เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ชีวประวัติ ญะมาลุดดีน อัล-อัฟฆอนี

ชีวประวัติโดยย่อ
    ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนี  (  ค.ศ  1839-1897  )

          ชีวประวัติโดยย่อ
              ซัยยิด  ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนี  ถือกำเนิดที่กาบูล  อัฟฆานิสถาน  (อัฟกานิสถาน)  เมื่อปี  ค.ศ.  1839  ท่านถูกเรียกว่า  อัล-อัฟฆอนีก็เพราะเป็นชาวอัฟกานิสถาน
            หลังจากจบการศึกษาสายสามัญ  ในประเทศของท่านแล้ว  ท่านก็เข้าร่วมกลุ่มเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง  ซึ่งมีชื่อเรียกว่า  “Pergerakan  pan  Islamisme”  (การเคลื่อนไหวของลัทธิรวมของพวกที่นับถือศาสนาอิสลามทั้งหมด)  คือเป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวที่มีจุดประสงค์เพื่อก่อตั้งเคาะลีฟะฮ์อิสลามสำหรับประชาชาติอิสลามทั่วโลก
            ท่านเป็นผู้นำที่มีความฉลาด  มีความรู้ความสามารถสูงโดยเฉพาะความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตรรกวิทยา  (วิชาที่ว่าด้วยการคิดหาเหตุผลหรือที่กล่าวด้วยกฎแห่งความคิด)  และปรัชญา  แต่ท่านไม่ได้เป็นอูลามาอุดังความเข้าใจของนักเขียนส่วนใหญ่ในอินโดนีเซีย
            และท่านเองก็ไม่ใช่ผู้มีความคิดสมัยใหม่ในศาสนาหรือไม่ใช่นักปฏิรูปศาสนา  แต่ท่านเป็นผู้มีความคิดทันสมัยในเรื่องของการเมืองต่างหาก  เพราะท่านไม่รู้มากนักเกี่ยวกับอัลกรุอานและฮะดิษ  ท่านเป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญด้านการเมือง  โดยเฉพาะเรื่องของชนชาติอังกฤษที่เข้ามาปกครองเมืองขึ้น
            ส่วนเรื่องความเชื่อมั่นทางศาสนานั้น  ท่านโอนเอียงไปทางทัศนะของชีอะฮ์
            ดังนั้น  จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า  การที่ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนีได้ตำหนิกลุ่มอะหลุซซุนนะฮ  วัล-ญะมาอะห์ในหลาย  ๆ  เรื่อง  เพราะระหว่างทัศนะของชีอะห์และอะหลุซซุนนะฮ  วัล-ญะมาอะห์นั้น  แตกต่างกันเสมอโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับอิญติฮาด  (การวินิจฉัยปัญหาศาสนาที่ไม่เคยมีมาก่อน)  และตักลีด  (การปฏิบัติตามโดยที่ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ)
            ในปี  1869  เมื่อขณะมีอายุได้  30  ปี  ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนีได้ถูกรัฐบาลอัฟกานิสถานขับออกนอกประเทศ  เพราะลักษณะทางการเมืองของท่านขัดกันกับแนวทางของผู้นำอัฟกานิสถานในขณะนั้น
            ครั้นเมื่อท่านพำนักอยู่ในอียิปต์  ชื่อเสียงของท่านต่างก็เป็นที่รู้จักของบุคคลโดยทั่ว  ๆ  ไปเพราะท่านเป็นผู้นำหนุ่มเพียงคนเดียวที่ต่อต้านลัทธิครอบครองเมืองขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นผู้ครอบครองเมืองขึ้นชาวอังกฤษหรือชาวฝรั่งเศสก็ตามซึ่งขณะนั้นกำลังรุกรานกลุ่มประเทศที่ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม
            นักศึกษาของมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัรเป็นจำนวนมากที่เกิดความประทับใจหรือคลั่งไคล้ต่ออัล-อัฟฆอนี  อาทิเช่น  มุฮัมมัด  อับดุฮ  ฮะซัน  อัต-ตาวีล  ฯลฯ
            มุฮัมมัด  อับดุฮ  ชอบที่จะไปที่บ้านของญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนี  มากกว่าจะไปนั่งเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร  เพราะเขาได้รับบทเรียนจากญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนีมากกว่าที่มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร  เช่น  วิชาตรรกวิทยา  ปรัชญาที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการเมือง
            ดังกล่าวนี้อาจเป็นเหตุทำให้ความตั้งใจของพ่อแม่ของมุฮัมมัดอับดุฮที่ต้องการให้ลูกได้เป็นอุลามาอที่ยิ่งใหญ่  เช่นเดียวกับอิบนูฮะญัร  อัล-ฮัยตามีย์,  ซากาเรีย,  อัล-อันศอรีย์  และอัล-บายูรีย์  (ปริญญาบัตรจากอัลอัซฮัร)  ต้องผิดหวัง  เพราะการศึกษาของมูฮัมมัด  อับดุฮถูกครอบงำจากบทเรียนทางการเมืองของญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนี
            เพราะสาเหตุดังกล่าวนั้นทำให้มุฮัมมัด  อับดุฮฺ  ต้องละทิ้งทัศนะเดิมของตนคือทัศนะของอะห์ลุซซุนนะฮ์  วัล-ญะมาอะห์  ซึ่งไม่เป็นที่พอใจของญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนี  ผู้เป็นอาจารย์ของตนการกระทำดังกล่าวนั้น  ทำให้บรรดาอาจารย์คนอื่น  ๆ  ของมุฮัมมัด  อับดุฮไม่พอใจต่อการกระทำของเขา
            ในปี  1879  คือประมาณ  10  ปีหลังจากญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนี  ตั้งหลักฐานอยู่ที่อียิปต์ท่านก็ได้ถูก  ซุลต่าน  เตาฟีก  ปาซา  ผู้นำในอียิปต์ถูกขับออกนอกประเทศ  เพราะการเมืองและศาสนาของท่านไม่เป็นที่ยอมรับของรัฐบาลอียิปต์
            จากนั้นญะมาลุดดีนก็เดินทางมุ่งหน้าไปยุโรป  เขาได้ไปเยือนกลุ่มประเทศยุโรปในหลาย  ๆ  ประเทศ  และสุดท้ายก็ได้พำนักอยู่ที่กรุงปารีสเมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส
            ในปี  1884  หลังจากที่ท่านใช้ชีวิตอยู่ในกรุงปารีสประมาณ  5  ปี  ท่านก็ได้ทราบข่าวว่ามุฮัมมัด  อับดุฮซึ่งเป็นศิษย์รักของท่านถูกรัฐบาลขับออกจากอียิปต์และไปอยู่ที่เบรุต  (เลบานอน)  ในฐานะเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่วิทยาลัย  ซุลตอนียะฮ์ 
            ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนี  ก็ได้เรียกศิษย์ของท่านคนนี้ไปยังปารีสและทั้งสองก็ได้ไปร่วมกันจัดนิตยสาร  อัล-อุรวะตุล  วุสกอ  ซึ่งเป็นนิตยสารทางเมืองที่มีรากฐานมาจากอิสลาม
            นิตยสารดังกล่าวมีโอกาสจัดพิมพ์ได้เพียง  18  อันดับเท่านั้น  ซึ่งอันดับแรกเริ่มจัดพิมพ์เมื่อวันที่  13  มีนาคม  1884  ส่วนอันดับสุดท้ายเมื่อวันที่  17  ตุลาคม  1884  เช่นกัน
            นิตยสารทั้ง  18  อันดับนี้  ภายหลังได้จัดพิมพ์รวมเล่มขึ้นที่อียิปต์  และจากนิตยสารดังกล่าวนี้ทำให้ผู้เขียนสามารถทราบได้ว่าเป็นอย่างไรและใครคือญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนีและมุฮัมมัด  อับดุฮผู้นั้น
            ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนีเป็นนักการเมืองที่ต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตกอย่างจริงจัง  โดเฉพาะลัทธิแผ่อำนาจของชาวอังกฤษ  ซึ่งกำลังปกครองอินเดียและอียิปต์อยู่ในขณะนั้น
            ไม่เพียงแต่ลัทธิของจักรวรรดินิยมของอังกฤษเท่านั้น  แต่บรรดาผู้ที่สนับสนุนให้กับลัทธิจักรวรรดินิยมของอังกฤษ  เช่น  เซอร์  ซัยยิด  อะห์หมัด  คาน  และมัชซา  ฆุลาม  อะห์หมัด

อัล-ก๊อดยานีก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์   พร้อมยังได้ถูกให้ชื่อว่าเป็นทาสของลัทธิจักรวรรดินิยมอังกฤษอีกด้วย
      จากที่ได้กล่าวมานั้นพอสรุปได้ว่า  บรรดาผู้ที่ชาวอินโดนีเซียคิดว่าพวกเขาเป็นแกนนำของความคิดสมัยใหม่ในศาสนานั้น  แท้จริงแล้วในระหว่างพวกเขาเองก็ยังมีข้อแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด 
     นิตยสาร  อัล-อุรวาตุล  วุสกอ”   สุดท้ายก็ถูกสั่งปิดโดยรัฐบาลฝรั่งเศสและเขาก็ถูกขับไล่ออกจากฝรั่งเศสอีกด้วย
     จากนั้นญะมาลุดดีน  ได้พเนจรไปยังตุรกี  ไปพักพิงอยู่กับราชาอับดุล  ฮามีด  คาน  และเขาก็ได้เสียชีวิต  ณ  ที่นั่นในปี  1897   รวมอายุของเขาทั้งหมด  58  ปี
     จากที่กล่าวมานั้นเป็นประวัติโดยสรุปของผู้นำการเมืองที่ยิ่งใหญ่  ชื่อญะมาลุดดีน   อัล-อัฟฆานี
     เขาจากไปโดยไม่ได้ทิ้งหนังสือที่เกี่ยวกับศาสนาไว้มากนักนอกจากนิตยสารรวมเล่มที่ชื่อ  อัล-อุรวาตุล   วุสกอ  และหนังสือเล่มเล็กอีกสองเล่ม   คือ  อัร-ร๊อดดุ  อะลัด-ดะห์   และประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน
     จากสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้นี้  สามารถสรุปได้ว่า  ญะมาลุดดีนอัล-อัฟฆอนีนั้นไม่ใช่นักวิชาการด้านศาสนา  และก็ไม่ใช่แกนนำของกลุ่มผู้ที่มีความคิดในศาสนาแต่อย่างใด  แต่ทว่าเขาเป็นเพียงนักต่อสู้เพื่อมโนธรรมและอิสรภาพของประชาชาติอิสลามเท่านั้น

 

แนวคิดทางการเมือง

            ญะมาลุดีน  อัล-อัฟฆอนี  เป็นผู้นำที่มีความคิดทันสมัยในเรื่องของการเมืองและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเมือง  โดยเฉพาะของชนชาติอังกฤษที่เข้ามาปกครองเมืองนั้น  และเป็นนักการเมืองที่ต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตกอย่างจริงจัง  ไม่เพียงเฉพาะลัทธิแผ่อำนาจของชาวอังกฤษเท่านั้น   แต่บรรดาผู้ที่เป็นแขนขาหรือผู้สนับสนุนให้กับลัทธิจักรวรรดินิยมของอังกฤษ  เช่น  เซอร์  ซัยยิด  อะห์หมัด  คาน  และมัซซา  ฆุลาม  อะห์หมัด  อัล-ก็อดยานี  ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ด้วยพร้อมทั้งยังได้ถูกให้ชื่อเป็นทาสของลัทธิจักรวรรดินิยมของอังกฤษอีกด้วย
          ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนี  มีความเชื่อว่า  การฟื้นฟูอิสลามนั้น   สามารถกระทำสำเร็จได้โดยการปรับวิชาการแขนงต่างๆ  โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับศาสนา   เพราะความรู้สมัยใหม่นั้นไม่มีอะไรขัดแย้งกับหลักคำสอนของคัมภีร์อัล-กุรอาน  และที่สำคัญที่สุดคือ  มุสลิมจะต้องมีเอกภาพอยู่ภายใต้ความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง      ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถรักษาอิสรภาพทางการเมืองของโลกมุสลิมไว้จากการทำลายของลัทธิจักรวรรดินิยมยุโรปได้
          ตามความคิดของญามาลุดดีน อัล-อัฟฆอนี เจตนารมที่แท้จริงของอิสลามนั้นอยู่ที่การปรับความคิดและการตีความคำสอนให้ทันสมัยภายใต้กรอบอิสลามอยู่ตลอดเวลาในการบรรยายของท่าน ญามาลุดดีน อัล-อัสฆอนี ชอบสาธยายถึงอดีตอันรุ่งโรจน์ของมุสลิมพร้อมกับความรุ่งเรืองทางการเมือง  ความมั่งคั่งทางวัตถุ ความสำเร็จทางด้านวัฒนธรรมและวิชาการ ทั้งนี้เพื่อจะย้ำนักศึกษาของเขาให้มีความเชื่อมั่นว่า การปฏิบัติตามหลักการอิสลามเท่านั้นที่จะยังความสำเร็จให้เดขึ้นได้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
          ชีวิตของญามาลุดดีน อัล-อัฟฆอนี  เป็นสักขีพยานที่ดีที่สุดถึงการอุทิศของตนของเขาให้แก่สวัสดิการของมุสลิมทั่วโลก โดยไม่มีการลำเอียงให้แก่ชาติหนึ่งชาติใด  แผ่นดินของเขานั้นอยู่ทั่วโลก เหมือนดั่งกวีของเขา อัสสาลา อิกบาล ซึ่งกล่าวว่า  “ฉันไม่มีประเทศใดนอกจากอิสลาม
           ความ อัจฉริยะของเขาทำให้เขามองโลกได้กว้างและมองได้ทุกแง่ทุกมุม  เขาถือว่าโลกมุสลิมทั้งหมดมิใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดกำลังถูกพวกตะวันตกข่มขู่คุกคามอยู่จริงๆ และเมื่อเปรียบเทียบ  กับการข่มขู่คุกคามนี้แล้ว  เขาเห็นว่า โลกอิสลามยังอ่อนมาก และท่านตระหนักดีที่ว่าโลกกำลังคุกคามด้วยความอ่อนแอของโลกเอง ยิ่งไปกว่านั้นดูเหมือนว่า  ท่านจะเป็นผู้ฟื้นฟูอิสลามคนแรกที่ใช้แนวความคิด อิสลามกับตะวันตกเป็นความหมายควบคู่ไปกับปรากฏการณ์ความเป็นศัตรู และปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ด้วย และต่อมาคำนี้ได้กลายเป็นมาตรฐานในความคิดทางอิสลามไป เพราะญามาลุดดีน อัล-อัฟฆอนี นี่แหละที่ทำให้ความสำนึกของมุสลิมมองเห็นการมุ่งทำลายของพวกตะวันตกขึ้นมา
          แผนการทางด้านการเมืองของญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนี  นั่นคือ การต่อต้านการรุกรานของพวกจักรพรรดินิยมจากภายนอก และต่อต้านลัทธิชาตินิยมกับความเสื่อมเสียทางศีลธรรมภายใน ท่านอัฟฆอนีรู้อย่างชัดแจ้งว่าการฟื้นฟูอิสลามไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้การปกครองศตรูต่างชาติ และยังคงมองเห็นถึงความสำคัญของการมีผู้นำที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ของส่วนตัวด้วย แต่เป็นที่น่าเศร้าใจที่ศิษย์เอกของท่านซึ่งเป็นชาวอิยิปต์คือ ชัยค์ มูฮัมมัด อับดุฮ ไม่เข้าใจในเรื่องนี้และละทิ้งอันแรกไป แล้วไปทำอันหลังเพียงอย่างเดียว แผนงานของท่านจึงไม่สมบูรณ์
        แนวคิดทางศาสนา
-          ความเชื่อมั่นในศาสนานั้น ญะมาลุดดีน อัล-อัฟฆอนี เอนเอียงไปทางทัศนะของชีอะห์ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยว่าการที่ ญะมาลุดดีน อัล-อัฟฆอนี ได้ตำหนิกลุ่มอะห์ลุซซุนะห์ วัล-ญะมาอะห์ ในหลายๆเรื่อง เพราะระหว่างทัศนะของชีอะห์ และอะห์ลุซซุนะห์ วัล-ญะมาอะห์ นั้นแตกต่างกันเสมอ โดยเฉพาะเรื่องการอิจติฮาด และการตักลิด
-          ในฐานะที่ท่านเอนเอียงไปทางชีอะฮห์  ท่านจึงมีทัศนะว่า อิหม่ามมุจตะฮิดนั้นจะต้องมีอยู่ทุกสมัย เพื่อเป็นตัวแทนของอิหม่ามชีอะห์ที่สาบสูญ ซึ่งอยู่ในช่วงรอคอยการกลับมาของเขาในระยะสุดท้ายก่อนวันสิ้นโลก  หากแม้ว่าจะไม่พบผู้ที่มีความสามารถเป็นอิหม่ามมุจตะฮิดได้ก็ตาม  แต่ทว่าประชาชนต้องแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นอิหม่ามมุจตะฮิดในฐานะผู้นำประเทศ
-     ทัศนะของอะห์ลุซซุนนะฮ์  วัล-ญามาอะฮ์   โดยเฉพาะทัศนะของมัซฮับทั้ง  4    ที่ตั้งเงื่อนไข               สร้างความลำบากแก่ผู้ที่จะเป็นอิหม่ามมุจตะฮิดนั้น  ถือว่าเป็นการไม่ถูกต้อง
      -      เพื่อให้สอดคล้องกับอิบนุ   ตัยมียะฮ์   และศิษย์ของเขาที่ชื่อ  มุหัมมัด  อับดุฮ  ดังนั้นเขาจึง        เรียกร้องให้กลับไปสู่อัลลอฮและรซูล
   -    ญะมาลุดดีน  อัล-อัฟฆอนี  ไม่ชอบระบบมัซฮับ  โดยเฉพาะมัซฮับ  ชาฟีอีย์

ผลงาน
1.   หนังสือ  “Refutation  of  the  Meterialists”    (ข้อโต้แย้งของพวกวัตถุนิยม)
2.นิตยสารรายสัปดาห์ภาษาอาหรับ  ชื่อว่า  อัล  อุรวะตุล-วุสกอ”   เป็นนิตยสารทางการเมืองที่มีรากฐานมาจากอิสลาม   ทั้งนี้โดยมีจุดประสงค์  เพื่อปลูกเร้ามุสลิมทุกชาติ  ให้ผนึกกำลังกันต่อต้านการข่มขู่คุกคามของพวกตะวันตก   ที่พยายามเข้าครอบครองและกอบโกยผลประโยชน์จากโลกมุสลิม
3. หนังสือประวัติศาสตร์ของอัฟกานิถาน  หนังสือ อัร  รอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น