เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คอลีฟะฮ “อบูบักร” โดยละเอียด ตอนที่ 2



โดยอาจารย์ รอฟลี แวหะมะ อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา  มอ.ปัตตานี ชำนาญการด้านประวัติศาสตร์อิสลาม โดยเฉพาะ


 2.2  การทำบัยอะห์และการขัดแย้งของการทำบัยอะห์
ความหมายของบัยอะห์
            
             บัยอะห์ หมายถึง การยอมรับหรือสัตยาบัณของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งต่อบุคคลหนึ่ง ๆ ที่รู้จักในนามของคอลีฟะฮ เพื่อมีอำนาจในการปกครองประเทศ
                การบัยอะห์ให้กับคอลีฟะฮหนึ่งคอลีฟะฮใดนั้น หมายถึง การให้การยอมรับและเคารพค่อการเป็นคอลีฟะฮของขา บัยอะห์ยังเป็นหนึ่งในเงื่อนไขของการแต่งตั้งคอลีฟะฮ ถ้าหากปราศจากบัยอะฮ การแต่งตั้งคอลีฟะฮก็ไม่สิ้นเสร็จสมบูรณ์ทั้งสองฝ่ายซึ่งหมายถึง คอลีฟะฮที่ถูกแต่งตั้งและประชาชนที่ถูกแต่งตั้งจะต้องเคารพต่อสัญญาหรือคำกล่าวที่ตั้งไว้ อย่างที่ได้กล่าวถึงในอัลกุรอ่านว่า

 وَلاَ تَقْتُلُواْ النَّفْسَ الَّتِي حَرَّمَ اللّهُ إِلاَّ بِالحَقِّ وَمَن قُتِلَ مَظْلُومًا فَقَدْ جَعَلْنَا لِوَلِيِّهِ سُلْطَانًا فَلاَ يُسْرِف فِّي الْقَتْلِ إِنَّهُ كَانَ مَنْصُورًا
ความว่า และพวกเจ้าอย่าเข้าใกล้ทรัพย์สินของเด็กกำพร้า เว้นแต่โดยวิธีที่ดียิ่ง(*1*) จนกว่าเขาจะบรรลุนิติภาวะ และจงให้ครบตามสัญญา (เพราะ) แท้จริงสัญญานั้นจะถูกสอบสวน(*2*)”

(1) คือรักษาทรัพย์ของเขาไว้หรือนำไปหาผลกำไรให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
(2) คือรักษาสัญญาให้ครบถ้วน ถึงแม้ว่าจะเป็นสัญญากับอัลลอฮหรือกับมนุษย์ด้วยกันก็ตาม
                                                                                          (ซุเราะอัล-อิสรออ :34)

                คำว่า บัยอะห์ มาจากคำว่า บาอ (عﺍﺑ) หมายถึง ขาย ในการทำการค้าขายจะต้องมี 3 องค์ประกอบใหญ่ ๆ คือ ผู้ขาย ผู้ซื้อ และสิ่งของที่ขายหรือที่ซื้อ เงื่อนไขที่ทำให้การซื้อขายบรรลุผลหรือเสร็จสิ้นสมบูรณ์ คือ คำกล่าวในการซื้อขายของผู้ขายและผู้ซื้อ
                การบัยอะห์คอลีฟะฮก็เช่นเดียวกันกับการซื้อขาย กล่าวคือ จะต้องมีการกล่าวคำมั่นสัญญาระหว่างผู้ที่แต่งตั้งและผู้ที่ถูกแต่งตั้ง คอลีฟะฮที่ถูกบัยอะห์จะต้องได้รับการยอมรับและประกันต่อการงานและหน้าที่เป็นหัวหน้าของประชาชน

การทำบัยอะของอาบูบักร
               
                อาบูบักรได้รับการแต่งตั้งเป็นคอลีฟะฮ โดยที่ไม่มีระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้ก่อนแต่การแต่งตั้งครั้งนั้นอาศัยวิธีการที่แนบเนียนและะถูกต้อง    ตอนแรกที่ท่านได้ทราบข่าวว่ากลุ่มอันศอรได้มีการประชุมที่ซะกีฟะฮบนีสะอีดะฮท่านเป็นผู้ริเริ่มแสวงหาวิธีการอันปลอดภัยแก่สังคมประขาขาติมุสลิม ดังนั้นหลังจากที่ท่านได้ปฏิเสธเฆตุผลต่าง ๆของกลุ่มอันศอร ท่านก็ได้เสนอคนตรอัลคอฏอบ และอบูอุบัยดะฮ บุตรอัลญัรรอห ซึ่งอยู่พร้อมหน้ากันในเวลานั้น โดยที่ตนยินยอมจะกล่าวคำสัตยาบัน บัยอะฮ แก่บุคคลทั้งสองเพื่อครองตำแหน่งคอลีฟะ แต่ข้อเสนอนี้ยังไม่ดีนักหากจะเป็นที่ยอมรับกันในขณะนั้นเพราะอาบูบักรย่อมมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าบุคคลดังกล่าวทั้งด้านวัยวุฒิและคุณวุฒิเมื่อเป็นเช่นนั้นด้วยความฉลาดของอุมัรท่านได้จับข้อมือของท่านอาบูบักร และกล่าวคำสัตยาบันต่อท่านอาบูบักรทันใดนั้นท่านอุบัยดะฮก็รีบปฏิบัติเช่นเดียวกับท่านอุมัร ต่อจากนั้นกลุ่มอันศอรก็ยินยอมปฏิบัติตาม บัยอะครั้งนั้นเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า"บัยอะเฉพาะ" (ถูกกระทำโดยเฉพาะกลุ่ม)    อาบูบักรได้แถลงนโยบายของรัฐและปวงประชาชาติมุสลิมต่างก็ให้สัตยาบันซึ่งเรียกกันว่า "บัยอะอุมมะฮ"(บัยอะประชาชาติ) ซึ่งประชาชนทั่วไปจากเผ่าต่าง ๆ เป้นผู้ให้คำสัตย์สาบาน เมื่อเสร็จสิ้นการแต่งตั้งอาบูบักรขึ้นเป็นคอลีฟะฮแล้วจึงได้ฝังศพท่านนาบีมูฮัมหมัด(ศ้อลฯ) ที่อาวุโสกว่าคนอื่น ๆ(อายุน้อยกว่าท่านนาบี(ศ้อลฯ) 2 ปี ตามข้อเขียนของ Sir Thomas Arnold ในหนังสือ "The Preaching of Islam" ท่านเขียนว่าจากการแต่งตั้งอาบูบักรเป็นคอลีฟะฮก็อาศัยหลักความเป็นอวุโสด้วยคล้ายกับประเพณีของการแต่งตั้งหัวหน้าเผ่าหรือชัยคของชนเผ่าต่าง ๆ อาศัยหลักการแห่งความอวุโส ( Seniority)ท่านเป็นบุคคลแรกที่ยอมรับนับถือศาสนาอิสลามนอกเหนือจากสมาชิกในครอบครัวของท่านศาสนทูต กลุ่มบุคคลที่ยอมรับนับถืออิสลามเป็นรุ่นแรกย่อมมีความสำคัญมาก จนอัลลอฮได้ระบุในอัลกรุอ่านซูเราะอัตตเตาบะ :100 ความว่า "และบรรดาที่มีมาก่อนซึ่งเป็นบุคคลแรกที่เข้ารับอิสลามจากบรรดามุฮาญิรีนและอันศอรและบรรดาที่ตามพวกเขาเป็นอย่างดี อัลลอฮย่อมพอพระทัยต่อพวกเขาพวกเขาก็พึงพอใจต่ออัลลอฮและพระองค์ทรงเตรียมสร้างสรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านพวกเขามีชีวิตนิรันดร์นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง"
เนื่องจากว่าท่านรอซูลไม่ได้ให้คำสั่งเสียในเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ที่จะมาเป็นตัวแทนต่อจา ากท่าน จึงได้เกิดมี คำ ถามในสังคมอิสลามขณะนั้นว่า " ใครจะมาเป็นเคาะลีฟะห์หรือผู้นำของประชาชาติอิสลามคนต่อไป " ซึ่ง คำ ถามนี้ไม่ได้ปรากฎขึ้นเลยในสมัยตอนที่ท่านนบียังมีชีวิตอยู่ เกี่ยวกับเรื่องนี้อัลตอบารีได้บอกว่ามี 2 สาย รายงาน คือ 1. รายงานโดยอิบนุอิสหาก 2. รายงานโดยอัลซุฮรี จากคำกล่าวของอิบนุอิสหาก ก็คือ มีอยู่วันหนึ่ง ท่านรอซูลได้กล่าวแก่เหล่าศอฮาบะฮของท่านว่า " เขา (อาลี) คือ ผู้นำ , พี่น้องของฉัน ,ตัวแทนฉันและเคาะลี ฟะห์ฉัน ซึ่งพวกเจ้าทุกคนจะต้องฟังและปฏิบัติตาม เขา " และจากคำกล่าวของอัลซุฮรี ก็คือ ในขณะที่ท่านรอ ซูลกำลังป่วย ท่านอับบาส อิบนุ มุฏอลิบก็ได้ไปหา ท่านอาลี อิบนุ อาบีฏอลิบ (ก็คือลูกพี่ลูกน้องของท่านรอซูล) และได้ใช้ให้อาลีถามท่านรอซูลเกี่ยวกับผู้ที่จะมา เป็นตัวแทนของท่านนบี แต่ว่าอาลีไม่ต้องการที่จะทำเช่นนั้น เพราะเกรงว่าท่านรอซูลจะไม่สนใจคำถามนั้น ผลที่ตามมาก็คือ คนส่วนใหญ่จะไม่แต่งตั้งคนใดคนหนึ่งที่อยู่ใน สายตระกูลของท่านรอซูล (รวมถึงอาลีเอง) สายรายงานแรก(อิบนุอิสหาก) มีความเกี่ยวโยงกับเรื่องราวใน เหตุการณ์ที่ ฆอดีร คูม (บริเวณลุ่มแม่น้ำ ญุฮฟะฮ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างมักกะฮกับมาดีนะฮ) ในเรื่องนี้ได้กล่าวถึง เกี่ยวกับการเดินทางกลับจากการทำฮัจญ์ อัลวะดะฮ(ฮัจญ์อำลา) ซึ่งท่านรอซูลได้แวะที่นั่นและได้กล่าวไว้ว่า "โอ้ มวลมนุษย์ทั้งหลาย แท้จริงนั้นอัลลอฮทรงมหากรุณาปราณีและทรงรอบรู้ยิ่ง อัลลอฮได้แจ้งมายังฉัน ว่า พระองค์จะไม่ยืดอายุของนบีแต่ละท่าน นอกจากแค่ครึ่งหนึ่งของอายุของบรรดานบีก่อนๆ และแท้จริงถึง เวลา แล้วที่ฉันจะต้องกลับไปยังพระองค์อัลลอฮ" จากนั้นท่านรอซูลได้จับมืออาลีและชูขึ้น พร้อมกับกล่าว ว่า "โอ้ มวลมนุษย์ ใครคือผู้ที่เหมาะสมที่จะเป็นวาลีย์(หัวหน้า) จากบรรดาพวกเจ้าเอง" พวกเขาได้กล่าว ว่า "อัล ลอฮแและรอสุลเท่านั้นที่ทรงรอบรู้ " และท่านนาบีได้กล่าวอีกว่า " โอ้แท้จริงนั้นอัลลอฮได้แต่งตั้งฉัน และฉัน ได้แต่งตั้งบรรดามุมินเป็นวาลี และฉันนั้นแหละที่มีสิทธิที่จะเป็นวาลีมากที่สุด และถ้าพวกเจ้ายอมรับ ฉันเป็นวา ลีของพวกเจ้า อาลีก็คือวาลีของพวกเจ้าด้วยเช่นกัน" ตามทัศนะของชาวชีอะฮ์เรื่องนี้ได้ถือว่าเป็นฮาดีษบทหนึ่ง ที่รายงานโดย ซัยด์ บินอัรกอม อัลอันซอรี ( เสียชีวิต ในฮิจเราะฮที่ 66 ) และใช้เป็นที่ยึดถือของพวกเขาในการ สนับสนุนอาลีหลังจากที่ท่านนาบีเสียชีวิต จากคำกล่าวของอาบีอิสหาก ข้างต้นนั้นได้มีความคิดเห็นที่หลาก หลายเกิดขึ้น บางคนมีความคิดเห็นว่าฮา ดีษนี้ชาวชีอะฮได้กุขึ้นมาเอง ตามทัศนะของ ชาบัน กลาวว่า ชาว อาหรับส่วนใหญ่นั้นไม่ต้องการที่จะมอบ ความไว้วางใจกับคนที่อายุน้อยกว่า ( เช่น อาลี ) รับภาระที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญยิ่ง ประกอบกับสังคมอาหรับ มาดีนะฮไม่เคยได้ยินถึงการแต่งตั้งอาลีขึ้นเป็นหัวหน้า หากพวกเขาได้ รู้ถึงการสั่งเสียของท่านนาบีจากที่ได้ กล่าวไว้ข้างต้น บรรดาาศอฮาบะฮก็คงจะไม่วางเฉย อย่างเช่นที่ทราบกัน มาท่าน อาบูบักรนั้นไม่เคยปฏิเสธ และละเลยถึงคำกล่าวของท่านนาบีเลย หะดีษที่กล่าวมาก็เป็นฮาดีษนั้นเกิด จากการกุขึ้นมาของอิบนูอิสหาก ซึ่ง เป็นที่รู้จักกันของชาวชีอะฮ ท่านอิบนูอิสหากเเคยมีควมขัดแย้งกับอิมามมา ลิกเพราะว่ามุมมองของความเป็นชี อะฮที่เกินเหตุ ตามทัศนะของ ตาฮา ฮูเซนนั้นมีความเห็นว่าประวัติศาสตร์ ในเรื่องของคุลาฟะฮโดยส่ววนใหญ่จะถูกบิด เบือนโดยชาว มาวาลี ( มิใช่ชาวอาหรับ ) ซึ่งไม่เคยพอใจถึงการ ปกครองของชาวอาหรับในประเทศของตน แม้กระทั่งในเรื่องที่เกี่ยวกับท่านนาบีพวกเขายังโกหกได้ก็คงไม่ แปลกอะไรถ้าเขาจะกโหกในเร ื่องของเศาะฮา บะฮ ฉนั้นฮาดีษ คอดีษคูมจึงง่ายต่อการปฏิเสธเนื่องจากสาเหตุที่ ได้กล่าวไว้ข้างต้นอีกทั้งฮาดีษนี้ไม่ได้ ปรากฎในหนังสือและสุนันทั้งหลาย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่าง ยิ่งถ้านำมาเปรียบเทียบกับเหตูการณ์ ทางประวัติศาสตร์ที่รายงานโดย อัลอัซซอรีย์ข้างต้น ซึ่งได้กล่าวไว้วาอาลี เองก็ไม่ได้ทราบถึงการสั่งเสียของ ท่านรอซุลอย่างอาบูอิสหากได้รายวาน ในกรณีอื่นได้มีหลักฐาน 2 ประเด้นที่ ได้กล่าวถึงตำแหน่งคุลาฟะของท่านรอซุลที่เป้นไปได้ในทางที่เปิดเผย ประเด็นแรกคือ สิ่งที่ได้กล่าวไว้ในฮาดี ษบทหนึ่งว่า บรรดาอีม่าน ( คอลีฟะฮ ) ต้องมาจากชนเผ่ากุเรซ ประเด็นที่สองคือ อัลลอฮได้ตรัสในอัลกุรอ่าน ความว่า " และ ( จงจำไว้ ) ในขณะที่อัลลอฮได้ทดสอบนาบีอิบ รอฮิม ในเรื่องของคำพูด(คำสั่งกระทำและสั่งห้ามกระทำนบีอิบราเฮ็มจึงไปพบกับพระองค์อัลลอฮ  อัลลอฮได้ตรัสไว้ว่า "แท้จริงฉันได้สร้างเจ้าเพื่อเป็นอีม่ามแก่มวลมนุษยชาติจากนั้นท่านนบีอิบราเฮ็มได้กล่าวไว้ว่า "และฉันก็ยอมรับในสายตระกูลของฉัน"อัลลอฮก็ได้ตรัสไว้อีกว่า  "คำสัญญาของฉันนี้  จะไม่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ทารุณ(ซอเล็ม)
                 หากฮาดิษข้างต้นนั้นได้เน้นถึงกลุ่มชาวกุเรซในเรื่องของการปกครอง อายะฮอัลกรุอานดังกล่าวก็ได้เปิดโอกาสที่กว้างกว่า  กล่าวคือ  ใครก็ได้ที่ไม่ประพฤติชั่ว(ซอเล็ม)สามารถที่จะยกขึ้นมาเป็นคอลีฟะฮได้ ด้วยเหตุการเข้าใจและการตีความที่แตกต่างกันของอายะฮอัลกรุอานข้างต้นจึงเกิดกลุ่มต่างๆ  เพื่อมีอำนาจในการทำหน้าที่เป็นคอลีฟะฮ  อย่างน้อยก็มี  กลุ่มใหญ่ๆ ที่แย่งตำแหน่งคอลีฟะฮหลังจากการเสียชีวิตของท่านนบี  กลุ่มดังกล่าวได้แก่  กลุ่มบานีฮาซีม  มูฮาญีรีนและอันศอร พวกบานีฮาซีม(ภายหลังรู้จักกันในนามของชีอะฮ)ได้กล่าวไว้ว่า อีมามะฮ(คอลีฟะฮเสมือนเป็นสถาบันที่บริสุทธิ์  ที่ถูกประทานลงมายังท่านนบีอิบราเฮ็ม(.และสายตระกูลของท่าน และทายาทคือทายาทที่ถูกต้องหลังจากท่านนบีมูฮัมัด(.)      
                พวกมูฮาญีรีนแย้งว่า  พวกเขามีสิทธิที่จะเป็นคอลีฟะฮ เพราะพวกเขาเป็นชาวกุเรซ  และสายตระกูลของพวกเขาก็มาจากสายตระกูลของท่านนบีอิบราเฮ็ม(.เช่นเดียวกัน
                พวกอันศอรก็เช่นกัน  แย้งขึ้นว่าพวกเขาก็มีสิทธิในการเป็นคอลีฟะฮ เพราะพวกเขาได้ทุ่มเทกอย่างให้กับท่านรอซูล  และชาวมูฮาญีรีนขณะที่อพยพมายังมาดีนะฮ  ซึ่งตามความคิดเห็นของพวกเขา พวกเขาว่าตำแหน่งคอลีฟะฮนั้น  ไม่ได้เจาะจงที่สายตระกูลใดสายตระกูลหนึ่ง
                 ในหนังสืออัล-กะมีลของอิบนิ อะษิร (เล่ม 2 หน้า 220) บันทึกเอาไว้ว่าเมื่อตอนที่ท่านอะลี รอฎิฯ ได้รับข่าวว่าท่านอบูบักร รอฎิฯ ได้รับเลือกให้เป็นเคาะลีฟะฮฺ ณ ที่ประชุมสะกีฟะฮฺนั้นขณะนั้นท่านอยู่ภายในบ้านของท่าน  ทันใดนั้นท่านรีบรุดออกไปโดยสวมเพียงเสื้อตัวในเท่านั้นท่านไม่รีรอที่จะสวมเสื้อคลุมยาวเสียก่อนที่จะออกจากบ้าน ทั้งนี้เพราะท่านไม่ชอบการรอช้า หลังจากท่านอะลีให้สัตยาบันต่อท่านอบูบักร รอฎิฯ ด้วยตัวท่านเองแล้ว ท่านจึงส่งชายคนหนึ่งให้ไปนำเอาเสื้อคลุมของท่านมาเมื่อได้เสื้อคลุมของท่านมาแล้ว ท่านก็สวมลงทางศีรษะและหน้าอกของท่านจนยาวคลุมร่างของท่าน
                หนังสืออธิบายเศาะเฮียะฮฺ อัล-บุคอรี ชื่ออิรฺชาดุลซะรี (เล่ม 6 หน้า 277)กล่าวว่า อิบนิ ฮิบบานและคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกับอิบนิ ฮิบบานรายงานจากท่าน อบู สะอิด อัล-คุดรี รอฎิฯ ว่าท่านอะลีรอฎิฯ บัยอะฮฺให้แก่ท่านอบูบักรด้วยตัวของท่านเองตั้งแต่ในระยะต้น ๆ อิบนิ ฮิบบานยังกล่าวเพิ่มเติมว่า"ตามที่ท่านมุสลิม (นักหะดีษคนสำคัญคนหนึ่งของโลกมุสลิม) รายงานจากอัซ-ซุฮฺรีย์ว่า มีบางคนบอกกับเขาว่า
อะลีมิได้บัยอะฮฺให้แก่อบูบักรด้วยตัวของท่านเอง จนกระทั่งฟาฏิมะฮฺภรรยาของท่านถึงแก่กรรมไปแล้ว
พวกบนีฮาชิมก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครสักคนที่ให้บัยอะฮฺ (ในระยะแรก)ท่านอัล-บุคอรีถือว่าเรื่องนี้เป็นรายงานที่อ่อนหลักฐาน ทั้งนี้ก็เพราะว่าอัซ-ซุฮฺรีย์ไม่ได้อ้างว่าได้ยินมาจากใคร เพราะฉะนั้นสำนวนของสายรายงานที่อ้างกันมาอย่างต่อเนื่องจนสืบถึงท่านอบู สะอิด อัล-คุดรี จึงน่าเชื่อถือกว่า"      
                 เรื่องทำนองนี้ยังมีรายงานในหนังสือประวัติศาสตร์ของท่านบัยฮากีย์ด้วยเหมือนกันแม้จะมีความแตกต่างไปบ้างเล็กน้อย จากรายงานของท่านอบู สะอิด อัล-คุดรี กล่าวว่า เมื่ออบูบักรก้าวขึ้น (สู่มิมบัรฺ) แล้วมองไปรอบ ๆ เขาไม่เห็นอัซ-ซุเบรฺอยู่ ดังนั้นเขาจึงเรียกอัซ-ซุเบรฺให้มาหา เมื่ออัซ-ซุเบรฺเข้ามาแล้ว เขาจึงพูดกับอัซ-ซุเบรฺว่า "ท่านกล่าวว่าท่านเป็นลูกพี่ลูกน้องของรสูลุลลอฮฺ ศ็อลฯ และเป็นผู้สนับสนุนท่าน ดังนั้นท่านจึงต้องการจะสร้างรอยร้าวให้เกิดขึ้นในหมู่มุสลิมใช่หรือไม่" อัซ-ซุเบรฺกล่าวว่า"โปรดอย่าตำหนิฉันเลยท่านเคาะลีฟะฮฺแห่งรสูลุลลอฮฺ" และแล้วอัซ-ซุเบรฺก็ บัยอะฮฺให้กับเขา นอกจากนี้อบูบักรยังไม่เห็นอะลีเลย ดังนั้นเขาจึงเรียกอะลีมา เมื่ออะลีมาถึง   อบูบักรกล่าวกับอะลีว่า "ท่านกล่าวว่าท่านคือลูกพี่ลูกน้องของท่านรสูลและเป็นลูกเขยของท่านอีกด้วย ดังนั้นท่านจึงต้องการสร้างรอยร้าวในหมู่มุสลิมใช่หรือไม่" อะลีตอบว่า "โอ้ท่านผู้เป็นเคาะลีฟะฮฺแห่งรสูลุลลอฮฺ โปรดอย่าตำหนิฉันเลย" แล้วอะลีก็บัยอะฮฺให้แก่อบูบักร
                รายงานของท่านบัยฮากีย์ข้างต้น แสดงว่าท่านอะลีและอัซ-ซุเบรฺ รอฎิฯ ในระยะแรก ๆ ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากคนทั้งหลายที่บัยอะฮฺให้กับท่านอบูบักร รอฎิฯ ในวันที่หนึ่งและสองหลังจากการประชุมที่สะกีฟะฮฺ ท่านทั้งสองคงจะประวิงเวลาอยู่สักระยะหนึ่งเพื่อตรึกตรองเรื่องนี้สอดคล้องกับบันทึกของท่านมูซา อิบนิ อุกูบะฮฺซึ่งอ้างรายงานจากท่านอับดุรเราะหฺมาน บินเอาฟฺ ว่า จากนั้นอบูบักรได้กล่าวคำปราศรัย เขากล่าวในเชิงออกตัวต่อประชาชนว่า"ฉันไม่เคยมีความกระตือรือร้นที่จะได้เป็นเคาะลีฟะฮฺเลยจริง ๆไม่ว่าจะเป็นวันเป็นคืน ไม่เคยร้องขอตำแหน่งนี้ ทั้งในที่ลับและในที่เปิดเผย" ชาวมุฮาญิรีนยอมรับคำพูดของเขา สำหรับอะลีและอัซ-ซุเบรฺ พวกเขากล่าวว่า "เรามิได้มีความโกรธเคืองแต่ประการใดนอกเสียจากว่าเป็นเพราะพวกเราไม่ได้ถูกนำไปร่วมขบคิดในระหว่างที่มีการประชุมกัน ตามความคิดเห็นของเราท่านอบูบักรเป็นบุคคลที่คู่ควรที่สุดในบรรดาคนทั้งหลาย เขาเป็นผู้ติดตาม (ท่านรสูล) ในถ้ำ และคุณงามความดีอื่น ๆของเขาเป็นที่รับรู้ของเรา และนั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมท่านรสูลจึงสั่งให้เขาทำหน้าที่แทนท่านในการนำประชาชนละหมาด ขณะที่ท่านล้มป่วยอยู่"
                 นอกจากนี้ยังมีรายงานบางกระแสระบุว่า ท่านอะลี อิบนิ อบูตอลิบ ท่านอับบาส
อิบนิ อับดุลมุตตอลิบ และบรรดาเศาะหาบะฮฺระดับนำอีกจำนวนหนึ่ง อาทิ ตอลหะฮฺ อัซ-ซุเบรฺและมิกดาด อิบนิอัสวัด ทั้งหมดนี้มิได้บัยอะฮฺให้แก่ท่านอบูบักรในเวลาเดียวกันกับเศาะหาบะฮฺที่เหลือซึ่งบัยอะฮฺไปก่อนหน้านี้แล้วแต่พวกเขาก็ได้ให้บัยอะฮฺในเวลาถัดจากนั้นไม่นานเท่าไรนักพวกเขายังได้ตกลงที่จะสนับสนุนเคาะลีฟะฮฺอีกด้วย ท่านอบูบักรเรียกพวกเขามาหา และมีคำสั่งให้เศาะหาบะฮฺจำนวนหนึ่งมาปรากฏตัวด้วยเช่นกันเมื่อทุกคนมาพร้อมหน้ากันแล้วท่านจึงยืนขึ้นในระหว่างพวกเขา ภายหลังจากกล่าวคำสรรเสริญอัลลอฮฺ ศุบหฯ แล้วท่านก็กล่าวว่า "นี่คืออะลี อิบนิ อบูตอลิบ ฉันมิได้บีบบังคับให้เขาบัยอะฮฺต่อฉันทางเลือกของเขาก็อยู่ในมือของเขาเองเหมือนกับทางเลือกของพวกท่านย่อมอยู่ในมือของพวกท่านถ้าหากผู้ใดในหมู่พวกท่านรู้ว่ามีใครที่มีความเหมาะสมกับการเป็นเคาะลีฟะฮฺมากกว่าฉัน และยังเห็นว่าในการเป็นเคาะลีฟะฮฺของเขาบรรดามุสลิมจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เมื่อนั้นฉันจะเป็นคนแรกที่จะยอมบัยอะฮฺให้กับเขา"จากนั้นท่านอะลี รอฎิฯ และบุคคลทั้งหลายที่อยู่ ณ ที่นั้นได้กล่าวว่า "พวกเรารู้ดีว่าไม่มีใครที่จะมีความเหมาะสมมากไปกว่าท่าน ท่านรสูลศ็อลฯ ได้มอบให้ท่านเป็นผู้นำในกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับศาสนาของเราและในบั้นปลายของชีวิตท่านรสูลท่านยังสั่งให้ท่าน (อบูบักร) นำพวกเราละหมาดอีกด้วย แม้จะมีข้อเท็จจริงอยู่ว่า พวกเราเป็นครอบครัวของท่านรสูลและถูกนับรวมอยู่ในกลุ่มคนที่ให้คำแนะนำและข้อปรึกษา แต่ท่านก็มิได้ขอความคิดเห็นจากพวกเราสักคน(ในเรื่องการให้ท่านอบูบักรนำละหมาด) ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงถือว่าท่านเป็นคนที่มีความเหมาะสมที่สุดและมีความคู่ควรแก่ตำแหน่งหน้าที่นี้" ครั้นแล้ว ท่านอะลี รอฎิฯและบรรดาเศาะหาบะฮฺที่อยู่ร่วมกับท่านได้ให้สัตยาบันแก่ท่านอบูบักรต่อหน้าคนทั้งหลาย และด้วยเหตุนี้ มติของประชาคมมุสลิมจึงเป็นเอกฉันท์โดยสมบูรณ์(1)
                ในส่วนของนักประวัติศาสตร์และนักหะดีษที่เชื่อว่า ท่านอะลี รอฎิฯประวิงการบัยอะฮฺออกไประยะหนึ่งนั้น ให้เหตุผลว่าภายหลังท่านรสูล ศ็อลฯ จากไปแล้วท่านอะลีตกอยู่ในอาการเศร้าโศกและเก็บตัวอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ช่วงเวลานั้นท่านทุ่มเทเวลาให้กับการรวบรวมบันทึกอายะฮฺอัล-กุรอานที่กระจัดกระจายอยู่ เวลาผ่านไปหกเดือน จนกระทั่งท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ภรรยาสุดที่รักของท่านได้ตายจากไปท่านจึงออกมาบัยอะฮฺให้แก่ท่านอบูบักรในที่สุด
                ท่านมุสลิมได้บันทึกเกี่ยวกับความล่าช้าในการบัยอะฮฺของท่านอะลี รอฎิฯเอาไว้ในบทที่ 32 กิตาบุลญิฮาดิ วัส-สิยารฺ บาบที่ 16 โดยอ้างรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า "ระหว่างที่ฟาฏิมะฮฺมีชีวิตอยู่อะลีได้รับการเคารพนับถือจากประชาชน ครั้นเมื่อเธอตายแล้ว อะลีรู้สึกห่างเหินในสายตาของประชาชนเขาจึงหาทางคืนดีกับท่านอบูบักร และให้บัยอะฮฺกับเขา ในช่วงหลายเดือน (ที่ผ่านไปนี้)เขายังไม่ได้บัยอะฮฺ เขาจึงส่งคนไปหาท่านอบูบักร (และฝากบอกว่า) "ให้มาพบเราและจงอย่ามาพบเราโดยมีผู้ใดมากับท่านด้วย" อุมัรจึงพูดแก่ท่านอบูบักรว่า "ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ท่านจะต้องไม่ไปหาพวกเขาตามลำพัง" ท่านอบูบักรกล่าวว่า "พวกเขาจะทำอะไรฉัน ฉันสาบานต่ออัลลอฮฺ ฉันจะไปหาพวกเขา" แล้วท่านอบูบักรก็ไปหาพวกเขา (คือท่านอะลี ครอบครัวผู้สนับสนุนและคนในตระกูลบนีฮาชิม)
                ท่านอะลี รอฎิฯ ได้กล่าวชะฮาดะฮฺ แล้วพูดว่า"เรายอมรับในคุณธรรมของท่าน โอ้ท่านอบูบักร และสิ่งที่อัลลอฮฺได้ประทานให้แก่ท่าน และเราไม่อิจฉาท่านในความดีงามที่อัลลอฮฺทรงมอบแก่ท่าน(ในการดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ) แต่ท่านได้ทำกิจการนี้ตามลำพัง (โดยมิได้ปรึกษาเรา)และเราเห็นว่าเราก็มีสิทธิเช่นเดียวกัน (สำหรับการปรึกษาหารือ) ในฐานะที่เราเป็นญาติใกล้ชิดของท่านรสูลุลลอฮฺศ็อลฯ" อะลีได้พูดเช่นนี้ต่อไปแก่ท่านอบูบักร จนกระทั่งตาทั้งสองข้างของท่านอบูบักรเอ่อด้วยน้ำตา ดังนั้นเมื่อท่านอบูบักรเอ่ยเอื้อนวาจาท่านจึงพูดว่า "ขอสาบานด้วยพระผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์แน่นอน ญาติสนิทของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลฯ นั้นเป็นที่รักแก่ฉันยิ่งกว่าญาติแท้ ๆ ของฉันส่วนเรื่องขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างฉันกับพวกพ้องของท่านในเรื่องทรัพย์สินทั้งปวงนี้นั้น ฉันไม่ได้หลีกเลี่ยงไปจากความริงและฉันก็มิได้ละทิ้งกิจการใดที่ฉันได้เห็นท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลฯ ได้ปฏิบัติ นอกจากว่าฉันได้ทำตามอย่างนั้น"ท่านอะลีจึงพูดแก่ท่าน อบูบักรว่า"หลังบ่ายนี้เป็นเวลาที่กำหนดไว้ให้บัยอะฮฺแก่ท่าน" เมื่อท่านอบูบักรอ่านนมาซซุฮฺริเสร็จแล้ว เขาก็ขึ้นไปบนมิมบัรฺเขากล่าวชะฮาดะฮฺ เขาได้แจ้งถึงสถานภาพของท่านอะลีและการล่าช้าของเขา และข้อขัดข้องที่เขา (ท่านอะลี) ได้แก้ตัวต่อเขา(ท่านอบูบักร) แล้วเขา (ท่านอบูบักร) ก็ขอการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ ท่านอะลีได้อ่านชะฮาดะฮฺกล่าวยกย่องสิทธิของท่านอบูบักร และอธิบายว่าพฤติการณ์ของเขานั้นมิได้เนื่องมาจากการที่เขาจะมีความรู้สึกริษยาท่านอบูบักรหรือการปฏิเสธถึงการที่อัลลอฮฺได้ทรงยกย่องเขา "เพียงแต่เรามีความเห็นว่าเราควรมีส่วนในกิจการ(ของบ้านเมือง) แต่ก็ได้ตกลงกันไปแล้วโดยมิได้แจ้งให้เราล่วงรู้ (ก่อนที่จะมีการประชุมปรึกษาหารือ)และนี่แหละที่ทำให้เราไม่พอใจ" ปวงมุสลิมก็พอใจใน (คำอธิบาย) นี้ และกล่าวว่า"ท่านทำถูกต้องแล้ว" ปวงมุสลิมก็ใกล้ชิดกับท่านอะลีอีกนับแต่เขาได้กลับมารับเอากิจการที่สมควร"

ความขัดแย้งในเรื่องการทำบัยอะห์ของท่านอาบูบักร
      
                อย่างไรก็ตามแม้บันทึกของท่านมุสลิมจะแตกต่างกับรายงานของนักประวัติศาสตร์และนักหะดีษคนอื่นๆ ที่บันทึกว่า ท่านอะลี รอฎิฯได้บัยอะฮฺให้แก่ท่านอบูบักรในเวลาไม่นานเท่าไรนักก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ลงรอยกันก็คือ การยอมรับในคุณสมบัติแห่งคุณความดีของท่านอบูบักรและการตัดพ้อต่อว่าก็จำกัดเฉพาะประเด็นที่ถูกละเลยในการปรึกษาหารือเท่านั้น
                เกี่ยวกับการบัยอะฮฺของท่านอะลี รอฎิฯ ต่อท่านอบูบักรนั้นนักประวัติศาสตร์มุสลิมสายชีอะฮฺก็ยอมรับความจริงในข้อนี้ สัยยิด ฮุสเซ็น เอ็ม ญัฟรี กล่าวว่า ท่านอะลีไม่สามารถจะต่อต้านความกดดันที่บีบรัดมากขึ้นท่านจึงตัดสินใจบัยอะฮฺให้แก่ท่านอบูบักร(2) ที่เห็นว่าแปลกก็คือนักเขียนประวัติศาสตร์ชาวชีอะฮฺผู้นี้ใช้คำว่า "เมื่อเขา (อะลี) ทำความปรองดองกับอบูบักร"โดยมิได้อ้างหลักปฏิบัติที่เรียกว่า " ตะกียะฮฺ" แต่อย่างใด สัยยิด ฮุสเซ็น อ้างบันทึกทางประวัติศาสตร์ของอัล-ยะกูบีย์ (เล่ม 2 หน้า 126)อัล-บะลาดูรีย์ (เล่ม 1 หน้า 586-588) อิกดฺ (เล่ม 4 หน้า 259-260) ฮาดีด (เล่ม 2 หน้า 50)ตลอดจนหนังสือของอิบนิ สะอฺด หนังสืออัล-อิสติยาบของอัล-หาฟิซ อิบนิอับดุลบัรรฺรายงานการบัยอะฮฺของกลุ่มเศาะหาบะฮฺที่สนับสนุนท่านอะลี รอฎิฯ โดยกล่าวว่า "ในที่สุดพวกเขาก็ค่อย ๆ ปรับตัวเข้ากับถานการณ์และบัยอะฮฺต่อท่านอบูบักร ชื่อและจำนวนของพวกเขาแตกต่างกันไปตามแหล่งของข้อมูลที่แตกต่างกันแต่บุคคลที่เด่นที่สุดในหมู่พวกเขาและที่มีบันทึกไว้โดยหนังสือส่วนใหญ่นั้นได้แก่ หุดัยฟะฮฺ บินอัล-ยะมาน (คนเผ่าเอาสฺ) คุซัยมะฮฺบิน ษาบิต (คนเผ่าเอาสฺ) อบู อัยยูบ อัล-อันศอรีย์ (คนเผ่าบนู นัจญารฺ) สะฮฺล บิน ฮุนัยฟฺ (คนเผ่าเอาสฺ) อุษมานบิน ฮุนัยฟฺ (น้องชายของสะฮฺล) อัล-บะรออะฮฺ บิน อาซิบ อัล-อันศอรีย์ (คนเผ่าคอซรอจญ์) อุบัยย์ บิน กะอฺบ(คนเผ่าคอซรอจญ์) อบู ซัรรฺ บินญุนดาบ อัล-ฆิฟารีย์ (ชาวเมืองร็อบซะฮฺ) อัมมารฺ บิน ยาซิร (คนเผ่ามัคซูม)อัล-มิกดาด อิบนิ อัมรฺ (หรือ อัล-
มิกดาด บิน อัสวัด) บุตรบุญธรรมของพวกบนูมัคซูม) ซัลมาน อัล-ฟาริซีย์ (ทาสชาวเปอร์เซีย ท่านรสูล ศ็อลฯ ไถ่เขาเป็นอิสระและรับเขาเป็นเมาลาของท่าน และเป็นหนึ่งในสมาชิกของอะหฺลิลบัยตฺ)อัซ-ซุเบรฺ บิน อัล-เอาวาม (คนเผ่ากุเรซ) และคอลิด บินสาอิด (คนจากตระกูลอุมัยยะฮฺ)"

2.3 จุดยืนของอะหลุลบัยตที่มีต่อคอลีฟะห์อบูบักร

                   อะหฺลุลบัยตฺ คือสมาชิกในครัวเรือนของท่านนบี ศ็อลฯ ตามความเชื่อของชีอะฮฺเมื่อครั้งที่ท่านนบี ศ็อลฯ ยัง มีชีวิตอยู่ อะหฺลุลบัยตฺมีเพียง 4 คนเท่านั้น ได้แก่ ท่านอะลี ท่านหญิงฟาติมะฮฺ ท่านหะซัน และท่านหุเซน รอฎิฯ
                  แต่ตามความเชื่อของอะหฺลุซซุนนะฮฺ อะหฺลุลบัยตฺประกอบไปด้วยภริยา ของท่านนบี ศ็อลฯ ครอบครัวของท่านอะลี ครอบครัวของท่านอับบาส รอฎิฯ และอะหฺลุลบัยตฺ มิได้อยู่ในภาวะ " มะอฺศูม "   ( ภาวะไร้บาป )เช่นเดียวกับบรรดานบีและรสูลของอัลลอฮฺ สุบหฯ ขณะที่ชาวชีอะฮฺเชื่อว่าอะหฺลุลบัยตฺของตนเป็นผู้ไร้บาป

คำว่าอะห์ลุลบัยต์
                  คำว่า อะห์ลุลบัยต์ณ ที่นี้ปรากฏอยู่ในครึ่งหลังของอายะห์ที่ 33 ในซูเราะห์ อัล-อะห์ซาบ ยังมีอายะห์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและรวมเป็นกลุ่มเดียวกันนับจากอายะห์ที่ 28 จนถึงอายะห์ที่ 34 ซึ่งมีมีความหมายเต็ม ๆ ดังนี้คือ :
                    (28)“โอ้นบี! จงกล่าวแก่บรรดาภริยาของเจ้าเถิดว่า หากพวกเธอปรารถนาการมีชีวิตในโลกนี้และความเพริศแพร้วของมัน ก็จงมาเถิด ฉันจะจัดหา(การเลี้ยงชีพ)ให้แก่พวกเธอ และจะปล่อยพวกเธอให้ออกไปอย่างดีงาม
                      (29)”และหากพวกเธอปรารถนาอัลลอฮ์ และรอซูลของพระองค์และโลกอาคิเราะห์แล้ว แท้จริงอัลลอฮ์ได้เตรียมผลบุญอันใหญ่หลวงแก่เหล่าสตรีผู้กระทำความดีในหมู่พวกเธอ
                      (30)”โอ้บรรดาภริยาของนบี! ผู้ใดในหมู่พวกเธอนำความชั่วอย่างชัดแจ้งมา การลงโทษจะถูกเพิ่มให้แก่นางเป็นสองเท่า ในการนั้นเป็นการง่ายดายแก่อัลลอฮ์
                      (31)”และผู้ใดในหมู่พวกเธอที่ยอมภักดีต่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ และประพฤติแต่สิ่งที่ดี แน่นอนเราจักมอบรางวัลแก่นางถึงสองเท่า และเราได้สำรองโชคผลอันมีเกียรติแก่นาง
                      (32)”โอ้บรรดาภริยานบี! พวกเธอหาได้มีฐานะเหมือนบรรดาสตรีทั้งหลายไม่ หากพวกเธอมีความยำเกรงก็อย่าได้ใช้วาจาอ่อนหวาน(กับชายอื่น) อันจะเป็นเหตุให้ชายที่มีความป่วยในหัวใจพากันมุ่งหวัง(ในตัวเธอ) และพวกเธอจงใช้วาจาที่ดี
                      (33)”และจงประจำอยู่แต่ในเรือนของพวกเธอ และอย่างปรากฏตัวอย่างเปิดเผยตามอย่าง(การปรากฏตัวใน)ยุคญาฮีลียะห์ดั้งเดิม จงดำรงการละหมาด จงบริจาคซะกาต และจงภักดีต่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮ์เพียงประสงค์ที่จะขจัดความไม่บริสุทธิ์ออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะห์ลุลบัยต์! และทรงประสงค์ที่จะชำระพวกเจ้าให้บริสุทธิ์ด้วยความบริสุทธิ์ยิ่ง
                          (34)”และจงรำลึกถึงโองการของอัลลอฮ์และวิทยปัญญา ที่ถูกอ่านอยู่ในเรือนพวกเธอ แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้อาทรยิ่ง ทรงเป็นผู้ตระหนักยิ่ง (33: 28-34)
                           จากข้อความข้างต้น อายะห์ที่ 28 และ 29 กล่าวถึงท่านนบี(..) อายะห์ที่ 30 และ 31 กล่าวถึงภริยาของท่านนบี(..) อย่างชัดเจน อายะห์ที่ 32 กล่าวถึงภริยาของท่านนบี(..) โดยตรง ยังเตือนว่าพวกเธอหาได้มีฐานะเหมือนบรรดาสตรีทั้งหลาย        ไม่ตอนนี้ก็มาถึงอายะห์ปัญหาของเรา
คืออายะห์ที่ 33 ครึ่งหลังซึ่งชาวชีอะห์ชอบที่จะอ้างสนับสนุนภาวะมะอ์ซูม(สภาพไร้บาป)และความสูงส่งของท่านอาลี(..) ครึ่งแรกอายะห์นี้กล่าวว่า และจงประจำอยู่แต่ในเรือนของพวกเธอ และอย่าปรากฏตัวอย่างเปิดเผยตามอย่าง(การปรากฏตัวใน)ยุคญาฮีลียะห์ดั้งเดิม จงดำรงการละหมาด จงบริจาคซะกาต และจงภักดีต่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ถ้อยคำเหล่านี้เป็นส่วนต่อเนื่องมาจากอายะห์ต้นๆ ซึ่งกล่าวถึงบรรดาภริยาของท่านนบี(..) โดยตรงจากนั้นครึ่งหลังของอายะห์เดียวกันจึงปรากฏความว่า แท้จริง อัลลอฮ์เพียงประสงค์ที่จะขจัดความไม่บริสุทธิ์ออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะลุลบัยต์! และทรงประสงค์ที่จะชำระพวกเจ้าให้บริสุทธิ์ด้วยความบริสุทธิ์ยิ่ง
                    ข้อความเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า กลุ่มอายะห์ทั้งกลุ่มนี้กล่าวถึงท่านนบี(..) และบรรดาภริยาของท่าน คำกิริยาและคำนามในตอนต้นๆ และในอายะห์ท้าย(34) อยู่ในรูปเพศหญิงแต่เฉพาะตรงครึ่งหลังของอายะห์ที่ 33 คำนามที่ใช้ตามหลังคำว่าอะห์ลุลบัยต์กลับเปลี่ยนเป็นคำเพศชาย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าตามหลักไวยากรณ์ภาษาอาหรับ คำเพศชายจะถูกนำมาใช้ในกรณีที่ผู้ถูกพูดถึงมีเพศชายและเพศหญิงปนกัน ดังนั้น อายะห์เหล่านี้ทั้งหมดจึงเกี่ยวข้องและรวมบรรดาภริยาของท่านนบี(..) เอาไว้โดยมิต้องสงสัย ฝ่ายท่านอาลี ท่านหญิงฟาฏีมะห์ ท่านหะซัน และท่านหุเซน(..) ได้ถูกรวมเข้าไปอยู่ในอะห์ลุลบัยต์กับเขาด้วยดังความในดุอาอ์ของท่านนบี(..) ที่กล่าวมาแล้ว ชาวชีอะห์อ้างเพียงแต่อายะห์ที่ 33 ครึ่งหลังเท่านั้น และทึกทักว่าอะห์ลุลบัยต์ได้แก่คนเพียง 4 คน โดยมิได้รวมบรรดาภริยาของท่านนบี(..)เข้าไว้ด้วย
                          ตอนนี้ขอให้เราสมมติว่า เรายอมรับคำอธิบายของชาวชีอะห์และถือว่าอะห์ลุลบัยต์ไม่ได้รวมภริยาของท่านนบี(..)เอาไว้ ใจความของอัล-กุรอานนับแต่อายะห์ที่ 29 จนถึงข้อความที่เรากำลังอภิปรายอยู่นี้ ก็จะอ่านได้ความดังนี้คือ : อัลลอฮ์(..) ทรงมีบัญชาบรรดาภริยาของท่านนบี(..) เลือกเอาระหว่างโลกนี้และโลกหน้า ทรงเตือนพวกนางให้ระวังการลงทัณฑ์หนักถึงสองเท่า ถ้าพวกนางเกิดพระพฤติตัวไม่เหมาะสมขึ้นมา ทรงสัญญาว่าพวกนางจะได้รับรางวัลตอบแทนสองเท่า ถ้าพวกนางทำสิ่งดีงาม ทรงเตือนพวกนางให้ทำตัวเป็นแบบอย่างในด้านกิริยามารยาท ทรงเคี่ยวเข็ญให้พวกนางดำรงการละหมาดและบริจาคซะกาต สุดท้ายพระองค์ทรงมีรับสั่งว่า พระองค์กำหนดสิ่งทั้งหลายทั้งปวงให้กับพวกนาง เพราะพระองค์ทรงต้องการที่จะขจัดความไม่บริสุทธิ์ให้ออกไปจากคนอื่น ไม่ใช่พวกนาง และคนเหล่านั้นก็ได้แก่ท่านอาลี ท่านหญิงฟาฏีมะห์ ท่านหะซันและท่านหุเซน(..)

หนึ่งในอะหลุลบัยตคือท่านอาลี บิน อบีตอลิบ

                 ท่านอะลียอมรับเคาะลีฟะฮฺ ก่อนหน้าท่านหรือไม่
           ภายหลังการประชุมปรึกษาหารือที่สะกีฟะฮฺแล้วในวันรุ่งขึ้นประชาชนทั้งหลายได้พากันมา
บัยอะฮฺให้กับ ท่านอบูบักร รอฎิฯ สิ่งที่น่าสนใจ ณ ที่นี้ก็คือท่านอะลี รอฎิฯ คนในตระกูลบนีฮาชิมของท่าน และผู้สนับสนุน ท่านได้บัยอะฮฺให้กับท่านอบูบักรหรือไม่ แน่นอนที่สุด การตอบคำถามเรื่องนี้คงจะต้องอาศัยหลักฐานมาประกอบ เราจึงมีความคิดเห็นว่าหากจะนำ เพียงหลักฐานของฝ่ายอะหฺลิสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺแต่เพียงฝ่ายเดียวมาเสนอ จะดูเป็นการไม่เพียงพอสำหรับผู้ ใฝ่หาความเป็นจริงทั้งหลาย เพราะฉะนั้นในบทความเรื่องนี้ เราจึงได้นำหลักฐานที่ฝ่ายชีอะฮฺยอมรับมา ประกอบเรื่องราวเข้าด้วยกัน เกี่ยวกับการบัยอะฮฺของท่านอะลี รอฎิฯ
             พอจะสรุปได้ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ความเห็นเป็นสอง แนวด้วยกัน

แนวแรก

        ระบุว่าท่านอะลีบัยอะฮฺให้กับท่านอบูบักรหลังจากท่านอบูบักรเป็นเคาะลีฟะฮฺได้ไม่นานเท่าไรนัก
 แนวที่สอง
              ระบุว่าท่านอะลีประวิงการบัยอะฮฺออกไประยะหนึ่ง หลังจากไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว ท่านจึงบัยอะฮฺให้กับท่านอบูบักร สำหรับกำหนดระยะเวลานั้นไม่ปรากฏว่ามีรายงานที่ชัดเจนในเรื่องนี้ อุลามะ ฮฺและนักหะดีษบางส่วนมีความคิดเห็นว่า เป็นระยะเวลาหกเดือน หรือหลังจากท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ รอฎิฯ สิ้น ชีวิตแล้ว ในหนังสืออัล-กะมีลของอิบนิ อะษิร (เล่ม 2 หน้า 220) บันทึกเอาไว้ว่า เมื่อตอนที่ท่านอะลี รอฎิฯ ได้รับ ข่าวว่าท่านอบูบักร รอฎิฯ ได้รับเลือกให้เป็นเคาะลีฟะฮฺ ณ ที่ประชุมสะกีฟะฮฺนั้น ขณะนั้นท่านอยู่ภายในบ้าน ของท่าน ทันใดนั้นท่านรีบรุดออกไปโดยสวมเพียงเสื้อตัวในเท่านั้น ท่านไม่รีรอที่จะสวมเสื้อคลุมยาวเสียก่อน ที่จะออกจากบ้าน ทั้งนี้เพราะท่านไม่ชอบการรอช้า หลังจากท่านอะลีให้สัตยาบันต่อท่านอบูบักร รอฎิฯ ด้วยตัว ท่านเองแล้ว ท่านจึงส่งชายคนหนึ่งให้ไปนำเอาเสื้อคลุมของท่านมา เมื่อได้เสื้อคลุมของท่านมาแล้ว ท่านก็สวม ลงทางศีรษะและหน้าอกของท่านจนยาวคลุมร่างของท่าน หนังสืออธิบายเศาะเฮียะฮฺ อัล-บุคอรี ชื่ออิรฺชาดุลซะรี (เล่ม 6 หน้า 277) กล่าวว่า อิบนิ ฮิบบานและคนอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกับอิบนิ ฮิบบานรายงานจากท่าน อบู สะอิด อัล-คุดรี รอฎิฯ ว่า ท่านอะลี รอฎิฯ บัยอะฮฺให้แก่ท่านอบู บักรด้วยตัวของท่านเองตั้งแต่ในระยะต้น ๆ อิบนิ ฮิบบานยังกล่าวเพิ่มเติมว่า "ตามที่ท่านมุสลิม (นักหะดีษคน สำคัญคนหนึ่งของโลกมุสลิม) รายงานจากอัซ-ซุฮฺรีย์ว่า มีบางคนบอกกับเขาว่า อะลีมิได้บัยอะฮฺให้แก่อบูบักร ด้วยตัวของท่านเอง จนกระทั่งฟาฏิมะฮฺภรรยาของท่านถึงแก่กรรมไปแล้ว พวกบนีฮาชิมก็เช่นเดียวกัน ไม่มี ใครสักคนที่ให้บัยอะฮฺ (ในระยะแรก) ท่านอัล-บุคอรีถือว่าเรื่องนี้เป็นรายงานที่อ่อนหลักฐาน ทั้งนี้ก็เพราะว่า อัซ-ซุฮฺรีย์ไม่ได้อ้างว่าได้ยินมาจากใคร เพราะฉะนั้น สำนวนของสายรายงานที่อ้างกันมาอย่างต่อเนื่องจนสืบถึง ท่านอบู สะอิด อัล-คุดรี จึงน่าเชื่อถือกว่า" เรื่องทำนองนี้ยังมีรายงานในหนังสือประวัติศาสตร์ของท่านบัยฮากีย์ด้วยเหมือนกัน แม้จะมีความแตก ต่างไปบ้างเล็กน้อย
               จากรายงานของท่านอบู สะอิด อัล-คุดรี กล่าวว่า เมื่ออบูบักรก้าวขึ้น (สู่มิมบัรฺ) แล้วมองไป รอบ ๆ เขาไม่เห็นอัซ-ซุเบรฺอยู่ ดังนั้นเขาจึงเรียกอัซ-ซุเบรฺให้มาหา เมื่อ อัซ-ซุเบรฺเข้ามาแล้ว เขาจึงพูดกับอัซ-ซุ เบรฺว่า "ท่านกล่าวว่าท่านเป็นลูกพี่ลูกน้องของรสูลุลลอฮฺ ศ็อลฯ และเป็นผู้สนับสนุนท่าน ดังนั้นท่านจึงต้องการ จะสร้างรอยร้าวให้เกิดขึ้นในหมู่มุสลิมใช่หรือไม่" อัซ-ซุเบรฺกล่าวว่า "โปรดอย่าตำหนิฉันเลยท่านเคาะลีฟะ ฮฺแห่งรสูลุลลอฮฺ" และแล้วอัซ-ซุเบรฺก็ บัยอะฮฺให้กับเขา นอกจากนี้ อบูบักรยังไม่เห็นอะลีเลย ดังนั้นเขาจึงเรียก อะลีมา เมื่ออะลีมาถึง อบูบักรกล่าวกับอะลีว่า "ท่านกล่าวว่า ท่านคือลูกพี่ลูกน้องของท่านรสูลและเป็นลูกเขย ของท่านอีกด้วย ดังนั้นท่านจึงต้องการสร้างรอยร้าวในหมู่มุสลิมใช่หรือไม่" อะลีตอบว่า "โอ้ท่านผู้เป็นเคาะลี ฟะฮฺแห่งรสูลุลลอฮฺ โปรดอย่าตำหนิฉันเลย" แล้วอะลีก็บัยอะฮฺให้แก่อบูบักร รายงานของท่านบัยฮากีย์ข้างต้น แสดงว่าท่านอะลีและอัซ-ซุเบรฺ รอฎิฯ ในระยะแรก ๆ ยังมีความคิดเห็น ที่แตกต่างไปจากคนทั้งหลายที่บัยอะฮฺให้กับท่านอบูบักร รอฎิฯ ในวันที่หนึ่งและสองหลังจากการประชุมที่สะกี ฟะฮฺ ท่านทั้งสองคงจะประวิงเวลาอยู่สักระยะหนึ่งเพื่อตรึกตรอง เรื่องนี้สอดคล้องกับบันทึกของท่านมูซา อิบ นิ อุกูบะฮฺซึ่งอ้างรายงานจากท่านอับดุรเราะหฺมาน บินเอาฟฺ ว่า
              จากนั้นอบูบักรได้กล่าวคำปราศรัย เขากล่าวใน เชิงออกตัวต่อประชาชนว่า "ฉันไม่เคยมีความกระตือรือร้นที่จะได้เป็นเคาะลีฟะฮฺเลยจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวันเป็น คืน ไม่เคยร้องขอตำแหน่งนี้ ทั้งในที่ลับและในที่เปิดเผย" ชาวมุฮาญิรีนยอมรับคำพูดของเขา สำหรับอะลีและ อัซ-ซุเบรฺ พวกเขากล่าวว่า "เรามิได้มีความโกรธเคืองแต่ประการใด นอกเสียจากว่าเป็นเพราะพวกเราไม่ได้ถูก นำไปร่วมขบคิดในระหว่างที่มีการประชุมกัน ตามความคิดเห็นของเรา ท่านอบูบักรเป็นบุคคลที่คู่ควรที่สุดใน บรรดาคนทั้งหลาย เขาเป็นผู้ติดตาม (ท่านรสูล) ในถ้ำ และคุณงามความดีอื่น ๆ ของเขาเป็นที่รับรู้ของเรา และ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมท่านรสูลจึงสั่งให้เขาทำหน้าที่แทนท่านในการนำประชาชนละหมาด ขณะที่ท่านล้ม ป่วยอยู่"
                     นอกจากนี้ยังมีรายงานบางกระแสระบุว่า ท่านอะลี อิบนิ อบูตอลิบ ท่านอับบาส อิบนิ อับดุลมุตตอลิบ และ บรรดาเศาะหาบะฮฺระดับนำอีกจำนวนหนึ่ง อาทิ ตอลหะฮฺ อัซ-ซุเบรฺและมิกดาด อิบนิ อัสวัด ทั้งหมดนี้มิได้บัย อะฮฺให้แก่ท่านอบูบักรในเวลาเดียวกันกับเศาะหาบะฮฺที่เหลือซึ่งบัยอะฮฺไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่พวกเขาก็ได้ให้บัย อะฮฺในเวลาถัดจากนั้นไม่นานเท่าไรนัก พวกเขายังได้ตกลงที่จะสนับสนุนเคาะลีฟะฮฺอีกด้วย ท่านอบูบักรเรียก พวกเขามาหา และมีคำสั่งให้เศาะหาบะฮฺจำนวนหนึ่งมาปรากฏตัวด้วยเช่นกัน เมื่อทุกคนมาพร้อมหน้ากันแล้ว ท่านจึงยืนขึ้นในระหว่างพวกเขา ภายหลังจากกล่าวคำสรรเสริญอัลลอฮฺ ศุบหฯ แล้ว ท่านก็กล่าวว่า "นี่คืออะลี อิบนิ อบูตอลิบ ฉันมิได้บีบบังคับให้เขาบัยอะฮฺต่อฉัน ทางเลือกของเขาก็อยู่ในมือของเขาเอง เหมือนกับทางเลือกของพวกท่านย่อมอยู่ในมือของพวกท่าน ถ้าหากผู้ใดในหมู่พวกท่านรู้ว่ามีใครที่มีความ เหมาะสมกับการเป็นเคาะลีฟะฮฺมากกว่าฉัน และยังเห็นว่าในการเป็นเคาะลีฟะฮฺของเขา บรรดามุสลิมจะมี ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เมื่อนั้นฉันจะเป็นคนแรกที่จะยอมบัยอะฮฺให้กับเขา" จากนั้นท่านอะลี รอฎิฯ และบุคคลทั้งหลายที่อยู่ ณ ที่นั้นได้กล่าวว่า "พวกเรารู้ดีว่าไม่มีใครที่จะมีความเหมาะสมมากไปกว่าท่าน ท่านรสูล ศ็อลฯ ได้มอบให้ท่านเป็นผู้นำใน กิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับศาสนาของเราและในบั้นปลายของชีวิตท่านรสูล ท่านยังสั่งให้ท่าน (อบูบักร) นำพวก เราละหมาดอีกด้วย แม้จะมีข้อเท็จจริงอยู่ว่า พวกเราเป็นครอบครัวของท่านรสูล และถูกนับรวมอยู่ในกลุ่มคนที่ ให้คำแนะนำและข้อปรึกษา แต่ท่านก็มิได้ขอความคิดเห็นจากพวกเราสักคน (ในเรื่องการให้ท่านอบูบักรนำ ละหมาด) ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงถือว่าท่านเป็นคนที่มีความเหมาะสมที่สุด และมีความคู่ควรแก่ตำแหน่งหน้าที่ นี้" ครั้นแล้ว ท่านอะลี รอฎิฯ และบรรดาเศาะหาบะฮฺที่อยู่ร่วมกับท่านได้ให้สัตยาบันแก่ท่านอบูบักรต่อหน้า คนทั้งหลาย และด้วยเหตุนี้ มติของประชาคมมุสลิมจึงเป็นเอกฉันท์โดยสมบูรณ์(1)
                ในส่วนของนักประวัติศาสตร์และนักหะดีษที่เชื่อว่า ท่านอะลี รอฎิฯ ประวิงการบัยอะฮฺออกไประยะหนึ่ง นั้น ให้เหตุผลว่าภายหลังท่านรสูล ศ็อลฯ จากไปแล้ว ท่านอะลีตกอยู่ในอาการเศร้าโศกและเก็บตัวอยู่ชั่วระยะ เวลาหนึ่ง ช่วงเวลานั้นท่านทุ่มเทเวลาให้กับการรวบรวมบันทึกอายะฮฺอัล-กุรอานที่กระจัดกระจายอยู่ เวลาผ่าน ไปหกเดือน จนกระทั่งท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ภรรยาสุดที่รักของท่านได้ตายจากไป ท่านจึงออกมาบัยอะฮฺให้แก่ท่า นอบูบักรในที่สุด ท่านมุสลิมได้บันทึกเกี่ยวกับความล่าช้าในการบัยอะฮฺของท่านอะลี รอฎิฯ เอาไว้ในบทที่ 32 กิตาบุลญิฮา ดิ วัส-สิยารฺ บาบที่ 16 โดยอ้างรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า "ระหว่างที่ฟาฏิมะฮฺมีชีวิตอยู่ อะลีได้รับการ เคารพนับถือจากประชาชน ครั้นเมื่อเธอตายแล้ว อะลีรู้สึกห่างเหินในสายตาของประชาชน เขาจึงหาทางคืนดี กับท่านอบูบักร และให้บัยอะฮฺกับเขา ในช่วงหลายเดือน (ที่ผ่านไปนี้) เขายังไม่ได้บัยอะฮฺ เขาจึงส่งคนไปหาท่า นอบูบักร (และฝากบอกว่า) "ให้มาพบเรา และจงอย่ามาพบเราโดยมีผู้ใดมากับท่านด้วย" อุมัรจึงพูดแก่ท่านอบู บักรว่า "ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ท่านจะต้องไม่ไปหาพวกเขาตามลำพัง" ท่านอบูบักรกล่าวว่า "พวกเขาจะทำ อะไรฉัน ฉันสาบานต่ออัลลอฮฺ ฉันจะไปหาพวกเขา" แล้วท่านอบูบักรก็ไปหาพวกเขา (คือท่านอะลี ครอบครัว ผู้สนับสนุนและคนในตระกูลบนีฮาชิม) ท่านอะลี รอฎิฯ ได้กล่าวชะฮาดะฮฺ แล้วพูดว่า "เรายอมรับในคุณธรรมของท่าน โอ้ท่านอบูบักร และสิ่งที่ อัลลอฮฺได้ประทานให้แก่ท่าน และเราไม่อิจฉาท่านในความดีงามที่อัลลอฮฺทรงมอบแก่ท่าน (ในการดำรง ตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ) แต่ท่านได้ทำกิจการนี้ตามลำพัง (โดยมิได้ปรึกษาเรา) และเราเห็นว่าเราก็มีสิทธิเช่นเดียว กัน (สำหรับการปรึกษาหารือ) ในฐานะที่เราเป็นญาติใกล้ชิดของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลฯ" อะลีได้พูดเช่นนี้ต่อไป แก่ท่านอบูบักร จนกระทั่งตาทั้งสองข้างของท่านอบูบักรเอ่อด้วยน้ำตา ดังนั้น เมื่อท่านอบูบักรเอ่ยเอื้อนวาจา ท่านจึงพูดว่า "ขอสาบานด้วยพระผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ แน่นอน ญาติสนิทของท่าน รสูลุลลอฮฺ ศ็อลฯ นั้นเป็นที่รักแก่ฉันยิ่งกว่าญาติแท้ ๆ ของฉัน ส่วนเรื่องขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างฉันกับพวก พ้องของท่านในเรื่องทรัพย์สินทั้งปวงนี้นั้น ฉันไม่ได้หลีกเลี่ยงไปจากความจริง และฉันก็มิได้ละทิ้งกิจการใดที่ ฉันได้เห็นท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลฯ ได้ปฏิบัติ นอกจากว่าฉันได้ทำตามอย่างนั้น" ท่านอะลีจึงพูดแก่ท่าน อบูบัก รว่า "หลังบ่ายนี้เป็นเวลาที่กำหนดไว้ให้บัยอะฮฺแก่ท่าน" เมื่อท่านอบูบักรอ่านนมาซซุฮฺริเสร็จแล้ว เขาก็ขึ้นไปบนมิมบัรฺ เขากล่าวชะฮาดะฮฺ เขาได้แจ้งถึงสถานภาพ ของท่านอะลีและการล่าช้าของเขา และข้อขัดข้องที่เขา (ท่านอะลี) ได้แก้ตัวต่อเขา (ท่านอบูบักร) แล้วเขา (ท่านอบูบักร) ก็ขอการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ ท่านอะลีได้อ่านชะฮาดะฮฺ กล่าวยกย่องสิทธิของท่านอบูบักร และ อธิบายว่า พฤติการณ์ของเขานั้นมิได้เนื่องมาจากการที่เขาจะมีความรู้สึกริษยาท่านอบูบักร หรือการปฏิเสธถึง การที่อัลลอฮฺได้ทรงยกย่องเขา "เพียงแต่เรามีความเห็นว่า เราควรมีส่วนในกิจการ (ของบ้านเมือง) แต่ก็ได้ ตกลงกันไปแล้วโดยมิได้แจ้งให้เราล่วงรู้ (ก่อนที่จะมีการประชุมปรึกษาหารือ) และนี่แหละที่ทำให้เราไม่พอใจ" ปวงมุสลิมก็พอใจใน (คำอธิบาย) นี้ และกล่าวว่า "ท่านทำถูกต้องแล้ว" ปวงมุสลิมก็ใกล้ชิดกับท่านอะลีอีก นับแต่เขาได้กลับมารับเอากิจการที่สมควร" อย่างไรก็ตาม แม้บันทึกของท่านมุสลิมจะแตกต่างกับรายงานของนักประวัติศาสตร์และนักหะดีษคนอื่นๆ    ที่บันทึกว่าท่านอะลีรอฎิฯได้บัยอะฮฺให้แก่
ท่านอบูบักรในเวลาไม่นานเท่าไรนักก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ลงรอยกัน ก็คือ การยอมรับในคุณสมบัติแห่งคุณความดีของท่านอบูบักร และการตัดพ้อต่อว่าก็จำกัดเฉพาะประเด็นที่ถูก ละเลยในการปรึกษาหารือเท่านั้น

           ท่านอะลี รอฎิฯ ยืนยันอย่างชัดเจนว่า การได้มาซึ่งตำแหน่งเ คาะลีฟะฮฺของท่านอบูบักร อุมัรและอุษมาน และการขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านอะลีเองนั้นมีที่มาจากรากฐานเดียวกัน นั่นคือจากการปรึกษา หารือและประชามติของชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอร ถ้าหากว่าการเป็นเคาะลีฟะฮฺขอ งสามท่านแรกขาด ความถูกต้องชอบธรรมแล้ว การเป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านอะลีก็ย่อมจะถือได้ว่าไม่มีความชอบธรรมด้วยเช่นเดียว กัน นอกจากนี้ท่านยังลงความเห็นว่า ผู้ที่ไม่อยู่ ณ สถานที่ซึ่งมีการแสดงประชามติ ไม่มีสิทธิที่จะปฏิเสธการ เป็นเคาะลีฟะฮฺของ พวกท่าน ตรงจุดนี้เรารู้สึกแปลกใจเหลือเกินที่มีการกล่าวว่า เพราะคนนั้นคนนี้ไม่อยู่ในที่ ประชุมสะกีฟะฮฺ การตกลงให้ท่านอบูบักร รอฎิฯ ขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺจึงไม่ถูกต้อง เป็นการยึดอำนาจโดยคนกลุ่ม เล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง เป็นเผด็จการที่ขาดความชอบธรรม การใ ส่ไคล้ดังกล่าวช่างห่างไกลจากความจริงที่ท่านอะลี รอฎิฯ ยอมรับโดยสิ้นเชิงถ้าอ้างกันเช่นนั้นได้ สำหรับท่านอะลี ย่อมจะตกอยู่ในสภาพเดียวกันอย่างไม่ต้องสงสัย กระนั้นได้มีผู้พยายามอธิบายเป็นการแก้ตัวและบิดเบือนว่า เพราะท่านอะลี รอฎิฯ ต้องการหาคำพูดมาเป็น ข้ออ้างสนับสนุนตัวท่านอย่างชนิดที่เป็นการผูกมัดมิให้มุอาวิย ะฮฺดิ้นหลุด จริง ๆ แล้วท่านอะลียืนยันตลอดมา ว่า การเป็นเคาะลีฟะฮฺของสามท่านแรกเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะต้องการต้อนมุอาวิยะฮฺให้จนแต้มในเรื่องนี้ ท่านจึงส่งสารดังมีใจความตามที่กล่าวมา(2) การบิดเบือนดังกล่าวนับว่าน่าละอายมาก เพราะแทนที่จะเป็นการเทิดทูลผู้นำเช่ นท่าน อะลี รอฎิฯ ให้ สูงขึ้น กลับเป็นการดูหมิ่นและเหยียบย่ำท่านให้ตกต่ำลงอย่างที่สุด เราสามารถพูดได้หรือว่า เพียงเพื่อให้บุคคล หนึ่งยอมรับ ผู้นำทางจิตวิญญาณผู้สูงส่ งถึงกับอ้างอะไรก็ได้ แม้จะมิได้มาจากความจริงและความถูกต้องก็ ตาม วิธีการจะผิดหรือถูกไม่สำคัญ แต่เพื่อเป้าหมายแล้ว จะใช้วิธีอะไรก็ได้ ถ้าท่านให้เหตุผลเช่นนี้ เราขอยืน ยัน ณ ที่นี้ว่า นี่ไม่ใช่ศาสนาอิสลามของเรา โปรดอย่าลืมว่า ท่านอะลี รอฎิฯ ดำรงตำแหน่งเป็นถึงผู้นำทางจิตวิญญาณและผู้นำของรัฐ ท่านย่อมจะ ดำรงไว้ซึ่งความจริง ท่านเคยกล่าวว่า "ฉันไม่เคยพูดโกหก และฉั นก็ไม่เคยให้ใครมาพูดเรื่องโกหกให้ฟัง ฉัน ไม่เคยหลงทางและฉันก็ไม่เคยถูกใครทำให้หลงทาง"(3) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นนี้ท่านอะลีกล่าว ว่า "อัลลอฮฺทรงพึงประสงค์ " ให้มีการตกลงและการแต่งตั้งผู้นำอันเกิดจากมติร่วมของชาวมุฮาญิรีนและชาว อันศอร หากว่าข้อความนี้มิใช่ความจริงแล้ว ผู้กล่าวเองนั่นแหละที่มีความผิดอันให ญ่หลวงในฐานะผู้ที่ บังอาจ "มุสา" ต่อพระองค์อัลลอฮฺ มหาบริสุทธิ์ยิ่งพึงมีแต่พระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดอภัยโทษให้กับเรา ด้วยฐานที่กล่าวข้อความสมมุติเช่นนี้ เกี่ยวกับการพูดจามุสาต่อพระองค์อัลลอฮฺ ศุบหฯ นั้น ท่านอะลี รอฎิฯ เคยกล่าวว่า "จงอย่าพยายามใช้ ความแหลมคมของลิ้นท่าน (ให้กระทบกระเทือน) ต่อพระองค์ผู้ทร งประทานอำนาจในการพูดให้กับท่าน และจงอย่าพยายามใช้คารมในการพูดของท่าน (ให้กระเทือน) ต่อพระองค์ผู้ทรงนำพาท่านสู่ทางอันเที่ยงตรง"(4)
           จากที่กล่าวมาทั้งหมด เราจึงสรุปได้ว่าท่านอะลี รอฎิฯ ยอมรับการเป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านอบูบักร อุมัร และอุษมานด้วยความจริงใจ ท่านได้ให้บัยอะฮฺ (สัตยาบัน) แก่ท่า นทั้งสาม ให้การสนับสนุนช่วยเหลือท่านทั้ง สามสมกับหน้าที่ของผู้ตามที่ดี และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ท่านยังรักษาความสัมพันธ์อันดีกับท่านเคาะลีฟะฮฺทั้ง สามและบรรดาเศาะหาบะฮฺท่านอื่น ๆ นับได้ว่าท่านเป็นบุคคลที่มีจิตใจอันประเสริฐ ความใจกว้างและรู้จั กรัก ษาน้ำใจของมิตรสหายได้อย่างน่าสรรเสริญ แม้ว่าท่านจะไม่ได้เป็นผู้นำ แต่ท่านก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ต่ออุมมะฮฺอิส ลามอย่างหาที่ติมิได้ ท่านมิได้ทำตัวแปลกแยกโดยตัดความสัมพันธ์ หรือเอาตัวออกห่างแต่ประการใด ท่านเป็น ตัวอย่างของบุคคลที่รู้จักการใ ห้การสนับสนุนแก่ผู้อื่น สิ่งใดที่ท่านเห็นว่าผิดในการบริหารกิจการของเคาะลี ฟะฮฺสามท่านแรก หรือในคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาแล้ว ท่านจะแสดงความ คิดเห็นและวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา สำหรับสิ่งที่ถูกต้อง ท่านจะให้ควา มร่วมมือย่างเต็มที่เท่าที่ท่าน สามารถจะทำได้




ฟาฏีมะห์ลูกสาวท่านศาสดา


        เนื่องจากมีการขัดเเย้งกันระหว่างอบูบักรกับนางฟาฏีมะห์ในเรื่องทรัพย์สิน คือ บูคอรีย์ได้เล่าเรื่องนี้จากนางอาอีชะห์ ฟาฏีมะห์เเละอับบาสได้มาหาอบูบักร เเละต้องการมรดกของท่านรอซูลลุลอฮ ทั้งสองได้ขอที่ดินในฟิดัก(เป็นหมู่บ้านหนึ่งในฮิญาซห่งจากเมืองมะดินะห์ ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 2-3วัน มันมีสวนอินทผลัมเเละตาน้ำ อัลลอฮได้ทรงเเบ่งให้เเก่ท่านนบีหลังจากที่คนในหมู่บ้านนั้นต้องการสันติภาพ) เเละส่วนเเบ่งของท่านนบีที่ได้จากคอยบัรด้วย อบูบักรได้กล่าวเเก่ทั้งสองว่า ฉันได้ยินท่านนบีกล่าวว่า เรามิได้ทิ้งทรัพย์สินใดๆใว้ให้เเก่ผู้ใด อะไรก็ตามที่เราได้ทิ้งใว้ให้จ่ายเป็นทาน ดังนั้นฉันจะให้เเต่เฉพาะค่าเลี้ยงดูเเก่ลูกหลาานของท่านนบีในอีกรายงายหนึ่งอบูบักรได้ตอบว่า ฉันได้ยินว่าท่านนบีไม่มีผู้รับมรดก เเต่ฉันจะให้ค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกับที่นบีเคยให้”(มุสนัด อะหมัด อิบนูฮัมบัล เล่ม 1หน้า10 หลังจากที่อะลีขึ้นมาเป็นคอลีฟะห์ เขาก็มิได้เอาส่วนเเบ่งของเขา เเละมิได้เเบ่งส่วนของผู้เรียกร้องคนอื่นให้เป็นมรดกของนบีด้วย)อย่างไรก็ตาม ฟาฏิมะห์ก็คงยังยืนยันสิทธิในมรดกของนางต่อไปทั้งนี้เพราะนางไม่รู้ถึงเจตนารมย์ของท่านนบีหรือไม่นางนางก็ถือว่าเคาะลีฟะห์มีอำนาจที่จะตอบสนองความประสงค์ของนางได้ จะอย่างไรก็เเล้วเเต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็ยึดมั่นในทัศนะของตน
           มีรายงานอื่นๆอีกเช่นกันที่ยืนยันถึงการตัดสินใจอันเด็ดเดี่ยวของอบูบักรซึ่งไม่เคยเบี่ยงไปจากการปฏิบัติของท่านนบีเเละปฏิบัติตามเเต่เฉพาะสิ่งที่เขารู้ว่าเป็นเจตนารมณ์ของท่านบี(เศาะฮีฮ บูคอรีย์บททีว่าด้วยสงครามคอยบัร )
            มีอีกรายงานคือ  ในระยะต้นของสมัยการปกครองของท่านอบูบักร รอฎิฯ เกิดมีความไม่เข้าใจกันระหว่างท่านอะลีกับท่านอบูบักรเกี่ยวกับมรดกของท่านรสูล ศ็อลฯ เรื่องมีอยู่ว่า ภายหลังชัยชนะของท่านรสูลที่ค็อยบัรฺแล้ว ชาวยิวที่ตำบลฟะดักซึ่งอยู่ระหว่าเมืองมะดีนะหฺกับค็อยบัรฺได้ยอมจำนนต่อท่านรสูลโดยไม่มีการทำศึกต่อกัน ท่านรสูล ศ็อลฯ จึงทำสัญญาสงบศึกกับพวกเขา และปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนกับชาวยิวที่ค็อยบัรฺทุกประการ ท่านยึดที่ดินเพาะปลูกของชาวยิวที่ฟะดักเอาไว้ภายใต้การดูแลของท่าน ท่านได้นำผลประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวไปใช้ในทางสาธารณะประโยชน์ ให้กับคนยากจน ผู้เดินทางที่ตกทุกข์ได้ยาก สงเคราะหฺเด็กกำพร้าและเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวของท่าน ภายหลังวะฟาตของท่านรสูล ศ็อลฯ ท่านอะลี รอฎิฯ ขอร้องให้ท่าน อบูบักรโอนทรัพย์สินส่วนนี้คืนให้กับครอบครัวของท่านรสูล ศ็อลฯ ในฐานะที่เป็นมรดกของท่าน รสูล ท่านอบูบักรไม่ยอมรับคำร้องขอดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าท่านรสูล ศ็อลฯ เคยกล่าวว่า "เราไม่มีมรดกจะมอบให้แก่ทายาท อันใดที่เราละไว้ (ให้จ่ายออกไป) เป็นกุศลทาน" ท่านอบูบักยืนยันต่อท่านอะลีว่าทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นของประชาคมโดยส่วนรวม มิใช่ของส่วนบุคคล ท่านจะรักษาทรัพย์สินส่วนนี้ไว้ภายใต้การดูแลของท่าน และต้องการคงสภาพของทรัพย์สินส่วนนี้ไว้มิให้เปลี่ยนแปลง ให้เหมือนกับในสมัยของท่านรสูล ศ็อลฯ สำหรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นเพราะที่ดินเพาะปลูกดังกล่าวนั้น ท่านอบูบักรได้แบ่งสรรและจัดการเช่นที่ท่านรสูล ศ็อลฯ เคยปฏิบัติ ท่านแบ่งส่วนหนึ่งให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัวของท่านรสูล ซึ่งท่านอะลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ รอฎิฯ ได้รับส่วนแบ่งจากเงินค่าใช้จ่ายก้อนนี้ด้วยเช่นกัน
         
            ฟาฏิมะห์ยังมีชีวิตอยู่ประมาณหกเดือนหลังจากเสียชีวิตของท่านบี นางได้ปลีกตัวออกห่างอบูบักรซึ่งเเสดงว่านางยังไม่ลดละ เเต่ความเเตกต่างในที่นี้ไม่ได้หมายถึงทั้งสองเกิดความชิงชังให้เเก่กัน
             มีรายงานเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ รอฎิฯ โกรธท่านอบูบักรมากและไม่ยอมพูดกับท่าน จนกระทั่งท่านหญิงเสียชีวิต ท่านหาฟิซอิมาดุดดีน อิบนิ กะษีร ได้บันทึกจากรายงานของท่านหาฟิซ อบูบักร อัล-บัยฮะกีย์ว่า ท่านอบูบักรได้ไปเยี่ยมท่านหญิงฟาฏิมะฮฺที่บ้านของท่านหญิง เมื่อท่านหญิงล้มป่วย ทั้งสองได้ปรับความเข้าใจกัน ซึ่งท่านหญิงฟาฏิมะฮฺก็เข้าใจ
(อัล-บิดายะฮฺ, วะ อัน-นิฮายะฮฺ, เล่ม 5 หน้า 289)

         สำหรับเรื่องที่มีการข่มขู่ให้ทำการบัยอะนั้น อุลามาอสุนนีย์ส่วนใหญ่ปฏิเสธรายงานการใช้กำลังข่มขู่เเละการคุกคามจะเผาบ้านท่านหญิงฟาฏีมะห์ดังต่อไปนี้ เพราะเเม้กระทั่งอินิอิสอากหรืออิบนิสะอูดซึ่งเป็นผู้บันทึกประวัติาสตร์ยุคเเรกๆ ยังไม่ปรากฏว่าได้รายงานเรื่องดังกล่าว ต้นตอจริงๆของเรื่องนี้มาจากหนังสือ ตอรีกุลคุลาฟาอของอิบนิ กุตัยบะฮ เล่ม1 หร้า 18ซึ่งข้อความนั้นมีอยู่ว่า
           “ในระหวางที่ประชาชนบัยอะห์ให้เเก่ท่านอบูบักรที่มัสยิดนบีนั้น   ท่านอลีเเละคนในตระกูลบนีฮาชิมไม่ได้อยู่ที่นั้นด้วย ท่านอบูบักรจึงให้คนไปตามพวกเขามา เเต่ปรากฏว่าคนเหล่านั้นไม่ยอมมาตามคำขอของท่านอบูบักร ท่านอุมัรจึงเเนะนำให้ท่านอบูบักรทำอะไรบางอย่างก่อนที่จะสายเกินกาล ด้วยเหตุนี้ท่านอบูบักรเเละอุมัร รอฎิฯ จึงไปยังบ้านของท่านอะลี รอฎิฯ พร้อมด้วยคนกลุ่มหนึ่งที่มีคอาวุธครบมือ พวกนั้นรายล้อมบ้านของท่านอะลีไว้ พร้อมกับขู่ว่าจะเผาบ้าน ถ้าท่านอลีเเละผู้สนับสนุนของท่านไม่ออกมาบัยอะฮให้กับคอลีฟะฮที่เพิ่งจะสถาปนาขึ้น ท่านอลี รอฎิฯออกมาอยู่หน้าบ้านเเละพยายามจะพูดทัดทานการอ้างถึงสิทธิของท่านเเละปฏิเสธที่จะยอมให้บัยอะฮเเก่ท่านอบูบักรตามคำขู่บังคับ บรรยากาศขณะนั้นส่อเค้าความรุนเเรงขึ้น  ดาบหลายเล่มถูกชักออกมาจากฝัก ท่านอุมัรเเละคนขอลท่านพยายามที่จะบุกผ่านประตู (รั้วด้านนอก) เข้าไป ทันใดนั้น ท่านหญิงฟาฏิมะห์ รอฎิฯ ก็มาปรากฎกายอยู่เบื้องหน้าพวกเขาด้วยความโกรธจนสุดขีด ท่านหญิงฟาฏิมะห์ตำหนิพวกเขาออกไปว่า
       ‘พวกท่านละทิ้งศพของท่านรอซูลเเห่งอัลลอฮไว้ให้เเก่พวกเราเเล้วพวกท่านก็ได้ตัดสินใจในระหว่างพวกท่านกัเอง โดยไม่ยอมปรึกษาหารือกับพวกเรา เเละยังไม่ยอมเคารพสิทธิต่างๆของพวกเราอีกด้วย ฉันขอบอกต่อหน้าอัลลอฮ พวกท่านต้องออกไปจากที่นี่ในทันที หรือไม่เช่นนั้น ด้วยผมเผ้าที่ยุ่งเหยิงของฉัน ฉันจะอุทธรณ์ต่ออัลลอฮ
            ความจริงเหตุการณ์ที่สะกีฟะฮฺมิได้ยืดเยื้อแต่อย่างใด เป็นเรื่องที่เหล่าเศาะหาบะฮฺสามารถตกลงออมชอมกันได้ภายในวันเดียว วันรุ่งขึ้นจึงมีการประกาศให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ และมีการบัยอะฮเป็นการทั่วไปที่มัสญิดนบี อิบน อิสหาก (หน้า 687-689)ระบุว่า หลังจากเสร็จสิ้นการบัยอะฮฺที่มัสญิดนบีแล้ว คนทั้งหลายก็กลับมาเตรียมการฝังท่านรสูล ศ็อลฯ ท่านอะลี ท่านอับบาส บุตรชายสองคนของท่านอับบาส อุสามะฮฺ บิน ซัยดฺ และชายอีกสองคนเป็นผู้รับผิดชอบอาบน้ำให้กับมัยยิดของท่านรสูล ศ็อลฯ การเตรียมพิธีฝังเสร็จสิ้นในวันอังคาร แต่แล้วก็เกิดขัดแย้งกันเกี่ยวกับสถานที่ฝังร่างของท่าน ท่านอบูบักร รอฎิฯ กล่าวว่า ท่านได้ยินท่านรสูลกล่าวว่า นบีมิได้ตาย นอกจากจะถูกฝังในสถานที่ที่เขาตายคนทั้งหลายจึงขุดหลุมในจุดที่ตรงกับที่นอนของท่านขณะที่ท่านวะฟาต แล้วประชาชนจึงทยอยกันเข้ามาละหมาดญะนาซะฮฺให้กับท่าน โดยไม่มีผู้ใดเป็นอิมามนำประชาชนละหมาด มีการแบ่งคนเป็นกลุ่มๆ เข้ามาละหมาดให้ท่าน กลุ่มแรกเป็นผู้ชาย ผู้หญิงและสุดท้ายคือเด็กๆ คืนวันพุธจึงมีการฝังร่างของท่าน ตามรายงานระบุว่ามัยยิดของท่านไม่เหมือนกับมัยยิดของคนทั่วไป ในระหว่างอาบน้ำให้กับมัยยิดของท่าน ท่านอะลี รอฎิฯ กล่าวว่า ท่านเป็นที่รักมากกว่าบิดาและมารดาของฉันเสียอีก ท่านช่างอ่อนหวานอะไรเช่นนี้ ทั้งในยามที่ท่านยังเป็นอยู่และในยามที่ท่านตายไปแล้วซึ่งทำให้เราเข้าใจว่า อัลลอฮฺ ศุบหฯ ได้ทรงรักษาสภาพมัยยิดของท่านเอาไว้ไม่ให้เน่าเปื่อยเร็วเหมือนคนทั่วไป ประเด็นที่ไม่ควรลืมก็คือว่า กว่าประชาชนทั้งหลายที่อยู่ในมะดีนะฮฺจะมาละหมาดให้ท่านจนหมดนั้น คงต้องกินเวลานานพอสมควร เพราะฉะนั้น เรื่องการประวิงการฝังมัยยิดของท่านออกไปอีกระยะหนึ่งจึงดูเป็นสิ่งที่มีเหตุผล

         จุดยืนของท่านฟาฏิมะฮฺ รอฎิฯ และคนในตระกูลบนีฮาชิมซึ่งเป็นญาติของท่านรสูล ศ็อลฯ นั้นเราให้ความเคารพและยอมรับ แน่นอนที่สุดพวกเขาเหล่านั้นย่อมให้การสนับสนุนท่านอะลี รอฎิฯ อย่างเต็มที่ เพราะเหตุที่ท่านอะลี รอฎิฯ เป็นผู้ศรัทธาอันเปี่ยมล้น เป็นนักรบในอิสลามที่เก่งกล้าสามารถ เป็นผู้มีวิชาความรู้เป็นอย่างมาก และที่สำคัญคือท่านอะลี รอฎิฯ ยังเป็นที่รักและโปรดปรานของท่านรสูล ศ็อลฯ อย่างยิ่ง นอกเหนือจากนั้นความเป็นวงศ์ญาติเป็นบุตรเขยและเป็นคนแรกที่เข้ารับอิสลาม (ตามคำอ้างของฝ่ายชีอะฮฺ ส่วนฝ่ายสุนนีย์กล่าวว่า ท่านเป็นเด็กคนแรกที่เข้ารับอิสลาม) ทำให้พวกเขาไม่ยอมรับการนำจากบุคคลอื่น

 อบูบักรเคารพครอบครัวของท่านบี (อะหลุลบัย)

             อบูบักรรักครอบครัวของท่านนบีเเละรักฮาซันเเละฮุเซ็นลูกของอาลีเป็นอย่างมาก บุคอรีย์รายงานจากอุกบะฮ บิน อัลฮาริษว่า วันหนึ่ง อบูบักรออกจากมัสยิดหลังจากการนมาซอัสรี ขณะที่เดินอยู่ภายนอก เขาได้เห็นฮาซันกำลังเล่นอยู่กับเด็กคนอื่น เขาก็ได้อ้มฮาซันขึ้นมาบนบ่าเเละกล่าวว่า พ่อของฉันเป็นค่าไถ่ของเขา  เขาดูเหมือนรอซูลลุลลอฮไม่ใช่อาลีอาลีหัวเราะคำพูดของอบูบักร”(เศาะฮีฮ บูคอรีย์)
        เเละเลือกตั้งคอลีฟะห์อบุบักรก็ไม่ใช่เป็นการบังเอิญเเละไม่ใช่เป็นผลของการสมรู้ร่วมคิดกันอย่างลับๆระหว่างคนบางคน ความจริงเเล้วมันเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดโดยอัลลอฮผู้ทรงรอบรู้พระองค์ทรงต้องการให้อิสลามอยู่รอดเเละเจริญรุ่งเรือง การเลือกตั้งคอลีฟะห์คนเเรกเป็นไปตามวิธีการของพวกอาหรับที่ตัดสินเรื่องสำคัญทุกอย่างเป้นอิสระเเละเลือกหัวหน้าผู้มีวัยวุฒิ มีความเป็นผู้ใหญ่ เเละเป็นที่ไว้วางใจของท่านบี เป็นต้น เหตุผลดังกล่าวจึงไม่มีการขัดเเย้งกันเเละต่างก็ยอมรับท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะห์คนเเรกของอิสลาม เเน่นอนที่สุดที่อะลุลบัยยอมรับท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะห์.

3.        การส่งกองทัพ อุซามะห์ ไปซีเรีย       

      อุซามะหฺ บินศัยดฺ บินฮาริษะหฺสาวกของท่านนบีมุฮัมมัดที่สำคัญคนหนึ่ง มารดาของท่านอุซามะหฺมีชื่อว่า บะ ร็อกะหฺ อัลฮะบะชียะหฺ ทาสดำจากอบิสสิเนีย มีฉายาว่า อุมมุอัยมัน นางเคยเป็นทาสของนาง อามินะหฺ บินติวะ หับ ซึ่งเป็นมารดาของท่านนบีมุฮัมมัด เคยเป็นพี่เลี้ยงดูท่านนบีในขณะที่ยังเล็กอยู่ ท่านนบีจึงรัก อุมมุ อัยมัน มาก ส่วนบิดาของอุซามะหฺคืออดีตบุตรบุญธรรมของท่านนบีและผู้ที่ท่านนบีรัก นั่นคือ ศัยด บิน ฮาริษะหฺ ซึ่ง ในอดีตเป็นทาสของท่านหญิงคอดีญะหฺ แต่ท่านนบีได้ปลดให้เป็นไท ถึงกระนั้นศัยดฺ ก็ไม่ยอมกลับไปถิ่นฐาน เดิม แม้ว่าพ่อของเขาจะเดินทางมาอ้อนวอนให้กลับไปก็ตาม หากประวัติศาสตร์ถูกต้อง อุมมุอัยมันผู้เป็นแม่ของอุซามะหฺก็คงจะมีอายุมากกว่าศัยดฺหลายปี เพราะหากสมมุติ ว่าอุซามะหฺมีอายุราว ๒๐ ปีในปี ฮ..ที ๑๑ อุซามะหฺก็คงจะเกิดในราวปีที่ ๙ ก่อนฮิจญ์เราะหฺ หลังจากอุมมุอัย มันเสียชีวิต ท่านนบีได้สู่ขอ นางศัยนับ ผู้ลูกพี่ลูกน้องของท่านให้แต่งงงานกับศัยดฺ แต่การแต่งงานก็ยืนยาวไป ไม่ได้นาน เพราะ นางศัยนับ ไม่อาจทำใจยอมรับผู้ที่เคยเป็นทาสมาเป็นสามีได้ จนอัลลอหฺได้ทรงประทาน โองการอัลกุรอานลงมาสะสางกรณีพิพาทอันนี้ ศัยดฺ บิดาของอุซามะหฺจึงเป็นสาวกเพียงคนเดียวที่อัลกุรอาน ระบุชื่อไว้เป็นอมตะนิรันดร เมื่ออุซามะหฺเป็นโตเป็นหนุ่ม อุซามะหหฺมีบุคลิกดี มีมรรยาทเรียบร้อย เป็นคนฉลาดหลักแหลมกล้าหาญ เป็นผู้ มักน้อยและเป็นที่รักใคร่ชื่นชมของบุคคลทั่วไป เป็นผู้ยำเกรงอัลลอหฺ นอบน้อม ถ่อมตน ในวันเกณฑ์ทัพสู่ สมรภูมิอุฮุดในเดือนมีนาคม ๖๒๕ อุซามะหฺพร้อมกับเยาวชนกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาหาท่านร็อซูลเพื่ออาสา สมัครเข้าร่วมศึกด้วย แต่ท่านร็อซูลไม่ได้รับไว้ทั้งหมด เนื่องจากพวกเขาส่วนมากยังเป็นเด็กอยู่ ซึ่งอุซามะหฺก็ เป็นหนึ่งในจำนวนเด็กๆที่ท่านนบีไม่อนุญาตให้ออกศึก อุซามะหฺ ผิดหวังร้องไห้ด้วยความเสียใจ ต่อมาเมื่อชาว มุชริกูนมักกะหฺยกทัพมาหมายตกรุงมะดีนะหฺ ในเดือนเมษายน ค.. ๖๒๗ (ศึก คอนดัก”) อุซามะหฺ และ เพื่อน ๆ ก็มาหาท่านร็อซูล เพื่ออาสาสมัครต่อสู้กับฝ่ายศัตรูอีกครั้งหนึ่ง ในการคัดตัวครั้งนี้ท่านอุซามะหฺซึ่งมี อายุเพียง ๑๕ ปีเท่านั้น ก็ พยายามเขย่งส้นเท้าเพื่อให้ดูสูงขึ้น ท่านร็อซูลเห็นความตั้งใจที่ดีของอุซามะหฺเช่น นั้น ก็อนุมัติให้ท่านเข้าเป็นพลทหารรบกับข้าศึกได้ แต่กองทัพชาวมักกะหฺต้องถอยกลับไป เพราะมีพายุพัดมา อย่างรุนแรงจนตั้งทัพไม่ได้ จึงไม่ทันได้ประจัญบานกัน ในสมรภูมิ ฮุนัยนฺเดือนพฤษภาคม ค.. ๖๓๐ กองทัพมุสลิมเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ ทหารคนอื่นๆเตลิดหนีขวัญ กระเจิงไปหมด แต่อุซามะหฺก็ยังคงยืนหยัดต่อสู้ร่วมกับ ท่านอับบาส ลุงของท่านร็อซูล อลีย์ ลุกเขยท่านร็อซูล และท่านอบูซุฟยาน อิบนิลฮาริษ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของท่านนบีและศอฮาบะห์ผู้มีเกียรติอื่นๆอีกจำนวน ๕ ท่าน ในสมรภูมิ มุตะหฺในจอร์แดนนั้น อุซามะหฺได้เข้าต่อสู้กับศัตรูของอิสลาม ภายใต้การนำทัพของบิดาของ ท่านเอง คือท่านศัยดฺ อิบนุลฮาริษะหฺ ขณะนั้นท่านเพิ่งมีอายุได้ไม่เกิน ๑๗ ปี และในศึกครั้งนั้นท่านเห็นบิดา ล้มคว่ำจมกองเลือดและสิ้นชีวิต แต่ก็มิได้ทำให้ท่านขวัญเสียแต่ประการใด ท่านอุซามะหฺยังคงยืนหยัดต่อสู้แม้ว่ารองแม่ทัพคนที่ ๑ คือ ญะอฺฟัร บินอบีฏอลิบ (พี่ชายของอลีย์ บินอบีฏอ ลิบ) และรองแม่ทัพคนที่ ๒ คือ อับดุลลอหฺ บินรอวาฮะหฺจะถูกสังหารสิ้นชีวิตไปอีกสองคน และท่านก็ยังสู้ต่อ ไป ภายใต้การนำของรองแม่ทัพคนที่ ๓ คือ คอลิด อิบนุลวะลีด และในที่สุด คอลิด ก็ได้สถานการณ์นำทหาร จำนวนน้อยถอยทัพกลับมาได้ ท่านอุซามะหฺต้องสูญเสียบิดาที่สนามรบ มุตะห และท่านก็ขี่ม้าสงครามตัวที่ บิดาใช้ขี่เข้าประจัญบานจนถึงแก่ชีวิตนั้นกลับเข้าเมืองมะดีนะหฺ      นับตั้งแต่การสู้รบที่มุอตะ ซึ่งฝ่ายมุสลิมกลับมาโดยไม่ได้รับชัยชนะหลังจากที่คอลิด บินวะลีด ได้ถอยทัพกลับมาอย่างชาญฉลาดและเต็มไปด้วยกลยุทธ์นั้น ศาสดาได้ใช้ความคิดอย่างมากและวางแผนอย่างรอบคอบเกี่ยวกับไบแซนติอุม  ท่านรู้สึกมั่นใจว่าอำนาจของมุสลิมที่แนวหน้าทางเหนือจะมั่นคงขึ้นได้  ถ้าหากผู้ที่ถูกขับไล่ไปจากคาบสมุทร  และอพยบไปอยู่ที่ปาเลสไตล์ไม่กลับมาจู่โจมอีก   เพราะความเป็นห่วงนี้เองที่ท่านศาสดา ได้ยกกองทัพที่ใหญ่มากไปเมื่อท่านได้ยินข่าวที่ว่า พวกไบแซนติไตน์ จะยกกองทัพมาที่เขตแดนทางภาคเหนือตัวท่านเองเป็นผู้นำทัพไปยังตะบูก    ฝ่ายไบแซนติไตน์ได้ถอยทัพกลับไปยังข้างในเมื่อได้ข่าวว่ากองทัพมุสลิมยกทัพมา ถึงกระนั้นก็ตามท่านศาสดามูฮัมมัดก็ยังวางแผนต่อไป สำหรับวันที่พวกกษัตริย์แห่งอาณาจักรคริสเตียนซึ่งครอบครองโลกโดยอาศัยไบแซนติอุมจะกลับมาจู่โจมด้วยความแค้นผู้ท่ทำให้คริสตร์ศาสนาต้องสิ้นสุดลงในเมืองนัจญ์รอนและในที่อื่นๆในอารเบีย  ด้วยเหตุนี้ฝ่ายมุสลิมจึงมิได้พักอยู่ในนครมาดีนะฮเป็นเวลานานหลังจากพิธิ ฮัจญ์อำลาที่นครมะกะฮแล้ว  ศาสดาได้สั่งให้ยกทัพไปยังอัชชามในทันที    จนกระทั่งวันจันทร์ที่ ๒๖ เดือนซอฟัร ปี ฮ.. ๑๑ ท่านร็อซูลก็ได้มีคำสั่งให้จัดกองทัพเพื่อต่อสู้กับฝ่ายโรมันใน จอร์แดนอีกครั้ง โดยท่านร็อซูลได้แต่งตั้งให้ท่านอุซามะหฺเป็นแม่ทัพซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุไม่เกินกว่า ๒๐ ปี จึง เป็นเหตุให้เหล่าสาวกอาวุโสไม่พอใจที่ท่านร็อซูลได้เปลี่ยนธรรมเนียมการนำ โดยไม่ได้ให้สาวกอาวุโสที่เป็น ชาวอาหรับ แต่กลับแต่งตั้งให้ลูกทาสที่มีอายุไม่เกินกว่า ๒๐ นั้นเป็นผู้นำ และให้สาวกอาวุโสเช่น อบูบักรฺ และ อุมัร ต้องเสียหน้าเข้าเป็นไพร่พลธรรมดาในกองทัพ เวลานั้นท่านร็อซูลเกิดป่วยหนัก และรู้ว่าท่านกำลังจะเสีย ชีวิต แต่ก็บัญชาให้อุซามะหฺเคลื่อนทัพ ไม่ฟังคำแย้งและคำนินทาของสาวก เพราะท่านนบีต้องการที่จะเน้นให้ สาวกเห็นว่า ในอิสลามนั้นทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันหมด แม้จะต่างกันในเรื่องสีผิวหรือเผ่าพันธ์
       ในตอนนั้นท่านอุสามะ บินอิบนุ ซัยด์ ผู้บัญชาการทัพเป็นเพียงแค่เด็กหนุ่มยังไม่ถึงยี่สิบปี การที่เขาได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหนงที่เหนือผู้อาวุโสแห่งอิสลาม  พวกมูฮาญิรูนต้นๆและสหายที่สนิทของท่านศาสดานั้นคงจะทำให้เกิดความอลหม่านในหมู่ผู้คนได้มากทีเดียวถ้าหากว่าจะไม่เป็นเพราะทุกคนมีความศรัทธาอย่างแท้จริงในจิตวิญญาณและการคำนวณของท่านศาสดา  ด้วยการแต่งตั้งเขา ศาสดาพยายามที่จะให้เขาได้อยู่ในตำแหน่งที่บิดาของเขาเคยอยู่ในการสู้รบที่สงครามมุตะฮ  ศาสดาต้องการที่จะให้อุสามะได้มีสาเหตุที่ภาคภูมิใจได้ในชัยชนะเพื่อเป็นรางวัลแก่การเสียสละชีวิตของบิดาของเขา  ยิ่งไปกว่านั้นการแต่งตั้งเด็กหนุ่มผู้นี้แข็งขันไปด้วยความเด็ดเดี่ยว  และกล้าหาญอย่างที่สุด และเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่เด็กหนุ่มๆของอิสลามให้มีความรับผิดชอบอย่างใหญ่หวงได้  ศาสดามูฮัมมัดได้ส่งให้อุสามะฮ ยกทัพของเขาเข้าไปทางตำบล  อัลบัลกอและอัดดารูมในปาเลสไตน์  ในเขตเมืองมุตะฮที่บิดาของเขาเสียชีวิต  ท่านยังได้ยั่งให้เขายกทัพต่อสู้กับข้าศึกในตอนรุ่งสางให้ต่อสู้อย่างกล้าหาญไม่เกรงกลัว  และให้โปรยปรายข้าศึกด้วยไฟ ท่านยังได้สั่งให้เขาเข้าโจมตีข้าศึกโดยที่ไม่ให้พวกเขารู้ตัว อย่าปล่อยให้ข่าวการยกทัพมานีให้ข้าศึกรู้ตัวเป็นอันขาด  เมื่อได้รับชัยชนะให้รีบยกกองทัพกลับมาทันที่  อย่ามัวเชือนแชอยู่ในดินแดนนั้น
  อุสามะฮและกองทัพของเขาได้ตั้งสำนักงานอยู่ที่อัลญุรฟ์ซึ่งอยู่ติดกับนครมาดีนะฮและเตรียมตัวที่จะเดินทางไปปาเลสไตน์อยู่ที่นั้น  ในขณะที่พวกเขาเตรียมตัวอยู่นั้น  ศาสดาแห่งพระผุ้เป็นเจ้าได้ล่มป่วยลง  อาการป่วยของท่านทำให้การยกทัพไปไม่ได้บางคนอาจสงสัยว่าทำไมอาการป่วยของท่านจึงเป็นอุปสรรคต่อการเดินทัพไปรบซึงท่านเองเป็นคนสั่งไว้  อย่างไรก็ดี  ในการยกทัพไปยังอัชชามนั้นต้องผ่านทะเลทรายอันกวางใหญ่ และสถานที่อันรกร้างไปซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆและต้องใช้เวลาหลายวัน และเมื่อคิดถึงความรักอันหญิ่งใหญ่ที่มุสลิมมีต่อท่านศาสดาแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่พวกเขาจะปล่อยให้ท่านศาสดาต้องทนทุกข์ด้วยอาการเจ็บป่วย
 อย่างไรก็ดีเมื่อท่าศาสดาป่วยหนักขึ้นมาเป็นธรรมดาอยู่ที่บรรดาสหายและสาวกของท่านจะมีความห่วงใยเป็นธรรมดา
             วันหนึ่งท่านศาสดาได้ขอให้ภริยาและคนรับใช้ของท่านไปตักน้ำจากบ่อต่างๆมารดบนตัวของท่านด้วยถุงท่ทำด้วยหนังแพะหลายๆถุง  แล้วท่านก็ได้สวมเสื้อผ้าและพันศรีษะออกไปยังมัสยิด  และเมื่อไปถึงท่านก็ได้ละหมาดอุฮุดให้แก่ผู้ที่เสียชีวิตในสงครามอุฮุด  และกล่าวในที่ประชุมด้วยถ้อยคำ ต่อไปนี้โอ้ผู้คนทั้งหลายจงยกทัพไปภายได้การนำทัพของอุสามะฮเถิด    การบ่นของพวกท่านในเรื่องการที่เขาเป็นแม่ทัพั้น ก็เหมือนกับที่พวกท่านเคยบ่นในตอนที่บิดาของเขาเป็นแม่ทัพ ด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้า  อุสามะฮ นั้นเหมาะที่จะเป็นนายทัพเช่นเดียวกับบิดาของเขา
            ในขณะที่ข่าวการล้มป่วยของท่านศาสดานั้นแพร่หลายออกไป  อุสามะฮกับสหายที่สนิทของเขาจำนวนหนึ่งได้ออกจากค่ายพักที่อัลญุรฟ์มายังมาดีนะฮเพื่อท่จะดูให้แน่ใจเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพของท่านศาสดา  อุสามะได้เข้ามาในบ้านของท่านหญิงอาอิชะฮด้วยอาการพูดไม่ออก  เมื่อศาสดาแลเห็นอุสามะฮท่านได้ชี้ไปทางท้องฟ้าก่อนจะวางบนไหล่ของอุสามะฮเป็นเครื่องหมายว่าให้เขาละหมาดให้แก่ท่านด้วย
  ในขณะที่สมาชิกในครอบครัวของท่านศษสดาเห็นควรจะให้ยาแก่ท่านศาสดารบระทานยานี่อัสมาซึ่งเป็นญาติของมัยมูนะฮเรียนรู้วิธีปรุงมาในตอนที่นางอยู่ที่อบิซีเนีย
ศาสดามูฮัมมัดนอนหลับลงในตอนกลางคนได้อย่างสงบและไข้ของท่านดูเหมือนจะลดลงดูราวกับว่ายาที่ญาติของท่านศาสดาของท่านปรุงให้ท่านรับประทานนั้นมีผลทำให้อาการป่วยของท่าทุเลาลงได้บ้าง  ชาวมุสลิมต่างพากันดีใจเป็นล้นพ้นที่เห็นท่าศาสดามีอาการดีขึ้น  จนกระทั่งอุสามะฮ อิบนู ซัยด์ได้ขอเดินทัพไปยังชาม แต่ก่อนที่กองทัพจะเคลื่อนพลไปได้ข่าวอสัญกรรมของท่านศาสดาอุสามะฮจึงได้สั่งให้กองทัพกลับมายังมาดีนะฮ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                      
ต่อมาเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๒ เดือนร็อบีอุลเอาวัล ฮ..ที่ ๑๑ ซึ่งตรงกับ ๘ มิถุนายน ปี ค.. ๖๓๒ ท่านรอซูลก็สิ้น ชีวิต บรรดาพี่น้องมุสลิมส่วนมากก็ได้ให้สัตยาบันแด่ท่านอบูบักรเป็นคอลีฟะหฺ สืบตำแหน่งผู้ปกครอง ดังนั้น ท่านอบูบักรฺจึงสั่งให้กองทัพภายใต้การนำของท่านอุซามะหฺมุ่งหน้าสู่ดินแดนโรมเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของ ท่านรอซูลต่อไป แต่ท่านอุมัรและสาวกอาวุโสกลุ่มหนึ่งได้เสนอแก่ท่านอบูบักรฺให้เลื่อนการส่งกองทหารไปรบ กับพวกโรมันออกไปอีกสักระยะหนึ่ง หรือไม่ก็ให้เปลี่ยนตัวผู้ที่เป็นแม่ทัพเสียใหม่โดยให้เอาคนอาวุโสกว่าอุซา มะหฺ ท่านอบูบักรเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงคำสั่งของท่านนบี นอกจากจะเป็นความผิดแล้วยังอาจจะให้ผู้คนตั้ง ครหานินทาได้ จึงตัดสินใจไม่ยอมรับฟังคำเสนอของสาวก ขณะที่กองทัพมุสลิม ภายใต้การนำของแม่ทัพหนุ่ม กำลังจะเคลื่อนพลออกไปสู่สนามรบในจอร์แดนนั้น ท่านคอลีฟะหฺอบูบักรฺ ได้ออกไปส่งกองทัพถึงชานเมือง และให้โอวาทต่อบรรดาทหารเหล่านั้น ท่านอุซามะหฺได้นำทัพออกปฏิบัติภารกิจที่สำคัญตามคำสั่งของท่านร็อซูล (ซล) สามารถนำทหารม้าเข้าไปตั้ง ค่ายอยู่ ณ บัลกออฺและที่ป้อมปราการ อัดดารูม ในปาเลสไตน ตามคำบัญชาของท่านนบี ในที่สุดท่านอุซามะหฺก็ปฏิบัติภารกิจจนบรรลุผลสำเร็จ และกลับมามะดีนะหฺอย่างวีรบุรุษ ท่านนั่งอยู่บนหลังม้า ตัวเดียวกันกับที่บิดาของท่านเสียชีวิตในการทำศึกครั้งก่อนที่มุตะหฺ แต่ครั้งนี้ท่านอุซามะหฺได้รับชัยชนะอย่าง งดงาม นำทรัพย์สินสงครามมากมายยิ่งกว่าการทำศึกครั้งใดๆ เมื่อมุอาวิยะหฺก่อการกบฏเพื่อชิงอำนาจการปกครองจากท่านอาลีย์ อุซามะหฺก็เป็นผู้หนึ่งที่ลังเลในเรื่องนี้ จึงไม่ได้เข้าช่วยท่านอะลีย์ต่อสู้กับมุอาวียะหฺในสงครามกลางเมือง ที่ซิฟฟีน ระหว่างเดือนพฤษภาคมและกรกฎาคม ค.. ๖๕๗ โดยอ้างเหตุผลส่วนตัวว่า ตนได้สาบานว่าจะไม่ฆ่า ฟันผู้ใดก็ตามที่เป็นมุสลิม สาเหตุการสาบานนั้นมาจากการที่ตนเคยฆ่ามิรฺดาซ บินนัหยิก ชาวยิวเมืองฟะดักที่เข้ารับนับถืออิสลาม แต่ไม่ได้ ประกาศให้ผู้ใดรู้ เมื่อกองทัพของชาวมุสลิมบุกเมืองฟะดัก ชาวยิวในเมืองต่างก็อพยพหนี มิรฺดาซ ก็ไม่ได้หนี ไปเพราะตนเป็นมุสลิม แต่กลับเข้าไปหาและทักทาย เมื่ออุซามะหฺเห็นมิรดาซก็จับเขาฆ่าเสีย แม้ว่ามิรดาซจะ กล่าวว่า อัซซะลามุอะลัยกุม และ ลาอิลาหะอิลลัลลอหฺ เพราะคิดว่ามิรดาซกล่าวคำนี้ออกมาเพียงเพราะต้องการ ป้องกันตน  หลังจากนั้นก็ริบเอาฝูงแกะของเขาไป   เมื่อท่านนบีทราบเข้าก็โกรธและเสียใจเป็นอย่างยิ่ง อุซามะ หฺให้เหตุผลว่า มิรฺดาซไม่ใช่มุสลิม การที่เขากล่าวคำดังกล่าวออกมานั้นเป็นเพียงแผนหลอกลวง ท่านนบีจึงอ่าน โองการที่เพิ่งลงมาว่า โอ้ศรัทธาชน หากพวกเธอกรีฑาทัพในแผ่นดิน ก็จงตรวจสอบให้ชัดเจน และอย่ากล่าวแก่ ผู้ที่ทักทายส่งซะลามให้แก่พวกเธอว่า เจ้าไม่ใช่มุสลิม พวกเธอต้องการทรัพย์สินทางโลก เมื่ออุซามะหฺได้สดับ ดังนั้นก็เสียใจเป็นอย่างยิ่งกล่าวว่า โปรดขออภัยต่ออัลลอหฺให้แก่ขาพเจ้าด้วย ท่านนบีกล่าวว่า จะขออภัยโดยไร้ คำว่า ลาอิลาหะอิลลัลลอหฺ อย่างนั้นหรือ ตั้งแต่นั้นมาอุซามะหฺก็สาบานว่าจะไม่ฆ่าคนที่กล่าวคำว่า ลาอิลาหะอิลลัลลอหฺ เด็ดขาด แล้วรำพันว่า หากข้าเพิ่งเป็นมุสลิมในตอนนี้ก็คงจะดีจะได้ไม่มีบาปติดตัว ในสมัยนั้นมีสาวกอาวุโสของท่านนบีสามคนที่ปลีกตนออกจากกรณีพิพาทอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ไม่ยอมเข้าข้างใด นั่นคือ อับดุลลอหฺ บุตรของคอลีฟะหฺอุมัร ซะอัด บินอบีวักกอส และ มุฮัมมัด บินมัซละมะหฺ ประวัติศาสตร์บอกว่า แม้อุซามะหฺจะไม่ออกรบเลย แต่อุซามะหฺก็อยู่ฝ่ายอะลีย์ และเคยกล่าวแก่ท่านอะลีย์ว่า หากท่านเข้าในปากสิงห์ ปากมังกร ข้าพเจ้าก็จะขอเข้าไปด้วย มีอยู่ครั้งหนึ่งอุซามะหฺได้ขอส่วนแบ่งจากคลังหลวง ท่านอะลีย์จึงปฏิเสธที่จะให้ทรัพย์สินจากคลังหลวงแก่อุซา มะหฺ แต่ได้เสนอที่จะให้ทรัพย์สินส่วนตัวของท่านให้แก่เขา ท่านอุซามะหฺเคยอพยพไปอยู่ในกรุงดามัสคัส ประเทศซีเรีย และเกิดคดีพิพาทกับพวกตระกูลอุมัยยะหฺซึ่งได้ เป็นผู้ปกครองอาณาจักรอาหรับ แต่ในบั้นปลายของชีวิตก็ได้ย้ายกลับมาเมืองมดีนะหฺอีกครั้ง ท่าน เสียชีวิตที่ หมู่บ้านอัลญะรอ็ฟ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นค่ายที่พักทัพของท่าน ก่อนออกตีชายแดนอาณาจักรโรมันในปาเลสไตน์ ศพของท่านถูกฝังในสุสานเมืองมะดีนะหฺ โดยอัลฮุซัยนฺ (ฮุเซน) บินอะลีย์หลานตาท่านนบี(ซล) เป็นผู้ทำพิธีอาบ น้ำศพให้ อย่างไรก็ตามอุซามะหฺก็ยังเป็นที่รักของตระกูลหาชิมอยู่ ดุจดังเช่นที่ท่านนบีเคยรักเขา ก่อนเสียชีวิตในปี ฮ.. ที่ ๕๔ อัลฮุซัยนฺ สังเกตุเห็นอุซามะหฺมีความกังวล จึงถามว่า ท่านมีความกังวลอันใด อุซามะหฺตอบว่า ติดหนี้อยู่หกหมื่นดิรฮัม อัลฮุซัยนฺ ตอบว่า ข้าพเจ้าจะจ่าย เอง อุซามะหฺกล่าวว่า แต่ข้าพเจ้ากลัวว่าจะตายเสียก่อน อัลฮุซัยนฺกล่าวว่า ท่านจะไม่ตายจนกว่าข้าพเจ้าจะได้จ่าย หนี้ของท่าน เกิดในอิสลามและสิ้นชีวิตในอิสลาม นั่นคือ วีรบุรุษ อุซามะหฺ


4.        การทำสงครามปราบปรามกับกลุ่มผู้ตกมุรตัด
 
        ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลังจากที่ได้มีสัญญาหุดัยบียะฮ์ (..6) แล้ว ศาสนาอิสลามได้แร่หลาย ออกไปอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่สดุดใจแก่ชาวโลกและยิ่งทวีความเจริญรุ่งเรืองออกไปอีกใในบั้นปลายชีวิตของ ท่านรอซูลุลลอฮ ความจริงแล้วชาวอาหรับมุสลิมเหล่านัน้เพิ่งรู้จักอิสลาม ต่อมาก็เข้ารับอิสลามด้วยการตามพร รกพวกเพื่อนฝูง หาได้เกิดจากความศรัทธาของตัวเองไม่ บางคนที่เข้ารับอิสลามนั้นก็เพื่อหวังผลประโยชน์ แก่ตนเอง เช่น ต้องการฆอนีมะฮ (ทรัพย์สินสงครามที่ยึดได้) ต้องการความพากภูมิใจ ต้องการขยายที่ดิน (เป็นความต้องการของหัวหน้าเผ่า) และบางคนก็เพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิตและครอบครัวของตน (กลัวตาย หากต้องเผชิญหน้ากับกองทัพของท่านรซูลุลลอฮ) ด้วยเหตุดังกล่าวเมื่อสิ้นรซูลุลลอฮแล้ว พวกเขาเหล่านั้นจึงเกิดความแตกแยกออกเป็นสามกกลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. มุสลิมที่แท้จริง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ศรัทธามั่นต่ออัลอิสลาม 2. มุสลิมมุรตัด กลุ่มนี้ได้ออกจากความศรัทธาต่อศาสนาอิสลามเพราะได้รับคำสั่งจากนบีจอมปลอม หรือ ก่อนหน้านี้พวกเขาก็เป็นพวกกลับกลอก (พวกมุนาฟิก) 3. กลุ่มที่ถือว่าเป็นมุรตัดเหล่านี้ยังคงยึดมั่นในศาสนาอิสลาม แต่ไม่ต้องการจ่สยซะกาตที่ศาสนาได้ กำหนด (วาญิบ) ในสมัยอบูบักรนี้ดินแดนอาหรับเกือบทั้งหมดต่างก็มีความเคลื่อนไหวก่อความวุ่นวายและก่อการกบฎต่ออูบัก ร จนบางกลุ่มได้แยกตัวเองออกเป็นอิสระพ้นจากอำนาจรัฐของอบูบักรซึง่มีเมืองหลวงอยู่มี่มดีนะฮ ที่ยังคง เหลืออยู่ในขณะนั้นก็มีแต่ประชาชนชาวมะดีนะฮ ชวมักกะฮและชาวฎออีฟบางส่วน ส่วนเผ่าฮะวาวิน ซึ่ง อาศัยอยู่ทางเหนือของฎออีฟ เริ่มก่อความวุ่นวาย และได้มีการวางแผนเพื่อโจมตีนครมะดีนะฮ กลุ่มฮะวาซิ นต้องการต่อต้านท่านอบูบักรและไม่ยอมอ่อนน้อมต่ออำนาจของเผ่ากุร็อยช และพวกเผ่าอื่นก็พยายามที่จะ ทดสอบเพื่อที่จะรื้อฟื้นอำนาจเก่าของหัวหน้าเผ่ารวกับว่าพวกเขาเหล่านั้นต้องการกลับสู่สภาพเดิมเยี่ยงยุคญาฮิ ลียะฮ สถานการณ์เช่นนี้ย่อมทำให้เคาะลีฟะฮอบูบักร และประชาชาติมุสลิม เกิดความห่วงใยเพราะรัฐอิสลามเป็น รัฐที่อุบัติขึ้นมาใหม่ และกำลังได้รับการท้าทายจากอำนาจภายนอกรอบแผ่นดินในอาหรับขณะนั้น นั่นก็คือ อำนาจของจักรวรรดโรมันตะวันออก และอำนาจของจักรวัดเปอร์เซียซึ่งอำนาจของสองจักรวรรดดังกล่าว ต่างก็รู้สึกถึงการคุมคามในสมัยของท่านรซูลุลลอฮ (ศ็อลฯ) นี่คือศัตรูภายนอกอณาจักรที่เคาะลีฟะฮอบูบัก รต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ในขณะเดียวกันนั้น นครมะดีนะฮได้ถูกรุกรานจากชนเผ่าเบดูอิน - ก็ซซะฮ (ห่างจากมดีนะฮประาณ 39 ..) และภายนอกนครมะดีนะฮเจ้าผู้ปกครองแคว้นบางคนก็ถูกรุกราน และบรรดาผู้ที่มิได้ให้ความร่วมมือใน การก่อกบฎ ก็จะได้รับความทารุณโหดร้ายเป็นการตอบแทน อบูบักรจึงต้องแต่งตั้งกลุ่มผู้พิทักษ์นครมะดีนะ ฮขึ้นหลายกลุ่ม

เมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่างๆ    ดังได้กล่าวมาแล้วปฏิบัติการขั้นแรกของอบูบักรก็คือการตัดสินใจ
ส่งกองทัพภายใต้การนำของอุซามะฮบุตรสะอีดไปยังอุบนาอันเป็นดินแดนของซีเรีย (วันที่14 เราะบีอุลเอาวัล11/6/623)
        ปฏิบัติการขั้นที่สอง ของท่านอบูบักรก็คือจัดการอย่างเด็ดขาดต่อพวกริดดะฮ (มุรตัด) และพวก
ที่คิดว่าได้ออกไปจากความศรัทธาต่ออัลอิสลาม

                       การเผชิญหน้ากับกลุ่มมุรตัด
             ชนชาวอาหรับญาฮิลียะฮ (ก่อนอิสลาม)คิดว่าผู้ใดก็ตามที่เป็นนบีหรือศาสนฑูตจากอัลลอฮอย่างแท้จริงแล้วผู้นั้นต้องไม่ดับสูญ (ต้องไม่ตาย) เมื่อพวกเขาเห็นว่านบีมูฮัมมัด ศ็อลฯได้สิ้นชีวิต (วะฟาต) พวกเขาต่างก็ปฏิเสธคำสอนของท่านนบีศ็อลฯทันทีและพวกเขายังเชื่ออีกว่านบีนั้นมีคุณลักษณะเป็นภาคีในความเป็นนบีของท่านเมื่อเป็นเช่นนั้นจึงมีการอ้างการเป็นนบีซึ่งนับว่าเป็นนบีปลอมขึ้นมา ในช่วงสมัยนบีมูฮัมมัด ศ็อลฯยังมีชีวิตอยู่ชาวอาหรับจำนวนมากที่ตกเป็นมุรตัด เพราะคำสอนอันจอมปลอมของบรรดานบีปลอมเหล่านั้น  รวมทั้งผู้ช่วนนบีเหล่านั้น  เช่น  มุซัยลีมะฮ  ซายะฮ  ผู้ตามแนวคำสอนของอัล -
อัสวัดและกุลัยฮะฮ  มุซัยลีมะฮอัล - กัซซาบจากบนีหะนีฟะฮที่ยะมามะฮ(ตั้งอยู่ที่ใจกลางของแผ่นดินอาหรับทางตอนใตต้ของนัจด์ได้ตั้งตนเองเป็นนบีตั้งแต่ท่านรอซุลยังมีชีวิตอยู่  เมื่อศาสนฑูตแห่งอัลลอฮได้วะฟาต ท่านก็ได้ต่อต้านเคาะลีฟะฮอบูบักร   พร้อมด้วยภรรยาของท่านซึ่งได้อ้างว่าเป็นนบีเช่นกัน  ชื่อว่า  วายะฮ บุตรฮัลฮาริษ ชาวบนีตะมีม (ตัฆลิบการแต่งงานของบุคคลทั้งสองนี้ก็เพื่อที่จะรวมสมาชิกของเผ่าทั้งสองเข้าด้วยกันจะได้เพิ่มความเข้มแข็งด้านกำลังพลและอาวุธ  ซึ่งขณะนั้นกองกำลังผสมนี้มีสมาชิกถึง  40,000  คน
           ในสมัยรอซูลท่านสามารถปราบอัล - อัสวัด  อัล - อันซี ซึ่งอ้างตนเป็นนบีที่ยะมัน  ในสมัยของอบูบักรลูกน้องของอัสวัด  ภายใต้กานำของก็อยสบุตรอับดิยัฆฮูส  ได้ลุกขึ้นต่อต้านอบูบักร มิใช่เฉพาะที่ยะมันเท่านั้น    แต่ที่หะเฎาะเราะเมาต์  และที่บะฮเรนอีกด้วย  และในสมัยของท่านรซูลอีกเช่นกัน กุลัยฮะฮอัลอะซาตี (จากตระกูลบนีอะซัดที่ซามีรอฮซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของนัจด์ ก็อ้างว่าตนเป็นนบีเช่นกัน  ครั้นในสมัยเคาะลีฟะฮอบูบักร  กุลัยฮะฮและลูกน้องของเขาจากตระกูลบนีอะซัด  ฆ็อตฟาน ฟัยตะซาเราะฮและอื่นๆ  ต่างลุกขึ้นต่อต้านเคาะลีฟะฮ พวกเขาเหล่านั้นมีอิทธิพลในดินแดนทางทิศเหนือและทิศตะวันออกและเมืองมะดีนะฮ     เมื่อได้เห็นปฏิกิริยาต่างๆเหล่านั้นท่านอบูบักรจึงได้รีบจัดการขั้นเด็ดด้วยการเขียนสาส์นตัดเตือนเพื่อที่จะให้บุคคลเหล่านั้นจะได้หวนกลับสู่สัจธรรมดุจเดิม และท่านก็พร้อมที่จะให้อภัยในทุกกรณีที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่ได้ผล  เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจึงได้ส่งกองทัพที่มีจำนวนรี้ผลถึง 11
กองพลใหญ่เพื่อปราบปรามกบฎเหล่านั้น 
             เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเดือนชะอบาน  ฮ..11 (ตุลาคม ค..632)  ตามความเห็นของเคาะลีฟะฮอบูบักรมีวิกฤติการณ์ (ฟิตนะฮที่เกิดขึ้นถึง 11 แห่ง  ซึ่งท่านจะต้องเผชิญหน้าและต้องรับระงับ และแก้ไขโดยด่วน  ท่านจึงได้ส่งกองทัพ 11 กองพลใหญ่ภายใต้การนำของแม่ทัพนายกองที่มีความสามารถซึ่งทุกคนต่างก็แนบสาส์นนั้นได้บ่งบอกถึงสัญญาต่างๆ แก่บรรดาผู้ก่อการกบฎเหล่านั้น สำหรับรายนามของบรรดาแม่ทัพนายกองที่ยกทัพออกไปปราบกบฎในครั้งนี้ได้แก่

          1.  คอลิด  บุตรวะลิด  นำพล  13,000 คน
ยกทัพเพื่อปราบปรามกุลัยฮะฮที่ซามีรอฮ  และมาลิกบุตรนูวัยรอฮที่บิตอฮ  นัจด์  และได้รับกำลังเสริมจากบนีตะมีม
      2.อิกรอมฮฺบุตรอะบูญะฮัล  รับหน้าที่กวาดล้าง มุวัยลิมะฮฺ และซายะฮฺ ที่ยามามะฮฺ  แต่อิกรอมะฮฺทำ
งานพลาด  จอมทัพคอลิดจึงได้รับบัญชาให้นำทัพเข้าตีอย่างดุเดือด แต่คอลิดก็ต้องเสียทหารไปจำนวน
1200 คน  รวมทั้งศอฮาบะฮฺที่อยู่ในวัยชรา  39  คน  ซึ่งเป็นผู้ท่องจำอัลกรุอานได้ สมรภูมิครั้งนั้นเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า "สงครามยามามะฮฺ"
      3.มุญาฮิรบุตรอบีอุมัยยะฮฺ  มีหน้าที่ปราบกบฎ อัล-อัสวัดที่บะฮฺเรน  กินดะฮฺ หะเฎาะ  เราะเมาด์  ยะมันซึ่งเป็นอาหรับภาคใต้
      4.คอลิดบุตรสะอิด  นำทัพไปยังซีเรีย (ชาม)แต่ไม่ประสบผลเท่าที่ควรในที่สุดทัพของอิกรอมะฮฺก็ได้ สมทบไปช่วยกำลังเสริม
      5.อัมรฺ  บุตรอัล-อาส  มีหน้าที่ปราบเผ่ากุฎออะฮฺในแคว้นกุฎออะฮฺ(ทางตอนเหนือของมาดีนะฮฺ) และเผ่าวาดีอะฮฺ
      6.ฮุซัยฟะฮฺ  บุตรมิฮฺซาน  ได้ยกทัพไปปราบชาวเมืองดาบา  เมืองหลวงของโอมาน(โอมานเก่า)
      7.อุรฺฟายะฮฺ  บุตรฮารุษามะฮฺ  ยกทัพไปปราบชาวเมืองมะฮฺเราะฮฺซึ่งอยู่ทางตอนใต้ (ทางทิศตะวันออก
ของหะเฎาะเราะเมาด์)
      8.ชูเราะฮิบิลบุตร  ฮาซานะฮฺ ได้นำทัพไปเพื่อช่วยเหลืออิกรอมะฮฺที่ยะมามะฮ และช่วยเหลืออัมรฺบุตรอัลอาสที่กุฎออะฮฺ
      9.ตารีฟะฮฺบุตรฮาญซ  ได้ยกทัพไปปราบนบีสุลัยมฺ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของทะเลแดง  และผู้สมคบจากเผ่าฮะวาซิน ซึ่งอยู่ทางใต้ของมักกะฮฺ
      10.สุวัยดฺ บุตรมุกิรริน ได้เคลื่อนกำลังพลไปสู่ติฮามะฮฺซึ่งอยู่ทางเหนือของเยเมน  เขตนี้อยู่ใกล้กับทะเลแดง
      11.อัล-อัลลาอฺ  บุตรอัลหัฎรอมี ได้นำกำลังพลไปปราบกบฎชาวบะฮฺเรนในฐานที่เป็นประมุขรัฐอิสลามที่มีความสามารถ 

                  เคาะลีฟะฮฺอบูบักรฺเองได้ตั้งมั่นอยู่ในนครมาดีนะฮฺ  ซึ่งเป็นเมืองหลวงและท่านก็มิได้บัญชาสั่งให้บุคคลชั้นแนวหน้าอื่นๆออกไปรบด้วย  บุคคลเหล่านั้นจำต้องเปฃ้นที่ปรึกษาของท่านในด้านการบริหาร  เช่น  อุมัร  อะลีบุตรอบีฏลิบและอัซซบัยร์  บุตรอัลเอาวาม  ในการส่งกองทัพไปปราบกบฎ
 ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น โดยทั่วไปแล้วท่านเคาะลีฟะฮฺอบูบักรฺประสบความสฎเร็จในการนำชนชาวมุสลิมที่มุรตัดเหล่านั้นเข้าสู่สถานภาพเดิมแห่งอิสลาม  มุซัยลามะฮฺ  อัลกัซซาบ  ถูกฆ่าตาย   เช่นเดี่ยวกับกองกำลังชองกุลัยฮะฮฺก็อยู่ในสภาพเดียวกัน  กุลัยฮะฮฺเองได้หนีรอดไปได้(ภายหลังได้เข้ารับอิสลามในสมัยเคาะลีฟะฮฺอุมัร)
   
    . การเผชิญหน้ากับกลุ่มบุคคลที่คิดว่าเป็นมุรตัด
          หลังจากที่ท่านรสูลุลลอฮ (ศ็อลฯ)ได้วาฟาตชาวอาหรับบางกลุ่มคิดว่าสัญญาต่างๆที่ได้ให้ไว้ต่อหน้าท่านนั้นเป็นโมฆะ เช่นเดียวกับการจ่ายซะกาต พวกเขาถือว่าเป็นภารกิจที่สิ้นสุดกันเสียที  พวกเขาเข้าใจว่าการจ่ายซะกาตนั้นก็คล้ายคลึงกับการจ่ายภาษีอากรแก่ท่านศาสดา  เมื่อจ่ายซะกาตแก่นบี ก็จะทำให้พ้นจากสภาพความเป็นบาป (ดูอัลกรุอาน ซูเราะอัตเตาบะฮฺ อายะฮฺที่ 103)

    ทั้งๆที่ความจริงการจ่ายซะกาตนั้นเป็นหลักการหนึ่งในห้าของอิสลาม   ซึ่งจะต้องดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นที่จะต้องผ่านผู้ใดผู้หนึ่งเพื่อชำระล้างบาปของตน  กลุ่มบุคคลที่ไม่ต้องการจ่ายซะกาตนี้เป็นชาวเมืองยะมัน (เยเมน) โอมาน ยะมามะฮฺ ตลอดจนชนชาวเบดูอีน (บัดวีชาวอาหรับพื้นเมือง)
          
          ในกรณีที่จะปราบบุคคลเหล่านั้นเคาะลีฟะฮฺอบูบักรฺก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากท่านอุมัรฺว่า       ตามรายงานหะดีษบทหนึ่งกล่าวว่า หากผู้ใดยังคงมีหรือยึดมั่นกับประโยคซะฮาดะฮฺ (ไม่มีพระเจ้าอื่น
ใดนอกจากอัลลอฮฺ และนบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ)   พวกเขาก็ไม่ควรที่จะถูกรบกวนหรือถูกกล่าวหา   เพราะพวกเขายังคงยึดมั่นและยอมรับในความเป็นมุสลิม(ซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขาจะต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐอิสลาม)   แต่เคาะลิฟะฮฺอบูบักรฺมีความเห็นว่าหลักการซะกาตนั้นเป็นหลักการสำคัญเช่นเดียวกับหลักการอื่นๆ ในอิสลาม (รูกนอิสลาม)และปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในสมัยรสูลลุลอฮฺถือว่าเป็นอิบาดะฮฺที่ค้ำจุนความเป็นธรรมในสังคม และยังเป็นเงินกองกลางของรัฐ หากผู้ใดขัดขวางผู้นั้นก็เปรียบเสมือนผู้ที่ละเมิดหลักการของศาสนาอิสลามนั่นเอง  เมื่อเคาะลีฟะฮฺอ้างเหตุผลดังนี้
ท่านอุมัรจึงเห็นชอบและคล้อยตาม
            มาลิก  บุตรนูวัยรอฮฺ ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลหลายฝ่ายมิให้มีการจ่ายซะกาต  ดังนั้นเคาะลิฟะฮฺอบูบักรฺจึงได้สั่ง    คอลิด  บุตรวาลิดเป็นแม่ทัพไปปราบปรามทันทีหลังจากที่กำจัดกุลัยฮะฮฺได้สำเร็จ  คอลิดจับตัวมาลิกพร้อมกับบริวารได้ และได้ลงโทษประหารชีวิตในที่สุด


5. การปกครองในสมัยอบูบักรอัศ ศิดดิก (.. 11 – 13 /.. 632 – 634)

การแถลงนโยบายของรัฐ


                ประมุขของรัฐจำเป็นที่จะต้องแถลงนโยบายการปกครองของตนต่อประชาชนจะได้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการปกครองในอนาคตข้างหน้า  ระหว่างการปราศรัย  ที่มิมบัรมัสยิดหลังจากที่ได้รับฟังสัตยาบันจากประชาชนแล้วท่านอบุบักรได้กล่าวว่า  ในระหว่างพวกท่าน  จงอย่าได้ละทิ้งการญิฮาด  (การขวนขวายพยายามเพื่อสาสนาของอัลลอฮเพราะแท้จริงแล้วจะไม่มีชนชาติใดละทิ้งญิอาด  มิฉะนั้นแล้วจะได้รับความอัปยศและความตกต่ำจากอัลลอฮ
                “จงปฏิบัติตามฉัน  ตราบใดที่ฉันยังจงรักภักดีต่ออัลลอฮและรอซูลของอัลลอฮ  หากแนได้ทรยศต่ออัลลอฮและรอซูลของอัลลอฮเมื่อใดท่านก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามฉันเมื่อนั้น

เหตุการณ์ภายในของรัฐ


                ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์  หลังจากที่ได้มีสนธิสัญญาหุดัยบียะฮ์  (.. 6)  แล้ว  ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว  จนเป็นที่สะดุดใจแก่ชาวโลกและยิ่งทวีความเจริญรุ่งเรืองออกไปอีกในบั้นปลายชีวิตของท่านรซูลลุลลอฮ  ความจริงแล้วชนชาวอาหรับมุสลิมเหล่านั้นเพิ่งรู้จักอิสลามต่อมาก็เข้ารับอิสลามด้วยการตามพรรคพวกเพื่อนฝูง  หาได้เกิดจากความศรัทธาของตนเองไม่  บางคนที่เข้ารับอิสลามนั้นก็เพื่อหวังผลประโยชน์แก่ตนเอง  เช่น  ต้องการหอนีมะฮ  (ทรัพย์สินสงครามที่ยึดได้ต้องการความภาคภูมิใจ  ต้องการขยายดินแดน  (เป็นความต้องการของหัวหน้าเผ่าและบางคนก็เพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิตและครอบครัวของตน  (กลัวตายหากต้องเผชิญหน้ากับกองทัพของรซูลลุลลอฮ)
                ด้วยเหตุดังกล่าวเมื่อสิ้นรซูลลุลลอฮแล้ว  พวกเขาเหล่านั้นจึงเกิดความแตกแยกออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ  คือ
1.      มุสลิมที่แท้จริง  กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความสรัทธาที่มั่นคงต่ออัลอิสลาม
2.      มุสลิมมุรตัด  กลุ่มนี้ได้ออกจากการศรัทธาต่อศาสนาอิสลามเพราะได้รับคำสั่งสอนจากนบีจอมปลอม  หรือก่อนหน้านี้เขาก็เป็นพวกกลับกลอก  (พวกมุนาฟิก)
3.      กลุ่มที่ถูกถือว่าเป็นมุรตัดเหล่านี้ยังคงยึดมั่นในศาสนาอิสลาม  แต่ไม่ต้องการจ่ายวากาตตามที่ศาสนากำหนด  (วายิบ)
ในสมัยอบูบักรนี้ดินแดนอาหรับเกือบทั้งหมดก้มีการเคลื่อนไหวก่อความวุ่นวายและการกบฎต่ออบูบักร  จนบางกลุ่มแยกตนเองออกเป็นอิสระพ้นจากอำนาจรัฐของอบูบักรซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่
มาดีนะฮ  ที่ยังคงเหลืออยู่ในขณะนั้นก็มีแต่ประชาชนชาวมาดีนะฮ  ชาวมักกะฮและชาวฎออีฟ  บางส่วน  ส่วนเผ่าอะวาวิน  วึ่งอาสัยอยู่ทางตอนเหนือของฎออีฟ  เริ่มก่อความวุ่นวาย  และได้วางแผนเพื่อโจมตีเมืองมาดีนะฮ  กลุ่มฮะวาวินต้องการต่อต้านท่านอบูบักรและไม่ยอมอ่อนน้อมต่ออำนาจของเผ่ากุร้อยซ  และพวกเผ่าอื่นๆ  ก้พยายามที่จะทดสอบเพื่อที่รื้อฟื้นอำนาจเก่าของหัวหน้าเผ่าราวกับเขาเหล่านั้นต้องการกลับเข้าสู่สภาพเดิมเยี่งยุคญาฮีลียะฮ
                สถานการณ์เช่นนี้ย่อมทำให้คอลีฟะฮ  อบุบักร  และประชาชาติมุสลิม  เกิดความห่วงใยเพราะรัฐอิสลามเป็นรัฐที่อุบัติขึ้นมาใหม่  และกำลังได้รับการท้าทายจากอำนาจภายนอกรอบแผ่นดินอาหรับในขณะนั้น  นั่นก็คือ  อำนาจจากจักรวรรดิโรมันตะวันออก  และอำนาจจากจักรวรรดิเปอร์เซียซึ่งอำนาจจากสองจักรวรรดิดังกล่าว  ต่างรู้สึกถึงการคุกคามในสมัยของรอซูลลุลลอฮ  (ศ็อลฯนี่คือศัตรูภายนอกอณาจักรที่คอลีฟะฮอบูบักรต้องเผชิญหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
                ในขณะเดียวกัน นครมาดีนะฮได้ถูกรุกรานจากชนเผ่า  เบดูอินแห่งซูอัล ก็อซซะฮ  (ห่างจากมาดีนะฮประมาณ  39  ก..)  และภายนอกนครมาดีนะฮเจ้าผู้ครองแคว้นบางคนก็ถูกรุกราน  และบรรดาผู้ที่มิได้ให้ความร่วมมือในการก่อกบฎ  ก็จะได้รับการทารุณโหดร้ายเป็นการตอบแทน  อบูบักรจึงต้องแต่งตั้งกลุ่มผู้พิทักษ์นครมาดีนะฮขึ้นหลายกลุ่ม

ต่อ ตอนที่ 3 จ้า

2 ความคิดเห็น: