เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คอลีฟะฮ “อบูบักร”ตอนที่ 3 โดยละเอียด ข้อบิดเบือนของชีอะฮต่ออบูบักร และ กำเนิดชีอะฮฺ และ วาระสุดท้ายของคอลีฟะฮ์อาบูบักร



ติดตามเคาะลีฟะ อุมัร ต่อไป

โดยอาจารย์ รอฟลี แวหะมะ อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา  มอ.ปัตตานี ชำนาญการด้านประวัติศาสตร์อิสลาม โดยเฉพาะ

3. ข้อบิดเบือนของชีอะฮต่ออบูบักร


กำเนิดชีอะฮฺ


            ชีอะฮฺ" เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า พรรค พวก กลุ่ม ฝ่าย นี่คือความหมายของศัพท์นั้น ต่อมาภายหลัง คำนี้กลายเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้กับกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งคือ " ชีอะฮฺ อะลี " -พวกที่เข้าข้างท่านอะลีและลูกหลานของท่าน ต่อมาได้ผันแปรกลายมาเป็นแนวความคิด หรือมัซฮับ-แนวทางหนึ่งในอิสลาม
" อะลี " ในที่นี้หมายถึง ท่านอะลี อิบนุ อบูฏอลิบ เคาะลีฟะฮฺท่านที่ 4 ในเคาะลีฟะฮฺสี่ท่านแรกของอิสลาม
ท่านอะลี เป็นลูกพี่ลูกน้องของท่านนบี  (ลูกของลุง) ขณะที่ท่านนบี  เริ่มเผยแผ่อิสลามใน ค..610 นั้น ท่านอะลียังเป็นเด็กอยู่ และเป็นเด็กคนแรกที่เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม ต่อมาแต่งงานกับท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บุตรของท่านนบี  ได้บุตรชายด้วยกัน 2 คน คือ ฮะสัน (สิ้นชีวิต ฮ..41 หรือ ค..662) และฮุสัยนฺ (สิ้นชีวิต ฮ..61 หรือ ค..682)
" ชีอะฮฺ " หรือ " ชีอะฮฺของอะลี " แพร่หลายอย่างกว้างขวางในดินแดนอิรักและอิหร่าน ซึ่งเคยเป็นดินแดนที่ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของจักรพรรดิแห่งวงศ์ซาซาน (.. 226-651) ซึ่งเป็นราชวงศ์ของเปอร์เซียที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก แต่ต่อมาเสื่อมโทรมจนนักรบมุสลิมสามารถไปปกครองได้ ภายการนำของแม่ทัพ สะอัด อิบนุ อบู วักกอศ (. ..670) โดยสามารถเข้าครอบครองเมืองหลวงเซซิโพน (มะดาอิน) ในปี ค..637 ในสมัยเคาะลีฟะฮฺอุมัร อัล-ค็อฏฏอบ
            ชีอะฮฺได้แพร่หลายอย่างกว้างขวางในดินแดนที่เคยอยู่ใต้การปกครองของวงศ์ซาซาน ทั้งในหมู่ชนชั้นผู้ดีและสามัญชน อันเนื่องจากมีเบื้องหลังของประวัติศาสตร์ดังที่จะกล่าวต่อไป
ท่าทีของพวกชีอะฮฺที่เข้าฝ่ายท่านอะลี และต่อมาได้บูชาลูกหลานของท่านอะลีโดยเฉพาะท่านฮุสัยนฺนั้น เนื่องจากมีเบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในสมัยการยึดครองของนักรบมุสลิมที่มีต่ออาณาจักรเปอร์เซีย
ในขณะที่กองทัพมุสลิมสามารถยึดเมืองหลวงเซซิโพนในปี 637 (..16) ได้ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเปอร์เซียที่จักรวรรดิ์โรมันไม่เคยมีความสามารถถึงขนาดนี้ทั้งๆ ที่เคยรบกันมาเป็นศตวรรษ ครอบครัวของจักรพรรดิเปอร์เซีย (คุสโร เยสเดอ-เกิร์ดที่ 3) และครอบครัวของข้าราชบริวารอื่นๆ ไม่สามารถหนีตามจักรพรรดิของตนออกไปให้พ้นมือมุสลิมได้ จนกลายมาเป็นเชลยศึก ประเพณีของยุคสมัยนั้น ไม่ว่าฝ่ายเปอร์เซียหรือโรม (ไบแซนติน) มีการซื้อขายเชลยศึกเยี่ยงทาส
               ธิดาของจักรพรรดิคุสโร เยสเดอเกิร์ดที่ 3 พระองค์และวงศาคณาญาติชั้นสูงนั้น แม่ทัพสะอัด อิบนุ อบู วักกอศ ได้ส่งไปยังมะดีนะฮฺ ท่านอะลีได้ขอซื้อธิดาของจักรพรรดิเปอร์เซียทั้ง 3 พระองค์เป็นกรรมสิทธิของตน ท่านอุมัรอนุมัติ ท่านอะลีจึงได้ปลดปล่อยธิดาทั้ง 3 พระองค์นั้นให้เป็นไท (อิสระ) และจัดการให้แต่งงานกับ
1. มุฮัมมัด บุตรของอบูบักรฺ (พี่ชายคนโตของท่านหญิงอาอิชะฮฺ)
2. อับดุลลอฮฺ บุตรของท่านเคาะลีฟะฮฺอุมัร
3. ฮุสัยนฺ บุตรของท่านอะลีเอง
               พฤติการณ์ของท่านอะลีที่จัดการแต่งงานธิดาของจักรพรรดิปอร์เซียทั้งสามพระองค์นั้นสร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่ชาวอิรักและชาวเปอร์เซียเป็นอย่างยิ่ง
                ฮุสัยนฺมีบุตรกับธิดาของจักรพรรดิเปอร์เซียคนหนึ่งชื่อ อะลี ซัยนุล-อาบิดีน (. ..713) ด้วยการกำเนิดอะลี ซัยนุล-อาบิดีน นี้เองทำให้ชาวอิรักและเปอร์เซียภาคภูมิใจอย่างยิ่ง และรู้สึกว่าพวกตนมีคุณค่ามากขึ้นเนื่องมาจากอะลี ซัยนุล-อาบิดีนเป็นเลือดผสมระหว่างทายาทของคุสโรแห่งเปอร์เซียกับทายาทของท่านนบีมุฮัมมัด
                 การเข้าเป็นฝ่ายอะลีเห็นได้ชัดขึ้น เมื่อเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเคาะลีฟะฮฺอะลีกับฝ่ายมุอาวิยะฮฺ
                ในหนังสือประวัติศาสตร์อิสลาม (ตารีคุล-อิสลาม) เล่ม 2 ฉบับพิมพ์ปี 1948ของมุฮัยยิดดีน อัล-ค็อยยาต หน้า 78 ระบุว่า สงครามกลางเมืองคราวนั้นฝ่ายท่านอะลีเสียชีวิตประมาณ 35,000 คน ฝ่ายมุอาวิยะฮฺเสียชีวิต 45,000 คน นักรบฝ่ายเคาะลีฟะฮฺอะลีนั้น นอกจากเป็นชาวอาหรับจากแหลมอารเบียแล้ว ยังมีคนที่อยู่ในดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้อาณาจักรเปอร์เซียจำนวนมากอีกด้วย
                เมื่อมีการประชุมเพื่อพิจารณาและตัดสิน (ตะหฺกีม) ปัญหาเคาะลีฟะฮฺ 2 คนในเดือนเราะมะฎอน ฮ..37 (..657) ทำให้ฝ่ายท่านอะลีแตกออกเป็น 2 พวก
           1. พวกเคาะวาริจญ์ เป็นพวกที่ไม่ยอมรับและไม่รับรองทั้งสองฝ่ายที่เป็นคู่กรณี คือฝ่ายอะลี กับฝ่ายมุอาวิยะฮฺ พวกเขาจึงประกาศตัวเป็นกลุ่มอิสระที่ไม่ผูกพัน และไม่ยอมก้มหัวให้แก่ฝ่ายใด พวกนี้ต่อมาได้แพร่หลายจนกลายเป็นแนวคิด (มัซฮับ) หนึ่งในอิสลาม
           2. พวกชีอะฮฺ เป็นพวกที่สนับสนุนท่านอะลีตามเดิม หลังจากที่ได้เห็นความถูกต้องของฝ่ายท่านอะลีในเหตุการณ์ที่สิฟฟีน และเหตุการณ์สภา " ตะหฺกีม " ล้มเหลวลง พวกดังกล่าวนี้ประกอบด้วยพวกที่อยู่ในดินแดนอิรักและอิหร่าน (เปอร์เซีย) ความลุ่มหลงต่อท่านอะลีนั้นมีมากยิ่งขึ้นหลังจากที่ฝ่ายเคาะวาริจญ์ได้ลอบสังหารท่านอะลีใน ฮ..40 (..661)
             ชีอะฮฺภายหลังได้กลายมาเป็นแนวความคิด (มัซฮับ) ในศาสนาอิสลามเช่นกัน หลักการสำคัญที่สุดในแนวความคิดชีอะฮฺก็คือ สิทธิแห่งความเป็นผู้นำสูงสุด นั้นเป็นของผู้ที่สืบสันดานมาจากท่านอะลีเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สืบสันดานจากท่านอูสัยนฺ บุตรของท่านอะลี
นี่คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นมาของพวกชีอะฮฺ ซึ่งต่อมาได้แตกแยกกันอีกเป็นหลายพวกหลายฝ่าย แต่ละฝ่ายมีทัศนะและคำสอนต่างกันอย่างมากมาย
           ชีอะฮฺบางพวกกระเด็นออกจากแนวของอิสลามสุดกู่ถึงขนาดเชื่อว่า ท่านอะลีเป็นพระเจ้า หรือพระเจ้าอวตารมาในร่างกายของท่านอะลี      
             พวกที่ยังไม่ห่างไกลจากอิสลามก็คือ พวกซัยดียะฮฺ พวกอิมามียะฮฺ (ถืออิมามเพียง 6 คน) และพวกอิษนาอะชัร (นับถืออิมาม 12 คน)
        
ความเชื่อของชีอะฮ
         ชีอะฮเชื่อว่า อัลกุรอานที่พี่น้องมุสลิมมีอยู่ในครอบครองทุกวันนี้ไม่ใช่ฉบับดั้งเดิม ( ดูหนังสือ ฟัซลุล คิตอบ ฟีย์ ตะฮรีฟ กาตาบิ ร็อบบิล อัรบาบ  เขียนโดย ท่านต็อบรอซีย์ อุลามาอ์ชีอะฮ )
                                                                                                                    ( อุมมุ ฮานี :126 )
            ชีอะฮเชื่อว่า อัลลอฮโง่ไม่รู้สภาพของพระองค์เอง
            ชีอะฮเชื่อเรื่อง การแต่งงานมุตอะห์ และเชื่อว่าใครทำแล้วมีผลบุญมากมาย
            ชีอะฮบอกว่า อนุญาตให้เช่าอวัยวะเพศได้
            ชีอะฮบอกว่า อนุญาตให้สำเร็จความใคร่ทางทวารหนักได้
            ชีอะฮเชื่อว่า ต้องส่งเสียงร้องโอดครวญ ฉีกเสื้อผ้า ชกหน้า เพื่อเป็นการไว้อาลัยให้กับท่านซัยยิดินาหุเซน รอฎิยัลลอฮุอันฮุ
            หลักตะกียะห์ ( อำพราง )ถือว่ามีเกียรติสำหรับชาวชีอะฮ
            ชีอะฮเชื่อว่า อาลีเป็นคอลีฟะห์คนแรก เป็นพระเจ้า
             ฯลฯ

ท่าทีของชีอะฮฺที่มีต่อเศาะหาบะฮฺ
           ความเชื่อของชาวชีอะฮฺที่มีต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี โดยหลักๆ แล้วมีดังนี้คือ :
           -หลังการวะฟาต (สิ้นชีวิต) ของท่านนบี เศาะหาบะฮฺของท่านได้กลายเป็นผู้ปฏิเสธไปหมด นอกจากสามคนเท่านั้นคนเหล่านี้ได้แก่ มิกดาด, อบูซัรฺและซัลมาน (ฟุรุอฺ อัล-กาฟีย์เล่ม 3 หน้า 115, ฮายาต อัล-กุลูบ เล่ม 2 หน้า 600, บิฮารฺอัล-อันวารฺ หน้า 46)
-อัล-มัจญ์ลิซิ นักปราชญ์ชีอะฮฺนามกระเดื่องให้ทัศนะเพิ่มเติมว่า :
     “เมื่ออิมามอัล-มะฮฺดีปรากฏตัวแล้ว ท่านจะสั่งให้ทุบทำลายผนังรอบกุโบรของนบี จากนั้นท่านจะสั่งการให้เคลื่อนย้ายร่าง (ศพ) ของอบูบักรและอุมัรออกจากหลุมศพของพวกเขา แล้วเปลื้องผ้าห่อศพออก และแขวนร่างของพวกเขาบนต้นไม้แห้ง” (ฮายาต อัล-กุลูบ เล่ม 1 หน้า 216)
         -ตามความเชื่อของชาวชีอะฮฺ บรรดาเศาะหาบะฮฺทั้งหมดที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาอัล-กุรฺอานเอาไว้ในยุคแรกๆ นั้นล้วนตายไปในสภาพของผู้ไร้ศรัทธาทั้งสิ้น ในเมื่อบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ดูแลรักษาอัล-กุรฺอาน จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่จะทำให้เราคิดว่าชาวชีอะฮฺเชื่อถืออัล-กุรฺอานเล่มนี้เหมือนกับพวกเราชาวอะหฺลุซซุนนะฮฺ สำหรับหะดีษและประวัติศาสตร์อิสลามทั่วไปยิ่งแล้วกันใหญ่ พวกเขาไม่เชื่อถือมันอย่างแน่นอน

ข้อบิดเบือนของชีอะฮต่ออบูบักร

1.อบูบักรไม่ใช่คอลีฟะฮคนแรก     
     
          ชาวชีอะฮฺเชื่อว่าตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ (ผู้สืบทอดอำนาจการปกครองเหนือบรรดามุสลิม) เป็นสิทธิของอิมามผู้บริสุทธิ์และปราศจากความบาปทั้งมวลเหมือนกับนบีไม่ มีผิด การเชื่อฟังอิมามเป็นภาระที่มุสลิมจะต้องกระทำ อิมามได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ ศุบหฯ และจากคุณสมบัติดังกล่าวของอิมาม อิมามจึงเป็นเคาะลีฟะฮฺของบรรดามุสลิม แต่ท่านอบูบักรฺ ซิดดีก ท่านอุมัรฺและท่านอุษมาน รอฎิฯล้วนขึ้นสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺโดยการบัยอะฮฺ (การให้สัตยาบันแสดงการยอมรับในตัวผู้นำ) ของประชาชน สิ่งสำคัญที่ควรจะให้ความสังเกตุ ณ ที่นี้ก็คือว่า ท่านอะลี รอฎิฯ เสนอบัยอะฮฺให้กับเคาะลีฟะฮฺสามคนก่อนหน้าท่าน (คือท่านอบูบักร อุมัรและอุษมาน รอฎิฯ) ด้วยความสมัครใจและจากความยินดี สำหรับชาวชีอะฮฺแล้ว ในบรรดาเคาะลีฟะฮฺสามคนนี้ไม่มีใครสักคนที่บริสุทธิ์และปราศจากบาปเช่นนบีของพระเจ้า ดังนั้นท่านทั้งสามจึงไม่มีความเหมาะสมสำหรับตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺแต่อย่างใ ด
          ความเป็นจริงในเรื่องนี้ท่านอลีย์ได้มองเห็นแล้วว่าหากท่านขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์ในตอนนั้นความสับสนปั่นป่วนในรัฐจะต้องเกิดขึ้นแน่  การปะทะกันระหว่างพี่น้องมุสลิมกับพี่น้องมุสลิมจะต้องเกิดขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง  เลือดจะนองแผ่นดินและพวกที่นิยมอบูบักรก็มีอยู่มากมาย แต่พวกที่สนับสนุนท่านมีอยู่เพียงนิดเดียว

2.เป็นกาฟิร และศัตรูของอิสลาม
            ตามรายงานหะดีษของชาวชีอะฮฺหลายกระแส เคาะลีฟะฮฺสามท่านแรกไม่เพียงจะตายในสภาพของการเป็นกาฟิรฺ (ผู้ปฏิเสธ) เท่านั้น แต่พวกเขายังเป็นศัตรูตัวฉกาจของอิสลามอีกด้วย :                
        “อัล-มะฮฺดีจะสั่งให้มัดอบูบักรฺและอุมัรฺเข้ากับต้นไม้ แล้วจะสั่งให้ไฟลุกโพลงขึ้นจากพื้นดิน และเผาผลาญร่างกายของพวกเขาจากนั้นท่านจะสั่งให้ลมหอบเอาเถ้าธุลีของพวกเขาไปทิ้งในแม่น้ำจากเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็นท่านจะประหารเคาะลีฟะฮฺทั้งสองนับพันครั้ง แล้วทั้งสองจะถูกทำให้ฟื้นชีวิตขึ้น และอัลลอฮฺจะโยนพวกเขาไปในบริเวณที่พระองค์ทรงประสงค์ (ฮักกฺ อัล-ยากีน หน้า 217)
           สำหรับชาวชีอะห์แล้ว  ท่านอบูบักร  คือศัตรู ตราบใดที่ท่านเป็นศัตรู  ท่านก็ยังคงถูกมองว่ามีความชั่วช้าโดยสันดาน  และความผิดพลาดเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากการวินิจฉัยของท่านได้
                                      ( มูฮัมมัด  อัล- คิดิร:53 )
            อัลมัจลีซี ได้กล่าวไว้เป็นภาษาเปอร์เซีย  แปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า ได้มีกล่าวไว้ในหนังสือตั้กรีบุลมะอกรัฟว่า  คนรับใช้ของอาลีอิบนุลฮุเซน  ได้กล่าวแก่อาลี  อิบนุฮูเซ็นว่า  ฉันมีหน้าที่รับใช้ท่าน ขอท่านได้บอกให้ฉันทราบเกี่ยวกับอบูบักรและอุมัรด้วย ? อะลี อิบนุฮูเซ็นได้กล่าวว่า เขาทั้งสองนั้นเป็นกาฟิรไปแล้ว  ซึ่งคนที่รักเขาชอบเขาทั้งสองก็เป็นกาฟิรด้วย

3.เรียกอบูบักรว่าฟิรอูน

           มีรายงานจากหะดีษจำนวนหนึ่งระบุว่า ท่านอะลีและบรรดาอิมามทั้งหลายเรียกขานอบูบักรว่าฟิรฺอูน เรียกอุมัรว่าฮามาน และเรียกอุษมานว่ากฺอรูนของอุมมะฮฺนี้ (ฮายาต อัล-กุลูบ เล่ม 4 หน้า 328)
            อัลอัลลามะฮ์ มุฮัมมัด อัลบากิร อัลมัจลีซี ได้กล่าวไว้เป็นภาษา ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า  แท้จริงอะบาบักร์(อบูบักร)และอุมัรนั้นทั้งสองก็คือ(เทียบเท่า)ฟิรเอาน์และฮาบาน
(หนังสืออัลกุลยะกีล ของอัลมัลลีซี:367)
            อัลมัจลีซีได้กล่าวไว้อีกว่า (มุฟัฏฏ็อลได้ถามเขาเกี่ยวกับฟิรเอาน์ และฮามานในโองการนี้  ว่าเป็นใคร  เขาตอบว่าจุดมุ่งหมายของทั้งสอง ก็คือ อบูบักรและอุมัร
                       
4.กล่าวหาว่าเป็นซาตาน
         มักบูล  อะหมัด  กล่าวไว้ในการแปลอัลกุรอ่านเป็นภาษาอุรดูแปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า
          สรุปแล้วว่า  เรื่องนี้มิใช่เป็นเรื่องใหม่  แต่ทว่าความจริงอัลลอฮ์มิได้ส่งร่อซูลท่านใดหรือผู้พูดท่านใด  นอกจากได้ให้ซาตานเข้าสิงอยู่ในหัวใจของเขา  ตามที่เขาปรารถนาที่จะทำความชั่ว  ดังเช่นที่นี่  พระองค์ทรงส่งซาตานมาสองตัวที่เป็นพวกพ้องของซาตานนั้นแหละทั้งสองนั้นคือ อบูบัก อุมัร             (คำแปลอัลกุรอ่านของมักบูล:674)

5.เป็นเจว็ด
           ท่านหญิงฮัฟเซาะฮฺ ภริยาของท่านนบี ซึ่งเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาอัล-กุรฺอานเล่มแรกที่ถูกเขียนขึ้นในสมัยของท่านอบูบักร รอฎิฯเป็นอีกผู้หนึ่งที่ถูกใส่ร้ายป้ายสี เช่นเดียวกับท่านหญิงอาอิชะฮฺ ภริยารักอีกคนหนึ่งท่านนบี :
       “เราควรจะเกลียดชังเจว็ดทั้งสี่ ซึ่งได้แก่อบูบักร, อุมัร, อุษมานและมุอาวิยะฮฺ และนางทั้งสี่ ซึ่งได้แก่ อาอิชะฮฺ, ฮัฟเซาะฮฺ, ฮินดฺและอุมมฺ อัล-หะกาม(ฮักกฺ อัล-ยากีน หน้า 685)


6.ผู้กุความเท็จ

          พวกชีอะห์  กล่าวว่า  ท่านอบูบักรเป็นผู้กุความเท็จ   ให้แก่อิหม่าม  อบุล  หะซัน  อาลี  อิบนิมุฮัมมัด  อิบนิอาลี  อิบนิมูซา  ว่าเป็นผู้ที่เรียกว่าท่านอบูบักร ว่าเป็น อัลญิบติ  และ  อัฏฏอฆู๊ต  หมายถึง  เจว็ด(คำสองคำนี้ชีอะห์ใช้ในดูอาของพวกเขาที่เรียกว่า  ดุอาอ์  ซ่อนะมัยกุเรซ”)
(อัซซัยยิด มูฮิบบุดดีน อัลค่อฏีบ:28)

7.อบูบักรเคยไปดูดวง


      มีปรากฎการณ์ในหนังสือ หัมลละฮ์ หัยดะรีญ์ ของบาซิล อีรานีย์  ซึ่งชาวซีอะฮ์ถือว่าเป็นหนังสือที่บันทึกประวัติศาสตร์อิสลามไว้อย่างถูกต้องที่สุด และมีชื่อเสียงที่สุด หน้า 14 กล่าวว่า ท่านอบูบักร์ก่อนเข้ารับอิสลามเคยไปหา โหร (หมอดู) ซึ่งทำนายว่า ถ้าท่านเข้ารับอิสลามแล้วจะดัง

8.อบูบักรกล่าวกะลีมะฮ์เตาฮีดตามคำแนะนำของยิว

           อัลลมามะฮ์ บากิร มัจญ์ลิสีย์ ได้เขียนไว้ในหนังสือรีสาละฮ์ ร็อจญอียะฮ์ว่า
อิมามคนที่ 12 (อิมามมะฮ์ดีย์)ได้กล่าวว่า เขา(อบูบักร์)ได้กล่าวกะลีมะฮ์เตาฮีดตามคำแนะนำของยิวด้วยความโลภและความหวังว่าบางทีท่านนบีฯศ็อลฯจะมอบการปกครองและอำนาจให้แก่เขาแต่ในใจของเขาเป็นกาฟิร (ดูหนังสือ"อายาต บัยยินาต" ของ   นาวบ มุห์สิน อัลมุลก์หน้า 82 85 และ
86อ้างแล้วจากหน้าที่ 47 48)
        
9.อบูบักรสืบเชื้อสายมาจากกาฟิร
          สายซุนนีสืบเชื้อสายมาจากบรรดาเศาะฮาบะฮ์ท่านต่างๆอันหลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสืบเชื้อสายมาจากบรรดากาฟิร ซินดีก มุนาฟิก เช่น อบูบักร ผู้มีความผิดพลาดในทางศาสนาและชีวิตอย่างมหันต์
          อัลมัจลีซี ได้กล่าวไว้เป็นภาษาเปอร์เซีย  แปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า  อะบูฮัมซะ อัตตะฆาลี  ได้รายงานว่า  เขาได้ถามอีหม่าม  ซัยนุ้ลอาบีดีน ถึงสภาพของอบูบักร  และอุมัรว่า เป็นอย่างไร ? เขาตอบว่า ทั้งสองนั้นเป็นกาฟิรและใครที่สนับสนุนเขาส่งเสริม เขาทั้งสองก็เป็นกาฟิรด้วย  ในเรื่องนี้มีฮะดีษกล่าวไว้มากมายในหนังสือต่าง ๆ ส่วนใหญ่ถูกกล่าวไว้ในหนังสือ  บิฮารุลอันวาร



10.อบูบักรเป็นซาตาน


            มักบูล  อะหมัด  กล่าวไว้ในการแปลอัลกุรอ่านเป็นภาษาอุรดูแปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า
      สรุปแล้วว่า  เรื่องนี้มิใช่เป็นเรื่องใหม่  แต่ทว่าความจริงอัลลอฮ์มิได้ส่งร่อซูลท่านใดหรือผู้พูดท่านใด  นอกจากได้ให้ซาตานเข้าสิงอยู่ในหัวใจของเขา  ตามที่เขาปรารถนาที่จะทำความชั่ว  ดังเช่นที่นี่  พระองค์ทรงส่งซาตานมาสองตัวที่เป็นพวกพ้องของซาตานนั้นแหละทั้งสองนั้นคือ อบูบัก อุมัร    
(คำแปลอัลกุรอ่านของมักบูล:674)       (นี่หรือ..อะกีดะห์ของชีอะห์)

              อัลกอบี  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  ตัฟซีรของเขาอีกว่า  ซาฮานได้เข้าไปสิงอยู่ในจิตใจของเขา  หมายถึงอบูบักรและอุมัร (ตัฟซีรอัลกอมี:259)

11.กล่าวหาว่าอบูบักรมีตำแหน่งเป็นวัว ( ผู้ติดตาม )

            อัลอัลมะฮ์ มุฮัมมัด อัลบากีร อัลมัจลีซี  ได้กล่าวเป็นภาษาเปอร์เซีย  ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า (ซัยมานได้กล่าวว่า  ผู้คนได้มากศาสนาหลังจากท่านร่อซูล(ได้จากไป) ยกเว้นสี่คน  และผู้คนได้กลายเป็นเหมือนกับตำแหน่งฮารูณ (นบีฮารูณ) และบรรดาผู้ติดตาม  และคล้ายกับวัวและผู้ที่เคารพบูชาวัว  และปรากฏว่า  อะลีนั้นเป็นตำแหน่งฮารูณ  ส่วนอบูบักรนั้นเป็นตำแหน่งวัว  (ที่ซามีรีปั้นขึ้นมา) ส่วนอุมัรนั้นตกอยู่ในตำแหน่งอัซซามีรี)
           

12.ข้อบิดเบือนเกี่ยวกับการแปล

            มักบูล  อะห์หมัด  กล่าวไว้ในหนังสือ  แปลความหมายอัลกุรอ่านเป็นภาษาอุรดู  แปลเป็นไทยได้ความว่า
            ความหมายของคำว่า อัลฟะอะ ชาอ์ คือ อบูบักร  และความหมายของคำว่า  อัลมุงกัร  หมายถึงผู้ใหญ่คนที่สอง  คืออุมัร  ส่วนความหมายของคำว่า  อัลบัฆย์  คือท่านที่สาม  คือ อุสมาน
                                             (คำแปลกุรอ่านของมักบูล หน้า 1027 หนังสือตัฟซีรอัลกอมี)

            ฉบับที่พิมพ์ในปากีสถาน หน้า 155 คำแปลรายงานหะดีษจากหนังสือมุวัตเตาะห์ของอิหม่ามมาลิก  บรรทัดสุดท้ายปรากฏความอ่านได้ดังนี้
            “ On hearing that Abu Bakr cried bitterly and said,”Shall we survive you ?”
            แปลได้ความว่า  เมื่อได้ยินดังนั้น  อบูบักรจึงร้องไห้อย่างข่มขื่น และกล่าว่า  แล้วเราจะมีชีวิตรอดจากท่านอย่างนั้นหรือ ?“
            (หมายความว่าเราจะมีชีวิตอยู่ต่อไปภายหลังท่านจากไปแล้ว และต้องทนแบกรับความเจ็บปวด เพราะต้องพรัดพรากจากท่านได้อย่างไร)
            แปลอย่างนี้ถูกต้องแล้ว  แต่ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษที่พิมพ์ในอิหร่าน  ปรากฏว่าข้อความตรงนี้ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่คิดไม่ถึงดังนี้
            “On hearing that Abu Bakr cried bitterly and said : “We are going to alter many things after your departure.”
            ฉบับภาษาไทยที่ใช้ต้นฉบับที่พิมพ์ในอิหร่าน  ปรากฏข้อความอ่านดังนี้
               “เมื่ออบูบักรได้ยินดังนั้น  เขาได้ร้องไห้อย่างขมขื่น  และพูดว่า เรากำลังจะทำการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างหลังจากการจากไปของท่าน” (หน้า 152 ของฉบับแปลภาษาไทย)
                                                                                                (อุมมุ ฮานี :126)


7.ช่วงสุดท้ายของท่านอบูบักร
7.1  การกำหนดอูมัรเป็นเคาะลีฟะฮ์       
         
     หลังจากท่านศาสดามูฮัมมัด    ศอลลัลลอฮฮูอาลัยฮีวัสสัลลัมเสียชีวิตลงอบูบักรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเคาะลีฟะฮ์คนแรก   ในช่วงเวลาเพียง  2  ปี    ที่อบุบักรได้ดำรงตำแหน่งนี้ ท่านได้หารือกิจการสำคัญต่าง ๆ กับอุมัรเสมอโดยเฉพาะในเรื่องที่มีการพิพาทกัน      อูมัรจะได้รับการไว้วางใจให้เป็นผู้ตัดสิน   เมื่อท่านอบูบักรได้ป่วยลงท่านรู้สึกว่าชีวิตใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว     ท่านหวั่นใจว่าถ้าหากท่านละทิ้งการแต่งตั้ง การเป็นเคาะลีฟะฮ์คนที่ ต่อจากท่าน    โดยให้บรรดามุสลิมทำการปรึกษาหารือกันเอง   อาจทำให้เกิดความขัดแย้งกัน  ก่อให้เกิดผลเสียหายต่ออาณาจักรอิสลามได้   เพราะในขณะนั้นเหล่าทหารมุสลิมกำลังทำสงครามอยู่ในเปอร์เซียและแคว้นซาม  ท่านจึงพิจารณาไปยังบุคคลสองท่านด้วยกัน  คือ  อุมัร บุตร  อัลค็อฏฏ็อบ  กับอาลีบุตร อาบี ฏอลิบ  ท่านอบูบักรได้ตัดสินใจเลือกอุมัรด้วยเหตุผลหลายประการ  ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดต่อไป    แต่การตัดสินใจครั้งนี้ท่านไม่ได้ตัดสินใจเพียงลำพัง    ท่านได้ปรึกษาหารือกับอับดุลเราะฮมาน บุตร  เอาฟ  , อุษมานบุตร อัฟฟาน  และผู้อาวุโสท่านอื่น ๆ    ( อิบรอฮีม  อะซัน , 1994 : 211)           เคาะลีฟะฮ์อบูบักรรู้ดีว่าใครที่สมควรเป็นเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง    ในขณะที่อบูบักรได้แต่งตั้งอุมัรเป็นเคาะลีฟะฮ์ไม่มีใครเลยที่รู้   เขาได้รับความคิดเห็นจากบรรดาศอฮาบะฮ์เพื่อที่จะเลือกผู้นำดังกล่าว เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นในช่วงที่ท่านอบูบักรกำลังป่วยอยู่    ครั้งแรกนั้นท่านอบูบักรได้ถามความคิดเห็นของท่านอับดุลเราะฮ์มาน  บิน  เอาฟ  เกี่ยวกับการแต่งตั้งอูมัรเป็นนเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง    จากนั้นท่านอับดุลเราะฮมานได้ให้ความเห็นว่า  ท่านอุมัรเป็นผู้ที่เหมาะสมแล้วที่จะดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ต่อจากท่านอบูบักร   ไม่มีใครเทียบได้แล้วเพราะท่านเป็นคนดีอยู่แล้วโดยไม่ต้องสงสัย  แต่อุปนิสัยของท่านอูมัรนั้นจะเป็นคนใจร้อนและเข้มงวดมากเกินไป       ดังนั้นนั้นท่านอบุบักรก็ได้กล่าวว่าถ้าหากว่าท่านอุมัรได้รับภาระไว้บนบ่าแล้ว        เขาอาจจะเปลี่ยนเป็นคนอ่อนโยนก็ได้ “     ท่านอับดุลเราะฮมานก็เห้นด้วยกับท่านอบูบักร              วันรุ่งขึ้นท่านอบูบักรได้เรียก  อุสมาน บิน  อัฟฟาน มาถามเช่นกันเกี่ยวกับการแต่งตั้งอูมัรเป็นเคาะลีฟะฮ์  "อุสมานก็ได้กล่าวว่าตัวท่านเองนั้นย่อมรุ้ดีกว่าข้า " ต่อจากนั้น   ท่านอบูบักรก็ได้กล่าวว่า  " โอ้อับดุลเราะอมาน  แท้จริงแล้ว (ฉายานามของอุสมาน) : แต่เรานั้นขอความคิดเห็นจากเจ้า "          ซัยดีนา อุสมาน บิน อัฟฟาน ก็ได้กล่าวว่า " ข้ารู้ดีว่า ท่านอูมัรนั้นเป็นคนอย่างไร      ท่านเป็นคนที่ใจดี ถึงแม้ว่าบางครั้งเขาอาจดูแข็งกร้าวไป ไม่มีใครคนใดที่จะแข็งกร้าวเท่าอูมัรอีกแล้ว "จากนั้นท่านอาบูบักรก็ได้กล่าว อีกว่า   " ถ้างั้นเราคิดว่าเราควรเก็บเรื่องนี้ไว้ก่อน หลังจากนั้นก็ได้กลับบ้านไป วันต่อมาท่านอบูบักรก็ได้ไปหาท่าน ตอลฮาห   เพื่อถามความคิดเห็นของเขา   ท่านตอลฮาหก็ได้กล่าวว่า   " การ ที่ท่านจะประกาศให้อูมัรเป็นเคาะลีฟะฮ์นั้น   ท่านคิดดีแล้วหรือ ท่านลองคิดดู ถ้าหากท่านเลือกอูมัรขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ประชาชนของท่านจะคิดอย่างไร ทั้ง ๆ ที่ท่านก็ยังมีชีวิตอยู่   ฉะไหนเล่า ท่านถึงได้เอาความคิดของท่านเป็นหลัก ทางที่ดีท่านควรถามความคิดเห็นของผู้คนส่วนใหญ่ก่อน   " เมื่อทราบเช่นนั้นท่านอบูบักรก็ได้บอกให้ท่าน ตอลฮาหนั่งก่อน ท่านอบูบักร พูดว่า  "ท่านจะยอมรับฉันต่ออัลลอฮถ้าฉันสิ้นใจ แล้วอัลลอฮทรงถามถึงความรับผิดชอบ    ฉันจะตอบว่า ฉันได้บอกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งแทนฉันแล้ว       ที่มีความสำคัญต่อประชาชนของฉัน ซึ่งฉันได้เลือกบุคคลที่ดีที่สุดแล้วสำหรับประชาชนของฉัน " อบูบักรได้ถาม อูเซด บิน ฮูดีร อีก ฮูเซรก็ได้บอกว่า ที่ฉันรู้คือท่านอูมัรนั้นเหมาะสม    ถึงเวลาแล้วที่เขาควรทำหน้าที่ตรงนี้และที่สำคัญเขาควรละทิ้งในสิ่งที่เขาไม่ควรกระทำ  วันถัดมา ท่านเคาะลีฟะฮ์ อบูบักรก็ได้เรียกประชาชนของเขามารวมตัวกันเพื่อที่จะปรึกษาหารือเกี่ยวกับการเลือกเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง    ซึ่งก่อนหน้านั้นท่านเคาะลีฟะฮ์ อบูบักรก็ได้บอกกับท่านอูมัรแล้วถึงเรื่องการแต่งตั้งเขาเป็นเคาะลีฟะฮ์    แต่ท่านอูมัรก็ได้ปฏิเสธกับข้อเสนอดังกล่าว  ท่านอูมัรคิดว่าท่านคงไม่เหมาะสมกับ ตำแหน่งใหญ่ตรงนี้ ท่านอบูบักรก็ได้พูดขึ้นว่า    " แท้จริงตำแหน่งหน้าที่นี้สมควรแล้ว  โอ้ลูกอัลค็อฏฏ็อบ " หลังจากนั้นท่านเคาะลีฟะฮ์ก็ได้ถามบรรดาศอฮาบะฮท่านอื่น ๆ   ซึ่งในขณะนั้นท่านอบูบักรป่วยอยู่       ตอนที่ท่านอบูบักรได้ปราศัยกับประชาชนเขานั้น   ท่านได้นั่งลงเพราะท่านยืนไม่ไหว โดยข้าง ๆ ท่านนั้นก็มีภรรยา ของท่านอยู่ด้วย    การประชุมครั้งนี้ท่านก็ได้กล่าวแบบสรุปเท่านั้น    ในขณะที่พูดอยู่ท่านก็ได้เปิดโอกาสแก่ประชาชน ในการลงความเห็น   ว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการแต่งตั้งให้ท่านอูมัรเป็นเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง   " ที่ข้าพเจ้าได้เลือกท่านอูมัร เป็นเคาะลีฟะฮ์นั้น    ไม่ใช่เพราะว่ามาจากตัวของข้าและไม่ใช่มาจากครอบครัวของข้า   แท้จริงแล้วบุคคลที่ข้าเลือกมาแดำรงตำแหน่งต่อจากข้า  มาจากการเลือกของอัลลอฮ " ถึงแม้ว่าการมาร่วมประชุมครั้งนี้มีทั้งคนที่ไม่ชอบท่านอูมัร และไม่เห็นด้วยที่จะให้อูมัรเป็นเคาะลีฟะฮ์   แต่ถึงอย่างไรท่านอูมัรก็ไม่รู้สึกสะเทือนใจ และสีหน้าก็ยังคงเดิม   ไม่ปรากฏถึงความวิตกกังวลใด ๆ    เพราะท่านอูมัรรู้อยู่แก่ใจว่า  มนุษย์นั้นย่อมมีสิ่งที่ดีและไม่ดีอยู่ในตัวบุคคล   ท่านอบูบักรก็รู้ว่าท่านอูมัรนั้นเป็นคนแข็งกระด้าง แต่เรื่องแบบนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วที่ต้องมีบุคคลที่ต่อต้าน และคัดค้านต่อการแต่งตั้งท่านอูมัรเป็นเคาะลีฟะฮ์      แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ทำให้ท่านอูมัรเกิดความอ่อนแอแต่อย่างใด   เพราะไม่ได้ส่งผลอะไรในการที่เข้ามาดำรงตำแหน่งนี้  ในขณะที่ท่านอบูบักรได้ให้ความ รับผิดชอบแก่ท่านอูมัร ที่ท่านได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ท่านอบูบักรก็ได้กล่าวว่า " โอ้ท่านอูมัร ในบรรดา ประชาชนทั้งหลายนี้มีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย   ซึ่งเราก็ทราบมานานแล้วว่าสิ่งที่ดี สิ่งที่รังเกียจ และสิ่ง ที่ไม่ดีนั้น   ย่อมมีอยู่ในจิตใจของแต่ละบุคคล  “   จากนั้นก็มีบุคคลหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย  กับอุปนิสัยที่แข็งกระด้างของท่านอูมัร   ซึ่งจะมาดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์    ศอฮาบะฮคนดังกล่าวก็ได้ยืนขึ้น   แล้วบอกกับท่านอบูบักรว่า   " ท่านจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือ กับเหตุการณ์ครั้งนี้  แต่ทว่าข้านั้นไม่ขอรับปากที่จะแบกภาระกับเรื่องนี้ ถ้าเกิดว่าวันอาคีเราะฮอัลลอฮทรงถาม "   บางครั้งคำถามแต่ละคำถามนั้นก็เปรียบเสมือนบททดสอบจากอัลลอฮ ความอดทนของมนุษย์ย่อมมีขีดจำกัด   ทำให้ท่านอบูบักรถึงกับยืนขึ้นเมื่อได้ยินศอฮาบะฮกล่าวแบบนั้น   จากนั้นก็ได้มีศอฮาบะฮได้บอกให้ท่านอบูบักรนั่งลง    สักพักท่านอบูบักรก็ได้นึกถึงอัลลอฮและเกรงกลัวต่ออัลลอฮขึ้นมา   ท่านอบูบักรก็ได้กล่าว่า     " คนที่ คิดทำในสิ่งที่ไม่ดีนั้น แน่แท้เขาต้องเกรงกลัวต่ออัลลอฮ แท้จริงฉันได้เลือก เคาะลีฟะฮ์ที่ดีที่สุดแล้วสำหรับประชาชนของฉัน ท่านอบูบักรรู้ว่า แท้จริงแล้วความแข็งกระด้างของอุมัรไม่ได้มีอยู่ในทุกเรื่อง    แต่อูมัรจะ แข็งกระด้างบางเรื่องที่ท่านอูมัรคิดว่าผิดเท่านั้น    ซึ่งท่านอูมัรก็มีเหตุผลเช่นกัน     ท่านอูมัรนั้นจะโกรธก็ต่อเมื่อผู้นั้นได้กระทำในสิ่งที่ผิดเท่านั้น   และท่านก็จะต่อต้าน   จะไม่กลัวและไม่ยอมอ่อนน้อมให้กับบุคคลที่ได้กระทำผิด    จึงทำให้บุคคลเหล่านั้นเกรงกลัวต่อท่านอูมัรมาก

      ท่านอบูบักรได้สั่งเสียแก่อุมัรว่าแท้จริงท่านนั้นมีความคิดและจินตนาการที่มองการไกล   เมื่อท่านอบูบัก รได้พูดเช่นนั้น  จึงทำให้ส่วนลึกของท่านอุมัรนั้นมีความรู้สึกอยากเป็นเคาะลีฟะฮ์   ท่าบอบูบักรก็ได้กล่าวอีกว่า ท่านต้องมีความยุติธรรมในการตัดสินการกระทำความผิดของประชาชนของเจ้า   ถ้าเกิดว่าผู้ใดผิดเจ้าก็จง ตัดสินว่าผิด   ถ้าผู้ใดถูกก็จงตัดสินว่าถูก    เจ้าจงเกรงกลัวต่ออัลลอฮอยู่เสมอ   เมื่อเจ้ากระทำเช่นนี้แล้ว ประชาชนของเจ้าก็จะจงรักภักดีในความยุตติธรรมของท่าน   ท่านเคาะลีฟะฮ์อบูบักรดีใจมากที่ทำให้อุมัรเกิด ความรู้สึกอยากเป็นเคาะลีฟะฮ์    ถ้าท่านอุมัรมีความเป็นธรรมต่อประชาชนของเขา  ถึงแม้ว่าจะมีคนไม่ชอบ ท่านอุมัร  แต่ถึงอย่างไรท่านอบูบักรก็รักท่านอุมัรมาก    เพราะฉะนั้นอบูบักรได้เลือกอุมัรเป็นเคาะลีฟะฮ์    เมื่อเสร็จสิ้นหน้าที่ภาระของอบูบักรก็หมดลง    จากนั้นอบูบักรก็ได้เรียกอุษมาน  บุตร อัฟฟาน เขียนพินัยกรรม ถึงท่านอมัร  โดยเริ่มต้นคำว่า  "ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮผู้ทรงเมตตาและผู้ทรงปรานีเสมอ   "นี่เป็นการสั่ง เสียของอบูบักรเคาะลีฟะฮ์ของท่านศาสดามูฮัมมัดศาสนฑูตแห่งพระองค์เป็นคำสั่งเสียครั้งสุดท้ายในโลกนี้    แต่เป็นคำสั่งเสียครั้งแรกในโลกหน้า    ฉันได้แต่งตั้งอุมัรอัลค็อฏฏ็อบแก่พวกท่าน   แท้จริงความดีความอดทน ความยุติธรรมของท่านนั้นฉันทราบดี   แต่เขาอาจบิดพริ้วความยุติธรรมก็ได้   นั้นเป็นสิ่งที่ฉันไม้รู้    ความดี นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาและทุกคนจะได้รับการตอบแทน   คำสั่งเสียก็ได้สิ้นสุดลงหลังจากการสิ้นลมของ ท่านอบูบักร    ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตท่านก็ได้ให้อุษมานอ่านพินัยกรรมอีกครั้งหนึ่ง    เมื่ออุษมานอ่านเสร็จ  ท่า นอบูบักรก็ได้กล่าวตักบัร  และขอดุอาให้แก่อุษมาน   จากนั้นพินัยกรรมก็ได้เผยแพร่ออกไป    เมื่อประชาชนได้รู้ ว่าท่านอบูบักรได้เสียชีวิตแล้ว  ประชานก็ได้มาล้อมบ้านของอบูบักร   และบรรดาผู้นำต่างๆ  ก็ได้มาซักถาม   ท่านอุมัรก็ได้ประกาศถึงการเสียชีวิตของอบูบักร  ถึงแม้ว่าในขณะนั้นจะมีความรู้สึกเศร้าเสียใจ                

7.2วาระสุดท้ายของคอลีฟะฮ์อาบูบักร

            ความเป็นอยู่ของมุสลิมเป็นปัญหาแรกที่อาบูบักรเคยสนใจเป็นพิเศษ เขาไม่ยอมให้ศาสนาอิสลามถูกทำให้อ่อนแอไม่ว่าจะโดยวิธีใด ๆ ส่งที่เขากลัวมากที่สุดก็คือ การแบ่งแยกระหว่างมุสลิมด้วยกันเอง เขายังคงจำตัวอย่างเรื่องนี้ได้ดีเมื่อครั้งที่ท่านร่อซูลเพิ่งมรณกรรมใหม่ ๆ เขาอยากจะทำความมั่นใจให้กับตนเองว่าเรื่องเช่นนี้จะต้องไม่บังเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สองแม้ว่าเขาจะจากไปแล้ว การรวมกันเป็นอันหนึ่วอันเดียวกันเท่านั้นที่จะทำให้เกิดกำลังเป็นปึกแผ่น ดังนี้ การรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็จะต้องให้มีขึ้น ไม่ว่าจะใช้ความพยายามสักเท่าใด
            วาระสุดท้ายของอาบูบักรนั้น อาบูบักรท่านเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 7 เดือนยามาดุลอาเคร ฮิจเราะฮ์ศักราช 13 ครั้นต่อมาอาการป่วยได้ทวีขึ้น แม้จะเยียวยากันเต็มฝีมืออาการป่วยก็ไม่ดีขึ้น เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าท่านคอลีฟะฮ์ ผู้ชราภาพกำลังเป็นไม้ใกล้ฝั่งเข้าไปทุกขณะ เพราะอาการของโรคมีแต่ทรุดลงทุกที
            ทั้ง ๆ ที่กำลังป่วยหยัก อาบูบักรก็อดที่จะเป็นห่วงอนาคตของศาสนาอิสลามไม่ได้ เขาต้องการบางอย่างที่พอจะทำให้เขามั่นใจว่าหลังจากที่เขาสิ้นบุญไปแล้ว อนาคตของมุสลิมจะต้องรุ่งเรือง และอยู่ในหนทางที่ถูกต้อง
            เมื่ออาการโรคยิ่งกำเริบ อาบูบักรก็กลับยิ่งคิดมากเขาคิดเลยไปถึงว่า เมื่อเขาตายแล้วใครควรจะได้เป็นคอลีฟะฮ์ เขาควรจะเปฌรผู้กำหนดใครสักคนหนึ่งที่เห็นว่าดีที่สุดขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์หรือว่าจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประชาชนทำหน้าที่เลือกกันเอง แต่ประการหลังนี้ดูออกจะเป็นการเสี่ยงต่ออันตรายเกินไปถ้าขืนปล่อยให้มีการเลือกกันเอง การทะเลาะวิวาทอาจจะเกิดขึ้นได้และอาจจะทำให้รากฐานของอิสลามต้องสั่นคลอนหรือพังทลายไปในที่สุด ประการหลังนี้เห็นจะไม่ปลอดภัยแน่ เพราะมันเสี่ยงกับความหายนะเกินไป
            เมื่อได้คิดจนรอบคอบและเห็นว่าไม่มีทางอื่นที่ดีกว่า อาบูบักรก็ตัดสินใจกำหนดเอาตัวท่านอุมัรเป็นคอลีฟะฮ์สืบต่อจากเขา และได้แจ้งเรื่องนี้ให้แก่บรรดาคนสนิททุกคนได้ทราบทั่วกันเกือบจะทั้งหมดของบรรดามิตรสหายพากันเห็นด้วย  อุมัรนั้นเป็นคนดีอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ทว่าเขาเป็นคนใจร้อนและค่อนข้างจะเข้มงวดเกินไป
            “เมื่อใดที่เขารับภาระนี้ไว้บนบ่า ข้าพเจ้าเชื่อว่าเขาจะเป็นคนอ่อนโยนนี่เป็นคำตอบจากอาบูบักร
            เมื่อที่ปรึกษาพากันคล้อยตาม อาบูบักจึงเรียกอุสมานเข้ามาพบ และสั่งให้เขียนตามคำบอกว่า ข้าพเจ้าตั้งใจให้อุมัรเป็นคอลีฟะฮ์ และนำหลักฐานนี้ออกประกาศแก่ประชาชนว่า นี่คือพินัยกรรมของอาบูบักร คอลีฟะฮืของรอซูลลุลเลาะห์สั่งให้ทำขึ้นในขณะที่กำลังจะไปยังปรภพ ขณะนี้เป็นเวลาที่ผ้ไม่ศรัทธาเริ่มจะศรัทธาผู้ที่เคยทำแต่การบาปเริ่มจะสำนึกตนและเลื่อมใสในอัลเลาะห์ (ซบ.) ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอตั้งท่านอุมัรอิบนิค๊อตต๊อบขึ้นเป็นผู้ปกครองของท่าน ขอให้ข้าพเจ้ามีความหวังหรือได้มั่นใจว่าท่านอุมัรจะเป็นผู้นำที่ดีที่สุดของท่านคนหนึ่งที่บูชาความจริงและความยุติธรรม แต่ถ้าภายหลังปรากฏว่า เขาหลงออกนอกทางและกลายเป็นผู้ไม่ยุติธรรม ข้าพเจ้าก็ไม่มีพันธะอันใดที่จะต้องรับผิดชอบ ข้าพเจ้ามีแต่การทำดีต่อมุสลิมด้วยใจจริงทุกคนต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เขาได้กระทำ
            พินัยกรรมนี้ได้ถูกนำออกประกาศแก่ประชาชน ต่อจากนั้นท่านอาบูบักรก็ถูกพยุงพาเดินขึ้นไปนั่งตรงหน้ามุขและได้กล่าวปราศัยกัยประชาชนว่า ท่านพี่น้องผู้ร่วมศาสนาทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ได้ตั้งญาติคนใดคนหนึ่งของข้าพเจ้าเป็นคอลีฟะฮ์ แต่ข้าพเจ้าได้แต่งตั้งบุคคลคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดในหมู่ท่าน จึงอยากทราบว่าท่านเห็นด้วยกับข้าพเจ้าหรือเปล่า ?
            “แน่นอนเราเห็นด้วยเสียงตอบพร้อม ๆ กันจากฝ่ายประชาชนดังกระหึ่มกลบเสียงอันอื่นจนหมดสิ้น ต่อจากนั้นท่านอาบูบักรก็เรียกให้ท่านอุมัรเข้ามาพบแลพได้สนทนาสั่งเสียและให้คำแนะนำต่าง ๆ ซึ่งอุมัรก็ได้เอาใจใส่อย่างดียิ่งสำหรับคำแนะนำของท่านอาบูบักรที่ได้ให้ไว้
            เมื่อป่วยได้สองสัปดาห์ท่านอาบูบักรก็จากโลกนี้ไป รวมอายุได้ 63 ปีพอดี ศพของท่านได้ถูกนำไปฝังไว้ใกล้ๆ กับที่ฝังศพของท่านรอซูล
            ก่อนถึงแก่มรณกรรม ท่านอาบูบักรได้สั่งกำชับว่า อย่าใช้ผ้าใหม่มากะฝั่น(ห่อหุ้ม)ร่างของฉัน จงเอาผ้าที่ฉันกำลังสวมอยู่นี้ ซักให้สะอาด แล้วจึงค่อยกะฝั่นให้ฉัน
            “แต่ตัวนี้เก่าเหลือเกิน และยังขาดอีกด้วยคุณพ่ออาอิชะฮ์ธิดาของท่านทักท้วงขึ้น
            “เอาเถอะเก่าก็เก่าไม่เป็นไร พ่ออยากได้ตัวนี้ฝ่ายบิดายืนยัน
            เป็นอันว่าไม่มีใครกล้าขัดเจตนาของท่านคอลีฟะฮ์ และอีกข้อหนึ่งที่ท่านได้สั่งเอาไว้ก่อนที่จะถึงแก่มรระกรรม จงขายที่ดินของฉัน ได้เงินเท่าไหร่เอามาสมทบกับเงินเดือนของฉันแล้วผลักเข้ากองกุศลสาธารระให้หมดปรากฏว่าคำสั่งของท่านได้ถูกนำมาปฏิบัติสมตามเจตนารมณืทุกประการ ก่อนดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ อาบูบักรเป็นพ่อค้าที่มีรายได้มากคนหนึ่งเหตุนี้สหายของท่านจึงขอให้ท้องพระคลังจ่ายเงินเดือนให้ปีละหกพันดิรฮัม เงินเดือนทั้งหมดนี้ได้ถูกผลักเข้าสมทบเงินทุนบัยตุ้ลมาน (คลังของรัฐ)เพื่อประโยชน์ของสาธารณูปโภคต่อไป ตามเจตนารมณ์ของผู้ตาย
            ท่านอาบูบักร คอลีฟะฮ์คนแรกของโลกมุสลิมก็ไดจากเราไปแล้ว แต่เป็นการจากกันเพียงในนาม ส่วนคุณงามความดีของท่านยังคงสถิตเป็นนิจนิรันดร ท่านได้ทิ้งตัวอย่างของการเสียสละ ท่านมีชีวิตอยู่ด้วยการทำงานให้ศาสนาอิสลามจนสิ้นลมหายใจ โดยไม่หวังรางวัลตอบแทนใด ๆ

ติดตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น