เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คอลีฟะฮ อาลี ตอนที่ 2




โดยอาจารย์ รอฟลี แวหะมะ อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี  เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อิสลาม โดยเฉพาะ
2. การคัดเลือกเป็นคอลีฟะฮ์และปัญหาการสัตยาบัน (Bay ‘ah)
การคัดเลือกเป็นคอลีฟะฮ์
หลังจากการสิ้นชีวิตของอุษมานได้สองสามวัน ฆ็อฟกี บิน ฮัรบ์  และผลเมืองคนอื่นๆในเมืองต่างก็รอคอยคนที่จะก้าวออกมารับตำแหน่งคอลีฟะฮ์  (มีความเห็นแตกต่างกันในหมู่นักประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวันแห่งการพลีชีพของท่านอุษมาน บางคนกล่าวว่ามันเป็นวันที่ 19 เดือนซุลฮิจญะฮ และทัศนะนี้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม บางคนก็มีความเห็นว่าโศกนาฏกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาของการทำฮัจญ์ดังที่อิบนุ ญะรีรกล่าวอ้าง แต่ก็มีบางคนกล่าวว่ามันเป็นวันศุกร์ที่สามของเดือนซุลฮิจญะฮ ในขณะที่บางคนเช่น อิบนุ อะซากิรอ้างว่าวันแห่งความหายนะนั้นคือวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะฮ อะลีที่จะปกครองอาณาจักรอิสลามในช่วงเวลาอันวิกฤตนั้น มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า
อาลีได้มายังมัสญิดโดยใช้ผ้าคลุมร่างกายและโพกศรีษะด้วยผ้าขนสัตว์โดยถือรองเท้าอยุ่ในมือ เขาเดินขึ้นบนแท่นเทศนาโดยถือคันธนูยันพื้นไว้และรับคำสัตย์ปฏิญาณจงรักภัคดีจากผู้คนวันนั้นเป็นวันศุกร์ที่ 24 เดือนซุลฮิจญะฮ ฮ..35 (23 มิถุนายน 656)”

ปัญหาการสัตยาบัน (Bay‘ah)
ผู้ก่อความวุ่นวายตกลงเสนอชื่อท่านอาลีเข้าแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ แรกทีเดียวท่านอาลีตอบปฏิเสธ แต่เมื่อนึกถึงว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้ใครสักคนหนึ่งทำให้บรรยากาศที่เคร่งเรียดเป็นปกติมีชีวิตชีวาขึ้น เพราะทุกสิ่งในนครหลวงกำลังอยู่ในสภาพเลวร้าย ความสงบสุขและระเบียบวินัยเป็นเรื่องที่จะต้องให้มีขึ้นเป็นประการแรก ท่านอาลีจึงหันหน้าเข้าปรึกษากับสหายของท่านคอลีฟฮ์อุษมาน ซึ่งมีเหลืออยู่ในขณะนั้นไม่กี่คน และคนเหล่านั้นก็เห็นพ้องต้องกันว่า   สมควรที่ท่านอะลีจะได้ก้าวออกมาเพื่อรับใช้ประชาชนในยามที่ชาติต้องการ เพราะถ้านอกจากเขาแล้ว คนอื่นก็เห็นจะควบคุมสถานการณ์ไว้ไม่อยู่ ท่านอาลีจึงยอมตกลงรับเป็นคอลีฟะฮ์
                ท่านอาลีได้รีบไปสู่มัสยิด เพื่อปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่ง มาลิกอัลอัซตัรเป็นบุคคลแรกที่ปฏิญาณตนรับรู้ในตำแหน่งคอลีฟะฮ์ แล้วจึงได้มีอีกหลายคนได้ปฏิบัติตามเขา สหายของอุษมานที่ยังตกค้างอยู่ในมาดีนะฮ  ขณะนั้นมีอยู่ 2 คนที่เป็นบุคคลสำคัญ คือ ฎ็อลฮะฮและซุเบยร์ คนทั้งสองอยู่ในจำนวน 6 คนที่ท่านอุมัรเคยคาดไว้ว่าควรจะได้เป็นคอลีฟะฮ์ เพื่อที่จะให้ได้ความแน่ชัดและมั่นใจว่าบุคคลทั้งสองยังคงฝักใฝ่อยู่กับตน ท่านอาลีจึงให้คนไปตามคนทั้งสองมาพบและพูดขึ้นว่า  “ถ้าคนใดคนหนึ่งในสองท่านต้องการตำแหน่งคอลีฟะฮ์ ข้าพเจ้าก็พร้อมที่จะอุทิศความจงรักภัคดีแก่ผู้นั้นทันทีคนทั้งสองต่างปฏิเสธว่าไม่ต้องการจะแบกภาระนี้
          “ ดังนั้นท่านทั้งสองจงสาบานตนว่าจะจงรักภัคดีต่อข้าพเจ้าท่านอาลีกล่าวขึ้นสุเบยร์นิ่งไม่ตอบอะไร  แต่ฏ็อลฮะฮแสดงอาการไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัดเมื่อสังเกตเห็นอาการอีกฝ่ายหนึ่ง มาลิกอัลอัซตัรก็กระชากดาบออกจากฝักแล้วพูดอย่างเครียดๆ ว่าจงปฏิญาณเดี๋ยวนี้ มิฉะนั้นหัวท่านจะขาดทั้งสองคน”  ปรากฎว่าทั้งสอง ได้ทำพิธีสาบานตนโดยดุษฎี
                สะอัด อบี วักกอซ ถูกเรียกตัวให้มากล่าวปฏิญาณต่อจากบุคคลทั้งสอง เขาเป็นหนึ่งในจำนวนหกคนที่จะได้รับเลือกท่านไม่ต้องวิตกหรือกริ่งเกรงข้าพเจ้าหรอกเขารีบแถลงยืนยันกับท่านอาลีเมื่อคนอื่นได้ทำพิธีสาบานตน ข้าพเจ้าก็จะกระทำเยี่ยงเดียวกัน”  แล้วจึงมาถึงรอบของอับดุลลอฮ บินอุมัร อับดุลลอฮแถลงวาจาทำนองเดียวกับสะอัด  “ควรจะต้องมีใครสักคนหนึ่งค้ำประกันท่านอาลีกล่าวขึ้น ข้าพเจ้าไม่มีคนค้ำประกันจะให้ท่านเป็นคำตอบห้วนๆของอีกฝ่ายหนึ่ง  มาลิกอัลอัซตัรพรวดพราดขึ้นยืนและร้องตระโกนลั่นว่าถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจัดการกับเขาเอง ส่งตัวมาให้ข้าพเจ้าดีกว่า”    “อย่าอย่าทำอย่างนั้นท่านอาลีรีบตัดบทฉันค้ำประกันให้เขาเอง”   หัวหน้ากลุ่มอัลซอรบางคนมิได้แสดงความจงรักภัคดีต่อท่านอาลี ส่วนกลุ่มอุมัยยะฮต่างก็หลบนี้ไปอยู่ซีเรียจนหมด แถมยังเอาเสื้อชันในเปื้อนโลหิตของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานพร้อมทั้งนิ้วมือข้างที่ถูกตัดของไนละฮ ศรีภรรยาของท่านติดตัวไปด้วย

3.นโยบายการปกครองของท่านอาลี
           หลักการปกครองหรือนโยบายบริหารและระบบรัฐบาลของท่านอาลีก็คือคุณค่าและความคิดทางศีลธรรมไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตามบรรทัดฐานของอิสลามจะไม่ถูกปล่อยให้ได้รับความเสียหายเพียงเพื่อเห็นแก่ความจำเป็นทางด้านการบริหารและเหตุฉุกเฉินของสถานการณ์ทางการเมืองแบบแผนที่จะต้องได้รับการปฏิบัติตามในทุกกรณี  ก็คือตัวอย่างของท่านนบีมูฮัมมัด  และคอลีฟะฮ์ก่อน คอลีฟะฮ์หรือตัวแทนของท่านนบี  ก็คือผู้เผยแผ่อิสลาม เป็นอุดมคติแห่งศีลธรรมของอิสลามสำหรับผู้คนมากกว่าที่จะเป็นเพียงแค่ผู้นำของรัฐ อาลีได้ถูกกำหนดมาให้ปฏิบัติตามหลักการนี้โดยที่เขาได้ให้ความสำคัญกับมันมากกว่าข้อพิจารณาทางด้านบริหารและการเมืองอื่นใดทั้งหมดโดยไม่คำนึงว่าเขาจะต้องสูญเสียมากเท่าใด  และเขาก็ต้องจ่ายให้กับการยึดมั่นในหลักการนี้ด้วยราคาที่แพง  แต่เขาด้วยความเต็มใจพร้อมกับความสำนึกที่ใสสะอาด
               อัลอักกอดได้อธิบายให้เห็นถึงลักษณะของความแตกต่างระหว่างอาลีและมุอาวียะฮโดยเขียนไว้ว่า
            “มันไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างบุคคลสองคน  แต่ระหว่างสองระบบที่สามารถเรียกคำพูดในสมัยใหม่ได้ว่าความขัดแย้งระหว่างสองแนวความคิด  ความจริงแล้ว  การต่อสู้นี้เป็นความขัดแย้งระหว่างระบบที่ปกครองด้วยคอลีฟะฮ์  (ที่อะลีนำเสนอ) และแบบแผนการบริหาร (ที่มุอาวียะฮ  บิน  อบีซุฟ จาก อัลยาน  สร้างขึ้นมา
               การบริหารของอะลีเป็นการแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการปกครองด้วยคอลีฟะฮ์ผู้ทรงคุณธรรมในยุคต้นในขณะที่การปกครองของมุอาวียะฮเป็นการปกครองที่ดีที่สุดที่ไม่ได้ก้าวออกไปนอกขอบเขตที่อิสลามกำหนดไว้ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในประเภทเดียวกันก็ตาม  ชาห์  มุอีนุดดีน  นัดวีได้เขียนไว้ในหนังสือ  ตารีค อิสลาม (ประวัติศาสตร์อิสลาม) ของเขาว่า   “มุอาวียะฮเป็นผู้ปกครองที่ถืออำนาจเป็นใหญ่และทำทุกอย่างที่เป็นไปได้เพื่อให้การปกครองของเขามีความเข้มแข็งและดำเนินไปได้โดยความปลอดภัย ในขณะเดียวกัน เขาไม่เคยทำอะไรที่ไม่งดงามสำหรับการเป็นผู้ปกครองที่ยุติธรรม เขาเป็นคนที่มีความอดทนอย่างสูง  อดทนจนขึ้นชื่อและแม้แต่ศัตรูของเขาก็ยังยอมรับ อิบนุ  ตักตะฟี  นักประวัติศาสตร์ชาว ชีอะฮผู้มีชื่อเสียงได้กล่าวว่ามุอาวียะฮเป็นคนที่ทำตามความต้องการของตัวเองและเฉียบขาด แต่ก็มีความผ่อนปรน มีเหตุการณ์หลายครั้งที่แสดงให้เห็นถึงความยับยั้งชั่งใจและการรู้จักพอประมาณของเขาก็ได้รับการเอ่ยถึงโดย อัลฟัครี เฏาะบารี และนักประวัติศาสตร์คนอื่นๆ เขาไม่เคยรุนแรงเว้นเสียแต่ว่าเขาถูกบังคับให้ต้องใช้ความเด็ดขาดภาษิตที่เขาปฎิบัติก็คือถ้าการเฆี่ยนของฉันทำให้ฉันบรรลุวัตถุประสงค์แล้วฉันก็จะไม่ชักดาบออกจากฝักและตรงไหนที่การตักเตือนของฉันเป็นการเพียงพอ ฉันก็จะไม่ใช้การเฆี่ยน  ฉันไม่เคยทำลายความสัมพันธ์ของผู้ใดแม้แต่มันนิดเดียวเหมือนการดึงเส้นผม….เมื่อพวกเขาดึงมัน  ฉันก็จะปล่อยให้มันหลวมและเมื่อพวกเขาทำให้มันหลวม ฉันก็จะดึงมันความขัดแย้งระหว่างสองหลักการและทัศนะที่แตกต่างกันนี้ย่อมทำให้เกิดผลติดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  นี่คือแนวความคิดสองแนวและทั้งสองแนวต่างก็พยายามที่จะยืนหยัดในจุดยืนของตน  แนวความคิดแรกมีอยู่ก่อนแล้วในขณะที่เวลากำลังเปลี่ยนแปลงและการติดต่อกับระบบสังคมใหม่ได้ทำให้เกิดแนวความคิดที่สองขึ้นมา  ยิ่งนานวันออกไปจากยุคสมัยของท่านนบี  คนที่ได้รับทางนำจากท่านก็ค่อยๆล้มหายตายจากกันออกไป  อักกอดได้อธิบายถึงสถานการณ์ดังกล่าวไว้ว่า
                 “ระยะเวลาของการเป็นเคาะลีฟะฮของอะลีผิดปกติในแง่ที่ว่าคนที่มาก่อนหน้าเขานั้นแตกต่างไปจากคนที่มาหลังเขาเป็นเรื่องปกติเนื่องจากเรื่องราวของเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นอย่างที่มันต้องเป็น  ไม่มีใครที่มั่นคงยั่งยืน  และไม่มีใครที่พังทลายแต่ละคนอยู่ในขั้นตอนของการวิวัฒนาการหรือเหมือนกับอาคารที่ยังไม่พังลงมาและก็ไม่อาจถือว่าแข็งแรงและคงทน
 ความแตกต่างระหว่างสองจุดยืนนี้เกิดขึ้นโดยกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปการปลี่ยนแปลงของสังคมอิสลามดำเนินไปตามจิตวิทยาของมนุษย์และกฎธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงถึงแม้มันจะทำให้มุอาวียะฮได้เปรียบในอาณาจักรและในกองทัพของเขาที่มีความมั่นคง  มีกฎหมายและมีระเบียบและบรรยากาศแห่งการเชื่อฟังต่อผู้นำ ส่วนอาณาจักรของอาลีนั้นไม่มีระเบียบและสถานการณ์ก็มีแต่การแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวสถานการณ์ในฝ่ายของอาลีเองที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามได้เปรียบ  ดังนั้นอักกอดจึงได้วิเคราะห์สถานการณ์ไว้ดังนี้ว่า:
 “มุอาวียะฮ บิน อบูซุฟยาน มีคนที่ยอมปฏิบัติตามกฎระเบียบอยู่ในซีเรียและแผ่นดินข้างเคียง ในขณะที่อาลีมีแต่คนที่ไม่มีระเบียบวินัยในคาบสมุทรอารเบีย”         
ดังนั้นความแตกต่างระหว่างและมุอาวียะฮจึงไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะเรื่องหนึ่งเรื่องที่สามรถจะแก้ไขได้โดยการที่คนใดในสองคนนี้ขึ้นมามีอำนาจ  เรื่องที่เป็นปัญหาก็คือการมีจุดยืนและระบบสังคมสองระบบคู่ขนานกัน และต่างก็เป็นข้อโต้แย้งซึ่งกันและกัน  ฝ่ายหนึ่งไม่พร้อมที่จะประนีประนอมในเรื่องของหลักการ  แต่มีการแตกแยกกันภายใน ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งนั้นยินดีที่จะยอมจำนนต่อรัฐบาลใดๆก็ได้ที่สามารถตั้งขึ้นมาและอยากจะทำให้รัฐบาลนั้นเข้มแข็งและมั่งคง

4 จุดยืนของท่านอะลี
ท่านอาลีคอลีฟะฮ์ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากคอลีฟะฮ์อุษมาน หลังจากที่ท่านอุษมานได้ถูกสังหารตาย ในการสังหารครั้งนี้คอลีฟะฮ์อาลีไม่สามารถดำเนินการกับผู้สังหารได้และในเวลาต่อมาบุคคลเหล่านั้น (ที่ร่วมกันสังหารอุษมาน)ก็ได้เป็นกลุ่มที่ให้การสนับสนุนองของท่านอาลีคอลีฟะฮ์คนที่สี่ ในขณะที่ท่านเองก็ไม่ประสงค์ที่จะรับตำแหน่งนี้
อาลีได้ขึ้นดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ในช่วงเวลาที่สถานการณ์กำลังยุ่งยากและสับสนปัญหาหนามยอกอกของรัฐก็ยังเป็นที่พูดถึงกันทั่วทุกแห่งและทุกคนต่างมีข้อแนะนำใหม่ๆมากมายบางพวกก็ขอให้มีการแก้แค้นคนที่สังหารอุษมานโดยเฉพาะต่อพวกอียิปต์
พวกอิรักและพวกอาหรับเร่ร่อนจากทะเลทรายอาหรับ
                     อับบาสมะฮมูด อัลอักกอดได้พูดถึงสถานการณ์อันล่อแหลมที่ท่านอาลีต้องเผชิญในฐานะที่เป็นคอลีฟะฮ์ของมุสลิมถึงแม้ว่าเขาจะไม่ถูกตำหนิเลยทั้งนี้เนื่องจากเขาได้ใช้ความพยายามมากกว่าใครๆในบรรดาสาวกของท่านนบีเพื่อที่จะรักษาสถานการณ์ไว้และฮะซันลูกชายของเขาเองก็ได้ป้องกันคอลีฟะฮ์ผู้ล่วงลับไปอย่างเต็มที่ เขากล่าวว่า
                     "อาลีได้รับการคำสัตย์ปฏิญาณจงรักภักดีหลังจากเกิดเหตุการณ์นองเลือดอันน่าเศร้าที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์อิสลามคอลีฟะฮ์อุษมานได้ถูกสังหารในวัยชราหลังจากที่ถูกปิดล้อมในบ้านของตนเอง ความจริงแล้วเขาอาจจะเสียชีวิตเพราะความกระหายถ้าหากบรรดาฆาตกรยืดเวลาการปิดล้อมออกไปอีกสองสามวัน"
                    "ประเด็นเปราะบางที่สุดของเรื่องนี้ทั้งหมดอยู่ตรงความจริงที่ว่าสถานการณ์ได้สับสนวุ่นวายและไร้ร่องรอยจนไม่มีทางเลือกไว้สำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้งมันเป็นอะไรบางอย่างที่ได้ถูกกำหนดไว้ซึ่งดูเหมือนว่าถึงอย่างไรมันก็ต้องเกิดคนที่มีความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์หายนะนี้มีหลายคนกระจัดกระจายอยู่ในกลุ่มต่างๆ  ถ้ากลุ่มหนึ่งนิ่งเฉยอีกกลุ่มหนึ่งก็จะเคลื่อนไหวและใช้ความรุนแรงทิ้งปัญหายุ่งยากไว้โดยไม่สามารถควบคุมได้ เขายังตอบอีกต่อไปว่า "ความยุ่งยากกับอะลีก็คือว่าเขาต้องคอยควบคุมบังเหียนของผู้กล่าวหาเขาอย่างแน่นหนาและขณะเดียวกันเขาก็ต้องขจัดสิ่งกีดขวางตามทางให้หมดไปเพื่อมี่จะได้ไม่มีอุปสรรคกีดขวางทางเขา “  ความยุ่งยากอีกอย่างหนึ่งก็คือการไม่สามารถระบุตัวผู้ลงมือสังหารได้ ทั้งนี้เพราะแม้แต่ภารยาของเคาะลีฟะฮอุษมานเองก็ยังไม่สามารถระบุตัวคนร้ายได้  
                    แต่สถานการณ์ได้ทวีความสับสนไปมากกว่านั้นอีก  ดังที่อักกอดได้กล่าวว่าครั้งหนึ่งอาลีต้องการที่จะลงโทษคนฆ่าอุษมาน แต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อทหารเหล่านั้นร้องว่าพวกเขาทั้งหมดมีส่วนในการสังหารอุษมาน ถ้าหากใครคนใดคนหนึ่งถูกลงโทษ พวกเขาทั้งหมดก็จะต้องถูกลงโทษด้วยเขาได้กล่าวต่อไปว่า
                    “ถ้าหากคนที่เรียกร้องให้มีการลงโทษคนสังหารอุษมานใช้วิธีการที่ถูกต้อง พวกเขาก็ควรจะให้การสนับสนุนคอลีฟะฮ์เพื่อที่จะทำให้เขาใช้กฎหมายได้ในตอนนั้น พวกเขาต่างหากที่ควรจะเรียกร้องให้มีการลงโทษฆาตกรตามกฎหมายอิสลาม
                    อิบนุ ฮะญัรได้พูดถึงสถานการณ์ในตอนนั้นไว้ในหนังสือ อัลอิซาบ๊ะฮ ฟี ตะมีซิศ      เศาะฮาบะฮโดยกล่าวว่าอาลียืนยันว่าคนที่เรียกร้องให้มีการลงโทษควรจะยื่นเรื่องต่อผู้นำของรัฐ ทายาทของอุษมานก็ควรจะร้องทุกข์กล่าวโทษต่อผู้ทำผิด และหลังจากนั้นถึงจะดำเนินการตามกฎหมาย(ชะรีอะฮ)ได้ แต่บรรดาคนที่คัดค้านเขาได้ยืนยันว่าจะต้องหาตัวฆาตกรให้ได้แล้วฆ่าเสีย แต่อะลีถือว่าการลงโทษไม่อาจเป็นไปได้หากไม่มีคำร้องทุกข์กล่าวโทษและหลักฐานสนับสนุนทั้งสองฝ่ายนี้ล้วนแต่มีอำนาจที่จะออกความเห็นทางกฎหมายของตน สาวกบางคนของท่านนบีนิ่งเฉยในเรื่องนี้และไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด อย่างไรก็ตามการยอมพลีชีวิตเพื่ออุดมการณ์ของอัมมารก็ได้ทำให้ทุกคนเห็นว่าอะลีถูกต้องในจุดยืนของเขา ดังนั้นความสงสัยทั้งหมดในเรื่องนี้จึงเป็นที่กระจ่าง

5. สงครามอูฐ
            สงครามอัลญะมัลหรือสงครามอูฐเป็นศึกสายเลือดที่เกิดขึ้นครั้งแรกของประวัติศาสตร์อิสลาม ซึ่งเริ่มจากเหตุการณ์ฆาตกรรมที่เกิดขึ้นแก่  คอลีฟะฮ์อุษมาน  (ซุลฮิจยะฮ  .. 35) ท่านอาลีผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากท่านอุษมานไม่สามารถดำเนินกิจการใด ๆ ต่อฆาตกรเหล่านั้น 

การยึดเมืองบัศเราะฮ์ของกลุ่มอาอีชะฮ

ท่านอาอีชะฮได้เลือกเมืองบัศเราะฮ์ เพราะตั้งอยู่ไกลจากศูนย์กลางการปกครองของท่านอาลีและ ณ ที่นั่นก็ยังมีผู้ที่พร้อมจะให้การสนับสนุนการต่อสู้ของนางได้มีแผนการเสนอให้ท่านหญิงอาอีชะฮ์เดินทาง มุ่งเข้าสู่ซีเรียแต่ก็มีเสียงพูดอีกว่าที่นั่นมุอาวียะฮอยู่แล้ว ดังนั้นท่านหญิงอาอีชะฮจึงได้กำหนดแผนการมุ่งสู่บัศเราะฮแต่บรรดาศอฮาบะฮซึ่งกำลังอยู่ที่ มักกะฮในขณะนั้นต่างก็ไม่สนับสนุนให้นางกระทำเช่นนั้น อุมมุซลามะฮ(น้าของท่านนบี  ) ก็ห้ามนางมิให้ออกไปซึ่งความเห็นของนางแล้วท่านหญิงอาอีชะฮอาจจะละเลยในเรื่องของฮิญาบ ซึ่งท่านรซูลุลลอฮ  ได้วาญิบต่อบรรรดาภริยาของท่านในเวลาเดียวกันนั่นเอง ฮัฟเสาะบุตรีอุมัรบุตรอัลคอฏฏอบกลับสนับสนุนอาอีชะฮ แต่บางส่วนจากอะลุซซูรอคือ อับดุลลอฮ บุตรอุมัรบุตรอัลคอฏฏอบและสะอุดบุตรอะบีวักก๊อสไม่ออกความเห็น ใด ๆ รวมทั้งชาวเมืองมักกะฮ์เองไม่สนับสนุนนางในขณะที่นางจะออกเดินทางไปยังมืองบัศเราะฮ(ต้นปี ฮ. .36)มีผู้คนนับจำนวนพันต่างก็ร้องไห้อย่างอาลัยอาวรณ์ต่อนางโดยไม่มีผู้ใดเอื้อนเอ่ยวาจากล่าวห้ามอีกต่อไปจนประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าวันนั้นเป็นวัน เยามุ-อันนาฮีบ (วันกรรณแสง)  ต่อาอีชะฮบังคับใจให้เดินทางออกไปแต่เมื่อถึงที่แห่งหนึ่ง นางก็ได้รับเครื่องหมายแจ้งเหตุว่ามันเป็นที่ไม่ดี (การเห่าหอนของสุนัขจากป่า เฮาอับ) กระทั่งจนเป็นหตุให้นางต้องตัดสินใจที่จะหวนกลับอย่างรีบด่วน ซึ่งนางมีความกลัวตามข่าวที่ได้รับ จากท่านนบี  ด้วยว่า ภรยาคนใดคนหนึ่งของฉันจะต้องได้รับการเห่ากรรโชกจากสุนัข แต่ในเรื่องนี้   อัซซุบัยร์ และบรรดาผู้ที่ติดตามไป ได้พูดให้กำลังใจแก่นางให้ออกเดินทางต่อไป เมื่ออุมมุลมุอ์มินีนเดินทางมาถึงชาน เมืองบัศเราะฮ นางได้รับความสำเร็จในการโน้มน้าวจิตใจบุคคลในถิ่นนั้นให้ เข้าร่วมต่อสู้กับนาง เมื่อรวบรวมจำนวนของผู้คนที่เข้าสมทบใหม่ในครั้งนั้นก็นับได้ประมาณ 30000 คน และในขณะที่เดินทางเข้าเมืองนั้น(เราะบิอุลอาคิร ปีที่ 36 ..)ก็ได้เกิดการสู้รบกันเพียงเล็กน้อย จากนั้นก็ได้มี การเจรจาสงบศึก ( ชาวเมืองบัศเราะฮ ขณะนี้ได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนท่านหญิงอาอีชะฮอีกฝ่ายได้ให้การ สนับสนุนท่านอาลี )

ข้อเจรจาระหว่างกองทัพอาลีและกองทัพอาอิชะฮ

เมื่อท่านอาลีทราบข่าวของท่านหญิงอาอิชะฮอยู่ที่เมืองบัศเราะฮ ท่านอะลีได้มาถึงบัศเราะอท่านก็เริ่มวางแผนการเจรจาขึ้นเบื้องแรกซึ่งถือเป็น สิ่งสำคัญที่สุดโดยที่ท่านได้ส่งคณะทูตสันติเพื่อทำการเจรจากับท่านหญิงอาอิชะฮและสุดท้ายการเจรจาครั้งนี้ ประสบความสำเร็จตามความมุ่งมั่นปรารถนาไว้ แต่ก่อนที่เจรจาตกลงกันได้นั้นกองทัพทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้เผชิญหน้ากันในทุ่งราบแห่งหนึ่งของเมืองบัศเราะฮทุก คนอยู่ในอาการที่สงบเมื่อถึงเวลากลางคืนพวกเขาต้องการเข้านอนแต่หัวค่ำอันเนื่องจากความเหน็ดเหนื่อยที่ได้ รับในตอนกลางวันจึงต้องการพักผ่อนอาจจะเป็นพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้พวกเขาก็จะแยกย้ายเดินทางกลับมะดีนะฮหรือมักกะฮกันแล้วขอชุโกร(ขอบคุณอัลลอฮ I )ที่พวกเขาไม่ทำการสู้รบกันเองและศึกสายเลือดก็ไม่เกิดขึ้น

บทบาทของพวกฆาตกรอุสมานที่พยายามประทุสงคราม

                เที่ยงคืนของคืนนั้นในขณะที่กองกำลังของทั้งสองฝ่ายกำลังนอนหลับสนิทเพราะความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าก็ ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งคิดทรยศขึ้นบุคคลกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มาจากกลุ่มอับดุลลอฮบุตรซอบาฮ์ซึ่งได้เข้าจู่โจมฝ่ายท่าน หญิงอาอิชะฮอย่างทันควันท่ามกลางความมืดในยามเที่ยงคืนซึ่งได้จูงใจมนุษย์ให้กระทำการใดๆก็ได้และท่ามกลางบรรยากาศอันน่าตระหนกนั้นต่างฝ่ายก็กู่ตะโกนว่าฝ่ายตนกำลังถูกโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามการปะทะกันจึงเกิดขึ้นพร้อมกับความระแวงที่มีต่อกันแม้ว่าผู้นำของพวกเขาจะได้ตะโกนเตือนสติออกไป   ท่านอาลีและท่านหญิงอาอิชะฮต่างก็ตะโกนเรียกหาคนของตนเพื่อให้หยุดการกระทำดังกล่าวนั้นเสียแลให้ทุกคนวางอาวุธ ซัยยิดะฮอาอิชะฮเองก็ได้ยกมุศฮัฟอัลกรุอานขึ้นเพื่อที่พวกเขาจะได้หยุดการสู้รบกันพร้อมกับตะโกนด้วยเสียงดัง ว่าพอแล้วพวกท่านจงระลึกถึงอัลลอฮ I  เถิด(หลายๆครั้งแต่การสู้รบก็ยังดำเนินไปอย่างดุเดือดเลือดพล่านการศึก ครั้งนี้เป็นที่เลื่องลือว่าเป็นอุบัติของสงครามอัลญะมัล(ยะมาดุรอาคิรฮิจเราะฮที่36)อันแสนเศร้าการสู้รบได้ ดำเนินต่อไปเป็นเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์จนเกิดการเข่นฆ่ากันตายเป็นจำนวนประมาณ10,000 คนจากกองกำลังของทั้งสองฝ่าย(จำนวนประมาณ 5,000คนจากแต่ละฝ่าย)ทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะน้ำมือของคนชั่วและไม่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
ในที่สุดกองทัพของฝ่ายนางอาอิชะฮก็พ่ายแพ้ แต่คอลีฟะฮ์อาลีก็ปฏิบัติกับนางอาอิชะฮด้วยความสุภาพในฐานะที่นางเคยเป็นภรรยาของท่านนบี  และได้ส่งนางออกจากสนามรบอย่างมีเกียรติและสงครามครั้งนี้มีชื่อว่าสงครามอูฐเพราะนางอาอิชะฮได้บัญชาการทหารในขณะที่นางได้นั่งบนหลังอูฐและสงครามอูฐก็เหมือนกับพายุในถ้วยชาซึ่งเมื่อความรู้สึกที่ถูกกระตุ้นได้ระเบิดออกมาแล้วก็บรรเทาลงทันทีแต่การเผชิญหน้าระหว่างอาลีและมุอาวียะฮหลังจากนั้นได้กลายเป็นการต่อสู้ระหว่างสองแนวความคิดและทัศนะที่แตกต่างกันไปตามความเห็นและเหตุผลของชนชาวเผ่าต่างๆที่มีอยู่ในประชาคมอิสลาม
1.อะฮลุซุนนะวัลญะมาอะฮ ต่างก็มีความคิดว่าบรรดาเศาะฮาบะฮทั้งหลายที่เข้าไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นต่างก็อยู่บนรากฐานของเหตุผลและหลักการอันถูกต้อง
2.แนวความคิดของชิอะฮย่อมถือว่า ฝ่ายอาลีเป็นผู้ที่อยู่บนความถูกต้องด้วยประการทั้งปวง
3.ฝ่ายเคาะวาริจญ ต่างก็กล่าวหากันว่าทั้งสองฝ่ายผิดเพราะเป็นผู้ก่อให้เกิดบาปใหญ่ซึ่งตามแนวความคิดเห็นของพวกเขาแล้วสำหรับผู้ประกอบบาปใหญ่ก็จะตกเป็นกุฟุร
4.ฝ่ายมุอตะซิละฮได้ตั้งทฤษฎีของตนเองว่าย่อมไม่สมเหตุสมผลที่ทั้งสองฝ่ายผู้เป็นฝ่ายก่อการวิวาทกันนั้นจะเป็นฝ่ายถูกและย่อมไม่สมเหตุสมผลที่ทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ผิด ความจริงแล้วย่อมมีฝ่ายใดถูกและอีกฝ่ายก็ต้องเป็นผู้ผิดไปโดยไม่มีการตัดสินลงไปว่าฝ่ายไหนกันแน่ที่เป็นผู้ผิดหรือไม่ผิด
จุดเด่นของสงครามอูฐ
1. มีผู้หญิงในการนำทัพ(ท่านหญิงอาอีชะฮ)
2. เป็นการต่อสู้กันระหว่างประชาชาติมุสลิมครั้งแรกในประวัติศาสตร์อิสลาม
จุดด้อยของสงครามอูฐ
1. ความตื่นตระหนกของทั้งสองฝ่ายนำไปสู่การต่อสู้
2. ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ นำไปสู่ความเสียหาย
3. ความใจร้อนของท่านหญิงอาอีชะฮและไม่ยอมรับคำทัดทานจากคนใกล้ชิดนำไปสู่สงคราม


6 สงครามซิฟฟินและผลของมัน
                หลังจากสงครามอัลญะมัลได้เสร็จสิ้นลง  อาลีได้มุ่งไปที่กูฟะฮ์และส่งสาส์นไปถึงมุอาวียะฮที่ซีเรียเพื่อให้กระทำการบัยอะฮต่อท่านและยอมรับในการปกครองของท่านอาลีแต่มุอาวียะฮได้ปฏิเสธและยังคงยืนกรานที่จะให้ท่านอาลีรับผิดชอบต่อการที่ท่านได้ให้ความคุ้มครองแก่บุคคลที่สังหารท่านอุษมาน และได้เคลื่อนทัพเข้าสู่กูฟะฮ์   ส่วนกองทัพของท่านอาลีก็ได้เคลื่อนทัพมุ่งสู่ดามัสกัสกองทัพของทั้งสองฝ่ายได้เผชิญหน้ากันที่ซิฟฟิน   (บริเวณริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรติสซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของเมืองอันบาร์)      ท่านอาลีได้ขอให้มุอาวียะฮทำการบัยอะฮต่อท่านอีกครั้ง แต่ผลก็ยังเหมือนเดิมดังนั้นเมื่อสองฝ่ายมีจุดยืนที่ต่างกัน   การต่อสู้ประปรายก็เกิดขึ้นและดำเนินไปเป็นเวลาหนึ่งเดือน  แต่เนื่องจากฮิจญเราะฮศักราชใหม่ได้เวียนมาถึงในเดือนมุฮัรรอมซึ่งเป็นเดือนแรกที่ทั้ง  2  ฝ่ายจึงได้ตกลงทำสัญญาไม่รบกันในเดือนนี้  โดยว่างเว้นจากการต่อสู้ในช่วงนี้ทั้งสองฝ่ายต่างสลับกันส่งตัวแทนมาเจรจาแต่หาข้อยุติไม่ได้ในที่สุดทั้งสองฝ่ายก็ต้องเผชิญหน้ากันการต่อสู้ได้ดำเนินเป็นเวลา 10วันระหว่างกองทัพของท่านอะลีที่มีกำลังน้อยกว่ากองทัพของมุอาวิยะฮประมาณครึ่งหนึ่ง เหตุการณ์ต่อสู้ระหว่างเครือญาติได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง อัมมาร์ บิน ยาซีรได้ถูกชาวซีเรียฆ่าตายในการรบครั้งนี้   ท่านนบี  ได้เคยกล่าวล่วงหน้าไว้ว่าอัมมาร์  บิน  ยาซิร จะถูกพวกกบฏกลุ่มหนึ่งสังหาร  ทำให้เห็นว่า   การรุกรานจากมุอาวิยะฮนั้น  เป็นเรื่องทารุณโหดร้าย  เมื่อหะดีษนี้ได้ถูกอ่านเพื่อให้มุอาวิยะฮได้ระลึกถึง  เขากลับโต้ว่าท่านอะลีนั้นเองที่ฆ่าเขาเพราะท่านอะลีเป็นผู้นำอัมมาร์เข้าสนามรบ  เมื่อได้ยินเช่นนั้น  ท่านอาลีจึงย้อนด้วยคำถามว่าใครเป็นผู้ฆ่าฮัมซะฮในสงครามอุฮุด  จากความฉลาดที่รู้ทันในความคิดอัมรบุตรอัลอาศซึ่งอยู่ฝ่ายมุอาวิยะฮได้ออกคำสั่งให้ค้นหา      ( มุศฮัฟอัลกรุอาน)  และได้เอากรุอานปักไว้บนปลายหอกแล้วชูขึ้นพร้อมกับตะโกนว่าคัมภีร์ของอัลลอฮขอให้เราใช้มันตัดสินซึ่งในเวลานั้น  กันมุสยีร์ บินฟิดกี จากเผ่าตะมีม เซดบิน  ฮุเซนแห่งเผ่าฎ็อยย์  (หรือที่เรียกว่าอัสสะบาอี)   และคนอีกจำนวนหนึ่งรวมทั้งบรรดานักอ่านกรุอ่านก็ได้บอกแก่ท่านอะลีว่าจงเห็นด้วยกับการตัดสินของคัมภีร์ของอัลลอฮ I หากท่านปฏิเสธเราก็จะส่งตัวท่านให้ศัตรูหรือจัดการกับท่านในลักษณะเดียวกับที่เราปฏิบัติกับอิบนุอัฟฟาน ท่านอาลีไม่ต้องการพักรบและหยุดการไล่ล่าศัตรูแต่ท่านถูกอิทธิพลหว่านล้อมจากทหารของท่านเองซึ่งก็มีเป็นจำนวนมาก  ที่ขอร้องให้ท่านอาลียอมพักรบแม้ว่าสถานการณ์ในขณะนั้นฝ่ายของกองทัพอาลีกำลังได้เปรียบดังนั้นกองทัพซีเรีย  เป็นเหตุให้การทะเลาะระหว่างทั้งสองฝ่ายนั้นจบลงได้อย่างรวดเร็ว
บรรยากาศได้กลับคืนสู่ความสงบอีกครั้ง   เมื่อกองกำลังแห่งอิสลามที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ  ต่างก็ปลดอาวุธของตนเองและผู้นำของทั้งสองฝ่ายก็เห็นฟ้องต้องกันในอันที่จะเจรจาหาหนทางแห่งสันติภาพต่อไปซึ่งทั้งสองฝ่ายก็ได้ตกลงกันว่าจะนำเรื่องการแต่งตั้งคอลีฟะฮ์ไปให้อนุญาโตตุลาการซึ่งผู้นำละฝ่ายแต่งตั้งเป็นผู้ตัดสินดังนั้นฝ่ายมุอาวียะฮจึงเสนอชื่อ อัมร อิบนุอัลอาศในขณะที่อะลีต้องการที่จะแต่งตั้ง อับดุลลอฮ บินอับบาสแต่พวกนักอ่านกรุอานให้เสนอชื่อ  อบูมูซาอัลอัชอารี
วันที่ 13  เดือนซอฟัร ฮ.. 37  การเริ่มต้นเจรจาก็เกิดขึ้นซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสัญญาปลดอาวุธ และจัดให้มีการประชุมเพื่อแสวงหาทางแห่งสันติ  (ตะหกีมและทั้งสองฝ่ายก็จะเลือกผู้แทนของตนเอง  มัจญลิสตะหกีม  ที่จะมีขึ้นนี้ พวกเขาได้กำหนดขึ้นในเดือนรอมมะฎอนของปีนี้เช่นเดียวกัน สำหรับสถานที่นั้นจะประกาศออกมาภายหลัง
จุดเด่นของสงครามซิฟฟิน
1. เป็นการปราบปรามมุอาวียะฮในฐานกบฏ (ไม่ให้การบัยอะฮต่อท่านอาลี)
2. มีการนำอัลกุรอานเพื่อมาใช้ในการระงับการต่อสู้
3. มีการตัดสินด้วยมัจญ์ลิสตะกีม
4. เป็นสงครามระหว่างมุสลิมด้วยกันเองเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์อิสลาม
จุดด้อยของสงครามซิฟฟิน
1.เป็นการเพรี้ยงพร้ำทางการเมืองของอาลีต่อมุอาวียะฮ
2.เกิดการแตกแยกในกลุ่มของอาลีเป็นฝ่ายต่างๆ

มัจญลิสตะหกีม
                มัจญลิสตะหกีม  (ตัดสินเป็นระเบียบวาระการประชุมเพื่อหาข้อยุติทางการเมืองระหว่างผู้แทนของทั้งสองฝ่ายคือ  ท่านอาลีและฝ่ายมุอาวิยะฮ  ซึ่งได้เผชิญหน้ากันเพื่อหาหนทางอันถูกต้องต่อปัญหาการปกครองแผ่นดิน   ระหว่างท่านอาลีและมุอาวิยะฮ  เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นที่                    เดาะมะตุลญันดัล  ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองดามัสกัส  การประชุมครั้งนั้นได้เกิดขึ้นในเดือนเราะมะฎอน  .. 37  อันเป็นสาเหตุให้ทั้งสองต้องหลุดพ้นจากตำแหน่ง  แต่มุอาวิยะฮนั้น  ได้ประกาศเข้าแทนท่านอะลี(อาศัยหลักฐานจากอัต- ฎอบรอนี  อิบนุ  อัลอาซิร และอิบนุสะอด์
ในมัจญลิสตะหกีมดังกล่าวนั้น  ผู้แทนฝ่ายท่านอาลี  คือ  อบูมูซาอัลอัชอารี   นักการศาสนาผู้ชราภาพพร้อมกับคณะสังเกตการณ์  400  คน   สำหรับผู้แทนฝ่ายมุอาวิยะฮคือ  อัมรบินอาศ   พร้อมคณะผู้สังเกตการณ์  400  คนเช่นเดียวกัน  ขณะเดียวกันก็ยังมีผู้สังเกตการณ์  ฝ่ายอิสระ เช่นอับดุลลอฮ  บินอุมัร  อับดุลลอฮบินอัซซุบัยร์  อับดุรเราะห์มาน  บินอัลฮาริษ   อัลมูฆีเราะฮ์  บินซูบะห์  และ  สะอด์บินอบีวักกอส
ผู้ตัดสินชี้ขาดสองคนคืออบูมูซา  อัลอัชอารีและอัมร  บิน  อัลอาศ   ได้พบกันที่เดามะตุล  ญันดั ลในระหว่างเดือนเราะมะฎอน  อัมรได้กดดันอบูมูซาให้ยอมรับมุอาวียะฮเป็นคอลีฟะฮ์ แต่อบูมูซาไม่ตกลง   หลังจากพิจารณาชื่อคนอื่นๆ  แล้ว  ทั้งสองคนก็เห็นว่าหากพิจารณาเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้แล้ว 
เมื่อการประชุมได้ดำเนินการตามหมายกำหนดที่ประชุมจึงได้ลงมติว่าสมควรที่จะปลดทั้งอะลีและมุอาวียะฮออกจากตำแหน่งอาศัยเหตุผลที่ว่าท่านอะลีนั้นไม่เป็นที่ชื่นชอบและพอใจสำหรับประชาชนชาวซีเรีย   และมุอาวียะฮก็ไม่เป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชนแห่งเมืองกูฟะฮ์
ฉะนั้นเพื่อจะได้กำหนดคอลีฟะฮ์ท่านใหม่แล้วปล่อยให้ประชาชนเป็นคนเลือกผู้อื่นขึ้นมาเป็นคอลีฟะฮ์
ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่าบรรดาชาวซีเรียได้เลือกอัมรอย่างท่วมท้นแต่ฝ่ายของท่านอาลีนั้นมีความขัดแย้งในการที่จะเลือกผู้แทนของพวกเขา  เสียงข้างมากต่างก็เลือกอบูมูซา  อัลอัชอารี
ในขณะที่ท่านอาลีเองไม่เห็นด้วยแต่ท่านอาลีก็ยอมรับเพราะเสียงข้างมากความจริงแล้ว  อับดุลลอฮบินอับบาสย่อมมีความเหมาะสมกว่า นี่เท่ากับว่ามันได้กลายเป็นอุบายอย่างหนึ่ง
อัมรได้ขอให้อบูมูซาประกาศการตัดสินใจต่อผู้คนที่มาคอยฟังคำตัดสินของเขา  อบูมูซาได้ยืนขึ้นและกล่าวว่า  เราได้ไตร่ตรองถึงกิจการของมุสลิมแล้วและเห็นว่าไม่มีอะไรที่จะช่วยให้สันติภาพและความปรองดองเกิดขึ้นในหมู่มุสลิมได้มากไปกว่าการปลดทั้งอาลีและมุอาวียะฮ ออกจากตำแหน่ง   หลังจากนั้น ก็ให้บรรดาผู้อาวุโสของพวกท่านเลือกใครคนหนึ่งขึ้นมาแทน    ดังนั้น  เพื่อผลประโยชน์แก่เราทั้งสองฝ่าย  ฉันและอัมรต่างมีความเห็นต้องกันว่าทั้งสองผู้นำนั้นจะต้องพ้นไปจากตำแหน่ง   ฉะนั้นก็มอบการเลือกคอลีฟะฮ์ต่อไปแก่ประชาชนหมู่มาก   ฉะนั้น   (พร้อมกับกระชากดาบออกจากฝักฉันขอประกาศในนามของประชาชนว่าได้ปลดอะลีและมุอาวิยะฮออกจากตำแหน่งเหมือนกับฉันได้กระชากดาบของฉันออกจากฝักของมันหลังจากนั้น  เขาก็ก้าวออกมาทางด้านข้างและอัมรก็ก้าวออกมาประกาศว่า   พวกท่านได้ยินคำตัดสินของอบูมูซาแล้ว  เขาได้ปลดผู้อ้างสิทธิ์ของเขาคือ อาลี  ให้พ้นไปจากตำแหน่งของเขา   ฉันก็ขอสนับสนุนคำพูดของเขา  แต่เกี่ยวกับมุอาวิยะฮ  ฉันขอประกาศว่ายังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมของเขา  (อมีรุลมุอมินีนเหมือนกับดาบของฉันที่ยังคงอยู่ในฝักของมัน และฉันก็ปลดเขาด้วยเช่นกันและขอแต่งตั้งผู้อ้างสิทธิ์ของฉันคือมุอาวียะฮ  เพราะเขาคือทายาทของอุษมานผู้ที่จะลงโทษตอบแทนให้แก่เลือดของเขาและมีสิทธิ์ที่สุดที่จะสืบทอดต่อจากเขา   เมื่อเป็นเช่นนั้น  อบูมูซาและอัมรต่างก็โต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อน  
ผู้แทนของทั้งสองฝ่ายต่างมีความคิดไม่ตรงกันในการที่จะเลือกคอลีฟะฮ์ท่านใหม่  ในเมื่อบุคคลทั้งสองซึ่งเป็นผู้นำขณะนั้นต้องถูกปลดออกจากตำแหน่งอัมรได้ใช้ความเฉลียวฉลาดของเขา  (ฉวยโอกาส) จากนั้นก็ได้แต่งตั้งมุอาวิยะฮขึ้น  เมื่อการประชุมได้เสร็จสิ้นลงแล้ว  อัมรก็รีบเดินทางมุ่งสู้ดามัสกัลเพื่อมอบตำแหน่งแก่มุอาวิยะฮ  สำหรับอบูมูซานั้นไม่ต้องการกลับกูฟะฮ์อีกแล้ว  ความละอายและขยะแขยงต่อเหตุการณ์ดังกล่าว  เขาจึงออกจากสถานที่แห่งนั้นไปยังมักกะฮทันที
เมื่อได้ดูมติที่ประชุมซึ่งผลที่ออกมาอย่างไม่ยุติธรรมเช่นนี้ย่อมเป็นเรื่องไม่แปลกที่เราพบว่าชนชาวเคาะวาริจญ ได้กล่าวว่าคอลีฟะฮ์ได้ยอมรับมติที่มีความขัดแย้งกับวัตถุประสงค์และคำสอนจากอัลกุรอาน
ในเวลานั้น  พวกเคาะวาริจญมีความเข้มแข็งมาก  คนพวกนี้โกรธแค้นอาลีจนผู้นำคนหนึ่งได้ขู่อาลีว่าถ้าหากเขายอมฟังคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการในเรื่องเกี่ยวกับคัมภีร์ของอัลลอฮI  พวกเขาจะต่อต้านเขาเพื่อหวังความโปรดปรานของอัลลอฮI   หลังจากนั้น   พวกเขาก็มาชุมนุมกันที่บ้านของอับดุลลอฮ  บิน  วะฮับ  อัรรอซิบี   ผู้เตือนให้ผู้คนดำเนินชีวิตด้วยคุณธรรมและเตรียมตัวไว้สำหรับโลกหน้าด้วยถ้อยคำที่เผ็ดร้อน   เขาได้ขอให้คนเหล่านั้นกำชับกันในเรื่องความดี และห้ามปรามความชั่วและประณามคนอื่นทั้งหมดว่าเป็นผู้ฝ่าฝืน   เขายังได้ขอให้พวกเคาะวาริจญออกจากถิ่นที่อยู่ของตัวเองไปอาศัยอยู่ในหุบเขาบางแห่งหรือไปยังมะดาอินเพื่อยึดเมืองและอาศัยอยู่ที่นั่นตามหลักการของพวกเขา   ดังนั้น   คนพวกนี้จึงละทิ้งบ้านช่องและญาติพี่น้องของตนโดยคิดว่านี่คือการมีส่วนในหนทางแห่งคุณธรรม

7.การกำเนิดของกลุ่มเคาะวาริจญ
ภายหลังจากที่ได้มีการเจรจาเพื่อตัดสินชี้ขาดในสงครามซิฟฟิน ระหว่างอาลีและมุอาวียะฮสร็จสิ้นแล้วโดยฝ่ายอาลีมีอบูมูซา  อัลอัชอารีและฝ่ายมุอาวียะฮมีอัมร อิบนุอัลอาศป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินชี้ขาด  ในการตัดสินนี้อบูมูซา  อัลอัชอารีต้องการให้ทั้งสองฝ่ายหมดอำนาจแต่อัมรอิบนุอัลอาศต้องการให้อาลีหมดอำนาจเพียงคนเดียว ซึ่งคำตัดสินดังกล่าวนั้นได้ถูกอ่านให้คนในเผ่าบานีตะมีมฟัง  โดยอัซอัซ บินก็อยซและจากข้อตกลงนี้เป็นเหตุให้ อูรวะ  บินอุซินา ลุกขึ้นพรวดขึ้นมาและกล่าวว่าเจ้าแต่งตั้งคนตัดสินในศาสนาของอัลลอฮกระนั้นหรือการกระแนะกระแหนของอูรวะฮได้ทำให้กลุ่มกุรรอฮเห็นพ้องด้วยและพากันลุกขึ้นมาตะโกนว่าการตัดสินเป็ของอัลลอฮเท่านั้นจากนั้นกลุ่มกูรรอฮได้ถอนตัวออกจากแนวหน้าของท่านอาลีเป็นจำนวนมากทั้งๆที่บุคคลเหล่านี้เคยเข้าร่วมสู้รบในสงครามชิฟฟินร่วมกับท่านอะลีทั้งนี้เนื่องมาจากพวกเขาไม่ต้องการเห็นความเฉลียวฉลาดที่มีแนวทางไม่ค่อยยุติธรรมที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากฝ่ายมุอาวียะฮ เพราะฝ่ายมุอาวียะฮนั้นมีความฉลาดเป็นพิเศษในกลลวง  และเคยมีความฉลาดมานักต่นักต่อฝ่ายตนมามากต่อมาก  และพวกเขายังคาดว่ามัจญลิสตะหกีมที่จะจัดให้มีขึ้นนี้ฝ่ายมุอาวียะจะได้ใช้หลักการอัลกูร-อ่านเป็นเครื่องตัดสิน (ตามที่ได้ชี้ให้เห็นถึงการแขวนอัล-กุรอานบนปลายหอก) แต่ขณะนี้พวกขาคาดว่ามัจญลิสญตะหกีมจะต้องแฝงด้วยกลทางการเมืองอีกมาก และสติปัญญาของมนุษย์เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องตัดสินชี้ขาดต่อปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น โดยอาศัยกฎเกณฑ์ของมนุษย์ไม่ใช่กฎเกณฑ์หรือหุก่มจากอัลกุรอานและกลุ่มที่แยกออกจากฝ่ายของอาลี  จะรู้จักกันในนามของเคาะวาริจญ
              ตามประวัติศาสตร์ในขณะที่คอลีฟะฮ์เดินทางมาสู่กูฟะฮ์  จากสนามรบซิฟฟินทันใดนั้นก็ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งแสดงปฏิกิริยาต่างกันและเป็นกบฏต่อคอลีฟะฮ์  จำนวนของพวกเขารวมแล้ว 1200 คน ต่างก็แยกตนเองออกจากอำนาจของท่านอาลีพวกเขาได้ละทิ้งกูฟะฮ์ และได้เดินทางไปยังสถานที่แห่งหนึ่งที่เรียกว่าฮารุรอฮหัวหน้าของพวกเขาคือซิบต์”  บุตรรูเบียะ  สำหรับอิหม่ามนำหน้าการละมาดของพวกเขาคืออับดุลลอฮ  บุตรอัล- คอวาอัล-ยาซีกูซีพวกเขาได้ใช้คำขวัญว่าการตัดสินเป็นของอัลลอฮ I  เท่านั้น
ชนชาวเคาะวาริจญต่างก็ได้เห็นว่าอาลีหันเหออกจากหุก่มของอัลลอฮ I (อัลกุรอาน) เพราะยอมรับให้มีการจัดตั้งมัจญลิสตะหกีม  ซึ่งบุคคลทั้งสองทั้งอาลีและมุอาวียะฮต่างก็มีความผิดทั้งสองคน
เมื่อพวกเขามีความคิดเห็นเช่นนั้น  ฝ่ายคอลีฟะฮ์ จึงได้ส่ง อิบนุอับบาส ไปทำความเข้าใจกับพวกเขาและเพื่อดึงพวกเขากลับมา อิบนุอับบาสได้กล่าวว่า การจัดให้มีการประชุมมัจญลิสตะหกีมครั้งนี้จะเป็นที่ยอมรับก็ต่อเมื่อไม่มีการขัดแย้งกับอัลกุรอานเมื่อได้ฟังเหตุผลดังกล่าวสถานการณ์ก็ค่อยๆ ผ่อนคลายจากความตึงเครียดลงและท่านอาลีได้เข้าไปพบพวกเขา  หลังจากนั้นก็ได้รับความสำเร็จในการพาคนเหล่านั้นกลับสู่กูฟะฮ์   แต่การกลับมามีแค่บางส่วนเท่านั้น  โดยส่วนใหญ่ยังคงไม่ยอมกลับและยืนหยัดอยู่บนจุดยืนของตัวเอง  คนพวกนี้ตกลงกันว่าจะเข้มงวดในเรื่องการกำชับกันในการทำความดี ห้ามปรามความชั่วและก็คัดค้านอาลีอย่างรุนแรงที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์ดีกว่าถ้อยคำของพระเจ้า

 

กลับสู่กูฟะฮ์ แต่สามารถกลับมาได้เพียงบางส่วน

                การต่อสู้ดิ้นรนของลุ่มเคาะวาริจญในเรื่องนี้ ก็เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปตามกฎเกณฑ์หรือ หุก่มของอัลลอฮ I ซึ่งได้มีบัญญัติไว้ในอัลกุรอาน ตอนแรกพวกเขาคล้ายเป็นกลุ่มชนที่มีอุดมการณ์อิสลามแต่ในระยะหลังกลุ่มนี้ก็ได้เพิ่มจำนวนขึ้นแล้วก็ได้พัฒนามาเป็นสำนักคิดหนึ่ง (แนวความคิดเพื่อใช้ในการต่อสู้) ที่มีการผสมผสานกลมกลืนทั้งด้านอากีดะฮ(ความเชื่อ) หุก่มและวิธีทางการเมือง  ผู้นำของกลุ่มนี้ในระยะของการเริ่มต้นคือ  อับดุลลอฮ์  บุตรวะบ์  อัรอาซี  เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าของเคาะวาริจญที่ได้จัดให้มีการประชุมในวันที่  10 เดือนเชาวาล ฮ..37 (..) ความคิดบางประการของกลุ่มเคาะวาริจญมีดังนี้
                1.มนุษย์ไม่สามารถที่จะไปก้าวก่ายในบรรดาหุก่มต่างๆของอัลลอฮ I เพราะหุก่มต่างๆนั้นเป็นสิทธิแห่งอัลลอฮI  อำนาจอันสูงสุดของรัฐคืออำนาจแห่งอัลลอฮI และหุก่มที่ได้จากคัมภีร์ของพระองค์  (อัลกุรอานเป็นการตัดสินและเป็นกฎหมายของรัฐ(ประเทศ) ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วฐานะเช่นนี้ย่อมเป็นสัจธรรม
                2.คอลีฟะฮ์ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนมุสลิมตราบใดที่เขายังมีความเหมาะสมอยู่ ฉะนั้นคอลีฟะฮ์นั้นจะต้องคัดเลือกจากบุคคลที่มีความเหมาะสม และเป็นผู้ที่มีความสามารถในอันที่จะรักษาและปกป้องกฎเกณฑ์แห่งอัลลอฮI พวกเขาไม่จำเป็นจะต้องคัดเลือกจากหมู่ชนใดหมู่ชนหนึ่งหรือเผ่าใดเผ่าหนึ่งโดยเฉพาะ
                3.ความศรัทธา (อีมาน) ย่อมครอบคลุมฟัรฎู (หน้าที่อันจำเป็น) ทางศาสนา   ผู้ใดก็ตามที่ละทิ้งความจำเป็นอันบังคับเอาไว้เหล่านี้ก็ต้องถือว่าทำบาปใหญ่    สำหรับผู้ปฏิบัติเยี่ยงนั้นก็ย่อมถือว่าเป็นกุฟุร  ถ้าหากผู้นั้นไม่เตาบะฮ (ต้องการลุกะโทษ) ผู้นั้นก็สมควรที่จะถูกฆ่า
                4.การกุฟุรนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหุกุมที่อัลกุรอานได้กำหนดไว้ แต่เราได้เห็นว่าพวกเขาได้กล่าวหาทุกๆ คนที่เข้าร่วมในสงครามซิฟฟิน  และมัจญลิสตะหกีมว่าเป็นกุฟุร เพราะคนเหล่านั้นถูกกล่าวหาว่าได้ละเลยที่จะตัดสิ้นด้วยหุก่มของอัลลอฮI
                5.พวกเขาได้อนุญาตให้ต่อต้านคอลีฟะฮN  (หัวหน้ารัฐ) ที่ฟาซิค (ชั่วร้ายเพราะไม่ได้ปฏิบัติตามครรลองของบทบัญญัติแห่งมหาคัมภีร์ของอัลลอฮ I  หรือก็เช่นเดียวกับพฤติกรรมที่ชั่วร้าย เช่นการดื่มสุรายาเมา ละทิ้งการนมาซห้าเวลา)
                ชนชาวเคาะวาริจญนั้นในสมัยแรกของการกำเนิดขึ้นมาเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นกลุ่ม    “ฮุรูรียะ”  ผู้นำของพวกเขาในสมัยนั้นคือ  อับดุลลอฮ์บุตรวะบ์  อัรรอซีฮัรกุส
                เมื่อเป็นเช่นนี้เคาะลีฟะฮอาลีจึงต้องสูญเสียผู้คนที่สนับสนุนท่านอีกเป็นจำนวนมาก (ประชาชนของท่านเอง)และพวกเขาเหล่านั้นก็หันปลายหอกและปลายดาบมาต่อต้านอาลีเสียเอง
                ขณะนั้นท่านอาลีได้แต่เคลื่อนไหวพร้อมกับผู้สนับสนุนท่านเพื่อต่อต้านมุอาวียะฮ  ซึ่งภายหลังเป็นที่รู้จักกันในนามของชีอะก่อนนี้คำว่าชีอะมีความหมายถึง  “กลุ่มเท่านั้นจากนั้นได้เป็นที่รู้จักกัน อีกว่าเป็นฟิรเกาะเป็นกลุ่มผู้ติดตามท่านอาลีและผู้นำ (อีมาน) และเป็นอาลาวียะฮ์(ครอบครัวของท่านอาลี)
โดยสรุปแล้ว
กลุ่มเคาะวาริจญ คือกลุ่มที่เคยสนับสนุนท่านอาลีมาก่อน  แต่ตอนหลังเกิดความไม่พอใจและได้ถอนตัวเองออกจากกลุ่มของท่านอาลี  สาเหตุเพราะเกิดจากท่านอาลียอมรับข้อเสนอ การยุติข้อพิพาทโดยผ่านมัจญลิสตะหกีมกับมูอาวียะฮโดยพวกคอวาริจญกล่าวว่า  มนุษย์ไม่สามารถที่จะสร้างกฎของอัลลอฮ Iได้ และไม่มีกฎใดๆนอกจากกฎของอัลลอฮ I เท่านั้น
               
8.สงครามนะฮรอวาน
                เป็นสงครามที่ท่านอาลีได้ทำกับพวกเคาะวาริจญ ผู้ที่แยกตัวออก )ได้มีการการเจรจาตกลงกันว่าทั้งอะลีและมุอาวียะฮควรจะสละตำแหน่งของตนและจัดให้มีการเลือกตั้งคอลีฟะฮ์กันใหม่ทั้งนี้เพื่อเป็นการยุติสงครามนองเลือด   ในการเจรจาขั้นตอนนี้เอง ตัวแทนของมุอาวียะฮได้ใช้ความเฉลียวฉลาดประกาศให้ตัวแทนของอาลีประกาศปลด ท่านอาลีออกจากตำแหน่งคอลีฟะฮ์  หลังจากนั้น  ตัวแทนของมุอาวียะฮก็ลุกขึ้นมาประกาศทันทีว่าหลังจากการเสียชีวิตของคอลีฟะฮ์อุษมานแล้ว  มุอาวียะฮ  คือผู้ที่เหมาะสมที่สุดที่จะได้รับการคัดเลือกให้เป็นคอลีฟะฮ์  ความเฉลียวฉลาดเช่นนี้สร้างความโกรธแค้นให้แก่คนของฝ่ายท่านอาลีเป็นอย่างมาก  คนพวกนี้ไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าวและเตรียมตัวทำสงครามกับมุอาวิยะฮอย่างเต็มที่
            ส่วนในอีกด้านหนึ่ง  พวกเคาะวาริจญก็แสดงการไม่เห็นด้วยกับการเจรจาดังกล่าวและถือว่าทั้งสองฝ่ายคือผู้ก่อปัญหา  เมื่อมีผู้คนมาเข้าร่วมกับพวกเคาะวาริจญมากขึ้น สถานการณ์ความไม่สงบในอิรักก็เริ่มเลวลง  พวกเคาะวาริจญได้ไปชุมนุมกันที่นะฮรอวานโดยตั้งใจที่จะทำสงครามต่อต้านคอลีฟะฮ์อาลี  ดังนั้นคอลีฟะฮ์อาลี จึงต้องเลื่อนการทำสงครามกับมุอาวียะฮออกไปและนำกำลังทหารของท่านจำนวนประมาณ 80,000  คนมุ่งหน้าตรงไปยังนะฮรอวาน เมื่อไปถึงที่นั้น      คอลีฟะฮ์อาลีใช้ความพยายามทุกอย่างในการที่จะแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี   ท่านถึงกับชูธงแห่งสันติภาพขึ้นและประกาศว่าใครก็ตามที่มาชุมนุมอยู่รอบธงนี้จะได้รับการอภัยโทษและได้รับความปลอดภัย  พวกเคาะวาริจญหลายคนได้ตรงมายังธงนั้นและอีกหลายคนได้ถอนตัวเดินทางกลับบ้านของตน  แต่ยังมีแกนนำอีกประมาณ  4,000  คนยืนยันในเจตนารมณ์เดิมของตนอยู่คนพวกนี้ได้ทำสงครามอย่างดุเดือดกับกองทหารของอะลีและถูกปราบปรามลงอย่างราบคาบ
                ถึงแม้คอลีฟะฮ์อาลีจะได้ชัยชนะในสงครามที่นะฮรอวาน   แต่การต่อสู้อย่างบ้าเลือดของพวกเคาะวาริจญก็สร้างความเหนื่อยล้าและความขวัญเสียให้แก่กองทัพของท่านอาลี   หลังจากสงคราม    แทนที่จะมุ่งหน้าไปยังซีเรียเพื่อทำสงครามกับมุอาวียะฮ  ทหารในกองทัพของท่านอาลีจึงหันหน้ากลับบ้านของตน  ดังนั้น ท่านอาลีจึงเลิกล้มความคิดที่จะต่อสู้อีกต่อไปและได้กลับไปยังกูฟะฮ์แทน    ในขณะเดียวกันมุอาวียะฮก็ส่งทหารของเขาจำนวน  6,000   คนไปยังอียิปต์และยึดเมืองไว้ปฏิบัติการทางทหารของเขาครั้งนั้นทำให้เขามีอำนาจและชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น  หลังจากนั้นเขาก็เริ่มปฏิบัติการทางทหารในฮิญาซ  อิรัคและญะซีเราะฮซึ่งสร้างบรรยากาศความวุ่นวายขึ้นแต่อย่างไรก็ตาม  กองทหารของอะลีก็ได้โต้ตอบและสามารถยึดดินแดนที่มุอาวียะฮยึดครองไว้กลับคืนมาได้
หลังจากนั้นอีกไม่นาน มุอาวิยะฮ.ก็ส่งทหารจำนวน   3000   คนมายังฮิญาซและยึดมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ไว้   ดังนั้น   ท่านอาลีจึงได้ส่งทหารจำนวน   4000   คนมายังฮิญาซและสามารถขับไล่กองทหารจากซีเรียออกไปได้   ในขณะที่สถานการณ์ภายในมีความตึงเครียดและเต็มไปด้วยการต่อสู้นี้เอง   พวกผู้นำในคิรมานและฟาริสได้ก่อกบฏขึ้นแต่ก็ถูกปราบปรามลงในเวลาต่อมา   หลังจากนั้น ทั้งอะลีและมุอาวิยะฮก็ทำสัญญาสงบศึกกันเพราะความเบื่อหน่ายต่อการสู้รบที่ไม่รู้จักจบจักสิ้น และทำให้เกิดปัญหาใหม่ๆติดตามมา ตามสัญญาสันติภาพดังกล่าว  ฮิญาซ  อิรัคและดินแดนทางตะวันออกทั้งหมดจะยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของเคาะลีฟะฮอะลี   ส่วนมุอาวิยะฮจะปกครองซีเรีย อียิปต์ และดินแดนทางด้านตะวันตก   ดังนั้นแผ่นดินอิสลามในเวลานั้นจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยมีเคาะลีฟะฮสองคนปกครอง   นี่เป็นเรื่องที่เศร้าที่สุดในประวัติศาสตร์อิสลามเพราะมันทำลายพลังความสมานฉันท์แห่งอิสลาม   ความเป็นพี่น้องกันของมุสลิมและกระบวนการประชาธิปไตยตามแบบอิสลาม
                อย่างไรก็ตาม   ถึงแม้ว่าสถานการณ์ทั่วไปจะดูสงบแต่หลังจากพ่ายแพ้ที่นะฮรอวาน   พวกเคาะวาริจญก็ยังคงดำเนินกิจกรรมใต้ดินอยู่   เช้าวันหนึ่งในเดือนรอมมะฎอน   อิบนุ  มุลญัม  ซึ่งเป็นสมาชิกของพวกเคาะวาริจญคนหนึ่งได้ลอบสังหารเคาะลีฟะฮอะลีด้วยกริชอาบยาพิษ   ในขณะที่ท่านนำนมาซก่อนรุ่งอรุณอยู่หลังจากนั้นได้สามวัน   คอลีฟะฮ์อาลีก็เสียชีวิตในวันที่   20   เดือนรอมฎอน   ฮ..   40   ก่อนที่จะเสียชีวิต   ท่านได้กำชับอย่างชัดเจนว่าการลงโทษฆาตกรจะต้องเป็นไปตามหลักการของชะรีอะฮ (กฎหมายอิสลาม) อย่างเคร่งครัด   นั่นคือเฉพาะฆาตกรที่ฆ่าท่านเท่านั้นที่จะต้องถูกประหาร และห้ามประหารมุสลิมคนอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

9.วาระสุดท้ายของอาลี
อิบนุ กะษีรได้พูดถึงเหตุการณ์วันสุดท้ายของท่านอาลีไว้ดังนี้ :
 “ผู้บังคุมบัญชาแห่งศรัทธาชนรู้สึกรังเกียจสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นมาก กองทัพของเขาไม่มีวินัยและไร้ระเบียบ คนอิรักก็เริ่มไม่เชื่อฟังเขาและไม่ยอมให้ความร่วมมือ ในทางตรงข้ามพวกซีเรียกลับมีความเข้มแข็งและกำลังบุรุกเขตแดนของเขา คอลีฟะฮ์อาลี บิน อะบีฏอลิบ ผู้ปกครองอิรักซึ่งเป็นคนที่มีคุณธรรมที่สุด เคารพอัลลอฮ I  มากที่สุด ไม่คิดคำนึงถึงตัวเองมากที่สุด มีความรู้มากที่สุดและเกรงกลัวพระเจ้ามากที่สุดบนแผ่นดินในเวลานั้นยังถูกทุกคนทอดทิ้ง ถึงขั้นนี้ผู้บังคับบัญชาแห่งศรัทธาชนก็ดูเหมือนจะเบื่อหน่ายต่อชีวิต เขาอยากตายและกล่าวพร้อมกับชี้ไปยังเคราของเขาว่านี่มันควรจะถูกย้อมด้วยเลือดหัวและนี่คือสิ่งที่ในที่สุดก็เกิดขึ้นได้
                การลอบสังหารอะลีเป็นผลมาจากการวางแผนของพวกเคาะวาริจญสามคนซึ่งประกอบด้วยอับดุลเราะมาน บิน อัมร หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า  อิบนุ มุลญัม และบุร็อก บิน อับดุลลอฮ บิน ตะมีมีกับอัมร์ บิน บักร์ อัตตะมีมีสามคนนี้ได้พบกันลับๆ เพื่อวางแผนฆ่าท่านอาลีที่นะฮรอวาน พวกเขาวิงวอนต่อพระเจ้าให้อภัยพวกเขาในโลกหน้า แล้วปรึกษากันว่าถ้าพวกเขาสามารถฆ่าผู้นำกองทัพทั้งสองฝ่ายที่กำลังทำสงครามล้างผลาญกันๆ พวกเขาก็จะรักษาประเทศและแก้แค้นแทนพี่น้องของพวกเขาที่ถูกสังหารไปได้ หลังจากนั้นพวกเขาก็ตกลงกัน
อิบนุ มุลญัม รับผิดชอบในการลอบสังหารคอลีฟะฮ์อาลี ส่วนบุร็อกรับผิดชอบในการสังหารมุอาวียะฮและอัมร์ บิน บักร์ จะจัดการอัมร์ บิน อัลอาศคนสาบานว่าจะฆ่าคนที่ถูกมอบหมายให้ได้หรือไม่ก็ยอมตายไปหากงานไม่สำเร็จ หลังจากนั้นพวกเขาก็เอาดาบจุ่มยาพิษและตกลงกันว่าแต่ละคนจะอยู่ในสถานที่ที่ตนเองจะต้องลงมือปฏิบัติตมแผนการในคืนของวันที่ 17 เดือนรอมฎอน
                อิบนุ มุลญัมได้ไปยังกูฟะฮ์ และไม่ได้เปิดเผยแผนการของตนแม้แต่พวกเคาะวาริจญด้วยกันที่นั่น ในคืนวันศุกร์ที่ 17 เดือนรอมมาฎอนเขาได้นั่งอยู่ตายประตูหลังคาหน้าบ้านที่อะลีมักจะผ่านไปยังมัสยิด
                เช้าวันนั้น คอลีฟะฮ์อาลีได้ออกจากบ้านเพื่อไปนมาซในตอนก่อนรุ่งอรุณและปลุกคนอื่นๆ ให้ลุกขึ้นไปนมาซ เมื่อผ่านไปถึงตรงนั้น อิบนุ มุลญัม ก็พุ่งเข้าฟันเขาที่ศรีษะพร้อมกับตะโกนว่าคำบัญชาเป็นของอัลลอฮ I เท่านั้นไม่ใช่ของเจ้าหรือของพวกเจ้าเคราของท่านอาลีแดงฉานไปด้วยเลือดที่ไหลลงมาอาบ เขาร้องตะโกนให้จับคนลอบสังหารและผู้คนสามารถจับได้ทันที่ท่านอาลีได้ขอให้ญะลี บิน ฮุบัยเราะฮ บิน อบีวาฮับ เป็นผู้นำนมาซหลังจากนั้นก็ถูกอุ้มไปยังบ้าน เขากล่าวว่าเขาจะต้องถูกประหารหากว่าฉันเสียชีวิต แต่ถ้าฉันยังอยู่ ฉันรู้ว่าจะจัดการเขาอย่างไรเมื่ออิบนุ มุลญัมถูกนำตัวมาหาเขา เขาก็ได้ออกคำสั่งว่ากักตัวเขาไว้และปฏิบัติต่อเขาอย่างเป็นธรรมถ้าฉันยังมีชีวิอยู่ ฉันจะตัดสินว่าจะจัดการเขาอย่างไร จะให้อภัยหรือแก้แค้น แต่ถ้าฉันตาย การตอบแทนก็คือชีวิตต่อชีวิตแต่อย่าสับร่างเขา
                ในตอนท้ายของคำสั่งเสียของฮาซันและฮุเซนลูกชายของเขา ท่านคอลีฟะฮ์อาลีได้กล่าวว่า  ลูกพ่อ จงอย่าหลั่งเลือดมุสลิมโดยไม่มีเป้าหมาย และจงอย่าฆ่าผู้ใดนอกไปจากคนที่ลอบสังหารพ่อ ฟังให้ดี ถ้าพ่อเสียชีวิต  เพราะถูกฟันเพียงครั้งเดียว เจ้าก็จงฟันเขาเพียงครั้งเดียวอย่าสับร่างของเขาเพราะพ่อเคยได้ยินท่านนบี  ห้ามสับร่างของสิ่งมีชีวิตใดๆหลังจากที่ถูกฆ่าแล้ว ถึงแม้มันจะเป็นหมาก็ตาม
                ญุนดับ บิน อับดุลลอฮ ได้ถามคอลีฟะฮ์อาลีว่าท่านผู้บังคับบัญชาแห่งศรัทธาชน เราควรจะแสดงสัตย์ปฏิญาณจงรักภักดีต่อฮาซันแทนท่านหรือไม่? “  ท่านคอลีฟะฮ์อาลีได้ตอบว่าฉันไม่สั่งและฉันไม่ห้าม
                มีรายงานด้วยคำพูดสุดท้ายของท่านคอลีฟะฮ์อาลีคือและใครที่ทำดีแม้แต่เพียงอณูหนึ่ง เขาก็จะได้เห็นมัน และใครที่ทำชั่ว   แม้แต่เพียงอณูหนึ่ง เขาก็จะได้เห็นมัน
                ท่านคอลีฟะฮ์อาลีได้สั่งให้ลูกชายของเขาเกรงกลัวอัลลอฮ I  และดำรงตนอยู่ในคุณธรรม เขาได้กล่าวคำสั่งเสียสุดท้ายของเขาไว้ด้วย
หลังจากที่ถูกจับได้ อิบนุ มุลญัม ได้กล่าวว่าแผลที่ฉันฟันเขานั้นเพียงพอที่จะฆ่าคนทั้งหมดของเมืองนี้ ขอสาบานต่ออัลลอฮI  ฉันได้อาบยาพิษดาบของฉันมาเป็นเดือน ซื้อมันมาด้วยเงินดิรฮัมและใช้อีกเป็นพันในการอาบยาพิษมัน
                ท่านคอลีฟะฮ์อาลีได้สิ้นชีวิตในวันศุกร์ตอนเช้าของวันที่ 17 เดือนรอมฎอน ฮ..40/24 มกราคม ค..661 เมื่ออายุได้ 63 ปี หลังจากที่ดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ได้ 4 ปี 9 เดือน ผู้นำนมาซให้แก่ศพของเขาคือ ฮาซันและร่างของเขาได้ถูกฝังไว้ภายในบริเวณที่ทำการของรัฐที่กูฟะฮ์ ทั้งนี้เนื่องจากเกรงกันว่าพวกเคาะวาริจญ์อาจพยายามขุดศพของเขาขึ้นมา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น