เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คอลีฟะฮ อุมัร ตอนที่ 4 การปฏิรูปการเมืองการปกครอง และ วาระสุดท้ายของ อุมัร



โดยอาจารย์ รอฟลี แวหะมะ อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี  เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อิสลาม โดยเฉพาะ
ติดตามตอนต่อไป เคาะลีฟะห์ อุษมาน บิน อัฟฟาน 

3.3   การปฏิรูปการเมืองการปกครอง
                1.  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรกับการคัดเลือกผู้ปกครอง
ผู้นำคือผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน เขาต้องใช้พลังความสามารถของเขาเอง นำพาประชาชนไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง การบริหารบ้านเมืองให้เกิดความสงบร่มเย็นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดระบบกลไกอย่างเรียบร้อยที่สุด แต่การบริหารดังกล่าวนั้นจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถท่านอื่น ๆ ที่จะมาช่วยกันดูแลความเรียบร้อยให้เกิดขึ้นทั่วอาณาจักรอิสลาม
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรทราบดีว่า การบริหารอาณาจักรอิสลามอันกว้างใหญ่ไพศาลให้เป็นระเบียบเรียบร้อยนั้น เป็นงานที่ต้องใช้ความสามารถเป็นพิเศษ ทั้งนี่ก็เพราะรูปแบบการบริหารในสมัยท่านศาสดามูฮัมมัดr และสมัยท่านคอลีฟะฮอบูบักร ยังเป็นไปในสภาพที่ไม่ค่อยชัดเจนนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกสรรผู้ปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เมื่อท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเข้ามาดำรงตำแหน่ง ท่านจึงวางระเบียบการคัดเลือกบุคคลเหล่านั้นขอบเขตการปฏิบัติงานและระบบการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

แนวทางการคัดเลือกผู้ปกครองนครหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                1.1     ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรปฏิเสธที่จะส่งบรรดาศอฮาบะฮ(สหาย)ผู้อวุโส เช่นท่าน อลี บุตร อบีฏอเล็บ ท่านอุสมาน บุตร อัฟฟาน และท่านอื่น ๆ ไปดำรงตำแหน่งอื่นนอกนครมะดีนะฮ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
. เพื่อเป็นที่ปรึกษาและแสดงความคิดเห็นในการบริหารกิจการต่าง ๆ เนื่องจากพวกเขาเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์และมีความใกล้ชิดกับท่านศาสดามูฮัมมัดr เป็นอย่างมาก
. ความจงรักภักดีต่อผู้นำ ความศรัทธาอันแรงกล้าต่ออิสลามและตำแหน่งอันสูงส่งในสมัยท่านศาสดามูฮัมมัด r
. ความกลัวของท่านคอลีฟะฮฺอุมัรที่ตรวจสอบเขาเหล่านั้น หากเกิดการทุจริตในหน้าที่ เนื่องจากอุมัรเอาจริงเอาจังจากเรื่องนี้
1.2    ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรปฏิเสธที่จะแต่งตั้งบุคคลที่มาจากตระกูลของท่านศาสดามูฮัมมัดr โดยปฏิเสธที่จะให้อับดุลลอฮบุตรอับบาส ลูกของลุงท่านศาสดามูฮัมมัดr เป็นผู้ว่าการรัฐด้านนอกทั้ง ๆ ที่มีความเพรียบพร้อม เพราะเป็นการให้เกียรติและหลีกเลี่ยงจากการถูกตำหนิหากเกิดการผิดพลาดทางการบริหาร  (อัฎฎ่อมาวีย,1969 :272-273)
1.3 อุมัรได้วางหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือกผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งผู้ปกครองนอกเหนือจากมีความรู้ในด้านศาสนาแล้วก็คือ
.มีความเข้มแข็งดังมีรายงานว่า ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้แต่งตั้งชุฮเราะหบีลบุตรฮะซะนะฮ ให้ปกครองเมืองชาม ต่อมาได้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้งมุอาวียะฮบุตรอบีซุฟยานดำรงตำแหน่งแทน ผู้ถูกปลดจึงกล่าวกับท่านว่า ท่านปลดข้าพเจ้าเพราะความโกรธหรือ ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรตอบว่า เปล่า ท่านคือผู้ที่ฉันรัก แต่มีบุคลที่เหมาะสมกว่าท่าน”  ผู้ถูกปลดจึงกล่าว่า  ขอให้ท่านประกาศต่อประชาชนว่าข้าพเจ้ามิได้ถูกปลดเพราะกระทำผิด ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงประกาศดังกล่าว
.มีความนอบน้องถ่อมตน ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรกล่าวว่า ฉันต้องการบุคคลหนึ่งเมื่อเขาอยู่ในหมู่ชนของเขาอย่างสามัญ แต่ได้รับเกียรติเยี่ยงผู้นำ และเมื่อเขาอยู่ในฐานะผู้นำ เขากลับปฏิบัติตัวเยี่ยงสามัญชนธรรมดา” (อัฏฏอมาวีย,1969:274)
.มีความเมตตาต่อประชาชน มีรายงานที่แพร่หลายว่า มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้เรียกชายคนหนึ่งเข้าพบเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐ ในขณะเซ็นสัญญาอยู่ก็มีหลานของท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเดินเข้ามานั่งข้าง ๆ ท่านได้กอดจูบเด็กนั้นด้วยความเอ็นดู ชายคนนั้นกล่าว่า  โอ้ผู้นำแห่งศรัทธาชน ข้าพเจ้ามีหลานอยู่ 10 คนด้วยกัน ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ข้าพเจ้าเลยท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงกล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮIได้ถอดความเมตตาออกจากหัวใจเจ้าแล้วพระองค์ทรงเมตตาต่อบ่าวผู้มีความเมตตาเช่นเดียวกัน ต่อจากนั้นท่านได้หยิบใบแต่งตั้งและฉีกทิ้ง พร้องกับกล่าวว่า  เมื่อเจ้าไม่มีความเมตตาต่อลูกหลานของเจ้า แล้วเจ้าจะให้ความเมตตาต่อประชาชนที่ต้องรับผิดชอบได้อย่างไร (อฏฏอมาวีย,1696:275)
                แม้ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเป็นคนเอาจริงเอาจังต่อการเลือกสรรบรรดาผู้ว่าการรัฐและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ของรัฐแล้ว แต่ท่านก็มิได้ตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว ท่านขอคำปรึกษาจากผู้สันทัดกรณีก่อนเสมอ นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงความรอบคอบของท่าน ในฐานะผู้นำแห่งศรัทธาชน
หลักการทำงานของผู้ปกครอง
                นอกจากอุมัรจะมีกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดในการคัดเลือกผู้ว่าการรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว ท่านยังกำหนดขอบเขตและหลักการทำงานให้พวกเขาปฏิบัติอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นพื้นฐานการตรวจสอบในภายหลัง ดังนั้นบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องมีการสำรวจและบันทึกทรัพย์สินเสียก่อน จากนั้นก็จะมอบหนังสือแต่งตั้งไว้เป็นหลักฐาน ในช่วงฤดูการฮัจญ์ของทุกปี ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจะเชื้อเชิญพวกเขามาประชุมเพื่อรายงานผลการปฏิบัติของตน
                เงื่อนไขเฉพาะที่ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรรวบรวมเอาไว้ในหนังสือว่าด้วยการปกครองซึ่งเขียนไว้โดยสรุปว่า เมื่อมีคนหนึ่งคนใดได้รับการแต่งตั้ง เขาจะได้รับหนังสือเกี่ยวกับระเบียบการปกครอง และจะต้องได้รับการรับรองจากคนกลุ่มหนึ่ง จากพวกมุฮาญิรีน (ผู้ที่อพยพมาจากมักกะฮ) และพวกอันศอร(ชาวเมือง   มะดีนะฮ) ในฐานะเป็นพยานว่าเขาจะไม่ทุจริตต่อผู้ที่อยู่ใต้การปกครองของเขามาว่าจะด้วยชีวิตหรือทรัพย์สิน เขาจะไม่ใช้ตำแหน่งเพื่อผลปะโยชน์ตังเองหรือคนใกล้ชิด นอกจากนี้ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรยังกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการรัฐไว้โดยกล่าวว่า ฉันมิได้แต่งตั้งท่านเพื่อสร้างความเดือดร้อนต่อชีวิตและเกียรติยศของพวกขา แต่เพื่อให้ท่านนำพวกเขาปฏิบัติศาสนกิจให้ถูกต้องจัดแบ่งทรัพย์สงครามและตัดสินใจด้วยความยุติธรรม” (อัฏฏอมาวีย,1966:676)
                การตรวจสอบบรรดาผู้ว่าการรัฐและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ
                ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรทราบดีว่า การกำหนดแนวทางต่าง ๆ ให้กับพวกเขาเหล่านั้นได้ปฏิบัติจะไม่เกิดคุณค่าหรือประโยชน์ใด ๆหากปราศจากการติดตามผล ท่านจึงจัดตั้งเจ้าหน้าที่พิเศษให้คอยติดตามการปฏิบัติงานของพวกเหล่านั้นและรายงานให้ทราบโดยตรงเพื่อ ตรวจสอบดูว่าปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างไร เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนจะถูกห้ามใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย เพื่อที่ประชาชนจะได้ไม่สงสัยในพฤติกรรมของเขาเหล่านั้น   สำหรับท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเองก็มีความรอบคอบต่อการใช้จ่ายภายในบ้านของท่าน ซึ่งเป็นจุดสนใจของบุคคลทั่วไป
                ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเป็นผู้นำที่เคร่งครัดและเอาจริงเอาจังเป็นอย่างยิ่งท่านไม่ต้องการให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้นการคัดเลือกการกำหนดนโยบายการทำงานและการตรวจสอบ จึงถือเป็นภารกิจสำคัญของท่านซึ่งจะส่งผลให้เกิดความรักความผูกพันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชนได้อย่างสนิทใจยิ่งขึ้น
                ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับประชาชน
               ผู้ปกครองที่ดนั้นจะต้องให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครอง และจะต้องรับรู้ถึงความต้องการของพวกเขา ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการบริหารสังคม ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรก็เช่นเดียวกัน ตลอดชีวิตการเป็นผู้นำของท่าน ท่านใช้เวลาคลุกคลีกับประชาชนดูแลความเป็นอยู่ด้วยตัวของท่านเอง ท่านเดินตรวจตราความเรียบร้อยทั้งกลางวันและกลางคืน ท่านจะเข้าไปสัมผัสกับสภาพที่ประชาชนของท่านประสบอยู่ โดยไม่แสดงตัวว่าท่านเป็นใคร ท่านจึงได้รับรู้ปัญหาต่าง ๆ  ของประชาชน การปฏิบัติหน้าที่ของท่านถือเป็นคณูปการอันยิ่งใหญ่ของชาวอาหรับและมุสลิมทั้งมวล การวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ล้วนเกิดจากการเข้าไปสัมผัสและรับรู้ความต้องการอันแท้จริงของประชาชน จนเกิดแนวทางการวางระบบสังคมที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้าและนี่คือเป้าหมายสูงสุดของอิสลาม และต่อไปนยี้ขอเสนอการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำรัฐอิสลามที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้เป็นพิเศษ
             1. ในการสงครามนั้น  นอกจากท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการรบอยู่ในนครหลวงแล้ว  ท่านยังออกเยี่ยมเยียนประชาชนอย่างสม่ำเสมอ  มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้เดินผ่านบ้านหญิงที่สามีออกไปรบ  ท่านได้ถามไถ่ทุกข์สุขและความต้องการของพวกนาง  ท่านออกไปซื้ออาหารและทำอาหารให้ลูกๆ ของนางได้รับประทานด้วยตนเอง  บางครั้งท่านได้ยินบางคนคร่ำครวญถึงสามีที่หายไป  โดยไม่ทราบข่าวคราว  อุมัรได้ส่งเจ้าหน้าที่ให้ออกตามหา  ต่อจากนั้นท่านได้เข้าหาฮัฟเศาะฮบุตรสาว  โดยถามว่า  โอ้ลูกรัก  ผู้หญิงสามารถอดทนได้นานเท่าไหร่เมื่อสามีหายไป  เธอตอบว่าหนึ่งถึงสามเดือน  ส่วนเดือนที่สี่เธอจะหมดความอดทน  ด้วยเหตุนี้ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงสั่งให้รีบค้นหาเป็นการด่วน   หากท่านไม่ปฏิบัติเช่นดังกล่าว  ท่านจะไม่ทราบถึงธรรมชาติของผู้หญิงในสถานการณ์เช่นนั้นเลย  ( มะฮมูด  ชากิร, 1991 : 97 )                      
              2.  กำหนดเงินช่วยเหลือจากกองคลังให้แก่เด็กเกิดใหม่ทุกคนที่เป็นมุสลิมเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น  ในขณะที่ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรออกตรวจตราคาราวานสินค้าที่นครมาดีนะฮในตอนกลางคืน  ทันใดนั้นท่านได้ยินเสียงร้องให้ของเด็ก  ท่านจึงเดินเข้าไปหาและบอกกับแม่ของเด็กว่า  เธอจงทำดีต่อลูกของเธอ  ท่านกล่าวเสร็จก็เดินกลับไป  แต่ท่านยังได้ยินเสียงร้องอีก  จนกระทั่งเกือบรุ่งเช้า  ท่านจึงเดินเข้าไปอีกพลางกล่าวว่า  ฉันเห็นว่าเธอเป็นแม่ที่เลวที่สุด  ฉันได้ยินลูกของเธอร้องตลอดคืน  เธอจึงกล่าวว่า  ท่านรบกวนฉันตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว  ฉันต้องการอย่านมลูกแต่เขาไม่ยอม  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงถามว่าทำไม  เธอตอบว่า  เพราะท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจะไม่จ่ายเงินช่วยเหลือนอกจากต้องให้ลูกอย่านมเสียก่อน  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรบอกว่าเธออย่าทำอย่างนั้น  ต่อมาท่านได้ละหมาดซุบฮ  ท่านร้องให้ขณะละหมาด  หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า : ความยุ่งยากจะประสบกับท่านคอลีฟะฮฺอุมัร  กี่คนแล้วที่เขาได้ฆ่าเด็กชาวมุสลิม  ต่อมาท่านได้ประกาศว่า  ท่านทั้งหลายอย่ารีบเร่งให้ลูกๆ ของท่านอย่านม  แท้จริงฉันจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่เด็กทารกทุกคน  ( อัฏฏ่อมาวีย, 1969 : 97 )
มนุษย์ทุกคนนั้นต่างมีสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคกัน ไม่มีผู้ใดประเสริฐกว่าผู้ใด เว้นแต่เขาจะมีความยำเกรงต่ออัลลอฮI มากน้อยไปกว่ากันเท่านั้นเอง อัลกุรอ่านได้กล่าวไว้มีใจความว่า มนุษย์เอ๋ย แท้จริง เราได้บังเกิดสูเจ้าทั้งชายและหญิงและทำให้สูเจ้ากลายเป็นก๊ก เป็นเหล่า เพื่อสูเจ้าจะได้ทำความรู้จักกัน แท้จริงผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่สูเจ้า คือผู้ที่ยำเกรง (ตักวา) มากทีสุด (อัลฮุจญรอต :13)
                มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในด้านเชื้อสาย คือบังเกิดมาจากมนุษย์คนแรกคือ อาดัม จากนั้นก็มีการขยายพันธ์เพิ่มมากขึ้น จนเป็นก๊กเป็นเหล่า เพื่อให้พวกเขาทำความรู้จักกัน มีความปรองดองรักใคร่กัน มิใช่เป็นศัตรูกัน ทุกคนความประเสริฐเท่าเทียมกัน มีสิทธิเท่าเทียมกัน แม้จะแตกต่างกันในรูปร่างลักษณะ สีผิว ภาษาและศาสนา ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับการยืนยันจากท่านศาสดามูฮัมมัดr โดยท่านได้กล่าวไว้ว่า ชาวอาหรับจะไม่ประเสริฐกว่าผู้ที่มิใช่อารับ ผู้มีผิวสีแดงก็ไม่ประเสริฐกว่าผู้มีผิวดำ  และผู้ที่มีผิวดำก็ไม่ประเสริฐกว่า ผู้มีผิวแดง เว้นแต่ความยำเกรงที่เขามีอยู่เท่านั้น” (อัลอัลบานีย,1992 : 299)
                ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรให้ความสำคัญกับเสรีภาพทางด้านความคิด เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิด ข้อเสนอแนะตลอดจนข้อวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของตัวท่านเองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ บ่อยครั้งที่ท่านได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และนำมาปรับปรุงการบริหารบ้านเมือง โดยเฉพะตัวท่านเอง มีความเชียวชาญทางด้านศาสนาและการปกครอง และเข้าใจในสิ่งที่ทานศาสดามูฮำหมัดr  เคยกล่าวว่า พวกท่านย่อมรู้ดีในกิจการทางโลกของท่าน” (อับดุลลอฮ อัลกอรี,อ้างในดลมนจรรน์ บากา,2537;41) อันหมายถึงเสรีภาพทางความคิด จุดนี้เองทำให้ท่านสร้างระบบการปกครองบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในช่วงนั้น     ความคิดที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของอิสลามที่เรียกว่า           อิจญติฮาด” (การวินิจฉัยเหตุการณ์ใหม่) ของท่านคอลีฟะฮฺอุมัร ซึ่งถือเป็นผู้ริเริ่มโครงการหรือ นโยบายต่างๆมากมาย  ที่ไม่ถูกกล่าวเอาไว้ในบทบัญญัติ จึงขอนำมากล่าวเป็นบางส่วนคือ
1. จัดตั้งหน่วยตรวจตราความเรียบร้อยในเมืองหลวง (ที่เรียกว่าตำรวจในปัจจุบัน)
2. จัดตั้งองค์จัดเก็บภาษีต่างๆ จากผู้ที่อยู่ใต้อาณัติของอิสลาม
3.  สถาปนาเมืองกูฟะฮและบัศเราะฮ ให้เป็นศูนย์กลางบริหารง่านต่างๆ นอกคาบสมุทรอาหรับ
                4. จัดตั้งศาลยุติธรรม (กระทรวงยุติธรรม) ตามเมืองใหญ่ๆและจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจ เพื่อตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ
5. บูรณะและขยายมัสยิดอัลหะรอมที่มักกะฮและมัสยิดนบี ที่มาดีนะฮพร้อมตั้งจัดระเบียบการเรียนการสอนอัลกุรอ่านและอัลหะดีษ
6.  สร้างระบบการขนส่งแและสาธารณูปโภคตามเมืองต่างๆ
7. แต่งตั้งผู้ว่าการและเจ้าหน้าที่ ดูแลงานตามเมืองต่างๆพร้อมตั้งจัดระบบการจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานทุกคน
8.  ก่อตั้งกองคลัง  ( กระทรวงการคลัง )
9.  สั่งให้มีการจดบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และการประทับตราของราชการ
10. กำหนดศักราชอิสลามเป็นครั้งแรกที่เรียกว่า ฮิจญเราะฮศักราช
                นอกจากนี้ยังมีโครงการและนโยบายต่างๆเกิดขึ้นอีกกมากมาย สิ่งต่างๆเหล่านี้กลายเป็นแบบอย่างให้กับผู้นำต่อจากท่านได้นำไปปฎิบัติจวบจนทุกวันนี้  ( อัฎฎ่อมาวีย 1969  : 157-158  )                                                                      
แผ่นดินของรัฐอิสลามได้ขยายอย่างกว้างขวาง  ท่านท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงได้แบ่งรัฐออกเป็น  10  แคว้นใหญ่ ๆ อยู่ในคาบสมุทรอาหรับ  5  แคว้นคือ
-                   มักกะฮอัลมุกัรเราะมะฮ
-                   ฎออีฟ
-                   ศ็อนอา-ยะมัน (เยเมน)
-                   บาห์เรน
-                   อัลยหาด-ยะมัน
อยู่ในอิรัก  2  แคว้นคือ
-                   กูฟะฮ
-                   บัศเราะฮ
อยู่ในซีเรีย  2  แคว้นคือ
-                   ดามัสกัส (รวมทั้งปาเลสไตน์)
-                   ฮัมมัส (โฮมส์)
และอีก  1 แคว้นคือ
-                   อียิปต์ (รวมทั้งแอฟริกา)
ทุก ๆ แคว้นจะมีเจ้าผู้ครองนครหรือข้าหลวงปกครองอยู่ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคอลีฟะฮอุมัร  ทุกคนต้องมีหน้าที่ต่ออัลลอฮI  สำหรับเมืองมะดีนะฮเป็นเมืองหลวงอยู่ภายใต้การบริหารของคอลีฟะฮเองเพื่อให้การบริหารการปกครองดำเนินได้ อย่างสะดวกราบรื่น  ท่านคอลีฟะฮได้แต่งตั้งตำแหน่งใหม่ ๆ ขึ้น เช่น  ฮากิมหรือกอฎี เป็นเจ้าหน้าที่พิพากษาคดีความกาติบ (อาลักษณ์ของรัฐ) กาติบอัดดีวาน (อาลักษณ์ของกองทัพ) ซอฮิบอัลอะฮดาษ (หัวหน้าตำรวจประจำรัฐ)     ซอฮิบบัยตุลมาล (หัวหน้าฝ่ายการคลัง)  ซอฮิบอัลคอรอจ (หัวหน้าการจัดเก็บภาษีอากร) และอื่น ๆ (ในสมัยรอซูลุลลอฮr  ตำแหน่งดังกล่าวได้มีมาก่อนแล้ว  และบรรดาเศาะฮาบะฮผู้ใกล้ชิดเป็นผู้ดำเนินการทั้งสิ้นแต่พวกเขามิได้รับเงินเดือนประจำเพราะพวกเขามิได้เป็นอย่างถาวรเจ้าหน้าที่ดังกล่าวนี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ในเมืองหลวงเพื่อช่วยคอลีฟะฮ  ท่านอุมัรเป็นคอลีฟะฮพร้อมกับรั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองนครมะดีนะฮอีกด้วย และแคว้นใหญ่ ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจนั้นก็ได้แต่งตั้งผุ้ช่วยเจ้านครหรือข้าหลวงอีกตำแหน่งหนึ่ง
หลักการประชุม (ระเบียบของมัจญ์ลิสชูรอ)
เฉกเช่นท่านคอลีฟะฮฺอบูบักร ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรไม่อนุญาตให้บรรดาศอฮาบะฮไปดำรงตำแหน่ง  นอกนครมะดีนะฮ เช่น อุษมาน บุตรอัฟฟาน  อะลีบุตรอบีฏอลิบ  อัลดุลลอฮ บุตรอับบาสและอื่น ๆ เพราะความคิดความอ่านและความร่วมมือจากพวกเขาเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมากสำหรับเคาะลีฟะฮ  ในทางปฏิบัติท่านเคาะลีฟะฮอุมัรได้แบ่งคณะกรรมการที่ปรึกษาออกเป็น  2 ประเภทคือ
1. มัจญ์ลิสอัชชูรอ มีเจ้าหน้าที่หรือกรรมการที่ถูกกำหนดตัวไว้แน่นอนและมีบุคคลต่าง ๆ ที่ถูกคัดเลือกให้เป็นตัวแทนของประชาชนสองกลุ่มใหญ่ ๆ อันได้แก่กลุ่มมุฮาญิรีนและอันศอร  บุคคลเหล่านี้ประกอบด้วยอุษมาน   อะลี   มุออาซบุตรญะบัล   ซัยดบุตรอับดุลมุฏเฏาะลิบ    และอับดุลลอฮบุตรอับบาส
2. คณะกรรมการปรึกษาประจำวันหรือชั่วคราว  ซึ่งไม่ได้กำหนดบุคคลที่แน่นอน  แต่ได้รวมบุคคลที่นมาซญะมาอะฮกับท่าน พวกเขาถูกขอร้องให้แสดงความคิดเห็นและแสดงเหตุผลภายหลังการซิเกรหลังจากการนมาซทั้ง 5 เวลา นี่คือบทบาทอันสำคัญที่ได้กำหนดให้มีการนมาซญะมาอะฮ  เมื่อได้ฟังเหตุผลและความคิดจากบรรดาเศาะฮาบะฮและหลังจากที่ได้ทราบนโยบายการปกครองของราชอาณาจักรแล้ว  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงได้กำหนดระบบ ดิวาน” (องค์กรเฉพาะ) ขึ้นซึ่งมีอำนาจครอบคลุมเหนือตำแหน่งหน้าที่ที่ได้กล่าวแล้วพร้อมกับได้กำหนด ดิวานต่าง ๆ อีกสาม ดิวานคือ
1.             ดิวาน อัลอะอฎออ์ (องค์กรเพื่อแบ่งปั่นทรัพย์สินหรือเงินอุดหนุน)
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ให้บริการทางสังคมอย่างยุติธรรมเพื่อว่าเงินในบัยตุลมาลจะได้แจกจ่ายแก่
ประชาชนทุกชั้นอย่างถ่วงหน้า  ทุก ๆ ปีจะจ่ายเงินจำนวน 2,000 – 12,000 ดิรฮัม ตามฐานะของแต่ละคน  อันนี้เป็นนโยบายแก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่อิสลาม  เป็นนโยบายที่อาศัยหลักมิตรสัมพันธ์กับรอซูลุลลอฮในการท่องจำอัลกุรอาน  การทหาร และอื่น ๆ
2.             ดิวาน อัลอินชาอ์ (องค์กรตรวจตราทรัพย์สิน/สถิติ)
องค์กรนี้มีหน้าที่ทำทะเบียน  และทำรายงานงบประมาณ  รายได้-รายจ่ายของแผ่นดิน   และจำนวน
ประชากรและทำบัญชีทรัพย์สินของข้ารัฐการอีกด้วย
3.             ดิวาน อัลคอรอจ (องค์กรจัดเก็บภาษี)
องค์กรนี้มีหน้าที่จัดเก็บรวบรวมภาษีอากรด้านการเกษตร  ญิซยะฮ ฆอนีมะฮ (ทรัพย์สินที่ยึดได้ในสงคราม) อุซยุร (ภาษี 10 %) และซะกาต  ในขณะเดียวกัน ดิวานต่าง ๆ ในเปอร์เซียก็ใช้ภาษาเปอร์เซีย     ดิวานในซีเรีย ก็ใช้ภาษาของชาวโรมัน (กรีก)
ในสมัยการปกครองของคอลีฟะฮอุมัรเป็นยุคสมัยของการขยายดินแดนและเผยแผ่ศาสนาอิสลาม  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเป็นผู้ขยายดินแดนอิสลามให้กว้างขวางยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ในสมัยคอลีฟะฮผู้ทรงธรรม เพราะเหตุนี้ในขณะที่ขยายดินแดนอยู่นั้นท่านจึงได้ใช้ระบบการทหารควบคุมดินแดนที่ยึดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แม่ทัพนายกองทั้งหลายต่างก็ปฏิบัติการได้อย่างเฉียบขาดและได้ผลดีมาก  เมื่อภาวการณ์กลับคืนสู่สภาพปกติ  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรก็ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบทหารมาเป็นการปกครองโดยพลเรือน  ในขณะเดียวกันท่านก็ยังแต่งตั้งให้มีผู้มีอำนาจประจำถิ่นที่มีประสบการณ์ทำการปกครองแคว้นนั้นต่อไป
เมื่อจัดกลไกของรัฐให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยที่สุด  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงจำเป็นจะต้องคัดเลือกบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลเหล่านั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม  บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกก็จะต้องมีการสำรวจบันทึกทรัพย์สินเสียก่อนจากนั้นก็จะมอบหนังสือแต่งตั้งไว้เป็นหลักฐาน  ภารกิจของข้ารัฐการเหล่านั้นจะอยู่ในสายตาของมุฮาญิรีนและกลุ่มอันศอรเพื่อเป็นพยานบุคคลอีกทอดหนึ่ง จากนั้นก็จะประกาศให้เป็นที่รู้แก่ประชาชนทั่วไป  ข้ารัฐการมุสลิมทุกคนจะถูกห้ามใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อที่ประชาชนจะได้ไม่สงสัยในพฤติกรรมของข้ารัฐการเหล่านั้น  สำหรับท่านอุมัรเองก็มีความรอบคอบต่อการใช้จ่ายภายในบ้านเรือนของตนเพราะบ้านของท่านย่อมเป็นจุดสนใจแก่บุคคลทั่วไป
เจ้าผู้ครองนครและข้ารัฐการจะอยู่ในการสังเกตของสายลับที่เคาะลีฟะฮแต่งตั้งและจะส่งรายงานถึงท่านเคาะลีฟะฮโดยตรง  ท่านอุมัรได้สั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐที่กลับจากการปฏิบัติภารกิจให้เข้าไปรายงานตัวในเวลากลางวันเพื่อที่จะเห็นได้อย่างชัดแจ้งถึงสิ่งของที่เขาเหล่านั้นเอากลับมาและท่านอุมัรจะได้รับแจ้งข่าวล่วงหน้าจากสายลับส่วนตัวที่ท่านได่สงให้ไปประจำระหว่างทางเสียก่อนที่ข้ารัฐการจะไปถึง  ในฤดูการฮัจญ์ของทุก ๆ ปีท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้เชื้อเชิญบรรดาเจ้าผู้ครองแคว้นต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของท่านและพร้อมกับให้รายงานการปฏิบัติการภายในแคว้นของตนเองต่อหน้าท่าน  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร ห้ามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นทำการค้า  ท่านเคยกล่าวกับข้ารัฐการผู้หนึ่งว่า เราเพียงแต่งตั้งท่านให้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและไม่ได้ส่งท่านไปค้าขายทั้งนี้เพื่อรักษาความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลเหล่านั้น  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ให้เงินเดือนที่สูงแก่เขาเหล่านั้นอยู่แล้ว  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้แยกกระบวนการยุติธรรม (ศาล) ออกไปเพื่อจะได้แยกจากตนเองไปต่างหากและได้มอบให้อบูดัรดาอ์เป็นหัวหน้าศาลสถิตย์ยุติธรรมของรัฐจึงสามารถแบ่งเบาภาระของท่านเกือบครึ่งทุก ๆ แคว้นต่างก็มีผู้พิพากษา (ฮากิม) ประจำแคว้นของตนเอง และท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเป็นผู้เลือกกอฎี หรือฮากิมด้วยตนเองซึ่งบุคคลเหล่านั้นต้องอยู่ภายใต้อำนาจของอบูดัรดาอ์ ซึ่งภายใต้อำนาจของเคาะลีฟะฮอุมัรอีกทอดหนึ่ง  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรมิได้แยกหุกมต่าง ๆ ในอัลกุรอานออกเป็นบทและตอนเยี่ยงหนังสือกฎหมายในปัจจุบันนี้  แต่ได้แนะนำฮากิมเหล่านั้นให้ใช้ความสามารถโดยอาศัยหลักการจากอัลกุรอานและอัลหะดีษ  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้กำหนดโทษอย่างหนักแก้ผู้เสพสุรา (โบย 80 ครั้ง) เพื่อที่กฎหมายจะได้ดำเนินการได้อย่างเคร่งครัด   ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้อนุมัติให้สร้างสถานที่กักขังนักโทษ   นับว่าท่านเป็นคอลีฟะฮที่เข้ามาระงับความชั่วร้ายในสังคม (การลงโทษจะกระทำทันทีที่จับได้) ภารกิจอันนี้มีไว้เพื่อระงับความชั่ว ซึ่งท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเองเคยเข้าไปในตลาดและได้เฆี่ยนผู้กระทำผิดด้วยแส้เพราะชายผู้นั้นได้ขโมยตราชั่งและเครื่องวัด  สำหรับในเวลากลางคืนท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจะออกตระเวน  ตรวจตราสืบหาผู้กระทำความชั่ว (ทรยศต่ออัลอฮ)
2.  ธรรมนูญว่าด้วยกระบวนการยุติธรรม
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรไม่ประสงค์ให้ตำแหน่งผู้พิพากษาเป็นตำแหน่งอิสระ  ท่านจึงกำหนดแนวทางการปฏิบัติรวมทั้งมารยาทในการตัดสินและรูปแบบการชี้ขาดระหว่างคู่กรณีดังที่นักวิชาการได้ขนานนามว่า  ธรรมนูญแห่งการตัดสิน  ธรรมนูญฉบับนี้เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์และความเป็นอัจฉริยะในการคิดสร้างสรรค์
นักประวัติศาสตร์อิสลามได้ยกตัวอย่างเอกสารสำคัญที่อุมัรบุตรอัลค็อฎฎ็อบ ผู้นำศรัทธาชน ได้เขียนสาส์นไปถึงอบูมูซา อัลอัชอะรีย์ ผู้พิพากษาแห่งนครมะดีนะฮ มีใจความว่า   ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮI  ผู้ทรงกรุณา ผู้ทรงเมตตา จากบ่าวของอัลลอฮI  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร ผู้นำศรัทธาชน  ถึงอับดุลลอฮ์บุตรกอยซ  (อบูมูซา อัลอัชอะรีย์ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน
                แท้จริงการตัดสิน (เกาะฎออ์) เป็นกฏข้อบังคับอันเด็ดขาดสูงสุดทางกระบวนการยุติธรรม และเป็นครรลองของท่านศาสดามูฮัมมัดr อันสูงส่ง  ที่ปฏิบัติสืบตามกันมา  จงทำความเข้าใจให้ดีเมื่อมีการยื่นฟ้องคดีเข้ามา จงปฏิบัติตามที่ท่านเห็นว่าชัดเจน แท้จริงมันจะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ หากไม่ได้รับการปฏิบัติ
                จงให้ความเสมอภาคต่อประชาชนในสถานที่ตัดสินและการแสดงออกเพื่อที่คนที่มีเกียรติจะไม่ลำพองในความไม่เป็นธรรมของท่าน และคนอ่อนแอจะไม่สิ้นหวังจากความยุติธรรมของท่าน
                โจทก์  (ผู้ฟ้องร้องจะต้องหาพยานมายืนยัน ส่วนจำเลย (ผู้ถูกฟ้องร้องจะต้องสาบานหากเขาปฏิเสธ และการประณีประนอมเป็นสิ่งอนุมัติในระหว่างเขาทั้งสองเว้นแต่การประณีประนอมที่ทำให้สิ่งอนุมัติเป็นสิ่งตองห้ามหรือทำให้สิ่งต้องห้ามเป็นสิ่งอนุมัติ
                ไม่มีอะไรไปหวงห้ามในการย้อนกลับหรือทบทวนคำตัดสินครั้งก่อนความจริงต้องมาก่อน ไม่มีสิ่งใดทำเป็นโมฆะ การย้อนกลับมาสู่ความจริงดีกว่าการดันทุรังในความผิดพลาดนั้น
                ต้องเข้าใจในสิ่งที่พุ่งพล่านอยู่ในอก ที่ไม่มีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และอัลหะดีษ จงรับรู้ในคดีต่าง ๆ และคดีที่คล้ายคลึงกัน จงเปรียบเทียบและเข้าไปสู่การตัดสินที่อัลลอฮ Iรักและถูกต้องมากกว่า
                จะให้สิทธิ์แก่โจทก์ที่มาฟ้องว่ามีของหาย และต้องให้เวลาในการหาพยานหลักฐาน หากมีพยานหลักฐานก็ตัดสินให้เขา หากไม่เช่นนั้นก็ยกฟ้อง การทำดังกล่าวเป็นการปัดข้อสงสัย ทำให้เรื่องชัดเจนขึ้นและเป็นทางออกที่ดีที่สุด
                มุสลิมสามารถเป็นพยานให้แก่กันได้ ยกเว้นผู้ที่เคยได้รับโทษด้วยการเฆี่ยนหรือผู้ที่ชอบโกหกหรือผู้ที่ไร้สังกัดและไม่รู้เทือกเถาเหล่ากอ อัลลอฮI ทรงจัดการในเรื่องที่เร้นลับ และทรงผลักดันความสงสัยออกไป
                พึงระวังความวิตกกังวล ความรำคาญและความรู้สึกไม่สบายใจเมื่ออยู่ต่อหน้าคนมากๆ หรือเปลี่ยนท่าทีต่อคู่กรณีในความถูกต้อง ซึ่งอัลลอฮI จะให้ผลานิสงค์และสะสมผลบุญไว้ไห้ ใครก็ตามที่มีเจตนารมณ์บริสุทธิ์ต่ออัลลอฮ์แม้จะเป็นผลเสียแก่เขาก็ตาม อัลลอฮI จะทรงให้เขามีความพอโดยไม่ต้องพึ่งพามนุษย์
                ใครก็ตามที่เสกสรรปั้นแต่งเรื่องราว ซึ่งอัลลอฮI ทรงรู้ในความเป็นจริง อัลลอฮ Iจะทรงเปิดโปงพฤติกรรมของเขา ท่านคิดอย่างไรกับผลานิสงค์และความโปรดปราน ณ องค์อัลลอฮI ที่จะมาสู่ท่านในอนาคตอันใกล้ พร้อมกับคลังแห่งความเมตตา  ขอความสันติจงมีแด่ท่าน  (ฮุซัยน ฮัยกัล,มปป:204)
                นอกจากนี้ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรยังได้วางมารยาทในการตัดสินไว้ดังนี้คือ
ผู้พิพากษาจะต้องไม่มีส่วนร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในด้านการดำเนินการหรือการร่างกฎระเบียบใดๆ
ผู้พิพากษาจะต้องไม่เอนเอียง เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ผู้พิพากษาจะต้องไม่ละทิ้งหน้าที่ ที่มีต่อครอบครัว และผลประโยชน์ของเขาที่ควรจะได้ (อัฏฏ่อมาวีย์,1969 : 334)
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรยังมีเป้าหมายหรืออุดมการณ์ในเรื่องของกระบวนการตัดสินซึ่งท่านได้นำมาใช้ให้สอดคล้องกับยุคสมัยและสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
ส่วนหนึ่งจากอุดมการณ์ดังกล่าวมีดังนี้ คือ
                1.    ผู้พิพากษาจะต้องวางเงื่อนไขในการตัดสินว่า  จะต้องเหมือนกับครั้งก่อน  กล่าวคือเขาจะต้องไม่ยึดมั่นอยู่กับการวินิจฉัยของตัวเอง  ในเรื่องที่ไม่มีบทบัญญัติกล่าวไว้อย่างชัดเจน  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างในเรื่องนี้  โดยมีรายงานว่าครั้งหนึ่งท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้พบกับผู้พิพากษาท่านหนึ่งซึ่งได้ตัดสินคดีหนึ่ง  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ถามว่าท่านจะตัดสินอย่างไร  ชายคนนั้นตอบว่าคดีนี้ท่านอลีบุตร อบีฏอลิบได้ตัดสินอย่างนั้นและท่านซัยดบุตรซาบิตได้ตัดสินอย่างนี้  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงกล่าวว่าถ้าท่านเป็นฉัน  ท่านจะต้องตัดสินอย่างนี้  ชายคนนั้นจึงกล่าวว่า  ไม่มีสิ่งใดจะมาห้ามท่าน  เพราะการตัดสินเป็นสิทธิของท่าน  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงตอบว่า  หากคดีดังกล่าวมีตัวบทบัญญัติกล่าวไว้อย่างแน่นอน  ฉันก็ตัดสินไปตามนั้น  แต่ถ้าฉันใช้การวินิจฉัยของฉัน  มันย่อมเปลี่ยนแปลงได้  เพราะผู้พิพากษาทุกคนคือผู้ที่รับผิดชอบในการตัดสินของเขา  ดังนั้นการตัดสินของอลีและซัยดฺจึงไม่มีความผิดพลาดใด ๆ  (อัฏฏ่อมาวีย  1969 :335)
                นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรอนุญาติให้ผู้พิพากษาตัดสินคดีที่เกิดขึ้นในสภาพที่คล้าย ๆ กัน  ด้วยการตัดสินที่ไม่เหมือนกันก็ได้
                2. ต้องให้ความเท่าเทียมกันในการตัดสินต่อหน้าสาธารณชน ดังเช่นอุมัรสั่งให้เฆี่ยนอับดุลเราะฮมานซึ่งเป็นบุตรชายของท่านที่ทำผิดโดยการดื่มสุราอีกครั้งหนึ่งต่อหน้าสาธารณชน  ทั้ง ๆ  ที่อัมรบุตรอัลอาศ  ผู้ปกครองอียิปต์ได้สั่งเฆี่ยนเขาอย่างเงียบ ๆ ภายในบ้านมาก่อนแล้ว (อัลอักก็อด  1990 : 37)
                3.   ต้องมีความเฉลียวฉลาดและมีปฏิภาณไหวพริบ  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรมีความเห็นว่าผู้พิพากษาจะต้องเข้าใจในกฎระเบียบอย่างลึกซึ้ง  และสามารถนำเอาบทบัญญัติมาประยุกต์ใช้กับคดีใหม่ ๆ ที่มิได้ปรากฏอยู่ในนั้น  เพื่อแก้ไขข้อพิพาทและปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและทันเหตุการณ์  มีรายงานว่า  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ตัดสินปัญหาของหญิงคนหนึ่งที่มาร้องทุกข์ว่า   สามีของนางมาพบและสั่งให้เขาทำอีบาดะฮ (ปฏิบัติศาสนกิจทั้งวันทั้งคืน  โดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของสามี  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้เรียกสามีของนางมาพบและสั่งให้เขาทำอีบาดะฮได้เป็นเวลา 3 วันติดตอกัน  และต้องปฏิบัติหน้าที่ของสามีต่อภรรยาของเขา 1 วัน  มีผู้ถามท่านว่าทำไมตัดสินเช่นนั้น  ท่านตอบว่า  อัลลอฮIทรงอนุญาตให้ชายมีภรรยาได้  4 คนด้วยกัน  ถ้าเป็นเช่นนั้นชายจะปฏิบัติหน้าที่ของสามีต่อภรรยาหนึ่งคนในทุก ๆ 4 วัน  ดังนั้นชายผู้นี้จะต้องปฏิบัติหน้าที่ของสามีต่อภรรยาของเขาหนึ่งวัน  และปฏิบัติศาสนกิจได้ 3 วัน นี่คือคำพิพากษาของฉัน  (อัฏฏ่อมาวีย  1969 : 343)
อันที่จริง  ความยุติธรรมในอิสลามก็คือการให้สิทธิและเสรีภาพรวมไปถึงความเสมอภาคในระหว่างมนุษย์ด้วยกัน  โดยวางอยู่บนพื้นฐานหลักคำสอนของอิสลาม  ซึ่งกล่าวได้มาแล้วในรายละเอียดข้างต้น  ดังนั้นสังคมจะมีความยุติธรรมได้นั้นบุคคลจะต้องเอาใจใส่ต่อสิทธิและหน้าที่ของตนต่อสังคม  สังคมจะดำรงอยู่ต่อไปดังคำกล่าวที่ว่า  รัฐที่มีความยุติธรรมจะดำรงอยู่ได้แม้จะเป็นรัฐของชนผู้ไม่ศรัทธาต่ออิสลามก็ตาม  และรัฐที่ไม่มีความยุติธรรมจะพินาศแม้จะเป็นรัฐอิสลามก็ตาม”  (อับดุลการีม  ไซดาน,อ้างถึงใน  สายสัมพันธ์, มปป : 41)

4. วาระสุดท้ายของอุมัร
4.1 ครอบครัวของท่านคอลีฟะฮฺอุมัร
                ในด้านของครอบครัวของท่าน  จะแบ่งเป็น สอง ช่วง คือ ในช่วงก่อนเข้ารับอิสลาม กับช่วงที่อยู่ในอิสลาม ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
                ในช่วงของอิสลาม
ในช่วงก่อนเข้ารับอิสลามนี้คือ ภรรยาของท่านจะมีอยู่ด้วยกัน 4 คน
                1. ซัยนับ บิมตีมัซอูน น้องสาวของอุมัร บินติมัซอูน  เธอเป็นผู้หญิงที่เรียบร้อย และมีลูกทั้งหมด 3 คนด้วนกัน คือ  ฮัฟเซาะฮฺ  อุมมุลมุอฺมินีน  ได้แต่งงานกับได้แต่งงานกับ ฮุนัยซฺ บิน ฮูซาฟะฮฺ อัซซะมีหฺ   เมื่ออูซาฟะฮฺเสียชีวิต ก็ได้แต่งงานกับท่านนบี r  อับดุรเราะหฺมาน  อัลอักบัรฺ และอับดุลลอฮฺ พวกเขาได้เกิดในปีที่ 10 ก่อนอิสลาม
                2. ซูบัยอะฮฺ  ไม่มีลูก
                3. อุมมูกัลซูม  มาลีกะฮฺ บินติอัมรฺ  อัลคอซาอัยยะฮฺ  ได้มีลูกชื่อ อุบัยดิลละฮฺเป็นคนที่กล้าคนหนึ่งในหมู่ชาวกุเรช  และเขาได้ฆ่า อัลฮัรมูซนชาน และอบีลุลุ อัลมายูซี  เพราะทั้งสองได้ฆ่าอุมัร  และอุบัยดิลละฮฺก็ได้เข้าสงคราม ซิฟินกับมูอาวียะฮฺ  และอุบัยดิลละฮฺได้เสียชีวิตในสงครามนี้
                4. กอรีบะฮฺ  บินติ อบี อุมัยยะฮฺ อัลมัคซูมัยยะฮฺ เป็นน้องของอุมมูซาลามะฮฺ  เธอไม่ลูก
                ภรรยาและลูกๆ ขอบท่านในช่วงของการเป็นอิสลาม
                1. อุมมูกัลซูม บินตี อาลี มีลูก 2 คนคือ ซัยดฺ และรูกัยยะฮฺ
                2. ญามีละฮฺ บินตีซาบิต อิบนี อบี อีลอัฟละฮฺ  นางมีลูก 1 คน คือ อาเซ็ม
                3. อุมมุลหากีม บินตี ฮาริษ อิบนู ฮิชาม มีลูก 1 คน คือ ฟาตีมะฮฺ
                4. อาตีกะฮฺ บินตี ซัยดฺ อิบนุอัมรฺ มีลูก 1 คน คือ อียาด
5. ฟูกัยฮะฮฺ มีลูก 2 คนคือ อับดุรเราะหฺมาน อัลวัสตฺ  และซัยนับ
6. ลูฮับบะฮฺ  มีลูก 1 คน คือ อับดุรเราะห์มาน อัลอัศฆอร

                4.2 ทัศนะของอุมัรเกี่ยวกับการสืบทอดตำแหน่งผู้นำ
                หลังจากี่ท่านคอลีฟะอฺอุมัรถูกลอบทำร้าย  อาการสาหัส  ท่านได้สลบไปชั่วครู่หนึ่ง  แต่ท่านก็ได้ตื่นมาก่อนทีท่านจะเสียชีวิต โดยที่ท่านรู้แล้วว่า  ท่านนั้นจะอยู่ได้ไม่นาน ท่านจึงได้มีแนวคิดที่จะให้มีการเลือกคอลิฟะฮฺคนใหม่ขึ้นแทนท่าน  โดยท่านนั้นเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลที่ท่านคิดว่าน่าจะเป็นคอลิฟะฮฺต่อจากท่านได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 6 คน  โดยแต่ละคนนั้นก็เป็นบุคคลที่ท่านนบีr ได้แจ้งข่าวดีว่า จะได้เข้าสวรรค์ของอัลลอฮI  ทั้งสิ้น โดยที่ท่านเสนอชื่อบุคคลเหล่านี้เพื่อให้บรรดามุสลิมทำการ “ ชูรอ ” และนี้อาจเป็นครั้งแรกของรูปแบบนี้

4.3 ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร ถูกลอบสังหาร
ท่านคอลีฟะฮอุมัรสิ้นชีวิตโดยที่  ฟัยรุส (ฉายานามว่าอบูลุลุ) ซึ่งเป็นชาวมะญูซีผู้บูชาไฟเป็นผู้ลอบแทงขณะที่ท่านอุมัรกำลังนมาซซุบฮีปลายเดือนซุลฮิจญะฮ  ฮ.. 23 ( ..664 ) เป็นแผลฉกรรจ์ถึง 6 แผล ท่านจึงได้ล้มลง  แต่ผู้ร่วมละหมาดก็ละหมาดต่อไปจนเสร็จ  หลังจากนั้นก็พาท่านคอลีฟะฮฺอุมัรกลับไปยังบ้าน การอสบสวนปรากฏว่า เด็กหนุ่มผู้นี้เป็นชาวเปอร์เซีย และเป็นคนใช้ของ อัล-มุฆีเราะฮ บุตรชั๊วะบะฮ  โดยที่คนทั้งสอง ได้ทะเลาะกัน  อบูลุลุจึงให้อุมัรตัดสินข้อพิพาท  และอุมัรได้ตัดสินให้ อัล-มุฆีเราะฮเป็นฝ่ายชนะ ทำให้อบูลุลุไม่พอใจ จึงได้ลอบสังหารท่านคอลีฟะฮฺอุมัร
หลังจากที่ถูกทำร้าย ก็ได้มีการเยียวยารักษาท่าน  แต่อาการของท่านก็ไม่ดีขึ้นจนกระทั่งท่านได้เสียชีวิต ในเวลาต่อมา และศพของท่านได้ถูกฝังไว้ที่ บ้านของนาง อาอีฉะฮ  เคียงคู่กับหลุมศพของท่านศาสดา ขณะนั้น ท่านมีอายุได้ 63 ปี ดำรงตำแหน่งคอลิฟะฮฺเป็นเวลา 10 ปี 6 เดือน   (สายสัมพันธ์ : คอลิฟะฮฺทั้ง 4 ,55-56)

5. บทเรียนที่ได้จากการศึกษาชีวประวัติของคอลีฟะฮฺอุมัร
                บทเรียนที่ได้จารศึกษาประวัติของท่าน คอลีฟะฮฺอุมัร บุตรค็อฏฏอบ มีมากมาย ทั้ง บทเรียนที่ได้จาก อุปนิสัยส่วนตัวของท่านเอง ในเรื่องการบริหารการปกครองรัฐ  หรือ การเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านศาสนาก็ตาม ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
- จากการที่ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเป็นคนที่เอาจริงเอาจังกับทุกสิ่งที่ท่านได้ทำ จนอาจจะเป็นคนที่หัวแข็ง ดื้อดง จุดนี้เองเป็นแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงที่มีในตัวของท่าน ท่านได้ต่อต้านอิสลามอย่างจริงจังในขณะที่ท่านยังอยู่ในคราบของญาฮิลียะฮ แต่เมื่อท่านได้เข้ารับอิสลาม ท่านก็ได้เป็นเรียวแรงสำคัญในการมีส่วนที่ช่วยท่านรอซูล r  ประกาศศาสนา
บทเรียนจากเรื่องนี้ คือ “ บางครั้งคนที่ดื้อดึง หัวแข็ง และใจร้อน นั้นอาจจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จได้หากเขานำความดื้อดึง และความหัวแข็ง ใจร้อนของเขามาใช้ในทางที่ถูกต้อง และอัลลอฮI จะทรงช่วยเหลือผู้ที่ทำความดี
-  ในเรื่องของการปกครอง ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร เป็นผู้ที่มีแนวคิดในการปกครองที่ดีเยี่ยม ในการปฏิรูปการปกครองของท่าน ท่านได้ทำการปฏิรูปการปกครองเพื่อให้เข้ากับสภาพสังคมที่เป็นอยู่ ท่านเป็นคนที่จัดระเบียบสังคมขึ้นใหม่ ในเรื่องของการปกครองนี้เอง ท่านเป็นคนที่เอาจริงเอาจังมากเกี่ยวกับผู้ปกครองที่ท่านได้แต่งตัง้ขึ้นในแต่ละเขตุการปกครอง  ท่านไม่เคยสนับสนุนผู้ปกครองที่ทำผิด  และท่านก็เป็นคนที่ไม่ถือตัว  จะสังเกตได้จากประในการปกครองของท่าน บ่อยครั้งที่ท่านจะลงไปเยี่ยม หรือพบปะ กับพี่น้องมุสลิม โดยที่ท่านไม่ถือตัวว่าท่านเป็นถึง คอลิฟะฮฺ    และในเรื่องของศาสนาก็เช่นเดียวกัน ท่านเป็นคนที่เอาจริงเอาจังมากในเรื่องนี้ ท่านจะคอยระมัดระวังบรรดามุสลิมไม่ให้ออกห่างขากซุนนะฮ ของท่านรอซูลr  ดังตัวอย่างในเรื่องของการรายงานหะดีษต่างๆ ของท่านนบีr โดยท่านจะลงโทษอย่างหนังกับบุคคลที่กล่าวเท็จต่อหะดีษนบีr  ด้วยเหตุนี้   ทำให้ท่านเป็นที่รักยิ่งของบรรดาพี่น้องมุสลิม  และเป็น       คอลิฟะฮฺที่ยิ่งใหญ่ของรัฐอิสลาม
บทเรียนในเรื่องนี้ คือ ในการที่จะเป็นผู้ปกครองคนอื่นนั้น  สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นบุคคลที่ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญาที่ดี  และเป็นผู้ที่มีไหวพริบที่ดี  มีการมองสถานการณ์ต่างๆ เป็น และเป็นผู้ที่นอบน้อม ไม่ถือตัวเป็นใหญ่  เป็นผู้ที่เคร่งครัดต่อคำสอนของศาสดา และเคร่งครัดในศาสนาของอัลลอฮ I









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น