เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

บทที่ 6 การจำแนกหะดีษโดยพิจารณาจำนวนของผู้รายงาน

บทที่ 6

เป็นหนังสือที่ใช้สอนใน ของคณะอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี
โดย อาจารย์ อับดุลเลาะ การีนา มีทั้งหมด 7บท ต่อมาด้วยหะดีษต่างๆอีก 4 บทนะ
การจำแนกหะดีษโดยพิจารณาจำนวนของผู้รายงาน

หัวข้อย่อย
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
1. การจำแนกหะดีษมัรฟูอฺ
2. หะดีษมุตะวาติร
3. ชนิดต่าง ๆ ของหะดีษมุตะวาติร
4. หะดีษอาห๊าด
5. ชนิดต่าง ๆ ของหะดีษอาห๊าด
1. เข้าใจวิธีการจำแนกหะดีษมัรฟูอฺ
2. เข้าใจความหมายของหะดีษมุตะวาติร
3. เข้าใจชนิดต่าง ๆ ของหะดีษมุตะวาติร
4. เข้าใจความหมายของหะดีษอาห๊าด
5. เข้าใจชนิดต่าง ๆ ของหะดีษอาห๊าด

การจำแนกหะดีษมัรฟูอฺเป็นการพิจารณาจากสายรายงานของแต่ละหะดีษที่มาถึงเราจากผู้รายงานทั้งหลายตั้งแต่ช่วงต้นจนถึงท่านนบีมุฮัมมัด r การรายงานนั้นถูกต้องหรือไม่ก็ตาม การจำแนกหะดีษในลักษณะนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1     หะดีษมุตะวาติร
ประเภทที่ 2    หะดีษอาห๊าด
แต่ละประเภทจะมีการอธิบายรายละเอียดตามลำดับ

ประเภทที่ 1   หะดีษมุตะวาติร

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์
คำว่า تَوَاتُرٌมาจากรากศัพท์ของคำว่า تواتر يتواتر تواتراًแปลว่า ติดๆ กัน หรือไม่ขาดสาย เช่น ฝนตกอย่างติดต่อกัน หมายถึงฝนตกลงมาติดต่อกันไม่ขาดสาย    ส่วนคำว่า متواترเป็นนามในรูปของประธานซึ่งเป็นชื่อเฉพาะของหะดีษมุตะวาติร
ตามหลักวิชาการ
หะดีษมุตะวาติร คือ  หะดีษที่มีการรายงานโดยบุคคลเป็นจำนวนมาก  ซึ่งเป็น ไปไม่ได้ที่บุคคลเหล่านั้นจะสมรู้ร่วมคิดโกหกต่อท่านนบีมุฮัมมัด r รวมถึงหะดีษของท่านด้วย (อัตตะฮานะวีย์  : 31)

2.   เงื่อนไขของหะดีษมุตะวาติร

การที่จะเรียกหะดีษมุตะวาติรได้นั้นจะต้องประกอบด้วยเงื่อนไข  4 ประการ
ประการที่ 1   มีการรายงานโดยผู้รายงานเป็นจำนวนมาก
ประการที่ 2   ผู้รายงานจำนวนมากนั้นต้องมีในทุกสายสะนัด
ประการที่ 3   ผู้รายงานจำนวนมากนั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะสมรู้ร่วมคิดโกหกต่อ   หะดีษ
ประการที่ 4   การรายงานของพวกเขามีการสัมผัสด้วยตนเอง
หากขาดเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งในจำนวนสี่ประการนี้ ไม่เรียกว่าหะดีษมุตะวาติร แต่จะเป็นหะดีษอาห๊าด

3.   ชนิดและตัวอย่างหะดีษมุตะวาติร

หะดีษมุตะวาติรแบ่งออกเป็น  ชนิด
ชนิดที่หนึ่ง   หะดีษมุตะวาติรลัฟซีย์ (المتواتر اللفظيّ)
หมายถึง  หะดีษที่เป็นมุตะวาติรทั้งตัวบทและความหมายของหะดีษ ตัวอย่าง
قال البخاريّ : حدثنا موسى بن إسماعيل، حدثنا أبو عوانة، حدثنا أبو حفص، عن أبي صالح، عن أبي هريرة رضي الله عنه عن النبي صلى الله عليه وسلم قال : (( من كذب عليّ متعمداً فليتبوأ مقعده من النار ))
ความว่า อิมามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า มูสา เบ็ญ อิสมาแอลได้รายงานแก่พวกเราว่า อะบูอะวานะฮฺได้รายงานแก่พวกเราว่า อะบูหัฟศฺได้รายงานแก่พวกเรา จากอะบูศอลิหฺ จากอะบูฮุรอยเราะฮฺ t จากท่านนบี r กล่าวว่า และผู้ใดเจตนาโกหกต่อฉันก็จงเตรียมที่นั่งสำหรับเขาไว้ในไฟนรก
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ด้วยสองสะนัด คือ  1/577 จากอะบูฮุรัยเราะฮฺ และ  จากอัลมุฆีเราะฮฺ  : 3/160,  มุสลิมจากอะบูสะอีด  : 18/129,  อะบูดาวูด : 4/63 และอัตตัรมิซีย์  จากอับดุลเลาะ  : 4/524,  อิบนุมาญะฮฺได้รายงานด้วยสามสะนัด คือ จากอะนัส เบ็ญ มาลิกและ ญาบิร เบ็ญ อับดุลเลาะ : 1/13 และจากอะบูสะอีด อัลคุดรีย์ : 1/14  อะหฺมัด เบ็ญ หันบัล ได้รายงานด้วยสองสะนัด คือ จากอะบูสะอีด อัลคุดรีย์ : 3/39 และจากอะนัส เบ็ญ มาลิก : 3/44, อัดดาริมีย์ได้รายงานด้วยสองสะนัด คือ จากอิบนุอับบาสและจาก ยะอฺลา เบ็ญ มุรเราะฮฺ  : 1/88
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษมุตะวาติรทั้งตัวบทหะดีษและความหมาย  อัลอัสเกาะลานีย์กล่าวว่า   สายรายงานของหะดีษในรุ่นเศาะหาบะฮฺมีมากกว่า 70 คน(อัลอัสเกาะลานีย์  : 1/129)   ดังนั้น  สายรายงานของหะดีษมีทั้งหมด 70 สาย ส่วนตัวบทของหะดีษมีการรายงานด้วยสำนวนที่หลากหลาย บางตอนของตัวบทหรือบางคำไม่มีการรายงานของสะนัดอื่น   แต่ตัวบทหะดีษ จะกล่าวในเรื่องเดียวกัน
นอกจากสะนัดต่าง ๆ ที่ได้ยกมาจะมีสะนัดอื่นอีกหลายสะนัดที่รายงานหะดีษดังกล่าวทั้งหมดอยู่ในระดับหะดีษเศาะหีหฺหรือหะดีษหะสัน  บางสะนัดมีลักษณะเป็น    สะนัดอาลีย์และบางสะนัดมีลักษณะเป็นสะนัดนาซิล
ชนิดที่สอง   หะดีษมุตะวาติรมะอฺนะวีย์ (المتواتر المعنويّ)
หมายถึง  หะดีษมุตะวาติรในด้านของความหมายเท่านั้น  ไม่รวมถึงตัวบทหะดีษ
عن عمر بن الخطاب رضي الله عنه قال : كان رسول الله صلى الله عليه وسلم إذا رفع يديه في الدعاء لم يحطهما حتى يمسح بهما وجهه
ความว่า จากอุมัร เบ็ญ อัลค๊อฏฏอบ t กล่าวว่า เราะสูลุลลอฮฺ r เมื่อท่านยกสองมือในการดุอาอฺ ท่านไม่ได้เอาสองมือลงจนกว่าท่านลูบใบหน้าเสียก่อน
บันทึกโดยอะบูดาวูด : 5/234, อัตติรมิซีย์ : 5/45 จากอิบนุอับบาส สำนวนหะดีษเป็นของอัตติรมิซีย์ หะดีษนี้บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺจากสองกระแสรายงาน คือ จากอิบนุ       อับบาส : 1/1234 และจากอัสสาอิบ เบ็ญ  ยะซีด : 2/1234 อัลอัสเกาะลานีย์ กล่าวว่า สำหรับหะดีษบทนี้มีชะวาฮิดบันทึกโดยอะบูดาวูดและท่าน    อื่น เมื่อรวบรวมกระแสรายงานของหะดีษทั้งหมดสามารถสนับสนุนจึงเลื่อนฐานะเป็นหะดีษหะซัน    (ดูอิบนุ อัลลาน : 2/254) หมายถึง หะดีษหะสันลิฆัยริฮฺ
จากหะดีษบทนี้และหะดีษอื่น ได้พูดถึงเรื่องการยกสองมือขณะขอดุอาอฺได้ การยกสองมือในเหตุการณ์ที่แตกต่างกันไม่ถึงขั้นหะดีษมุตะวาติร อิมามอัสสุยูฏีย์กล่าวว่า  เมื่อรวบรวมสายรายงานของหะดีษที่พูดถึงเฉพาะการยกสองมือเท่านั้น โดยมิได้พิจารณาเหตุการณ์หะดีษบทนี้อยู่ในระดับหะดีษมุตะวาติร” (อัสสุยูฏีย์  :  2/180)

4.   หุก่มของหะดีษมุตะวาติร

อุละมาอฺส่วนใหญ่มีความเห็นว่า  หะดีษมุตะวาติรจะมีหุก่มอิลมุฎอรูรีย์ العلم الضروريّ (ความรู้ที่แน่นอน) หรือบอกหุก่มอย่างเด็ดขาดที่วาญิบต้องปฏิบัติและจำเป็น  ในการศรัทธาเสมือนเขาได้เห็นด้วยตนเองในสิ่งนั้น ๆ

5.   หุก่มของการนำมาใช้เป็นหลักฐาน

หะดีษมุตะวาติรวาญิบให้นำมาใช้เป็นหลักฐานและปฏิบัติตามในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องศาสนา  หะลาลและหะรอม  อิบาดะฮฺ  การแต่งงาน และอื่นๆ เป็นต้น


6.   จำนวนหะดีษมุตะวาติร

หะดีษมุตะวาติรมีจำนวนไม่มากหากเทียบกับหะดีษอาห๊าด  เพราะสายรายงานที่มีลักษณะมากกว่า 10 คนในทุกช่วงและทุกรุ่นของสายรายงานไม่ใช่เรื่องที่ง่าย และการรายงานเพื่อจะได้มาซึ่งจำนวนดังกล่าวเป็นเรื่องที่เหนือขีดความสามารถของแต่ละคนโดยคนอะวาม เว้นแต่บุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและทุ่มเทเพื่อหะดีษของท่านนบีมุฮัมมัด r เท่านั้น     ที่สามารถทำได้

7.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

          1. كتاب الأزهار المتناثرة في الأخبار المتواترة، الإمام السيوطيّ  
                2.كتاب قطف الأزهار، الإمام السيوطيّ     
                3.كتاب نظم المتناثرة من الحديث المتواتر، محمد بن جعفر الكتانيّ     

ประเภทที่ 2   หะดีษอาห๊าด

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์
คำว่า آحادเป็นคำพหูพจน์ของ أحدٌ แปลว่า หนึ่งเดียว หมายถึง หะดีษที่มีผู้รายงานหนึ่งเดียวหรือสายรายงานเดียว
จุดประสงค์ของการใช้คำพหูพจน์ آحادเพื่อแสดงถึงสายรายงานนั้นไม่ถึงขั้นหะดีษมุตะวาติร คือ สะนัดแต่ละสะนัดของหะดีษแต่ละบทไม่ถึง 10 สะนัดนั่นเอง
ตามหลักวิชาการ
หะดีษอาห๊าด คือ  หะดีษที่มีการรายงานที่ไม่ครบเงื่อนไขของหะดีษ  มุตะวาติร (อัลอัสเกาะลานีย์ : 26)

2.   หุก่มของหะดีษอาห๊าด

ตามทัศนะของอุละมาอฺส่วนใหญ่ระบุว่า  หะดีษอาห๊าดให้หุก่มอิลมุศ๊อนนีย์ العلم الظنّي (คาดคะเน) ไม่ใช่หุก่มที่แน่นอน อิบนุ หัซมฺ กล่าวว่า หะดีษอาห๊าดที่รายงานโดยผู้ที่มีคุณธรรมจากคนที่มีลักษณะเดียวกันจนถึงท่านนบีมุฮัมมัด r วาญิบปฏิบัติตามและต้องมีการศรัทธาในหะดีษอีกด้วย” (อิบนุหัซมฺ : 1/165)
3.   ชนิดของหะดีษอาห๊าด

การจำแนกหะดีษอาห๊าดออกเป็นชนิดต่าง ๆ นั้น มีวิธีการพิจารณา  ด้าน
1.             พิจารณาจำนวนผู้รายงานในแต่ละสะนัดของแต่ละรุ่น
ชนิดที่ 1    หะดีษมัชฮูร (الحديث المشهور)
ชนิดที่ 2    หะดีษอะซีซ (العزيز الحديث)
ชนิดที่ 3    หะดีษเฆาะรีบ (الحديث الغريب)
2. พิจารณาสถานภาพของผู้รายงานทั้งด้านสถานภาพของแต่ละคน
                       ชนิดที่ 1    หะดีษมักบูล (الحديث المقبول)
                       ชนิดที่ 2    หะดีษมัรดูด (الحديث المردود)
แต่ละชนิดของหะดีษอาห๊าดจะมีการอธิบายตามลำดับหัวข้อ ดังนี้

ชนิดที่ 1   หะดีษมัชฮูร

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์
หะดีษมัชฮูร مشهور คือ หะดีษที่รู้กันอย่างแพร่หลายจากการบอกเล่า หรือ    หะดีษที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
ตามหลักวิชาการ
หมายถึง หะดีษที่รายงานโดยผู้รายงานตั้งแต่สามคนขึ้นไป  แต่ไม่ถึงขั้นหะดีษ    มุตะวาติร (อัลญะซาอิรีย์ : 35)
อุละมาอฺส่วนใหญ่ได้กำหนดจำนวนผู้รายงานหะดีษมัชฮูรในขั้นต่ำคือ 3 คน     ขึ้นไป ทัศนะนี้ไม่ได้แยกระหว่างหะดีษมัชฮูรกับหะดีษอิสติฟาเฎาะฮ  ดังนั้น หะดีษมัชฮูรมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ หะดีษมุสตะฟีฎ

2.   ตัวอย่างหะดีษมัชฮูร

قال الإمام مسلم : حدثنا أبو كريب، حدثنا أبو معاوية، عن أبي عمرو الشيبانيّ، عن أبي مسـعود البدري رضي الله عنه، قال رسـول الله صلى الله عليه وسلم : (( من دلّ على خير فله مثل أجر فاعله ))
ความว่า อิมามมุสลิมกล่าวว่าอะบูกุรอยบฺได้รายงานแก่พวกเราว่า อะบูมุอาวิยะฮฺได้รายงานแก่พวกเราจากอะบูอัมรฺ อัชชัยบานีย์ จากอะบูมัสอูด อัลบัดรีย์ t  กล่าวว่า  เราะสูลุลลอฮฺ r  กล่าว่าผู้ใดชี้นำ (คนอื่น) ในทางที่ดี  เขาจะได้รับผลบุญเหมือนกับผลบุญของผู้ปฏิบัติ” (มุสลิม : 13/ 38)
วิธีการรู้จักหะดีษมัชฮูรให้พิจารณาจำนวนสายรายงานของหะดีษที่มีสามสะนัดขึ้นไปหรือไม่

3.   ระดับของหะดีษมัชฮูร

หะดีษมัชฮูรมีทั้งหะดีษเศาะหีหฺ หะดีษหะสัน หะดีษเฎาะอีฟ หะดีษฎออีฟญิดดัน และหะดีษเมาฎูอฺ

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

หะดีษมัชฮูรอนุญาตใช้เป็นหลักฐานได้ หากเป็นหะดีษเศาะหีหฺหรือหะดีษหะสัน และไม่อนุญาตให้นำหะดีษมัชฮูรที่เฏาะอีฟและเมาฎูอฺมาใช้เป็นหลักฐาน

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

1.كتاب المقاصد الحسنة فيما اشتهر على الألسنة، الإمام السخاويّ  
2.كتاب كشف الخفاء ومزيل الإلباس فيما اشتهر من الحديث على ألسنة الناس،   العجلونيّ              
3.  كتاب تمييز الطيب من الخبيث فيما يدور على ألسنة الناس من الحديث،  
ابن الديبع الشيبانيّ     

ชนิดที่ 2   หะดีษอะซีซ

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์
หะดีษอะซีซ คือ  หะดีษที่เกิดขึ้นเป็นบางครั้งบางคราว
ตามหลักวิชาการ
หมายถึง  หะดีษที่มีการรายงานโดยผู้รายงานสองคนในทุก ๆ รุ่นตลอดทั้งสายรายงาน (อัลญะซาอิรีย์ : 36)  ตั้งแต่ช่วงต้นจนถึงช่วงสุดท้ายของสะนัด

2.   ตัวอย่างหะดีษอะซีซ

فال الإمام البخاريّ : حدثنا آدم، قال حدثنا شعبة، عن قتادة، عن أنس قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : (( لا يؤمن أحدكم حتى أكون أحب إلى الله من والده وولده والناس أجمعين ))
ความว่า อิมามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า อาดัมได้รายงานแก่พวกเราว่า ชุอฺบะฮฺได้รายงานแก่พวกเรา จากเกาะตาดะฮฺ จากอะนัสกล่าวว่า เราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่าไม่ถือเป็นการ อีมานของใครคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าจนกว่าฉันจะเป็นที่รักยิ่งของเขาเพื่ออัลลอฮฺยิ่งกว่าบิดามารดา ลูก และบุคคลทั่วไปทั้งหมด” (อัลบุคอรีย์  : 2/15)

3.   ระดับของหะดีษอะซีซ

หะดีษอะซีซบางหะดีษอยู่ในระดับหะดีษเศาะหีหฺ หะดีษหะสัน และบางหะดีษ อยู่ในระดับหะดีษเฎาะอีฟ

4.   การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

อนุญาตให้นำหะดีษอะซีซมาใช้เป็นหลักฐานได้หากเป็นหะดีษเศาะหีหฺและ     หะดีษหะสัน และไม่อนุญาตให้นำมาใช้เป็นหลักฐาน ในกรณีที่เป็นหะดีษเฎาะอีฟ

5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

ยังไม่มีหนังสือเฉพาะที่รวบรวมหะดีษอะซีซ

ชนิดที่ 3   หะดีษเฆาะรีบ

1.   นิยาม

ตามหลักภาษาศาสตร์
คำว่า غريب แปลว่า ไม่เหมือนกับคนอื่น หรือหะดีษที่มีการรายงานแปลกกว่าการรายงานของคนอื่น หรือหะดีษที่แปลกกว่าหะดีษอื่น
ตามหลักวิชาการ
หะดีษเฆาะรีบ หมายถึง  หะดีษที่มีการรายงานโดยผู้รายงานเพียงคนเดียวเท่านั้นตลอดทั้งสายรายงาน (มะหฺมูด อัตเฏาะหฺหาน : 123)
2.   ตัวอย่างหะดีษเฆาะรีบ

قال الإمام البخاريّ : حدثنا الحميديّ عبدالله بن الزبير، قال حدثنا سفيان، قال حدثنا يحي بن سعيد الأنصاريّ، قال أخبرنا محمد بن إبراهيم التيميّ أنه سمع علقمة بن وقاص الليثيّ يقول : سمعتُ عمر بن الخطاب على المنبر قال : سمعتُ رسـول الله صلى الله عليه وسلم : (( إنما الأعمال بالنيات، وإنما لكل امرئ ما نوى، فمن كانت هجرته إلى الله ورسوله فهجرته إلى الله ورسوله، ومن كانت هجرته لدنيا يصيبها أو امرأة ينكحها فهجرته إلى ما هاجر إليه ))
 ความว่า  อิมามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า อัลหุมัยดีย์ได้รายงานแก่พวกเราโดยกล่าวว่า สุฟยานได้รายงานแก่พวกเราโดยกล่าวว่า ยะหฺยา เบ็ญ สะอีด อัลอันศอรีย์ได้รายงานแก่พวกเราโดยกล่าวว่า มุฮัมมัด เบ็ญ อิบรอฮีม อัตตัยมีย์ได้รายงานแก่พวกเราว่า แท้จริงท่านได้ยินอัลเกาะมะฮฺ เบ็ญ วักกอศ อัลลัยษีย์กล่าวว่า ฉันได้ยินอุมัร เบ็ญ อัลค๊อฏฏอบขณะที่ท่านอยู่บนมินบัรกล่าวว่า  ฉันได้ยิน เราะสูลุลลอฮฺ r กล่าวว่าแท้จริงการงานทั้งหลายด้วยการเนี้ยต และแท้จริงสำหรับแต่ละคนนั้นด้วยการเนี้ยตของเขา ดังนั้น ผู้ใดอพยพเพื่ออัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ การอพยพของเขาเพื่ออัลลอฮฺและเราะสูลเช่นเดียวกัน และผู้ใดอพยพเพื่อดุนยาที่เขาแสวงหาหรือเพื่อผู้หญิงที่เขาจะแต่งงานด้วย การอพยพของเขาก็เพื่อสิ่งนั้น” (อัลบุคอรีย์ : 1/9 และมุสลิม : 13/53)
หะดีษบทนี้ถูกบันทึกไว้โดยผู้บันทึกหลายคนด้วยกัน แต่มาจากสายรายงานเดียว กันตั้งแต่ช่วงต้นถึงช่วงท้ายของสะนัด

3.   ระดับของหะดีษเฆาะรีบ

หะดีษเฆาะรีบมีหลายระดับเหมือนกับหะดีษมัชฮูรและหะดีษอะซีซ   มีทั้งหะดีษเศาะหีหฺ  หะดีษหะสัน และหะดีษเฎาะอีฟ

4.   การใช้เป็นหลักฐาน

อนุญาตให้นำหะดีษเฆาะรีบมาใช้เป็นหลักฐานได้เฉพาะที่เป็นหะดีษเศาะหีฮฺและหะดีษหะสันเท่านั้นและไม่อนุญาตนำหะดีษเฆาะรีบที่เฏาะอีฟและเมาฎูอฺมาใช้เป็นหลักฐาน



5.   ตำราที่เกี่ยวข้อง

1.كتاب غرائب مالك، الإمام الدارقطنيّ  
2.كتاب الإفراد، الإمام الدارقطنيّ  
3.كتاب مسند البزّار، الإمام البزار  
4.كتاب المعجم الأوسط، الطبرانيّ   

ถึงอย่างไรก็ตาม   การรู้จักหะดีษอาห๊าดทั้งสามชนิดนี้โดยวิธีการศึกษาสะนัดของแต่ละหะดีษ คือ
1.   ศึกษาจำนวนสายรายงานของแต่ละหะดีษและจำนวนผู้รายงานของแต่ละรุ่น
2.   ศึกษาสถานภาพของผู้รายงานหะดีษด้านคุณธรรมและข้อบกพร่อง

โจทย์ฝึกหัดเพิ่มเติม

1.  การแบ่งประเภทของหะดีษมัรฟูดพิจารณาด้านใด ?
2.  หะดีษมุตะวาติรหมายถึงหะดีษอะไร ?
3.  หะดีษมุตะวาติรมีข้อบัญญัติว่าอย่างไร ?
4.  หะดีษมุตะวาติรแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง ?
5.  หะดีษอาห๊าดหมายถึงหะดีษอะไร ?
6.   หะดีษอาห๊าดมีข้อบัญญัติว่าอย่างไร ?
7.  หะดีษอาห๊าดแบ่งออกเป็นกี่ชนิด ?
8.  การแบ่งประเภทของหะดีษในลักษณะนี้ตั่งแต่เมื่อไร ?
9.  การรายงานหะดีษมุตะวาติรมีวิธีการรายงานอย่างไร ?
10. การรายงานหะดีษอาห๊าดมีวิธีการรายงานอย่างไร ?


1 ความคิดเห็น: