เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บล็อกนี้ เป็นบล็อกสำหรับทุกคนที่ต้องการรับรู้ถึงสังคมปัจจุบันว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางใดและสังเกตุพฤติกรรมของมุสลิมในสังคมว่ามีสภาพว่าเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้เพื่อนอิสลามจะคอยเป็นเพื่อนกับทุกท่านที่เข้ามาเยื่ยมชม ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ คือ เป็นเพื่อนในอิิสลามของคุณตลอดไป และถ้าหากเห็นว่าบล็อกนี้มีประโยชน์ช่วยเม้นให้ด้วยนะ หรือ ถ้าหากจะต้องการเนื้อหาอะไรก็โพสได้นะครับ ยินดีเสมอครับ

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คอลีฟะฮ อุษมาน บินอัฟฟาน ตอนที่ 3




โดยอาจารย์ รอฟลี แวหะมะ อาจารย์ประจำคณะวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี  เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อิสลาม โดยเฉพาะ
การพิชิตดินแดนในสมัยของอุสมาน

ในฐานะที่เป็นคอลีฟะฮ์ท่านที่สาม ท่านมีนโยบายรักษาดินแดนที่ยึดมาได้ในสมัยการปกครองของท่านอุมัรที่สำคัญที่สุดคือแผ่นดินเปอร์เซีย  เช่นในเขตคูรอซาน(เคยมีการก่อกบฏเกิดขึ้น) อาเซียร์บัยญาน  อาเมเนีย  และยังทำการขยายอำนาจการปกครองจากทะเลเมดิเตอร์เนียนจนถึงดินแดนของแอฟริกามุอาวียะฮฺบุตรของอบีซุฟยาน  เจ้าผู้ครองนครซีเรีย  ได้ขยายดินแดนโดยเข้าไปยึดพื้นที่ในเอเชียน้อย (ตรุกีปัจจุบันจนกระทั่งถึงป้อมปราการอันมั่นคง  อุนุรฺรียะฮฺ  กลางดินแดนอันเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันออก
                จากนั้นได้ยึดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีเกาะไซปรัส(.. 28 หรือ ค.. 649) และเกาะโรดส์  ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้น อับดุลลอฮฺ บุตรของสะอฺด์ก็ส่งกองทัพไปอียิปต์เพื่อไปเสริมกำลังรบทางทะเลอีกส่วนหนึ่ง
                ที่อียิปต์ เจ้าผู้ครองนคร อับดุลลอฮฺ บุตรสะฮฺด์ บุตรอบีซัรห์ได้เข้าไปยึดครองตูนิซในแอฟริกา จากนั้นกองทัพสมทบจากอับดุลลอฮฺ บุตอัซซุบัยร์ ก็เข้าไปเสริม กระทั่งฝ่ายมุสลิมได้มีชัยชนะเหนือจักรวรรดิโรมันและยึดโมร็อคโคได้ การยึดขั้นต่อไป คือ นุบัยยะฮฺ (อัน นูบะฮฺ) ซึ่งอยู่ในตอนใต้ ของแผ่นดินอียิปต์เป็นความพยายามของ อับดุลลอฮฺ บุตรสะอฺด์ โดยผ่านดินแดนของอียิปต์
การพิชิตของมุสลิมได้มาถึงขีดสูงสุดในสมัยการปกครองของท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตวิทยาที่อิสลามสร้างขึ้น นั้นคือ ความกระตือรือร้นที่จะต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ  I และความต้องการพลีชีวิตในการต่อสู้ ความต้องการอยากเข้าสวรรค์และความไม่อยากได้สิ่งใดๆในโลกนี้ ความไม่เกรงกลัวที่จะเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีจำนวนมาก ตลอดจนความทรหดอดทนและเหนือสิ่งใดคือความช่วยเหลือของอัลลอฮ I และนั่นก็คือสาเหตุที่ทำให้พวกอาหรับได้รับชัยชนะอันยิ่งใหญ่ มหาอาณาจักรเปอร์เซียและไบแซนตินได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกอาหรับและไม่มีอำนาจอะไรที่จะมาสกัดกั้นการคืบหน้าของพวกอาหรับได้ในแอฟริกาเหนือ  หลายประเทศและเมืองที่เข้มแข้งต่างๆ ล้วนตกอยู่ใต้อำนาจพวกอาหรับราวกับว่าเมืองเหล่านี้เป็นไข่มุกของสร้อยคอที่ขาด
บางทีมันอาจเป็นความโปรดปรานของพระผู้เป็นเจ้าที่พระองค์ได้ทรงกำหนดให้ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานขึ้นมาสืบอำนาจต่อจากท่านอุมัรและวงเวียนแห่งการพิชิตที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยของท่านอุมัรจะต้องหมุนต่อไปข้างหน้าและมีความมั่นคงแข้งแรงขึ้น เพราะบรรดาแม่ทัพคนสำคัญและผู้ปกครองเมืองส่วนใหญ่อย่างเช่น มุอาวียะฮ บินอบูซุฟยาน, อับดุลลอฮ บิน ซะด์ บินอบีซาเราะฮ มัรวาน บิน อัลฮะกัม และวาลีด บิน อุกบ๊ะฮ ล้วนเป็นคนในตระกูลอุมัยยะฮที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน คนเหล่านี้เป็นผู้เคลื่อนไหวหลักๆที่ทำให้คนนับล้านเข้ามาสู่อิสลาม นี่คือความจำเริญอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ I
การกบฏที่เกิดขึ้นในอาเซอร์ไบญานได้ทำให้เมืองนี้ต้องถูกพิชิตอีกครั้งหนึ่งและทำให้กองกำลังทหารของมุสลิมคืบหน้าเข้าไปสู่ตาบริสตานในสมัยของท่านคอลีฟะฮ์อุมาน   อับดุรเราะฮมาน บิน อัลบาฮิลีได้รุกเข้าไปในเอเชียไมเนอร์และลึกเข้าไปในอาร์มีเนีย หลังจากนั้นก็ได้ตั้งอาณาจักรอิสลามขึ้นในเมิร์ฟบอลค์และควาริสมีกองทหารของมุสลิมบุกเข้าไปถึงเมืองทิฟลิสและขยายอำนาจไปทั่วดินแดนที่อยู่ระหว่างทะเลดำและทะเลแคสเบียน หลังจากนั้นมูอาวียะย์ก็ได้ยึดไซปรัสในทะเลเมดิเตอเรเนียนและดินแดนระหว่างตริโปลไปจนถึงตันหญาในแอฟริกาเหนือ
ในสมัยของคอลีฟะฮ์อุษมาน อาณาจักรอิสลามได้กลายเป็นมหาอำนาจทางทะเลด้วย  เรือของพวกไบแซนตินได้ถูกยึดและอีกหลายลำได้ถูกนำมาเพิ่มโดยมูอาวียะย์และอับดุลเลาะ บิน ซะด์เพราะเขตแดนของอาณาจักรมุสลิมที่ขยายกว้างออกไปต้องการกองทัพเรือที่เข้มแข็งมาคุ้มครองเมืองจากการรุกรานของพวกไบแซนติน
ชัยนะในซีเรียและอีหร่านหลายครั้งในสมัยของคอลีฟะฮ์อุมัรได้สร้างความหวั่นไหวให้แก่อาณาจักรไบแซนไตน์และเปอร์เป็นอย่างมาก แต่ทั้งสองอาณาจักรนี้ก็ยังไม่ถูกโคนอำนาจ ดั้งนั้น จึงมีความพยายามที่จะยุยงประชาชนในหลายพื้นที่ให้ลุกขึ้นต่อต้าน กบฎเหล่านี้ได้ถูกปรามปรามอย่างรวดเร็วโดยกองทหารของมุสลิมในสมัยคอลีฟะฮ์อุษมาน  ซึ้งมีความสำคัญพอๆกับการขยายแขตแดนของอาณาจักร เพราะพวกกบฎเหล่านี้ได้ทำให้กองทัพของมุสลิมต้องบุกเข้าไปยังดินแดนที่ไม่เคยได้ถูกยึดมาก่อนหน้านี้
ในสมัยของคอลีฟะฮ์อุษมาน มุสลิมได้ยึดเมืองบอลล์ ฮะราต กอบูลและบาคดชาน การกบฎในอิหร่านตอนใต้ได้ทำให้เมืองคาร์มานและเมืองสิญิสตานถูกพิชิต หลังจากนั้นก็ได้มีการวางมาตรการที่มีประสิทธิภาพ   การพัฒนาทรัพยากรของดินแดนที่ถูกยึดได้ เช่น มีการขุดร่องน้ำ การทำถนน การปลูกต้นไม้ผลและการให้ความปลอดภัยแก่เส้นทางการค้าโดยการตั้งหน่วยตำรวจประจำการ  ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าการบุกรุกของพวกไบแซนตินได้ทำให้กองทหารของมุสลิมต้องบุกเข้าไปเอเซียไมเนอร์ในเขตทะเลดำ  ในทำนองเดียวกัน ทริโปลีและบาร์กาในแอฟริกาเหนือและไซปรัสในทะเลเมดิเตอเรเนียนก็ถูกพิชิตด้วย   กองเรือขนาดใหญ่ที่พวกโรมันส่งมายึดอียิปต์คืนก็ได้ถูกทำลายที่ชายฝั่งอเล็กซานเดรีย

การพิชิตอาร์เมเนีย และเกาก็อซ ในสมัยอุสมาน

ขอบเขตอาร์เมเนีย อยู่ทางซ้ายของทะเลดำ และจาการ์ตาและทางทิศตะวันตกของจาการ์ตาและส่วนหนึ่งของประเทศอิหร่าน และทางใต้ของปากีสถาน และคอซีเราะ และทิศตะวันตกของเอเชียน้อยนี้คือขอบเขตของอาร์เมเนียปัจจุบัน อาหรับได้ใช้ชื่อนี้ ตั่งแต่เมื่อเข้าไปในอาร์เมเนีย ถูกแบ่งจากประเทศ จากส่วนซ้าย ก็คืออิหร่าน ครอบคลุมและได้ชื่อส่วนนี้ว่าอิหร่าน ส่วนทางทิศตะวันออกไปยังอาร์เซอร์ไบจาน และคอซัร ส่วนทางทิศใต้เข้าไปทางปากีสถานก็ถือเงินตราและการปฏิบัติโดยไม่ชอบธรรมต่อเด็กกำพร้าและไม่ทำสัญญา  แท้จริงอัลลอฮตาอาลา ทรงเป็นคู่ปรปักษ์สำหรับผู้อธรรม     และพวกเขาได้ทำให้อาร์เมเนียเป็นอันดับที่สี่    ซึ่งพวกเขาได้ทำให้เขตของมันสิ้นสุดทางใต้ของคาบสมุทร และนักประวัติศาสตร์อาหรับไม่ได้กล่าวถึงการพิชิตเกาก็อซ แต่พวกเขาได้เอามันมารวมกันในการพิชิต อาร์เมเนีย
           เขากล่าวว่า คำพูดจะต้องแพร่กระจายไปในภูมิประเทศ และเกาก็อซจะกล่าวเพียงบางส่วนของสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเมืองอาร์เมเนียส่วนหนึ่งจากเมืองใน อาร์เมเนียที่มีชื่อเสียง เช่น  คิลละห์ , กอลัยกีลัน คืออัรซารูม ดังที่  อาบูฟาดาอ   กล่าวว่า อยู่ทางทิศตะวันตกของอาร์เมเนีย   และทางทิศตะวันออกจากแนวเขาอาร์เมเนียและภูเขาเมโสโปเตเมีย ซึ่งนาบีนูฮ(อ.ล.)แล่นเรือผ่านแม่น้ำต่างๆจากเส้นทางนี้
                อารอส อัลฟารอก เป็นที่รู้จักดีในหมู่อาหรับ คือแม่น้ำ  อัลอารอส และเป็นทางลาดจากภูเขาต่างๆ ใกล้กับ อัรซารูมและตัดผ่าน กอร็อจ  และ อัรซารูม  และตัดผ่าน กัรจัสตาน  จนกระทั่งประจบกับแม่น้ำ  กูรอลาตี จาก อาอาลี อัลฟาร  ตัฟลีซ และ ยัซบาน  ในทะเล  คอซัร        
              ประเทศเกาก็อซปัจจุบัน ทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย ปัจจุบันพวกเราไม่รู้คือการปกครองของรัสเซียได้เข้ามาทางตอนเหนือหลังจากได้แยกเป็นรัสเซียและมีการปกครองแบบใหม่และปัจจุบันนี้ไม่มีแผนที่สำหรับการปกครองและเข้าไปยังตุรกีบางส่วน ปกครองเมืองบาตูมและเมืองฟารอซ และได้เข้าปกครองเมือง อัรดาฮาน ที่อยู่เหนือทะเลคอซัร                                      
               จนกระทั่งปัจจุบัน ในวันที่ 12 เมษายน 1918 ปัจจุบันก็ไม่ได้ถอนตัวออกสมบูรณ์และทางทิศใต้ติดกับ ตุรกีและเอเชีย และทางทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลคอซัร ซึ่งกั้นระหว่างเอเชียกับรัสเซีย และทางด้านทิศตะวันออกติดต่อกับ ทะเลดำ และชาว อาหรับได้เรียกชื่อประเทศนี้ว่าเรียกว่าอัรร็อน
 ส่วนหนึ่งจากเมืองทางตอนใต้ คือไอบีเรีย หรือ กัรจัสตาน และเมืองหลวงของ ตัฟลีส อยู่บนแม่น้ำกูรอ เป็นส่วนหนึ่งของเมือง ตัสรูวาน ทางเหนือติดกับ ดาออสตาน แท้จริงชาวอาหรับได้เรียกชื่อว่าเป็นเมืองเล็กๆของ จัรซาน ได้ขับออกไปทางตะวันตกและเอเชีย และส่วนหนึ่งจากอัรร็อน เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงท่าน อัลอิสตอกรี ได้กล่าวว่าเมืองอัรรอนไม่ได้เป็นเมืองใหญ่
               ไม่มีการขัดแย้งกันระหว่างนักประวัติศาสตร์ ในเรื่องการพ่ายแพ้ของอาร์เมเนีย ถึงสองครั้ง ครั้งแรกในสมัยของคอลีฟะฮ์อุมัร อิบนุค็อตฏ็อบ และครั้งที่สองในสมัยของคอลีฟะฮ์อุษมานบิน อัฟฟาน นักประวัติศาสตร์อาหรับได้ยืนยันในการพิชิตเมืองนี้สมัยท่านคอลีฟะฮ์อุมัร ในปี ฮ.. 18 ตรงกับ ค..639ในสมัยท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน ในปี ฮ..26 ตรงกับ ค..646
             ท่าน บากีร บิน อับดุลเลาะและอุตบะ บิน บัรกอดได้พิชิตเมือง อัรริบีฮานในสมัยของท่าน คอลีฟะฮ์อุมัร ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ อาร์เมเนีย
ได้เขียนถึงฮาบีบ บินซันมะฮ เพื่อให้ไปช่วยเหลือซารอเกาะฮฺ    ซึ่งนั้นได้อาศัยอยู่ที่แหลมและได้เดินทางไปยัง บัสเราะฮฺ เพื่อไปพบกับอับดุลเราะมาน แต่ไม่สามารถที่จะพบกัน    เนื่องจากว่า อับดุลเราะมาน นั้นได้เดินทางไปอาร์เมเนียและได้เปิดนครอาร์เมเนีย และได้มีบุคคลหนึ่งชื่อ ชาดิร ได้ตั้งสนธิสัญญาและตั้งความหวังดังเช่นประวัติศาสตร์ในอดีตที่ผ่านมา
              เมื่อ ซารอเกาะฮฺ ได้ยุติสนธิสัญญาเหล่านั้นแล้ว ท่านได้จัดผู้นำเพื่อส่งไปยังเมืองอื่นๆเพื่อที่จะเปิดเมืองเหล่านั้นที่นอกเหนือจาก อาร์เมเนีย และได้แต่งตั้งผู้นำ (แม่ทัพ) คนแรกคือ
1.บากิร อิบนู อับดุลลอฮฺ                   ไปยัง เมากอน
2.ฮาบีบ บิน ซัลมะฮฺ                           ไปยังเมืองหลวง  
3.วาฮาซีฟ๊ะฮฺ อิบนุ มีญาน                                ไปยังเมือง ญิบาลุนอัลอาน

              1.    ระหว่างนั้นได้พบทหาร อาร์เมเนีย พร้อมผู้นำ เอาฮัน บินกัม ซันกาน และน้องของ     ดีรอนและได้มีการรบทั้งสองฝ่าย    หลังจากนั้นมีการแตกแยกกันทั้งสองฝ่าย เนื่องมาจากการหักหลัง โดยผู้นำ (เขานั้นเป็นผู้นำทางทหารเอาฮัน แต่ว่าเขาได้หักหลังแล้วได้เขาไปยังกลุ่มชาวอาหรับ)  (ตามคำกล่าวของซาฮูรผู้เขียนหนังสือตารีค อัลอารอมัน)
               2.  หรือว่า ฮาบีบ บิน ซัลมะฮฺ ซึ่งเป็นคนที่ถูกส่งโดย ซารอเกาะฮฺ  ไปยัง กิจิสถาน ได้ทำการไม่พอใจหรือความขัดแย้งกับ ซายูดูบ(ผู้ปกครองเมืองในสมัยนั้นเมือง กิจิสถาน ได้ถูกแบ่งแยกประชากรแตกแยกเมื่อเป็นเช่นนั้นฮาบีบ บิน ซัลมะฮฺได้รวบรวมกองทัพทหารเพื่อที่ทำการสงครามกับมุสลิมแต่ความคิดความหวังของเขานั้นไม่สำเสร็จ   ในขณะที่มีการสนับสนุนโดย อัลบัตตอรีก อิสตาร เนื่องจากว่าเขาทุ่มเทแรงใจเพื่อสนับสนุนฮาบีบ บิน   ซัลมะฮฺ   แต่ความหวังนั้นไม่สำเสร็จ   อัลบัตตอรีก อิสตารอจ  ได้สิ้นชีวิตด้วยความเครียด
              3.เนื่องจากว่าได้เกิดความวุ่นวายความแตกแยกในหมู่ชนพวกเขานั้น เป็นการง่ายที่ชนมุสลิมได้มีโอกาศเข้าไปเมืองนั้น เพื่อทำการรบโดยมีผู้นำฮาบีบ ซัลมะฮฺ และได้ล้อมนครนั้น        ซึ่งจุดประสงค์หลัก คือเพื่อครอบครองบันลังของอัลบัตตอรีกและได้มีคำกล่าวอื่นอีกว่าในเมืองนั้นมีความเจริญรุ่งเรื่องมากมายคำกล่าวจาก ดีฟัรยี เริ่มจากเปิดเมืองในเดือนพฤศจิกายน ปี639ตรงกับเดือนชุลกิจดะ ปี18.ศ  และไปยังวันที่ 6 จากเดือน มกราคม ปีค.. 640 ตรงกับวันที่ 5 มุฮัรรัมปีฮ..ที่ 19   ได้เปิดเมืองนั้นและได้ยึดเอาเมืองอัดมามเปิด อาร์เมเนีย และเปิดกุรดัสตานและเปิดเมืองวัน เมืองบัคชาวาล และเมืองซีสจรดไปถึงแม่น้ำรอส ที่นักภูมิศาสตร์เรียกว่า อารอสูวาอารอกิสจน  กระทั่งถึงอาร์เมเนียตะวันตกและถึงอาต็อฟ บน ไอบีเรีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งกีกิสถาน ซึ่งถือว่าเป็นเมืองแม่ในบรรดาเมืองแถบนั้น  
                หลังจากนั้น ซารอเกาะฮ ได้สิ้นชีวิตหลังจากนั้นได้มีการเสนอ อุมัรกับอับดุลเราะหมาน  บิน รอบิอะฮ เพื่อที่จะรบกับอัลตูรุก และได้เดินทางข้ามเมือง  หลังจากได้ยึดเมืองมากมายเช่นภูเขาและทะเล ซึ่งในสถานที่นั้นมีผู้คนร้ายกาจคนไม่ดี หลังจากนั้นได้เดินทางไป  บันจัร   เมื่อไปถึงครึ่งทาง   อูฐของเขานั้นได้ขาพลิกในทะเลทรายพวกเขาได้หันกลับเมืองของเขา จากคำกล่าวของอัดตอบารี  สาเหตุที่พวกเขากลับไปยังเมืองของพวกเขานั้นเป็นเพราะว่า เมื่อเขาได้เขาไปถึงที่เมือง บันจัร เพื่อทำการรบ    เมื่อไปถึงที่นั้นไม่มีผู้คนหรือทหารสักคนเลยดังนั้นขาจึงกลับบ้านเมืองเขาทันที
             และหลังจากที่ พวกอับดุลเราะมาน บิน รอบีอะฮ ได้กลับไปยังเมือง พวกไม่รู้นั้นได้จับกุมมุสลิมหนึ่งคน แล้วไปฆ่าเสร็จแล้วลากตัวไปไนป่าแล้วประกาศเท็จบอกแชาวกลุ่มพวกเขาว่า มุสลิมได้ฆ่าพวกเขาจริงๆพวกเขาก็เลยเชื่อและจึงสรุปว่าพวกเขาจะทำสงครามกับมุสลิม อับดุลเราะมาน บิน รอบีอะฮ ได้สิ้นชีวิตในสนามรบ ในสมัยของคอลีฟะฮ์อุษมาน บินอัฟฟาน จากคำกล่าว อัดตอบารี                 
              กล่าวว่าหลังจากอับดุลเราะมานตาย เขาได้เก็บศพของท่านไว้ใกล้กับทะเลและน้องชายของเขาได้เป็นตัวแทนผู้นำมีชื่อว่า ซัลมาน และได้นำทางไปยังยีลานถึงยัดจัร และนำทางจนถึงอาร์เมเนีย
             ในช่วง อับดุลเราะมาน ได้เปิดด้านซ้ายของเมือง เกาก็อซ และอาร์เมเนียและทะเลคอซัร      ส่วนฮาบีบได้เปิดทางซ้ายเมืองเกาก็อซ  เช่นกัน แต่จะเปิดในด้านทะเลดำ  ทุกอย่างจะเกิดขึ้นในช่วงของท่านคอลีฟะฮ์อุมัรปกครองในปี18.และในการเปิดเมืองครั้งนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณมากมายและทหารน้อยคนเท่านั้นแต่สามารถเปิดเมืองได้อย่างง่ายดาย.
             ดังที่ข้อความ อัลลามะ อิบนุคอลดูนได้รายงานเรื่องดังกล่าวและสิ่งที่เขาคาดหมายก็เป็นความจริงได้กล่าวไว้ มุสลิมได้ยอมถอนออกจากอาร์เมเนียเพราะชาวเมืองที่ อาศัยอยู่ในทะเลสาบ  แคสเบียนได้ลอบจู่โจมโดยอาศัยแม่น้ำตุรกี แต่ต่อมาไม่นาน มุสลิมก็หวนกลับไปที่อาร์เมเนียอีกครั้ง   ด้วยกำลังพลที่แข็งแกร่งในปีที่26 . คือปีที่อุษมานได้สั่งฮาบีบและซัลมานได้พิชิตอาร์เมเนียและกุฟะฮซึ่งเป็นการปูทางไปสู่การพิชิตเมืองต่างๆให้เข้าสู่รัฐอิสลามโดยใช้เวลาไม่นานและบรรดามุสลิมก็อยู่ที่เมื่องเหล่านั้นเลย
                  เจ้าของหนังสือ  (สรุปประวัติศาสตร์อาร์เมเนีย)ไ  ด้บอกว่าอาร์เมเนียเข้าสู่ความสงบอีกครั้งหลังจากสงครามครั้งที่สอง โดยอยู่ภายใต้การปกครอง ซันบาต บิน ฟารออัซดีรุส ก่อนยุคของ กัยซอลฏอนตีนียะฮ์  เพราะว่าชาวอาร์เมเนียได้เรียกร้องต้องการผู้นำคนใหม่หลังจากอยู่ภายใต้การปกครองเปอเซียที่อ่อนแอและเจ้าเมืองก็ออกเยี่ยมประชาชน   หลังจากเริ่มรบกับมุสลิมและได้มอบอำนาจปกครอง  อามีรอาตูร ให้แก่   ฟารออัซดีรุส และเข้าก็ปกครองได้ประมาณหนึ่งปีและได้เสียชีวิตลูกของเขา(คือซัลบาส)ก็ได้รับตำแหน่งต่อจากเขา
              ในยุคของคอลีฟะฮ์อุษมานได้มีพิชิต   (อาร์เมเนีย)  เพราะความอ่อนแอของผู้ที่รักษาการในตอนนั้นและจำนวนของประชากร และมีเมืองมากและส่วนใหญ่พวกเขาไม่ยอมรับอิสลาม    ดังนั้นคอลีฟะฮ์อุษมานได้รวบรวมซีเรียหมู่เกาะต่างๆและเมืองที่ตั้งอยู่ตามชายแดนให้มูอาวียะฮฺปกครอง 
                    และใช้ให้ มูอาวียะฮฺ ทำสงครามกับ ชัมชาส ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งของ อาร์เมเนีย ซึ่งฮาบีบ บิน ซัลมะฮฺและอียาส บิน ฆอนัม เคยพิชิตแล้วในสมัย คอลีฟะฮ์อุมัร มูอาวียะฮฺ ใช้ทหาร 6,000 คนในการพิชิต   จึงทำให้ไม่นานพวกนั้นก็ยอมจำนนในปีที่   26  .. และเขาก็ปกครองอยู่ที่นั้นจนกระทั่งเจ้าเมืองออกมาเรียกร้องให้ทำสัญญาสงบ และเก็บภาษี แล้วเขาก็เห็นด้วย และมีคนที่ยอมรับและไม่ยอมรับ
                     ฮาบีบ บิน ซัลมะฮฺ ก็ได้อยู่ที่ กอลัยกีลันหลังจากพิชิตมันได้และเมื่อเขารู้ข่าวว่า            มูอาวียฮฺ   ทางผ่านของอาร์เมเนีย ได้รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ และมีชาวอัลลาล ชาว อัฟคอส  เเละสามินดัร จากพวกที่อยู่ตามแทบชายทะเลสาปแคสเบียนสนับสนุนด้วย   เขาจึงขอกำลังเสริมจาก              คอลีฟะฮ์อุษมานโดยคอลีฟะฮ์อุษมานได้ส่งมูอาวียะฮฺและกองกำลังของเขาไปช่วยและได้ส่งให้           สะอิด บิน อัส          ส่งซัลมาน ไปช่วย ฮาบีบ ดังนั้น ซัลมาน ได้เคลื่อนพลไปถึง 6,000 คน จากทหารชาวกุฟะฮฺ แต่ว่ากองทหารของ ซัลมาน มาถึงช้าเกินไปสำหรับฮาบีบ เขาจึงรอโอกาสในช่วงศัตรูนอน และเข้าไปลอบสังหารผู้นำของพวกเขา
              ความกล้าหาญของผู้หญิงมีผลอย่างมาก และความแข็งแกร่งของพวกนาง คือภรรยาของ  ฮาบีบ ซึ่งนางร่วมวางแผนครั้งนี้ และคอยสร้างแรงใจให้กับ ฮาบีบ และเมื่อซัลมาน และกองทหารของเขามาถึง เขาพบว่า ฮาบีบได้จัดการกับศัตรูของเขาเรียบร้อยแล้วซัลมานมีความต้องการปรึกษา(ก่อกบฏ) ต่อฮาบีบโดยจะให้เมืองนี้แก่ชาวกุฟะฮฺและให้เลือกผู้นำจากพวกกุฟะฮฺ  แต่ปฏิเสธดังกล่าวจนกระทั่งชาวซีเรีย กล่าวว่า แท้จริงเราพยายามที่จะปองร้ายกับซัลมาน”   
           จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เอง ฮาบีบและซัลมานจึงแตกแยกกันโดยให้ฮาบีบ เปิดเมืองอาร์เมเนีย ทางทิศตะวันตกและซัลมานได้ทางทิศตะวันออกของอาร์เมเนีย
            ต่อมา ซัลมาน ก็ได้เดินทางไปอิหร่าน และพิชิตเมืองบีญันกอลโดยทำสัญญากับชาวเมืองว่าต้องมีการเสียภาษีสรรพากร ส่งส่วย โดยที่เขาจะรับรองความปลอดภัย และมีการทหารต่อแม่น้ำโดยอยู่ในระยะทาง 1 ฟัรซัด แต่ชาวบีญันกอลไม่เห็นด้วยและคัดค้านเขาเป็นเวลานานแต่ต่อมาพวกเขาเข้าทำสัญญากับซัลมาน   `
              ฮาบีบ บิน ซาลามะฮ์ได้เดินทางมาจากเมือง คอลัยกิลันหลังจากมาถึงชั่วครู่หนึ่งเขาก็ได้หยุดพำนักที่ มัรยาลาและเขาก็หลงทางเพราะสับสนในสิ่งที่จาก ฮิยาท บุตร ฆอนับ ได้เขียนบอกทางเขาไว้ ฮิ   ยาทบุตรฆอนับ คือผู้ที่ฮาบีบไว้วางใจเขามาก ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ขณะที่เขาหลงทางสิ่งที่เขานำติดตัวมาก็ถูกใช้จนหมดไป  เขาจึงได้เข้าพักที่บ้านหลังหนึ่ง ในขณะ ที่เขาหลงทางเขาพบกับทรัพย์สินและของกำนัลต่างๆ ซึ่งมีคนมามอบให้แต่เขาไม่รับ เขายังคงอยู่ในตามสับสน เขาจึงเดินทางต่อไปและเขาได้พบกับผู้เก็บภาษี   ต่อมาได้มีสารถึงเขาเกี่ยวกับเรื่องการทำสนธิสัญญาผ่อนปรนและเขาเขียนโต้ตอบสารดังกล่าวดังนี้  บิสมิลลาฮิรเราะมานิรเราะฮีม
                สารนี้มาจากท่านฮาบีบ บิน มุสลิมะฮ อัลฟรี เขียนถึงพวกนาซอรอ ชาวคาบีล พวกมายูซีย์  พวกยะฮูดีย์
            แท้จริงเราเลื่อมใสต่อพวกท่าน ชีวิตทรัพย์สิน ศาสนสถาน การค้าด้วยและบ้านเมืองของพวกท่าน   พวกท่านเป็นผู้มีสัจจะและเราจำเป็นต้องทำสัญญากับพวกท่านเกี่ยวกับการจ่ายภาษีต่างๆ
           “ท่านฮาบีบได้ประทับตราจดหมายดังกล่าวต่อมาท่านฮาบีบได้พบกับชาวซีซีญาณ ท่านช่วยแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในเมืองแต่พวกนั้นได้สู้รบกับท่านท่านประสบกับความปราชัยต่อมาท่านจึงเดินไปที่ ยิรซานเขาได้พบกับท่านรอซูล    ระหว่างทางท่านรอซูล    จึงมอบของกำนัลให้กับเขาพร้อมถามถึงสารการประนีประนอม เขาเขียนสารดังก่อนขึ้น
           แท้จริงท่านรอซูล  ได้บอกเราและมุอมินที่อยู่ร่วมกับเรา ณ.ที่นั่นท่านรอซูล  กล่าวกับเราว่าเราเป็นประชาชาติ  ที่อัลลอฮ I   ให้เกียรติและมีความประเสริฐ
         ขอสรรเสริญต่ออัลลอฮ I  และรอซูล   ของพระองค์ผู้ประเสริฐสุดในบรรดาสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง    พวกท่านกล่าวว่า พวกท่านรักความสันติ การมอบของกำนัลต่างๆ ตลอดจนการเก็บภาษีต่างๆ    เราได้เขียนสัญญาต่างๆ ตลอดจนกำหนดเงื่อนไขต่างๆ หากพวกท่านยอมรับ แต่หากไม่ยอมรับ อัลลอฮ และรซูลก็อนุมัติให้ทำสงครามได้
         บรรดาผู้นำอิสลามเขาไม่รับของกำนัลแต่พวกเขาจะเก็บภาษีจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมที่อยู่ในรัฐอิสลาม   ซึ่งต่างจาก   เจ้าเมืองกุฟะฮฺ  ท่านรับของกำนัลจากผู้ที่นำมาเสนอให้
          ต่อมาท่านฮาบีบได้เดินทางไปที่  ตัฟลีซเมืองหลวงของ   กาสิสทานท่านแก้ปัญหาให้กับชาวเมือง และเขียนสารถึงพวกเขา

บิสมิลลาฮิรเราะมานิรเราะฮีม
          สารจากท่านฮาบีบ บินมุสลีมะฮถึงชาวเมืองตัฟลีซ โดยกล่าวถึงสนธิสัญญาต่างๆการค้าการขอพร   และเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับศาสนา โดยเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับเยาวชนและการจ่ายภาษีของชาวตัฟลีซโดย แต่ละครอบครัวจะจ่าย 1 ดีนาร   ฉะนั้นพวกท่านจงอย่ารวมตัวกันเพื่อขอลดหย่อนภาษี หากพวกเจ้าดำรงละหมาด ก็ถือว่าพวกเจ้าเป็นพี่น้องกับเราในอิสลาม  ถ้าไม่เช่นนั้น พวกท่านก็ต้องจ่ายภาษีตามปกติ

การพิชิตประเทศเปอร์เซีย

          แท้จริงประเทศเปอร์เซียหรืออาณาจักรเปอร์เซียในยุคที่อาหรับเข้าครอบครอง เรียกว่า บิลาด อัล ฟุรซี    ซึ่งประกอบด้วยประเทศ บาลูยิซสถาน, ประเทศ อัฟฆอนิสถาน,แคว้นเซอร์ไบจาน,เคอร์ดิสถาน บางส่วนของประเทศ อาร์มีเนีย ภาคตะวันออกติดกับทะเลก็อซวีนในสมัยอุมัรบิน    ค็อตฏอบ บรรดามุสลิมได้เข้าพิชิตเเคว้นต่างๆมากมาย ยกเว้นบางประเทศที่มีผู้ปกครองมุสลิมเข้าไปปกครองอยู่ก่อนแล้ว   ซึ่งมีพรมแดนติดต่อกันและบางประเทศไม่มีผู้ปกครอง(มุสลิม)เข้าไปปกครองมาก่อน เช่นใน มัรเวน ตุคคอริซถาน,บัลค,ซีจิซถาน,และบางประเทศที่ไม่เคยถูกพิชิตมาก่อน   ชาวอาหรับได้แบ่งอาณาจักรเปอร์เซียออกเป็นหลายส่วน ซึ่งเรียกมันว่า กูรน
             ทางตอนเหนือของอาณาจักรเปอร์เซีย มีพรมแดนติดกับอาร์มีเนียตะวันตกและกูกอซ ทางตอนเหนือ, ซึ่งรู้จักกันในนามกูเราะห์,อาเซอร์ไบจันและส่วนหนึ่งจากเมืองต่างๆที่มีชื่อเสียงคือ ตับรีซ, เบอร์บัร , มูกอน ,ตอยลีซาและในทางทิศตะวันออก ได้แก่เมืองก็อซวีน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศญะบัล และได้ถูกเรียกว่าประเทศดัยลัม    หลังจากนั้นก็ไปสู่ทิศตะวันออก  ส่วนนี้อยู่ทางภาคใต้จากประเทศก็อซวีน, ติบริซถาน และยุรยาน และเมืองต่างๆของมันที่สำคัญ คือดามาวินด หรือดันบาวินด และอีสติรอบาซและดามิฆอนและกูมิซ ในทางตอนใต้ของอับยูร์ด ,นาซา ซาร็อคซีและอัซชาฮีญานในทางตอนเหนือ ในทางทิศตะวันตกในส่วนนี้ ในส่วนตะวันตกซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า มาซีโดรอน
         ภาคตะวันตกเรียกว่า อิรักอัลอัญมีและคูซีสถาน,และประเทศญะบัญและทางเมืองต่างๆในเมืองอิรักอัลอัญมีที่สำคัญ คือ อัลมาดาอิน,นะห์รอวาน  ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำดัจละห์,มะนาซีรและ      ก็อซร ซีรีน หลังจากนั้นคือเมือง นาฮาวินด กอซานและอิสฟาฮานจากประเทศญะบัลและอัลอะห์วาซ รอมหัซมัซ ญินดีซาบูรจากประเทศคูซิซตานและทางใต้มีฟาริซ,กัรมาน,มุกรอนหรือแคว้นซินด.   ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่าบาลูจิซถาน และซีจิสถาน ซึ่งอยู่ระหว่างมุกรอนและคูรอซานและเมืองสำคัญๆของฟาริซมีดังนี้ อิซต็อคร.,ดาร,กัซรูน,โยร,ยิรฟัต,ฮุมัยดและซิรญาน ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งของกัรมัน,มุกรอน,กอนดาบีล, ฟันซาบูร, อารมาอีล,บีรูนและดาบีล ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ทางด้านกัรมาน หรือแคว้นซินด    หลังจากนั้นก็ย้ายไปยังซีกหนึ่งของที่ราบลุ่มที่รู้จักกันดี คือที่ราบลุ่มกัรมาน ซึ่งอาจจะเป็นทะเลทรายลูต
           ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือรู้จักกันในนามคูรอซาน,ต็อกคอริซถานและซาบิลิซถาน เนื้อที่ส่วนใหญ่ของเขตนี้อยู่ในอัฟกานิสถานในปัจจุบันและเมืองที่มีชื่อเสียงในแคว้นคูรอซาน คือเมืองนับซาบูร   ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและชาวอาหรับได้เเบ่งมันออกเป็นส่วนๆ ได้แก่           กุเราะมัรวี จากจังหวัดคูรอซานและฆ็อซนะฮ และกาบีล จากเซอบิลิซตานและบัลค. จากต็อคคอริซถาน, จากคูรอซาน ตุซ ในทางตอนเหนือเช่นเดียวกันและจากเมืองนัยซาบูรและซามและบาชัตและบาคัรซและญูวัยฮและอุบรชะรู และบัยฮักและอัสฟารออินและอัรฆ็อยนานและอื่นๆอีก หลังจากนั้นก็เป็นเมืองฮารอตและมัรวี อัรรูซในทางทิศตะวันออกของคูรอซานและเมืองต่างๆ ที่ทางทิศตะวันออก เช่นเมือง บูซันญและบิซฆีซ และตอฆูนและ ซันญ. และเมืองอื่นๆ           นอกจากนี้อีก ส่วนตอคคอริสถาน ตั้งอยู่ทางตะวันออกของคูรอซานและทางตอนเหนือของซาบิลีซตาน และทางใต้ของอัสซอรอนีญาณ มีเมืองที่มีชื่อเสียง   เช่นเมืองบิลด์     ซึ่งเป็นเมืองหลวงและจัดเป็นส่วนหนึ่งของประเทศการ์ตาทางตอนใต้อันตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำ ญีญูน, อัลญูรญาณ, อัลฟัรญาบ,      ฏอลากอนและ อื่นๆ ส่วนแคว้นซาบีลัสตาล ก็มีเมืองคาบูลและฆ็อชนะห์ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วถึงการพิชิตส่วนที่ใหญ่ที่สุดแถบนี้ ในสมัยของท่านของคอลีฟะฮ์อุมัรในปีที่ 3 ของสมัยของคอลีฟะฮ์ อุษมาน อิบนุ อัฟฟาน เกิดกบฎของอามิด และชาว กุร็อยอบูมูซา อัลอัชอารีย์  จึงได้ตัดสินใจจะออกไปยังมิศเราะห์   เพื่อทำให้พวกเขาจงรักภักดีคงเดิม โดยบันทุกสำภาระไปจำนวนบรรทุกล่อ 40ตัว ก่อนหน้านั้นเขาได้ปลุกเร้าประชาชนให้มีส่วนร่วมต่อสู่ชาวเมืองมีศเราะห์  ก็ชุมนุมกันและส่งตัวแทนมาหาคอลีฟะฮ์ อุษมานในเรื่องอบูมูซา โดยมีหัวหน้าคือ ฆ็อยลาน อุสมาน กล่าวว่า พวกท่านต้องการใคร(เป็นผู้ปกครอง)กล่าวว่า     ทุกคนที่ทดแทน คนต่ำต้อยคนนี้ได้ในสิ่งที่เขาคดโกงที่ดินของเรา   และรื้อฟื้นสิ่งที่ต่ำช้างมงายขึ้นในหมู่ของพวกเราและกล่าวต่อว่าถ้าท่านตั้งผู้เยาว์ ก็ต้องมีคนขึ้นมาแทนตำแหน่งของเขา  ถ้าท่านแต่งตั้งผู้สูงอายุที่เลอะเลื่อนแล้วก็ต้องมีคนแทนเขาอีกอย่างไรก็ตามต้องมีคนที่ดีกว่าคนเหล่านี้ หรือในกลุ่มพวกท่านไม่มีคนเลวที่ทิ้งได้เลยหรือในหมู่ของพวกทท่านไม่มีคนยากไร้ที่จะบังคับขู่เข็ญได้เลย โอ้ชาวกุร็อยเอ๋ย  แล้วคอลีฟะฮ์อุษมานกับปล่อยเขาไป แล้วก็ได้แต่งตั้ง อับดุลลอฮ อิบนุ อามีร  อิบนิกุร็อย อิบนิรอบิอะห์ อัลกุรอซีย์  ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของคอลีฟะฮ์อุษมาน   ในขณะนั้นเขามีอายุ  25  ปี  คอลีฟะฮ์อุษมานได้จัดกองทหารของอาบูมูซา  และทหารของอุสมาน  อิบนู อาบิลยาส    ทั้งจาก อัมมานและ บะห์เรนให้แก่เขา  และคอลีฟะฮ์อุษมานได้เรียกอุบัยดุลลอฮอิบนู มูฮัมมัร  กลับจากแคว้น คุรอซาน   ไปยังเปอร์เซีย   และแต่งตั้งอุมัยร์ อิบนู  อุษมานขึ้นปกครองคุรอซานแทนจนจรดเขตเเดนของ ฟัรฆอนะ(อยู่ในอุซเบกิสถาน)   และสำหรับ  กูเราะ   (อยู่ในซีเรีย )   ซึ่งในปีต่อมาคอลีฟะฮ์อุษมาน ได้แต่งตั้งอุมัยน์  อิบนู  อ๊ะห์มัร  อัลยัชกะรีย์   ขึ้นปกครอง  และได้แต่งตั้ง  อับดุลเราะมาน   อิบนู อุมัยส์  ขึ้นปกครอง  กัรมัน (อยู่ในตุรกี )และแต่งตั้งอับดุลลอฮ. อิบนู  อุมัยร์     อัลลัยชีย์ ปกครอง ชีจิสถาน  ซึ่งรวมถึง คาบูล  ซึ่งในต่อมาก็ให้  อิมรอน อิบนู  ฟูฏอยส์  อัลมุรจุมีย์   และให้  อุมัยดุลลอฮอิบนู มูอัมมัร ปกครอง   มักรอน จรดแม่น้ำ
           ต่อมาชาวเปอร์เซียกระด้างกระเดื่องต่อต้านอุมัยดุลลอฮอิบนู มูอัมมัร อุบัยดุลอฮ. จึงได้ไปพบพวกเขาที่ราบสูง อัสตอคอร พวกเขาได้สังหารอุบัยดุลอฮ. ข่าวได้กระจายไปถึง อิบนู อามีรชาวเมือง   บัรเราะ ก็ได้กระจัดกระจายหนีไป   เขา (อิบนู อามีร)ได้นำกองทัพไปยังซีเรีย นำโดย     อุสมาน อิบนู อบิลอาคี พร้อมด้วยอบูบัรซะห์ อัลอัซละมีย์และมะอ.ก็อล  อิบนู ยะซารและมีอิมรอน อิบนู ฮุศ็อยน์ บัญชาทหารม้าทั้งหมดมีความสนิทสนมกัน และแล้วก็ปะทะกับกองทัพเปอร์เซียที่ อัสตอคอร โดยสามารถเอาชัยชนะเหนือพวกเขาได้ และยึดเมืองอุนูวะแล้วมุ่งหน้าไปยัง แล้ว        ดารอบียัสดีต่อไปยังเมืองยูร ในขณะนั้นหะรอม กำลังปิดล้อมอยู่ เมื่ออิบนูไปถึงก็สามารถพิชิตได้ แล้วเขาก็กลับไป       เพราะเกิดการต่อต้านขึ้นอีกเป็นครั้งที่สอง  เขาจึงปิดล้อมเมืองเป็นเวลานานทีเดียว และใช้เครื่องยิงกระสุนพร้อมทั้งเปิดทางไปสู่อุนูวะ มีพลเรือนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก เพราะพวกเขาหลบหนีไปที่นั่น และอับดุลลอฮก็กระหน่ำโจมตีชาวเปอร์เซียอย่างรุนเเรง  อิบนูอามีรได้เขียนบันทึกรายงานคอลีฟะฮ์อุษมานและให้เขาแต่งตั้งให้ผู้ที่ไว้วางใจได้ไปปกครองแคว้นต่างๆ ปกครองและต่อมา คอลีฟะฮ์อุษมานได้รวบรวมเมืองต่างๆเหล่านี้ไว้ให้ ปกครองก่อนที่เขาจะเสียชีวิต                  
เมื่ออิบนูอามีรกลับไปถึง บัสเราะห์ มีข่าวถึงเขาว่าชาวเมือง คูรอซาน ละเมิดและเพิกเฉยต่อสัญญา อิบนุคอยส์ จึงไปหาเขาแล้วกล่าวว่าโอ้ประมุขเอ๋ยศัตรูของท่านกลัวจนหนีไปแล้วและเขตประเทศก็ช่างกว้างใหญ่ โปรดออกเดินทางเถิด อัลลอฮ.ทรงช่วยเหลือท่านและสร้างความเกรียงไกรแก่ศาสนาของพระองค์  เขาจึงเตรียมทัพและออกเดินทางโดยให้ซียาดดูแลเมืองมัสเราะห์และได้แต่งตั้ง  รอเบี๊ยะบินซิยาดไปรบที่ซิยิสตานี  ให้อิบนิมัสอูดไปรบที่กัรมาน ส่วนเขามุ่งหน้าไปที่นัยซาบูร   โดยให้ อิบนุคอยส์ เป็นทัพหน้า ไปที่ประตูเมืองคุรอซาน เขาพิชิตเมืองนั้นและส่งนักปกครองไปปกครองนัยซาบูร แล้วพิชิตซาม , เฆาะสตาน , บัยฮัคเเละ บิชตุ แล้วก็เดินทัพต่อ แล้วส่ง อับดุลเลาะ บิน อามิร ไปพิชิตนัยซาบูร, ตูส , ฮาเราะห์

การพิชิตอาณาจักรตุรกีสถาน


ในสมัยของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้มีการพิชิตฎอบรีสถาน กำลังทหารของมุสลิมได้บุกเข้าไยังตุรกีสถาน และได้เข้าไปพิชิตเปอร์เซียจนกระทั้งถึงเมืองคาบุล  ในระหว่างนี้กษัตริย์ญัซดะญัรที่ แห่งเปอร์เซียได้ถูกลอบสังหาร  ด้วยกับการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์นี้  ทำให้อาณาจักรเปอร์เซียซาซานิดสลายตัวลงในปี  ค..652  (..31) และในสมัยนี้เช่นเดียวกัน มุอาวียะย์ บุตรของอบูซุฟยาน  ได้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองประเทศชามโดยสมบูรณ์   ดังนั้นกองทหารของมุสลิมจึงด้บุกตะลุยเข้าไปในดินแดนของอาณาจักรโรมันไบแซนไตน์ จนถึงเมืองอะมูเรีย  และได้บุกเข้าไปในแคว้นคูเคสุสจนถึงเมืองตัฟลีส   และกองทัพของมุสลิมได้พิชิตเกาะไซปรัสและเกาะโรดส์
และในสมัยของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานเช่นเดียวกันได้มีการพิชิตดินแดนส่วนใหญ่ของอาณาจักรตุรกีสถานโดยที่มีอับดุลลอฮ อิบนิอามีร เป็นแม่ทัพของเหล่าทหารมุสลิม เขาได้จัดตั้งเมื่องมัรวเป็นเมืองหลวง  โดยที่เมื่องนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศอิหร่าน  หลังจากนั้นเขาก็ได้ทำการพิชิตอาณาจักรต่างๆ  ซึ่งเรียกว่า   อัฟกานิสถาน  ตุรกีสถาน  ดินแดนทางตอนเหนือของปากีสถาน  พร้อมกับบุกเข้าไปยงดินแดนของประเทศจีน  ในการพิชิตตุรกีสถานนั้น  อัล-อะห์นัฟ  บุตรของกอยซ   ได้ร่วมทำการพิชิตด้วย

การสร้างกองเรือของกองทัพมุสลิม

   มุอาวียะย์ อิบนิ อะบีซุฟยาน ผู้ปกครองของประเทศชามได้จัดตั้งกองทัพกองแรกขึ้นในทะเลเมดิเตอเรเนียน ด้วยกับกองทัพเรือเหล่านี้  เหล่าทหารมุสลิมได้ทำการโจมตีเกาะไซปรัสและเกาะโรดส์และด้วยกองทัพเรือนี้เช่นเดียวกัน ที่มูอาวียะย์ ได้พิชิตประเทศอารเมเนียน  จนกระทั้งถึงเขตเเดนของเอเซียน้อย
   นอกจากนี้ บรรดากองเรือของมุสลิมยังทำหน้าที่เอป้องกันท่าเรือของตน เพื่อป้องกันการโจมตีของกองทัพเรือพวกโรมันไบแซนไตน์ และเพื่อช่วยขนส่งกำลังทหารของมุสลิมไปสู้รบในดินแดนไบแซนไตน์ บรรดาเรือรบของมุสลิมตัดมาจากไม้     ซึ่งต่อมาจากป่าในประเทศเลบานอนและอียิปต์ พร้อมกับได้ใช้ช่างไม้ในประเทศดังกล่าวเป็นช่างต่อเรือ

สมรภูมิ ซาต ซะวารีย์ (เสาเรือใบ) ..34  ค.. 655

   หลังจากมุสลิมได้จัดตั้งกองทัพเรือเมื่อปี ฮ..25  และในปี ฮ.. 28  กองทัพเรือของมุสลิมก็ได้บุกเข้าโจมตีหมู่เกาะต่างๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรโรมันไบแซนไตน์ ในปี ฮ..34  (..655) กองทัพเรือของอาณาจักรโรมัน ซึ่งประกอบด้วยเรือจำนวน 600 ลำ ได้เข้าโจมตีกองทัพเรือของมุสลิม ซึ่งมีอับดุลลอฮ อิบนี ซะอ  อิบนี  อะบีสะเราะห์  ผู้ปกครองอียิปต์เป็นผู้ควบคุมกองทัพเรือจากอียิปต์  (เพราะในระหว่างที่ในประเทศชามได้จัดตั้งกองทัพเรือ  ในอียิปต์ก็ได้มีการจัดตั้งกองทัพเรือขึ้นด้วยและมุอาวียะฮฺ   อิบนิ  อบูซุฟยาน เป็นแม่ทัพ      สงครามทางเรือครั้งนี้ใกล้กับชายฝังทะเลเมดิเตอเนียน  ด้านเอเซียน้อยภาคใต้นับว่าเป็นสงครามเรือครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาตร์การทำสงครามเรือของอิสลาม      ผลของสงครามครั้งนี้ปรากฎว่า  ฝ่ายโรมันประสบกับความปราชัยอย่างราบคาบ  นับตั้งแต่นั้นมา  ก็ไม่ปรากฎว่ากองเรือของโรมันได้ย่างกรายเข้ามาในบริเวณนี้อีกเลย  และทำให้อิสลามเป็นเจ้าแห่งทะเลเมดิเตอเรเนียนภาคตะวันออก

การพิชิตมอรอคโคหรือดินแดนแถบอัฟริกาเหนือ

   เมื่ออุษมานได้ดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ ท่านได้ปลดอัมร อิบนุลอาศ  ออกจากตำแหน่งและได้แต่งตั้งอับดุลลอฮ  อิบนิ ซะอด์ อิบนีอบีซาเราะเข้าแทนที่   ซึ่งอับดุลลอลเป็นพี่น้องร่วมดื่มนมกับคอลีฟะฮ์อุษมาน      แต่ประชาชนไม่พอใจในการแต่งตั้งครั้งนี้    ทั้งนี้เนื่องมาจาก อับดุลลอได้แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับท่านรอซูล    แต่หลังจากที่คอลีฟะฮ์อุษมานช่วยขออภัยให้     อับดุลลอก็ได้กลับตัว  และทำให้ท่านรอซูล  พอใจ  เมื่อคอลีฟะฮ์อุษมานได้แต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งผู้ปกครองอียิปต์  เขาได้แสดงออกถึงความสามารถ  โดยที่ในปี  ฮ..27-..648  เขาได้นำกองทหารมุสลิมเข้าพิชิตดินแดนในอัฟริกา  ซึ่งในปัจจุปันนี้มีชื่อว่า  ตูนีเซีย   ในกองทัพของ          อับดุลลอ  ปรากฎว่ามีสาวกของท่านศาสดาร่วมอยู่ด้วย ในจำนวนนี้มี  7  คน มีชื่อว่า  อับดุลลอฮ     จึงได้เรียกกองทัพนี้ว่า  กองทัพของ อัล-อะบาดิละห์”     กองทัพของอับดุลลอสามารถเอาชนะกำลังทหารได้ในสมรภูมิ  สะไบฎิละห์”    โดยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่า  มีการพิชิตอาฟริกาเหนือในสมัยคอลีฟะฮ์อุษมาน
   ต่อจากนั้นอับดุลลอฮฺก็ได้พากำลังทหารของมุสลิมบุกเข้าไปทางตอนใต้ของอียิปต์ ดินแดนโนบรา  (นูบะห์) จนกระทั่งถึงทางตอนเหนือของซูดาน และบรรดามุสลิมได้เอาชนะในสมรภูมิ   ดังกอละห์ปี ฮ..31   (..652) พร้อมกับได้มีการทำสัญญาว่ายอมอ่อนน้อมต่อมุสลิมและจะจ่ายภาษีหัวเป็นรายปี
   ถึงแม้ว่าอับดุลลอจะทำการพิชิตดินแดนส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวางก็ตาม  แต่ประชาชนทั้งหลายก็ไม่พอใจในตัวเขา  ทั้งนี้เนื่องจากว่ามีความใกล้ชิดและเป็นญาติกับคอลีฟะฮ์    บางคนได้กล่าวอ้างว่า  เมื่อทรัพย์สินที่ได้จากการทำสงคราม  เมื่อไปถึงนครอัล-มะดีนะห์  พวกพ้องของ        คอลีฟะฮ์อุษมานได้ยึดเอาไปเป็นกรรมสิทธิ์  โดยฉพาะอย่างยิ่ง อัล-หะกัม  อิบนุลอาศ

การแต่งตั้งและถอดถอนข้าหลวงในแคว้นต่างๆ

ในระหว่างหกปีแรกของการเป็นคอลีฟะฮ์อุษมานปกครองอย่างมีชื่อเสียงเป็นอย่างดีและเป็นที่รักของฝ่ายกุร็อยช์มากกว่าท่านอุมัรท่านได้ชัยชนะในการรบหลายต่อหลายครั้ง เขตแดนของมุสลิมก็มีตั้งแต่มอร๊อคโค จนถึงกาบูล แต่ในตอนหลังท่านได้ถูกกล่าวหาในเรี่อง   ซึ่งเราควรจะได้พิจารณาต่อไปนี้
             ข้อกล่าวหาว่าท่านถูกถอดถอนเจ้าเมืองผู้มีความสามารถออกเพื่อจะแต่งตั้งญาติของตนแทนนั่นเป็นข้อกล่าวหาที่ฉกรรจ์แต่ถ้าพิจารณากันอย่างยุติธรรมแล้วข้อกล่าวหานั้นก็อะไรมิได้เลย 
             ข้อกล่าวหาที่ว่าแต่งตั้ง มูอาวียะฮฺเป็นผู้ปกครองซีเรียนั้นความจริงมูอาวียะฮฺได้รับการแต่งตั้งอยู่ก่อนแล้วโดยสมัยคอลีฟะฮ์อุมัร  และดำรงตำแหน่งต่อมาจนถึงสมัยคอลีฟะฮ์อุษมาน  ส่วน  ซะอ์ด์  ผู้พิชิตเปอร์เซียก็ได้รับการแต่งตั้งโดยคอลีฟะฮ์อุมัรเหมีอนกันแต่ถูกถอดถอนโดยข้อกล่าวหาเล็กน้อย และมุฆีเราะฮ(Mughira)  ได้เข้ามาแทนที่  แต่ท่านคอลีฟะฮ์อุมัรได้แสดงความจำนงค์  ไว้ในตอนจะสิ้นชิวิตว่า  ควรจะให้ซอ์ด์ดํงรงตำแหน่งใหม่ ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานจึงได้แต่งตั้งซะอ์ด์ให้เข้ารับตำแหน่งอีกครั้งหนึ่งแต่เมี่อเกิดการพิพาทขึ้ระหว่างซะอ์ด์กับอิบนุมัสอูด เจัาหน้าที่กองคลังแห่งกูฟะฮฺนั้น   (Ibn  Mus,ud ) เจ้าหน้าที่กองคลังแห่งคูฟะฮฺ นั้น  ก็ได้ถูกถอดถอนจากตำแหน่ง อีกและวาลิด บินอัฆบา (Walid  bin  Agba)   ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน วาลิด บิน อัฆบา นั้นเป็นญาติสนิทของคอลีฟะฮ์อุษมานอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ท่านก็ไได้แต่งตั้งเขาในตอนต้นๆ ที่ท่านพึ่งได้เป็นคอลีฟะฮ์ใหม่ๆ ซึ่งตอนนั้นท่านยังไม่ได้มีชื่อเสียงด่างพร้อยอะไร  และตอนที่วาลิถูกกล่าวหาว่าดื่มเหล้า เขาก็มิใช่แต่เพีองถูกถอดออกจากตำแหน่งเท่านั้น  แต่ยังถูกโบยตามกฎหมายอีกด้วยถ้าคอลีฟะฮ์อุษมานเป็นคนลำเอียงเข้าข้างญาติท่านแล้ว ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ในเรี่องนี้เสียได้ง่ายๆ  หลังจากวาลิด บิน อาส ได้มาเป็นผู้ปกครองคูฟะฮฺแทน  แต่ได้ทำผิดบางอย่าง อาบู มูซาอัชอารี ซึ่งไม่เป็นญาติกับคอลีฟะฮ์อุษมานก็ได้เป็นแทนเมื่อปี  ฮ..34หรือ ค.654 บุคลพวกนี้ได้รับการแต่งตั้งโดยท่านคอลีฟะฮ์อุมัร แต่เมื่อประชาชนที่บัสเราะฮ์(Basrah)กล่าวหาว่าเขาลำเอียงเข้าข้างฝ่ายกุร็อยช์คอลีฟะฮ์อุษมาน  ก็ถอดเขาออกจากตำแหน่งและแต่งตั้งคนที่ท่านเลือกเองแทนได้เกิดการจรจลอย่างใหญ่โตขึ้นในอียิปต์ซึ่งอับดุลเลาะ บินซะอ์ด์ ได้รับการแต่งตั้งแทนอัมร์ บินอาส บุคคลแรกก็เป็นน้องชายเลี้ยงของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานอย่างไม่ต้องสงสัยแต่ เขาก็ได้ทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนมุสลิมเป็นอย่างมากการท่เขาเอาชนะพวกโรมันได้และสร้างกองทัพเรือให้เข้มแข็งขึ้นนั้นก็แสดงว่าเขาเป็นคนที่ฉลาดและกล้าหาญและการที่ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้แต่งตั้งเขาก็ไม่เป็นการผิดอันใด แต่เมื่อฝ่ายกบฎมาถึงมาดีนะ และต้องการให้ถอดถอนเขาออกจากตำแหน่งท่านอับดุลลอฮ บินซะอ์ด์ ก็ยินยอมโดยดี และมุฮัมมัด บิน อบูบักร์ก็ได้รับการแต่งตั้งแทน
                คอลีฟะฮ์อุษมานได้ถอดถอนผู้ปกครองเมืองหรือแคว้นคนเก่าออกก็จริง แต่ก็ทำไปโดยมีเหตุผลแม้ท่านอมัรเองก็ยังต้องถอดถอนวีรบุรุษคนสำคัญออก เช่น คอลิด มุฆีเราะฮและ ซะอ์ด์ บินอบีวักกอส เป็นต้น ท่านต้องทำเช่นนั้น เพื่อประโยชน์ของอิสลามจึงไม่ควรสงโดยไม่ซื่อสัตย์เลย

การกระด้างกระเดื่องต่ออุสมาน

   การกล่าวหาที่ได้ยกมานั้นจะเป็นความจริงหรือหรือไม่ก็ตาม ขณะนั้น คอลีฟะฮ์อุษมานได้บรรลุสู่วัยชราภาพ ท่านได้ละทิ้งกิจการบริหารอิสลามไว้ในมือของท่านผู้ที่ท่านไว้วางใจและบรรดาวงศ์ญาตของท่าน  ทำให้บุคคลโดยทั่วไปเขัาใจว่า  คำกล่าวหานั้นมีมูลเหตุความจริง  จึงไม่พอใจต่อการกระมำของคอลีฟะฮ์  นอกจากนี้แลัวประชาชนทั้งหลายยังพบว่า  คอลีฟะฮ์อุษมานปราศจากความเด็ดขาด  ดังเช่นกับท่านคอลีฟะฮ์อบูบักรและท่านคอลีฟะฮ์อุมัร  การที่ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานมีลักษณะเชั่นนี้     มิใช่ว่าท่านเป็นผู้ที่ออ่นแอ  หากแต่หากแต่ท่านเป็นผู้ที่มีความสุภสาพอ่อนโยน  มีความเชื่อใจในประชาชน   และไม่ต้องการที่จะปฎิบัติความรุนแรงกับประชาชน  ดังเช่นกับการกระทำของท่านคอลีฟะฮ์อุมัร  โดยเหตุนี้  บรรดาผู้มีความยำเกรงต่างมีความเกรงไปว่า  ความอ่อนโยนของของท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน  จะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นในอาณาจักรอิสลาม
   ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้มอบอำนาจในการบริหารกิจการของอาณาจักรอิสลามให้กับ
มัรวานมมอิบนุลหะกาม  มัรวานได้ถอดผู้ปกครองบางคนที่คอลีฟะฮ์อุมัรได้แต่งตั้งไว้ออกจากตำแห่นง  และได้แต่งตั้งบุคคลอื่นซึ่งมีความเด็ดขาดกับชาวเมืองเข้ามาแทนที่  จึงทำให้ชาวเมืองเกิดความไม่พอใจ  ในขณะเดียวกัน  คอลีฟะฮ์อุษมานไม่ใช่อำนาจเด็ดขาดกับบรรดาผู้ปกครอง  ทำให้เขาเหล่านั้นบริหารประเทศตามอำเภอใจของเขา  ผู้ปกครองบางคนได้อธรรมต่อประชาชนและบางคนก็ได้ริดรอนสิทธิของเขาเหล่านั้น   อีกทั้งได้อธรรมต่อบรรดามุสลิมที่พำนักอยู่ภายใต้อาณาจักรที่พิชิตได้ใหม่ๆ เฉพาะอย่างยิ่ง อียิปต์  และกูฟะฮฺ
   และส่วนหนึ่งจากความเสื่อมเสียภายในอาณาจักรอิสลามก็คือ ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้อนุญาติให้ชาวมุอาญีรีนและชาวอันซอร   ซึ่งได้รับส่วนแบ่งมากมายมหาศาลจากทรัพย์สินสงครามออกไปตั้งถิ่นฐานยังดินแดนต่างๆ ที่พิชิตได้  เช่น  อิรัก  ชาม และอียิปต์  และอนุญาตให้เขาเหล่านั้นซื้อไร่นา  ที่ดินผืนใหญ่พร้อมกับได้ใช้ชีวิตเหมือนกับผู้มั้งคั่งโดยทั่วไป  สำหรับท่านคอลีฟะฮ์อุมัร  ท่านได้ห้ามมิให้ผู้ใดในหมู่ของบรรดาสาวกชั้นอวุโสของท่านศาสดาเดินทางออกไปจากนครมะดีนะฮ์เป็นเวลานานๆ  เพราะเกรงว่า  เขาเหล่านั้นจะลืมการเสียสละในหนทางของอัลลอฮ์และเพื่อปรึกษาหารือกับเขาเหล่านั้นเมื่อเกิดความจำเป็น
   นอกจากนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ยังได้วาดภาพเกี่ยวกับความบกพร่องของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานจนเกินความจริง     ทั้งนี้เป็นผลสืบเนืองมาจากว่า เขาเหล่านั้น   ไม่พอใจต่อการที่ตระกูล    อุมัยยะห์ได้ครองอำนาจเกี่ยวกับการบริหารกิจการของประเทศ อะบู ซัร  อัล-ฆอฟฟารี  ได้วิจารณ์ต่อท่านคอลีฟะฮ์อุษมานและนโยบายเกี่ยวกับการบริหารอาณาจักรอย่างเปิดเผย  สำหรับอับดุลลอฮ์  อิบนีมัสฮูด  และบุคคลอื่นๆ ก็ได้กล่าววิจารณ์เช่นเดียวกัน  ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานจึงได้ลงโทษ     อับดุลลอฮ์  อิบนู  มัสฮูด  โดยการโบย และได้เนรเทศอะบู  ซัร อัล-ฆอฟฟารี  ออกไปนอกเมืองอัล-มะดีนะฮ์   การกระทำของท่านคอลีฟะฮ์อุษมานในครั้งนี้    ถือเป็นการกระทำที่ผิดผลาดอย่างยิ่ง   เพราะว่า  ท่านได้ลงโทษผู้ที่ท่านรอซูล   มีความรักมากที่สุดในสายตาของบรรดาสาวก  คือ  ท่านอับดุลลอล์  อิบนู  มัส  ฮูด

โศกนาฏกรรมอันเกิดจากการฆาตกรรมท่านอุสมาน

          เหตุการณ์ต่างๆ อันเป็นสาเหตุให้ท่านคอลีฟะฮ์อุษมาน ถูกฆาตกรรม  มีอยู่หลายประการด้วยกันคือ
1.             สาส์นที่ประทับตราคอลีฟะฮ์ ซึ่งได้ออกคำสั่งให้ประหารผู้นำฝ่ายกบฏที่อียิปต์
2.             ความเข้าใจผิดในเรื่องของภาษา (ประโยคในสาส์นซึ่งได้ใช้ในสาส์นนั้นโดยคิดว่ามาจากคอลีฟะฮ์
3.             คอลีฟะฮ์ไม่ยอมสละตำแหน่งคีลาฟะฮ์  เมื่อกบฏทั้งหลายได้บังคับให้ท่านสละตำแหน่งนั้นเสีย
4.             คอลีฟะฮ์ได้ปฎิเสธคำขอจากฝ่ายกบฏ  ท่านรับฟังคำแนะนำจากมัรวาน  และจากบุคคลที่ไม่ชอบท่านอาลี  จากนั้นก็ได้ละเลยคำแนะนำของท่านอาลีและนาอีละฮภริยาของท่านเอง
5.             ฟิตนะที่เกิดจากการกล่าวหาโดย  อับดุลลอฮ  บุตรซอบาอ  คอลีฟะฮ์ผู้มีจิตใจเอื้ออารีผู้นี้ได้ปล่อยให้กาฬบุตรผู้นั้น  สามารถติดต่อกับประชาชนได้อย่างเปิดเผยและได้ฉีดยาพิษที่เป็นอันตรานแก่บ้านเมือง

2 ความคิดเห็น: