เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คอลีฟะฮ อาลี ตอนที่ 3




โดยอาจารย์ รอฟลี แวหะมะ อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี  เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อิสลาม โดยเฉพาะ


แบบอย่างที่ท่านคอลีฟะฮ์อาลีได้สร้างไว้
                อัลลอฮ I  เป็นผู้ทรงรอบรู้ทั้งในอดีตและอนาคต ด้วยความรอบรู้ของพระองค์ พระองค์ได้ทรงมอบหมายหน้าที่ดูแลมาตรฐานทางศีลธรรมของโลกให้แก่ชาติอิสลาม ดังนั้น พระองค์จึงได้ประทานคำสั่งต่างๆไว้เพื่อตอบสนองความต้องการของสถานการณ์ต่างๆและให้คนที่มีคุณสมบัติอันสูงส่งดีงามมาแสดงแบบอย่างไว้ให้มนุษย์ได้เห็นเพื่อที่มนุษย์รุ่นต่อมาจะได้ไม่ต้องมาหลงอยู่ในความมืดในกรณีที่ต้องพบกับปัญหาและความยุ่งยาก
                หลังจากนบีคนสุดท้ายแล้ว าสวกของท่านต้องทำสงครามต่อต้านผู้บูชาพระเจ้าจอมปลอมและบรรดาผู้ที่สร้างความเสียหายให้แก่คำสอนของอัลลอฮ นอกจากนั้นแล้ว พวกเขายังต้องปราบปรามการทรยศต่อศาสนาและเผชิญสถานการณ์อันเลวร้ายและเจ็บปวดอื่นๆ เช่นการแข็งข้อและความคิดสุดโต่งในหมู่คนรุ่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ปฏิบัติตามบรรดาสาวกของนบีจะต้องรู้ถึงวิธีการที่บรรดาสสาวกใช้ในสถานการณ์นั้นๆ นี่เป็นความจริงที่พบได้ในคำพูดของซุฟยาน บิน อุอัยนะฮ ตาบีอี คนสำคัญที่กล่าวว่า อัลลอฮ I ได้ทรงประทานดาบสี่แบบให้แก่นบี แบบหนึ่งเป็นดาบที่มุสลิมใช้ต่อสู้บรรดาผู้บูชารูปปั้น แบบที่สองเป็นดาบที่อบูบักร์ใช้เผชิญหน้าผู้ทรยศต่อศาสนาเพราะอัลลอฮ I ได้กล่าวว่า จงต่อสู้พวกเขาจนกว่าพวกเขาจะยอมรับอิสลาม แบบที่สามเป็นดาบที่อุมัรทำสงครามกับชาว

10.  ครอบครัวของท่านคอลีฟะฮ์อาลี
10.1 ลูก ๆของอบูฏอลิบ
ท่านอบูฏอลิบมีบุตรกับนางฟาฏีมะฮ บิน อะซัด  ทั้งหมดคน  เป็นบุตรชาย 4 คน เป็นบุตรี คน  คือ ฏอลิบ ( ซึ่งเป็นที่มาของฉายาอบูฏอลิบแปลว่าพ่อของฏอลิบ “ )   อากีล  ญะฟัร  และ อาลี  ส่วนบุตรีคือ  อุมมุฮานี  และญุมานะฮ   ลูก ๆ ของอบูฏอลิบแต่ละคนมีอายุห่างกัน 10 ปี  ดังนั้นอาลีจึงอ่อนกว่าญะฟัร 10 ปี 
10.2 ท่านคอลีฟะฮ์อาลีภายใต้การคุ้มครองของท่านนบี    
เฏาะบะรีได้รายงานจากมุญาฮิดว่าท่านคอลีฟะฮ์อาลีได้รับความจำเริญจากอัลลอฮ I เป็นพิเศษ  เพราะเขาได้เติบโต มาท่ามกลางความอดอยากขาดแคลนที่พวกกุเรชประสบ  และอบูฏอลิบมีครอบครัวใหญ่ ท่านนบี   ได้พูดกับอับบาสลุงของท่าน  ซึ่งเป็นคนที่มั่งคั่งในหมู่ชาวกุเรชว่า    “ ลุง พี่ชายของท่านมีครอบครัวใหญ่และลุงก็รู้ถึงความลำบากที่เขากำลังเผชิญอยู่  เราไปช่วยแบ่งเบาภาระและความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูลูกของเขาบางคนดีกว่า “  อับบาส ก็เห็นด้วยและทั้งสองคนก็ไปหาอบูฏอลิบ  เมื่อไปถึงทั้งสองก็พูดว่าเรามาหาท่านก็เพราะช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่เราทุกคนต่างประสบกับความลำบาก  ขอให้เรารับผิดชอบดูแลลูกของท่านบางคน  และแบ่งเบาภาระของท่านจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น อบูฏอลิบได้ตอบว่าพวกท่านจะทำอะไรก็ตามใจตราบใดที่เจ้าทิ้งอาลีไว้กับฉัน “  ดังนั้นท่านนบี  จึงรับอาลีมาเลี้ยง  ส่วนอับบาสรับญะฟัรไป   อาลีได้อยู่กับท่านนบี  จนกระทั่งอัลลอฮ I  ได้ทรงแต่งตั้งท่านนบี  เป็นรซูล   ( ผู้นำสาส์นของพระองค์  ท่านคอลีฟะฮ์อาลีได้ไว้วางใจในท่านนบี  และเชื่อมั่นในความสัตย์จริงของท่าน  ในขณะที่ญะฟัรอยู่กับอับบาส จนกระทั่งเขาไม่จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากอับบาสอีก
ท่านคอลีฟะฮ์อาลีในสมัยที่อยู่มาดีนะฮ
1. ภราดรสัมพันธ์
อิบนุ ซะฮ ได้เขียนไว้ในหนังสืออัฏฏอบากอต  อัลกุบรอว่า  ท่านรซูล  ได้สร้างความสัมพันธ์ฉันพี่น้องระหว่างอาลี  บิน อบีฏอลิบ กับ ซะฮล์  บิน  ฮุนัยฟ์  อิบนุกาซีรได้บันทึกไว้ในหนังสือหะดีษเช่นนั้นเหมือนกัน  แต่อิบนุ  อิสฮากและนักบันทึกอัตชีวประวัติหลายคนได้กล่าวว่าท่านรซูลลุลอฮ  เองได้ประกาศว่าท่านกับคอลีฟะฮ์อาลีเป็นพี่น้องกัน  นอกจากนี้แล้วก็ยังมีอีกหลายหะดีษที่สนับสนุนเรื่องนี้  แต่สายรายงานหะดีษมีความบกพร่องหรือไม่ก็ขาดความต่อเนื่องกัน
2.  ท่านคอลีฟะฮ์อาลีแต่งงานกับนางฟาฏีมะฮ
อิบนุ ซะฮ ได้เขียนไว้ในหนังสืออัฏฏอบากอต  อัลกุบรอว่า  ท่านรซูลได้สร้างความสัมพันธ์ฉันพี่น้องระหว่างอาลี  บิน อบีฏอลิบ กับ ซะฮล์  บิน  ฮุนัยฟ์  อิบนุกาซีรได้บันทึกไว้ในหนังสือหะดีษเช่นนั้นเหมือนกัน  แต่อิบนุ  อิสฮากและนักบันทึกอัตชีวประวัติหลายคนได้กล่าวว่าท่านรซูลลุลอฮเองได้ประกาศว่าท่านกับอาลีเป็นพี่น้องกัน  นอกจากนี้แล้วก็ยังมีอีกหลายหะดีษที่สนับสนุนเรื่องนี้ 
แต่สายรายงานหะดีษมีความบกพร่องหรือไม่ก็ขาดความต่อเนื่องกันท่านนบีได้แต่งงานฟาฏีมะฮให้แก่ท่านอาลีในปีที่สองของการฮิจญ์เราะฮ ในโอกาสนี้ท่านนบี  ได้กล่าวแก่นาง   ฟาฏีมะฮลูกสาวคนเล็กของท่านว่าฉันแต่งงานเจ้ากับชายที่ดีที่สุดในครอบครัวของฉัน “  หลังจากนั้น  ท่านก็ได้อวยพรและเอาน้ำพรมให้คนทั้งสองอบุอุมัรเล่าจากอุบัยดุลลอฮ บิน มุฮำหมัด บิน สะมาค บินญะฟัร อัลฮาชิมีว่า ท่าานนบี  ได้แต่งงานนางฟาฏีมะฮให้แก่ท่านอาลีหลังสงคราม    อุฮุด ขณะนั้น นางฟาฏีมะฮ อายุได้ 15 ปี 5 เดือน  และอาลี อายุ 21 ปี 5 เดือน  ในหนังสือมุสนัดของอะฮหมัด บิน  ฮัมบัล ได้บันทึกเรื่องการแต่งงานที่อาลีได้กล่าวไว้เองว่าฉันต้องการที่แต่งงานกับนางฟาฏีมะฮ  แต่ไม่กล้าที่จะพูดกับท่านนบี  เพราะในตอนนั้นฉันไม่มีอะไรเลย  หลังจากนั้นฉันก็นึกถึงญาติสนิทของเราและความรักความเอ็นดูของท่านนบี  ที่มีต่อฉันซึ่งทำให้ฉันกล้าที่จะพูดกับท่านนบี  “  ท่านนบี  ได้ถามว่า  “ เจ้ามีสิ่งใดบ้างไหม? “  ฉันบอกว่าไม่มีเลย”  แล้วท่านก็ถามฉันอีกว่าฉันเคยให้เสื้อเกราะฮัทมียะฮแก่เจ้า มันอยู่ไหน ? “   และฉันก็ตอบว่า  “ มันอยู่กับฉัน”  ท่านจึงได้กล่าว่าอย่างนั้นก็ให้เธอไป”  ดังนั้นฉันจึงได้ให้เสื้อเกราะแก่นางฟาฏีมะฮเป็นของขวัญแต่งงาน อะตา  บิน  อัซซอฮิบ  รายงานจากพ่อของเขาซึ่งได้ยินท่านคอลีฟะฮ์อาลีกล่าวว่าท่านนบี ได้ให้ผ้าปูที่นอน  ถุงน้ำ และหมอนหนังที่มีเปลือกไม้หอมยัดอยู่ข้างในเป็นของขวัญแต่งงาน

11.ผลงานอื่นๆของท่านอาลี
                ตอนนี้สมควรที่เราจะนำเสนอลักษณะของอาลีที่คนในสมัยเดียวกับเขาและนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังได้อธิบายไว้    
                     ท่านอาลีนั้นเป็นผู้อาสาทำลายเทวรูป
                  อัลฮะกามเล่าจากอบูมูฮัมหมัด อัลฮะซาลีว่า ครั้งหนึ่งเขาได้ติดตามท่านนบี  ไปงานศพ ่ท่านได้กล่าวว่า "มีใครสักคนในหมู่พวกท่านที่จะไปมะดีนะฮฺ แล้วทำลายรูปที่เคารพบูชาบ้างไหม?" เขาอาสาสมัคร และท่านนบี  ก็ได้สั่งให้เขาไป หลังจากนั้นเขาก็ได้ไปตามที่ท่านนบี ต้องการ และบอกท่านนบี ว่า " ท่านรซูล  ฉันได้ทำลายเทวรูปทั้งหมดที่ฉันพบที่นั่น จนไม่มีอะไรเหลืออีกแล้ว " ดังนั้นท่านนบี  จึงได้กล่าวว่า "ต่อไปนี้ ถ้าหากผู้ใดสร้างเทวรูปเหล่านี้ขึ้นมาอีก คนผู้นั้นก็จะถูกกล่าวว่าเป็นผู้ปฏิเสธการเป็นนบี  ของฉัน
                     ท่านอาลีเป็นผู้ที่มีความลึกซึ้งในกฎหมายอิสลาม
                     มีรายงานี่ยืนยันว่า "  ท่านอาลีเป็นผู้ที่มีความสามารถที่สุดในหมู่พวกท่าน ในการให้คำตัดสินที่ถูกต้องมีบันทึกว่า ท่านอาลีเป็นคนที่หนุ่มที่สุดในตอนที่ท่านนบี ข อให้ท่านไปเยเมน
                     ท่านอุมรมักจะฉุนเฉียวอยู่เสมอถ้าหากอาลีไม่ได้อยู่ช่วยแก้ปัญหาที่ยุ่งยาก  เขามักจะกล่าวว่าท่าน อุมัรจะเสียหายแน่ ถ้าท่านอาลีไม่อยู่ที่นั่น
                     ท่านอาลี เป็นผู้ที่รู้จักกันดีถึงความเฉียวฉลาด และ ความสุขุมรอบคอบ เชาว์ปัญญา และ ความสำนึกในความยุติธรรมของเขาสามารถที่จะเห็นได้จากเรื่องเล็กๆน้อยๆที่มายังเขา เช่น ท่านอาลีทำการตัดสินเรื่องชายสองคนที่มีขนมปังห้าก้อน กับชายอีกคนหนึ่งที่มีขนมปังสามก้อนซึ่งกำลังนั่นกินาหารอยู่ด้วยกัน เป็นต้น
การเรียนรู้
                อบูตุฟัยล์ เล่าให้อบูอุมัรฟังว่าเขาเคยเห็นท่านอาลีกล่าวคำปราศรัย ท่านอาลีได้บอกผู้ฟังว่าพวกท่านสามารถถามอะไรก็ได้ตามที่พวกท่านต้องการเกี่ยวกับคัมภีร์ของอัลลอฮ  I ฉันสาบานด้วยอัลลอฮ I ไม่มีอายะฮไหนของอัลกุรอานแม้แต่เพียงอายะฮเดียวที่ฉันไม่รู้เมื่อมันได้ถูกประทานมาในตอนกลางคืน หรือในตอนกลางวันในระหว่างที่ท่านนบี  เดินอยู่ในที่ราบหรือเมื่อท่านอยู่บนภูเขา
                ชุร็อยฮ บิน ฮานีกล่าวว่า ครั้งหนึ่งเขาได้ถามอาอิชะฮเกี่ยวกับระยะเวลาของมะเซาฮ บนถุงเท้าหนัง นางได้บอกเขาให้ถามท่านอาลี  เพราะเขารู้ดีกว่าเกี่ยวกับเรื่องนี้เนื่องจากเขาเคยติดตามไปกับท่านนบี  ดังนั้น อิสลามโดดเด่นขึ้นมาและอายที่จะเผชิญหน้าอันตรายใดๆ
การเผยแผ่อิสลาม
                ไม่มีใครที่จะสามารถอ้างว่าคนที่สืบเชื้อสายมาจากท่านนบี  ผ่านท่านอาลีคือผู้เผยแผ่อิสลามของพระเจ้าซึ่งไม่มีบาป ทั้งนี้ เนื่องจากกฎใดก็แล้วแต่มักจะมีข้อยกเว้นเสมอ มุสลิมหลายครอบครัวหรือหลายตระกูลมีความภาคภูมใจที่ครอบครัวหรือตระกูลของตัวเองได้ให้กำเนิดนักวิชาการและคนของพระเจ้าและหลายคนในจำนวนนั้นก็บรรลุถึงความสมบูรณ์ทางด้านจิตวิญาณจนแม้แต่ลูกหลานของท่านนบี  เองก็ยังถือว่าเป็นเกียรติที่จะปฏิบัติตามคนเหล่านั้น  อย่างไรก็ตาม ความจริงก็ยังคงเป็นความจริงอยู่ก็คือหนทางแห่งคุณธรรมและความดีที่บรรดาลูกหลานในช่วงต้นๆของท่านนบี  ยึดถือสืบทอดกันมานั้นยังคงเป็นลักษณะเด่นของชนรุ่นต่อมา คนเหล่านี้ไม่ได้นิ่งเฉยต่อความต้องการทางด้านสังคมและศาสนาและปัญหามุสลิมในยุคของตน  และไม่ได้ทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อนเหมือนกับชนชั้นนักบวชในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม  คนเหล่านี้ไม่เคยเป็นสองรองใครในการต่อสู้และการเสียสละเพื่อความศรัทธาของตน
ช่วยเหลือผู้ใฝ่หาสัจธรรม
                อะลี บิน อะบีฎอลิบ ได้ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือผู้ที่มามักกะฮเพื่อแสวงหาสัจธรรมและเพื่อที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับอิสลามให้มากขึ้น  เขาเป็นคนที่มีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดมาก  และมีความชำนาญที่คนในตระกูลฮาชิมมีสำหรับการทำงานที่ละเอียดอ่อน  บุคอรีได้รายงานจากอับดุลลอฮ บิน อับบาส ถึงเหตุการณ์ตอนที่อบูซัร  ฆิฟารีเข้ารับอิสลามว่า ‘’ เมื่ออบูซัรรู้ถึงการปฏิบัติภารกิจของท่านนบี  เขาได้ส่งพี่ชายของเขาไปที่มักกะฮและกล่าวว่า  ‘’จงไปที่หุบเขาและถามถึงคนที่เรียกตัวเองว่ารซูลุลอฮ และเชื่อว่าเขาได้รับการติดต่อจากพระเจ้า  จงฟังเขาและบอกเกี่ยวกับเรื่องของเขาพี่ชายอบูซัร ได้ไปหาท่านนบี หลังจากที่ได้ฟังท่านแล้วเขาก็เดินทางกลับเขาได้บอกกับอบูซัรว่าฉันได้พบเขาแล้ว เขาสอนถึงความประพฤติที่ดีงามและอ่านอะไรบางอย่างที่มิใช่บทกวีอบูซัรได้ตอบว่าพี่ไม่สามารถบอกถึงสิ่งที่ฉันต้องการจะรู้ได้”  ดังนั้นจึงเตรียมตัวเพื่อเดินทางไปยังมักกะฮ ด้วยตัวเองทันทีโดยนำเอาถุงน้ำเล็กๆไปด้วย  เขาได้มายังบริเวณกะฮบะฮและพยายามจะหาดูว่าใครคือนบีเพราะเขาไม่รู้จักท่านมาก่อนเวลาผ่านไปจนกระทั้งมืดเขาจึงเอนตัวลงนอน  ท่านอาลีได้เห็นเขาและคิดว่าเขาเป็นผู้เดินทางคนหนึ่งจึงได้ติดตามดูแต่ก็ไม่ได้พูดกันจนกระทั้งเช้า อบูซัรได้มายังบริเวณกะบะฮอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับสิ่งของที่เขานำติดตัวมาและได้ใช้เวลาอยู่ที่นั้นตลอดทั้งวันโดยที่ไม่สามารถพบท่านนบี  พอตกค่ำ อบูซัรก็ล้มตัวลงนอน  ท่านอาลีจึงได้เข้าไปหาเขาและกล่าวว่าท่านยังหาจุดหมายปลายทางที่จะพักไม่ได้ใช่ไหม ?” หลังจากนั้นท่านอาลีก็ขอให้บูซัรตามเขาไป แต่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่พูดซึ่งกันและกัน  วันที่สามผ่านไปในขณะเดียวกับสองวันแรกและท่านอาลีก็ยังไปที่นั้นอีก ในที่สุดท่านอาลีก็ได้กล่าวกับอบูซัรว่าบอกฉันหน่อยได้ไหมว่าท่านมาที่นี้ทำไม?’’ อบูซัรได้ตอบว่าฉันจะบอกท่านถ้าหากท่านสัญญาว่าจะนำฉันท่านอาลีสัญญาและถามว่าเขาต้องการอะไรอบูซัรได้บอกเขาถึงสิ่งที่ต้องการ  ซึ่งท่านอาลีได้ตอบว่าแน่นอน เขาเรียกร้องไปสู่สัจธรรม ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาเป็นนบี  ของอัลลอฮ I  เมื่อท่านตื่นขึ้นในตอนเช้าก็จงตามฉันมาถ้าหากฉันคิดว่าจะมีอันตราย  ฉันจะหยุดอยู่พักหนึ่งเหมือนกับว่าจะปัสสาวะ แต่ถ้าฉันยังคงเดินอยู่ก็จงตามฉันไปทุกที่ที่ฉันไป อบูซัรทำตามท่านอาลีสั่ง   จนกระทั้งได้มาพบท่านนบี   หลังจากที่ได้ฟังท่านนบี แล้ว  อบูซัรก็เข้ารับอิสลามที่นั้นทันที่”         ( บุคอรี,อบีอับดุลลอฮ  มุฮัมมัด  บินอิสมาอีล ,อัลญามิล  อัศเศาะฮีฮ, อียิปต์ 1953)
เกียรติอันยิ่งใหญ่ที่สุด
                ท่านอาลีได้เล่าว่า  “ วันหนึ่ง ฉันและนบี  ได้ออกจากบ้านและมายังประตูกะฮบะฮ  ท่านนบี  ได้ขอให้ฉันนั่งลง  พอฉันนั่ง  ท่านก็ได้เหยียบบ่าของฉันและขอไห้ฉันยืนขึ้น  หลังจากนั้น  เมื่อรู้ว่าฉันไม่ไหว  ท่านก็ขอให้ฉันนั่งลง  แล้วท่านก็ลงจากบ่าของฉันมานั่งลงและและให้ฉันปืนขึ้นไปบนบ่าของท่านบ้างฉันจึงได้ทำตามที่ท่านสั่ง  แล้วท่านก็ยืนขึ้นจนกระทั้งฉันรู้สึกว่าตัวของฉันได้ถูกยกสูงขึ้นราวกับว่าจะแตะท้องฟ้าได้  เมื่อฉันขึ้นไปถึงเพดานกะบะฮฉันก็เริ่มบิดเทวรูปทองแดงหรือททองเหลืองไปทางขวาและซ้าย  ขึ้นและลงจนกระทั้งมันหลุดออกมา  ท่านนบี  ไดขอให้ฉันขว้างมันลงมาและเมื่อฉันทำเช่นนั้น  มันก็แตกออกมาชิ้นๆ  ราวกับว่ามันทำด้วยแก้ว  หลังจากนั้นฉันก็โยนมันออกจากฐานและออกไปจากที่นั้นอย่างรวดเร็วเพราะกลัวว่าจะมีคนมาเห็นเราฮากิมได้ระบุว่าเหตุการณ์ตอนนั้นเกิดขึ้นก่อนการอพยพ(อะฮหมัด บินฮัมบัลได้ให้หะดิษนี้ไว้ในหนังสือ มุสนัด  ฉบับ อะฮหมัด  มุฮัมมัด ซากิร  ไคโร 1949  เล่ม 2 หน้า 644-45) ซึ่งพบได้อีกในหนังสือ ตารีค  ของ บุคอรี และอิบนุ  มาญะฮ  และ ฮากิมอย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์รุ่นต่อมาสองสามคนเข้าใจผิดคิดว่าเหตุการณ์ตอนนี้เกิดขึ้นในตอนพิชิตมักกะฮ  เมื่อท่านนบี โยนเทวรูปต่างๆ ออกจากกะฮบะฮ  แต่ความจริงก็คือเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนการอพยพบุรฮานุดดีน  อัล  ฮะละบี(.. 975-1044) เขียนไว้ในหนังสือ อัซซีเราะห์ อัลฮะละบียะฮ( เล่ม 3 หน้า 30) ว่าคำพูดของท่านอาลีที่ว่า  ท่านและท่านนบี       ได้รีบออกจากที่นั้นไปยังบ้านของตัวเองอย่างรวดเร็วเพราะกลัวว่าจะมีคนเห็นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนหน้าการอพยพ
ย้ายเมืองหลวงไปกูฟะฮ
ท่านอาลีได้ย้ายเมืองหลวงของเขาไปกูฟะฮ์ (เมืองที่ก่อตั้งโดยซะด์ บิน วักกอซ หลังจากสงครามเกาะดีซียะห์ นักกฎหมาย นักวีชาการหะกี้ และนักไวยกรณ์หลายคนได้เกิดขึ้นในเมืองนั้นและราชวงศ์อับบาซียะฮก็ใช้เมืองนั้นเป็นเมืองหลวงก่อนที่จะย้ายไปยังแบกแดด) ในอิรักซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางใหม่ทางด้านการปกครองและการทหารในอาณาจักรของเขาอาจมีคนถามว่าทำไมอาลีถึงได้เลือกกูฟะฮืเป็นสถานที่พำนักและเป็นสถานที่ปกครองอาณาจักรอิสลามทั้งๆที่มาดีนะก็เป็นเมืองที่ถูกใช้เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่สมัยของนบี  มาจนถึงสมัยของอุษมาน
สำหรับผู้เขียนหนังสืออีหม่ามอาลี ให้เหตุผลก็ คือท่านอาลีต้องการที่จะรักษาเมืองอันเป็นที่รักของท่าน ซึ่งเป็นเมืองที่ท่านนบี  ได้อพยพมาจากการต่อสู้ภายในและจากการถูกทำลาย โดยการต่อสู้ซึ่งเขาได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ดังที่ได้มีการเขียนไว้บนกำแพงว่า สถานที่อันเป็นที่ตั้งของหลุมฝังศพของท่านนบี  และมัสยิดของท่านไม่ควรเป็นสถานที่แห่งความวุ่นวายใดๆ คนอย่างท่านอาลีย่อมมีความสำนึกถึงเรื่องนี้ เพราะหลังจากนั้นอีกาสองสามปี กรณีฮัรเราะฮซึ่งเป็นเหตุการณ์แห่งความหายนะก็ได้เกิดขึ้นในสมัยของยะซีดซึ่งทำให้ผู้คนทั้งหมดในชาติต้องตกตะลึงเพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นในเมืองอันสำคัญนั้นอย่างไรก็ตาม มูฮำหมัด อัลอักกอดได้ถือว่าเหตุผลสำคัญของการย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่กูฟะฮ์นั้นเป็นเพราะที่ตั้งด้านภูมิศาสตร์ ความสะดวกในการปกครองและเหตุผลทางวัฒนธรรม
ท่านอาลีได้ทำให้กูฟะฮ์เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอิสลามทั้งนี้เนื่องจากความจำเป็นทางด้านการเมืองและยุทธศาสตร์ในตอนนั้น อาณาจักรอิสลามต้องการสถานที่ที่เป็นจุดศูนย์กลางที่ทุกชาติภายใต้การปกครองสามารถไปถึงได้โดยสะดวก มันจะต้องเป็นชุมทางของเส้นทางการค้าไปยังอินเดีย เปอร์เซีย เยเมน อิรัก และซีเรีย กูฟะฮ์เอง ก็มีความเจริญและในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของการเขียนตัวอักษร ภาษา การอ่าน การสืบวงศ์วาน กวี และนิทาน สถานที่แห่งนี้จึงเหมาะที่จะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร (อัลอัลกอรียาต อัล อัสสามียะฮ. เรื่องเดิม หน้า 952)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น