูบักร” โดยละเอียด ตอนที่ 1





โดยอาจารย์ รอฟลี แวหะมะ อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา  มอ.ปัตตานี ชำนาญการด้านประวัติศาสตร์อิสลาม โดยเฉพาะ


1. ชีวิตปฐมวัยเเละการเข้ารับอิสลามของอบูบักร

1.1   ครอบครัวของอบูบักร
            ท่านอบูบักรที่ถูกเลือกโดยเผ่ามูฮายีรีน และเผ่าอันศ็อร  ชื่อเต็มของท่าน  อับดุลลอฮ บินอาบีกอฮาฟะฮอุษมานบินอุมัร  บินกาอับ  บินซาอีด   บินตัยยิม   บินมุรเราะฮ. บินกาอับ  บินลุออี  บินฆอลิบ   บินฟัรฮ. อัตตามีมี   อัลกุร็อย  (musthafa    abbdul    rahman  ,   1975 )
            ชื่อเดิม    อับดุลกะบะฮ. และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอับดลลอฮ.โดยท่านรอซูล   ( ขอความจำเริญและสันติจงมีแด่ท่าน  )    ในสมัยอิสลาม
            การเกิด    ท่านเกิดที่นครมักกะฮ.  2ปีหลังจากท่านนบีเกิด
            กาเข้ารับอิสลาม   ท่านเป็นคนแรกที่นับถือศาสนาอิสลามด้วยความสมัครใจและท่านเป็นผู้ที่ติดตามท่านรอซูลไปยังถ้ำหิรอฮ.   และการฮิจเราะฮ.ไปยังนครมาดีนะฮ. (mushafa    abbdul   rahman  ) ดังในหะดิษของท่านนบีมีความว่า
            “จากอัมมาร  อิบนุยาสิรเล่าว่า  ฉันเห็นท่านรซูล(ความจำเริญและความสันติจงมีแด่ท่าน)และผู้ที่มาพร้อมกับท่าน(เพื่อเข้ารับอิสลาม) เป็นทาสถีงห้าคน  หญิงสองคนรวมอบูบากันอีกหนึ่งคน”  (รายงานโดยบูคอรี  เล่มที่5 หน้า135:197)
            บิดาของท่านชื่อ  อาบูกอฮาฟะฮ.   ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาทั่วไป   และไม่เป็นที่รู้จักของคนในนครมักกะฮ.และเผ่าตัยยิมโดยทั่วไปแล้วไม่มีอิทธิพลเช่นกัน   ทั้งทางด้านเศรษฐกิจหรือการเมือง  ยกเว้นคนเดียวเท่านั้นที่เป็นที่รู้จัก   คือ  อับดุลลอฮ.บิน ยัดอัน   ท่านเป็นผู้นำเผ่าตัยยิม   และเป็นที่รู้จักในนามของพ่อค้าในมักกะฮ.   และท่านเคยเป็นสมาชิกร่วมมือ (mala)  ซึ่งเป็นสมาคมหนึ่งที่มีชื่อเสียงที่ประกอบไปด้วยเผ่าต่าง ๆที่มีเป็นที่รู้จักในนครมักกะฮที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ที่ยากจน   และถูกข่มเหง     และท่านเป็นบุคคลที่ร่ำรวย
            มารดาของท่านชื่อ    ซัลมา   บินติซัคร  เป็นที่รู้จักในนาม   อุมุล   ค็อยร   เป็นบุคคลที่มาจากเผ่าตัยยิมเช่นเดียวกัน    (  mahaudin   hj    yahaya    ahmad     jelani    halimi ,   1994  )
            ลักษณะนิสัยของท่านอบูบักรถูกอบรมสั่งสอนด้วยมารยาทที่ประเสริฐ  เป็นคนดี   มีจิตใจเอื้ออาทร   ซื่อสัตย์สุจริต   มีวาจาที่สุภาพอ่อนโยน   มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี    จงรักภักดีต่อท่านนบี   ชอบทำความดี    ยกย่องผู้ทำความดี    และเกลียดผู้ทำความชั่ว  (musthafa   abbdul     rahman  ,  1975 )
            ดังในหะดีษของท่านนบี    ซึ่งมีความว่า
            จากอิบนุอุมัรเล่าว่า   พวกเราเคยเปรียบเทียบประชาชนในสมัยท่นรอซูล  (ขอความจำเริญจงมีแด่ท่าน)
ว่าใครเป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุด    พวกเราได้เลือกอบูบักรเป็นคนที่ดีที่สุดต่อจากท่านรอซูล    ต่อมาคืออุมัรและอุษมานตามลำดับ    (รายงานโดยท่านบุคอรี    เล่มที่   5   หน้า  7: 7 )
            จากนิสัยของท่านที่มีลักษณะเช่นนั้น   ทำให้ท่านได้รับสมญานามว่า   อยูบักร   และหลังจากนั้น   อัลซิดด๊ก      การที่ท่านได้รับสมญานามดังกล่าวนั้น  เพราะท่านเชื่อในแนวทางทุกอย่างที่นบีได้เผยแพร่     ในระหว่างนั้นมีสมญานามว่า     atiq  (อะติ การที่ท่านได้รับสมญานามเช่นนั้นเพราะท่านยอมเสียสละทรัพย์สินเงินทองในแนวทางของอัลลอฮ.
            ท่านอบูบักรเป็นชาวกุร็อยซ   ที่เป็นที่รู้จักในหมู่พ่อค้า    ท่านจะเกี่ยวข้องในกิจการการค้า    ทั้งในนนครมักกะฮ.     ท่านเคยทำการค้าในปาเลสไตน์และบัสรา   (ซีเรีย )   อย่างไรก็ตามการลงทุนการค้าไม่มากเท่าที่คาดไว้   คือ   4,000  ดิรฮัมเทานั้น  ซึ่งกำไรที่ได้จากการทำการค้านั้นนำไปใช้เพื่อความสุขส่วนตัวและสังคม
                ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับพันธุศาสตร์    คนอาหรับส่วนใหญ่ได้เรียนจากท่านอบูบักร   และบีนด้รับความช่วยเหลือจากท่านในด้านการปกครอง   ซึ่งท่านเป็นผู้รู้ความสัมพันธ์ระหว่างชนเผ่าอาหรับในเขตอาหรับ
                   ภรรยาของท่านอบูบักรมีทั้งหมด   4   คน   แต่งงานก่อนอิสลาม  2    คน  และในสมัยอิสลาม     ภรรยา  2คนแรกก่อนอิสลามคือ  ท่านหญิง    อูมุลรุมมาน   บนติอัลฮาริษ   มาจากเผ่าอัลกีนานะฮ.ได้กำเนิดบุตรชายชื่อ   ท่านอับดุลรอฮมาน  และบุตรสาวชื่อ   อาอีฉะ   ซึ่งหลังจากนั้นได้แต่งงานกับท่านนบีมูฮัมหมัด  ผขอความจำเริญจงมีแด่ท่าน  )     และภรรยาคนที่  2    คือ  กุตัยละฮ.   บินตีอับดุล  อัลอุซซา  ได้กำเนิดบุตรชายชื่อ   อับดุลลอฮ.     และบุตรสาวชื่อ    อัสมะฮ.    ซึ่งหลังจานั้นได้แต่งงานกับ  ซูบีร     อัลเอาวาม   จากเผ่าอัลอุซซา     ภรรยาคนที่  2   นี้     (กุตัยละฮ.ได้ถูกหย่าร้างเนื่องจากความต้องการของนางเอง    และภรรยาคนแรกในอิสลาม  คือ  ท่านหญิง  ฮาบีบะฮ.   บินติคอยรียะฮ.   มาจากเผ่าคอจรัช    การแต่งงานครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากภรรยาคนแรกของท่านไดเสียชีวิต    เมื่อปีที่   ฮิจเราะฮ.   ซึ่งได้กำเนิดบุตรสาวชื่อ   อุมุล   กัลซูม   และต่อมาได้แต่งงานกับ  ฏอลฮะฮ.     บินอุบัยดิลละฮ.   มาจากเผ่าตัยม   หลังจากนั้นท่านก็ได้แต่งงานใหม่กับ  อัสมา   บิตีอุเบ  จากเผ่ากอต  อัม   ซึ่งได้กำเนิดบุตรชายชื่อ   มูฮัมหมัดภรรยาทั้งสองในสมัยอิสามได้อยู่กับท่านจนสิ้นใจพร้อมด้วยลูกอีก  5  คน   คือ   อับดุลรอฮ.มาน   มูฮัมมัด    อาอีฉะ  อัสมะฮ.   และอุมุล  กัลซูม   (mahaydin hj ahmad  jelani  halimi  , 1994 )

1.2  ความประเสริฐของคอลีฟะห์อบูบักรฺ
1.ความประเสริฐในเรื่องคุณงามความดีของท่าน
            มีรายงานจากท่านร่อซูลว่า  ท่านร่อซูลเคยกล่าวเอาไว้ว่า ชื่อของอบูบักรฺนั้นจะถูกเรียกจากสวรรค์  และเขาจะเป็นคนแรกในหมู่ผู้ตามของฉันที่จะเข้าไป”  ( คุณค่าอามาล /652)
หลักฐาน

عن ابى الدرداء رضي الله عنه قال :كنت جالسا عند النبى صلى الله عليه وسلم

اذاقبل ابو بكر اخذا بطرف ثوبه حتى ابدى عن ركبته فقال النبي صلى الله عليه

وسلم  (اماصاحبكم فقد غامر) فسلم وقال يارسول الله :انه كان بيني وبين ابن الخطاب

شئ فاءسراءت اليه ثم ندمت فساءلته ان يغفرلي فابي علي فاءقبلت اليك فقال:(يغفرالله

لك يا ابا بكر )ثلاثا ثم ان مرندم فاءتى منزل ابى بكر فسال:اثم ابوبكر؟فقالو:لا فاتى الى

النب  صلى الله عليه وسلم فسلم عليه فجعل وجه النبي صلى الله عليه وسلم يتمعر حتى

اشفق ابو بكر فجثا على ركبتيه فقال:يارسول الله والله انا كنت اظلم مرتين فقال:النبي

صلى الله عليه وسلم  (ان الله بعثني اليكم فقلتم : كذبت

            ความว่า : จากอบู อัดดัรดาอ เล่าว่าขณะที่ฉันนั่งอยู่กับท่านนบี(ซล)นั้น อบูบะกัร ก็ผลุนผลันเข้ามาหาโดยมือถือชายผ้าเผยให้เห็ยชายเข่าทั้งสอง ท่านนบี(ซล)จึงกล่าวว่า เพื่อนของพวกท่าอยู่ในภาวะคับขันเสียแล้ว อบูบะกัรจึงให้สลาม แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านรสูล(ซล)มีเรื่องเกิดขึ้นระหว่างฉันและอิบนุ อัลคอฎฎอบ(อุมัร)กล่าวคือ ฉันพูดรุนแรง(หยาบคาย)กับเขา ซึ่งฉันเสียใจ ฉันจึงไปขอให้เขา (อุมัร)เพื่อให้อภัยแก่ฉัน แต่เขาก็ไม่ยอม ฉันจึงได้มาหาท่าน ท่านรสูล(ซล)ได้กล่าวว่า โอ้ อบูบะกัรเอ๋ย อัลลอฮจะทรงอภัยให้ท่าน(กล่าวสามครั้ง)ซึ่งเรื่องนี้อุมัรเองก็เสียใจจึงได้ไปที่บ้านของ อบู บะกัรถามว่า อบู บะกัรอยู่ที่ไหน มีผู้ตอบว่า ไม่อยู่อุมัรจึงได้ไปหาท่านนบี(ซล)ให้สลาม ใบหน้าของท่านนบี(ซล)เริ่มเปลี่ยนจน อบู บะกัร รู้สึกสงสาร จึงได้คุกเข่าทั้งสองลง แล้วกล่าวว่า ขอสาบาน ต่ออัลลอฮ โอ้-ท่านรสูล(ซล)ฉันกระทำในสิ่งที่ไม่ชอบธรรม (กล่าวซ้ำสองครั้ง)ท่านนบี(ซล)จึงกล่าวว่า อัลลอฮได้ทรงแต่งตั้งฉันมาในหมู่พวกท่าน(ในฐานะรสูล(ซล))แต่พวกท่าน(ประชาชน)กล่าว(กับฉัน)ว่า ท่าน(ฉัน)โกหก แต่อะบู บะกัรได้กล่าวว่า ท่านพูดความจริง(เผยแพร่ศาสนา) และเขา(อบู บะกัร)ยังได้สละชีวิต ทรัพย์สินของเขาเพื่อฉัน พวกท่านจะปล่อยมิตร(ให้อภัย)ของฉัน เพื่อฉันไม่ได้เชียวหรือ(กล่าวซ้ำสองครั้ง)หลังจากนั้นอบู บะกัรไม่ได้รับการว่าร้ายจากใครอีกเลย


2. ความประเสริฐในเรื่องการใช้จ่าย
ตอนที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์      ท่านไม่ต้องการที่จะเอาเงินค่าตอบแทนจากใบตุลมาลเพียงแต่ส่วนน้อยเท่านั้น  มีครั้งหนึ่งภรรยาของท่านต้องการขนมหวานสักจานหนึ่ง  ท่านอบูบักรตอบว่า ฉันไม่มีเงินพอที่จะจัดหาอาหารเช่นนั้นให้เธอได้หรอก” (คุณค่าอามาล/679) 
ท่านมีทรัพย์สินเพียงน้อยนิดเท่านั้น   หลังจากที่ท่านดำรงตำแหน่งคอลีฟะห์ท่านไม่มีเวลาไปทำธุระกิจค้าขายของท่านเลย  ท่านสละเวลาทั้งหมดของท่านให้กับการบริหารกิจการของรัฐ

3. ความประเสริฐในเรื่องการบริจาค
            ท่านอบูบักรเป็นบุคคลที่บริจาคมากที่สุด  ครั้งหนึ่งท่านอูมัรนำทรัพย์สมบัติของท่านมาบริจาคให้กับท่านร่อซูลครึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่ท่านมี  ท่านร่อซูลถามท่านอูมัรว่า  ท่านได้เหลืออะไรให้กับครอบครัวของท่านบ้างท่านอูมัรตอบว่า ครึ่งหนึ่งพอดี”  หลังจากนั้นท่านอบูบักรได้นำทรัพย์มาบริจาค  ท่านร่อซูลถามท่านอบูบักรว่า ท่านได้เหลืออะไรให้กับครอบครัวของท่านบ้างท่านอบูบักรตอบว่า ฉันได้ทิ้งอัลเลาะห์และศาสนทูตไว้กับเขา”  (คุณค่าอามาล/750)

4. ความประเสริฐในการได้ใช้ชีวิตร่วมทุกข์กับท่านร่อซูล
            ท่านอบูบักรเป็นบุคคลที่อยู่กับท่านร่อซูลตลอดเวลา  ท่านเป็นบุคคลที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับท่านมาโดยตลอดระยะเวลาทั้งแต่ท่านร่อซูลได้เริ่มเผยแพร่ศาสนาอิสลาม

หลักฐานที่ 1

عن أبي بكررضى الله عنه قال قلت للنبي  صل الله عليه وسلم وأنافي الخار لوأن أحدهم
نظر تحت قدميه لا أبصرنا فقال ما ظنك يا أبابكر باثنين الله ثالثهما

ความว่า จากอบูบักรเล่าว่าฉันได้กล่าวกับท่านร่อซูลในขณะที่อยู่ในถ่ำว่า  หากมีใครสักคนจากพวกมุชริกกุเรชมองดูจากเบื้องล่างก็จะเห็นเรา”  ท่านร่อซูลตอบว่า  อบูบักรเอ๋ย  อะไรที่ทำให้ท่านคิดเช่นนั้น  เรามิใช่สองคนแต่มีบุคคลที่สามอีกคืออัลเลาะห์มิใช่หรือ”(หะดิษบุคอรีเล่ม 5/5)
 
หลักฐานที่ 2

عن البراء قا ل : اشترى أبوبكر رضى الله عنه من عازب رحلا بثلاثة عشر درهما

فقال أبوبكرلعازب : مرالبراء فلحمل إلى رحلى فقا ل عازب : لا حتى تحد ثنا كيف
صنعت أنت ورسول الله صلىالله عليه وسلم حين خرجتما من مكة والمشركون
يطلبوانكم؟ قا ل : ارتحلنا من مكة فأحيينا أو سرينا ليلتنا ويومنا حتى أظهرنا وقام قائم
الظهيرة فرميت ببصرى هل أرى من ظل فآ وى إليه؟ فإ ذاصخرة أتيتهمافنظرت بقية
ظل لها فسويته ثم فرشت للنبى صىالله عليه وسلم فيه ثم قلت له : اضطجع يا نبى الله
 ‘ فاضطجع النبى صلى الله عليه و سلم ثم انطلقت أن ظر ما حولى هل أرى من
اطلب أحدا ؟ فإذا أنا براعى غنم يسوق غنمه ألى الصخرةيريد منهاالذى أرد نا فسأ لته
فقلت له : لمن أنت يا غلام؟ فقا ل : لرجل من قريشسماه فعرفته فقلت : هل فى غنمك
من لبن؟ قا ل: نعم قلت: فهل أنت حا لب لنا؟ قا ل: نعمفأمرته فا عتقل شاة من غنمه
ثم أن ينقض ضرعا من الغبارثم أمرته أن ينقض كفيه فقا ل هكذا  ضرب إحدى كفيه
با لأ خرى فحلب لى كثبة من لبن وقد جعلت لرسول الله صلى الله عليه و سلم إداوة على
فمها خرقة فصببت على اللبن حتى برد أ سفلهفانطلقت به إلى النبى صلى الله عليه و
سلم فوافقته قد استيقظفقلت له : اشرب يا رسول اللهفشرب حتى  رضيتثم قلت: قد
آن الرحيل يا رسول الله؟ قا ل: "بلى" فارتحلنا والقوم يطلبوننا فلم يدركنا أحد  منهم
 غير سراقة بن مالك بن جعشم على فرش لهفقلت: هذا الطلب قد لحقنا يا رسول الله
فقا ل :" لا تحزن إن الله معنا " {تريحون} با لعشى {تسرحون} [النحل 2 ] با الغداة.

             ความว่า จากอัลบัรรอฺเล่าว่า   อบูบักรได้ซื้อ ที่นั่งบนหลังอูฐจากอาซิบเป็นเงิน  13  ดิรฮัม   อบูบักรได้กล่าวกับอาซิบว่า จงไปบอกกับอัลบะรออฺให้แบกที่นั่งบนหลังอูฐมาให้ฉันด้วย  อาซิบว่าไม่ได้   จนกว่าท่านจะบอกกับฉันว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับท่าน   ( อบูบักร ) และท่านรสูล (ซล.)  ขณะที่ทั้งสองออกจากมักกะห์  และมีกลุ่มมุชริกออกติดตาม  อบูบักรกล่าว่าพวกเราได้ออกจากมักกะห์เดินทางไปตลอดคืนจนรุ่งอีกวัน ช่วงกลางวันพวกเราได้หาร่มเงาเพื่อที่จะได้จัดเป็นที่พัก   ทันใดนั้นฉันได้ก้าวข้ามไปยังหินก้อนใหญ่ลูกหนึ่งพบที่ร่มเล็กน้อยจึงได้ทำความสะอาดและปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีเพื่อให้ท่านรสูล  (ซล.)  ได้พัก  ณ  ที่ตรงนี้  พร้อมทั้งกล่าวกับท่านว่า  โอ้ผู้เป็นนาบีของอัลลอฮฺขอได้พักตรงนี้เถอะ  ท่านรสูล  (ซล.)จึงได้นอนพักตรงนั้นและฉัน (อบุบักร) ได้ออกไปนอนข้างนอก  มองดูไปรอบๆว่าจะมีใครติดตามมาสักคนไหม   ขณะนั้นฉันได้เห็นคนเลี้ยงแกะไล่ต้อนแกะไปกินน้ำที่ซอกหินนั้นสายตากำลังตรวจสอบมาที่เรา  และพวกเรา (ฉัน) ก็ประสงค์ที่พวกเขาฉันจึงได้ถามเขาโดยกล่าวว่า  เด็กเอ๋ย  ท่านเป็นใคร  เขาตอบว่า  เขาเป็นคนในกลุ่มชาวกุเรชโดยบอกชื่อเขา   ซึ่งฉันก็จำเขาได้  ฉันจึงกล่าวว่า  แกะของท่านให้นมได้หรือยัง   เขาตอบว่า   ได้   ฉันจึงถามว่ามีคนรีดนมให้พวกเราไหม  เขาตอบว่า   มี   ฉันจึงได้วาน (เขารีดนม  เขาจึงได้เข้าไปจับแกะในฝูงมาตัวหนึ่ง  ทำความสะอาดฝ่ามือทั้งสอง  ทำความสะอาดฝุ่นต่างๆที่เต้านมให้เรียบร้อย  รวมทั้งฉันได้วานให้ทำความสะอาดฝ่ามือทั้งสอง  โดยการที่เอามือทั้งสองตบเข้ากัน  หลังจากนั้นเขาก็ได้รีดนมจำนวนเล็กน้อยให้ฉัน   แน่นอนฉันจะต้องเตรียมไว้ให้ท่นรสูล  (ซล.) ในภาชนะหนังฟอก  โดยปิดปากด้วยผ้าและได้รินน้ำใส่ลงไปจนทำให้ส่วนล่างเย็นเสร็จแล้วนำไปให้ท่านรสูล  (ซล.)  ปรากฎว่าท่านตื่นแล้ว  ฉันจึงกล่าวกับท่านว่า   โอ้ท่านรสูล  (ซล.)ขอให้ดื่มเถอะ  ท่านรสูล  (ซล.)  ก็ได้ดื่ม  จนฉันมีความรู้สึกสุขใจ  ต่อจากนั้นฉันได้กล่าวว่า  โอ้ท่านรสูล (ซล.)  ขณะนี้ได้เวลาจะเดินทางแล้ว  ท่านตอบว่า   ตกลง (พวกเราจึงได้ขึ้นพาหนะขณะที่มีพวกมุชริกติดตามอยู่  แต่ก็ไม่พบใครนอกจากสุรอเกาะฮฺ  อิบนุ  มาลิก  อิบนุ  ญัวะอฺซัมขี่ม้าตามมา   ฉันกล่าวว่า  นี่เป็นผู้ตามที่พบพวกเรา  โอ้ท่านรสูล  (ซล.)  ท่านรสูล  (ซล.) ตอบว่า  ท่านอย่าได้ทุกข์ใจใดๆเพราะอัลลอฮฺทรงอยู่กับเราเสมอ  

5. ความประเสริฐของอบูบักรต่อท่านร่อซูล
            ท่านอบูบักรเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความผูกพันกับท่านร่อซูลมากยิ่งกว่าเพื่อนและมากยิ่งกว่าคู่รัก ดังมีรายงานกล่าวว่า

หลักฐานที่ 1

عن أبي سعيد الخدري رضي لله عنه قال خطب رسول لله صل الله عليه وسلم

الناس وقال إن الله خير عبدا بين الدنيا وبين ما عنده فاختارذلك العبد ما عند الله

قال فبكى أبوبكرفعجبنا لبكائه أن يخبر رسول لله صل الله عليه وسلم عن عبد

خيرفكان رسول لله صل الله عليه وسلم هوالمخيروكان أبوبكرأعلمنا فقا رسول لله

صل الله عليه وسلم إن أمن الناس علي في صحبته وماله أبوبكر ولوكنت متخذا

خليلا ولكن أخوة الإسلام ومودته لا يبقين في المسجد باب إلا سد إلا باب أبي بكر.

 ความว่า  จากอบูสะอีด อัลคุดรี เล่าว่า  ท่านร่อซูลได้กล่าวคุตบะห์ต่อประชาชนว่า  อัลเลาะห์จะทรงให้บ่าวเลือกเอาระหว่างโลกนี้และสิ่งที่มีอยู่ ณ พระองค์  เขาเล่าอีกว่า อบูบักรได้ร้องไห้  พวกเราต่างแปลกใจในการร้องไห้ของอบูบักร  และปรากฏว่าท่านร่อซูล  คือผู้ที่เสนอข้อเปรียบเทียบ  ส่วนอบูบักรก็ได้บอกให้เราทราบเช่นนั้น   ท่านร่อซูลได้กล่าวว่า  บุคคลที่มีความกรุณามากที่สุด  ในหมู่ประชาชนสำหรับฉันในความเป็นเพื่อน  ในเรื่องของทรัพย์สิน  คืออบูบักร  หากฉันจะหาคอลีลสักหนึ่งคน  นอกจากพระผู้เป็นเจ้าของฉันแล้ว  ฉันก็จะเอาอบูบักรนี้แหละเป็นคอลีล  แต่ความเป็นพี่น้องร่วมศาสนาอิสลามและความรักของเขาไม่มีประตูใดในมัสยิดจะเหลืออยู่  นอกจากจะถูกปิดยกเว้นประตูบ้านของอบูบักร ( หะดีษบุคอรีเล่ม 5/6)

หลักฐานที่ 2

عن إبن عمررضى الله عنهما قال كنا نخيربين الناس في زمان رسول لله صل

الله عليه وسلم فنخيرأبا بكرثم عمر ثم عثمان رضى الله عنهم

ความว่า จากอิบนุ  อูมัรเล่าว่า  พวกเราเคยเปรียบเทียบประชาชนในสมัยท่านร่อซูลว่า  ใครเป็นบุคคลที่ดี  พวกเราได้เลือกอบูบักรเป็นบุคคลที่ดีที่สุดต่อจากท่าน่อซซูลต่อมาคืออูมัรและอุสมานตามลำดับ (หะดีษบุคอรีเล่ม 5/7)

หลักฐานที่ 3

عن ابن عباس رضى الله عنهما عن النبي صل الله عليه وسلم قال لوكنت متخذا

خليلا لاتخذت ابابكرولكن أخي وصاحبي.

ความว่า  จากอิบนุอับบาสเล่าว่า  ท่านร่อซูลกล่าวว่า  หากฉันประสงค์จะเลือกคอลีลแล้ว  ฉันก็จะเอาอบูบักรเป็นคอลีล  เพราะเขาเป็นพี่น้องของฉัน  และเป็นเพื่อนของฉันในความเป็นอิสลาม
                                                                                                         (หะดีษบุคอรีเล่ม 5/8)

หลักฐานที่ 4

عن أيوبلا وقال لو كنت متخذا خليلا لا تخذته خليلا ولكن أخوة الإسلام افضل
ความว่า  จากอัยยูบเล่าว่า  ท่านร่อซูลกล่าวว่า  หากฉันประสงค์จะเลือกคอลีล  ฉันจะต้องเลือกเขา(อบูบักร)เพราะควาทเป็นพี่น้องในอิสลามในนั้นประเสริฐสุด  (หะดีษบุคอรีเล่ม 5/9)

หลักฐานที่ 5
           
عن عبد الله ابن أبي مليكة قال كتب أهل الكوفة إلى إبن الزبير في الجد فقال أما الذي قال

رسول لله صل الله عليه وسلم لوكنت متخذا من هذه الأمة خليلالا تخذته أنزله أبا يعنى

أبا بكر.
ความว่า  จากอับดุลเลาะห์ อิบนุ อบีอุมัยกะฮ์  ชาวกุฟะได้มีบันทึกจดหมายไปถึงอิบนั อัชซุบัยรฺ(บันทึกตอบว่า  สิทธิในการรับมรดกของปู่เช่นเดียวกับบิดา  กรณีที่บิดาเสียชีวิตก่อน) กล่าว (บันทึก) อีกว่า  อนึ่งท่านร่อซูลกล่าวว่า  หากฉันประสงค์จะเลือกคอลีลจากประชาชาตินี้แล้ว  ฉันก็จะเลือกเขา (อบูบักร)  (หะดีษบุคอรีเล่ม 5/10)


หลักฐานที่ 6

عن ابي عثمان قال : حد ثنا عمرو بن العاص رضي الله عنه : ان النبي صلىالله عليه

وسلم بعثه على جيث ذات السلاسلفاتيته فقلت : اي الناس احب اليك ؟  قال :

(عا ئشةفقلت : من الرجا ل؟ فقال : (أبوها)‘ فقلت : ثم من؟ قال عمر بن الخطا ب

فعد رجالا.

 ความว่า  : จากอุมัร อิบนุ อัลอาศ เล่าว่า ท่านบนี (ซล) ได้แต่งตั้งเขา (ฉัน) เป็นผู้นำทัพในสึกซาตุอัลสะลาสิล แนได้มาหาท่าน ถามท่านว่าประชาชนคนใดที่ท่านรักากที่สุด ท่านตอบว่า อาอิชะฮ  ฉันถามอีกว่าในหมู่ผู้ชายละ ท่านตอบว่า บิดาของเธอ  (อะบู บะกัร)  ฉันถามอีกว่า ต่อจากนั้นใคร ท่านตอบว่า อุมัร อิบนุ อัลคอฎฎอบ แล้วก็บอกชื่อผู้ชายอื่นๆ อีก

6. ความประเสริฐในด้านความสำคัญของท่านอบูบักรต่อท่านร่อซูล
            ท่านอบูบักรเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความสำคัญในบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านร่อซูล  ท่านจะเป็นตัวแทนของท่านร่อซูล  เมื่อท่านร่อซูลไม่อยู่  เมื่อมีใครมาหาท่านร่อซูลเกิดว่าท่านร่อซูลไม่อยู่  อบูบักรก็จะทำหน้าที่แทน

หลักฐานที่ 1
           
عن محمد بن جبيربن مطعم عن أبيه قال أتت امرأة النبي  صل الله عليه وسلم فأمرها أن

ترجع إليه قالت أرأيت إن جئت ولم أجدك ؟ كنها تقول الموت قال رسول لله صل الله

عليه وسلم إن لم تجديني فأتي أبا بكر.

ความว่า  จากญุบัยรฺ  อิบนุ  มุฎอิม  เล่าว่า  มีหญิงคนหนึ่งมาหาท่านร่อซูล( เมื่อพูดธุระเสร็จแล้วท่านร่อซูลก็สั่งให้เธอมาพบใหม่ หญิงนั้นกล่าวว่า  หากฉันมาแล้วไม่พบท่านจะทำอย่างไร คล้ายกับเธอจะพูดว่า  หากท่านสิ้นชีวิตแล้ว  ท่านร่อซูลจึงกล่าวว่าหากเธอไม่พบฉัน  ก็ให้ไปหาอบูบักร (หะดีษบุคอรีเล่ม 5/ 11)
           
หลักฐานที่ 2
           
عن همام قال سمعت عمار يقول رأيت رسول لله صل الله عليه وسلم وما معه

 إلا خمسة أعبد وامرأتان وأبوبكر.

ความว่า  “  จากอัมมารเล่าว่า  ฉันเคยเห็นท่านร่อซูลนั่งร่วมอยู่กับทาสห้าคนและผู้หญิงอีกสองคนรวมทั้ง  อบูบักรด้วย (บุคคลทั้งเจ็ดมาเข้ารับอิสลาม)  (หะดีษบุคอรีเล่ม 5/ 12)

 1.3 ฉายา อัศ-ศิดดีก

         ในหนังสือ อัลมะวาฮิบุลละดุนนียะฮของท่านอัล-อัลลามะฮ อัลก็อสตอลานีย์(ขออัลลอฮทรงเมตตาเอ็นดูเขาด้วย) ปรากฎดังนี้ คือ เมื่อท่านรซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกลับจากอัลอิสร็ออ ในระหว่างทาง ท่านได้ผ่านกองคาราวานอูฐร่วมกับลาบรรทุกอาหารของชาวกุเรชในจำนวนนั้นมรีอูฐตัวตัวหนึ่งบรรทุกกระสอบสองใบสีขาวและดำ เมื่อท่านผ่านขบวนลากับอูฐ มันได้วิ่งหนีแตกตื่น แล้วก็หันกลับมา
อูฐตัวนั้นตกใจมาก อีกริวายะฮ์หนึ่งรายงานว่า อูฐหลงไปจากฝูงแล้วมีคนจับเข้ามาท่านรซูลได้ให้สลามแก่คนเหล่านั้น บางคนในพวกเขากล่าวว่า นี่เป็นเสียงของท่านมุฮัมหมัด
                ท่านนบีได้มาถึงมักกะฮ์ก่อนเวลาซุบห์ (รุ่งอรุณ)ท่านได้เล่าแก่หมู่คณะในสิ่งที่ท่านได้เห็น
ว่า ส่วนหนึ่งจากเครื่องหมายของฉัน คือสิ่งที่ฉันจะบอกแก่พวกท่านว่าฉันได้ผ่านขบวนลากับอูฐซึ่งพักอยู่ที่นั่น และได้มีอูฐตัวหนึ่งเดินหลงไปจากฝูง  แล้วมีชายคนหนึ่งได้จับมันเข้ามาในทางการเดินทาง พวกเจ้าของลาได้พัก ณ สถานที่นั้น ที่นั้น และจะมาถึงพวกท่านในวันนั้น วันนั้นโดยมีอูฐตัวหนึ่งผ้าคลุมสีดำเดินนำหน้า เมื่อถึงวันนั้น ผู้คนต่างเฝ้าคอยดูจวบจนเกือบเที่ยงวัน     ขบวนลาที่มีอูฐตัวหนึ่งนำหน้าอย่างที่ท่านรซูลบอกลักษณะไว้ก็มาถึง
                มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะห์ รอฎิยัลลอฮุอันฮา แจ้งว่าให้ท่านนบีเดินทางไปบัยตุลมักดิสในตอนกลางคืน (อิสร็ออ) แล้ว ท่านได้ได้เล่าแก่คนทั้งหลาย    มีหลายคนที่ศรัทธาในอิสลามแล้วกลับปฏิเสธ บางคนในหมู่มุชรีกีน ได้พยายามไปหาท่านอบูบักร แล้วถามว่าท่านได้ยินไหม?
คำพูดของสหายของท่าน ซึ่งเขาอ้างว่า เขาเดินทางตอนกลางคืนไปบัยตุลมักดิส
                ท่านอบูบักรกล่าวกับพวกเขาว่า ท่านนบีมูฮัมหมัดพูดอย่างนั้นจริงหรือ ?
พวกมุชรีกีนตอบว่าถูกแล้ว ทานอบูบักรตอบว่า ถ้าหากเขาพูดเช่นนั้น เขาก็พูดจริงพวกนั้นถามว่าท่านเชื่อเขาหรือ ที่เขาบอกว่าเขาไปบัยตุลมักดิส และกลับมาก่อนถึงเวลาซุบห์ ? ท่านอบูบักรตอบว่า
 ถูกแล้วฉันเชื่อเขายิ่งกว่านี้อีก เกี่ยวกับข่าวคราวในท้องฟ้าในการไปและกลับของเขา ด้วย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ชื่อว่า อัศศิดดีก(ผู้สัตย์จริง)
                เรื่องนี้บันทึกโดยอัลหากีมในอัลมุสตัดร็อก ท่านอิสหากก็บันทึกเรื่องนี้ด้วย           อีกรายงานหนึ่งมีว่า ในเมื่อท่านรซูลได้เล่าเรื่อง(อัลอิสรออ)แก่ชาวกุเรชหมู่หนึ่ง คนเหล่านั้นเห็นเป็นเรื่องใหญ่ ต่างก็ปรบมือบ้าง เอามือกุมศีรษะบ้าง เพราะความประหลาดใจ
                มุตอิม อิบนิ อะดี้ย์ กล่าวว่า เรื่องของท่านก่อนวันนี้เป็นเรื่องง่าย ๆ
แต่ทว่าคำพูดของท่านในวันนี้ เป็นประจักพยานแก่ท่านว่าโกหก เราเคยควบอูฐไปบัยตุลมักดิส ขาขึ้นหนึ่งเดือนขาล่องหนึ่งเดือน แล้วท่านจะมาอ้างว่าท่านไปในคืนนเดียวกระนั้นหรือ ? ขอสาบานด้วยอัลลาตและอัลอุซซาว่าฉันไม่เชื่อท่านต่อจากนั้นเขาได้พาท่านอบูบักรมา และพุโกับท่านรซูลว่า โอ้ท่านซูลโปรดบรรยายลักษณะบัยตุลมักดิสให้ฉันฟังด้วย ฉันเคยไปมาแล้วดังนั้นญิบรีลได้นำถาพบัยตุลมักดิสมาให้เห็นท่านรซูลลุลลอฮจึงพูดได้ว่า ประตูนั้นอยู่ตรงนั้น ๆ ท่านอบูบักรกล่าวว่า ฉันขอปฏิญารว่า ท่านนั้นเป็นรซูลของอัลลอฮ์
จนกระทั่งท่านรซูลจบคำบรรยายคุณลักษระของบัยตุลมักดิส    การที่อบูบักรกล่าวว่า โปรดบรรยายให้ฉันฟังนั้น”     มิได้เป็นคำพูดที่เกิดมาจากความสงสัยแต่ประการใด เพราะท่านเชื่อมาตั้งแต่แรกแล้ว
หากแต่ท่านต้องการที่จะแสดงความสัตย์จริงของท่านรซูลแก่หมู่คณะของท่าน เพราะเขาเหล่านั้นไว้วางใจในตัวท่านอบูบักร
          ดังนั้นถ้าข่าวคราวที่ท่านรซูลบอกเล่าตรงกับสิ่งที่ท่านอบูบักรเคยทรายและเชื่อถือแล้ว ก็จะเป็นหลักฐานอันชัดแจ้งต่อพวกเขาเหล่านั้น


1.4   การอพยพของอบูบักร

ในขณะที่บรรดาสาวกของท่านนบี ค่อยๆ ทยอยอพยพไปยังเมืองยัสริบนั้นท่านนบียังคงอยู่ในเมืองมักกะฮ์เพื่อคอยคำอนุมัติจากอัลลอฮ์ให้อพยพออกจากเมืองโดยมีอาบูบักรและอาลีอยู่กับท่านด้วย  อบูบักรเองก็พยายามขออนุญาตท่านนบีฯเดินทางไปยังเมืองยัสริบ แต่ท่านรอซูลก็ยังคงกล่าวว่า  จงอย่าเร่งรีบ  บางทีอัลลอฮ์อาจจะให้เพื่อนเดินทางแก่ท่าน
อย่างไรก็ตาม ในคืนก่อนที่พวกกุเรซจะลงมือสังหารท่านนบีฯนั้น  ญิบรีลได้มาหาท่านและได้บอกท่านว่า คืนนี้  จงอย่านอนในที่นอนของเจ้า เมื่อได้ยินเช่นนี้ ท่านนบีฯ ก็เข้าใจทันที โดยให้อาลีไปนอนแทนที่ของท่าน
พวกมือสังหารที่เฝ้ารอท่านนบีฯอยู่ตลอดทั้งคืนรู้สึกโกรธแค้นอย่างมากที่เห็นอาลีเดินออกมาจากบ้านในตอนเช้าโดยที่ไม่มีท่านนบีฯ
ขณะเดียวกัน ท่านนบีฯ ก็ได้แอบไปที่บ้านของอาบูบักร และบอกอาบูบักร  ว่า      อัลลอฮ์ได้บอกฉันว่า  ถึงเวลาแล้วทีเราจะออกจากมักกะฮ์
หลังจากนั้น ทั้งสองก็ออกจากมักกะฮ์มุ่งไปยัง ถ้ำเซาร์ บนภูเขาแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของมักกะฮ์ ซึ่งทั้งสองตั้งใจจะไปซ่อนตัวที่นั่น
เมื่อกุเรซรู้ว่าท่านนบีฯ ได้ออกจากเมืองไปแล้ว พวกเขาก็ได้ออกติดตามตัวท่านทุกทิศทาง จนมาถึงปากถ้ำที่ทั้งสองหลบอยู่  แต่ก็มีเรื่องอัศจรรย์ เกิดขึ้น กล่าวคือ ที่ปากถ้ำมีแมงมุมมาชักใยอยู่ นอกจากนั้นยังมีนกเขาตัวหนึ่งมานอนกกไข่อยู่   อาบูบักรได้เกิดความหวาดกลัวขึ้นมา ท่านนบีได้ปลอบอบูบักรว่า ท่านจะไปคิดอะไรกับคนสองคนที่มีอัลลอฮ์อยู่กับเขาเป็นคนที่สาม
จงอย่าระทม แท้จริง  อัลลอฮ์ทรงอยู่กับเรา”  (กุรอ่าน  9 : 40)
เป็นเวลาถึง 3 วัน 3 คืน  ที่ท่านนบีและอบูบักรได้ซ่อนตัวอยู่ในถ้ำแห่งนี้  ในวันที่ 4ทั้งสองก็ได้ออกจากถ้ำและเดินทางต่อไป  หลังจากการเดินทางที่มิได้หยุดพักเลยถึง 1 วัน 1 คืนเต็มๆ  ทั้งสองก็ได้หยุดพัก  แต่ทันใดนั้นนักขี่ม้าอาสาสมัครชาวมักกะฮคนหนึ่งชื่อว่า  สุรอะเกาะฮ  บุตรของญุซุมได้ควบม้าพุ่งกระโจนมายังท่านนบีอย่างรวดเร็ว  แต่ม้าที่สุรอยเกาะฮขี่กลับดุดล้ม  สุรอเกาะฮ์จึงตกจากหลังม้า  เขาพยายามอีกถึง 2 ครั้งม้าก็วิ่งสะดุดอึกเช่นเดิม  สุรอเกาะฮ์จึงตระหนักได้ว่า  เขากำลังต่อสู้กับอีกอำนาจหนึ่งเหนือธรรมชาติ  ความกลัวจึงบังเกิดขึ้น  จึงทำให้เขาร้องขอความกรุณา  ท่านนบีฯมิได้โกรธแต่อย่างได  ท่านยกโทษให้เขา

2. เหตุการณ์ที่สะกีฟะฮ เเละการเลือกตั้งของอบูบักรเป็นคอลีฟะห์
2.1  เหตุการณ์ที่ สะกีฟะฮ์กับการเลือกอบูบักรฺเป็นคอลิฟะฮฺ

            รัฐจะขาดประมุขหรือผู้นำไม่ได้ การจัดการเกี่ยวกับศพของท่านนบียังไม่ทันเสร็จสิ้น   ผู้นำชาวอันศอรฺกลุ่มหนึ่งได้มีการประชุมที่ สะกีฟะฮ์ เพื่อที่จะคัดเลือกผู้นำคนใหม่ (Khalifah) แทนท่านนบี และแน่นอนที่สุดพวกเขาเห็นว่าชาวอันศอรฺเหมาะสมที่สุดที่จะรับตำแหน่งดังกล่าว เมือข่าวการประชุมของกลุ่มอันศอรฺทราบถึงท่านอบูบักรฺ ท่านพร้อมกับเพื่อนชาว มูฮาญีรีล คือท่านอุมัรฺและท่านอบูอุบัยดะฮฺมุ่งตรงไปยังศาลาประชาคม สะกีฟะฮ์  เหตุการณ์ใน สะกีฟะฮ์ ถูกบันทึกโดยนักประวัติศาสตร์หลายท่านด้วยซึ่งบางท่านอาจบันทึกในประเด่นหลักๆเท่านั้นแต่บางท่านเจาะลึกในรายละเอียดต่างๆ จากการบันทึกของอิบนุฮิซามและอัล-วากิดีพอสรุปเหตุการณ์ดังนี้

            ชาวอันศอรฺได้มีการประชุมที่ศาลาประชาคม สะกีฟะฮ์ ของเผ่า สะอีดะฮ์ โดยมี ซัยฮ. อิบนุอุบาดะฮ์ จากเผ่า ค็อจร็อจ เป็นแกนนำ ประชาชนชาวมะดีนะฮฺทั้งอันศอรฺและ มูฮาญีรีล ต่างก็ออกจากบ้านเพื่อรอรับฟังคำประกาศของผู้นำ มูฮาญีรีล และอันศอรฺ ยกเว้นกลุ่มบนูฮาซิม (ผู้ที่เป็นเชื้อสายของท่านนบี) ที่อยู่แต่ในบ้านโศกเศร้าและไว้ทุกข์กับการเสียชีวิตของท่านนบี

            คูซามะฮ์  อิบนุ ตาบิต เป็นชาวอันศอรฺจากเผ่า เอาส์ เป็นคนแรกที่ลุกขึ้นพูดในที่ประชุม สะกีฟะฮ์ โดยกล่าวว่า :
            “โอ้บรรดาชาวอันศอรฺ… ! ถ้าหากเรามอบตำแหน่งคอลิฟะฮฺนี้ให้แก่คนมักกะฮฺชาวกุร็อยซฺแล้ว แน่นอนที่สุดพวกเขาจะยึดตำแหน่งนี้จนถึงวันกิยามะฮฺ ทั้งๆ ที่อัลกุรอานได้กล่าวไว้ว่า…  (ท่านได้อัลกุรอานซูเราะฮฺที่ 9 โองการที่ 100 และ 117 )  พระองค์อัลลอฮฺทรงให้สมญานามพวกเราว่าผู้ให้ความช่วยเหลือ (อันศอร) และท่านนบีเสียชีวิตในขณะที่อยู่กับเรา ดังนั้นจงเลือกใครสักคนในหมู่พวกเราที่ชาวกุร็อยซฺให้การนับถือและชาวอันศอรฺให้การยอมรับ

            ชาวอันศอรฺจากเผ่า ค็อจร็อจ ต่างก็ออกเสียงพร้อมกันว่า คำพูดของคุณถูกต้อง เราขอเลือกหัวหน้าของเราคือ ซัยด์  อินนุ  อุบาดะฮ์ เป็นคอลิฟะฮฺ

            ชาว มูฮาญีรีล ที่อยู่ในที่ประชุมนั้นต่างก็กระสับกระส่ายยังไม่ทันที่จะเสนอความคิดอะไร อุซัยด์  อิบนุ  ฮูดัยด์ ชาวอันศอรฺจากเผ่า เอาส์ ก็ลุกขึ้นและพูดว่า
            “โอ้บรรดาชาวอันศอรฺ… ! อัลลอฮฺทรงสมญานามพวกเราเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ และเราเป็นผู้ให้พำนักให้ความปลอดภัย  และในขณะเดียวกันด้วยความประสงค์ของอัลลอฮท่านนบีเสียชีวิตในขณะที่อยู่กับพวกเรา ซึ่งหมายถึงนิอฺมัตต่างๆได้สูญเสียไปพร้อมๆกับการเสียชีวิตของท่านนบี  ดังนั้นเรื่องผู้นำ (คอลีฟะฮ์) จงมอบมายให้อัลลอฮฺเถอะ  ฉันคิดว่าเรื่องผู้นำเป็นสิทธิของชาวกุร็อยซฺมากกว่าพวกเรา  ดังนั้นพวกเราจงให้การยอมรับบุคคลที่พวกเขาเสนอมา และขัดขวางบุคคลที่พวกเขาต้องการ

            ที่ประชุมไม่มีใครลุกขึ้นมายับยั้งคำพูดของ อุซัยด์ และไม่มีใครด่าว่าเขา จนกระทั่งชาวอันศอรฺ บาซีร  อิบนุ  ซัยด์ จากเผ่า ค็อจร็อจ ลุกขึ้นเตือนสติที่ประชุมไว้ว่า
            “โอ้บรรดาชาวอันศอรฺ… ! พวกเจ้ามีความสัมพันธ์กับชาวกุร็อยซฺและชาวกุร็อยซฺก็มีความสัมพันธ์กับพวกเจ้า  หากพวกเจ้าทำอะไรสักอย่างที่เป็นสัจธรรมและถูกต้อง ก็ไม่มีใครที่จะแย้งพวกเจ้าและไม่มีใครทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับพวกเจ้า ถ้าหากพวกเจ้าจะพูดถึงบุญคุณว่าเจ้าเป็นผู้ให้การพำนักและให้การช่วยเหลือแก่ท่านนบีแล้ว แน่นอนที่สุดชาวกุร็อยซฺมีบุญคุณเหลือล้นกว่าพวกเจ้าตามที่พระองค์ทรงประสงค์   ดังนั้นจงอย่าเป็นผู้เนรคุณต่อนิอฺมัตของอัลลอฮฺ และอย่าเป็นพวกที่เปลี่ยนแปลงความโปรดปรานของพระองค์มาเป็นอกตัญญู …..(ความหมายอัลกุรอานซูเราะฮฺที่ 14/28 )”

            ต่อมาชาวอันศอร ฺ เอาวาม  อิบนุ  สะอีดะฮ์ ลุกขึ้นและพูดว่า
โอ้ชาวอันศอรฺพวกเจ้าเป็นคนแรกที่ปกป้องศาสนาอิสลาม แต่ในขณะนี้พวกเจ้ากำลังประชันความดีกับผู้ศรัทธาคนแรก  ศาสดากำเนิดมาจากกลุ่มใด คอลีฟะฮ์ ก็เป็นสิทธิของกลุ่มนั้น  ดังนั้นจงมอบ คอลีฟะฮ์ ให้แก่กลุ่มที่อัลลอฮฺทรงมอบหน้าที่และสาส์นของพระองค์เถิด  เพราะว่านั้นคือผลดุอาอฺของท่านศาสดาอิบรอฮีม..(อัลกุรอาน 2/128-129)”.

            และแล้ว  มาอัล  อิบนุ  อะดีย์  (หัวหน้าเผ่า ค็อจร็อจ จากเผ่า บาลิ ) ลุกขึ้นและกล่าวว่า
โอ้ชาวอันศอรฺเอ๋ย ! ชาวกุร็อยซฺก็อยู่ ณ ที่นี้ด้วย หากพวกเจ้าคิดว่าผู้นำเป็นสิทธิของพวกเจ้า จงแจ้งเรื่องราวทั้งหมดนี้ให้แก่คนที่พวกเจ้าจะเลือกและให้การสัตยาบันด้วย  แต่ถ้าหากผู้นำเป็นสิทธของชาวกุร็อยซฺ พวกเจ้าอย่าไปยุ่งเรื่องนี้เลย จงปล่อยให้พวกเขาจัดการในหมู่พวกเขาเถิด  แท้จริงนั้น ฉัน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ  ท่านนบีได้แต่งตั้งท่านอบูบักรฺเป็นผู้นำละหมาดก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต  ละหมาดนั้นเป็นเสาหลักของศาสนา และเราเข้าใจว่าท่านนบีได้เลือกเขาให้แก่พวกเราแล้ว

            ในขณะที่สภากำลังเข้มข้นกับข้อถกเถียงอยู่นั้น ท่านอบูบักรฺ ท่านอุมัรฺและท่านอบูอุบัยดะฮฺ พร้อมกับชาว มูฮาญีรีล กลุ่มหนึ่งก็มาถึงที่ประชุมและหาที่นั่งกันโดยมิได้พูดอะไร บรรยากาศที่ประชุมก็เงียบอยู่พักหนึ่ง จนกระทั้ง ตาบิต  อิบนุ ก็อยส์ ยืนขึ้นและพูดว่า
โอ้บรรดาชาว มูฮาญีรีลพวกท่านก็ทราบดีเหมือนๆกับพวกเราทราบว่า พระองค์อัลลอฮฺได้ส่ง มูฮัมหมัด มาเป็นศาสนทูตของพระองค์  เริ่มแรกนั้นมนุษย์ต่างก็ปฏิเสธและทำร้ายท่าน ถึงแม้ว่าจะเผชิญความทุกข์ทรมานเพียงใดก็ตาม ด้วยพระบัญชาของพระองค์ท่านก็พำนักอยู่นครมักกะฮฺด้วยความอดทน  เมื่อพระองค์อัลลอฮฺทรงอนุญาติให้เขาอพยพ พวกเราเป็นผู้ช่วยเหลือและให้พำนักแก่เขา แล้วพวกท่านก็อพยพตามมา เราได้แบ่งปันทรัพย์สินของพวกเราให้พวกเจ้า ดังนั้นพวกเราเป็นผู้เข้มแข็งที่สุดในเรื่องอิสลาม อัลลอฮฺได้พูดถึงพวกเราในคัมภีร์ของพระองค์ไว้ว่า และบรรดา (ชาวอันศอรฺ) ที่พำนักอยู่ในเมือง (มะดีนะฮฺ) และมีจิตศรัทธามั่น (ในศาสนา) ก่อนหน้าพวกเขา (ชาว มูฮาญีรีล จะมาถึง) นั้น มีความรักต่อผู้ที่มุ่งอพยพมายังพวกเขา และพวกเขาไม่มีความต้องการ (ผลประโยชน์ใดๆ) ในหัวใจของพวกเขาจากสิ่งที่พวกเขาพึงได้รับ (จากชาว มูฮาญีรีล เลย) และพวกเขาให้ความสำคัญแก่ชาวอพยพเหนือกว่าตัวของเขาเองเสียอีก และมาตรแม้นว่าพวกเขาจะประสบความขัดสนสักปานใดก็ตาม” (ความหมายของอัลกุรอาน 59/9..)   นอกจากนี้ พวกท่านก็ทราบดีว่า มีคำพูดมากมายที่ท่านนบีได้ยกย่องเกียรติของพวกเรา ท่านนบีลาจากโลกนี้ไปโดยมิได้แต่งตั้งผู้ใดทำหน้าที่แทนท่านอย่างชัดเจน แต่ท่านสั่งเสียไว้ให้ยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นกับคำภีร์ของอัลลอฮฺและซุนนะฮฺของท่าน ตราบใดที่มีการยึดมั่นในสองอย่างนี้ประชาชาติของท่านจะไม่รวมหัวเห็นพ้องในสิ่งที่ผิดและจอมปลอม ดังนั้นการที่พวกเราเป็นผู้ช่วยเหลือในศาสนาของอัลลอฮฺอำนาจการปกครองควรจะเป็นสิทธิของพวกเรา โอ้ชาว มูฮาญีรีล เอ๋ย ! พวกเจ้ามีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ ?

เมื่อได้ยินเช่นนั้นท่านอบูบักรฺจึงลุกขึ้นยืนและกล่าวว่า :
โอ้ตาบิต เอ๋ย ! คำพูดของคุณเกี่ยวกับคนของคุณ (ชาวอันศอรฺ) นั้นถูกต้องทุกอย่าง ไม่มีใครสามารถแย้งคำพูดของคุณได้หรอก ส่วนฉันและคนของฉัน (ชาว มูฮาญีรีลr) นั้น อัลลอฮฺทรงตรัสในคำภีร์ของพระองค์ไว้ว่า สำหรับบรรดาผู้ยากไร้ที่อพยพมา (มูฮาญีรีล) ซึ่งพวกเขาถูกขับออกจากบ้านเมืองของพวกเขา และจากทรัพย์สินของพวกเขา พวกเขามีความมุ่งหวังแต่เฉพาะความโปรดปรานและความพึงพระทัยจากอัลลอฮ ฺ เท่านั้น อีกทั้งพวกเขามุ่งช่วยเหลือ (ศาสนา) อัลลอฮฺ และช่วยเหลือศาสนฑูตของพระองค์ พวกเหล่านั้นเป็นพวกที่มีความสัตย์จริง (ศิดดีก) โดยแท้ (ความหมายอัลกุรอาน 59: 8)” และพระองค์ทรงตรัสถึงพวกท่านไว้ว่า  โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และพวกเจ้าจงอยู่ร่วมกับบรรดาผู้สัตย์จริง  (ความหมายอัลกุรอาน 9:119)” พระองค์ทรงบัญชาให้พวกท่านดำเนินตามผู้สัตย์จริง (คือให้เป็นผู้ตามชาว มูฮาญีรีล) ผู้นำจะต้องมาจากชาวอาหรับและเป็นที่ยอมรับว่าเผ่าที่มีชื่อเสียงและมีเกียรติที่สุดในบรรดาชาวอาหรับคือกุร็อยซฺ และในขณะเดียวกันพวกเขาคือผู้ที่ท่านนบีอิบรอฮีมได้ขอพรให้  ดังนั้นสำหรับพวกเจ้าแล้วจงเลือกคนใดคนหนึ่งระหว่างท่านอุมัรฺและอบูอุบัยดะฮฺ พวกเจ้าพึงพอใจคนไหนจงให้การสัตยาบันต่อคนนั้น

ท่าน ตาบิต  อิบนุ  ก็อยส์ ลุกขึ้นอีกครั้งหนึ่งและถามชาว มูฮาญีรีล ว่า :
โอ้ ชาว มูฮาญีรีล เอ๋ย.. คำพูดของท่านอบูบักรฺทั้งหมดนี้ ทุกท่านเห็นด้วยไหม ?
ชาว มูฮาญีรีล ต่างก็ตอบพร้อมๆกันว่า พวกเราเห็นด้วย
ตาบิต ก็พูดต่อว่า  ฉันขอเตือนพวกคุณทั้งหลายว่า คุณกำลังรวมกันสมทบท่านอบูบักรฺ ทรยศต่อท่านนบี
ชาว มูฮาญีรีล ต่างก็ตกใจและกล่าวว่า :  “ ท่านหมายความว่าอย่างไร ?
ตาบิต ลุกขึ้นมาชี้แจงว่า:
ท่านมิได้พูดหรอกหรือว่า ท่านนบีได้คัดเลือกและแต่งตั้งอบูบักรฺมาทำหน้าที่นำละหมาดแทนท่าน นี่แสดงถึงท่านได้กำหนดผู้ที่จะมาทำหน้าที่ คอลีฟะฮ์ ไว้แล้ว    แต่อบูบักรฺจะหนี้ตัวรอดโดยเสนอท่านอุมัรและท่านอบูอุบัยดะฮฺให้เราเลือก ซึ่งนั้นหมายถึงการทรยศต่อท่านนบี และพวกคุณไม่ผิดได้อย่างไรต่อเมื่อพวกคุณเลือกเอาบุคคลอีกบุคคลหนึ่งโดยละทิ้งบุคคลที่ท่านนบีได้กำหนดและคัดเลือกไว้แล้ว  โอ้ ชาว มูฮาญีรีล .. เมื่อเราทราบแล้วว่าท่านนบีได้เลือกท่านอบูบักรฺเป็นคอลีฟะฮฺของท่าน  แล้วพวกคุณยังดือดันไปเลือกคนอื่นมานั้นเป็นการทรยศและอกตัญญูต่ออัลลอฮฺ

  ถ้าคิดจะในประเด็นเวลาการรับเข้าศาสนาอิสลาม ถึงแม้ว่าชาวมูฮาญิรีนเป็นกลุ่มแรกในบรรดากลุ่มต่างๆ ของชาวอาหรับที่เข้ารับอิสลาม แต่ประเด็นดังกล่าวไม่สามารถที่จะลบล้างความเหมาะสมของชาวอันศอรที่จะเป็นคอลีฟะฮฺได้ ชาวมูฮาญิรีนต่างก็พูดในเสียงเดียวกันว่า
เราเห็นด้วยตลอดกับความสูงส่งของพวกอันศอรฺ ถ้าหากผู้นำได้รับการคัดเลือกจากชาวมูฮาญีรีน ผู้ช่วยผู้นำจะต้องได้รับการคัดเลือกจากชาวอันศอร เราจะไม่ตัดสินใจใดๆ นอกจากจะได้รับคำปรึกษาหารือจากพวกเจ้าก่อนและรอความพร้อมของพวกเจ้า

เพื่อที่จะปรองดองระหว่างสองความคิด อัล-ฮุบาบ  อิบนุ  มุนซิร จากเผ่า ค็อจร็อจ ลุกขึ้นและเสนอไว้ว่า:  “ในเมื่อไม่มีใคร (มูฮาญีรีน) ยอมรับในคำพูดของพวกเราก็จงเลือกผู้นำจากกลุ่มพวกเจ้าคนหนึ่งและจากกลุ่มพวกเราอีกคนหนึ่ง
ข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธโดยหลานของเขาเองคือ อุซัยด์  อิบนุ  ฮูดัยร์ และ  บาซิร  อิบนุ ซัยด์  ซึ่งกระโดดลุกขึ้นมาปฏิเสธความคิดที่จะสร้างความแตกแยกในรัฐโดยมีผู้นำสองคนในรัฐเดียวกัน คำพูดของ อัล-ฮุบาบ  อิบนุ มุนซิร นั้นมิได้จริงจังอะไรมากนัก เพียงแต่เขาต้องการรักษาผลประโยชน์ของชาวอันศอรเท่านั้น ในเมื่อที่ประชุมไม่พอใจต่อคำพูดของเขา เขาก็ยินดีถอนคำพูดและกล่าวขอโทษต่อที่ประชุม การถกเถียงกันระหว่างท่านอุมัร กับ อัล-ฮุบาบ  อิบนุ  มุนซิร เพิ่มความขัดแย้งและทวีรุนแรงมากขึ้นจนหวาดเกรงว่าจะมีการลงไม้ลงมือกัน เพื่อควบคุมสถานการณ์ในที่ประชุมให้อยู่ในความสงบ ท่าน มาอัน อิบนุ  อะดีย์  ลุกขึ้นและพูดว่า:
โอ้ชาวมูฮาญีรีน ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีใครมีเกียรติสูงส่งเหนือกว่าพวกท่านหรอก เพียงแต่ว่าสิ่งที่พวกเรากลัวนั้นคือผู้ที่พวกเราจะปฏิบัติตามนั้นจะต้องเป็นผู้นำในหนทางที่ให้ความยุติธรรมแก่บรรดาประชาชาติมุฮัมมัด ที่จริงในเรื่องนี้ท่านนบีได้กล่าวไว้ว่า ผู้นำจะต้องมาจากชาวกุร็อยซ


บาซีร  อิบนุ  ซัยด์ ตกใจเมื่อได้ยินหะดีษบทนี้ เพราะท่านเข้าใจและจำหะดีษบทนี้ได้ดี และท่านลุกขึ้นและยืนยันว่า ใช่ถูกต้อง ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ฉัน เคยได้ยิน ฮาดีษบทนี้ และฉันเข้าใจดีว่าผู้นำนั้นจะต้องเป็นชาวกุร็อยซฺ ฉันของสาบานต่ออัลลอฮฺ ต่อไปนี้เรื่องผู้นำนั้นขอให้พระองค์อัลลอฮฺจงห่างไกลตัวฉันกับการถกเถียงกับพวกเขาด้วยเถิด โอ้ชาวอันศอร จงเกรงกลัวตัวต่ออัลลอฮฺด้วยเถิด จงหยุดการถกเถียงได้แล้ว เรื่องผู้นำนั้นอย่าได้ไปถกเถียงกับพวกมุฮาญิรีนเลย.

อะบูบักรฺ ลุกขึ้นอีกครั้งและกล่าวขอบคุณและยกย่อง บาซิร  อิบนุ  ซัยด์ พร้อมกับกล่าวว่า:
ฉันไม่สามารถเป็นตัวเลือกของท่านในการทำหน้าที่เป็นผู้นำได้หรอก ฉันขอเสนอท่านอุมัร หรือท่าน อบูอุบัยดะฮฺ ให้พวกเจ้าเลือก

ท่านอุมัรและท่านอบูบักรฺต่างก็ปฏิเสธข้อเสนอของอบูบักรฺ  ทุกคนเห็นว่าอะบูบักรฺเป็นคนที่ดีที่สุดในบรรดาชาวมุฮาญีรีน เขาเป็นผู้ที่หลบซ่อนกับท่านนบีในถ้ำ (อัลกุรอาน 9/40) และท่านนบีได้แต่งตั้งเขาด้วยตนเองให้เป็นตัวแทนท่านในการนำละหมาด ดังนั้นอบูบักรควรจะได้รับการคัดเลือกเป็นคอลีฟะฮฺ ทุกคนก็ให้อบูบักรฺยื่นมือเพื่อที่จะให้การสัตยาบัน

บาซีร  อิบนุ  ซัยด์ ลุกขึ้นอีกครั้งพร้อมกับตะโกนว่า ด้วยความรักต่ออัลลอฮฺ ฉันขอร้องกับทุกคน ขอให้ฉันเป็นคนแรกให้คำสัตยาบันต่อท่านอะบูบักรฺเถิดกล่าวเสร็จเขาก็กระโดดเข้าหาท่านอบูบักรฺและจับมือท่านพร้อมกับกล่าวสัตยาบัน (ตามรายงานของ อินนุ  ฮิฉาม, IV, 335-339 ผู้ที่ให้การสัตยาบันแก่ท่านอบูบักร คนแรกคือท่านอุมัรฺ)

ถึงแม้ว่าในขณะนั้นยังมีเสียงโต้ตอบกันเล็กน้อย ทุกคนที่อยู่ที่นั้นทั้งชาวอันศอรและมุฮาญิรีนต่างก็ทยอยเข้ามาจับมือและให้คำสัตยาบันต่ออะบูบักรฺ การสัตยาบันใน สะกีฟะฮ์ นั้นเรียกว่า อัล-บัยอะตุล คอซเซาะฮ์  (การสัตยาบันเฉพาะ) และในวันรุ่งขึ้นท่านอบูบักรฺเข้าในนั่งในมิมบัรในมัสยิดนบี เพื่อให้โอกาสชาวมะดีนะฮฺเข้ามาให้การสัตยาบันต่อท่าน พิธีการให้การสัตยาบันอย่างเปิดเผยในมัสยิดนั้นเรียกว่า อัล-บัยอะตุล อุมมะฮ์ (สัตยาบันที่ยิ่งใหญ่หรือสัตยาบันทั่วไป)

ด้วยนโยบายที่เฉียบแหลมของท่านอะบูบักรฺ ทำให้ทุกคนยอมสยบและให้คำสัตยาบันต่อท่าน แม้แต่หัวหน้าเผ่า ค็อจร็อจ คือท่าน ซัยดอิบนุ  อุบาดะฮ์ ซึ่งขณะนั้นกำลังป่วยอยู่ ในเริ่มแรกนั้นดูเหมือนอาจไม่ยอมรับอบูบักรฺ แต่ในที่สุดก็ยอมอ่อนน้อมต่อท่าน อบูบักรฺไม่ได้บังคับให้ใครมาให้คำสัตยาบันต่อท่านเลย และท่านมิได้ลงโทษผู้ที่ไม่ยอมให้การสัตยาบัน ท่านปฏิบัติอย่างเสมอภาคและให้ความยุติธรรมแก่ทุกคนไม่ว่าเป็นผู้ให้คำสัตยาบันหรือไม่ จนไม่มีใครเหลือสักคนที่ไม่ให้คำสัตยาบันต่อท่าน

เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการสัตยาบันแล้ว ท่านอบูบักรฺลุกขึ้นยืนบนมิมบัรมัสยิดกล่าวขอบคุณต่ออัลลอฮฺและให้การปราศรัยว่า :
โอ้มวลมนุษย์เอ๋ยฉันได้ถูกแต่งตั้งเป็นผู้นำของพวกเจ้า แต่มิได้หมายความว่าฉันเป็นผู้ที่ดีเลิศที่สุดในหมู่พวกเจ้า ถ้าฉันกระทำในสิ่งที่ดีงาม พวกเจ้าจงให้การช่วยเหลือแก่ฉัน  แต่ถ้าหากว่าฉันได้กระทำการงานที่ชั่วร้าย พวกเจ้าจงตักเตือนฉัน   ความสัจจะนั้นคืออะมานะฮฺ และการโกหกมดเท็จนั้นคือการทำลาย ผู้ที่อ่อนแอในหมู่พวกเจ้านั้น สำหรับฉันแล้วคือผู้ที่เข็มแข้ง จนกว่าฉันจะให้สิทธิของเขาทั้งหมด อินชาอัลลอฮฺ  ผู้ที่เข้มแข่งในหมู่พวกเจ้านั้น สำหรับฉันแล้ว คือผู้ที่อ่อนแอ จนกว่าฉันจะสิทธิคืนจากพวกเขา อินชาอัลลอฮฺ  จงอย่าด้ละทิ้งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ แท้จริงแล้วประชาชาติใดที่ละทิ้งการญิฮาด เขาจะได้รับความอัปยศและความตกต่ำจากอัลลอฮฺ  ประชาชาติใดที่มีการแพร่หลายซึ่งสิ่งชั่วร้าย แน่นอนที่สุดอัลลอฮฺจะส่งความฉิบหาย (บะลาอฺ) แก่หมู่ชนพวกเขา จงปฏิบัติตามฉัน ตราบใดที่ฉันยังคงจงรักภักดีต่ออัลลอฮฺและรซูลของพระองค์ เมื่อใดที่ฉันได้ทรยศต่ออัลลอฮฺและรซูลของพระองค์ พวกเจ้าก็ไม่จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามฉัน  จงลุกขึ้นทำการละหมาดเถิด อัลลอฮฺจะทรงเมตตาพวกเจ้า[1]
      
ในขณะที่อบูบักรฺได้รับการบัยอะฮฺจากประชาชนชาวมะดีนะฮฺในมัสยิดอยู่นั้น ชาวบนีฮาซิม (ครอบครัวของท่านนบี) กลุ่มหนึ่ง ท่าน ซุเบซร์ บิล เอาวาม และท่านอะลีกำลังชุมนุมอยู่ที่บ้านของท่านหญิง ฟาตีมะฮ์   ความไม่พอใจของ บานู ฮาชิม และท่านอาลีต่อการที่ชาวมะดีนะฮฺให้การบัยอะฮฺต่ออบูบักร โดยมิได้สนใจและเหลวแลต่อความรู้สึกของ อะลุลบัยต์ นั้น สร้างความลำบากใจให้ท่านอบูบักรฺมิใช่น้อย เมื่อชาวมาดีนะฮฺให้คำสัตยาบันหมดแล้วท่านอะบูบักรฺก็สั่งเรียกท่านอาลีเข้ามาพบ ท่านอาลีแสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจนที่เหตุการณ์ทั้งหมดนั้นทำขึ้นโดยมิได้ปรึกษาหารือกับท่านก่อน ท่านอาลีได้กล่าวว่า:

 “พวกท่านได้อ้างสิทธิในการเป็นผู้นำด้วยเหตุผลว่าพวกท่านเป็นชาวมุฮาญีรีน ท่านนบีกำเนิดในกลุ่มพวกท่าน และเพราะความใกล้ชิดของท่านอะบูบักรฺกับท่านนบี โดยที่พวกท่านสร้างความขุ่นเคืองใจชาวอันศอรฺในเรื่องเชื้อสาย แท้จริงฉัน เป็นคนในครอบครัวของท่านนบี (อะลุลบัยต์) เรื่องความเหมาะสมในการเป็นผู้นำนั้น ฉันเองก็สามารถให้เหตุผลได้เหนือกว่าทุกคน

เมือได้ทราบถึงความคิดของท่านอะลีเป็นเช่นนั้น ท่าน อบู อุบาดะฮ์ และท่าน บาซีร รู้สึกไม่สบายใจและเสียใจที่ไม่ได้นึกถึงความเหมาะสมของท่านอะลีในการเป็นคอลิฟะฮฺ แต่อย่างไรก็ตามทุกอย่างก็สายไปแล้ว เพราะทุกคนได้บัยอะฮฺต่ออบูบักรฺแล้ว พวกเขาไม่มีทางเลือกนอกจากโนมน้าวให้ท่านอะลียอมรับท่านอบูบักรฺ เพื่อรักษาความภารดรภาพของมุสลิม ในที่สุดท่านอะลีก็ยอมบัยอะฮฺต่อท่านอบุบักรฺหลังจากการเสียชีวิตของท่านหญิง ฟาตีมะฮ์

ต่อตอนที่ 2 จ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น