เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ผู้หญิงในอิสลามกับความท้าทายในโลกสมัยใหม่


อิสลามได้กำเนิดขึ้นโดยนำเสนอสิ่งใหม่ๆที่สังคมมนุษย์ส่วนใหญ่ในสมัยนั้นไม่ทราบมาก่อนและเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่บางส่วนของชาวอาหรับปฏิเสธและต่อต้านหลักคำสอนของอิสลามเพราะไม่อาจจะรับสิ่งใหม่ๆที่นำเสนอโดยท่านศาสดามูฮัมมัดได้ ความจริงอีกประการหนึ่ง คือ อิสลามในฐานะที่เป็นศาสนาและวิถีชีวิตที่สามารถยินหยัดอยู่ได้ในกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมโลกนั้นเป็นเพราะอิสลามจะมีลักษณะที่เป็น Dynamic[1] และมีความเป็น Modernity ในธรรมชาติของหลักคำสอนของอิสลามอันบริสุทธิ์นั้นเอง
            อิสลามคือหลักการและแนวทางในการแก้ปัญหาโลกและสังคม ความเป็นสมัยใหม่ คือ กระแสที่นำเสนอต่อโลกและสังคมในสภาพที่โลกและสังคมกำลังคลั่งไคล้กับวัฒนธรรมบริโภคนิยมและความเจริญที่เป็นวัตถุนิยมเป็นหลัก ความเป็นสมัยใหม่ส่วนมากจะยึดติดกับความเป็นโลกียะ อย่างไรก็ตามความเป็นสมัยใหม่ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่อิสลามไม่ได้ปฏิเสธหรือต่อต้านแต่กลับกันอิสลามมองว่าความเป็นสมัยใหม่ที่เป็นประโยชน์กับมนุษยชาติและสังคมที่สอดคล้องกับหลักคำสอนอิสลามนั้นเป็นมรดกอันล้ำค่าที่มุสลิมจะต้องนำมาปรับใช้ปรับปรุงและพัฒนาเพราะมันเป็นมรดกตกทอดของมุสลิมที่มุสลิมได้ทำให้สูญหายไปเพราะแก่นแท้ในหลักคำสอนอิสลามจากอัลกุรอานและหะดีษของท่านศาสดาแล้ว คือ ความเป็นสมัยใหม่และใหม่กว่า ความเป็นสมัยใหม่ในโลกปัจจุบันหลายเท่าทวีคูณ ความเป็นสมัยใหม่ในส่วนนี้คือการมองมนุษย์ในฐานะศูนย์กลาง ของสรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลกจักรวาล และความเป็นสมัยใหม่อีกประการหนึ่งคือกระบวนการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นองค์รวม คือ พัฒนาความเป็นจิตนิยมและความเป็นวัตถุนิยมในตัวของมนุษย์อย่างควบคู่กันเพราะสองส่วนที่ได้กล่าวนั้นคือ ตัวตนอันเป็นศักยภาพที่แท้จริงของมนุษย์นั้นเอง อิสลามไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนรกและสวรรค์เป็นหลักเท่านั้น แต่อิสลามจะให้ความสำคัญในเรื่องที่เกี่ยวกับโลกปัจจุบันมากเท่าๆกัน ความเป็นจริงการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า(อัลลอฮฺ) มนุษย์กับมนุษย์และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เป็นกิจกรรมที่มนุษย์ต้องแสดงออกถึงปฏิสัมพันธ์ในเชิงความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆที่ได้กล่าวถึงในโลกที่เป็นปัจจุบันที่เขากำลังมีชีวิตอยู่ ความสัมพันธ์ในเรื่องดังกล่าวคือ ส่วนสำคัญที่กำหนดอนาคตของมุสลิมว่าจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นนรกหรือสวรรค์
อิสลามและมุสลิมได้เริ่มเข้ามาทางตอนใต้ของประเทศไทยในตอนต้นศตวรรษที่11(คือประมาณในปีค.ศ.1081 หรือ ค.ศ.1102) ในเมืองปาตานี (คือปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและบางส่วนของสงขลาในปัจจุบัน)และได้เข้ามาในส่วนกลางของประเทศไทยในต้นศตวรรษที่16 ในสมัยการปกครองของพระเจ้าเอกาทศรถ(1605-1620) แต่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นเชิงโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมคือประมาณในศตวรรษที่13 และ 14 เมื่อเจ้าเมืองและประชาชนในเมืองปาตานีได้เปลี่ยนมารับศาสนาใหม่คืออิสลาม และเมืองปาตานีได้ประกาศเป็นรัฐอิสลามอย่างเป็นทางการในค.ศ.ที่1457 ประวัติศาสตร์ในส่วนนี้ควรแก่ศึกษาเพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจในบริบทคำอธิบายของคำว่าความเป็นสมัยใหม่ หากว่าเรามิได้ยึดติดกับรูปแบบความเป็นสมัยใหม่ที่จะต้องเป็นสิ่งปรากฏขึ้นในศตวรรษที่20 และจะต้องเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของตะวันตก ที่เน้นความเป็นโลกียะเป็นหลัก อิสลามคือความเป็นสมัยใหม่ในช่วงนั้น ซึ่งใหม่ในเชิงนัยยะที่เป็นหลักคำสอนและใหม่ฝนเชิงที่เป็นวิถีชีวิตที่ได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงหลายๆส่วนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม เช่น ครอบครัว การศึกษาวัฒนธรรมและการเมืองของผู้คน ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนที่สุดถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะในพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศไทย คือ ปาตานีในอดีต (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนของสงขลาและพัทลุง) จากเดิมที่พื้นเหล่านี้มีฮินดูและพุทธเป็นแกนกลางในการกำหนดโครงสร้างทางสังคมไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางครอบครัว การศึกษา วัฒนธรรม และการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างทางสังคมที่ชายถูกกำหนดให้เป็นใหญ่ดังที่นักวิชาการเรียกสมัยนั้นว่าเป็น สังคมปิตาธิปไตย แต่อิสลามได้เข้าปรับเปลี่ยนใหม่ให้เกิดการยอมรับผู้หญิงคือส่วนหนึ่งยอมรับผู้หญิงคือส่วนหนึ่งของสังคมที่มีสถานภาพศักดิ์ศรีแห่งเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน การกำหนดสินสอด(มะฮัร)ของผู้หญิง การกำหนดสัดส่วนที่ผู้หญิงในอิสลามจะได้รับ การกำหนดสิทธิที่ลูกสาวจะได้รับไม่ว่าจะเป็นความรักเกียรติ และสิทธิด้านอื่นๆเป็นต้น
แต่เนื่องจากอิสลามในยุคสมัยนั้นได้มีการนำเสนออิสลามที่ไม่สมบูรณ์และเต็มรูปแบบคือ ส่วนมากเป็นการนำเสนอในเชิงพิธีกรรมมากว่าที่เป็นวิถีชีวิต ดังนั้นหลายๆส่วนที่มุสลิมโดยทั่วไปเข้าใจว่าความเป็นสมัยใหม่ที่ได้นำเสนอในรูปแบบต่างๆในปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่อิสลามห้ามและไม่อาจที่จะรับได้ โดยขาดการพินิจพิจารณาอย่างละเอียดและเป็นระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการหวนกลับศึกษาหลักการต่างๆที่ปรากฏในอัลกุรอานและหะดีษของท่านศาสดาในเชิงที่เป็น Positive View และการย้อนกลับศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคมที่เคยปฏิบัติในสมัยของท่านศาสดาและเศาะฮาบะฮฺที่นักวิชาการอิสลามศึกษาเรียกว่า Normamtive islam ซึ่งสองส่วนนี้มีส่วนสำคัญมากสำหรับมุสลิมและอิสลามที่เผชิญกับความท้าทายของความเป็นสมัยใหม่ในโลกปัจจุบันในเชิงที่สร้างสรรค์และพัฒนา
การท้าทายของโลกสมัยใหม่ที่มีกระแสแรงมากในปัจจุบันคือ เรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นประชาธิปไตย และอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นความท้าทายของผู้หญิงในอิสลาม คือ เรื่องบทบาทของผู้หญิงในโลกสมัยใหม่ทั้งที่เป็นเรื่องของการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รูปแบบและแนวคิดที่เป็นการท้าทายของโลกสมัยใหม่ต่อผู้หญิงอิสลามที่ได้กล่าวถึงหากว่าไม่นับรวมทั้งหมดที่เบ็ดเสร็จทั้งที่เป็นการ รูปแบบและแนวปฏิบัติของเสรี ความเท่าเทียมและประชาธิปไตยแล้ว หลายๆส่วนของหลักการเสรีภาพ ความเท่าเทียมและประชาธิปไตย คือ อิสลาม นั้นเอง หากว่าประชาธิปไตย หมายถึงสิทธิของผู้หญิงในการเลือกผู้นำ สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทั้งที่เห็นด้วยหรือเห็นต่างกับรัฐ สิทธิในการรับรู้ถึงข้อมูลข่าวสารและการตรวจสอบ สิทธิในการเป็นตัวแทนในองค์กรของภาครัฐและเอกชน สิทธิในการปกป้องความเป็นธรรมในสังคม และอื่นอีกมากมายที่ได้กำหนดไว้ในอิสลามย่อมเป็นเรื่องเดียวกับความเป็นสมัยใหม่ ที่หลายคเข้าใจผิดว่านั้นคือ ความท้าทายของมุสลิมและอิสลาม
นอกจากประชาธิปไตยตามนัยยะที่กล่าวถึงอำนาจอธิปไตย ต้องมาจากประชาชน(ทั้งที่เป็นชายและหญิง) ที่อิสลามเห็นต่างกัน คือ อำนาจอธิปไตยในอิสลามนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺในฐานะที่พระองค์เป็น     อิลาฮ(พระเจ้า)และเป็นร็อบ(พระผู้อภิบาล)ที่ทรงรอบรู้ดีที่สุดทั้งที่เป็นธรรมชาติ รายละเอียดและข้อเท็จที่เกี่ยวกับมนุษย์และสังคม ดังนั้นพระองค์เท่านั้นที่เหมาะสมในการกำหนดอำนาจอธิปไตยในการบริหารและจัดการโลกและสังคมอย่างเบ็ดเสร็จและสมบูรณ์ บทบาทของผู้หญิงในอิสลามในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งที่อิสลามและเป็นสมัยใหม่ที่ผู้คนได้นำมาโยงให้เห็นถึงความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งที่เป็นความจริงในอิสลามได้กำหนดบทบาทต่างๆของผู้หญิงอย่างชัดเจนในฐานะที่เป็นแม่และภรรยา แต่อย่าลืมว่าผู้หญิงยังมีอีกหนึ่งสถานะในฐานะที่เป็นเคาะลีฟะฮฺของอัลลอฮฺในโลกนี้(ตัวแทนของอัลลอฮฺ)ที่ผู้หญิงในอิสลามต้องมีพันธะกิจเฉกเช่นเดียวกับชาย(แต่จะไม่ทำลายภารกิจหลักที่กำหนด)บทบาทของผู้หญิงในอิสลามสามารถเป็นนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกรัฐมนตรีหรือแม้แต่ประธานาธิบดีได้ นอกจากตำแหน่งผู้นำสูงสุดของรัฐอิสลามคือ เคาะลีฟะฮฺหรือ    อิมามะตุล กุบรอ/อิมามะตุล อุซมา (Mustafa Sebai,1986)     บทบาททางด้านเศรษฐกิจและสังคมของผู้ในอิสลามเป็นบทบาทที่อิสลามเปิดโอกาสให้ทุกคนที่เท่าเทียมกัน[2] ตำแหน่ง CEO สำหรับผู้หญิงในอิสลามนั้นไม่ได้ถูกห่วงห้ามหรือจำกัดสิทธิแต่อย่างใด ดังที่ปรากฏหลักฐานในสมัยของท่านศาสดาและบรรดาเศาะฮาบะฮฺ จะมีผู้หญิงดำรงอยู่ในตำแหน่งต่างๆที่กล่าวมาอย่างหลากหลาย อาทิเช่น Ummu al-Mudair binti Qays เป็นนักธุรกิจที่รับซื้อและขายอิทผลัมที่ใหญ่ที่สุดในเมืองมะดีนะห์ในสมัยของท่านศาสดา  Asma binti Makramah bin Jandal เป็นนักธุรกิจหญิงนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันหอมในมะดีนะห์  al shifa binti Abdullah bin  abdusham al-Qurayshiyah เป็น CEO ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารตลาดใหญ่เมืองมะดีนะห์ (Shaikhah Suq al-Madinah) ในสมัยของอุมัร อิบนุ  คอฏฏอบ (Haji Faisl,1993) ปรากฏการณ์ที่ได้กล่าวถึงคือ รูปแบบที่อิสลามอนุมัติและส่งเสริมให้ผู้หญิงในอิสลามสามารถปฏิบัติในโลกปัจจุบัน ซึ่งแน่นอนหากว่าเรามุสลิม(ชาย)เปิดใจกว้างเราจะค้นพบโลกแห่งความเป็นในอิสลามมิใช่โลกที่เรา(ชาย)ได้หลอกสร้างขึ้นในโลกแห่งจิตนาการ



[1] อิสลามจะเป็นหลักคำสอนที่สองลักษณะที่สำคัญ คือ มีความคงที่และเปลี่ยนแปลงได้ หลักคำสอนอิสลามที่มีความคงที่จะเป็นหลักคำสอนที่เกี่ยวกับอากีดะห์หรือหลักการศรัทธาหรือความเชื่อในอิสลามโดยเฉพาะหลักศรัทธาหกประการและหลักการอิสลามที่ถูกกำหนดอย่างชัดแจ้งทั้งในอัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านศาสดา แต่หลักการปฏิบัติทางสังคมส่วนใหญ่แล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงบริบท ทางสังคมและวัฒนธรรมตลอดเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่ขัดกับหลักการที่ถูกกำหนดโดยอัฃกุรอานและหะดีษของท่านศาสดาในฐานะที่เป็นตัวบทในอิสลาม
[2] สำหรับผู้ชายนั้นมีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกเขาได้ขวนขวายไว้สำหรับผู้หรับผู้หญิงนั้นก็มีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกนางได้ขวนขวายไว้และพวกเจ้าจงขอต่ออัลลอฮฺเถิดจากความกรุณาของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้สิ่งทุกอย่าง (อัลกุรอาน 4:32)
และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงที่ศรัทธาต่างคนต่างเป็นมิตรของกันและกันและพวกเขาใช้แต่การดีและห้ามสิ่งต้องห้าม

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30 กรกฎาคม 2558 เวลา 02:41

    ขอบคุณจ้าสำหรับบทความดีๆ

    muslim names

    ตอบลบ
  2. อัสสาลามูอาลัยกุมคะ
    ...
    อยากได้ข้อมูล เนื้อหาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อิสลามในราชวงศต่างๆ
    เริ่มตั้งเเต่ท่านนบีมูฮำหมัด จนถึงยุคสดท้าย
    เเละที่สำคัญ..อยากได้เนื้อหาที่บ่งบอกหรือเเสดงถึงการขยายอำนาจอิสลามในดินเเดงต่างๆ
    เช่น ตะวันออกกลาง หรือโซนต่างๆด้วยคะ..
    ...
    ญาซากัลลอฮฺมากๆคะ

    ตอบลบ