เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คอลีฟะฮ อุมัร โดยละเอียด ตอนที่ 3 การปฏิรูปการปกครองแบบใหม่และการศึกษาในสมัยท่านคอลีฟะฮฺอุมัร

                



โดยอาจารย์ รอฟลี แวหะมะ อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี  เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อิสลาม โดยเฉพาะ

3. การปฏิรูปการปกครองแบบใหม่ในสมัยท่านคอลีฟะฮฺอุมัร

                ระบอบการปกครองแบบใหม่ของอาณาจักรอิสลามในสมัยท่านคอลีฟะฮอุมัร ท่านคอลีฟะฮอุมัรเป็นคอลีฟะฮท่านแรกที่ได้วางระบอบการปกครองแบบใหม่แก่อาณาจักรอิสลาม  ระบอบใหม่นี้หมายถึงการกำหนดสิ่งต่าง ๆ ที่ยังไม่มีในระบอบการปกครองก่อนหน้านี้หรือการนำสิ่งใหม่ ๆ มาเพิ่มเติมในนโยบายที่มีอยู่แล้ว
                อุปนิสัยใจคอของท่านอุมัรที่พิเศษนอกเหนือจากบุคคลธรรมดาสามัญก็คือความเก่งกล้า ความสามารถและความเด็ดขาดในการตัดสินใจ  ท่านสู้กับข้าศึกเพื่อรักษาสัจธรรม  สิ่งนี้ย่อมมีผลต่อการวางระบอบการปกครองแบบใหม่  ท่านท่านคอลีฟะฮอุมัรเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหุกม  ซึ่งในสมัยที่ท่านรอซูล r ยังมีชีวิตอยู่นั้นความคิดของท่านท่านคอลีฟะฮอุมัรมีความสอดคล้องกับโองการจากอัลลอฮI   ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเป็นผู้เปรื่องปราดทั้งในด้านศาสนาและการเมืองรวมทั้งความเข้าใจในหะดีษได้อย่างถูกต้องเช่นหะดีษที่กล่าวว่า
                พวกท่านย่อมรู้ดีในกิจการทางโลกของพวกท่านเอง
                หมายถึงเสรีภาพในการใช้ความคิด  ความอ่านและสติปัญญา ตลอดจนประสบการณ์ที่มีอยู่ในการปกครองประเทศและประชาชน (ไม่ใช่ในเรื่องอิบาดะฮ) และเป็นที่สนับสนุนให้ใช้ในอิสลามตามสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบด้านในทุก ๆ กาลสมัย
                ปัจจัยอื่นที่จูงใจให้ท่านต้องวางระบอบการปกครองแบบใหม่ขึ้นก็เพราะในสมัยการปกครองของท่านนั้นเสถียรภาพทั้งด้านการปกครองและการเมืองได้เข้าสู่สภาพปกติ  ปลอดจากการคุกคามจากภายนอกทั้งนี้ก็เพราะความเป็นบะรอกะฮ (ความจำเริญ) ของการปกครองในสมัยท่านคอลีฟะฮฺอบูบักรนั้นเอง  ระยะเวลาก็เป็นปัจจัยหนึ่งเช่นกันเพราะท่านคอลีฟะฮฺอุมัรมีเวลาในการปกครองนานถึง  10 ปี 6 เดือน  รวมทั้งผืนแผ่นดินที่อยู่ใต้อำนาจของท่านก็กว้างขวางยิ่งกว่าเดิมหลายเท่า  ทำให้เกิดการเพิ่มพูนทางเศรษฐกิจ  นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายประการที่ทำให้อาณาจักรอิสลามในสมัยนั้นเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก
                ถ้าหากจะพิจารณาจากประวัติศาสตร์แล้ว  จะเห็นได้ว่าท่านคอลีฟะฮอุมัรได้เริ่มงานใหม่ ๆ ขึ้น  ที่สำคัญยิ่งคือการบริหารการปกครองในรัฐอิสลาม  ท่านได้แบ่งแว่นแคว้นน้อยใหญ่ทั้งหลาย ท่านจัดให้มีกรมและองค์กรต่าง ๆ ของรัฐ  พร้อมกับแบ่งหน้าที่เพื่อการปฏิบัติเพราะสถานการณ์อย่างต่อเนื่องทุกคนต้องรบกันเคียงบ่าเคียงไหล่  สำหรับในสมัยของท่านคอลีฟะฮฺอบูบักร นั้นมีเวลาน้อยมาก
               
3.1  อุมัรกับการปฏิรูปเศรษฐกิจ
ท่านเคาะลีฟะฮอุมัรได้วางระบอบการเงินของรัฐได้อย่างดีเยี่ยมโดยให้อยู่ในความรับผิดชอบและเป็นหน้าที่ของซอฮิบบัยตุลมาล (หัวหน้าฝ่ายการคลังของรัฐอิสลาม) เป็นผู้ดูแลรักษาฝ่ายการคลังของเมืองหลวง  เช่นเดียวกับแคว้นต่าง ๆ ที่เป็นอำนาจรองลงมาและอยู่ภายใต้อาณัติของเมืองหลวง  มะดีนะฮก็มีองค์กรฝ่ายการคลังของตนเอง ทรัพย์สินเงินทองของรัฐก็จะเก็บไว้ในห้องพระคลัง (บัยตุลมาล) ทรัพย์สินเงินทองที่เหลือ (หลังจากที่ได้นำออกใช้จ่ายแล้ว) ในท้องพระคลังของแคว้นต่าง ๆ ก็จะถูกส่งไปให้คอลีฟะฮเพื่อที่เก็บรักษาไว้ในบัยตุลมาล  ท่านอุมัรได้วางกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะหยิบยืมเงินทองของรัฐเพื่อเป็นทุนในด้านการค้า  และในด้านอื่น ๆ โดยไม่มีการคิดดอกเบี้ย
วิธีนี้ได้สร้างความสำเร็จในด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก  ท่านอุมัรเป็นคอลีฟะฮท่านแรกที่จัดเก็บภาษีอุซุร (ภาษี 10 %) ต่อการนำสินค้าเข้ารัฐของชนชาวกาฟิร  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้สร้างโรงกษาปณ์ เพื่อพิมพ์เงินดีนาร์ทองและเงินดิรฮัมทองแดง
นอกจากนั้นท่านยังได้วางระเบียบต่าง ๆ แก่ฝ่ายการตลาด เพื่อจะได้ดำเนินการค้าตามหลักการของอิสลาม (ราคาสินค้าตามราคาท้องตลาดแม้ว่าจะมีพ่อค้าคนกลางก็ตาม) ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร สนับสนุนชาวมุสลิมให้ทำการค้ามิให้ด้อยแก่ผู้อื่นเพราะท่านเห็นว่าการค้านั้นเป็นอำนาจหนึ่งในสาม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรพยายามขัดขวางไม่ให้เจ้าที่ของรัฐครอบครองที่ดิน  ที่อยู่นอกอาณาเขตของรัฐโดยเฉพาะเหล่าทหารหาญ  ในการเข้ายึดครองแผ่นดินส่วนใดก็ตาม  หากชาวกาฟิรได้อพยพละทิ้งที่ดิน  หรือถิ่นฐานบ้านช่องทรัพย์สินเหล่านั้นก็จะต้องตกเป็นของรัฐ (เพราะถือว่าไม่มีเจ้าของ) ถ้าหากฝ่ายศัตรูมิได้ละทิ้งที่ดิน โดยพวกเขายอมแพ้เสียก่อนและไม่มีการประทะใด ๆ เกิดขึ้น ที่ดินของศัตรูเหล่านั้นไม่ถูกริบแต่ถ้าหากฝ่ายมุสลิมมีชัยในการสู้รบครั้งใดในขณะที่พวกเขาไม่มีประสบการณ์ด้านการเกษตรที่ดินเหล่านั้นก็มิได้เกิดประโยชน์เเก่ทหารเเด่อย่างใด  ฉะนั้นก็จะมีการมอบหมายคืนแก่เจ้าของเดิม  เพราะเจ้าของเดิมย่อมสามารถที่จะให้ที่ดินเหล่านั้น  เกิดประโยชน์ได้อย่างดีดุจเดิม (แม้ว่าตามหลักการแล้วที่ดินเหล่านั้นจะถูกยึด) และส่วนหนึ่งจากผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินเหล่านั้นก็จะถือว่าเป็นคอรอจ (ภาษีการเกษตร) ที่จะต้องมอบให้แก่รัฐอิสลาม  ในขณะเดียวกัน สะอด์บุตรอบีวักกอส  ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ที่จะต้องทำบัญชีทะเบียนราษฎร์ (เป็นการจัดสำมโนประชากรเป็นครั้งแรกในโลกอิสลาม)
ในด้านการทหารท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเป็นจอมทัพเป็นผู้แต่งตั้งบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหลายตลอดจนข้าราชการฝ่ายทหาร  ท่านเป็นผู้บัญชาการให้เคลื่อนทัพเพื่อการยึดดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่ง  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรมีความรอบรู้เจนจัดถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ของทหารทั้งทหารชั้นผู้ใหญ่และชั้นผู้น้อย  มีการจดทะเบียนชื่อเหล่าทหารหาญทุกนาย มีการจ่ายเครื่องแบบทหารยศศักดิ์ ฐานะ หน้าที่ต่าง ๆ ท่านอุมัรเป็นเคาะลีฟะฮท่านแรกที่ได้จัดระบบเงินเดือนประจำแก่ทหารในกองทัพขณะที่ก่อนหน้านั้นบรรดาทหารเหล่านั้นจะได้รับทรัพย์สินจากการชนะสงครามเท่านั้น  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้วางกำลังส่วนหนึ่งเพื่อทำหน้าที่รักษา หรือตระเวนตามชายแดนรวมทั้งตามริมฝั่งทะเลอีกด้วย  ในขณะเดียวกันทหารมุสลิมเหล่านั้นจะไม่ห่วงหน้าพะวงหลังหรือคิดห่วงใยครอบครัวของตน  เพราะดิวานอัลอะฏออ์เป็นผู้รับหน้าที่อุปถัมภ์ยามนั้นประชาชนทุกคนจะต้องทำการฝึกอาวุธเหมือนทหารทั้งหลาย ทุกคนต้องรู้จักใช้อาวุธต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรให้ตังค่ายที่เมืองกูฟะฮ และบัศเราะฮ  พวกเขาเหล่านั้นถูกห้ามไม่ให้เข้าร่วมสังคมกับบุคคลภายนอก  ทั้งนี้เพื่อรักษาจิตใจให้หึกเหิมอยู่เสมอ  ขณะเดียวกันวิถีชีวิตที่เคยอยู่แบบเผ่าพันธิและหมู่พวกก็ถูกดัดแปลงใช้ เพื่อให้เข้ากับยุทธศาสตร์ทางทหารและหมวดหมู่เหล่านั้นก็จะมีชื่อของตนเองตามเผ่าดั้งเดิมของแต่ละเผ่าทั้งนี้ก็เพื่อสะดวกแก่การบัญชาในการปฏิบัติอย่างเร่งรีบหรือฉุกเฉิน
ในด้านความยุติธรรมทางสังคมนั้น  ท่านคอลฟะฮอุมัรมีความเอาใจใส่ต่อสังคมเป็นอย่างมาก  ท่านสนใจการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกชนชั้น  ท่านเคยออกตระเวนในเวลากลางคืน  ท่านได้สร้างเขื่อนหลายแห่งในอิรัก เพื่อเป็นการสนับสนุนด้านการเกษตร  เช่น เขื่อนอบูมูซา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำไทกริสและบัศเราะฮ
ในด้านการค้าและคมนาคม  ท่านได้ขุดคลองเชื่อมแม่น้ำไนล์กับทะเลแดง  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม อัลคอลีจอะมีรุลมุอมินีน” (คลองแห่งผู้นำประชาชาติมุสลิม) ในเวลาเดียวกันเพื่อความสะดวกในการทำสัญญาต่าง ๆ ความสัมพันธ์กับรัฐหรือแคว้นอื่น ๆ ท่านอุมัรเป็นเคาะลีฟะฮท่านแรกที่ได้กำหนดให้มีปฏิทินอิสลามขึ้นโดยเริ่มจากปีฮิจญ์เราะฮที่ 15 (..637) ด้วยการนับเหตุการณ์การอพยพของท่านรอซูลr   จากนครมักกะฮสู่นครมะดีนะฮเป็นปีฮิจญ์เราะฮที่ 1 ถือว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด
นอกจากมีความเด็ดเดี่ยวมีสัจธรรมแล้ว  ท่านเคาะลีฟะฮอุมัรยังเป็นผู้นำความบริสุทธิ์  สะอาดสู่ผืนแผ่นดินอาหรับเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของท่านรอซูลr  ซึ่งกล่าวว่า ไม่ควรมีสองศาสนาในแผ่นดินอารเบีย ดังนั้นท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงได้โยกย้ายชนชาวยิว ซึ่งอาศัยอยู่ในค็อยบัร  และฟะดัก (ตอนเหนือของนครมะดีนะฮ) ไปยังซีเรียและอพยพชาวคริสต์ให้ไปอยู่ในอิรัก
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้นำสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในระบอบการปกครองอิสลามด้วยการใช้ระบบที่ทันสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับการขยายอาณาเขตในขณะนั้นและมีความสอดคล้องกับชีวิตของประชาราษฎร์ที่มีความแตกต่างด้านความศรัทธา  ท่านได้มอบภารกิจอย่างหนักแก่ข้าหลวงผู้ครองรัฐหรือแคว้นต่าง ๆ เพื่อให้ความสำคัญตามฐานะของศาสนาอิสลาม  และให้ผลประโยชน์แก่มุสลิม
                การเปลี่ยนแปลงความยากจนของประชาชาติมาสู่ความมั่งมีนั้นต้องใช้การบริหารของคนมีฝีมือ  มีความสามารถและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  ที่สำคัญที่สุดคือ  ต้องมีความหนักแน่นและมั่นใจ  สิ่งต่างๆเหล่านี้มีอยู่ในตัวของอุมัรทั้งหมด  ท่านตระหนักดีว่าระบบเศรษฐกิจที่ดีเท่านั้นที่สร้างความมั่นคงให้แก่สังคมและสร้างความสงบสุขให้แก่ประชาชน  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ท่านต้องจัดระบบเศรษฐกิจใหม่ ก็คือ  ทรัพย์สินเงินทองอันมหาศาล  ที่ได้จากการขยายอาณาจักรอิสลามโดยการเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ เช่น  เปอร์เซีย  ชามและอียิปต์  ซึ่งทรัพย์สินเหล่านั้นถือเป็นรายได้ของรัฐที่ผู้นำของรัฐอิสลามต้องรับผิดชอบ
                ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงเริ่มวางระบบการเงินของรัฐไว้อย่างรัดกุม  ท่านได้จัดตั้ง บัยตุลมาล หรือกองการคลังครั้งแรกขึ้นที่มะดีนะฮ์  เพื่อจัดเก็บทรัพย์สินต่างๆ ที่เป็นรายได้ของรัฐ  และแต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายการคลังเป็นผู้รับผิดชอบและดูแลรักษาการเงินของรัฐ  นอกจากนี้ท่านคอลีฟะอฺอุมัรยังได้วางกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่จะหยิบยืมเงินทองของรัฐ  เพื่อเป็นทุนในการค้าขายหรือทำกิจกรรมอื่นๆ โดยไม่มีการคิดดอกเบี้ยแต่อย่างใด ( อับดุลลอฮ์ อัลกอรีย์ , อ้างถึงในดลมนรรจน์ บากา , 2536 : 47 )
                ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้จัดระบบเศรษฐกิจโดยการกำหนดแหล่งรายได้ของรัฐไว้ดังนี้นั่นคือ
1.              ซะกาต
ซะกาต เป็นบทบัญญัติที่เริ่มใช้ในปีที่ 2 แห่ง ฮิจญเราะฮ์ศักราช  ซะกาตเป็นสิทธิอันชอบธรรมของคนจนในทรัพย์สินของคนรวย  เป็นภาษีพื้นฐานอันดับแรกของอิสลามและเป็นแหล่งรายได้ของรัฐ  ท่านศาสดามูฮัมมัดr ได้สั่งให้พนักงานเก็บภาษีเข้าไปรวบรวมภาษีจากเผ่าต่างๆ ที่เข้ารับอิสลามและกล่าวกับพนักงานว่า หากพวกเขาเข้ารับอิสลาม  ท่านจงเก็บภาษีจากทรัพย์จากคนรวยและแจกจ่ายให้แก่คนจน ”      ( อัฎฎอมาวีย์  , 1969 :170 )
ทรัพย์ที่ถูกกำหนดให้จ่ายซะกาตมีอยู่ 4 ชนิดคือ
1.1 ปศุสัตว์ อันได้แก่ อูฐ วัว ควาย แพะ แกะ  ซึ่งถูกจัดเก็บภาษีตามกำหนดเมื่อครบปี  มีรายงานว่า     ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร ได้ส่งกำชับให้พนักงานที่เก็บภาษีอย่าเลือกเอาสัตว์ที่ดีที่สุดของประชาชน  ให้พวกเขาจ่ายภาษีด้วยความเต็มใจ  นอกจากนี้  ในปีที่เกิดความแห้งแล้ง  ประชาชนได้รับความเดือดร้อน  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร จะสั่งให้งดเว้นการเก็บภาษีสัตว์  และสั่งให้ยืดเวลาออกไปจนกว่าภัยพิบัติจะหายไป ( อัฎฎอมาวีย์ , 1969 :171 )
1.2  เงินและทอง  ตามข้อกำหนดจะต้องจ่ายภาษี 2.5 เปอร์เซ็นต์  ดังท่านศาสดามูฮัมมัดr  ได้กล่าวไว้ว่า ในทุกๆ 200 เหรียญ  จะต้องจ่ายภาษี 5 เหรียญเงิน ” ( อิบนุมายะฮ์ ,มปป : 570)
1.3 ทรัพย์ที่เตรียมทำการค้า  ถูกกำหนดจ่ายภาษีเพราะเป็นทรัพย์ที่ไม่ได้นำออกไปหมุนเวียนแต่เก็บไว้เฉยๆ โดยจะต้องจ่าย 2.5 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับภาษีเงินและทอง
1.4 สิ่งเพาะปลูกและผลไม้  โดยกำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของจ่ายภาษี 10 เปอร์เซ็นต์หากเป็นการเพาะปลูกตามธรรมชาติ  และ 5 เปอร์เซ็นต์  หากเพาะปลูกโดยใช้อุปกรณ์เข้ามาช่วย   การปฏิบัติดังกล่าวนี้เป็นไปตามแนวทางของท่านศาสดาr
                ผู้มีสิทธิ์รับ ซะกาตมีอยู่ 8 จำพวก  ตามที่ปรากฏอยู่ในอัลกุรอาน  ที่มีใจความว่า ซะกาตจะถูกแจกจ่ายให้แก่คนเหล่านี้ คือ  คนยากจน  คนอนาถา  พนักงานเก็บภาษี  มุสลิมใหม่  ทาส  คนมีหนี้สิน  คนที่อยู่ในแนวทางของพระองค์ และคนเดินทาง ”  ( อัตเตาบะฮ์ : 60 )
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ปฏิบัติตามดังกล่าวโดยกำหนดให้แจกจ่ายซะกาตแก่ผู้มีสิทธิ์ ทุกประเภท  ยกเว้นสิทธิที่ผู้เข้ารับอิสลามใหม่  ท่านมีความเห็นว่าคนกลุ่มนี้เป็นพวกที่ท่านศาสดามูฮัมมัดr ให้ความสนิทสนมและเอาใจใส่เป็นพิเศษ  ในช่วงแรกๆ ที่เข้ารับอิสลามเท่านั้น  เนื่องจากอิสลามยังไม่แพร่หลายมากนักและเพื่อเป็นการปลอบประโลมใจแก่คนเหล่านั้น  จนพวกเขามีอำนาจ  มีเกียรติยศและเงินทองมากมาย  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงยกเลิกสิทธิของคนกลุ่มนี้  ท่านได้กล่าวกับคนกลุ่มนี้ว่า
 “ มันไม่มีความจำเป็นสำหรับพวกท่านเลย ( ในสิทธิอันนี้ ) อัลลอฮI ทรงบันดาลให้อิสลามเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่  และบันดาลให้พวกท่านร่ำรวย  ดังนั้นพวกท่านจงยอมรับตามนี้
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร ได้ยกเลิกบทบัญญัติของอัลลอฮI ตามที่หลายฝ่ายเข้าใจกัน  แต่ท่านได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนในฮิกมะฮ์  ในการจ่ายให้กับคนกลุ่มนี้ว่า สิทธิดังกล่าวมันหมดไปแล้ว  และยังมีกลุ่มอื่นที่ยังต้องการในสิทธิอันนี้มากกว่า  และการที่ท่านศาสดามูฮัมมัดr ได้ปฏิบัติดังกล่าวนั้นถือเป็นเรื่องชั่วคราว ตามวัตถุประสงค์ของท่าน  ท่านอบูซะฮ์เราะฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมัจญตะมะฮ์ อัลอิสลามียะฮ์หน้าที่ 104 ว่า ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร มิได้ยกเลิกสิทธิของมุสลิมใหม่โดยสิ้นเชิง  เพียงยกเลิกชั่วคราวเท่านั้น  แต่สิทธิดังกล่าวเป็นที่อนุญาตในปัจจุบัน สำหรับการเผยแพร่อิสลามแก่บรรดาผู้เข้ารับอิสลามใหม่ ”  (อัฎฎอมาวีย์,1969:173)


2.              ฟัยอ์
ฟัยอ์  หมายถึง  สิ่งที่ยึดได้จากศัตรูในสภาพที่มีการประนีประนอม  โดยไม่มีการทำสงครามแต่อย่างใด  ฟัยอ์ สามารถแบ่งได้เป็นดังนี้
                2.1  ญิซยะฮ์  คือ  จำนวนเงินที่เรียกเก็บจากชาวเมืองที่แพ้สงครามและไม่ยอมเข้ารับอิสลาม  ซึ่งอิสลามเรียกพวกนี้ว่า ซิมมีย์ พวกเหล่านี้จะได้รับการปกป้องคุ้มครองและได้รับสิทธิเสรีภาพในทุกๆ ด้าน  ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายอิสลาม
                ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้กำหนดภาษีดังกล่าว  โดยเก็บเป็นเงิน 24  เหรียญเงินในทุกๆ ปีต่อชายหนึ่งคน  ท่านได้ผ่อนผันภาษีแก่เด็ก ผู้หญิง คนชรา  และคนพิการ 
                2.2  ค่อร็อจ  คือจำนวนเงินภาษีที่อุมัรเรียกเก็บเป็นแผ่นดินที่มุสลิมยึดครองมาโดยการใช้กำลัง  อันได้แก่แผ่นดินเปอร์เซีย  ชาม และอียิปต์  อุมัรได้ปฏิเสธที่จะแบ่งดินแดนเหล่านั้นให้แก่บรรดาแม่ทัพนายกองที่เข้าไปพิชิตในที่ดินดังกล่าว  ภายหลังได้มีการปรึกษาหารือกันในหมู่ศอฮาบะฮ์  อยู่นาน  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร จึงมีมติให้แผ่นดินดังกล่าวอยู่ในมือของเจ้าของเดิม  เพื่อจะได้ทำประโยชน์ต่อไปและเก็บภาษีจากที่ดินนั้นแทน
                ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ใช้หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยเรื่องนี้ 3 ประการคือ
                1. ห้ามการการยึดครองกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นจำนวนมาก  เนื่องจากดินแดนเปอร์เซียมีเนื้อที่กว้างขวางมาก  การจัดแบ่งทำได้ยากและต้องแบ่งให้คนจำนวนมากอาจเกิดการเก็บสะสมที่ดินขึ้นก็ได้
                2.  ภาษีที่ดินดังกล่าวรัฐเป็นผู้รับผิดชอบ  และเก็บรวบรวมไว้เป็นรายได้ของรัฐ
                3. หากแบ่งที่ดินทั้งหมดให้แก่ประชาชน  รัฐจะขาดรายได้ที่จะมาช่วยเหลือจุนเจือคนยากจน  เด็กกำพร้า  หญิงหม้าย  และคนอ่อนแอ ( อบูซะฮ์เราะฮ์อ้างถึงใน อัฎฎอมาวีย์ , 1969 : 175 )
                2.3 อัลอุซร์ คือภาษีที่เรียกเก็บจาากพ่อค้าวาณิชที่นำสินค้าเข้ามาขายช่วงศึกสงคราม  และอยู่ในเขตแดนของมุสลิม  มีรายงานว่า  พ่อค้าคนหนึ่งได้เขียนหนังสือถึงท่านคอลีฟะฮฺ อุมัร ว่า ขอให้ท่านได้อนุญาตให้เราเข้าไปค้าขายในดินแดนของท่าน  เราจะจ่ายให้ 10 เปอร์เซ็นต์จากทรัพย์สินของเรา ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงปรึกษากับเหล่าศอฮาบะฮ์ และมีมติเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องดังกล่าว ( อัฎฎอมาวีย์ , 1969 : 176 )
3.              ฆ่อนิมะฮ์
ฆ่อนิมะฮ์  คือทรัพย์สินที่กองทหารยึดได้จากการทำสงคราม  ทรัพย์ดังกล่าวจะถูกแบ่งเป็น 5 ส่วน  ดังอัลกุรอานกล่าวไว้ซึ่งมีใจความว่า ท่านทั้งหลายจงทราบเถิดว่า แท้จริงสิ่งที่พวกท่านได้มาจากการสงครามนั้น  จะถูกแบ่งเป็น  5 ส่วนด้วยกันคือ ให้แก่ ท่านศาสดามูฮัมมัด r ญาติใกล้ชิดของท่าน เด็กกำพร้า  คนยากจนและคนเดินทาง ”  (อัลอัมฟาล : 41 )

การกระจายรายได้ของรัฐสู่ประชาชน

                ในจำนวนในแหล่งรายได้ของรัฐดังกล่าวข้างต้น  มีเพียง ซะกาต เท่านั้นที่มีการกำหนดสิทธิของผู้รับไว้อย่างแน่นอน  ผู้ปกครองรัฐไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เลย  ส่วนแหล่งรายได้อื่นๆ เป็นสิทธิของมุสลิมทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนรวยหรือ คนจน  ดังนั้นผู้ปกครองรัฐจึงต้องดูแลเรื่องการใช้จ่าย  เพื่อประโยชน์ของมุสลิมอย่างแท้จริง
                จุดนี้เอง  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  ท่านจึงจัดระบบการใช้ทรัพย์สินส่วนนี้ไว้  ดังนี้คือ
                1. กำหนดให้มุสลิมทุกคนมีสิทธิในทรัพย์สินของรัฐ  นับตั้งแต่เขาเกิดจนกระทั่งเขาตาย  ท่านได้ประกาศถึงอุดมการณ์อันประเสริฐว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮI  ผู้ทรงให้หรือไม่ให้ใครก็ได้  คนหนึ่งจะไม่มีสิทธิ์เหนืออีกคนหนึ่ง  นอกจากความเป็นบ่าวเท่านั้น  และฉันก็ไม่มีสิทธิ์ใดๆ เช่นเดียวกับพวกท่าน  ดังนั้นทุกคนจึงมีสิทธิร่วมกันในทรัพย์สินดังกล่าว  ในฐานะบ่าวของพระองค์ ” ( ฮุซัยน์ ฮัยกัล , มปป : 210 )
                เป็นที่น่าสนใจว่า  ระบบดังกล่าวนี้ถือเป็นระบบแรกที่เกิดขึ้นในโลกเพราะรัฐบาลของประเทศส่วนใหญ่  จะกำหนดรายได้ของรัฐให้เป็นเงินเดือนปกติแก่ข้าราชการและผู้ที่ตกงานเท่านั้น  แต่ระบบของ ท่าน       คอลีฟะฮฺอุมัร นั้นกำหนดเงินอุดหนุนให้แก่เด็กมุสลิมที่เกิดใหม่ทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิง
                นอกจากนี้ ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร กำหนดเงินช่วยเหลือแก่ประชาชนในปริมาณที่ไม่เท่ากัน  โดยพิจารณาถึงความมีเกียรติและความประเสริฐที่เหลื่อมล้ำกันในหมู่มุสลิม  ซึ่งแตกต่างจากสมัยของท่าน       คอลีฟะฮฺอบูบักร
                แนวทางของท่านคอลีฟะฮฺ อุมัร มีหลักในการพิจารณาเรียงลำดับความสำคัญดังนี้
1.1      เครือญาติของท่านศาสดามูฮัมมัดr  จะได้รับเงินอุดหนุนมากที่สุด
1.2      บรรดาผู้อาวุโสซึ่งเข้ารับอิสลามในช่วงต้นๆ
1.3      บรรดานักรบ  เจ้าหน้าที่ของรัฐและนักวิชาการสาขาต่างๆ
1.4      ประชาชนทั่วไป ( อัฎฎอมาวีย์ , 1969 : 179 )
2.  กำหนดให้นักรบมุสลิม  ได้รับส่วนแบ่งทั้งหมดจากทรัพย์สงคราม  แม้อัลกุรอานจะกำหนด 1 ใน 5 ของทรัพย์สินนั้น  เป็นของกองคลังและที่เหลือเป็นของนักรบทั้งหมดนั้น  แต่ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร ได้พิจารณาดูแล้วว่า  กองคลังมีทรัพย์สินมากพอแล้ว สมควรที่จะแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้กับบรรดาทหารหาญทั้งหมด ( อัฎฎอมาวีย์ , 1969 : 184 )
                การจัดระบบเศรษฐกิจของท่านคอลีฟะฮฺอุมัรนั้น ถือเป็นแบบอย่างผู้นำที่มีอัจฉริยภาพ  ผู้นำที่มองประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง   ผู้นำที่สามารถเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งมาสู่สภาพหนึ่งได้อย่างกลมกลืนเป็นอย่างยิ่ง  ชื่อเสียงของท่านจึงปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์อิสลามในทุกๆ ด้าน  และถูกนำมากล่าวอ้างอยู่ตลอดเวลา
3.2   ในด้านสังคม
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน  เนื่องจากในยุคสมัยของท่านนั้น  อาณาจักรอิสลามได้ขยายอย่างกว้างขวาง   มีการประทะกันในหลายเชื้อชาติหลายศาสนา  แต่ท่านก็สามารถกำหนดกฎระเบียบของสังคม   โดยเฉพาะเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างรัดกุม  จนอาจกล่าวได้ว่าสมัยที่ท่านเป็นผู้นำนี้บ้านเมืองมีเสถียรภาพมากที่สุด   ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีความเป็นอยู่ที่ดี  มีความสุขอย่างทั่วหน้านับว่าเป็นเรื่องที่น่าศึกษามากว่าท่านทำอย่างไร
                แต่ก่อนที่จะพูดถึงนโยบายของท่านคอลีฟะฮฺอุมัร   จะขอแบ่งสิทธิมนุษยชนออกเป็น 2 ส่วน  ตามการแบ่งของกฎหมายตะวันตกเพื่อสะดวกต่อการเรียบเรียง   นั่นก็คือเรื่องของเสรีภาพกับเรื่องของความเสมอภาค   ซึ่งการนำเสนอครั้งนี้จะกล่าวถึงมุมมองของอิสลามทั่วๆไป  และจะเข้าสู่นโยบายของท่านคอลีฟะฮฺอุมัร  โดยตรง
3.2.1 เสรีภาพ
                บทบัญญัติ (ชะรีอะฮ) ซึ่งหมายถึงคัมภีร์อัลกุรอานและอัลหะดิษนั้นคนส่วนใหญ่ในสังคมยุคใหม่ต่างกล่าวหาว่าล้าสมัย  ฝ่าฝืนกฎของธรรมชาติ  เป็นกฎหมายที่มีความรุนแรง  นั่นเป็นการกล่าวหาที่ไร้เหตุผลและปราศจากความเข้าใจในอิสลามอย่างแท้จริง  เพราะว่าชะรีอะฮคือบทบัญญัติตามธรรมนูญที่กำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ  เป็นแนวทางที่เที่ยงตรงและยุติธรรม  เปิดโอกาสให้มนุษย์มีสิทธิ  เสรีภาพและขอบเขต  อันทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่มนุษย์ทุกคน  กฎหมายอิสลามยังไม่คำนึงถึงชนชั้น  คณะของบุคคลหรืออภิสิทธิ์ชน  มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันตามกฏหมายเพราะชะรีอะฮมิใช่กฏหมายที่ร่างขึ้นโดยมนุษย์  แต่มาจากพระเจ้า
                มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระหรืออยู่ในสภาพที่บริสุทธิ์  ซึ่งหมายถึงมนุษย์เกิดมาโดยปราศจากความเป็นทาส   ปราศจากบาปและความต่ำต้อย  ดังนั้นมนุษย์จึงมีเสรีภาพตราบที่เขามิได้ละเลยบทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า   หรือทำลายสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น อิสลามยังได้ประกันและรักษาสิทธิเสรีภาพให้แก่ผู้ที่เป็นมุสลิมและมิใช่มุสลิม  แนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพของอิสลามจึงครอบคลุมไปถึงกิจกรรมทุกประเภทที่มนุษย์กระทำด้วยความเต็มใจในทุกวิถีทางในการดำเนินชีวิต
                ดังนั้นส่วนบุคคลในอิสลามจึงมีความหมายที่ลึกซึ้ง  รัฐอิสลามและรัฐบาลทั่วไปไม่มีอำนาจใด ๆ  ในตัวของมันเอง  บุคคลหรือคณะบุคคลไม่มีอำนาจที่จะบังคับใช้ผู้ใดได้  เพราะอำนาจสูงสุดเป็นของพระผู้เป็นเจ้า  รัฐบาลต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญของพระองค์  มนุษย์ทุกคนจึงมีเสรีภาพเท่าเทียมกัน  โดยเฉพาะรัฐอิสลามจะต้องปลดปล่อยมนุษยชาติให้เกิดเสรีภาพ  มิต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจหรืออิทธิพลของมนุษย์ด้วยกัน
                ท่านศาสดามูฮัมมัดr ในฐานะผู้นำแห่งรัฐอิสลามและบรรดาคอลีฟะฮ (ตัวแทน)ของท่านได้ตระหนักถึงคำว่าเสรีภาพของมนุษย์  พวกเขาจึงทำการเผยแพร่อิสลามไปยังดินแดนต่าง ๆ เพื่อปลดปล่อยมนุษย์ออกจากพันธนาการภายใต้อำนาจและอิทธิพลของมนุษย์ด้วยกัน  นำเสรีภาพกลับคืนสู่ประชาชนโดยสมบูรณ์    โดยเฉพาะในสมัยของท่านคอลีฟะฮฺอุมัร  ท่านได้เผยแพร่อัลอิสลามสู่ดินแดนเปอร์เซียและอาณาจักรโรมันตะวันออก(ไบแซนไทน์) เนื่องจากดินแดนดังกล่าวมีการจำกัดเสรีภาพของประชาชน สิ่งต่างๆเหล่านี้ถือเป็นอุดมการณ์อันสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาแห่งมนุษยชาติ
                ในฐานะที่อุมัรเป็นผู้นำแห่งรัฐอิสลามที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลท่านมีนโยบายในเรื่องเสรีภาพของประชาชนอย่างไร  ถือเป็นเรื่องที่ควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ในที่นี้ของแบ่งเสรีภาพออกเป็น 3 ด้านคือด้านการปกครอง ด้านความคิด และด้านการศรัทธา
เสรีภาพด้านการปกครอง
เสรีภาพด้านการปกครองหมายถึง การเปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีความรู้ความสามารถและความคิดเห็น ได้เข้าร่วมในการบริหารกิจการของรัฐและควบคุมตรจตรากิจการของฝ่ายบริหาร อิสลามจึงให้เสรีภาพทางด้านการปกครองไว้อย่างกว้างๆ ดังนี้
เสรีภาพในการเลือกผู้นำ
อิสลามได้ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกผู้นำ แม้แต่การเลือกคอลีฟะฮ.(ประมุขของมุสลิม) เพราะคอลีฟะฮที่แท้จริงนั้นจะได้มาด้วยการให้สัตยาบัน(บัยอะฮ.) ของบรรดามุสลิมโดยเสรีไม่มีการบังคับ ไม่ว่าจะกรณีใดๆทั้งสิ้นจากรากฐานแห่งประชาธิปไตยอันสูงส่งนี้ บรรดาคอลีฟะฮ.ทั้งสี่รวมทั้งท่านคอลีฟะฮฺอุมัร ก็ได้เข้ารับตำแหน่งการปกครองในลักษณะนี้ทั้งนั้น นอกจากนี้อิสลามยังบังคับมิให้รัฐบาลหรือผู้นำประกอบกิจโดยพลการ จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและได้รับความเห็นชอบจากประชาชนก่อน ผู้ปกครองจะต้องให้สิทธิแก่ประชาชน ในการลงมติอย่างสมบูรณ์เกี่ยวกับการบริหาร ดังจะเห็นได้จากสุนทรพจน์ของท่านอบูบักรที่กล่าวต่อประชาชนภายหลังจากได้รับการสัตยาบันในการเป็นเคาะลีฟะฮ มีใจความสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นผู้ปกครองของพวกท่าน แต่ข้าพเจ้ามิได้ประเสริฐไปกว่าพวกท่าน ในเมื่อท่านทั้งหลายเห็นว่าข้าพเจ้าธำรงอยู่ในหนทางที่ถูกต้องขอจงมีความบริสุทธิ์ใจในตัวข้าพเจ้า หากท่านทั้งหลายเห็นว่าข้าพเจ้ากำลังตกอยู่ในความหลงผิด จงนำข้าพเจ้าสู่หนทางที่ถูกต้อง ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังข้าพเจ้าเมื่อข้าพเจ้าใช้ให้ท่านทั้งหลายภักดีต่ออัลลอฮ หากข้าพเจ้าทรยศต่อพระองค์ท่านทั้งหลายไม่ต้องเชื่อฟังข้าพเจ้า” (อัฏฏ็อบรีย,1991,245)
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรก็เคยกล่าวสุนทรพจน์ต่อประชาชนภายหลังจากได้รับการสัตยาบันในการเป็นคอลีฟะฮว่า ท่านทั้งหลาย เมื่อเห็นข้าพเจ้าเป็นคนทุจริต จงคัดค้านข้าพเจ้าด้วยคมดาบของพวกท่าน” (อัฏฏอมาวีญ,1969:32) นั้นย่อมแสดงให้เห็นว่าท่านกำลังให้เสรีภาพกับประชาชน ในการแสดงความคิดเห็นและตรวจสอบผู้นำของเขาทั้งหลาย เมื่อท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเป็นประมุขของอาณาจักรอิสลาม ท่านได้ใช้หลักการเดียวกันในการเลือกผู้นำรัฐ นั่นคือการให้เสรีภาพแก่ประชาชนในแคว้นนั้นๆ ในการตรวจสอบผู้ที่ท่านคัดเลือกไป และพร้อมที่จะปลดออกจากตำแหน่งทันทีที่ได้รับการร้องทุกข์จากประชาชน ดังเช่นครั้งหนึ่งท่านได้ออกไปยังตลาดเมืองมะดีนะฮ เพื่อตรวจตราความเรียบร้อย มีชายคนหนึ่งเดินมาหาท่านพร้อมกับแจ้งว่า มีผู้ว่าการรัฐคนหนึ่งที่ท่านแต่งตั้งไป ได้ออกคำสั่งให้ชายผู้หนึ่งดำลงไปในบ่อน้ำเพื่อดูความลึกของบ่อแต่ชายผู้นั้นปฏิเสธเนื่องจากกลัวจะได้รับอันตราย ผู้ว่าการรัฐคนนั้นได้ใช้อำนาจบังคับเขา จนเป็นสาเหตุให้ชายคนนั้นได้ถึงแก่ความตาย ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้เรียกผู้ว่าการรัฐมาพบและสอบถามความจริง จากนั้นจึงกล่าวว่า หากฉันไม่กลัวเกรงอัลลอฮว่าสิ่งที่ฉันจะทำต่อไปนั้นจะกลายเป็นแนวทางปฏิบัติภายหลังจากฉัน ฉันจะสั่งประหารชีวิตท่าน แต่ท่านจะยังไม่พ้นตำแหน่งจนกว่าจะจ่ายค่าสินใหมให้ญาติผู้ตายเสียก่อน และฉันขอสาบานต่ออัลลอฮI ว่าฉันจะไม่ให้ตำแหน่งใด ๆ กับท่านอย่างเด็ดขาด(อัฏกอมาวีย, 1969:274)

เสรีภาพในด้านที่อยู่อาศัย

อิสลามได้กำหนดให้รัฐเตรียมที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรทุกคน คนที่มีความร่ำรวยที่มีที่ดินเป็นของตนเอง ก็สามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้อย่างเสรี ส่วนคนยากจนรัฐต้องจัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมและให้ความช่วยเหลือในด้านการทำมาหากิน  เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต

         ในสมัยศาสดามูฮัมหมัดr มีศอฮาบะฮ (สหาย) กลุ่มหนึ่งไม่มีที่อยู่อาศัย และได้มาหาท่านให้ช่วยจัดหาที่อยู่อาศัยให้ ท่านศาสดามูฮมหมัด ศ็อลฯ จึงสั่งให้พวกเขาสร้างที่พักมุมหนึ่งของมัสยิดนบี จึงมีการขนานนามคนกลุ่มนี้ว่า อะฮลุศศุฟฟะฮ” (อิบน้ลเญาซีย, มปป :157)
          ในตำรานิติศาสตร์อิสลามได้กล่าวไว้ว่า คนหนึ่งไม่มีที่อยู่อาศัยในขณะที่อีกคนหนึ่งมีที่อยู่อาศัยอย่างกว้างขวางเกินความจำเป็น เป็นภาระหน้าที่ของรัฐที่จะบังคับให้เจ้าของกรรมสิทธิ์นั้น ให้ที่อยู่กับคนที่ตกทุกข์นั้นแต่ไม่อนุญาตให้รัฐเข้าไปยึดครองนอกจากจะได้รับการอนุญาตจากเจ้าของเสียก่อนและผู้ปกครองใช้อำนาจกระทำการยึกครองที่อยู่อาศัยของผู้ใด   (มูฮำหมัดกามิ้ล,2523:93)
           ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเป็นผู้ที่มีความคิดในการจัดระเบียบผู้อาศัย  โดยเฉพาะในคาบสมุทรอาหรับ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพที่รายล้อมอยู่ด้านนอก เมื่อท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำรัฐอิสลาม ในขณะนั้นคาบสมุทรอาหรับมีพลเมืองอยู่ปะปนกันหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา ได้แก่ อิสลาม ยิว และคริสต์  ท่านเริ่มการจัดระเบียบการอยู่อาศัยของชางยิวและคริสต์ โดยเคลื่อนย้ายพวกเขาเหล่านั้นไปอยู่ในที่ๆ เหมาะสม และปลอดภัย
           พวกยิว ได้แก่ชาวเมืองคอยบัร พวกเขาเคยอาศัยอยู่ตามชานเมืองมะดีนะฮในสมัยของท่านศาสดามูฮัมหมัดr และสมัยของท่านอบูบักร  มีอาชีพทำสวนอินทผาลัม พวกเหล่านั้นได้ทำสัญญากับท่านศาสดามูฮัมหมัดr โดยจะจ่ายผลกำไรจากการทำสวนครึ่งหนึ่งให้แก่มุสลิม แต่ต่อมาเกิดการทะเลาะวิวาทกับมุสลิมบ่อยครั้งเมื่อมาถึงสมัยของ           ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงจัดหาที่อยู่แห่งใหม่นอกคาบสมุทรอาหรับใหเแก่พวกเขา
           พวกคริสเตียนได้แก่ชาวเมืองนัจญรอน อยู่ติดชายแดนเมืองยะมัน(เยเมน) พวกเขาได้ทำสนธิสัญญากับท่านศาสดามูฮัมหมัดr  ว่าจะปฏิบัติตามหลักการของอิสลาม แต่เขาก็บิดพริ้ว  นอกจากนี้ยังเกิดความขัดแย้งกับมุสลิมอีกด้วย เมื่อท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเข้ามาปกครองอาณาจักรอิสลาม พวกเหล่านี้จึงขอร้องให้ท่านจัดหาที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ ที่ปลอดภัยจากการบาดหมางกัน   ท่านก็ปฏิบัติตามคำขอร้องดังกล่าว
           การอพยพชาวยิวและชาวคริสเตียนที่อาศัยในคาบสมุทรอาหรับครั้งนี้ถือการให้เสรีภาพด้านที่อยู่อาศัยแก่พวกเขา และเป็นการตัดสินใจของพวกเขาเอง เพราะการอยู่ร่วมกันกับชาวมุสลิม อาจเกิดการบาดหมางซึ่งกันและกัน อันนำไปสู่ความหายนะในทรัพย์สินและชีวิตได้ จึงสมควรที่จะต้องแยกกันอยู่เพื่อความสบายใจของทั้งสองฝ่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงกล่าวกับพวกเขาเหล่านั้นว่าแท้จริง อัลลอฮI ทรงอนุมัติการอพยพเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยของพวกท่าน และฉันได้ยินท่านศาสดามูฮัมหมัดr ได้กล่าวก่อนเสียชีวิตว่า อย่าปล่อยให้คาบสมุทรอาหรับมีสองศาสนาอย่างเด็ดขาดท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงสั่งเคลื่อนย้ายพวกนี้ไปยังเมืองกูฟะฮ  ประเทศอีรัก(อัฏฏ่อวีย,1969:376-377)

เสรีภาพด้านการประกันความปลอดภัย

อิสลามได้ให้หลักประกันความปลอดภัยแก่ปัจเจกชนทุกคน ห้ามมีการก้าวกายในชีวิต ทรัพย์สินและเกียรติยศของผู้อื่น หรือสร้างความเดือดร้อนและเสื่อมเสียแก่ผู้ใด  เพราะมนุษย์ทุกคนมีเกียรติและศักศิ์ศรีเท่าเทียมกันหมด  ดังอัลกรุอ่านได้กล่าวไว้ว่า อันที่จริงเรา(อัลลอฮ) ได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานของอาดัมทุกคน”(อัลอิสรออ:70)  นอกจากนี้ท่านศาสดามูฮัมหมัดr   ยังกล่าวยืนยันอีกว่าสิทธิของมุสลิมต่อมุสลิมคือ ห้ามการหลั่งเลือด การทำลายเกียรติยศและทรัพย์สิน(ซึ่งกันและกัน)”(มุสลิม,1924:16/121)
           ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้สั่งเสียผู้ว่าการรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการให้หลักประกันความปลดภัยในด้านต่างๆโดยกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้แต่งตั้งพวกท่านให้ทุจริตต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้นั้น” (อัฏฏ่อมาวีย,1969:271)

เสรีภาพในการทำงาน

อิสลามถือว่าการประกอบอาชีพนั้น เป็นความรับผิดชอบที่สำคัญอย่างหนึ่งทุกคนต้องขวนขวายหางานทำ เพื่อนำรายได้มาเลี้ยงชีพ อิสลามไม่อนุญาตให้ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการปล้นสะดมหรือลักขโมย ในขณะเดียวกัน ผู้นำรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบจัดหางานต่างๆ ที่เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้และความสามารถของผู้นั้น ตลอดจนจัดหาสิทธิต่างๆที่เหมาะสมให้แก่เขา
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรมีนโยบายทางด้านนี้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจของอิสลามด้วย คือการกำหนดให้ประชาชนที่มีความสามารถต้องทำงานให้เหมาะสมตามความสามารถ และให้ขวนขวายและอยากทำงาน เพื่อจะไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบพี่น้องมุสลิมด้วยกัน ท่านได้กล่าวว่า คนหนึ่งคนใดจากพวกเจ้าอย่านั่งแบมือขอโชคลาภ โดยกล่าวว่า ขอพระองค์ทรงประทานโชคลาภแก่ข้าพเจ้า จงรู้เอาไว้ว่าฟ้าจะไม่หลั่งน้ำฝนให้ตกลงมาเป็นเงินเป็นทอง และพระองค์จะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น  (อัฏฏ่อมาวีย,1989;417)

เสรีภาพในด้านความคิด

อิสลามได้ให้เสรีภาพทางความคิดเช่นเดียวกันกับด้านการปกครอง อิสลามได้เปิดโอกาสให้ผู้มีความรู้แสดงความคิดเห็นของตนตามความปราถนา แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่อัลลอฮ Iได้กำหนด และไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น ด้วยเหตุนี้ทำให้บรรดาผู้ศรัทธามีความคิดริเริ่ม มีอุดมการณ์ได้แสดงออกอย่างเต็มที่ ในสมัยของท่านศาสดามูฮัมหมัด r  ท่านได้ขอคำปรึกษาจากเหล่าศอฮาบะฮ(สหาย) และเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นโดยเฉพาะเรื่องยุทธวิธีในการทำสงคราม ดังเช่นการแนะนำของซัลมานอัลฟะริซียต่อท่านศาสดามูฮัมหมัด rให้ทำการขุดสนามเพาะ เพื่อป้องกันการบุกโจมตีของข้าศึก  ในสงครามคอนดักเป็นต้น นอกจากนี้ในอัลกรุอ่านได้กล่าวไว้อย่างมากมายถึงการให้เสรีภาพด้านความคิด ส่งเสริมให้มนุษย์ใช้สติปัญญา พิจารณาปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสากลจักรวาล และจากการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆนี้เองทำให้เกิดวิทยาการต่างๆ ติดตามมา          
เสรีภาพในการนับถือศาสนา
อิสลามมีอุดมการณ์อันสูงส่งคือ การให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา อิสลามจะไม่มีการบังคับให้บุคคลใดละทิ้งศาสนาของตนเพื่อเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามโดยปราศจากการศรัทธา  ดังโองการของอัลลอฮI ที่มีใจความว่า
ไม่มีการบังคับในการนับถือศาสนา   แท้จริงความถูกต้องได้ประจักษ์ชัดจาก    ความหลงผิดแล้ว”      ( อัลบากอเราะฮ : 256 )
ด้วยอุดมการณ์ดังกล่าวยามที่มุสลิมเข้ายึดเมืองใดก็ตาม จะไม่มีการบังคับชาวเมืองนั้นๆ ในเรื่องการนับถือศาสนา มุสลิมจะเสนอให้พวกเขายอมรับอิสลามเป็นอันดับแรก  ไม่เช่นนั้นก็ต้องจ่ายภาษีส่วยและจะต้องมีความจงรักภักดีต่อผู้ปกครอง ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด  เขาทั้งหลายจะได้รับความคุ้มครองจากการคุกคามจากภายนอก  ประเพณีและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะได้รับเกียรติเช่นกัน
            การปกครองของท่านศาสดามูฮัมหมัดrนั้นเป็นตัวอย่างได้ดี   ท่านเป็นประมุขคนแรกของรัฐอิสลาม ที่ปกครองประชาชนทุกศาสนา มีการทำสัญญาร่วมกันที่จะไม่ล่วงละเมิดกิจการด้านศาสนา เช่นเดียวกับท่านอบูบักร คอลีฟะฮคนแรกที่ดำเนินตามนโยบายของท่าน  ทั้งนี้ก็เนื่องจากอาณาจักรอิสลามยังอยู่ในภาวะที่เริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป  และยังไม่แพร่ขยายไปสู่เมืองต่างๆรอบคาบสมุทรอาหรับมากนัก   

การให้มีศาสนาเดียวในคาบสมุทรอาหรับ

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ในคาบสมุทรอาหรับโดยเฉพาะรอบเมืองมาดีนะฮมีชาวยิวและชาวคริสเตียนอยู่มากมาย พวกเหล่านี้เคยบิดพริ้วต่อสัญญาที่ทำไว้ทั้งในสมัยของท่านศาสดามูฮัมหมัดr และสมัยท่านอบูบักร แต่เมื่อมาถึงสมัยของท่านคอลีฟะฮฺอุมัร   พวกเหล่านี้ก็มีท่าทีว่าจะก่อตัวเป็นศัตรูกับอิสลามอีกครั้ง  เพื่อเป็นการไม่ห่วงหน้าพะวงหลัง   ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงทำการอพยพเคลื่อนย้ายพวกนี้ให้ไปอยู่ที่เมืองคูฟะฮ   โดยอ้างคำพูดของท่านนบีr ก่อนที่จะเสียชีวิตที่ว่า   ฉันจะอพยพชาวยิวและชาวคริสเตียนออกจากคาบสมุทรอาหรับ  และให้คงไว้เพียงมุสลิมเท่านั้น “  ( มุสลิม  .1992 : 335 ) ซึ่งท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้เข้าใจได้โดยทันทีว่า  ท่านศาสดามูฮัมหมัดr หมายถึงการสร้างเสถียรภาพและสันติให้เกิดขึ้นในคาบสมุทรอาหรับ  เพื่อใช้เป็นศูนย์การบัญชาการทางทหาร  ในการขยายอาณาจักรอิสลาม  ซึ่งท่านศาสนดามูฮัมหมัดr ทรงทราบดีถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เสรีภาพทางศาสนานอกคาบสมุทรอาหรับ
เมื่อกองทัพมุสลิมได้รับชัยชนะในการสู้รบและพยายามยึดเมืองต่างๆรอบคาบสมุทรอาหรับได้  ซึ่งเมืองเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรโรมันตะวันออกและเปอร์เชีย   ประชาชนถูกข่มเหงรังแกและถูกจำกัดเสรีภาพในทุกๆด้านจากผู้มีอำนาจ  เมื่ออิสลามเข้ามาเพื่อนำอุดมการณ์อันสูงส่งเข้ามาเผยแพร่ โดยเฉพาะการให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา อิสลามได้เข้าปกครองดินแดนต่างๆ   และสร้างความสงบสุขให้แก่ประชาชน ซึ่งพวกเขาไม่เคยได้รับมาก่อน
           เช่นเดียวกับการบริหารของท่านคอลีฟะฮฺอุมัร  ดังนั้นท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงเป็นแบบอย่างของผู้นำแห่งอิสลามอย่างแท้จริง มีเหตุการณ์มากมายที่บ่งบอกถึงคุณธรรมของท่าน  ดังหลักฐานถ้อยคำของท่าน ในสาส์นที่ส่งไปยังเจ้าเมือง บัยตุ้ลมักดิส ”  หรือเยรูซาเล็ม มีความว่า
             “ นี่เป็นสิ่งที่ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร ( อมีรุ้ลมุมีนีน ) ให้แก่ชาวเมืองนี้  ชีวิตของเขาเหล่านั้น โบสถ์ วิหาร และไม้กางเขนจะได้รับความปรอดภัย  ศาสนาของพวกเขาจะไม่เป็นที่รังเกียจ และคนหนึ่งคนใดจากพวกท่านจะไม่ถูกประทุษร้าย
              “ ดังนั้นพวกท่านจะต้องเลือกเอาระหว่างการจ่ายญิซยะฮ  ( ภาษีส่วย ) หรือจะอพยพไปอยู่กับพวกโรมันตะวันออกหรือจะเข้ารับอิสลาม ” ( อัฏฏอบรีย  1991 : 448  )
หลังจากนั้นท่านได้ทำสัญญาสงบศึกและเข้าตรวจสอบสภาพบ้านเมือง ในขณะนั้นเป็นเวลาละหมาดพอดี  ท่านได้เดินผ่านโบสถ์แห่งหนึ่งและได้รับการเชื้อเชิญจากนักบวชคริสต์ ให้เข้าไปละหมาดภายในโบสถ์  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงกล่าวในเชิงขออภัยว่า  หากฉันทำอย่างที่ท่านเชื้อเชิญ  มุสลิมจะเข้าใจผิดคิดว่าโบสถ์นี้เป็นมัสยิด  โดยขับไล่พวกท่านออกไป  ฉันทำการละหมาดทรงอื่นดีกว่า ” ( อัฎฎ่อมาวีย  1969 : 382  )
นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า อุมัรได้ให้อิสระในการนับถือศาสนาและให้เกียรติต่อสถานที่ประกอบพิธีกรรมอีกด้วย

3.2.2  ความเสมอภาค

องค์ประกอบพื้นฐานอย่างหนึ่งในโครงสร้างของอิสลามคือความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน  ความเสมอภาคในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความเหมือนกันหรือออกมาเป็นพืมพ์เดียวกันหมด  อิสลามสอนว่าในสายตาของพระเจ้าแล้ว  มนุษย์ทุกคนย่อมเท่าเทียมกันในฐานะความเป็นมนุษย์ บุคลิกและพฤติกรรมอื่นๆมิได้ทำให้มนุษย์คนหนึ่งมีความเหนือกว่าอีกคนหนึ่ง  นอกจากความแตกตางที่พระองค์ทรงบอกเอาไว้เพียงประการเดียวคือ  ความแตกต่างในเรื่องความศรัทธาซึ่งพระองค์จะทรงพิจารณาการศรัทธาของมนุษย์ จากบรรทัดฐานในเรื่องคุณความดีและความสูงส่งทางด้านของจิตใจ  ดังอัลกุรอ่านได้กล่าวไว้มีใจความว่า  แท้จริงผู้มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ . อัลลอฮI นั้นคือผู้ที่มีคุณธรรมมากที่สุด  “  ( อัลฮุจญรอต  : 13  )
หลักการเรื่องความเสมอภาคของอิสลาม ได้หยั่งลึกไปถึงโครงสร้างของอิสลาม และมีพื้นฐานมาจากหลักการดังต่อไปนี้ อัลลอฮI เท่านั้นเป็นผู้สร้างมนุษย์ทุกคน  มนุษย์ทุกคนสืบเชื้อสายมาจากอาดัมกับอีวา ( เฮาวาอ ) อัลลอฮI ทรงมีความยุติธรรม และความกรุณาปรานีต่อสิ่งถูกสร้างทั้งมวล   พระองค์มิได้พึงพอใจเชื้อชาติหนึ่งเชื้อชาติใด ยุคสมัยหนึ่งยุคสมัยใด หรือศาสนาหนึ่งศาสนาใดเป็นพิเศษ  จักรวาลทั้งหมดอยู่ในอำนาจของพระองค์   มนุษย์และสิ่งถูกสร้างทั้งหมดเป็นของพระองค์
มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน คือเมื่อแรกเกิดไม่มีผู้ใดมีทรัพย์สินติดตัวมาและมนุษย์ทุกคนก็ต้องตายเท่าเทียมกัน  นั้นคือ  เมื่อมนุษย์ถึงแก่ความตาย มนุษย์ไม่สามารถนำทรัพย์สมบัติใดไปเลย  อัลลอฮI ทรงตัดสินมนุษย์ทุกคนจากคุณงามความดี และการกระทำของแต่ละคน อัลลอฮI ทรงประทานตำแหน่งแห่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีแก่มนุษย์ทุกคน    ( ฮัมมูดะฮ อับดะละตี อ้างถึงใน  บรรจง บินกาซัน , มปป : 97-98 )
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในเรื่องนี้ ท่านตระหนักดีว่าในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำแห่งมวลผู้ศรัทธาสายตาทุกคู่ของประชาชนกำลังจ้องดูพฤติกรรมของท่านโดยเฉพาะครอบครัวและญาติพี่น้องของท่าน   ดังนั้นท่านจึงสั่งห้ามพวกเขาเข้าไปยุ่งเกี่ยวในงานของราชการ  พร้อมทั้งห้ามทำการค้าขาย เพราะอาจจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในเรื่องผลกำไร ท่านจึงสั่งกำชับให้ญาติพี่น้องและครอบครัวของท่านปฎิบัติเยี่ยงสามัญชนธรรมดา ท่านได้กล่าวกับครอบครัวท่านว่า ฉันได้ห้ามประชาชนมิให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ดังนั้นพวกเขากำลังจ้องมองพวกท่าน  ดังเสมือนเหยี่ยวที่จ้องมองอาหารของมัน หากพวกท่านล้มลงพวกเขาก็จะล้มลงด้วย หากพวกท่านยืนขึ้นพวกเขาก็ยืนด้วย  และหากคนหนึ่งคนใดจากพวกท่านปฎิบัติในสิ่งที่ฉันห้ามประชาชน ฉันจะลงโทษผู้นั้นเป็นทวีคูณ   (อัฎฏ็อบรีย์ 1991: 568 )
             นอกจากนี้ในปี ฮ.. ที่18 เกิดความแห้งแล้ง ประชาชนเกิดความอดอยากกันทั่วคาบสมุทรอาหรับ อุมัรได้เข้าไปสัมผัสกับความอกอยากนี้ด้วยท่านสั่งการให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องให้นำสิ่งของบรรเทาทุกข์จากหัวเมืองใหญ่ๆรอบนอกไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิมเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือประชาชนธรรมดาอย่างเท่าเทียมกัน ( มะฮมูด  ซากิร, 1991:213)
           สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงบางตัวอย่างที่อุมัรได้นำมาปฎิบัติต่อผู้อยู่ภายใต้การปกครองของท่าน มันคือคุณค่าของความเสมอภาคในอิสลาม นอกจากนี้ความเสมอภาคยังครอบคลุมในด้านต่างๆดังต่อไปนี้คือ  ด้านกฎหมาย  ด้านการพิพากษา  ด้านการเงิน  และ  สิทธิสตรี
              ความเสมอภาคด้านกฎหมาย
กฎหมายอิสลามไม่ยินยอมที่จะให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ใดหรือกลุ่มใด  อิสลามไม่อนุญาตให้มีการนำกฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการหาประโยชน์มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันหมดและจะถูกพิจารณาตามกฎหมายอย่างเสมอภาคกัน ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้นำแห่งรัฐอิสลาม หรือประชาชนธรรมดาก็ตาม
              ท่านศาสดามูฮัมมัดศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวาซัลลัมเคยถูกท้วงติงในเรื่องเสมอภาคจากผู้ไม่หวังดีต่อศาสนาในขณะแบ่งทรัพย์สงคราม  นอกจากนี้ท่านยังถูกอุซามะบุตรซัยด์ขอร้องให้ลดโทษให้ผู้หญิงผู้หนึ่งที่ได้ขโมยของ  ท่านจึงกล่าวกับอุซามะฮว่า
             “ ท่านจะขอผ่อนผันในสิ่งที่เป็นอาญาของอัลลอฮI   หากฟาฎิมะฮลูกสาวของฉันลักขโมย  ฉันนี่แหละจะเป็นคนตัดมือนางเอง ( อัลอัสกอลานีย, 1986:110 )
              ความเสมอภาคถือเป็นความรับผิดชอบสูงสุดของผู้ปกครองเช่นเดียวกับท่านคอลีฟะฮอุมัรที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก  ท่านปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่บุคคลทั่วไปโดยเฉพาะผู้ที่ปกครองประชาชน ท่านได้แสดงให้เห็นว่าในการใช้กฎหมายของพระผู้เป็นเจ้านั้นไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้ปกครองกับประชาชน  ท่านได้ตำหนิอัมร์บุตรอัลอาศ ผู้ปกครองอียิปต์ที่ปล่อยให้บุตรชายเอาตำแหน่งของพ่อมาสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน โดยมีรายงานว่า บุตรชายของอัมร์บุตรอัลอาศผู้ปกครองอียีปต์ได้ตีเด็กชาวอียีปต์คนหนึ่งด้วยแซ่เด็กอียิปต์จึงกล่าวว่า  ฉันจะไปฟ้องท่านคอลิฟะฮฺอุมัร”  บุตรของอัมรจึงกล่าวว่า จงไปฟ้องเถิดคำฟ้องของเจ้าไม่อาจทำอันตรายต่อเราได้เพราะเราเป็นบุตรชายของผู้ที่มีเกียติที่สุด”  บิดาของเด็กคนนั้นเดินทางไปฟ้อง   ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรที่นครมะดีนะฮ์ ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงเรียกผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ทั้งหมดมายังนครมะดีนะฮ์เพื่อทำการสอบสวนข้อเท็จจริง  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรกล่าวกับอัมรว่า ท่านเอาประชาชนมาเป็นทาสตั้งแต่เมื่อไหร่ทั้งๆที่แม่ของเขาได้บังเกิดเขาในสภาพที่เป็นไท พร้อมกันนั้นท่านคอลีฟะฮฺอุมัรสั่งการว่า จงเฆี่ยนตีอัมรเพราะการที่ผู้เป็นพ่อมีอำนาจวาสนานั้นเป็นสาเหตุให้ลูกมีความหลงระเริงในอำนาจ”  แต่เด็กอียีปต์ต้องการจะให้ตีบุตรของอัมรเท่านั้น  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงสั่งเด็กคนนั้นว่า      เจ้าจงตีบุตรของผู้มีเกียรติเถิด” ( อัลอักก็อด,1990 : 55 )
ความเสมอภาคด้านการพิพากษา   
                อิสลาม   เป็นศาสนาที่ให้ความสำคัญต่อความเสมอภาคระหว่างมนุษย์ทุกคนโดยเฉพาะระบบการตัดสินข้อพิพาท  ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ใดมีอภิสิทธิ์เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้พิพากษา  แม้เขาผู้นั้นจะเป็นคอลีฟะฮ์หรือผู้มีอำนาจก็ตาม  นั่นเป็นหลักประกันที่จะให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมอย่างแท้จริง  ดังกล่าวนี้จะแตกต่างกับระบบอื่นๆที่มักจะให้อภิสิทธิ์แก่ผู้นำรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจมีอิทธิพล   ทำให้บรรดาผู้พิพากษาเกิดความเกรงใจที่จะตัดสินคดีของพวกเขา
อิสลามได้ให้อำนาจในการตัดสินคดีความต่อผู้พิพากษาที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้นำ  โดยใช้กฎหมายของพระผู้เป็นเจ้าด้วยความยุติธรรม  อัลกุรอานได้กล่าวไว้มีความว่า เมื่อสูเจ้าปกครองมนุษย์  จงปกครองด้วยความยุติธรรม “            ( อันนิซาอ์ : 58 )ดังนั้นการนำหลักการความเสมอภาคมาปฎิบัติต่อหน้าศาลสถิตย์ยุติธรรมในอิสลามนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เคยพบในระบบการเมืองการปกครองใดมาก่อนเลย
           ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ให้คำแนะนำแก่อบูมูซา  อัลอัชอะรีย์  ในขณะแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาตอนหนึ่งว่า จงให้ความเสมอภาคต่อประชาชนในศาลยุติธรรมและในการแสดงออกของเจ้า เพื่อคนที่ได้รับเกียรติจะไม่ลำพองในการไม่ยุติธรรมของเจ้าและสามัญชนจะไม่รู้สึกสิ้นหวังในความยุติธรรมของเจ้า (อัฎฎ่อมาวีย, 1969 : 322 )
           มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้มีข้อพิพาทกับอุบัยย์บุตรกะอับ บุคคลทั้งสองจึงไปหาซัยด์บุตรซาบิตผู้พิพากษาแห่งนครมะดีนะฮ์เพื่อให้ตัดสินความ เมื่อซัยด์ออกมาพบท่านคอลีฟะฮฺอุมัร  จึงกล่าวคำต้อนรับว่า ขอความสันติจงมีแด่ท่านผู้นำแห่งศรัทธาชน ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรรู้สึกไม่พอใจกับการกระทำของซัยด์และกล่าวว่า ท่านจงยุติการกระทำอันไม่ยุติธรรมนั้นเสียแต่บัดนี้( อัฎฎ่อมาวีย์ , 1969 : 337 ) การที่อุมัรกล่าวเช่นนั้นเพื่อสั่งสอนให้ซัยด์ได้ทราบถึงความเสมอภาคระหว่างปัจเจกบุคคล
ความเสมอภาคต่อความรับผิดชอบด้านการเงิน
              อิสลามได้ให้อภิสิทธิ์เท่าเทียมกันในความรับผิดชอบทางการเงินระหว่างประชาคมมุสลิม  อิสลามได้กำหนดให้ผู้ที่มีทรัพย์สินครบตามจำนวนที่ศาสนากำหนดทุกคนต้องจ่ายซากาต  ซึ่งคล้ายกับการจ่ายภาษีในปัจจุบัน พวกเขาถูกเรียกร้องให้จ่ายซากาตในขอบเขตที่เท่าเทียมกันแก่บรรดาผู้มีสิทธ์รับเพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน  และยกระดับความเป็นอยู่ของคนในสังคมให้ดียิ่งขึ้น  อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้มีใจความว่า เจ้า ( มูฮัมมัด ) จงเก็บซากาตจากทรัพย์สินของพวกเจ้าเพราะมันจะทำให้พวกเจ้ามีความสะอาดและบริสุทธิ์  (อัตเตาบะฮ : 103 )
            นอกจากนี้อิสลามได้กำหนดให้คนที่นับถือศาสนาอื่น  ที่มาอาศัยอยู่ภายใต้การปกครองของอิสลามหรือเรียกว่า ( ซิมมีย์ ) ให้จ่าย ( ญิซยะฮ ) ( ภาษีส่วย ) แทนการจ่ายซากาต  เพื่อเป็นการตอบแทนการให้ความคุ้มครองดูแลในสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนให้ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขา  ทุกคนต้องจ่ายในอัตราที่เท่าเทียมกันยกเว้นผู้ที่ไม่มีความสามารถที่จะจ่ายได้ เช่น เด็ก สตรี และคนชรา อุมัรได้ยกเว้นการจ่ายภาษีดังกล่าวแก่ชนกลุ่มหนึ่งที่ยากจนค้นแค้นจริงๆ พร้อมกับได้นำไปช่วยเหลือจากกองคลังไปแจกจ่ายบรรเทาทุกข์แก่ชาวคริสต์ที่ยากจนด้วย  นอกจากนี้ท่านยังกำหนดเงินอุดหนุนให้แก่เด็กมุสลิมเกิดใหม่ทุกคนอีกด้วย
               มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ออกตรวจตราความเรียบร้อย ท่านได้พบกับขอทานซึ่งเป็นคนชราและพิการ  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ถามว่า เป็นยิวหรือคริสต์เตียน เขาตอบว่าเป็นชาวยิวท่านจึงถามว่ากำลังทำอะไรอยู่  เขาตอบว่า  กำลังไปขอเงินเพื่อไปจ่าย ญิซยะฮ์ และใช้ในการดำรงชีวิต  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงพาเขาไปที่บ้านเพื่อให้เงินส่วนหนึ่งพร้อมกับสั่งให้เจ้าหน้าที่งดเว้นการเก็บภาษีคนชราและคนพิการ  และจ่ายค่าครองชีพ (บำเหน็จ ) ตลอดอายุไขด้วย ( อัฎฎ่อมาวีย์ ,1969 : 97)
ในสมัยคอลีฟะฮอุมัรนั้น สิทธิสตรีได้รับการยอมรับมากขึ้น ท่านได้วางระบบสิทธิและเสรีภาพแก่สตรีมุสลิมอย่างอเนกอนันต์ โดยเฉพาะเปิดโอกาศให้สตรีได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับนางโดยตรง สตรีมีสิทธิที่จะไปร่วมละหมาดที่มัสญิด ร่วมฟังคุฎบะฮ์ (ธรรมพจน์) ในสถานที่ต่างๆ แล้วที่เหตุการณ์ต่างๆได้จารึกไว้ถึงสิทธิสตรีในอิสลามก็ได้เกิดขึ้น เมื่อท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้แสดงคุฎบะฮ์ในเรื่องการให้มะฮัร(ทรัพย์ที่ฝ่ายชายต้องมอบให้ฝ่ายหญิง) แก่สตรี เพราะมีการให้มะฮัรแก่สตรีจนเกินความเหมาะสม ท่านเกรงว่าจะเกิดความเสียหายภายหลัง ท่านจึงกำหนดอัตรามะฮัร  โดยกล่าวคำปราศัยว่า ท่านทั้งหลายจงอย่าให้มะฮัรแก่สตรีเกินกว่า 40 อูกิยะฮ (มาตราชั่งอย่างหนึ่งของชาวอาหรับ) ส่วนที่เกินจากนั้นให้ส่งมอบมายังกองคลังของมุสลิม สตรีคนหนึ่งได้ยืนขึ้นคัดค้าน พลางกล่าวว่า :โอ้ อุมัรบุตรอัลค็อฏฏ็อบ ท่านจะห้ามในมะฮัรของพวกเราได้อย่างไร ในเมื่ออัลกรุอ่านได้กล่าวไว้มีใจความว่า ”  ถ้าหากสูเจ้าต้องการจะเปลี่ยนภรรยาคนหนึ่งแทนอีกคนหนึ่ง(แต่งงานใหม่)และสูเจ้าได้ให้กินฎอร (มะฮัร) แก่นาง ดังนั้นสูเจ้าจงอย่าเอาสิ่งใดกลับคืน” (อันนิซาอ :20) เมื่อได้ฟังดังกล่าวแล้ว แทนที่ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจะโต้ตอบนาง ท่านกลับยกเลิกความตั้งใจของตน พลางกล่าวว่า ขอพระองค์ทรงอภัยแก่ฉัน แท้จริงสตรีในเมืองมะดีนะฮ์ มีความเข้าใจในเรื่องนี้ดีกว่าท่านคอลีฟะฮฺอุมัร ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่พวกเขาถนัดและรู้ดีกว่าท่านคอลีฟะฮฺอุมัร(อัฎฎอมาวีย,1969:455 )
                นอกจากนี้อุมัรยังออกกฎหมายบังคับให้เด็กและสตรีได้มีสิทธิเล่าเรียนหนังสือ เพื่อพัฒนา สติปัญญาและคุณภาพชีวิต รวมไปถึงสิทธิด้านอื่น ๆ ซึ่งสตรีไม่เคยได้รับมาก่อนนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าสมัยอุมัรนั้นสตรีมีชีวิตทัดเทียมกับบุรุษตามสิทธิของนางทุกประการ
                เมื่อท่านเข้ารับตำแหน่งคอลีฟะฮ ท่านได้วางกฎหมายกฎระเบียบว่าด้วยการตัดสินหรือที่เรียกว่าธรรมนูญแห่งความยุติธรรมซึ่งถือเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยมารยาทและระเบียบการตัดสินคดีความต่างๆ
                ศาสนาประกอบกับความศรัทธาอันแรงกล้าและกฎระเบียบว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมให้บรรดาผู้พิพากษา ได้ถือปฏิบัติโดยพร้อมเพรียงกัน นับเป็นแบบอย่างอันสูงส่งควรค่าแก่การสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง
ความยุติธรรมของท่านคอลีฟะฮฺอุมัรถือเป็นคุณลักษณะอันโดดเด่นเหนือกว่าสิ่งอื่นชื่อเสียงของท่านในเรืองนี้ถูกกล่าวขวัญถึงในทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะเรื่องการบริหารการปกครอง ที่ผู้นำส่วนใหญ่จะถือเอาการกระทำของท่านเป็นแบบอย่างเสมอ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่อุมัรได้รับเลือกให้เป็นผู้พิพากษาในสมัยอบูบักร โดยท่านคอลีฟฺอบูบักรเป็นผู้รับรองว่า ฉันพอใจในการตัดสินของท่านคอลีฟะฮฺอุมัร” (อัฏฏ่อมาวียม, 1969:326) จุดนี้เองที่แสดงถึงผลงานอันเป็นที่ยอมรับอุมัรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอดและยังเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆ ในด้านการบริหารบ้านเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย
                ดังนั้นการศึกษาถึงต้นกำเนิดของกระบวนการยุติธรรม จึงมีความสำคัญมาก เพราะมันจะแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของกระบวนการปกครองของอิสลาม อันมีอุดมการณ์พื้นฐานมาจาก  อัลกรุอานและ  อัลหะดีษ หลังจากนั้นจะศึกษาเกี่ยวกับธรรมนูญของกระบวนการยุติธรรมที่อุมัรได้ร่างขึ้นมาและอุดมการณ์พื้นฐานในกาตัดสิน
                หลังจากท่านศาสดามูฮัมมัดr สิ้นชีวิตอบูบักรได้รับภารกิจสืบต่อมา ในขณะนั้นท่านก็ได้แต่งตั้งท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเป็นผู้พิพากษาประจำนครมะดีนะฮ์ ต่อมาในสมัยท่านคอลีฟะฮฺอุมัรอาณาจักรอิสลามได้แพร่ขยายกว้างขวาง ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรตระหนักดีว่าท่านไม่สามารถจะดูแลประชาชนในเขตรอบนอกได้อย่างทั่วถึง ท่านจึงแต่งตั้งผู้พิพากษาประจำแคว้นต่างๆ เป็นการเฉพาะ นอกเหนือจากการแต่งตั้งผู้ว่าการรัฐแล้ว ด้วยเหตุนี้ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงเป็นบุคคลแรกที่วางระบบ กระบวนการยุติธรรมขึ้นมาและเป็นบุคคลแรกที่แยกอำนาจตุลาการออกจากอำนาจการบริหาร หลังจากท่านได้จัดตั้งกรมกองกิจการต่างๆ ทำหน้าที่ดูแลกิจการต่างๆ ของรัฐโดยเฉพาะมาก่อนแล้ว
                นอกจากนี้ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเป็นบุคคลแรกที่จัดตั้งสถานที่กักขัง (คุก) ขึ้นในโลกอาหรับ สถานที่ดังกล่าวทำหน้าที่กักขังผู้ต้องหาในคดีต่างๆ มิให้อยู่ปะปนกับผู้อื่น ซึ่งอาจเป็นที่บ้านหรือที่มัสญิดก็ได้ เหตุที่ไม่เคยปรากฏสถานที่เช่นนี้ในสมัยท่านศาสดามูฮัมมัดr และในสมัยท่านคอลีฟะฮฺอบูบักร ก็เพราะอัลกรุอานมิได้กำหนดบทลงโทษด้วยการกักขังไว้แต่อย่างใด (อัลมาวัรดีย ,อ้างถึงในอัฏฏ่อมาวีย ,1969:328)
                ถึงกระนั้นกระบวนการยุติธรรมที่ท่านคอลีฟะฮฺอุมัร ได้วางไว้นี้ยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรกล่าวคือการตัดสินยังเป็นไปแบบง่ายๆ ใช้การวินิจฉัยของผู้พิพากษาที่ตั้งอยู่ในขอบข่ายของบทบัญญัติ และการตัดสินยังใช้สถานที่ภายในที่ทำงานหรือมัสญิดอยู่เช่นเดิมจนกระทั่งถึงสมัยราชวงค์อุมัยยะฮ์ (.. 40-132) และอับบาซียะ (..132-656) กระบวนการยุติธรรมจึงได้พัฒนาไปอย่างมาก ซึ่งไม่อาจนำรายละเอียดมากล่าวในที่นี้ได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านเนื้อหาและเวลา


การศึกษาและศาสนา
                การศึกษาถือเป็นหลักการสำคัญที่สุดในการจัดระบบของสังคม สังคมใดก็ตามที่มุ่งเน้นให้การศึกษาแก่ประชาชน  สังคมนั้นก็จะมีความเจริญก้าวหน้า   ประชาชนก็จะมีแต่ความสุข  นอกจากการศึกษาแล้วการให้ความสำคัญในเรื่องศาสนาและจริยธรรมก็มีความสำคัญอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน  บุคคลที่มีการศึกษาดีจะต้องมีความประพฤติดีตามครรลองของศาสนา  สามารถนำสังคมและประเทศชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงได้  ส่วนผู้ที่มีการศึกษาดีแต่มีจรรยามารยาทเลวทรามแล้ว  เขาจะนำพาสังคมสู่ความตกต่ำและประสบกับความหายนะในที่สุด
                อิสลามได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาเป็นอันดับแรกมากกว่า 14  ศตวรรษแล้ว  อัลกุรอานและอัลหะดีษได้กล่าวถึงสิ่งดังกล่าวนี้มากมาย  โดยพิจารณาใจความในบทแรกของโองการแห่งอัลลอฮI  ที่ทรงประทานให้แก่มนุษยชาติโดยผ่านทางศาสดามูฮัมัดr อันแสดงถึงอุดมการณ์สูงสุดของอัลอิสลามซึ่งมีใจความว่า
                จงอ่านด้วยพระนามแห่งพระผู้เป็นเจ้า  ผู้ทรงบังเกิดสรรพสิ่ง  ผู้ทรงสร้างมนุษย์จากก้อนเลือด  จงอ่านในฐานะที่พระผู้เป็นเจ้า  ผู้ทรงเกียรติของท่านทรงสั่งสอนด้วยปากกา (อัลอะลัก : 1-4)
                นอกจากนี้ท่านศาสดามูฮัมมัด r ได้มีโอวาทเกี่ยวกับการศึกษาว่า  การแสวงหาความรู้เป็นหน้าที่จำเป็นแก่มุสลิมทุกคนทั้งชายและหญิง (อิบนุมาญะฮ,มปป :1/81) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอิสลามได้เน้นหนักเรื่องการศึกษาเป็นสำคัญ  โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาและคุณภาพชีวิตของมนุษยชาติ  เพื่อเป็นประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า  ทั้งต่อตนเอง  ผู้อยู่ใต้ความรับผิดชอบและสังคมโดยรวม
                 3.2.3  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรกับการส่งเสริมการศึกษา
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความรู้ความสามารถอย่างแตกฉานทั้งด้านศาสนาและการเมืองการปกครอง  ซึ่งความปราดเปรื่องของท่านนั้นยากนักที่จะหาผู้นำคนใดมาเปรียบได้  ท่านเริ่มศึกษาความรู้ความสามารถอ่านออกเขียนได้มาตั้งแต่เด็ก  จนมีความโดดเด่นเหนือเพื่อนรุ่นเดียวกัน  ซึ่งในขณะนั้นผู้ที่สามารถอ่านออกเขียนได้นั้นมีจำนวนน้อยมาก  แม้แต่เผ่ากุร็อยซ  ซึ่งเป็นเผ่าที่มีประชากรมาก  ก็หาผู้ที่มีความรู้ระดับนี้ไม่ง่ายนัก  ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า  เมื่อท่านศาสดามูฮัมมัด r  ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาซึ่งในขณะนั้นมีผู้ที่สามารถอ่านออกเขียนได้เพียง 7 คนเท่านั้น  (อัลอักก็อด,มปป : 37)อุมัรเป็นหนึ่งในจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่ครอบครองความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่นี้
                เมื่ออุมัรเข้ารับอิสลาม ท่านได้ติดตามรับใช้ท่านศาสดามูฮัมมัดr  ทุกย่างก้าวทั้งในนครมักกะฮและมะดีนะฮ  ท่านได้ปฏิบัติภารกิจและสะสมประสบการณ์ต่าง ๆ  ที่ได้จากการติดตามท่านศาสดามูฮัมมัด  r    จนเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง  จนถึงขั้นที่ท่านศาสดามูฮัมมัดr  ได้ชมเชย  โดยมีรายงานจากท่านอิบนุอุมัร ว่า ท่านศาสดามูฮัมมัดr  ได้กล่าวว่า  ในขณะที่ฉันนอนหลับอยู่  พลันฉันก็เหลือบเห็นว่า มีน้ำนมถูกยื่นให้แก่ฉัน  ฉันก็ดื่มมันจนกระทั่งฉันได้เห็นสายน้ำไหลออกจากนิ้วมือของฉัน  ต่อมาฉันก็ให้สิ่งนั้นกับท่านคอลีฟะฮฺอุมัรบุตรอัลค็อฏฏ็อบ  พวกเขากล่าว่า   โอ้ท่านศาสดามูฮัมมัดr   มันหมายถึงอะไร  ท่านตอบว่า  มันคือความรู้  (อัลติรมีซีย,1987:5/578)
ความรู้ของท่านคอลีฟะฮฺอุมัรนั้นครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  โดยเฉพาะวิชาการสำคัญๆดังต่อไปนี้
1.  กฎหมายอิสลาม  ถือเป็นธรรมนูญของประเทศ ท่านศาสดามูฮัมมัดr   เป็นผู้วางรากฐานดังกล่าวซึ่งมาจากอัลลอฮI ส่วนท่านคอลีฟะฮฺอุมัรคือผู้นำแนวทางดังกล่าวมาปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  ท่านเริ่มนำแนวทางใหม่ๆมาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม  ท่านเริ่มกำชับให้ประชาชนหันมาสนใจการศึกษาหาความรู้กันอย่างจริงจัง  โดยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงศึกษาหาความรู้ด้วยความสุขุมและขันติ และจงนอบน้อมต่อบรรดาผู้ให้ความรู้และผู้รู้ทั้งหลายท่านอย่าวางตัวเป็นผู้รู้ที่โอ้อวด เพราะมันจะทำให้ท่านเป็นผู้ที่โง่เขลา”  ( อัฎฎ่อมาวีย์, 1969 :50)
                2. ภาษาอาหรับและวรรณคดีอาหรับ  เมื่อกฎหมายอิสลามตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัลกุรอานซึ่งเป็นภาษาอาหรับ  ดังนั้นกุญแจที่จะไขไปสู่ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในนั้นคือการศึกษาหลักการใช้ภาษาอาหรับอย่างลึกซึ้ง  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้เน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญต่อสิ่งดังกล่าว  แม้นพวกเขาจะเป็นชาวอาหรับก็ตาม นอกจากนี้เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีภาษาอาหรับก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะจะบอกถึงความเป็นมาในอดีต
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเองก็เคยได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้จดจำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ดีที่สุดคนหนึ่ง   ส่วนหนึ่งจากคำสั่งเสียของท่านแก่ชาวอาหรับทั้งมวล  โดยเฉพาะเรื่องให้ความสำคัญต่อภาษาอาหรับมีดังนี้ คือ
                2.1 ท่านทั้งหลายจงเรียนภาษาอาหรับอย่างถูกต้อง  เพราะมันจะช่วยเสริมสร้างภูมิปัญญาและเพิ่มพูนมารยาทอันงดงาม
                2.2 จงศึกษาหลักการใช้ภาษาอาหรับที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับการศึกษากฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ
                2.3 จงศึกษาคำศัพท์ต่างๆที่ใช่ในอัลกุรอานและจงท่องจำอัลกุรอาน
                นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ลงโทษบรรดานักเขียนที่เขียนผิดหลักไวยากรณ์ภาษาอาหรับ ( อัฏฏ่อมาวีย์ , 1969 : 52 )
                3. การให้ความสำคัญในวิทยากรต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ในโลกนี้  ท่านได้สั่งกำชับให้ศึกษาวิชาการทุกแขนงทั้งศาสนาและสามัญ  เพราะอิสลามคือศาสนาแห่งความเชื่อและการปฏิบัติ  ดังเช่นท่านได้สั่งเสียและตักเตือนชาวเมืองชามให้อบรมลูกหลานของเขาโดยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงสั่งสอนลูกหลานในด้านการเขียน ว่ายน้ำ  ยิงธนู และขี่ม้า จงให้พวกเขาได้จดจำคำกลอนและสำนวณโวหารของวรรณคดีอาหรับอันทรงคุณค่า ( อัฏฏ่อมาวีย์,1969 :54)
                สิ่งหนึ่งที่ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ดำเนินการในด้านนี้คือ การจัดตั้งองค์กรเผยแพร่ศาสนาอย่างถาวร  โดยสั่งกำชับให้บรรดาแม่ทัพนายกองและพลรบ  ช่วยกันนำสาส์นแห่งอิสลามไปเผยแพร่แก่ประชาชนในแคว้นต่างๆ และชี้แจงให้พวกเขาเข้าใจหลักธรรมของอิสลาม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุมัรได้ส่งเผ่าศอฮาบะฮไปตามหัวเมืองต่างๆเพื่อวางระบบการศึกษาและแนวทางในการเรียนการสอนอัลกุรอาน  ซึ่งจะขอนำเสนอรายละเอียดพอเป็นสังเขปดังนี้
ก.             ระเบียบการสอนอัลกุรอาน
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเริ่มส่งเสริมการศึกษาด้วยการวางระเบียบการเรียนการสอนอัลกุรอาน  มีการเปิดโรงเรียนสอนอัลกุรอานทั่วอาณาจักรอิสลาม  สิ่งนี้เป็นความคิดที่สมควรจะได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่ง  เพราะอัลกุรอานคือธรรมนูญสูงสุดที่มนุษย์จะนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต  นอกจากนี้อุมัรยังสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำบัญชีรายชื่อครูและกำหนดเงินเดือนครู  ซึ่งมีอัตราที่สูงและเหมาะสมกับค่าครองชีพในขณะนั้น ชาวเมืองหลวงจะได้รับโอกาสมากกว่าชาวชนบท แต่ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรก็ได้กำหนดให้ชาวชนบททุกคนต้องศึกษาอัลกุรอาน  โดยการแต่งตั้งให้อบูซุฟยานและคณะ เป็นผู้สังเกตการณ์และตรวจสอบดูแลเผ่าต่างๆว่ามีการฝ่าฝืนคำสั่งหรือไม่ พร้อมกับกำหนดบทลงโทษกับทุกคนที่ไม่ท่องจำอัลกุรอานอีกด้วย ( ชิบลีย์ อันนุอมานี, มปป : 379)
                นอกจากนี้อุมัรยังกำหนดให้โรงเรียนต่างๆสอนการเขียนควบคู่ไปกับการอ่านด้วย อบูอามิร สุลัย นักอธิบายอัลหะดิษได้กล่าวว่า  ข้าพเจ้าเคยไปที่มาดีนะฮ  ในสภาพที่ถูกจับเป็นเชลยพร้อมลูกๆของข้าพเจ้า โดยพวกเขาได้เล่าเรียนหนังสือที่นั่น  ส่วนบรรดาครูได้บอกให้ข้าพเจ้าเขียนหนังสือ ข้าพเจ้าบอกว่าเขียนไม่ได้ พวกเขาก็สอนให้ข้าพเจ้าเขียน จนสามารถเขียนได้เอง  (ชิปลีย อันนุอมานี , มปป : 379)
ข.            การส่งศอฮาบะไปสอนอัลกุรอานตามหัวเมืองต่างๆ
อุมัรไดีเรียกบรรดาศอฮาบะฮที่ท่องจำอัลกุรอานได้หลายเล่มซึ่งประกอบด้วย 5 ท่านคือ มุอ๊าชบุตรยะบัล   อุบาดะฮบุตรอัศศอมัต     อุบัยบุตรกะอบ์  อบูอัยยูบและอบูดัรดา  พวกเขาเหล่านี้ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากอุมัรถึงความเสียสละอันใหญ่หลวงในการรับใช้สังคม  ท่านสั่งให้อบูอัยยูบซึ่งอยู่ในวัยชราและอุบัยอ์ ซึ่งป่วยอยู่ทำหน้าที่อยู่ที่นครหลวง  ส่วนที่เหลือทั้งสามให้ออกไปจัดระบบการศึกษานอกเมืองหลวง  โดยท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ให้โอวาทแก่ทั้งสามว่า หากพวกท่านเดินทางผ่านเมืองฮิมส์ให้คนหนึ่งอยู่ที่นั่น  ส่วนที่เหลือให้เดินทางต่อไปยังดามัสกัสและปาเลสไตน์   โดยเฉพาะอบูดัรดาอ์ซึ่งเสียชีวิตอยู่ที่ดามัสกัส  ได้จัดระบบการศึกษาโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 10 คน อบูดัรดาจะเฝ้าคอยดูไปรอบๆใครที่สามารถท่องจำได้จะได้รับรางวัลตอบแทน  ซึ่งลูกศิษย์ของอบูดัรดามีมากถึง 1,600 คน ( ชิบลีย์ อันนุ อมานี, มปป: 380)
ค.            วิธีการเผยแพร่อัลกุรอาน
นอกจากการส่งศอฮาบะฮฺไปเผยแพร่ระบบการศึกษาแล้ว  อุมัรยังใช้วิธีการอื่นโดยการจัดโครงการท่องจำอัลกุรอาน  ท่านได้กำหนดให้มีการท่องจำ 5 ซูเราะฮ คือ อัลบะกอเราะฮ  อันนิซาอ  อัลฮัจญ์   อันนูรและอัลมาอิดะฮ   เพราะซูเราะเหล่านี้บรรจุไปด้วยคำสอนที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันเกือบทั้งหมด  ผู้ใดที่ท่องจำได้หมดจะได้รับรางวัลจากผู้ว่าการรัฐ นอกจากนี้ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรยังตั้งเงินเดือนพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่สามารถท่องจำอัลกุรอานได้อีกด้วย
                โครงการดังกล่าวนี้ได้มีขึ้นเพียงระยะหนึ่งเท่านั้น เมื่อวัตถุประสงค์บรรลุผล  ประชาชนเริ่มให้ความสำคัญและมีการท่องจำมากขึ้น  โครงการดังกล่าวก็กลายเป็นนโยบายประการสำคัญในการจัดตั้งระบบการศึกษา  วิธีการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการอ่านอย่างถูกต้อง  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรจึงสั่งให้ผู้เชี่ยวชาญทำการใส่สระประกอบพยัญชนะในอัลกุรอาน  เนื่องจากการรวบรวมอัลกุรอานเกิดขึ้นครั้งแรกและยังไม่มีการใส่สระ  ประชาชนส่วนใหญ่จึงอ่านไม่ค่อยได้นอกจากผู้ท่องจำเท่านั้น



                ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรวางแผนการเรียนการสอนอัลกุรอานให้แก่บรรดาครู ดังนี้
               1. ออกคำสั่งที่เข้มงวดแก่บรรดาครู  เพื่อให้การดำเนินการสอนอัลกุรอานเป็นไปอย่างถูกต้อง  เพราะอัลกุรอานคือประกาศิตแห่งพระผู้เป็นเจ้า มีรายงานจากดาริมีย์ว่า  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้กล่าวว่า จงสอนอัลกุรอานพร้อมวิธีการอ่าน
            2. ให้สอนหลักการใช้ภาษาและวรรณคดีภาษาอาหรับไปพร้อมๆกับการอ่านอัลกุรอาน จนกว่าผู้เรียนจะสามารถแยกแยะระหว่างการอ่านที่ถูกและผิดได้
            3.   จะต้องสอนให้รู้ถึงคำศัพท์และความหมายของอัลกุรอาน  (ชิบบลีย  อันนุอมานี มปป : 381-382)
. การสอนอัลหะดิษและฟิกฮ ( นิติศาสตร์อิสลาม)
แหล่งที่มาของบทบัญญัติแห่งอิสลามรองจากอัลกุรอานก็คืออัลหะดีษ หรือคำตรัสของท่านศาสดามูฮำหมัดr  ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่คำบัญชาของอัลลอฮ I การศึกษาอัลหะดีษจึงถือเป็นสิ่งสำคัญ  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ตระหนักดีถึงเรื่องนี้ ท่านจัดให้มีการเรียนการสอนหะดีษ  โดยตั้งเงื่อนไขว่าผู้ที่สอนหรือผู้ที่รายงานหะดิษนั้นจะต้องมีความชำนาญและต้องมีความรู้เรื่องหะดิษเป็นอย่างดี  ไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปรายงานหะดีษ  มีรายงานว่าท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ส่งศอฮาบะฮจำนวนหนึ่งไปยังเมืองบัศเราะฮและซีเรีย โดยกำชับว่าไม่ให้ผู้รายงานหะดีษ พูดสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ได้ฟังเท่านั้น  ท่านจะเอาจริงเอาจังกับผู้ที่เลอะเลือนในเหตุการณ์นี้  ย่อมแสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพและวิสัยทัศน์ของท่านคอลีฟะฮฺอุมัร     นอกจากนี้ท่านยังให้ความสำคัญต่อกฎหมายที่ว่าด้วยการปฏิบัติศาสนกิจในชีวิตประจำวัน หรือที่เรียกว่า อัลฟิกฮท่านตระหนักดีว่าการปฏิบัติศสนกิจอย่างถูกต้องนั้นจะทำให้ประชาชนมีความสุขสบายและมีความเชื่อมั่นต่ออัลลอฮมากยิ่งขึ้น  ดังนั้นท่านจึงจัดพิมพ์คู่มือในการสอนฟิกฮขึ้นมาซึ่งเป็นหนังสือที่มีคุณค่ายิ่ง  เพื่อแจกจ่ายให้ผู้ว่าการรัฐและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ทำการเผยแพร่แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องและข้อชี้ขาดต่าง ๆ สู่ประชาชนทั่วไป  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้กำหนดนโยบายในเรื่องนี้ไว้คือ  ให้ผู้ว่าการรัฐหรือผู้นำทางศาสนาทำการสอดแทรกหลักการปฏิบัติสศาสนกิจที่สำคัญ ๆ ในขณะกล่าวคุฏบะฮหรือธรรมพจน์  ท่าน      อิมามมาลิกได้รายงานไว้ในหนังสือ อัลมุวัฏเฏาะ”  ว่า  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้กล่าวธรรมพจน์  ณ ทุ่ง         อะรอฟะฮ  โดยสอดแทรกคำสอนและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในการประกอบพิธีฮัจญ์ไว้ด้วย”  นอกจากนี้ท่านยังกำชับให้ผู้นำทางศาสนาพยายามกล่าวธรรมพจน์ท่ามกลางผู้คนจำนวนมาก เพื่อคำสอนต่าง ๆ จะได้รับการปฏิบัติ   นักวิชาการ  ได้กล่าวว่าธรรมพจน์ของท่านคอลีฟะฮฺอุมัร  ที่กล่าวไว้  ณ  กรุงดามัสกัส  เป็นธรรมพจน์ที่มีคุณค่าที่สุดและนักกฏหมายอิสลามได้นำไปกล่าวอ้างอิงเป็นจำนวนมาก  (ชิบลีย  อับนุอมานี,มปป : 383)
                ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้บันทึกคำสอนของศาสนาและปัญหาต่าง ๆ ทางกฎหมายและส่งให้ผู้ว่าการรัฐต่าง ๆ ได้นำไปเผยแพร่แก่ประชาชน  วัตถุประสงค์ดังกล่าวก็เพื่อให้มีความเป็นเอกภาพในการปฏิบัติศาสนกิจเหมือนกันทั่วอาณาจักร  (ชิบลีย  อันนุอมานี,มปป : 384)
3.2.4  อุมัรกับการส่งเสริมด้านศาสนา
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้กำหนดนโยบายด้านการส่งเสริมด้านศาสนาดังนี้

ก.             ยกระดับอิมาม (ผู้นำการละหมาดและมุอัซซิน  (ผู้เชิญชวนสู่การละหมาด)

ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรได้ยกระดับอิมามและมุอัซซินทั่วอาณาจักร  โดยกำหนดเงินเดือนจากรัฐบาลกลางให้   นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสำนักงานขึ้นเพื่อนำคณะฮุจญาจ (ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์) ออกไปปฏิบัติภารกิจได้อย่างถูกต้อง    เนื่องจากส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจถึงองค์ประกอบในการทำพิธีฮัจญ์อย่างถูกต้องแต่อย่างใด
.    การก่อสร้างและบูรณะมัสญิด                              
ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรเป็นคอลีฟะฮที่มีคำสั่งให้ก่อสร้างมัสญิดมากที่สุดตามเมืองต่าง ๆ นอกจากนี้ท่านยังได้ทำการขยายมัสญิด อัลหะรอม”  ที่นครมักกะฮ  และยังเอาใจใส่ต่อการตกแต่งมัสญิดแห่งนี้ด้วย  ในปี  ฮ.. 17  ท่านได้จัดซื้อหรือตระเวนคืนบ้านเรือนที่อยู่รายรอบมัสญิด  โดยจัดให้เป็นที่ว่างเพื่อรองรับปริมาณมุสลิมที่จะเดินทางมาประกอบพิธีฮัจญ์  ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นทุกปี   และในปีเดียวกันนี้ท่านได้สั่งให้มีการขยายมัสญิดนบีที่นครมะดีนะฮด้วย  โดยใช้วิธีการเดียวกัน  แต่ในครั้งนี้ท่านอับบาสไม่ยอมขายบ้านของตน  แม้อุมัรจะตั้งราคาสูงลิ่วให้แล้วก็ตาม  เรื่องจึงถึงศาล  อุบัยยบุตรกะอบซึ่งเป็นผู้พิพากษาในขณะนั้นได้ตัดสินว่า  ท่านคอลีฟะฮฺอุมัรไม่มีสิทธิจะบังคับซื้อจากท่านอับบาสได้   หลังจากมีคำตัดสินออกมาแล้ว  ท่านอับบาสได้ยกบ้านของท่านให้เป็นสิทธิของมัสญิดทันที
.     การปูพื้นมัสญิดและการติดไฟหน้ามัสญิด
ก่อนหน้านี้ที่มัสญิดไม่มีการติดไฟ   แต่เมื่อมาถึงสมัยของท่านคอลีฟะฮฺอุมัรมีกรติดไฟฟ้าสว่างไสว  และมีการจุดไม้หอมในมัสญิดด้วย  นอกจากนี้ท่านได้สั่งให้มีการปูพื้นมัสญิดด้วยวัสดุที่ไม่หรูหรานัก  ทั้งนี้เพื่อธำรงไว้ซึ่งอุดมการณ์แห่งความพอดีของอิสลาม   การปูพื้นดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าของผู้ประกอบพิธีละหมาด (ชิบลีย  อันนุอมานี,มปป : 389-392)



1 ความคิดเห็น:

  1. ข้อมุลนี้มิได้มาจากบทความของ อ.รอฟลี แด่อย่างใด

    ตอบลบ