
ประวัติและผลงานของอิกบัล
มูหัมมัด อิกบัล
ประวัติและผลงานของอิกบัล
มุฮัมมัด อิกบัล เกิดที่เมืองเซียลกอต จังหวัดปุนจาบ ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1873 บรรพบุรุษของท่านมาจากตระกูลฮินดูบระฮมาจากแครสเมียและได้รับอิสลามมาหลายชั่วอายุคน ท่านเริ่มศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่บ้านเกิดของท่าน ท่านได้เริ่มเขียนบทกลอนของท่านตั้งแต่อายุยังเยาว์ อิกบัลเป็นคนที่โชคดีที่มีครูท่านหนึ่งซึ่งเป็นบัณฑิตที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในขณะนั้น คือ เมาลานา มีร ฮาสัน ซึ่งได้มองเห็นพรสวรรค์ของศิษย์ผู้เยาว์ของตนจึงได้ให้การสนับสนุนทุกโอกาสที่อำนวยให้
ในขณะนั้นมี ดัฆ (1831-1905) ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงด้านวรรณกรรมอุรดูท่านหนึ่งที่อิกบัลได้ส่งบทกลอนด้านต่างๆ ของเขาให้แก่ท่านดัฆเพื่อขอให้ท่านตรวจสอบแก้ไข ซึ่งดัฆก็ยินดีจะทำในสิ่งนั้น แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือนดัฆได้เขียนถึงนักกวีหนุ่มอิกบัล โดยได้กล่าวว่าบรรดาบทกลอนเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องแก้ไขใดๆอีก
ในปี ค.ศ. 1895 เมื่ออิกบัลได้อายุ 22 ปี ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ที่ละฮอร์ เพื่อศึกษาในระดับอุดมศึกษา เมืองนี้ได้เปลี่ยนแปลงเป็นเมืองของนักวิชาการ ภาษาอุดูค่อย ๆ มีบทบาทแทนที่ภาษาเปอร์เซียทั่วประเทศอินเดียและมีการก่อตั้งชมรมต่าง ๆ ขึ้นที่เมืองละฮอร์แห่งนี้อีกด้วย
ชมรมหรือชุมนุมต่างๆ ได้มีการประชุมนักประพันธ์และอิกบัลได้มีโอกาสอ่านบทกลอน โคลง ฉันท์ ที่ตนได้เขียนขึ้น ในช่วงเวลาอันสั้นเขาได้พัฒนาผลงานของเขาจนมีชื่อเสียงและเป้นดาวในโลกของวรรณกรรมจนกระทั่งบทกลอนของเขาถูกตีพิมพ์ลงในวารสารอย่างรวดเร็ว
ที่เมืองละฮอร์นี้ท่านได้มีโอกาสรู้จักกับ ซีร โทมัส อันโนลด์ ซึ่งต่อมาได้มีอิทธิผลต่ออิกบัลมาก ขณะที่เมาลานา มีร ฮาสัน ได้สอนหัวใจของวัฒนธรรมและแนวคิดของตะวันตก ในช่วงนั้นอิกบัลได้มีโอกาสเขียนบทกลอนจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่ค่อยประสบผลสำเร็จนักเมื่อเทียบกับผลงานของเขาที่เขียนขึ้นในช่วงหลังที่ได้สร้างชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จัก อย่างไรก็ตามผลงานช่วงแรกของเขาที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นคู่มือเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่เขียนเป็นภาษาอุรดู
ในปี ค.ศ. 1905 ซึ่งตอนนั้นท่านมีอายุ 32 ปี ท่านได้ไปศึกษาต่อที่อังกฤษและอาศัยอยู่ที่นั้นนานถึงสามปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการกำหนดบทบาทในพัฒนาความคิดของเขา สำหรับเขาแล้วในเวลานี้เป็นสมัยของการเตรียมความสมบูรณ์ให้กับตัวเอง เขาได้ค้นหาวิชาความรู้ในห้องสมุดแคมบริชที่ลอนดอนและเบอร์ลินอย่างมีความสุขและเพลิดเพลิน อิกบัลได้เข้าไปปรึกษาหารือพูดคุยกับบรรดานักคิดและบัณฑิตในอังกฤษตลอดเวลา ท่านเรียนวิชาปรัชญากับศาสตราจารย์แมค แทคการ์ด ที่แคมบริชและได้ศึกษาในระดับปริญญาเอก ทางด้านสาขาปรัชญาจากมหาวิทยาลัยมัวนิค วิทยานิพนธ์ของท่านเรื่อง The Development of Metaphysice in Persia ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในลอนดอน
ท่านได้รับเลือกเป็นศาสตราจารย์สาขาภาษาอาหรับจากมหาวิทยาลัยลอนดอนเป็นเวลา 6 เดือนก่อนที่จะกลับไปยังละฮอร์ ในปี ค.ศ. 1908 ขณะที่ท่านมีอายุ 35 ปี ก็ได้รับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาปรัชญาและวรรณคดีอังกฤษแต่ท่านก็รีบมอบตำแหน่งดังกล่าวเพื่ออุทิศตนในสาขากฎหมายต่อไป
ท่านเป็นกวี นักประพันธ์ นักเขียน นักปรัชญา นักภาษาศาสตร์ นักกฎหมาย นักการเมือง อาจารย์ นั่นคือความเชี่ยวชาญและความสามารถพิเศษของท่าน ท่านได้มอบบทกลอน กวีต่างๆ ทั้งสองภาษา คือ ภาษาอุรดูและภาษาเปอร์เซียให้เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลังต่อไป ในสาขา Prosa ท่านได้เขียนเป็นภาษาอุรดูและภาษาอังกฤษ ท่านได้เขียนวิชาการสาขาต่างๆ เช่น ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ การเมืองและวรรณกรรม
ก่อนที่ท่านจะย้ายไปอาศัยที่อังกฤษท่านก็ได้เขียนบทกวีบางส่วนโดยใช้ภาษาอุรดู และคนทั่วไปมีความรู้สึกว่านักเขียนมีความสับสนที่จะมุ่งมั่นหาแนวทางด้วยตัวเองและไม่รู้ว่าอะไรคือบทบาทที่แท้จริงที่ตนต้องมุ่งมั่นสู้ต่อไป ชาวตะวันตกเป็นผู้เปลี่ยนแปลงความหวังของเขาโดยสิ้นเชิง ท่านรู้ตัวดีว่าความล้มเหลวที่เกิดจากบรรดาคำสอนเชิงลบของมิสติกที่เกิดขึ้นในอินเดียและจำเป็นต้องกำจัดแนวโน้มการยับยั้งที่บั่นทอนพลังของสังคม ท่านได้สร้างความหนักแน่นในตัวท่านเองเพื่อแบกรับหน้าที่อันยิ่งใหญ่ในการพัฒนาคนเป็นจำนวนนับล้านๆคน และทำให้จริยธรรมของพวกเขาเสื่อมลงที่ทำให้อุดมการณ์ของพวกเขาเป็นเวลาแรมศตวรรษ
ในช่วงก่อนที่ท่านจะกลับไปยังประเทศอินเดียไม่นานนัก อิกบัลได้เขียนบทกวี/บทกลอนต่างๆ เป็นศตวรรษใหม่ เช่น Syikwa และ Jawab-I-Syikea (การถอนหายใจและคำตอบต่อการถอนหายใจ) ที่เป็นพยานเกี่ยวกับการเปลี่ยนที่เกิดขึ้นก่อนทีท่านจะให้แง่คิดเกี่ยวกับหนังสือที่จะเผยแพร่แก่ชาวโลก
ท่านได้อธิบายบกวีของเขาเป็นครั้งแรกใน Asar-I-khudi และ Rumuz-I-Bekhudi (ความลี้ลับส่วนตัวและเหตุการณ์อภินิหารที่เกิดในตัวเองกับการหายตัว) ก็ได้ถูกตีพิมพ์ออกเผยแพร่ในปี 1915 และในปี 1918 บทกวีทั้งสองบทนี้ท่านก็ได้เขียนเป็นภาษาเปอร์เซีย
Asrar-I-khudi ได้สะท้อนให้เห็นภาพเกี่ยวกับบทเฉพาะของปรัชญาอิกบัล ซึ่งได้สร้างความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ศาสตราจารย์ R.A. Nicholson ถือว่าท่านเป็นคนที่มีพลังความคิดที่สูงและท่านได้แปลผลงานของอิกบัลเป็นภาษาอังกฤษและได้พิมพ์ในปี 1920
Rumus-I-Bekhudi ได้อธิบายหัวข้อที่เหมือนกัน มันเป็นเรื่องที่โน้มน้าวเพื่อยกฐานะส่วนบุคคลที่ได้มุ่งเจาะจง เรียกร้องเพื่อการพัฒนาอีกวาระหนึ่งของทุกคนในสังคมอิสลามอย่างแท้จริง
ใน Bang-I-Dara (เสียงกังวานของระฆัง) เป็นผลงานรวมของกวีและภาษาอุรดู ซึ่งเป็นจุดพบที่สมดุลอย่างสมบูรณ์ระหว่างนักกวีและนักปรัชญา
แล้วในปี ค.ศ. 1922 ท่านได้รับเหรียญเป็นวีรบุรุษจากผู้นำประเทศ
ในปี ค.ศ. 1923 เกิดตำราตะวันออก ซึ่งได้เขียนคู่กับ Divan-nya Goethe และเป็นกลุ่มกวีกลุ่มหนึ่งของภาษาเปอร์เซีย เขาได้แสดงถึงความสามารถพิเศษและการครอบครองที่สมบูรณ์ในเชิงภาษา
หลังจากที่ได้ออกหนังสือ Zabur-I-Ajam (Kidung persi) อิกบัลได้เขียนผลงานที่ยิ่งใหญ่ของเขาคือ Javid (หนังสือที่ถาวร) ซึ่งเป็น Divine Comedia จากตะวันออก
ในปี ค.ศ. 1926 ท่านได้เดินทางไปยังอินเดียใต้และในการเดินทางดังกล่าวเขาได้ให้คำปาฐกถาที่น่าสนใจเป็นภาษาในหัวข้อ Thought in Islam (การฟื้นฟู แนวคิดทางอิสลามขึ้นมาใหม่)แล้ว อิกบัลได้มีส่วนในการพัฒนาชีวิตทางการเมืองในประเทศของท่าน
ในปี ค.ศ. 1927 เขาได้ถูกเลือกให้เป็นสมาชิกสภาจังหวัดปุนจาบ
ในปี ค.ศ.1930 ท่านได้รับเลือกเป็นประธานที่ประชุมประจำปีจากสมาคมมุสลิม ตลอดระยะเวลานี้ท่านได้อธิบายนโยบายเกี่ยวกับการแก้ปัญหาต่างๆ ของชาวอินเดีย ท่านเป็นผู้สนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับรัฐอิสลามที่จังหวัดทางชายฝั่งตะวันออกของทะเลอินเดีย ในขณะนั้นฝ่ายปากีสถานก็ได้ถือว่าท่านเป็นผู้นำพวกเขา
ในปี ค.ศ. 1932 ท่านเป็นตัวเข้าสัมมนาโต๊ะกลมที่เกิดขึ้นในลอนดอนเพื่อสร้างรัฐบาลระบบ Konstitusional ที่อินเดีย ในปีนี้เช่นกันท่านได้เป็นผู้นำการสัมมนาอิสลาม
ในปี ค.ศ. 1935 ท่านได้รับปริญญาเอกในสาขาวรรณกรรมจากมหาวิทยาลัยปุนจาป
ในปีค.ศ. 1936 ท่านได้ก่อตั้งกลุ่มเขียนบทกวีเป็นสองกลุ่มที่เป้นภาษาอุรดู ชื่อว่า ปีกของยิบรีล และ ไม้เท้าของมูซา
กลุ่มบทกวีต่างๆ ในภาษาอุรดูและเปอร์เซียที่เป็นรู้จักอย่างแพร่หลาย คือ Armughan-I-hijaz (ความกล้าของฮีญาซ) ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์หลังจากที่ท่านเสียชีวีตไป
ถึงแม้ว่าท่านยังกระตือรือร้นแต่สุขภาพของท่านเริ่มทรุดโทรมลงในที่สุด ท่านได้เสียชีวิตลงด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม การจากไปของท่านอิกบัล ได้ฝากคำเตือนว่าการจากไปของท่านมูฮัมมัดอิกบัลนั้นทำให้เกิดความว่างเปล่าในโลกของวรรณกรรมเหมือนกับมีบาดแผลที่สาหัสและต้องใช้เวลาในการรักษา
อินเดียซึ่งที่ตั้งของมันในโลกนี้แคบแต่ก็ยังสามารถรับรู้ถึงความทุกข์อันสืบเนื่องจากการสูญเสียของกวีเอกคนหนึ่งที่มีวรรณกรรมประกอบด้วยเนื้อหาสาระที่เป็นสากล
ทฤษฎีการเมืองของมุฮัมหมัด อิกบาล
อิกบาลเป็นนักคิดอิสลามที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ที่มีแนวคิดและมั่นใจว่ามีจักรวาลหนึ่งและโลกแห่งวิญญาณหนึ่งที่มีบุคลิกลักาณะเฉพาะที่ถูกสร้างจากความสามารถที่ครอบคลุมภายใต้โครงสร้างพื้นฐานจากองค์กรของอัลลอฮ์ซึ่งแต่ละสิ่งนั้นมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแบบองค์กร
อิกบาลได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาของการมีชีวิตที่เกี่ยวกับจักรวาล มุมมองของมนุษย์ต่อตัวของมนุษย์เอง พระเจ้าและโลกที่อยู่อาศัย ท่านได้กล่าวว่า อัลกรุอานได้สร้างจิตสำนึกที่สูงที่สุดในตัวของมนุษย์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับอัลลอฮ์ในโลก ลักษณะที่สำคัญจากความเป็นจริงคอจิตวิญญาณและศาสนาเป็นตัวสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับรูปธรรม(สภาพความเป็นจริง)รูปธรรมที่เด่นชัดที่สุด คือการมีชีวิตที่เป็นรูปธรรม ในขณะที่Ego(จิตใต้สำนึก)เป็นความต้องการที่เป็นไปในรูปแบบ Retional (เชิงเหตุผล) อัลลอฮ์คือ Ego ที่ถาวรและเอกะ ความเป็นปัจเจกของ Ego ที่ยิ่งใหญ่ที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกรุอานด้วนพระนามของอัลลอฮ์และคอนเซ็บต์เกี่ยวกับอิสลามเกี่ยวกับพระเจ้านั้นมีสาระที่สำคัญมากมายเช่น
การสร้างสรรค์(Creative) ความรู้ ความเป็นผู้มหาอำนาจ และความเป็นนิรันดร์
ความมีอยู่จริง(Reality) เป็นไฟแห่งพลัง ทำให้พลังเหล่านั้นมีอยู่ได้ ความมีอยู่จริงที่แท้จริงที่สุดคือEgo ที่มหาฮากีกีใน Ego เหล่านี้สามารถพบ Keberimpitan ของความตั้งใจและไม่ตั้งใจ ที่รวมกันเป็น Ego เดียวกันทุกอะตอมของสมาชิกของพระเจ้า สิ่งที่เล็กที่สุดคือ Ego แต่ในความเป็นรูปธรรมแล้วจะพบว่ามีหลายชั้น(มีความสลับซับซ้อน) ทุกเสี้ยววินาทีของการเคลื่อนไหวของโลกนั้นยิ่งนานยิ่งทำให้การมีอยู่ของมนุษย์ประสบความสำเร็จ เพราะอัลกรุอานได้กล่าวว่า Ego ที่แท้จริงนั้นได้ใกล้ชิดกับมนุษย์มาก เปรียบเสมือนเส้นเอ็นที่คอของตนเอง และเราต้องมีชีวิตและเคลื่อนไหวเพื่อรับรู้ถึงความโปรดปราณของอัลลอฮ์ ดังนั้นจาก Ego หนึ่งได้เป็นตัวสร้างและควบคุมดุแล Ego ทั้งหมด ต่อการกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อมนุษยชาติ
ความกังวลและความเข้มแข็งเป็นสิ่งสำคัญวิญญาณของมนุษย์ ความกังวลที่ปราศจากความเข้มแข้งเป็นตัวทำให้ Moral ของมนุษย์สูงเท่านั้น แต่มิได้เป็นวัฒนธรรมที่นิรันดร์ ในขณะเดียวกันความเข้มแข็งปราศจากความกังวลทำให้เกิดความเสียหายขึ้น วัตถุและวิญญาณจะไม่เจริญหากทั้งสองไม่อยู่ร่วมกัน ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสร้างมนุษย์ การสร้างมุสลิมคือ Cita and Etis ที่ให้ความสำคัญกับอิสลามและการจัดรูปแบบการปกครองตามที่ได้กำหนดไว้ เป้าหมายอันดับแรกคือ สิ่งสุดท้ายและการเกิดขึ้นของสิ่งสุดท้ายเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายจึงกล่าวได้ว่า Cita and Etis ที่มีความกังวลเป็นตัวแทนและองค์กรระบบการเมืองอิสลามก็หมายถึง ความสามารถ(พลัง)เพื่อทั้งสองรวมอยู่ด้วยกัน วิญญาณของมนุษยชาติก็จะเป็นที่ยอมรับ”รัฐตามแบบฉบับอิสลาม เป็นความพยายามเพื่อให้มีรูปแบบของจิตวิญญาณที่อยู่ในองค์กรของมนุษย์ “
ตามแนวปรัชญา ทฤษฎีการเมืองอิสลามนั้นสอดคล้องกับที่อิกบาลได้กล่าวไว้คือ ทฤษฎีดังกล่าวได้ถกเถียงเกี่ยวกับ Cita and Etis ที่แน่นอน เป็นทฤษฎีที่ต้องการยกระดับของมนุษย์ให้มีชีวิตที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นในด้านจริยธรรม และวัตถุธรรม โดยใช้หลักการและแนวทางที่ได้กำหนดโดยอัลลอฮ์
ศาสนานั้นดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น คือ ความพยายามเกี่ยวโยงให้มีความใกล้ชิดกับความแท้จริงของอัลลอฮ์ อิสลามมิใช่เป็นแค่ศาสนาหรือเป็นแค่ชื่อเพื่อนับถือเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วอิสลามเป็นปรัชญาของการดำเนินชีวิต เป็นแนวทางที่สมบูรณ์สำหรับทุกคนตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ อัลกรุอานได้กล่าวเกี่ยวกับอิสลามที่กว้างขวางนำโดยท่านนบี ดังนั้นอิสลามจึงมีคุณสมบัติที่ครอบคลุมทุกๆพฤติกรรมของมนุษย์ เกี่ยวกับความ Millat และความเป็นมนุษย์ แก่นหลักของสาสนาคือ อีมาน และแก่นหลักของเป้าหมายคือผลของการมี และการพัฒนาของจิตวิญญาณและการแผ่ขยายของร่างกายมนุษย์ เป้าหมายของการมีชีวิตคือเพื่อให้มีและสร้างความสมบูรณ์แก่ตนเอง ที่รับกับจิตใจและร่างกายของมนุษย์ไปสู่หนทางที่แท้จริง เพราะทุกๆการกระทำเป็นสิ่งจำเป็น อิสลามได้กำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆทุกระเบียบการศรัทธาและจริยธรรมที่สมบูรณ์
ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงเป็นแนวทางที่มีหลักการที่ดี ไม่สามารถแยกออกเป็นเอกเทศได้ ในอิสลามมีผู้นำ ประชาชน อิหม่าม และปัจเจกชน และไม่สามารถที่จะแยกอยู่กันได้ หลักการมีชีวิตของมนุษย์ สังคม กฎหมายและศาสนา ไม่สามารถแยกจากกันได้เช่นกัน
แนวคิดของอิกบาล ความเป็นจริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างไม่สามารถแยกอยู่กันได้ ความเป็นจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของพระเจ้า เมื่อคนๆหนึ่งมองในแง่ของอีกบุคคลหนึ่ง ก็ต้องเหมือนกับมุมมองของความเป็นเอกะของอัลลอฮ์ ในอัลกรุอานจะกล่าวถึงทุกๆอย่าง พูดเกี่ยวกับโลกและวิญญาณ ความเป็นจริงวิญญาณกับเขา โลกต้องอยู่ด้วยกัน ในอิสลามคำว่า Materry (ความสัมพันธ์) เป็นวิญญาณที่มีอยู่ในทุกโอกาสและทุกเวลา โลกแห่งความสัมพันธ์นี้เป็นตัวเชื่อม สรุปได้ว่า อิกบาลได้พูดถึงเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณ Materry เป็นตัวเชื่อมไปสู่จิตวิญญาณ(ควบคุมทุกก้าวย่างของมนุษย์)จากสิ่งที่เป็นความใฝ่ฝันของจิตวิญญาณจะนำพามุสลิมไปสู่ความใฝ่ฝันที่มีคุณค่า เป้าหมายของอิสลาม ต้องการให้มนุษย์มีจริยะธรรมที่ดีในแง่ของพระเจ้าและผู้นำต้องรกษาด้วยรูปแบบของอิสลาม
ความใฝ่ฝันของอิสลามเป็นจุดเริ่มต้นของการเคารพภักดี ที่ทำให้แต่ละปัจเจกชนแต่ละกลุ่มประสบความสำเร็จ เมื่อสังคมประสบความสำเร็จก็กลายเป็นสังคมที่มีประชาชาติและศาสนาที่สมบูรณ์ที่มีจิตสำนึกเป็นของตัวเอง
อิกบาล กล่าวว่า อิสลามยอมรับดังที่กล่าวมาว่า ก็เหมือนกับรูปร่างและจะไม่ยอมรับทางด้านความสัมพันธ์ทางด้านสายเลือด(อิสลามต้องมีความสัมพันธ์ไม่ใช่เฉพาะกับสายเลือดเดียวเท่านั้น) เมื่อมนุษย์มีจิตสำนึกที่ดี ก็จะมีกาสรเคารพต่อพระเจ้ามีความรักอิสลาม และจะให้ความเคารพต่อพี่น้องมุสลิม ผู้นำอิสลาม
ห้องทดลองสมัยใหม่ของอิสลาม
อิกบาลมีความรู้สึกอย่างจริงใจว่าเพื่อที่จะชุบสังคมอิสลามขึ้นมาใหม่ให้มีชีวิตชีวานั้น มุสลิมควรมีมาตุภูมิของตนเองเป็นเอกเทศซึ่งจะมีการใช้กฎหมายชารีอะห์อย่างอิสระ และวิถีชีวิตแบบอิสลามสามารถจะเบิกบานเปล่งความรุ่งโรจน์ของมันออกไปได้ และเนื่องจากอินเดียมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก มันจึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดที่จะใช้ทำการทดลองเช่นนั้น (ดังที่ท่านได้แสดงไว้ในคำปราศรัยในฐานะเป็นประธาน ในการประชุมประจำปีของสันนิบาตมุสลิมทั่วอินเดีย เมื่อปี 1930) ศูนย์กลางอิสลามหรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ห้องทดลองอิสลามจะถูกตั้งขึ้นอย่างเหมาะสม เป็นที่ทดลองอย่างกล้าหาญและเปิดเผยของความเป็นอยู่ที่สอดคล้องต้องกับคำสอนของอิสลามในโลกสมัยใหม่ และจะมีการจัดตั้งระเบียบสังคมอันดีงามซึ่งจะพบการแก้ปัญหาอย่างยุติธรรม และเสมอภาคแก่ปัญหาและข้อลำบากเดือดร้อนทางด้านเศรษฐกิจจำนวนนับไม่ถ้วนซึ่งกำลังรบกวนมนุษยชาติอยู่และจะมีการรวมตัวกันอย่างคล้องจองระหว่างวความเชื่อกับการปฏิบัติด้านจิตวิญญาณแะด้านวัตถุ และโดยส่วนตัวและสังคมซึ่งสามารถจะเป็นตัวอย่างแก่ประเทศอื่น ๆ ในโลกได้ โดยเฉพาะในโลกมุสลิม
อุดมคติอันสูงส่งซึ่งถูกเสริมด้วยความเปรื่องปราดในทัศนคติด้านการเมือง เป็นตัวอย่างอันหนึ่งที่หายากในส่วนอื่น ๆ ของโลกอิสลาม นี่ตือรากฐานของการเรียกร้องให้ตั้งประเทศปากีสถานขึ้นซึ่งสัมฤทธิ์ผลเมื่อปี 1947 ผู้ก่อตั้งปากีสถานรับมันไว้เป็นพื้นฐานทางอุดมการณ์ของรัฐใหม่และได้ประกาศแก่โลกว่า วัตถุประสงค์ของพวกเขาก็คือจัดตั้งรัฐใหม่ขึ้นมา ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นห้องทดลองสมัยใหม่ของอิสลาม ดังนั้นในวันที่ 14 ตุลาคม 1947 นายจินนาห์ก็ได้ประกาศว่า
“ การก่อตั้งปากีสถานซึ่งเราได้พยายามดิ้รรนต่อสู้มาเป็นเวลาสิบปีแล้วนี้ ด้วยพระเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า ก็ได้กลายเป็นความจริงขึ้นมาแล้วในวันนี้ แต่การสร้างรัฐของเราเองนั้นเป็นวิถีทางที่จะนำไปสู่หมายหาได้เป็นจุดหมายนั้นเองไม่ ความคิดนั้นมีอยู่ว่าเราควรจะรัฐ ซึ่งเราสามารถจะอยู่และหายใจได้อย่างอิสระชน และซึ่งเราสามารถจะพัฒนาได้ตามแสงสว่าง และวัฒนธรรมของเราเองและเป็นที่ซึ่งหลักการของความยุติธรรมทางสังคมของอิสลามจักมีบทบาทได้อย่างเสรี”
ในทำนองเดียวกัน นายลิอากัต อาลี ข่าน นายกรัฐมนตรีคนแรกของปากีสถานก็ได้กล่าวที่เมืองราวัลปินดี เมื่อวันที่ 14 มกราคม 1948 ว่า
“สำหรับเรา ปากีสถานก็คือห้องทดลองและเราจะแสดงให้โลกเห็นว่า คำสอนของอิสลามซึ่งเก่าแก่ตั้งพันสามร้อยปี (ปัจจุบัน 1400 กว่าปี / ผู้ทำรายงาน) มาแล้วนั้นยังคงดี และมีประสิทธิภาพอย่างไร” และในปี 1950 ท่านก็ได้กล่าวอีกที่เมืองเปชอร์ว่า
“เราได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งปากีสถานขึ้นเพื่อว่ามุสลิมจะสามารถดำเนินชีวิตของเขาตามคำสอนของอิสลามได้ เราได้รบเร้าที่จะจัดตั้งห้องทดลอง ซึ่งเราสามารถสร้างรัฐบาลขึ้นตามหลักคำสอนของอิสลาม ซึ่งยังคงไม่มีใครคู่เคียงได้ในโลกนี้”
อย่างไรก็ตาม การทดลองอันละเอียดอ่อนเป็นประวัติศาสตร์นี้จะสำเร็จผลได้ก็ต่อเมื่อได้รับการดำเนินไปโดยบุคคลผู้ที่มีศรัทธาอย่างไม่สทกสท้าน ในชารีอะห์และในความเหนือกว่าอย่างแท้จริงของอารยธรรมอิสลามเท่านั้น คนเหล่านั้นจะจำต้องอยู่เหนือข้อสงสัยใด ๆ ในเรื่องความกระตือรือร้นและซื่อตรงในลักษณะนิสัย เพื่อว่าจะได้ไม่มีแรงผลักดันแห่งความเอาแต่ได้ และความเห็นแก่ตัว
อิกบาลและความคิดตะวันออก
“ ข้าพเจ้าไม่เคยยืมดวงตาของบุคคลอื่นเพื่อมองดู ข้าพเจ้ามองดูโลกใบนี้ด้วยดวงตาของข้าพเจ้าเอง ”
อิกบาลเป็นนักคิดที่แท้จริง แม้ว่าท่านจะมีประสบการณ์และพัฒนาการที่กว้างขวาง แต่ท่านก็มีทัศนะของท่านเอง ซึ่งตรงกันข้ามกับนักเขียนคนอื่น ๆ ที่ไม่พ้นจากอิทธิพลทางความคิดของบุคคลรุ่นก่อนหรือปัจจุบัน ท่านไม่เคยได้รับอิทธิพลจากความรู้ภายนอกและบทความภายในชาติเลย ด้วยเหตุดังกล่าว ณ.ที่นี่ เราจะพยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดของอิกบาลและแนวคิดของนักคิดท่านอื่น ๆ ในชมพู่ทวีป แต่ก่อนที่จะศึกษาเราควรทราบว่าปรัชญาของอิกบาลโดยแท้จริงแล้วจะมีความแตกต่างมากกว่าที่จะเหมือนกับปรัชญาของตะวันออกทั่วไป
แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ท่านก็เป็นมุสลิม ปรัชญาของอิกบาลกำเนิดจากคำสอนในอัล-กุรอาน อย่างน้อยกวีที่ท่านได้ประพันธ์ขึ้นล้วนแล้วไม่ออกห่างขอบเขตคำสอนของท่านนบี
อัล-กุรอานได้ชี้อย่างชัดเจนถึงเอกัตภาพ ( individuality ) อัล-กุรปฎิเสธการไถ่บาป โดยการซื้อบัตร ( ของชาวคริสต์ : ผู้แปล ) และการต้องรับผิดชอบต่อบาปของบุคคลอื่น มนุษย์มีสิทธิเหนือความพยายามของตนเองเท่านั้น ความมั่นคงถาวรและเอกราชไม่อาจที่จะบรรลุ ถ้าหากปราศจากการต่อสู้เพื่อให้ได้มันมา
ความคิดที่เกี่ยวกับมนุษย์ของท่านก็มีสาเหตุมาจากอัล-กุรอาน มนุษย์จำเป็นต่อการพัฒนาโดยปราศจากการสิ้นสุดและสามารถมีอำนาจเหนือสิ่งต่างๆ ในโลกใบนี้ ยิ่งมนุษย์มีวิวัฒนาการมากเท่าใด เขาก็จะรู้พระเจ้ามากขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้นท่านก็มีความเห็นว่ามนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตเพียงลำพังได้ มนุษย์ต้องมีปฎิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น ๆ ซึ่งก็สอดคล้องกับคำสอนของอัล-กุรอาน
ตามทัศนะของอิกบาล “ สังคมในอุดมคติคือ ” สังคมที่เหมาะสมพร้อมสำหรับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่สอดคล้องกับอัล-กุรอาน
อาจกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า แนวคิดของอิกบาลเกี่ยวกับกาลเวลามีความสอดคล้องกับคำสอนของอัล-กุรอาน ท่านนบีกล่าวว่า “ จงอย่าทำเล่นๆ กับเวลาเพราะเวลาคือพระเจ้า ” เราสามารถยืนยันได้ว่านักคิดท่านนี้ไม่เคยละเลยคำสอนของอัล-กุรอาน
อิกบาลได้เลือดของ เมาลานา ยาลาลุดดีน รูมี ( 1202-12736 ) ให้เป็นอาจารย์และที่ปรึกษาของท่าน ยาลาลุดดีนเป็นกวีที่มีชื่อเสียงบุคคลนึ่ง อิกบาลได้เล่าถึงฝันครั้งหนึ่งที่เกี่ยวกับท่านยาลาลุดดีน ว่า
“ ลุกขึ้นเถิด เพื่อเผชิญกับชีวิตใหม่ กับจิตใจที่เต็มไปด้วยพลัง ”
“ จงลุกเถิดและจุดความประทีปแห่งศรัทธาของคนที่ยังไม่มีลมหายใจ ”
“ จงลุกเถิดและวางเท้าของท่านบนเส้นทางอื่น ปลดปล่อยความทุกข์โทรกอันข่มขืน”
จงทำความรู้จักกับตัวเองด้วยศิลปะที่เต็มเปี่ยมด้วยจังหวะ ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า รูมูซีบูคูดี ( Rumuzi – Bukhudi ) ท่านได้กล่าวถึง ท่านรูมีในลักษณะกลอนที่ไพเราะมาก ในหนังสือ ยาวีด นามา ( Javid Nama ) ได้กล่าวถึงการเดินทางของบุคคลทั้งสองในโลกที่สร้างโดยอัลลอฮ เพื่อหาความสง่างามของพระองค์
ในหนังสือ บาลีลยิบริล ( Balil – Jibril ) ท่านได้เขียนถึงตัวเองในฐานะศิษย์ของท่านรูมี ท่านได้กล่าวถึงความเคารพที่มีต่อท่านรูมี และความต้องการต่อความช่วยเหลือและคำแนะนำ
ได้อ่านไม่ว่าที่ไหนๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนและที่มัสยิด ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการอย่างหนึ่งทางจิตวิญญาณที่เคยพบ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมและท่านเป็นรู้จักในนาม Maulavia แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ปรากฏอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความแปลกใหม่และความรักที่อิกบาลได้รู้สึกด้วยตนเอง ท่านต้องแลกเพื่อเหตุผลที่เจาะจงชัดเจน ซึ่งปัจจุบันนี้เคยทำด้วยเองเพื่อที่จะพบกับมัน
จากการสอบสวนเราได้พบว่า ความเท่าเทียมระหว่างแนวคิดของนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 2 คนนั้นเพิ่งจะถือว่าเป็นหลักฐาน ซึ่งตรงกันข้ามกับการคาดคะเนทั้งหมด Rumi ได้เคยใช้ชีวิตในรูปแบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกฎระเบียบและการต่อสู้ เพราะคิดเช่นเดียวกับอิกบาลที่ว่า ความมั่นคงและอิสรภาพนั้นจะนำไปสู่ชัยนะ ทั้งนี้ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ การต่อสู้ที่ไร้ซึ่งคุณประโยชน์นั้นยังดีกว่า Ketembang ที่ไม่ได้ทำ “ นักกวีทั้ง 2 ท่านนี้มีแนวคิดที่เหมือนกันในเรื่องของความรัก ซึ่งพวกเขาถือเสมือนว่า
“ ในหนึ่งคำมั่นสัญญาที่ได้พูกมัด ความรักจะช่วยคลี่คลายทุกคำถามของฉัน ”
“ ได้มองเห็นในตาฉัน ซึ่งแผ่นดินและแผ่นฟ้าอันกว้างใหญ่ ซึ่งไร้พรมแดน ”
อิกบาลและ Rumi เชื่อในความสมบูรณ์ของมนุษย์และพวกเขาได้เสี่ยงทายเกี่ยวกับการได้มาของ Ras ( เชื่อสายเผ่าพันธุ์ ) ของมนุษย์ผู้สูงส่ง
อิกบาลกับแนวคิดตะวันตก
การที่อิกบาลได้อาศัยอยู่ที่ตะวันตก ได้ทำให้แนวคิดของท่านเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งในขณะนั้น ท่านมีความคิดที่ล่องลอยอยู่ในความสับสน ในการที่จะกำหนดแนวคิดระหว่างการนโนภาพและการกระทำ ท่านไม่ทราบว่าการประนีประนอมทั้งสองลักษณะของการดำเนินชีวิต ซึ่งต่างก็ได้น้อมโน้มท่านทั้งสองว่าเป็นอย่างไร ในยุโรปท่านประสบและรู้สึกมีความสุขในการทำงานและการต่อสู้ ท่านมีความรู้สึกว่าความว่างเปล่าที่สนับสนุนอุดมการณ์ในตัวของท่าน ซึ่งได้เคยเขียนว่า
“อะไรที่พวกท่านเรียกว่ามีชีวิต ว่างเปล่า นอกจากอดทนที่จะละเลย”
“ดื่มเมาสมัยที่โง่และไม่รู้ตัว ต่อมาท่านก็กล่าวอีกว่า ความมีชีวิตคือการเคลื่อนที่ไป”
“ข้อกำหนดในลักษณะนี้แหละที่วางระบบให้กับโลก”
“ในการเดินทางในลักษณะนี้เป็นไปไม่ได้ที่มันจะหยุดนิ่ง”
“การหยุดนิ่ง คือความตาย”
“มีชีวิต คือถาวร สิ้นสุดตลอดเวลา มันหนุ่มสาวอยู่ตลอดเวลา ”
“ สิ่งหนึ่งที่มีแน่นอนในโลกนี้ คือ การเปลี่ยนแปลง”
และท่านกล่าวอีกว่า “ ทุกสิ่งที่มีชีวิต ที่ดำรงอยู่ได้เพราะการแข่งขันและการต่อสู่ที่ต่อเนื่องไม่รู้จักยุติ ”
“ ฉันมีความสุขอยู่ตลอดเวลา ใต้ฝ้าเท้าของฉันไฟมันลุกอยู่ ”
อิกบาล ไม่เคยถูกครอบงำด้วยอารยธรรมตะวันตก ท่านเพียงแต่สร้างความสงสัยอยู่ในตัวเอง หลักการต่าง ๆที่ถูกสร้างบนฟื้นฐานของวัตถุนิยม จะเห็นเป็นสิ่งที่ง่ายในสายตาของท่าน ท่านได้มองในส่วนนอกที่ถูกสร้างให้มีความสวยงาม ซึ่งไม่สามารถที่จะรอรับการพิสูจน์อยู่ตลอดเวลา เพียงรัศมีของ ( Ilahi ) เท่านั้นแหละที่สามารถประทานรัศมีประกาย มีความคงทนถาวร
“ ถึงแม้ยุโรปถูกล้อมรอบด้วยศิลปะและความรู้
แท้จริงแล้วที่ลุ่มแห่งความมืดนี้.การขาดตาน้ำแห่งชีวิต.โอ้ผู้อาศัยแห่งทวียุโรป.
แผ่นดินของพระเจ้านั้น ใช่ว่าร้านค้า.อะไรที่รับประทาน คือว่ามันมีค่า / ราคา.
มันประจักษ์ว่า มันปราศจากค่า.อารยธรรมของท่าน คือการฆ่าตัวใช่ไหม.
ด้วยอาวุธของตัวเอง.ทั้งที่พวกท่านทั้งหลายสร้าง บนความเปราะเปื้อน.
กิ่งก้าน มันไม่คงทนที่จะต้านใช่ไหม.
เหมือนเป็นฟองน้ำที่รองรับยุโรป ที่เกือบจะล้มสลาย ขอให้พวกเราได้แลเห็นในตักของเขา มันจะไหลออก ”
แต่จะเป็นฉะนั้นก็ตามแต่ อิกบาลซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมยุโรปอย่างกว้างขวาง ก็ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของยุโรปแต่อย่างใด ถึงแม้โดยที่ท่านไม่รู้ก็ตาม จากขบวนการทางความคิดต่าง ๆ ที่ท่านติดต่อตลอดระยะเวลาที่ท่านศึกษาและอยู่ในยุโรป ด้วยเหตุดังกล่าว เรามาลองดูว่ามีจุดความเหมือนกันที่พบได้ในระหว่างปรัชญาของอิกบาลกับแนวคิดทางปรัชญาที่มีอิทธิพลของยุโรป ความคิดของกรีกได้สร้างอิทธิพลที่ยิ่งใหญ่ในยุโรป และได้แพร่หลายสู่โลกอิสลาม อิกบาลถือว่าอิทธิพลหลายอย่างที่ได้มีบทบาทต่อวัฒนธรรมอิสลาม ซึ่งมีความแตกต่างกับวัฒนธรรมของกรีก ท่านพยายามลบล้างแนวคิด Helenism ออกจากแนวคิดของอิสลาม อริสโตเติลเองได้รับความสนใจและพบว่ามีความเหมือนกันระหว่างมนุษย์ที่มีความคิด ตามแนวทางอริสโตเติลกับมนุษย์ที่สมบูรณ์ของอิกบาล ในประเด็นอื่นนักปรัชญาทั้งสองมีหลักการเกี่ยวกับโลกที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การมองถึง Alam เอกภาพที่คงสภาพมั่นคงของอริสโตเติล อิกบาลได้คิดค้นว่า Alam เอกภาพจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
นักปรัชญาความคิดนิมยของเยอรมันคนหนึ่ง ได้เขียนผลงานสั้น ๆ เกี่ยวกับความคิดของอิกบาล ซึ่งบางอย่างสอดคล้องกับคาน ( Khan ) ซึ่งเป็นเพื่อนกับท่าน ทั้งสองเชื่อว่า ช่องว่างและเวลา เป็นความจริงที่มีตัวตน ซึ่งอาจพูดได้ว่า จะไม่มีสิ่งหนึ่งที่มีผลจากตัวตน จากความมีตัวตนเกี่ยวกับช่องว่างและเวลา Khan ได้สรุปว่า เราสามารถรู้สรรพสิ่ง เพียงด้วยยามที่มันได้เห็น ที่มีอยู่ต่อหน้าต่อตาของเราเท่านั้น
อิกบาล ไม่ต้องการที่จะกำหนดขอบเขตของความรู้ในลักษณะความจริงในประสบการณ์ ท่านเชื่อว่ามนุษย์สามารถถึงความสุดยอดที่สมบูรณ์ โดยไม่ผ่านพลังความรู้สึกและอวัยวะสัมผัสของมัน แต่ว่าด้วยความขอความช่วยเหลือจากประสบการณ์ที่ท่านเรียกว่า Intuise สำหรับอิกบาลได้เห็นหน้ายังพระเจ้า ไม่ใช่เพราะการที่ผ่านอย่างอื่น
เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและโดยตรง ระหว่างความคิดของอิกบาลและความคิดของ Bergson นั้นมีจริง ๆ
สิ่งที่ดึงดูดความสนใจจากบุคคลภายนอก คือ ทั้งสองคนได้แก้ปัญหาต่าง ๆ ของปรัชญาที่เพิ่มพูนให้เต็มความคิดของพวกเขา โดยไม่กลับไปสู่พลังของความรู้สึก นอกจากความสามารถอย่างหนึ่งที่มีลักษณะ Intuise
ประเด็นปัญหาสำคัญที่ อิกบาลและ Bergson พูดคุยกันได้แก่เรื่องของวัตถุที่อาจอยู่นิ่งและไม่มีพลัง ego ที่สูงสุดคือ พระเจ้า ซึ่งเป็นความจริงที่สูงสุดตามทัศนะของ Bergson
มีหลายคำที่เขียนผิด แก้ไขคำผิดด้วยนะคะเพื่อผู้อ่านจะได้อ่านต่อเนื่อง
ตอบลบ