เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คอลีฟะฮ อุษมาน บินอัฟฟาน ตอนที่ 4




โดยอาจารย์ รอฟลี แวหะมะ อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี  เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อิสลาม โดยเฉพาะ
เหตุการณ์ต่างๆ และโศกนาฎกรรมที่เกิดตามมา มีดังนี้:
          กลุ่มกบฎ
   คอลีฟะฮ์รู้สึกว่าสถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้นได้เกิดความระส่ำระสายขึ้นแล้ว  และเพื่อระงับเรื่องนี้  ในฤดูฮัจญ์ (.. 34)  ท่านได้เชิญชวนผู้ครองแคว้นต่างๆ  เข้าปรึกษาหารือ  ผู้ครองแคว้นคนหนึ่งต้องการให้คอลีฟะฮ์ใช้วิธีการที่รุนแรงในการปราบปราม  แต่คอลีฟะฮ์ไม่ต้องการ เกรงว่าจะก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงยิ่งไปกว่านี้  มุอาวียะฮฺผู้กุมอำนาจสูงสุด  ในดินแดนที่ยึดมาได้อย่างกว้างขวางนั้นยินดีที่จะส่งกองทัพที่เข้มแข็งจากซีเรียไปปราบแต่คอลีฟะฮ์ก็ปฏิเสธ ด้วยการให้เหตุผลว่า  ท่านไม่ต้องการสร้างความลำบากใจแก่ชาวเมืองมะดีนะฮฺ หรือต้องทำให้    มักกะฮฺต้องเปื้อนเลือด (หากเกิดการสู้รบขึ้นท่านคอลีฟะฮ์อุษมานส่งคณะฑูต 4 ท่าน ไปยังดินแดนต่างๆ  ของฝ่ายกบฏเพื่อตรวจสอบสถานการณ์ที่แท้จริง  บุคคลทั้งสามได้แจ้งแก่ท่านว่าเหตุการณ์ทั้งหลายอยู่ในภาวะปกติแก่ทูตที่ส่งไปยังอียิปต์  แต่อัมมาร์บุตรยาซิรฺไม่เดินทางกลับมา     อาจเป็นไปได้ว่าเขาได้รับการจูงใจหรือคล้อยตามพวกกบฏเหล่านั้น
   ความเคลื่อนไหวจากฝ่ายกบฎ ไม่อาจระงับยับยั้งได้อีกแล้ว แม้ว่าการกบฏที่เกิดขึ้นนั้น มีความขัดแย้งกับหลักการเบื้องต้นของศาสนาอิสลาม และได้ล่วงเกินมติในที่ประชุมเพื่อทำการเลือกคอลีฟะหฮฺ โดยคณะที่ถูกแต่งตั้งจากคอลีฟะฮ์อุมัร
   ในปี  ฮ..  35 กลุ่มกบฎในอียิปต์ กูฟะฮฺ และบัศเราะฮฺได้เคลื่อนพลพร้อมๆ กัน มุ่งสู่มาดีนะฮฺจำนวนรี้พลทั้งสิ้นเกือบ 3000 คน
   กองกำลังจากอียิปต์ภายใต้การนำของมุฮำหมัดบุตรอบูบักรฺ   (บางข่าวก็กลาวว่าเป็น อัล-ฆอฟิกีอิบนุฮัรบ์) โดยในขณะบุคคลเหล่านั้น ได้มีผู้ติดตามชื่ออับดุลลอฮฺ บุตรซอบารฺอยู่ด้วย
   ส่วนกองกำลังจากกุฟะอิ ก็อยู่ภายใต้การนำของซัยต์บุตรเซาฮานอัลอับดิ และกองกำลังจากบัศเราะศฺ  ภายใต้การนำของฮุกัยมฺบุตรยะบาละห์อัลอับดิ ผู้ที่มาจากอียิปต์มีความสำพันธ์กับท่านอาลีผู้ที่มาจากกุฟะฮฺมีความสัมพันธ์กับซุบัยร์และผู้ที่มาจากบัศเราะฮฺมีความสัมพันธ์กับฎ็อลฮะฮฺ ในสถานการณ์ที่ต่างกันและไม่ไกลไปจากเมืองมาดีนะฮฺ พวกเขาได้แจ้งความจำนงให้          คอลีฟะฮ์ปลด มัรวาน บุตร  อัล-หะกัมออกจากตำแหน่ง  และเจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆก็ต้องเปลี่ยนเป็นบุคคลอื่นๆ เช่นกัน  พวกเขาต้องการให้เศาะฮาบะฮฺ  ที่พวกเขาได้ติดต่อไว้ ขึ้นดำรงตำแหน่งเหล่านั้นแทน  (ท่านอาลีในอียิปต์  อัซ-ซุบัยรฺที่กูฟะและฎ็อลฮะฮฺที่บัศเราะฮฺ) เศาะฮาบะฮฺทั้งสามท่านดังกล่าวต่างก็ทราบดีถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น  เป็นที่ทราบกันดีว่าด้วยคุณธรรมอันดีงามของพวกเขา ทำใหัท่านคอลีฟะฮ์อุษมานแก้ไขยินยอมทีจะแก้ไขสถานการณ์ทั้งหมด  แต่ความต้องการของฝ่ายกบฏเรื่องสุดท้ายนั้น  บรรดาศอฮาบะหฮฺทั้งสามต่างก็ได้ปฏิเสธแม้ว่าพวกเขาจะได้รับการสนับสนุนจากบุคคลเหล่านั้น  เมื่อเป็นเช่นนี้สถานการณ์ก็คืนกลับสู่ภาวะปรกติ  ฝ่ายกบฏก็เดินทางกลับเมืองเดิมของพวกเขา
   ในบรรดากบฏเหล่านั้น กลุ่มที่มาจากอียิปต์ ได้รับความสำเร็จมากกว่ากลุ่มอื่น  เพราะหัวหน้าของพวกเขามูฮำหมัด  บุตรอบูบักร  (เมื่อท่านอลีได้ตอบปฎิเสธไปแล้ว) ได้รับการรับรองจากคอลีฟะฮ์เพื่อให้เขาครองอียิปต์แทน  อับดุลลอฮฺบินสะอด์  พร้อมกับคณะเหล่านั้น
   คอลีฟะฮ์ได้ส่งบุคคลจากฝ่ายมูฮายีรีนและอัรศอร ไปเป็นพยานและเป็นฑูตสันติเจรจาเพือให้เกิดความปรองดองระหว่างกัน (หากจะได้รับการต่อต้านขัดขวางจากเจ้าผู้ครองแคว้นขณะนั้น คือ อับดุลลอบุตรสะด์)
   ในระยะนี้คอลีฟะฮ์ก็ยินยอมผ่อนปรน ต่อท่านอาลีและยินยอมจะรับฟังคำแนะนำจากท่าน โดยปฏิเสธที่จะฟังคำแนะนำจากมัรวานอีกต่อไป และคำสำหรับเรื่องนี้ คืนกลับเข้าสู้สัจจะธรรมและความยุติธรรม  เตาบะ”) ได้กระทำขึ้นที่มัสยิดนะบะวีย์ ตามคำร้องขอของท่านอาลีท่ามกลางประชาชนเป็นจำนวนมาก
ในความเป็นจริงนั้นท่านคอลีฟะฮ์อุษมานไม่เคยไม่เคยมีความกินแหนงแครงใจกับท่านอาลีเพราะท่านอาลีเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์  มีความบริสุทธิ์ใจอย่างสม่ำเสมอ
   ซัยยิดะหฮฺอาอีฉะฮฺและอัมรบุตรอัล-อาศ ก็ได้ประจักษ์ ถึงการเตาบะฮฺ  (กลับตัว) ของท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน  ต่อพฤติกรรมที่ล่วงมาแล้วข้างต้นความลับถูกเปิดเผย   แต่ทว่าในขณะเดินทางกลับระหว่างทางกลับนั้น  (ภายในเวลา3วัน) คณะผู้ที่มาจากอียิปต์ได้เผชิญกับบุคคลผู้หนึ่งซึ่งขี่อูฐผ่านไปอย่างรวดเร็วผ่านหน้าพวกเขาไป และอูฐที่เขาขี่เป็นอูฐของคอลีฟะฮ์    กาฬบุตรเป็นผู้ขับอูฐตัวนั้น พวกเขาจึงต่างก็มีความสงสัยว่าน่าจะมีสาส์นของคอลีฟะฮ์  คณะที่มาจากอียิปต์จึงเข้าขัดขวาง  และค้นพบสาส์นฉบับหนึ่งแนบซุกอยู่ภายใต้กล่องไม้ไผ่เล็กๆห่อหุ้มด้วยเงินประทับตราของคอลีฟะฮ์  สาส์นฉบับนั้นได้นำส่งไปยังอับดุลลอลบุตรสะด์   เจ้าผู้ครองแคว้นอียิปต์บางส่วนของประโยคต่างๆ ในสาส์นนั้นได้เขียนคำว่า   (ยังไม่ได้ใส่จุดและยังไม่มีตัวสระ  เป็นอักขระในอัลกุรอานและเป็นภาษาอาหรับในสมัยของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานอันเนืองมาจากสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความโกธรแค้น  ความเหน็ดเหนื่อย  และความสงสัยต่างๆ นานา  เพราะการเดินทางในระยะที่ไกลมากนั้นทำให้พวกเขาสื่อความหมายว่า
   “เมื่อมูฮัมหมัดบุตรอบูบักรได้มาถึงเขาและได้ถูกฆ่าตายทันทีไม่ใช่สื่อความถึงการ  ถูกรับรอง”  (ซึ่งความจริงแล้วในประการหลังเป็นความหมายอันแท้จริงจากท่านคอลีฟะฮ์อุษมานที่จะให้ผู้ครองแคว้นอียิปต์ขณะทำการรับรองการแต่งตั้งมูฮัมหมัดบุตรอบูบักรเป็นข้าหลวงแทนท่าน) เมื่อคำดังกล่าวมีความหมายที่อาจจะแปลเป็นหลายนัยเช่นนั้น (ตามความเข้าใจในสภาพดังกล่าว) คณะบุคคลที่มาจากอียิปต์ต่างก็กริ้วโกรธต่อท่านคอลีฟะฮ์ที่ปฎิบัติไม่เป็นไปตามวาจาเดิมที่มี่ต่อพวกเขา  เพราะเหตุอะไรหรือท่านคอลีฟะฮ์อุษมานจึงได้เปลี่ยนความคิดเช่นนั้นด้วยการตัดสินให้ประหาร   เมื่อเป็นเช่นนี้พวกเขาก็คิดว่าท่านคอลีฟะฮ์อุษมานใช้วิธีการอันก้าวร้าวและรุนแรงเกินกว่าเหตุ
   ดังนั้น พวกเขาจึงกลับจากมะดีนะฮ์เพื่อต้องการทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ว่า สาส์นฉบับนั้นมาจาผู้ใดกันแน่ ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้ปฎิเสธว่าสาส์นฉบับนั้นตนไม่ได้เป็นผู้เขียน พร้อมกับคำสาบานว่าตนไม่ได้มีความประสงค์เช่นนั้น
   ตามหลักภาษาอาหรับ  (ซึ่งควรแก่การยอมรับ) จะพบว่าคอลีฟะฮ์เป็นผู้เขียนขึ้นมาเองอย่างตรงไปตรงมา ด้วยการให้ความหมายว่า  เป็นที่รับรองไม่ใช่ความหมายว่า ต้องฆ่า”(qutila)  และคำนี้ ก็ยังเปลี่ยนเป็นความหมายอย่างอื่นได้อีกแต่ย่อมไม่เป็นการสมควรที่เคาะลีฟะฮ์จะยอมรับในสถานการณ์ดังกล่าวเพราะ  ภัยอันตรายจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนพร้อมกันนั้นท่านก็ได้ตระหนักถึงความเข้าใจผิดต่อสาส์นฉบับนั้นได้ดี  รวมทั้งความหมายอันแท้จริง  ถ้าหากว่าอักษรภาษาอาหรับในตอนนั้น  มีเครื่องหมายจุดหรือสระแล้วก็ย่อมจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้  อันเป็นสาเหตุให้คอลีฟะฮ์ท่านหนึ่งต้องถูกฆาตกรรม
   นักประวัติศาสตร์บางคนก็ได้กล่าวอ้างว่ามัรวานเป็นผู้เขียนขึ้น เพราะเขาคนเดียวเท่านั้นที่สามารถใช้เครื่องหมายประทับตราของคอลีฟะฮ์ และเขาอีกเช่นกันที่อยู่กับคอลีฟะฮ์ตลอดเวลา   และนักประวัติศาสน์บางคนได้กล่าวว่า  ศัตรูของคอลีฟะฮ์เป็นผู้ร่างสาส์นฉบับนั้น  อาจจะเป็นอิบนูซอบาอ (เจ้ากาฬบุตรก็ได้

บ้านของคอลีฟะฮ์ถูกล้อม

   เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คณะที่ก่อการปฏิวัติจึงบังคับให้ท่านอุสมานลาออกจากตำแหน่งและให้มอบมัรวานแก่พวกตน  แต่คอลีฟะฮ์ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้  เขาได้ลั่นวาจาออกไปว่า  ฉันจะไม่ถอดเสื้อคลุม (คิลาฟัต) ซึ่งอัลลอฮฺได้สวมใสไว้ให้
   ต่อมาบ้านของคอลีฟะฮ์ก็ถูกล้อม ในเวลานั้นเองผู้คนจากบัศเราะฮฺและกูฟะฮฺก็ได้ปรากฏตัวขึ้น การติดต่อได้กระทำกันอย่างรีบด่วน  เพราะเวลานั้นเป็นช่วงฤดูฮัจญ์  ฝ่ายคอลีฟะฮ์เองก็ได้ส่งคณะฑูตหลายคณะออกจากเมื่องมะดีนะฮฺเพื่อส่งข่าวไปให้ผู้ปกครองแคว้นต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์อันเลวร้ายที่เกิดขึ้นในระยะแรก  (30  วันของการเริ่มต้น) เคาะลีฟะฮ์  ยังได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้านของท่านได้เพื่อกระทำหน้าที่เป็นอีหมามในการละหมาดและสามารถใช้น้ำจากบ่อของท่าน   บิอ์รุเราะมะฮฺ  และยังได้ตักดีรฺ ให้นมาซร่วมกับฝ่ายก่อการกบฏ  จากนั้นท่านยังได้ประกาศต่อหน้าพวกเขา และยังปรึกษาหารือกับบรรดาหัวหน้ากบฏเหลานั้นด้วย สำหรับท่านอาลีนั้นมีความยุ่งยากใจเป็นอย่างมาก  ท่านทำหน้าที่ประณีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่ายเพราะบางขณะท่านก็ถูก            คอลีฟะฮ์ทอดทิ้ง  และบางขณะก็ถูกเรียกตัวมาผ่อนคลายบรรยากาศของการเจรจา
   อย่างไรก็ตามวันหนึ่งได้เกิดการทะเลาะกันอย่างรุนแรงระหว่างท่านคอลีฟะฮ์อุษมานกับฝ่ายก่อการกบฏทำให้พวกเขาขว้างก้อนหินไปที่ร่างของท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานสงบแน่นิ่งอย่างไม่รู้ตัว จากนั้นร่างของท่านก็ถูกนำเข้าไปที่บ้านของท่าน นับตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นต้นไปเมืองหลวงคือมาดีนะก็ได้รับการคุกคามและสถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลงทุกวัน
   หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว เคาะลีฟะฮ์ก็ไม่ได้ออกจากบ้านไปไหนอีก บ้านของท่านถูกปิดล้อมรอบด้านและถูกควบคุมอย่างใกล้ชิด บรรดาวัตถุปัจจัยประจำวันคือ น้ำและอาหารถูกห้ามไม่ให้นำเข้าไปในบ้านของคอลีฟะฮ์  (เกิดขึ้นในสิบวันสุดท้าย)
   ในระยะนี้ผู้คนส่วนมากต่างก็ได้ขอร้องให้ท่านอาลีทำหน้าที่เป็นอีหมามในมัสยิดอัน-นะบะวีย์ แต่ท่านก็ปฎิเสธ  ด้วยเหตุผลที่ว่าคอลีฟะฮ์ ยังอยู่และท่านยังขอร้องให้พวกกบฏเหล่านั้นรีบปล่อยคอลีฟะฮ์เสีย  เพื่อทำหน้าที่เป็นอีหม่ามให้แก่พวกเขา  สำหรับผู้ที่รักษาความปลอดภัยให้แก่บุคคลในบ้านของคอลีฟะฮ์ให้พ้นจากภัยคุกคามของพวกกบฎ  คือท่านอาลี  และในเวลาต่อมาท่านก็ได้มอบหน้าที่นี่แก่บุคคลอื่น  รวมทั้งอาซันและฮุซัยด์  (บุตรชายของท่าน)   อัซซุบัยร์บุตรเอาวาม  อับดุลลอบุตรอัยซุบัยร์   อับดุลลอบุตรอุมัร  มุฮำหมัดบุตรฏ็อลฮะฮฺ   อบูฮุรอยเราะและคนอื่นๆ  โดยพวกเขาได้เปลียนหน้าที่รักษาการที่หน้าประตูเข้าออกที่บ้านคอลีฟะฮ์ท่านอาลีผู้ซื่อสัตย์ได้ขออนุญาตคอลีฟะฮ์เพื่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อพวกกบฏแต่ได้รับการคัดค้านจาก         คอลีฟะฮ์  ท่านอ้างว่าไม่ต้องการเห็นการนองเลือดระหว่างมุสลิมด้วยกันเอง
   ในเวลาเดียวกันนั้น ข่าวได้ไปถึงซีเรีย มุอาวียะฮฺซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับคอลีฟะฮ์ ได้เสนอให้คอลีฟะฮ์ย้ายไปอยู่ซีเรียหรือที่มะกะฮฺ  หรือถ้ามีความจำเป็นแล้วท่านจะส่งกำลังไปควบคุมบ้านของคอลีฟะฮ์ แต่ข้อเสนอของมุอาวียะฮฺได้รับการปฏิเสธจากคอลีฟะฮ์ เคาะลีฟะฮ์ผู้ก้าวย่างเข้าสู่วัยชราแล้ว ได้ก้าวขึ้นไปชั้นบนของบ้านหลายครั้ง  พร้อมกับพยายามร้องตะโกนขึ้นเสียงดังเพื่อที่จะให้พวกกบฏแยกตัวออกไป และไม่กระทำการใดๆ  ในขณะเดียวกันท่านมัรวานเองก็ไม่แสดงความจริงใจออกมาให้เห็นว่าเขาจะปกป้องอารักขาและให้ความปลอดภัยแก่คอลีฟะฮ์อย่างไร  เขาได้แต่ตะโกนพร้อมเสียงอันดังพร้อมด้วยคำพูดที่รุนแรงเพื่อที่ว่าพวกกบฏเหล่านั้น  จะได้แยกย้ายตัวเองกลับไป  โดยไม่ต้องไปฟังคำขอร้องและข้อเสนอใดๆ ของพวกเขาและภายในบ้านของ  คอลีฟะฮ์เองภรรยาของท่านคือนาอีละฮฺ (ก่อนนี้นับถือศาสนาคริสต์) ได้เสนอให้ท่านคอลีฟะฮ์ทำความสนิทสนมกับท่านอาลี  และพยายามห่างไกลจากมัรวานและลูกสมุนของเขา
   ในชีวิตของนบี   นั้นได้เคยกล่าวไว้ว่า จะต้องเกิดการฟิตนะฮฺในระยะเวลาอันใกล้กับท่าน     และเหตุการณ์ณ์ต่างๆได้บงบอกว่าการฟิตนะฮฺ(การฆ่า) นั้นจะเกิดขึ้นในสมัยของคอลีฟะฮ์อุษมานและก่อนที่ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานจะถูกสังหาร ท่านได้ฝันไปว่า  ท่านได้รับเชิญจากนบี   เข้าร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน (ซึ่งท่านนบีก็ได้สิ้นชีพไปแล้ว  เป็นเครื่องหมายบงที่ว่าท่านจะได้พบกับท่านนบี  ในอาลัมบัรฺซัล-ปรภพ)   หลายสัปดาห์ผ่านไปเหตุการณ์ได้ทวีความรุนแรงขึ้นโดยมีคนกลุ่มน้อยจากพวกกบฏได้เข้าไปในบ้านของท่านทางประตูหลัง พวกเขาเผชิญหน้ากับคอลีฟะฮฺและทำท่าจะสังหารคอลีฟะฮฺ  แต่พวกเขากลับหยุดชะงักเพราะใจไม่กล้าพอที่จะสังหาร      คอลีฟะฮ์ในขณะนั้น  พวกเขาจึงเดินออกไปอย่างเงียบๆ
   ในขณะนั้นเป็นช่วงของการทำพิธีฮัจย์ บรรดาผู้คนที่มาจากทั่วทุกแห่งหนของแผ่นดินอาหรับต่างก็เดินทางเข้าสู่มะกะฮฺและมาดีนะฮฺ เมื่อเป็นนี้ฝ่ายกบฏจึงดำเนินการตามแผนเพื่อสังหารคอลีฟะฮ์   ก่อนที่กำลังการช่วยเหลือจากฝ่ายอื่นจะมาถึง ชั่วขณะนั้นกลุ่มกบฏก็ไม่อาจรอคอยได้อีก  พวกเขาพากันมุ่งตรงเข้าสู่บ้านของคอลีฟะฮ์    จากนั้นก็ได้ปีนขึ้นไปทางด้านหลังและได้เผชิญหน้ากับคอลีฟะฮ์ของพวกเขากรูกันเข้ามาตี  แทง และบั่นคอของคอลีฟะฮ์  ขณะที่คอลีฟะฮ์กำลังอ่านอัล-กุรอ่านในมุศฮัฟของท่าน  (ฉบับอุสมานทั้งๆที่กำลังถือศีลอดในวันศุกร์   นาอิละฮฺก็รีบเร่งเข้าไปช่วยสามีของนาง  แต่ก็ไม่สำเร็จ  นอกจากนี้นิ้วมือของนางก็ยังถูกพวกกบฏตัดจนขาด  บัดนี้วิญญาณของคอลีฟะฮ์ ได้ออกจากเรือนร่างไปแล้วและทรัพย์สินมีค่าในบ้านก็ถูกริบไปจนหมดหยดเลือดของคอลีฟะฮ์อุษมานกระเซ็นลงบนมุศฮัฟอัลกุรอานอันพิสุทธิ์ที่ท่านกำลังเปิดอ่านอยู่นั้นก่อนที่มืออันมีเกียรติของท่านจะมีโอกาสปิดมุศฮัฟฉบับนั้น
   ขณะที่ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานถูกสังหาร     ท่านอาลีอยู่ในมัสยิดนะบะวีย์ และท่านได้รับรู้ข่าวร้ายที่นั้น อย่างไม่คากฝันมาก่อน
   ถ้ามองตามหลักการศาสนาแล้วย่อมเป็นการหะรอม (ต้องห้ามทางศาสนา)ในการคิดคดและก่อการกบฏต่อคอลีฟะฮ์     ผู้ซึ่งสามารถดำรงการปกครองตามคัมภีร์อัลกุรอานได้ที่สำคัญที่สุดก็คือหากได้มีการสังหารและช่วงชิงทรัพย์สินที่ได้รับมาจากการบริจาคอย่างบริสุทธิ์ใจด้วยแล้วก็ยิ่งเป็นการฮะรอมยิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผ่นดินอันบริสุทธิ์อัลมาดีนะซึ่งกำลังอยู่ในเดือนหะรอม  (ฤดูการของการประกอบพิธีฮัจย์) อีกด้วย
   อัลอุสตาซ ฟารีด วัจญ์ดี ได้กระทำการที่เกินไป ด้วยการฆาตรกรรมคอลีฟะฮ์ครั้งนี้  ตามความคิดของเขาการบังคับให้คอลีฟะฮ์ สละอกจากตำแหน่ง  ก็ย่อมเป็นการเพียงพอแล้ว
ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานสิ้นชีวิตเพราะถูกสังหารในเวลาเกือบค่ำ หรือกลางคืนของวันที่ 18 ซุลฮิจยะฮฺ  ฮ..35-20 พฤษภาคม ค..  656 โดยในขณะนั้น ท่านมีอายุได้ 82 ปี

ฟิตนะฮฺ อัลกุบรอ


                ความหมายของคำว่า ฟิตนะหมายถึง สถานการณ์ การมีอามานะฮฺ” (ความเชื่อถือความไว้วางใจ) ได้หายไป เช่นการใส่ไคล้ใส่ความ การวิพากษ์วิจารณ์ไปในทางลบ การก่อการร้าย ความวุ่นวายและการคุกคามด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดความแตกแยก การเข่นฆ่าและการก่อการร้ายระดับชาติประเทศ ระดับรัฐ ระดับสังคม เป็นต้น ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงยิ่งกว่าการฆ่าบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
                ตามประวัติศาสตร์ ระยะการปกครองของคอลีฟะฮ์อุษมานกนั้นยาวนานถึง 12 ปี ในช่วง 6ปีแรกท่านบริหารรัฐอิสลามได้อย่างปกติสุข หลังจากนั้นท่านรับการรบกวน อันเนื่องจากการที่อายุของท่านเข้าสู่วัยชราแล้ว กระทั่งได้เกิดฟิตนะฮฺขึ้น จนเป็นเหตุให้ท่านต้องถูกฆาตกรรมในที่สุด

สาเหตุต่างๆ
                สาเหตุต่างๆที่ทำให้เกิดการฟิตนะฮฺ มีหลายประการคือ

1.              สาเหตุจากนิสัยของคอลีฟะฮ์เอง
เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานนี้มีอุปนิสัยใจคอที่ผิดแผกจากบุคคลอื่นในเรื่องความอาย ความอ่อนโยนและท่านมองโลกในแง่ดีเสมอ(มีความหวังดี) และท่านมองคนอื่นเสมือนตนเองและมีใจเผื่อแผ่อารี ชอบบริจาคอย่างสม่ำเสมอ เมื่อประชาชนรู้ถึงนิสัยใจคอของ     คอลีฟะฮ์แล้ว ย่อมแน่นอนว่าต้องเกิดทรรศนะที่ไม่ดีในแง่ต่างๆ    ในด้านการบริการบ้านเมือง และที่สำคัญยิ่ง ความคิดในทางลบเช่นนี้  ได้เกิดขึ้นภายใต้จิตใจของเจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่เคารพยำเกรงหรือมีความห่วงใยการปฏิบัติงานของคอลีฟะฮ์ แม้ว่าในบรรดาเจ้าผู้ครองแคว้นเหล่านั้นจะถูกลงโทษโบยตี  อันเนื่งจากความสำมะเลเทเมากับเครื่องดื่มต้องห้ามก็ตาม
   ในขณะเข้าดำรงตำแหน่งเป็นคอลีฟะฮ์   นั้นท่านมีอายุเข้าสู่วัยชราแล้ว ขณะนั้นท่านอายุ 70 ปี แต่ในช่วงนั้นท่านยังมีความเข้มแข็งอยู่กระทั่งถึงปลายปีที่ 6 แห่งสมัยการปกครองของท่าน แม้ว่าจะเกิดการก่อการร้าย หลายครั้งหลังจากนั้น ก็ใช่ว่าท่านไม่มีความเหมาะสมที่จะปกครอง เพราะฟิตนะฮฺ เกิดขึ้นจากคุณลักษณะนิสัยใจคอของท่าน  และทัศนะคติของศัตรูของท่านเอง  ไม่มีหลักฐานจากกฎเกณฑ์ทางศาสนา อันเป็นเหตุที่ท่านควรจะถูดปลิดชีวิต   เมื่อถึงเวลาที่ท่านถูกฆาตกรรม  อายุของท่านได้ย่างเข้าสู่วัย 82 ปีแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า  ตามความคิดของผู้อื่นแล้ว ต่างคิดว่าท่านเกิดความหลงลืม อวัยวะไม่สมประกอบ และอุปนิสัยหวนกลับเข้าสู่วัยเยาว์เหมือนเด็กๆ ในขณะเดียวกัน ท่านก็เป็นหนึ่งในบรรดาศอฮาบะฮอวุโสที่อัลลอฮ  I  สัญญาว่าจะได้เข้าสู่สรวงสวรรค์และท่านเป็นผู้บันทึกวะฮฺยูท่านหนึ่ง    ตลอดจนเป็นผู้รายงานหะดีษต่างๆ มากมาย ท่านเป็นผู้ใช้การอิจญ์ติฮาด(แสดงเหตุผลของตนโดยอาศัยการวิเคราะห์และการวินิจฉัยด้วยตนเองอาจเป็นได้ว่าจะถูกบ้างผิดบ้าง) เกี่ยวกับปัญหาบางอย่าง ในด้านหุกม(กฎหมายอิสลาม)ทางศาสนาอิสลาม
   เมื่อมองในแง่หุก่ม  (กฎหมายอิสลาม) แล้วเรื่องแรกที่ท่านได้ทำขึ้นเมื่อได้ครองอำนาจเป็นคอลีฟะฮ์ คือ ท่านไม่ได้ดำเนินการตัดสินหุก่มกิศ็อศ  (ฆ่าตอบแทน) แก่ผู้ใดก็ตามที่ทำการเจตนาฆ่าผู้อื่นจนตายอย่างไม่มีเหตุผลทางศาสนา อุบัยดุลลอฮ บุตรอุมัร บุตรอัลค็อฏฏ็อบได้ฆ่ามุสลิมคนหนึ่ง ชื่อฮุรมูซาน (อดีตผู้นำชาวเปอร์เซียคนหนึ่ง) และชาวกาฟิรซึ่งมีสองคน ซึ่งได้รับการค้ำประกันถึงความปลอดภัยแก่ชีวิตโดยรัฐแห่งอิสลาม ซิมมี่ (ผู้อยู่ภายใต้การปกครองรัฐอิสลาม) สองคนนั้นคือ ยุฟัยนะฮ (แต่เดิมเป็นคริสเตียน) และบุตรีของอบูลุลุซึ่งยังอยู่ในวัยเยาว์
   ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานไม่ได้ลงหุก่มเพื่อตัดสินคดีนี้ แต่ได้ออกคำสั่งให้ปล่อยตัวไป        อุบัยดุลลอฮฺได้ฆ่าพวกเขาก็เนื่องจากในเวลาเช้ามืดก่อนวันที่คอลีฟะฮ์อุมัรได้ถูกฆ่าหนึ่งวัน           ฮุรมูซานและยูฟัยนะฮฺ กำลังพูดคุยพร้อมกับอบูลุลุ (อาจวางแผนการใดแผนการหนึ่ง) อับดุรเราะห์มาน  บินอบู บักร อัศศิดดิก ได้เห็นพวกเขาทำให้พวกเขารีบยืนขึ้นเป็นเหตุให้มีมีดเปอร์เซียตก ( มีดสองคม) และในเวลาต่อมา มีดเล่มนั้นได้ใช้ฆ่าอุมัรและอีก 7 คนในมัสยิด  ตามความเห็นของอะลี  อับดุลลอฮ(คนฆ่า) จะต้องถูกตัดสินด้วยหุก่มกิศ็อศ (ฆ่าตอบแทน) โดยที่ท่านเป็นคนนิ่มนวล         คอลีฟะฮ์อุษมานรู้สึกว่าท่านไม่สามารถออกคำสั่งให้ฆ่าอุบัยดุลลอฮ ท่านได้ทำการอิจญ์ติฮาดด้วยตนเองและใช้เงินเพื่อใช้ดิยาด (ค่าปรับ :อูฐจำนวน 300  ตัว) เพื่อไถ่อุบัยดุลลอฮฺ  ทรัพย์สินจำนวนดังกล่าวได้มอบให้แก่ครอบครัวผู้ที่ตาย แต่เนื่องจากบุคคลทั้งสามไม่มีวะลี (Wali) ฉะนั้นท่านคอลีฟะฮ์อุษมานจึงเป็นวะลีแก่พวกเขาและเมื่อเป็นเช่นนั้น  ค่าปรับเหล่านั้นจึงมอบให้แก่บัยตุลมาล
   ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานถือว่า การฆาตกรรมที่เกิดขึ้นนั้นมีความคลุมเครือด้วยการอ้างว่า   อุบัยดุลลอฮฺทำการนี้ ในขณะที่ครองสติไม่ได้ ( คล้ายกับไม่เจตนา) และท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้อ้างเหตุผลว่า  ชนชาวกาฟิร (ผู้มินับถืออิสลาม) จะต้องพูดว่าวันนี้คอลีฟะฮ์อุมัรถูกฆ่า และพรุ่งนี้ถึงคราวของลูกของเขาอีก ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานมีความเห็นใจต่อครอบครัวของของท่านคอลีฟะฮ์อุมัรที่กำลังโศกเศร้าเสียใจ การกระทำของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานในครั้งนี้คล้ายกับว่าเขาเห็นเลือดของชนมุสลิมและชาวกาฟิรซิมมี่เป็นเรื่องเล็กน้อยและทำให้เกิดคิดถึงการแบ่งชนชั้นวรรณะระหว่างชั้นศักดินาและชนชั้นสามัญชน   การเปลี่ยนแปลงนิสัยใจคอและวิธีการปฏิบัติของคอลีฟะฮ์สำหรับเรื่องนี้มีผลต่อจิตใจต่อคนทั่วไปคล้ายกับคอลีฟะฮ์อุษมาน  ไม่มีจิตใจที่แน่วแน่มั่นคงต่อการบริหารรัฐ  เมื่อถึงกลางสมัยการปกครองของท่านแหวนของท่านศาสนฑูต (ตราประทับ) อันเป็นแหวนสุดที่รักที่ได้รับมอบจากคอลีฟะฮ์อุมัร และอบูบักร (ก่อนหน้านี้) ได้เกิดหายไปในบ่ออาริริส( .. 30 ) การหายของแหวนวงนี้แม้ว่าจะมีวงอื่นแทน  แต่ก็เป็นเหตุที่มีผลกระทบต่อจิตใจ ย่อมถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดี และคิดถึงผลเสียหายต่างๆ ก่อให้เกิดความห่วงหน้าพะวังหลัง



2.สาเหตุจากสถานการณ์ต่าง ๆ
เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในสมัยของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานนี้ได้เกิดความรู้สึกเรื่องเชื้อชาติของเผ่าขึ้น เป็นลักษณะชาตินิยมในกำเนิดของตนเอง(อาซอบียะฮฺ) ตามค่านิยมของสมัยญาฮีลียะฮฺ(ก่อนอิสลาม) ตามประวัติศาสตร์ตั้งแต่การถือกำเนิดของนบีมูฮัมมัดมาแล้วจะพบว่า นอกจากเรื่องชาตินิยมแล้ว ท่านศาสดายังมีหน้าที่ ๆ จะต้องขจัดค่านิยมที่เชิดชูเผ่าพันธ์ของตนและต่อสู่เพื่อพวกพ้องหรือเพื่อเผ่าของตน  ก่อนหน้านี้เคยมีเรื่องปรากฏขึ้น โดยฝ่ายบนีอุมัยยะฮฺได้ต่อต้านท่านนบี    ก็เพราะเข้าใจว่าท่านนบี  ต้องการยกย่องเชิดชูเกียรติชาวบนีฮาชิม(ตระกูลหนึ่งของเผ่ากุร็อยช)
   เมื่อท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน   (จากตระกูลอุมัยยะฮฺอันเป็นตระกูลหนึ่งของเผ่ากุร็อยช์) ได้แต่งตั้งเป็นคอลีฟะฮ์ บนีอุมัยยะฮฺจึงคิดว่าเป็นโอกาสอันสมควร อย่างที่สุดที่ที่พวกเขาจะได้รวบอำนาจต่างๆ ให้อยู่ในมือและฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อความร่ำรวยในหมู่ของพวกตน การที่คอลีฟะฮ์อุษมาน ได้ครองตำแหน่งเป็นคอลีฟะฮ์ ได้สร้างความคลางแคลงใจให้บนี ฮาชิมและชาวเผ่าต่างๆ ที่อยู่ในวงการกุร็อยช์ เพราะพวกเขาคิดว่าชาวเผ่ากุร็อยช์เท่านั้นที่มีความเหมาะสมที่จะบริหารรัฐอิสลามและพวกเขาก็จะได้สร้างฐานะ  ตลอดจนผลประโยชน์ที่จะได้รับทั่วแห่งอย่างเช่นในแคว้นต่างๆที่เพิ่งเกิดใหม่ในขณะนั้นความต้องการที่จะสร้างความร่ำรวยแก่ตนเองนั้นได้เกิดขึ้นกับทุกคนและมีความแตกต่างกับสมัยท่านนบี   ท่านอบูบักรและท่านอุมัร ไม่ใช่เพียงเฉพาะแต่เรื่องของค่านิยม  ที่มีต่อเผ่าของตนเท่านั้น แต่ได้เกิดความคิดที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหลักการของอิสลามเอง เพราะบรรดาศอฮาบะฮฺของท่านนบีที่มีความรู้ในด้านการรายงานหะดีษได้กระจายไปทั่วรัฐและแคว้นต่างๆ แม้ว่าในสมัยของท่านอุสมานจะยังไม่ได้กำเนิดกลุ่มต่างๆ(Firqah)  ในอิสลามเช่น เคาะวาริจญ์  ชีอะฮ มุตะอซีละฮฺ  และแนวคิดอื่นๆ อีกก็ตาม แต่จุดกำเนิดของบรรดาแนวคิดเหล่านั้นเริ่มจะเห็นได้แล้ว  ภายในรัฐอิสลามขณะนั้นสงครามที่มีหลักการศัทธาไม่เหมือนกัน(ศาสนาอื่น) ต่างก็เริ่มเผยความต้องการที่แตกต่างกันออกไปจากดินแดนต่างๆ เช่น       บัศเราะฮ  กูฟะฮฺ  (ชนผู้นับถือศาสนาและมีฐานะปานกลางชาวซีเรียใช้ชีวิตอย่างมีหลักเกณฑ์แบบชาวตะวันตก) อียิปต์ (ใช้ชีวิตอย่างอิสระเสรี)

3.สาเหตุของการครอบครองดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาล
   อาณาจักรอิสลามในยุคสมัยของคอลีฟะฮ์อุษมาน เป็นยุคของการสืบทอดการปกครองของคอลีฟะฮ์อุมัรซึ่งเป็นผู้ที่สร้างสถิติในการขยายดินแดนอันกว้างขวางกว่าผู้ใดในสมัยที่ผ่านมาแล้ว ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้รุกคืบไปอีกอีกหลายพื้นที่ทางตะวันออก ตะวันตกและทิศใต้ ในสมัยนั้นได้เกิดสังคมหลากหลาย(หลายเชื้อชาติหลายศาสนา) และมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปในการบริหารเพื่อจะรักษาดินแดนเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่ายจะต้องเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองแคว้น และผู้ปกครองท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถที่ดีที่สุด จะเป็นบุคคลที่ใช้ชีวิตตามครรลองของศาสนา มีชีวิตความเป็นอยู่ในระดับปานกลางเพื่อให้เข้ากับประชาชนหมู่มากเหล่านั้น
   นอกจากนั้น ยังเกิดความต้องการที่จะใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปในแคว้นต่างๆ ที่มีสภาพแวดล้อม และภูมิอากาศที่แตกต่างกัน อิทธิพลจากภายนอก ก็เข้าไปแทรงแซงและแอบแฝงเข้าไปในสังคมของชาวมุสลิม  เช่น การก่อกบฏต่อคอลีฟะฮ์ นั้นปรากฏอยู่ทั่วไปสำหรับในแคว้นกูฟะฮฺ  บัศเราะฮ  และอียิปต์ นั้นจะมีผู้สนับสนุนคอลีฟะฮ์   อย่างสม่ำเสมออันเนื่องจากดินแดนที่ครอบครองนั้นกว้างขวางมาก และทุกคนมีเสรีภาพที่จะถิ่นจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งได้  เริ่มตั้งแต่สมัยคอลีฟะฮ์  ได้อนุญาตให้ศอฮาบะฮฺและบรรดาพลเมืองที่อาศัยอยู่ในมาดีนะออกแสวงหาโอกาสภายนอกเมืองหลวงจนทำในเมืองต่างๆ และเมืองหลวงมาดีนะเอง เป็นที่มาเยือนของบุคคลภายนอก(เพราะได้เกิดความว่างเปล่าคล้ายกับการหมุนเวียนของอากาศที่จะต้องแทรกเข้าไปในที่ว่าง) เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เกิดสังคมหลากหลายขึ้นซึ่งยากแก่การบริหารควบคุม ก่อให้เกิดความต้องการในการใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยและก่อให้เกิดจิตใจ ที่มีความอิจฉาริษยาต่อกัน และเมฆหมอกแห่งความแตกแยก ก็เริ่มแผ่เค้าทมึนในสังคมอิสลาม ในสมัยนั้นผู้คนค่อยๆ มีความหย่อนยานต่อการตักวา(เกรงกลัว) ต่ออัลลอฮ I

4.สาเหตุจากการบริหาร
   ในสมัยการปกครองของท่านคอลีฟะฮ์อุมัร เจ้าผู้ครองแคว้นและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ที่ท่านแต่งตั้งขึ้นนั้น ไม่ใช่บุคคลจากเผ่าของตนเอง(บนี  อาดี) เจ้าหน้าที่ระดับสูงเหล่านั้นมีความสามารถมาก  ท่านเองเป็นผู้มองการณ์ไกล  และรู้จักคุณสมบัติของบุคคลเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี
   ท่านคอลีฟะฮ์อุมัรได้กล่าวไว้ล่วงหน้าว่า ผู้ใดก็ตามที่จะสืบตำแหน่งต่อจากท่านก็อย่ารีบถอดถอนเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานรักษาคำเตือนได้เพียงเวลาหนึ่งปีแต่เนื่องจากการแต่งตั้งมัรวันบุตรอัล หะกัม (ลูกพี่ลูกน้องของท่าน) จากครอบครัวบนีอูมัยยะฮฺมาเป็นที่ปรึกษาและเป็นเลขานุการส่วนตัวฉะนั้นจึงพบว่าท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน เริ่มจะใจเอนเอียงไปทางความคิดของมัรวาน อันเป็นสาเหตุให้ท่านมรใจโน้มน้าวไปทางครอบครัวของท่านเอง และจากความคิดของมัรวานท่านก็เริ่มถอดถอนตำแหน่งเจ้าผู้ครองแคว้นและเจ้าหน้าที่ระดับสูงอื่น ๆ
   ความเปลี่ยนแปลงในหมู่ศอหาบะห์ที่มีต่อคอลีฟฮ์จึงเริ่มเกิดขึ้นเมื่อเห็นท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน มีความสนิทชิดเชื้อกับมัรวาน เพราะแต่เดิม ( ต้นสมัยของอิสลาม ) มัรวานไม่ได้แสดงตนออกมาอย่างเปิดเผยและในช่วงท้ายๆ นี้จะเห็นว่า คอลีฟะฮ์จะคล้อยตามมัรวานในทุกๆ เรื่องฉะนั้นในบรรดาศอฮาบะฮฺ ที่ยังคงอยู่ในมาดีนะฮฺ เช่น อะลีอัซ ซุบัยฮร์ และฎ็อลฮะฮฺ จึงตีตนออกห่างจากคอลีฟะฮ์ มัรวานนั้นมีอุปนิสัยที่ก้าวร้าว และมีความแตกต่างจากคอลีฟะฮ์อุษมานมาก    เมื่อเป็นเช่นนั้นมัรวานจึงไม่พอใจที่บรรดามวลหมู่มุสลิม และจากบรรดาบุคคลในครอบครัวของคอลีฟะฮ์เอง รวมทั้งนาอีละฮฺภริยาของคอลีฟะฮ์เองดด้วย
   ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานเองก็ชอบที่จะคล้อยตามความคิดฝ่ายที่เอนเอียงไปทางซ้าย ซึ่งไม่ชอบในตัวของท่านอาลีและบรรดาศอฮาบะฮฺท่านอื่นๆ เช่น มุอาวียะฮฺ อับรฺบุตรอัลอาส อับดุลลอฮฺบุตรสะฮฺ ( ชื่อของบุคคลเหล่านี้เคยถูกบันทึกในสมุดดำ เมื่อสมัยที่รอซูล  สามารถช่วงชิงมักกะฮฺได้ ) อับดุลลอฮฺบุตรอามีรฺ และสะอีด บุตร อัลอัซ บุคลเหล่านี้ไม่เป็นที่พึงพอใจสำหรับท่านอาลีและศอฮาบะฮฺอีกหลายท่านจาก มูฮาญีรีน (กลุ่มอพยพ) และฝ่ายอัลศอรฺ (ผู้ช่วยเหลือ) ท่านอาลีได้วิจารณ์ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานที่ได้ให้เสรีภาพต่อเจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ที่ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย( เมื่อก่อนที่ท่านคอลีฟะฮ์อุมัรได้เคยห้ามไว้) ในแคว้นของตนเองและได้แนะนำให้ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานปลดที่ปรึกษาของท่านที่ไม่มีความซื่อสัตย์ แต่ท่านก็เพิกเฉย ตรงกันข้ามท่านอาลีกลับได้รับการกล่าวจากบรรดาที่ปรึกษาเหล่านั้นว่าเป็นผู้ที่พยายามก่อเรื่องและสร้างบรรยากาศที่ขุ่นมัวขึ้น การปลดและการแต่งเจ้าผู้ครองนครในสมัยของคอลีฟะฮ์อุษมานได้เกิดขึ้นหลายครั้งเช่น
   -เจ้านครบัศเราะฮฺ อับดุลลอฮฺบุตรของก็อยสฺ(ฉายานามว่า อบูมูซา อัลอัชอารี) เป็นที่รักใคร่ของประชาชนก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง และทำการแต่งตั้งอับดุลลอฮฺ บุตรอามิรฺ(อายุ 25 ปี) ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในครอบครัวของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานซึ่งประชาชนไม่เห้นชอบด้วย
   -เจ้านครกูฟะฮฺ มุฆีเราะฮฺ บุตรซูบะฮฺ ก็ถูกปลด ผู้เข้ามาแทนที่คือ สะอฺด์ บุตรอบีวักกอส จากนั้นก็ทดแทนตำแหน่งอีกโดยอัลวาลิดบุตรอุกบะฮฺ เพราะได้เกิดเรื่องระหองระแหงระหว่างสะอฺด์บุตรอับดุลลอฮฺบุตรมัสอูด (เจ้าหน้าที่ฝ่ายการคลังที่กูฟะฮฺ) และไม่สามารถหาข้อยุติได้ แต่เรื่องกลับเพิ่มเข้าไปอีกด้วยเพราะปัญหาอัลวาลิด(ผู้พี่ผู้น้องของคอลีฟะฮฺ) เป็นผู้ที่ชอบเสพสุราอยู่เสมออัลวาลิด จึงถูปลดและถูกโบยจากนั้นก็ให้สะอีดบุตรอัล-อัซ(ซึ่งประชาชนไม่ชอบและประชาชนยังแสดงการปฏิเสธต่อเขา หลังจากสะอีดกลับจากการพบคอลีฟะฮ์แล้ว) ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน แต่ต้องถูกปลด และให้อบูมูซาอัลอัซอารีมานั่งแทน (อดีตผู้ครองนครบัเราะ) เมื่อถึงตอนนี้จึงเกิดความวุ่นวายขึ้นในกูฟะฮฺและบริเวณรอบนอก
   -เจ้าเมืองดามัสกัส มุอาวิยะฮฺบุตรซุฟยาน(ผู้พี่ผู้น้องของท่านอุษมาน) มีอำนาจการปกครองที่กว้างขวาง โดยคลุมทั่วดินแดนของดินแดน(ชาม) ปาเลสไตน์ จอร์แดน อาเมเนีย และเอเชียน้อยด้วยการมอบอำนาจ ชี้ขาดให้จากนั้นในเมื่อเจ้าเมืองฮัมมาส(โฮมส์) อุมัรฺ บุตรซะอฺด์ถูกปลดออกเพราะมีอาการป่วยจึงได้รวมดินแดนแห่งนี้รวมเข้ากับดามัสกัส และให้อยู่ภายใต้อำนาจของมุอาวียะฮฺ  ฉะนั้นดินแดนเกือบหนึ่งในสามของอาณาจักรอิสลามก็ตกอยู่ในอำนาจของมุอาวิยะฮฺ

5. สาเหตุการพัฒนาเศรษฐกิจ
   ในสมัยการปกครองท่านคอลีฟะฮ์อุมัรฺ ท่านได้ห้ามบรรดาศอฮาบะฮฺจำนวนหนึ่งให้ออกจากมาดีนะฮฺ และผู้ใดที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าเมือง แม่ทัพ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและอื่นๆ นั้นต่างก็ถูกท่านคอลีฟะฮ์อุมัรฺห้าม ไม่ให้มีสิทธิครอบครองที่ดินและใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย ในสมัยนั้นประชาชาติมุสลิมต่างก็เชื่อฟังคำสั่งของท่านอุมัรฺพวกเขามีความเกรงกลัว และให้เกียรติต่อคำสั่งของท่านคอลีฟะฮ์อุมัรฺแต่ในเมื่อสิทธิของการครอบครองที่ดินอยู่นอกเมืองหลวง ได้มีขึ้นอย่างเต็มที่ที่สำคัญที่สุดคือตามเมืองใหม่ที่เพิ่งเปิดดำเนินการ ทำให้หลักการต่อสู้ของบรรดาศอฮาบะฮฺที่มีความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮ I ในการเผยแผ่ศาสนาอิสลามค่อยๆ หรี่แสงและมีความหย่อนยานลงไป ซึงเกิดการแย่งตำแหน่งและชื่อเสียง ตลอดจนการแสวงหาความร่ำรวยให้แก่ตนเอง สาเหตุนี้เองทำให้เกิดความอ่อนแอทางจิตใจ ในการที่เผยแผ่ศาสนาอิสลาม บรรดาผู้อพยพเข้าไปอยู่ใหม่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ต่างพยายามแสวงหาโอกาสให้แก่ตนเองที่เป็นไปในทางวัตถุนิยมที่สำคัญที่สุดคือบรรดาผู้ที่มาจากครอบครัวมุอาวิยะฮฺ และบุคคลเหล่านั้นต่างก็ไม่ได้รับความพึงพอใจจากประชาชนที่เป็นคนท้องถิ่น
   ในขณะเดียวกัน นโยบายการบริหารกองคลังของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงขึ้น ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้ใช้ดีวานอัล-อะฎออฺ (องคืการเพิ่มทรัพย์/และการบริการอุดหนุน) อย่างมักง่ายซึ่งมีความแตกต่างเป็นอย่างมากกับในสมัยของท่านคอลีฟะฮ์อุมัรฺซึ่งหากว่าท่านจะมอบทรัพย์สินในบัยตุลมาลให้แก่ประชาชนทั่วไป ตามความจำเป็นของทุกคนก็ตามแต่ท่านก็มีความรอบคอบในเรื่องนี้อย่างที่สุดท่านไม่ได้ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยหรือจ่ายเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งและเข้ายึดดินแดนของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานก็ไม่ได้กว้างขวางเมื่อเทียบกับท่านอุมัรฺ การคลังของรัฐไม่ได้เพิ่มพูนขึ้น  แต่ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้จ่ายทรัพสินในบัยตุลมาลแก่ประชาชนที่ใกล้ชิด(สายตระกูลของท่าน) อย่างชนิดที่เรียกว่า มากกว่าคอลีฟะฮ์อุมัรเคยให้อีกหลายเท่าและจำกัดจำนวนทรัพย์สินที่จะมอบให้แก่ประชาชนที่ไม่ได้มาจากของสายตระกูลของท่านด้วยจำนวนที่น้อยมาก
   นิสัยที่ชอบบริจาคทรัพย์สินของท่านอุสมาน อันเป็นที่รู้กันทั่วไปในสมัยที่ท่านยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นคอลีฟะฮ์  ได้ติดเป็นนิสัยเสมอมา ท่านจึงจ่ายทรัพย์สินของรัฐคล้ายกับทรัพย์สินของตัวเอง ขอยกตัวอย่างเช่น ส่วนหนึ่งจากบุคคลในครอบครัวของท่าน ต่างก็ได้รับมอบทรัพย์สินช่วยเหลืออย่างมากมายอย่างท่วมท้นอันแสดงถึงความมีน้ำใจและความสงสารของท่านคอลีฟะฮ์  ท่านได้มอบทรัพย์สินสงคราม (ฆอนีมะฮฺ)  ( ซึ่งมีค่าถึง 200,000 ดินาร์) ที่ได้จากทางตอนเหนือของแอฟริกาแก่มัรวาน เพราะมัรวานเป็นบุคคลแรกที่แจ้งข่าวชัยนะแก่ท่าน(ซึ่งตามหลักการแล้วหนึ่งในห้าของจำนวนทรัพย์สินของสงครามนั้นจะต้องมอบให้บัยตุลมาล) และเช่นเดียวกันท่านยังได้มอบทรัพย์สินเหล่านั้นแก่น้องชายของมัรวานคือ อัลฮาริษ บุตร อัลหะกัม เป็นจำนวน 300,000 ดินาร์ และยังได้มอบให้แก่อับดุลลอฮฺ บุตรคอลิดอีกจำนวนหนึ่งที่มากนั้นอีกคือ 400,000 ดานร์ และในช่วงท้ายๆ นี้ จะพบว่าคอลีฟะฮฺนั้นชอบที่จะคลุกคลีสนิทชิดชอบกับบุคคลในสายตระกูลของตนเอง และหยิบยื่นทรัพย์สินจากบัยตุลมาลอย่างปราศจากเหตุผลอันควรเมื่อถึงตอนนี้แล้วความต้องการของประชาชนในการครอบครองทรัพย์สินเป็นจำนวนมากก็เกิดขึ้น และไม่สามารถยับยั้งได้  เหตุนี้เองจึงทำหิอับดุรเราะมานบุตรเอาฟฺ(อดีตประทานเลือกคอลีฟะฮฺ) ตำหนิท่านคอลีฟะฮ์     อุษมาน ในการที่ท่านชอบบริจาคทรัพย์เป็นจำนวนมากแก่วงศาคณาญาติของตนเองเท่านั้น แต่ก็ได้รับคำตอบว่าการมอบทรัพย์สินจำนวนมากแก่บุคคลในสายตระกูลของตนเองนั้น เคยเป็นที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยของท่านนบี   และในสมัยของท่านคอลีฟะฮ์อบูบักร แต่ท่านทั้งสองไม่ได้รับเงินเดือนประจำหรือทรัพย์สินของบัยตุลมาลมาใช้จ่ายแก่ตนเอง สภาพความป็นอยู่อย่างสามัยชนธรรมดา

6.สาเหตุแห่งความขัดแย้งในสังคม
   เจ้าเมืองบางคนที่อยู่ภายใต้การปกครองของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานมักจะบีบคั้นประชาชน และล่วงล้ำสิทธิของพวกเขา ประชาชนยากจนแต่เจ้าเมืองร่ำรวย ช่องว่างทางฐานะความเป็นอยู่เช่นนี้ จะพบได้ในทุกๆแห่ง บุคคลที่มาจากสายตระกูลบนีอุมัยยะฮ.มีความเป็นอยู่ที่ฟุ่มเฟือยเพราะได้รับทรัพย์สินช่วยเหลือจากดิวานุ้ลลอฮ.อย่างมากมายจากคอลีฟะฮ์.อันเป็นอุปนิสัยของคอลีฟะฮ์ที่ชอบใช้จ่ายเงินกองคลังอย่างไม่คำนึงถึงทรัพย์สินเหล่านั้นว่าจะต้องหมดไปสักวันหนึ่ง
   ท่านมอบให้บุคคลที่ท่านรักมากกว่าบุคคลอื่น ทำให้เศาะฮาบะฮ.อาวุโสผู้หนึ่งคือ อบูซัร.   อัลฆิฟารี  ผู้เป็นบุคคลที่เคร่งครัดในบทบัญญัติของศาสนา และมีความตักวา (เกรงกลัว) ต่ออัลลอฮ   I  เป็นอะฮฺลิสสัฟฟาห์(เคยอาศัยอยู่ใต้ชายคามัสยิดของท่านนบี   ) และเป็นนักอิบาดะฮฺที่มีสภาพยากไร้โดยเขาจะเดินทางไปมาระหว่างซีเรียกับมักกะฮฺและได้พักในมืองมาดีนะฮฺอยู่พักใหญ่ได้ประจักษ์แก่สายตาตนเองถึงนิสัยของคอลีฟะฮ์ ทำให้เขาไม่สามารถจะอดทดได้ เขาได้กล่าวเตือนสติให้สำนึกถึงการการใช้จ่ายทรัพย์สินอย่างมากมาย แก่ผู้ที่อยู่ในสายตระกูลของท่านอย่างไม่ถูกต้องเช่นนั้น
   อบู ซัรอีกเช่นเดียวกันที่ได้แจ้งแก่อุษมานถึงความฟุ่มเฟือยต่างๆ ที่ตนได้ประจักษ์แก่สายตาตนเองว่าเจ้าผู้ครองแคว้นและเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครองระดับรองลงมาต่างก็ร่ำรวยผิดปกติในชั่วระยะเวลาอันสั้น โดยไม่ค่อยดูแลประชาชน เขายังได้เตือนสติมุอาวิยะฮฺ เกี่ยวกับทรัพย์สินของรัฐ ซึ่งตามความเห็นของเขา ทรัพย์เหล่านั้นเป็นของรัฐ เป็นสิทธิของประชาชน(จากประชาชนเพื่อประชาชน) เขาเคยโบยตี กะอฺบ์ อัลอะฮฺบาร์( อดีตอุลามะฮฺของชาวคัมภีร์ซึ่งได้เข้ารับอิสลาม) ในการปะทะคารมอันเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์สิน ไปในหนทางของอัลลอฮ I   อบูซัรต้องการให้ผู้ยากไร้รับการเอาใจใส่เหลียวแลเป็นอย่างดี และผู้ที่มีฐานะดีมั่งคั่งจะต้องเจียดค่าใช้จ่ายในสิ่งที่เกินความจำเป็นของตนเองทุกวันให้แก่บรรดาผู้ที่มีความจำเป็นต่อการโอบอุ้มช่วยเหลือ(เป็นที่ต้องห้ามในการสำรองอาหารหรือเก็บอาหารที่เหลืออย่างมากมายเอาไว้) จากนั้นเขาได้อ่านโองการ           อัลกรุอานประโยคที่ว่า และบรรดาที่สะสมทองและเงินโดยที่พวกเขาไม่ได้ใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮ I  จงแจ้งข่าวแก่พวกเขา (พวกเขาจะได้รับ) ถึงการลงทาอันเจ็บปวด
ความจริงแล้ว อบู ซัรนั้นไม่มีความตั้งใจที่จะล้มล้างท่านคอลีฟะฮ์อุษมานเขาเป็นบ้างนักดะฮวะฮคนหนึ่งเท่านั้น คุณลักษณะของเขาเป็นวิจารณ์ที่มีความอิสระในตนเอง เขาเคยตะคอกบรรดาผู้ที่ไม่ค่อยชอบคำพูดของเขาว่า
   “ผู้ใดจะกล้าห้ามฉันไม่ให้ฉันอ่านกีตาบุลลอฮ” (การใช้หลักฐานจากอัลกรุอานที่เป็นข้ออ้างอิง)
    อบูซัร ซึ่งมีอายุย่างเข้าสู่วัยชราท่านนี้ ทำให้ท่านอุษมานคิดไปว่าเขาจะนำความแตกแยกมาสู่สังคม ท่านจึงบัญชาให้เนรเทศอบูซัรออกไปจากเมือง สู่ดินแดนอันทุรดันดารชื่อ อัรรอบาซะฮ (.. 30) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองมาดีนะฮฺ เพื่อที่ประชาชนจะไม่ได้เลื่อมใสและคล้อยตามความคิดของเขาอีก คนส่วนมากต่างก็เห็นอกเห็นใจสงสารอบูซัรผู้เฒ่าชรา ซึ่งมักจะอยู่ใกล้ชิดกับนบีตลอดมา(อิดติกัฟในมัสยิดอัลนะบะฮวี)
   แม้ว่าอบูซัรจะเคยได้รับอูฐสองตัวกับคนรับใช้อีกสองคนก็ตามวาระสุดท้ายของท่านอบูซัรก็มาถึงปีที่ 32 ของฮิจณ์เราะห์และคอลีฟะฮอุสมานก็ที่จะใช้วิธีเดียวกันนี้กับอัมมัรบุตรยาซีร ซึ่งเป็นผู้คุณธรรมยืนหยัดในสัจธรรมของศาสนา

7. สาเหตุทางศาสนา(บิดอะฮและการเปลี่ยนแปลง)
   ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานมีความแตกต่างจากท่านอบูบักรและท่านอุมัรท่านคอลีฟะฮ์อุษมานจะใช้การอิจญ์ติฮาดด้วยตนเอง ( การอิจญ์ฮาดนั้นบางทีก็ถูกต้องบางทีผิด) กระทำที่ผิดแผกไปจากการกระทำของท่านนบี   เมื่อท่านได้กระทำการทางอิบาดะฮการกระทำเช่นนั้นก็ถือว่าเป็นบิดอะฮที่คล้ายกับการกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งไม่มีใครปฏิบัติกันในสมัยของท่านนบี ในขณะที่ท่าน นบี   ได้เข้มงวดกวดขันในเรื่องนี้มากโดยกล่าวว่าทุกๆ การกระทำที่เป็นบิดอะฮนั้นจะพาไปสู่การหลงทาง(ไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางอันเที่ยงตรงตามที่ได้วางระเบียบไว้แล้วขอให้ดูหะดีษศอฮีย์ของท่านอิมามมุสลิม) ตัวอย่างหนึ่งที่ยกมาให้ได้ก็คือ ท่านได้ออกคำสั่งให้สองครั้งในการประกอบพิธีละหมาดวันศุกร์ ในขณะที่ท่านนบี  นั้นได้กำหนดให้อะซานเพียงครั้งเดียวในขณะที่อิมามขึ้นบนมิมบัรแล้วและได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในสมัยของท่านคอลีฟะฮ์อบูบักรและท่านคอลีฟะฮ์อุมัร    ดังนั้น  บรรดาศอฮาบะฮต่างพากันฉงนและงงงันต่อการปฏิบัติของท่านคอลีฟะฮ์   เมื่อถูกถาม ท่านก็ตอบว่า ผู้คนได้เพิ่มจำนวนมากสมควรที่จะอาซานสองครั้ง (นอกบริเวรของมัสยิดคือสถานที่แห่งหนึ่งชื่ออัซ เซาเราะฮใกล้กับตลาดของเมืองมาดีนะฮ ) เมื่อเป็นเช่นนี้บรรดาศอฮาบะฮฺในขณะนั้นก็ไม่ต้องการขัดขวางคำสั่งของคอลีฟะฮ์  เพราะเกรงจะเกิดความวุ่นวายขึ้น(ตามสภาพของการปกครองในขณะนั้น) นี่คือการอิจญ์สุกูตี (เงียบ หมายถึงการยอมรับ) ซึ่งท่านอิมามใหญ่อัชชาฟิอีเอง ก็ได้ปกิเสธต่อการที่จะยึดถือเป็นหลักฐานอ้างอิงในศาสนาอิสลาม    นอกจากนั้นในขณะประกอบพิธีฮัจญ์  จะเห็นว่าท่านคอลีฟะฮ์อุษมานไม่ได้ทำการละหมาดกอศ็อร(สองร็อกอะฮ) ทั้งๆที่ท่านกำลังเดินทาง(มุซาฟิร) สำหรับท่านนบีตลอดชีวิตของท่าน  ท่านได้ทำการละหมาดกอศ็อรเสมอ เช่น ในขณะที่ท่านเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์และในขระที่ท่านเดินทาง(มุวาฟิร) และการกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำที่มีเกียรติ เพราะถือว่าเป็นการสนองตอบ(ซุโกร) การประทานให้จากอัลลอฮ I  ถือว่าเป็นรางวัลอย่างหนึ่ง (รุดเซาฮ การผ่อนปรน) ทางศาสนา(แม้ว่าจะไม่วายิบก็ตาม) เมื่อถูกถามว่า ทำไมท่านจึงปฏิบัติเช่นนั้น ท่านก็ตอบว่า ในขณะการเดินทางนั้นท่านได้นิยาต(ตั้งใจ) จะอยู่ (มุกีน) ในมักกะฮ  การกระทำของคอลีฟะฮฺ เช่นนี้ย่อมไม่ถูกต้อง ในขณะที่การกระทำของท่านทั้งหมดนั้น ย่อมอยู่ในสายตาของประชาชาติมุสลิมโดยทั่วไป
   ในขณะเดียวกันในเรื่องเกี่ยวกับซะกาตนั้น ท่านอุสมานได้กำหนดว่าต้องจ่ายซะกาตม้า ขณะที่ในสมัยของท่านนบี  ท่านคอลีฟะฮ์อบูบักรและท่านคอลีฟะฮ์อุมัร ได้ละเว้นไว้ (ม้านั้นถือว่าเป้นพาหนะที่ว่องไวรวดเร็วสำหรับใช้ในการสงครามในหนทางสะบีลิลลาฮฺ และทำหน้าที่รักษาชายแดน) และอีกเรื่องที่สร้างความวุ่นวายใจแก่บรรดาศอฮาบะฮ โดยเฉพาะซัยยิดะฮห์  อาอีชะฮิคือการที่คอลีฟะฮ์ ได้อนุญาตให้อัล หะกัมบุตรรอบี อัลอัซ(บิดาของมัรวาน) กลับมาอาศัยอยู่ที่มาดีนะฮฺอีกทั้งๆ ที่เมื่อก่อนนี้เขาถูกท่านนบีเนรเทศขับไล่ไปสู่ฏออีฟ  (  ตั้งอยู่ไกลออกไป 88 กม. จาก       มักกะฮฺ ทางทิศตะวันออกและไกลจากตัวเมืองมาดีนะฮฺออกไป 536 ..) เพราะนบี ไม่ชอบอุปนิสัยของเขาอย่างยิ่ง เพราะเขาชอบนำความลับของท่านนบี  มาเปิดเผย ท่านนบีจึงไม่ต้องการจะเห็นอัล หะกัม อยู่ในเมืองมาดีนะฮฺ อีกต่อไป
   เมื่อท่านนบีสิ้นชีวิตแล้ว หะ กัมได้เข้าไปพบท่านคอลีฟะฮ์อบูบักร เพื่อขออนุญาตไปอยู่มาดีนะฮฺ  แต่คอลีฟะฮ์อบูบักรไม่อนุญาต เพราะท่านเป็นศอฮาบะฮฺที่ใกล้ชิดกับท่านศาสดาและให้เกียรติต่อคำสั่งของท่านนบี   ทั้งที่มีชีวิตอยู่หรือในตอนที่ท่านได้จากไปแล้วเมื่อคอลีฟะฮ์อุมัรเป็นคอลีฟะฮ์    หะกัมก็ได้ขออนุญาตจากคอลีฟะฮ์อีกครั้งหนึ่ง ในคราวนี้เขาได้ถูกเนรเทศไกลไปอีกกว่าเดิม คือทางตอนใต้ของยะมันและ  เมื่อคอลีฟะฮ์อุษมานเป็นคอลีฟะฮ์  ท่านกลับเปิดไฟเขียวให้แก่ อัลหะกัม  เรื่องนี้บรรดาศอฮาบะฮ ต่างไม่สบายใจเป็นอย่าบงมาก เป็นการชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงการให้อภิสิทธิ แก่เผ่าแก่สายตระกูลของบนีอุมัยยะฮฺ  เป็นคำสั่งที่เสนอและออกมาจากคอลีฟะฮฺ ซึ่งการกระทำของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานเช่นนี้ย่อมมาจากเหตุผลของตนเองทั้งสิ้น เมื่อถูกถาม ท่านก็ตอบว่า ท่านนบี   เองก็ได้อนุญาตเรื่องนี้ก่อนที่ท่านจะสิ้นชีวิตแต่ในตอนนั้น อัล หะ กัมยังไม่มีโอกาสเดินทางกลับมาดีนะฮฺแล้วท่านก็ได้สิ้นใจเสียก่อน

8.สาเหตุจากภายนอก
   ฟิตนะฮจากอับดุลลอฮบุตรซอบะอ ความว้าวุ่นใจ และความคิดในแง่อคติที่มีต่อกัน ตลอดจนเสียงสท้อนที่ดังออกมา อันเนื่องมาจากความเกลียดชังต่อการกระทำของคอลีฟฟะฮ์ ได้ยินไปทั่วทุกหนทุกแห่งในสังคมมุสลิมในสมันนั้นสถานการณ์เช่นนี้ย่อมเป็นโอกาสดีแก่ศัตรู ในการที่จะฝังเข็มร้ายที่จุ่มยาพิษลงไปในขณะนั้น  ได้มีผู้นำคนใหม่ได้อุบัติขึ้นในหมู่ประชาชาติมุสลิมที่ชื่อว่าอับดุลลอฮ บุตรซอบาอ หรือที่รู้จักกันในนาม อิบนุ อัซเซาดาอ (กาฬบุตร) ก่อนนี้เขานับถือศาสนาจูดายถิ่นเดิมจากศ็อนอา ยะมัน เขาเพิ่งเข้าอิสลามในช่วงสมัยการปกครองของท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน การเข้ารับอิสลามของเขาไม่มีจุดประสงค์ นอกจากความพยายามที่จะทำลายศาสนาอิสลาม และประชาชาติมุสลิมจากภายใน
   ในขณะนั้นเขาเห็นว่า ส่วนหนึ่งจากบนีฮาชิม(ครอบครัวของนบี) ต่างถือว่าสิทธิของคอลีฟะฮ์  เป็นสิทธิของครอบครัวเท่านั้น ในเวลาเดียวกันชาวบนีอุมัยยะฮฺ ต่างก็แสวงหาความร่ำรวย ภายใต้อำนาจของคอลีฟะฮ์ อุษมาน  เป็นบุคคลแรกที่มาจากบนีอุมัยยะฮ ที่ได้เป็นคอลีฟะฮ์  และตำแหน่งนี้ควรจะสงวนไว้แก่พวกของตนต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด นับว่าเป็น   โอกาสเหมาะแก่        อับดุลลอฮฺ บุตรซาบาอฺ ที่หาช่องทางสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิมีนด้วยกันเอง และสร้างความอ่อนแอให้เกิดขึ้น เขาเห็นว่าอาลีบุตรอบีฏอลิบ ผู้เป็นบุตรเขยของท่านนบีนั้นถูกล่วงล้ำสิทธิความเป็นคอลีฟะฮ์ เขาจึงรีบเข้าข้างอาลีเพื่อกู้หน้าแทนตระกูลของท่าน
   อิบนุ ซอบาฮฺ จึงได้กระจายเชื้อแห่งการฟิตนะฮฺไปสู่เมืองบัศเราะฮฺ ซีเรีย (ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาถูกขับไล่) จากนั้นก้แผ่ไปยังอียิปต์ ในอียิปต์เขาได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมาก เขากระจายข่าวออกไปว่า ก่อนที่ท่านนบี  จะสิ้นใจนั้นท่านนบีเคยสั่งเสียให้ท่านอาลีเป็นผู้สืบทอดแทนท่าน ฉะนั้นท่านอาลีจึงเป็นผู้สืบแทนท่านนบี   อย่างถูกต้องและในขณะเดียวกัน ท่านอาลีก็เป็นผู้ช่วยที่มีความใกล้ชิดสนิทใกล้กับท่านนบี เช่นเดียวกับนบีฮารูนที่ใกล้ชิดสนิทใกล้กับนบีมูซา(อลัยฮิสซะลาม) ฉะนั้นในขณะนี้ จึงถือว่าท่านคอลีฟะฮ์อุษมานนั้นเป็นผู้ล่วงล้ำสิทธิความเป็นคอลีฟะฮ์ของท่านอาลี เขายังได้พกพาคำสอนรอจอะฮฺ (การกลับคืนมา) มาเผยแผ่ด้วย โดยเขายังกล่าวอีกว่า      นบีอีซาจะต้องกลับมาเยือนโลกมนุษย์อีกครั้งหนึ่งและนบีมุฮัมมัดก็เช่นเดียวกันอับดุลลอฮฺ บุตร ซาบาอฺคนนี้ยังแต่งหะดีษปลอมขึ้นมาอีกมากและยังได้เขียนหนังสือเวียน โดยใช้ชื่อของบรรดา สอฮาบะฮฺนบีลงท้ายในใจความของจดหมายเวียนเหล่านั้น
   กาฬบุตรผู้นี้ ได้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มของพวกตนนั้นเป็นทาสรับใช้ของอัลลอฮ I ที่มีความซื่อสัตย์ยิ่งนัก มีความดีงาม และมีความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง แต่เขาได้สร้างภาพลักษณ์ไม่ดีให้แก่คอลีฟะฮ์อุษมานตลอดจนบรรดาผู้ที่สนิทชิดชอบทั้งหลายว่าเป้นบุคคลไม่มีศอลิฮฺ และมีหัวรุนแรง เขาออกหน้าในการสนับสนุนอบู ซัร ( สังนิยมอิสลามที่มีความคิดก้าวหน้า) และเขายังกล่าวว่าอะลี ฏ็อลฮะฮฺ และศอฮาบะฮิอัซซุบัยร์ นั้นได้สนับสนุนการต่อสู้ของเขา และยังพูดต่อไปอีกว่า ทั่วอาณาจักรอิสลามตอนนี้กำลังตกอยู่ในความระส่ำรสาย และประชาชนต่างก็ต้องการให้เปลี่ยนแปลงคอลีฟะฮ์ท่านใหม่
            ตามความคิดของด๊อกเตอร์ฏอฮา หุเซน ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรคาดหวังว่าอิทธิพลของอิบนุซอบาอฺนั้น จะเป็นที่ยอมรับของประชาชาติมุสลิมทั้งหลาย เพราะเขาเพิ่งเข้ารับอิสลามเท่านั้น และตามหัวเมืองใหญ่ๆ ก็ยังมีศอฮาบะฮฺนบี และบรรดานักศาสนาที่รู้จักแยกความเท็จความจริงในสถานการณ์ขณะนั้นได้ อีกทั้งอับดุลลอฮฺ บุตรซอบาอฺนี้เดิมมาจากคนเชื้อชาติยิว(ศัตรูของอิสลาม) ขณะเดียวกันอัลอุสตาซ อับบาสมะห์อัลอัก ก็เห้นว่าฟิตนะฮฺที่เกิดขึ้นโดยอิบนุซอบาอฺนี้ ไม่ช่สาเหตุใหญ่ในฟิตนะฮฺอัล กุบรอ แต่เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่เป็นการฉกฉวยโอกาสเข้าร่วมมีบทบาท ในขณะที่เห็นว่าสถานการณ์ของรัฐอิสลามขระนั้นเกือบจะเข้าขั้นวิกฤติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น